วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 11:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา กิเลส อาสวะ อนุสัย ขอความหมาย และ วิธีกำจัด หน่อยครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูป(28 รูป เช่น มหาภูตรูป ภาวะรูป เป็นต้น)
เวทนา(เช่น โสมนัส โทมนัส เป็นต้น)
สัญญา(เช่น .....เป็นต้น)
สังขาร(เช่น สติ ปัญญา กิเลส อวิชชา อาสวะ อนุสัย ต่างๆ เป็นต้น)
วิญญาณ(เช่น กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ต่างๆ เป็นต้น)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกจิต เขียน:
อวิชชา กิเลส อาสวะ อนุสัย ขอความหมาย และ วิธีกำจัด หน่อยครับ

ขอบคุณครับ

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2308&Z=2335&pagebreak=0
๓. ปฐมสังโยชนสูตร
[๒๐๐] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย
แห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะ
อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย
จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและ
ไส้ บุรุษพึงเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประทีปน้ำมันพึงติด เพราะอาศัยน้ำมันและ
ไส้ บุรุษไม่พึงเติมน้ำมัน ไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุกๆ ระยะ ก็เมื่อเป็น
อย่างนี้ ประทีปน้ำมันนั้น ไม่มีอาหารพึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่
เติมเชื้อใหม่ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่... คืออวิชชา เพราะไม่รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และการปฏิบัติเข้าถึงความดับทุกข์

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์... คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสคือ การเข้าไปพอใจในธรรมนั้น ความไม่รู้นั้นจึงเข้าไปพอใจนั้น ก็เป็นกิเลส
ความเกิดขึ้นแห่งความร้อยรัดจิตสู่ภพ ภวะความมีความเป็นก็เป็นกิเลส

การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน....เหล่านี้ ล้วนเป็นอาสวะดองจิตตสันดาน

การทำความพอใจเนื่องๆ ทำเรื่อยๆ ทำบ่อยต่อ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส...เมื่ออารมณ์ หรือความพอใจนั้นดับไป แต่ก็ยังทิ้งอำนาจแห่งความพอใจนั้นเป็นความเคยชิน เป็นปัจจัยแก่จิตที่จะเข้าไปทำความพอใจต่ออารมณ์ของกิเลสต่อไป .....นี้คืออนุสัย


พระพุทธองค์ จึงตรัสสอนให้ กำจัดด้วย พุทธพจน์ดังนี้
Quote Tipitaka:
[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


อะไรคืออนุปัสสีแห่งที่ก่อให้เกิดอาสวะ
ก็กำจัดที่ตรงนั้น
การตามเห็นความพอใจเนืองๆ เป็นอัสสาทานุปัสสี
จึงกำจัดด้วย การตามเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย(คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ของกิเลส)
เรียกว่า อาทีนวานุปัสสี

ดังนั้น ความเห็นชัดอันเป็นวิปัสสนา ความจางคลาย ความสลัดคืน ความละวาง ย่อมค่อยๆ พอกพูนขจัดอนุสัยจากจิตออกไปได้ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2012, 16:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่... คืออวิชชา เพราะไม่รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และการปฏิบัติเข้าถึงความดับทุกข์

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์... คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสคือ การเข้าไปพอใจในธรรมนั้น ความไม่รู้นั้นจึงเข้าไปพอใจนั้น ก็เป็นกิเลส
ความเกิดขึ้นแห่งความร้อยรัดจิตสู่ภพ ภวะความมีความเป็นก็เป็นกิเลส

การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน....เหล่านี้ ล้วนเป็นอาสวะดองจิตตสันดาน

การทำความพอใจเนื่องๆ ทำเรื่อยๆ ทำบ่อยต่อ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส...เมื่ออารมณ์ หรือความพอใจนั้นดับไป แต่ก็ยังทิ้งอำนาจแห่งความพอใจนั้นเป็นความเคยชิน เป็นปัจจัยแก่จิตที่จะเข้าไปทำความพอใจต่ออารมณ์ของกิเลสต่อไป .....นี้คืออนุสัย


พระพุทธองค์ จึงตรัสสอนให้ กำจัดด้วย พุทธพจน์ดังนี้
Quote Tipitaka:
[๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ


อะไรคืออนุปัสสีแห่งที่ก่อให้เกิดอาสวะ
ก็กำจัดที่ตรงนั้น
การตามเห็นความพอใจเนืองๆ เป็นอัสสาทานุปัสสี
จึงกำจัดด้วย การตามเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย(คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ของกิเลส)
เรียกว่า อาทีนวานุปัสสี

ดังนั้น ความเห็นชัดอันเป็นวิปัสสนา ความจางคลาย ความสลัดคืน ความละวาง ย่อมค่อยๆ พอกพูนขจัดอนุสัยจากจิตออกไปได้ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์

เจริญธรรม


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 04:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่... คืออวิชชา เพราะไม่รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และการปฏิบัติเข้าถึงความดับทุกข์

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์... คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสคือ การเข้าไปพอใจในธรรมนั้น ความไม่รู้นั้นจึงเข้าไปพอใจนั้น ก็เป็นกิเลส
ความเกิดขึ้นแห่งความร้อยรัดจิตสู่ภพ ภวะความมีความเป็นก็เป็นกิเลส

การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน....เหล่านี้ ล้วนเป็นอาสวะดองจิตตสันดาน

การทำความพอใจเนื่องๆ ทำเรื่อยๆ ทำบ่อยต่อ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส...เมื่ออารมณ์ หรือความพอใจนั้นดับไป แต่ก็ยังทิ้งอำนาจแห่งความพอใจนั้นเป็นความเคยชิน เป็นปัจจัยแก่จิตที่จะเข้าไปทำความพอใจต่ออารมณ์ของกิเลสต่อไป .....นี้คืออนุสัย
เจริญธรรม

จะเอาบัญญัติคำว่า"ความพอใจมาใช้"จะต้องอธิบายธรรม
ในลักษณะของธรรมคู่ นั้นก็คืออธิบายทั้งความเป็นกุศลและอกุศล

ไม่เข้าใจว่า เจ้าของความเห็นเข้าใจคำว่า"ความพอใจ"หรือไม่
จึงพูดในมุมเดียวหรืออาจจะคิดว่า "ความพอใจ"เป็นเพียงแต่อกุศลเท่านั้น

ความเป็นจริงมันไม่ใช่ เพราะ"ความพอใจ" เป็นส่วนหนึ่งของอิทธิบาทสี่
และอิทธิบาทสี่ก็เป็นธรรมในโพธิปักฯด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากให้เจ้าของความเห็น
พิจารณาเพิ่มเติมหรือพิจารณาใหม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




100_4329_resize.JPG
100_4329_resize.JPG [ 54.37 KiB | เปิดดู 6013 ครั้ง ]
:b27:
ท่านเช่นนั้นปลีกวิเวกกลับมาแล้ว สาธุ.......นึกว่าท่านจะหายไปนาน กลัว
ลานธรมจักรจะขาดผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมครับ

ขอร่วมอนุโมทนาบุญที่ท่านได้ด้วยนะครับ
:b8:
:b20:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 07:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังพระอาจารย์ มาว่า

การตัดกระแส ปฏิจจสมุปบาท อยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเกิด ตัณหาแล้ว หรือ หลังจากเกิดมองที่เกิดตัณหาแล้ว แต่ก็สามารถหยุดได้ ที่ กาย /วาจา สังขาร ก็เป็นการลด อนุสัย ลง ตามลำดับ จนกระทั่งตัดกระแสได้ก่อนเกิด ตัณหา จึงลด อนุสัย ที่จิตสังขาร จึงจะได้ผล เพียรทำมากๆ ให้เห็นกระแสอยู่ตลอด เพราะ
ตั้งแต่ อุปทาน เป็นจุดเริ่มต้น ทุกข์
ตั้งแต่ อวิชชาผัสสะ เป็นจุดเริ่มต้น สมุทัย
ดับไม่เหลือแห่ง อวิชชา เป็น นิโรธ
ความเพียรเห็นและตัดกระแส ปฏิจจสมุปบาท ตามจุดต่างๆตามการตามทันของผู้ปฏิบัติ จนดับอวิชชา ได้ เป็น มรรค

สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b27:
ท่านเช่นนั้นปลีกวิเวกกลับมาแล้ว สาธุ.......นึกว่าท่านจะหายไปนาน กลัว
ลานธรมจักรจะขาดผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมครับ

ขอร่วมอนุโมทนาบุญที่ท่านได้ด้วยนะครับ
:b8:
:b20:

ขอบคุณ ท่าน Asoka ที่ระลึกถึงกันอยู่
สบายดีนะครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2012, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่... คืออวิชชา เพราะไม่รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และการปฏิบัติเข้าถึงความดับทุกข์

ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์... คือธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส
กิเลสคือ การเข้าไปพอใจในธรรมนั้น ความไม่รู้นั้นจึงเข้าไปพอใจนั้น ก็เป็นกิเลส
ความเกิดขึ้นแห่งความร้อยรัดจิตสู่ภพ ภวะความมีความเป็นก็เป็นกิเลส

การเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน....เหล่านี้ ล้วนเป็นอาสวะดองจิตตสันดาน

การทำความพอใจเนื่องๆ ทำเรื่อยๆ ทำบ่อยต่อ ธรรมอันเป็นอารมณ์ของกิเลส...เมื่ออารมณ์ หรือความพอใจนั้นดับไป แต่ก็ยังทิ้งอำนาจแห่งความพอใจนั้นเป็นความเคยชิน เป็นปัจจัยแก่จิตที่จะเข้าไปทำความพอใจต่ออารมณ์ของกิเลสต่อไป .....นี้คืออนุสัย
เจริญธรรม

จะเอาบัญญัติคำว่า"ความพอใจมาใช้"จะต้องอธิบายธรรม
ในลักษณะของธรรมคู่ นั้นก็คืออธิบายทั้งความเป็นกุศลและอกุศล

ไม่เข้าใจว่า เจ้าของความเห็นเข้าใจคำว่า"ความพอใจ"หรือไม่
จึงพูดในมุมเดียวหรืออาจจะคิดว่า "ความพอใจ"เป็นเพียงแต่อกุศลเท่านั้น

ความเป็นจริงมันไม่ใช่ เพราะ"ความพอใจ" เป็นส่วนหนึ่งของอิทธิบาทสี่
และอิทธิบาทสี่ก็เป็นธรรมในโพธิปักฯด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงอยากให้เจ้าของความเห็น
พิจารณาเพิ่มเติมหรือพิจารณาใหม่ครับ


พระสูตรบทนี้ แสดงถึง การทำความพอใจเนืองๆ ครับ โฮฮับ
การทำความพอใจเนืองๆ ในนี้ คืออัสสาทานุปัสสี ไม่ได้มีสภาวะธรรมอันหมายเอา "ฉันทะ"
ซึ่งเป็นสภาวะเจตสิกธรรมอีกสภาวะธรรมหนึ่ง

อัสสาทานุปัสสี ...เป็นสภาวะที่เข้าไปเข้าไปยินดีเข้าไปพอใจต่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเห็นว่าสวย เห็นว่างาม เห็นว่าน่าหลงใหล โดยไม่เห็นตามสภาวะธรรมแห่งความเป็นจริง อันก่อให้เกิดสังโยชน์ขึ้นในจิต และพัฒนาแรงขึ้นๆ เพราะการกระทำเนืองๆ จนเป็นตัณหาอันแรงกล้า ที่เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

อัสสาทานุปัสสี ที่แสดงเอาว่าเป็นอกุศล เพราะเหตุด้วยว่าการเข้าไปทำความพอใจในกุศล/อกุศลที่กระทำอยู่ ก็เป็นการตามทำความพอใจเนืองๆ ต่อกุศล/อกุศลที่กระทำ

ด้วยเหตุว่า อนุปัสสี เป็นการกระทำเนืองๆ ตามกระทำเนืองๆ
เป็นอาการที่ได้ยินได้ศึกษา ในสติปัฏฐานสูตร คือกาเยกายานุปัสสี เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธรรมานุปัสสี
อนุปัสสีที่ปรากฏในสติปัฏฐานสูตร จึงเป็นการทำเนืองๆ อันเฉพาะเจาะจงด้วยกุศลจิตประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น
ซึ่งต่างจาก อัสสาทานุปัสสี กระทำด้วยจิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอวิชชา
ธรรมคู่ปรับ คืออาทีนาวานุปัสสี ซึ่งมีสติปัฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งการภาวนา

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 10:42
โพสต์: 249

แนวปฏิบัติ: ไม่เอา ไม่เป็น ไม่ยึด
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มของท่านพุทธทาส
อายุ: 32
ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณเช่นนั้น

.....................................................
วงว่างยงอยู่ยั้ง อนันตกาล
ในถิ่นที่ทุกสถาน แหล่งหล้า
ยึดมั่นไป่พบพาน ประจักษ์
ยามปล่อยหยุดไขว่คว้า ถึงได้โดยพลัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
พระสูตรบทนี้ แสดงถึง การทำความพอใจเนืองๆ ครับ โฮฮับ
การทำความพอใจเนืองๆ ในนี้ คืออัสสาทานุปัสสี ไม่ได้มีสภาวะธรรมอันหมายเอา "ฉันทะ"
ซึ่งเป็นสภาวะเจตสิกธรรมอีกสภาวะธรรมหนึ่ง

ไม่ทราบว่าคุณกำลังอธิบายเรื่องการทำฌาณหรือเปล่าครับ ส่วนของผมกำลัง
อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับ อภิธรรมครับกำลังอธิบายถึง อาการของจิตครับหรือเจตสิกครับ
ซึ่งผมก็ว่า อาการของจิตมันหนีไม่พ้นเจตสิก52ตัวนี่หรอกครับ และที่สำคัญ จิตเกิดและดับ
ไปตามเหตุปัจจัย

ฉะนั้นกับว่า"พอใจ"ที่คุณเอามาใช้ มันก็คือเจตสิกหนึ่ง
ใน52ตัวนั้นและครับ ที่สำคัญมันมีคุณสมบัติเหมือนกัน นั้นก็คือ "ความชอบใจในสิ่งที่เชื่อ"
แต่สิ่งที่มันแตกต่างกันก็คือเหตุหรือตัวประธานครับ เหตุหรือประธานเป็นกุศล ความพอใจก็เป็นกุศล
ถ้าเหตุหรือประธานเป็นอกุศล ความพอใจก็เป็นอกุศล

คุณต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ที่ผมแสดงความเห็นไป ผมชี้เฉพาะเจาะจงกับคำที่คุณใช้
นั้นก็คือ"ความพอใจ" ซึ่งผมเห็นว่า ไม่ว่าของคุณหรือของผม
มันก็คือ ฉันทะ

ผมอยากให้คุณเอาคำนี้ไปพิจารณาดูครับว่าเหมาะกับ สภาวะที่คุณกำลังพูดถึง
หรือเปล่า นั้นก็คือ"อธิโมกข์"ครับ

เช่นนั้น เขียน:
อัสสาทานุปัสสี ...เป็นสภาวะที่เข้าไปเข้าไปยินดีเข้าไปพอใจต่ออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเห็นว่าสวย เห็นว่างาม เห็นว่าน่าหลงใหล โดยไม่เห็นตามสภาวะธรรมแห่งความเป็นจริง อันก่อให้เกิดสังโยชน์ขึ้นในจิต และพัฒนาแรงขึ้นๆ เพราะการกระทำเนืองๆ จนเป็นตัณหาอันแรงกล้า ที่เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน

อันนี้ต้องขอโทษที่จะบอกว่า คุณกำลังสับสนในเรื่องของเหตุปัจจัยครับ
และที่สำคัญที่สุด คุณกำลังเอาคำว่า"ความพอใจ"มาใช้ผิดที่ผิดทาง
คุณอาจจะเข้าใจว่า ความพอใจของคุณไม่ใช่"ฉันทะ" ผมก็ได้แสดงความบอกไปแล้วก่อนหน้า

แต่ถ้าความหมายของความพอใจเป็น"ฉันทะ" ความพอใจนั้นต้องเป็นเหตุแต่อย่างเดียว
ความหมายก็คือ สภาวะธรรมต้องเกิดตามหลัง"ความพอใจ"

ถ้าสภาวะธรรมเกิดก่อน ตามที่คุณกล่าวมันก็เป็นได้จากสองตัวนี้ คือ โลภะหรืออธิโมกข์
นั้นก็คือเกิดสภาวะธรรมขึ้นแล้ว ไม่ต้องการให้สภาวะหายไป
หรือไม่ก็ เป็นในลักษณะ"ความปักใจในอารมณ์"


และอยากจะบอกครับ ไม่ว่าจะสภาวะธรรมใด
ไม่สามารถก่อให้เกิด "สังโยชน์หรือตัญหาได้ครับ" ทั้งสังโยชน์และตัณหา
เป็นต้นเหตุ และตัณหาก็ไม่ได้เป็นปัจจัยของอุปาทาน แต่เป็นเหตุครับ
อุปาทานเป็นปัจจัยของ"อุปาทานขันธ์" ถ้าขันธ์ไม่ไปยึดตัณหา ทั้งอุปาทาน
และขันธ์ก็ไม่เป็นปัจจัยแกกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อัสสาทานุปัสสี ที่แสดงเอาว่าเป็นอกุศล เพราะเหตุด้วยว่าการเข้าไปทำความพอใจในกุศล/อกุศลที่กระทำอยู่ ก็เป็นการตามทำความพอใจเนืองๆ ต่อกุศล/อกุศลที่กระทำ

ด้วยเหตุว่า อนุปัสสี เป็นการกระทำเนืองๆ ตามกระทำเนืองๆ
เป็นอาการที่ได้ยินได้ศึกษา ในสติปัฏฐานสูตร คือกาเยกายานุปัสสี เวทนานุปัสสี จิตตานุปัสสี ธรรมานุปัสสี
อนุปัสสีที่ปรากฏในสติปัฏฐานสูตร จึงเป็นการทำเนืองๆ อันเฉพาะเจาะจงด้วยกุศลจิตประกอบด้วยปัญญาเท่านั้น
ซึ่งต่างจาก อัสสาทานุปัสสี กระทำด้วยจิตอันเป็นอกุศล ประกอบด้วยอวิชชา
ธรรมคู่ปรับ คืออาทีนาวานุปัสสี ซึ่งมีสติปัฏฐานเป็นที่ตั้งแห่งการภาวนา

เจริญธรรม

คุณเช่นนั้นครับ ผมอ่านความเห็นอันนี้ของคุณแล้วครับ สรุปให้ครับว่า
คุณหยิบเอา บัญญัติมาใช้ผิดที่ผิดทางครับ คุณเอาคำว่า"ความพอใจ"
มาใช้กับสิ่งที่คุณกำลังแสดงความเห็นไม่ได้ครับ

อาการที่คุณกำลังกล่าวถึง มันไม่ใช่ความพอใจครับ มันเป็น..
"อธิโมกข์"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คุณเช่นนั้นครับ ผมอ่านความเห็นอันนี้ของคุณแล้วครับ สรุปให้ครับว่า
คุณหยิบเอา บัญญัติมาใช้ผิดที่ผิดทางครับ คุณเอาคำว่า"ความพอใจ"
มาใช้กับสิ่งที่คุณกำลังแสดงความเห็นไม่ได้ครับ

อาการที่คุณกำลังกล่าวถึง มันไม่ใช่ความพอใจครับ มันเป็น..
"อธิโมกข์"

โฮฮับ ...
สิ่งที่เช่นนั้นนำมาแสดง เป็นพุทธพจน์
และ โฮฮับ ก็อ่านให้ดีว่า พระพุทธองค์ใช้คำว่า "การทำความพอใจเนืองๆ"
ซึ่งเป็นพระพุทธบัญญัติ อันเป็นบาลีว่า "อัสสาทานุปัสสี"
ถ้าใช้ผิดที่ผิดทาง โฮฮับ ก็ควรจะไปทำความเข้าใจพุทธพจน์เสียใหม่นะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2012, 12:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พระสูตรบทนี้ แสดงถึง การทำความพอใจเนืองๆ ครับ โฮฮับ
การทำความพอใจเนืองๆ ในนี้ คืออัสสาทานุปัสสี ไม่ได้มีสภาวะธรรมอันหมายเอา "ฉันทะ"
ซึ่งเป็นสภาวะเจตสิกธรรมอีกสภาวะธรรมหนึ่ง

ไม่ทราบว่าคุณกำลังอธิบายเรื่องการทำฌาณหรือเปล่าครับ ส่วนของผมกำลัง
อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับ อภิธรรมครับกำลังอธิบายถึง อาการของจิตครับหรือเจตสิกครับ
ซึ่งผมก็ว่า อาการของจิตมันหนีไม่พ้นเจตสิก52ตัวนี่หรอกครับ และที่สำคัญ จิตเกิดและดับ
ไปตามเหตุปัจจัย

ฉะนั้นกับว่า"พอใจ"ที่คุณเอามาใช้ มันก็คือเจตสิกหนึ่ง
ใน52ตัวนั้นและครับ ที่สำคัญมันมีคุณสมบัติเหมือนกัน นั้นก็คือ "ความชอบใจในสิ่งที่เชื่อ"
แต่สิ่งที่มันแตกต่างกันก็คือเหตุหรือตัวประธานครับ เหตุหรือประธานเป็นกุศล ความพอใจก็เป็นกุศล
ถ้าเหตุหรือประธานเป็นอกุศล ความพอใจก็เป็นอกุศล

คุณต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ที่ผมแสดงความเห็นไป ผมชี้เฉพาะเจาะจงกับคำที่คุณใช้
นั้นก็คือ"ความพอใจ" ซึ่งผมเห็นว่า ไม่ว่าของคุณหรือของผม
มันก็คือ ฉันทะ

ผมอยากให้คุณเอาคำนี้ไปพิจารณาดูครับว่าเหมาะกับ สภาวะที่คุณกำลังพูดถึง
หรือเปล่า นั้นก็คือ"อธิโมกข์"ครับ

ในพระสูตรนี้ พระพุทธองค์ ทรงแสดงการเจริญสมถะวิปัสสนา ให้แก่ภิกษุครับ
โฮฮับ ทำความเข้าใจใหม่นะครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 73 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 42 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร