วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




untitled.bmp
untitled.bmp [ 70.72 KiB | เปิดดู 6459 ครั้ง ]
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 21:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี



:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี



:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี


ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำงดเว้น ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับศีล
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับองค์มรรค ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับ สมุทัยสัจจะ คือเหตุ
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับ วิรตีเจตสิก ๓

ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี
และยังสงเคราะห็ ได้เท่ากับ จิตที่เป็นอกุศลวิบากจิต
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับ ทุกขสัจจะ คือผล
และยังสงเคราะห์ ได้เท่ากับ พรหมวิหาร ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 19 มิ.ย. 2012, 05:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ลุงหมานแน่ใจแล้วหรือว่า บิดาของนางวิสาขา
พูดกับนางแบบนี้

พูดผิดผมให้โอกาสพูดใหม่ครับ เร็วๆด้วยครับ
ตอนนี้ผมขอเวลาไปหาแหนบถอนผมก่อน

อ๋อ!ลุงหมานครับคุยกับผมต้องทำใจเย็นนะครับ
แล้วสุขภาพจิตจะได้แข็งแรง :b32:



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ลุงหมานแน่ใจแล้วหรือว่า บิดาของนางวิสาขา
พูดกับนางแบบนี้

พูดผิดผมให้โอกาสพูดใหม่ครับ เร็วๆด้วยครับ
ตอนนี้ผมขอเวลาไปหาแหนบถอนผมก่อน

อ๋อ!ลุงหมานครับคุยกับผมต้องทำใจเย็นนะครับ
แล้วสุขภาพจิตจะได้แข็งแรง :b32:


แน่ใจครับ ก่อนที่นางวิสาขาจะย้ายไปอยู่กับบ้านพ่อสามี

รับได้ไอ่หลานรัก เพราะเข้าใจได้ว่าเด็กขาดการอบรมมาย่อมเป็นเช่นนี้เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 05:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ลุงหมานแน่ใจแล้วหรือว่า บิดาของนางวิสาขา
พูดกับนางแบบนี้

พูดผิดผมให้โอกาสพูดใหม่ครับ เร็วๆด้วยครับ
ตอนนี้ผมขอเวลาไปหาแหนบถอนผมก่อน

อ๋อ!ลุงหมานครับคุยกับผมต้องทำใจเย็นนะครับ
แล้วสุขภาพจิตจะได้แข็งแรง :b32:


แน่ใจครับ ก่อนที่นางวิสาขาจะย้ายไปอยู่กับบ้านพ่อสามี

รับได้ไอ่หลานรัก เพราะเข้าใจได้ว่าเด็กขาดการอบรมมาย่อมเป็นเช่นนี้เอง


ลุงหมานครับ ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 06:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

:b8:
หวัดดีครับลุงหมาน.......
รู้สึกว่า ที่พ่อนางวิสาขาสอนลูกไม่ได้ลึกเข้าไปอย่างนี้นะครับ ........
ไฟในอย่านำออกนี่ ดูเหมือนว่าพ่อนางจะบอกว่า ..."เรื่องในครอบครัวของเราอย่าเอาไปเที่ยวเล่าให้คนอื่นฟัง ทำนองนี้นะครับ"........
น่าจะได้ขอความกรุณาจากท่านผู้เชี่ยวชาญพระสูตร ยกพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาอ้างอิงสู่กันฟังหน่อยน่าจะดีนะครับ(พอดีผมค้นพระสูตรไม่เก่ง ไม่งั๊นจะค้นมาแปะให้ดูเดี๋ยวนี้เลยครับ)

:b8:
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

:b8:
หวัดดีครับลุงหมาน.......
รู้สึกว่า ที่พ่อนางวิสาขาสอนลูกไม่ได้ลึกเข้าไปอย่างนี้นะครับ ........
ไฟในอย่านำออกนี่ ดูเหมือนว่าพ่อนางจะบอกว่า ..."เรื่องในครอบครัวของเราอย่าเอาไปเที่ยวเล่าให้คนอื่นฟัง ทำนองนี้นะครับ"........
น่าจะได้ขอความกรุณาจากท่านผู้เชี่ยวชาญพระสูตร ยกพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาอ้างอิงสู่กันฟังหน่อยน่าจะดีนะครับ(พอดีผมค้นพระสูตรไม่เก่ง ไม่งั๊นจะค้นมาแปะให้ดูเดี๋ยวนี้เลยครับ)

:b8:
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

ขอบคุณครับ ที่คุณยกมานั้นถูกต้องครับคือมานัยพระสูตร
แต่ที่ผมยกเอามานั้นยกมาตามนัยพระอภิธรรมครับ ว่าทั้งสองสงเคราะห์เข้ากันได้นั่นเอง
ตามนัยพระสูตรนั้นท่านจะยกบุคคลขึ้นมาแสดง
ตามนัยพระอภิธรรมท่านจะปฏิเสธสัตว์บุคคลครับ (นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา)

ลองดูการศึกษาพระอภิธรรมดูบ้างก็ได้นะครับ แต่อาจจะยากสักหน่อย
http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... Itemid=134

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็แสดงให้เห็นว่าที่มาของคำนี้มีความหมายมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

ลุงหมานแน่ใจแล้วหรือว่า บิดาของนางวิสาขา
พูดกับนางแบบนี้

พูดผิดผมให้โอกาสพูดใหม่ครับ เร็วๆด้วยครับ
ตอนนี้ผมขอเวลาไปหาแหนบถอนผมก่อน

อ๋อ!ลุงหมานครับคุยกับผมต้องทำใจเย็นนะครับ
แล้วสุขภาพจิตจะได้แข็งแรง :b32:


แน่ใจครับ ก่อนที่นางวิสาขาจะย้ายไปอยู่กับบ้านพ่อสามี

รับได้ไอ่หลานรัก เพราะเข้าใจได้ว่าเด็กขาดการอบรมมาย่อมเป็นเช่นนี้เอง


ลุงหมานครับ ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ครับ
:b8:

ก๊าก! ตลกคุณฝึกจิตจริง กลัวนักก็อยู่เฉยๆ
มาชวนลุงหมานเป็นพวกหรือครับ หัวอกเดียวกัน

พุทโธ๋! มาสอนลุงหมานแก ผมว่าตัวคุณนั้นแหล่ะ
ไฟนอกอย่านำเขาอยู่ดีไม่ว่าดี
ส่งจิตออกนอกซะแล้ว :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
asoka เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า
เป็นคำสอนของพ่อของนางวิสาขา
อธิบาย
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ได้แก่ ไฟ ๓ กอง คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง การกระทำ ทางกาย ทางวาจา ที่เป็นทุจริต
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง การเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส สัมผัส นึกคิดเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่ดี

:b8:
หวัดดีครับลุงหมาน.......
รู้สึกว่า ที่พ่อนางวิสาขาสอนลูกไม่ได้ลึกเข้าไปอย่างนี้นะครับ ........
ไฟในอย่านำออกนี่ ดูเหมือนว่าพ่อนางจะบอกว่า ..."เรื่องในครอบครัวของเราอย่าเอาไปเที่ยวเล่าให้คนอื่นฟัง ทำนองนี้นะครับ"........
น่าจะได้ขอความกรุณาจากท่านผู้เชี่ยวชาญพระสูตร ยกพระสูตรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาอ้างอิงสู่กันฟังหน่อยน่าจะดีนะครับ(พอดีผมค้นพระสูตรไม่เก่ง ไม่งั๊นจะค้นมาแปะให้ดูเดี๋ยวนี้เลยครับ)

:b8:
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

ขอบคุณครับ ที่คุณยกมานั้นถูกต้องครับคือมานัยพระสูตร
แต่ที่ผมยกเอามานั้นยกมาตามนัยพระอภิธรรมครับ ว่าทั้งสองสงเคราะห์เข้ากันได้นั่นเอง
ตามนัยพระสูตรนั้นท่านจะยกบุคคลขึ้นมาแสดง
ตามนัยพระอภิธรรมท่านจะปฏิเสธสัตว์บุคคลครับ (นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา)

ลองดูการศึกษาพระอภิธรรมดูบ้างก็ได้นะครับ แต่อาจจะยากสักหน่อย
http://www.puthakun.org/puthakun/index. ... Itemid=134


ลุงหมานครับ ขอพูดแบบกันเองหน่อยครับ ลุงมั่วแล้วครับ
มันเกี่ยวอะไรกับพระพระสูตร พระอภิธรรมครับ คำพูดที่ว่า..
หมายถึงพ่อของนางวิสาขาเป็นคนพูด

เนื้อหาในพระไตรปิฎก ท่านเน้นว่าคำพูดที่เป็นลักษณะคำสอน
คำพูดนั้นจะเป็นของพระพุทธเจ้าและอรหันต์สาวก

ลุงหมานเล่นอุปโหลก คำพูดของผู้ที่ไม่ได้เป็นอริยะ
มาเป็นคำสอนในพระไตรปิฎกเลยหรือ

ให้ลุงหมานแก้ตัว ไปหาดูว่า พ่อของนางวิสาขา สอนเรื่องอะไรบ้างแก่นางวิสาขา
แล้วคำสอนนั้นเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับคำสอนที่ลุงเอาไปเปรียบกับพระธรรมของพระพุทธเจ้า
เอาแบบนี้ดีกว่า ลุงไปดูให้แน่ใจก่อนว่า "ในขณะนั้นพ่อของนางวิสาขา
นับถือพราหมณ์หรือพุทธ" :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
รับได้ไอ่หลานรัก เพราะเข้าใจได้ว่าเด็กขาดการอบรมมาย่อมเป็นเช่นนี้เอง

ลุงหมานเอาเรื่องนางวิสาขามาโพส น่าจะศึกษาให้ดีซะก่อนนะครับ
ลองไปดูซิว่า นางวิสาขาซึ่งเป็นเด็กกว่า พ่อสามีมาก นางวิสาขาพูดอะไร
ปฏิบัติตัวอย่างไร ถึงทำให้มิคารเศรษฐีพ่อสามีซึ่งแก่แต่วัย ต้องละอายใจครับ :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


โอวาท ๑๐ ข้อของเศรษฐี

ฝ่าย (ธนญชัย) เศรษฐีนั้น สอนธิดาอย่างนั้นแล้ว ให้โอวาท ๑๐ ข้อนี้ว่า
"แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว
ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก,
ไม่ควรนำไฟภายนอกเข้าไปภายใน,
พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น,
ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้,
พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่ไม่ให้,
พึงนั่งให้เป็นสุข,
พึงบริโภคให้เป็นสุข,
พึงนอนให้เป็นสุข,
พึงบำเรอไฟ,
พึงนอบน้อมเทวดาภายใน" ดังนี้แล้ว


แต่ว่า บิดาของนางวิสาขานี้ เมื่อกล่าวสอนนางวิสาขานี้ ในเวลาจะมาที่นี้ ได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อซึ่งลี้ลับปิดบัง, เราไม่ทราบเนื้อความแห่งโอวาทนั้น, นางจงบอกเนื้อความแห่งโอวาทนั้นแก่เรา; ก็บิดาของนางนี้ได้บอกว่า

‘ไฟใน ไม่พึงนำออกไปภายนอก’ พวกเราอาจหรือหนอ?

เพื่อจะไม่ให้ไฟแก่เรือนคุ้นเคยทั้งสองฝ่ายแล้วอยู่ได้."

กุฎุมพี. ทราบว่าอย่างนั้นหรือ? แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย คุณพ่อของดิฉันมิได้พูดหมายความดังนั้น, แต่ได้พูดหมายความดังนี้ว่า
‘แม่ เจ้าเห็นโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามีของเจ้าแล้ว อย่าเฝ้ากล่าว ณ ภายนอก คือในเรือนนั้นๆ,
เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟชนิดนี้ ย่อมไม่มี.

เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย ข้อนั้นยกไว้ก่อน, ก็บิดาของนางวิสาขานี้กล่าวว่า

‘ไฟแต่ภายนอก ไม่พึงให้เข้าไปภายใน’,

พวกเราอาจเพื่อจะไม่ไปนำไฟมาจากภายนอกหรือ? ในเมื่อไฟใน (เรือน) ดับ.

กุฎุมพี. ทราบว่าอย่างนั้นหรือ? แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย คุณพ่อของดิฉัน ไม่ได้พูดหมายความดังนั้น, แต่ได้พูดหมายความดังนี้ว่า

‘ถ้าหญิงหรือชายทั้งหลาย ในบ้านใกล้เรือนเคียงของเจ้า พูดถึงโทษของแม่ผัว พ่อผัว และสามี, เจ้าอย่านำเอาคำที่ชนพวกนั้นพูดแล้ว มาพูดอีกว่า ‘คนชื่อโน้นพูดยกโทษอย่างนี้ของท่านทั้งหลาย’

เพราะขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟนั่น ย่อมไม่มี.

อรรถาธิบายข้อโอวาทอื่น

ก็ในโอวาทเหล่านั้น พึงทราบอธิบายดังนี้ :-
ก็คำที่บิดาของนางสอนว่า "แม่ เจ้าควรให้แก่ชนทั้งหลายที่ให้เท่านั้น" เศรษฐีกล่าวหมายเอา (เนื้อความนี้) ว่า "ควรให้ แก่คนที่ถือเครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ส่งคืนเท่านั้น."

แม้คำว่า "ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "ไม่ควรให้แก่ผู้ที่ถือเอาเครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ไม่ส่งคืน."

ก็แลคำว่า "ควรให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่ไม่ให้" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "เมื่อญาติและมิตรยากจนมาถึงแล้ว, ชนเหล่านั้น อาจจะใช้คืน หรือไม่อาจก็ตาม, ให้แก่ญาติและมิตรเหล่านั้นนั่นแหละ ควร."

แม้คำว่า "พึงนั่งเป็นสุข" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "การนั่งในที่ๆ เห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามีแล้วต้องลุกขึ้น ไม่ควร."

ส่วนคำว่า "พึงบริโภคเป็นสุข" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "การไม่บริโภคก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี เลี้ยงดูท่านเหล่านั้น รู้สิ่งที่ท่านเหล่านั้น ทุกๆ คนได้แล้วหรือยังไม่ได้ แล้วตนเองบริโภคทีหลัง จึงควร."

แม้คำว่า "พึงนอนเป็นสุข" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "ไม่พึงขึ้นที่นอน นอนก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี, ควรทำวัตรปฏิบัติที่ตนควรทำแก่ท่านเหล่านั้นแล้ว ตนเองนอนทีหลัง จึงควร."

และคำว่า "พึงบำเรอไฟ" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "การเห็นทั้งแม่ผัวพ่อผัวทั้งสามี ให้เป็นเหมือนกองไฟและเหมือนพระยานาค จึงควร."

แม้คำว่า "พึงนอบน้อมเทวดาภายใน" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า "การเห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามี ให้เป็นเหมือนเทวดา จึงสมควร."

เศรษฐีได้ฟังเนื้อความแห่งโอวาท ๑๐ ข้อนี้ อย่างนั้นแล้ว ไม่เห็นคำโต้เถียง ได้นั่งก้มหน้าแล้ว.

ครั้งนั้น กุฎุมพีทั้งหลายถามเศรษฐีนั้นว่า "ท่านเศรษฐี โทษแม้อย่างอื่นแห่งธิดาของพวกข้าพเจ้า ยังมีอยู่หรือ?"

เศรษฐี. ไม่มีดอก ท่าน.
----------------------------------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔
หน้าต่างที่ ๘ / ๑๒. ๘. เรื่องนางวิสาขา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=14&p=8



@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


เชิญลุงหมานและกัลยาณมิตรศึกษาพระสูตรนี้ครับเจริญพร

อัคคิสูตรที่ ๑

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๗ กองนี้ ๗ กองเป็นไฉน คือ ไฟ
คือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ๑ ไฟคือ
คหบดี ๑ ไฟคือทักขิไณยบุคคล ๑ ไฟเกิดแต่ไม้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ไฟ ๗ กองนี้แล ฯ
-------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อัคคิสูตรที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =974&Z=979



อัคคิสูตรที่ ๒

ดูกรพราหมณ์ ท่านพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน
ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ ดูกรพราหมณ์ ก็เพราะเหตุไรจึงพึง
ละพึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือราคะนี้ เพราะบุคคลผู้กำหนัดอันราคะครอบงำย่ำยีจิต
ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้นประพฤติทุจริตทางกายทาง-
*วาจาทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ
พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือราคะนี้ ก็เพราะเหตุไร จึงพึงละพึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือ
ผู้โกรธ อันโทสะครอบงำย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้
โทสะนี้ เพราะบุคคลครั้นประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโทสะ
นี้ ก็เพราะเหตุไร จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโมหะนี้ เพราะบุคคลผู้หลง
อันโมหะครอบงำย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้นประ
พฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโมหะนี้ ดูกรพราหมณ์
ท่านพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟ ๓ กองนี้แล

ดูกรพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้
ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ
๓ กองเป็นไฉน
คือ ไฟคืออาหุไนยบุคคล ๑ ไฟคือคหบดี ๑ ไฟคือทักขิไณยบุคคล ๑ ดูกร
พราหมณ์ ก็ไฟคืออาหุไนยบุคคลเป็นไฉน ดูกรพราหมณ์ คนในโลกนี้ คือ
มารดาหรือบิดา เรียกว่าไฟคืออาหุไนยบุคคล ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะบุคคล
เกิดมาแต่มารดาบิดานี้ ฉะนั้น ไฟคืออาหุไนยบุคคล จึงควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ก็ไฟคือคหบดีเป็นไฉน คนในโลกนี้
คือ บุตร ภรรยา ทาส หรือคนใช้ นี้เรียกว่าไฟคือคหบดี ฉะนั้น ไฟคือคหบดี
จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ก็ไฟคือ
ทักขิไณยบุคคลเป็นไฉน สมณพราหมณ์ในโลกนี้ งดเว้นจากความมัวเมาประมาท
ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกฝนจิตใจให้สงบ ดับร้อนได้เป็นเอก นี้เรียกว่าไฟ
คือทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น ไฟคือทักขิไณยบุคคลนี้ จึงควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ดูกรพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้แล
ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ส่วนไฟที่
เกิดแต่ไม้ พึงก่อให้โพลงขึ้น พึงเพ่งดู พึงดับ พึงเก็บไว้ตามกาลที่สมควร ฯ
------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อัคคิสูตรที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 980&Z=1066

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการขอบพระคุณท่านพุทธฏีกาครับ
ไฟในอย่านำออก หมายถึง ไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัวไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้
ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง ไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสี ด้วยความอิจฉาริษยาจากบุคคลภายนอก มาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
•พึงให้แก่คนที่ให้ หมายถึง เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่นที่นำมาคืนเท่านั้น
•พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึง ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก ไม่ควรให้
•พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึง การสงเคราะห์ญาติ แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร ก็ควรให้
•พึงนั่งให้เป็นสุข หมายถึง การนั่งในที่อันเหมาะอันควร ไม่เกะกะขวางทาง ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อผัวแม่ผัวเดินผ่าน และจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
•พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึง ควรนอนทีหลังพ่อผัว แม่ผัว และสามีได้เข้านอนแล้ว คือต้องตรวจดูข้าวของ กลอนประตูหน้าต่าง และฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย
•พึงกินให้เป็นสุข หมายถึง ควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อผัวแม่ผัวสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย
•พึงบูชาไฟ หมายถึง การให้ความเคารพยำเกรงสามี และบิดามารดาของสามี
•พึงบูชาเทวดา หมายถึง ให้นับถือบิดามารดาสามี

หัวข้อกระทู้ตั้งไว้ ๒ หัวข้อครับ
ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ขยายตามนัยพระอภิธรรมครับ
ที่เหลือเชิญท่านทั้งหลายต้องทัศนากันเองครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร