วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2012, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“ทำงานโดยไม่คาดหวังความสำเร็จเป็นอย่างไร ?”

Prangthip Pnn : ปุจฉา - กราบนมัสการพระคุณเจ้า ไม่เข้าใจว่า “เพียงแต่เป็นการไม่คาดหวังผลสำเร็จ” คืออะไร เพราะว่าถ้าเราทำงานแล้ว เราย่อมต้องคาดหวังว่างานจะต้องสำเร็จ >>> ผลที่ตามมาอาจจะก่อให้เกิดความเครียดได้ ขอความเมตตาช่วยอธิบายให้รู้แจ้งด้วยเจ้าค่ะ

Sumet Priyapriwat : ปุจฉา - ผมคิดว่าเป็นความคิดที่แปลกที่เมื่อทำงานแล้วไม่คาดหวังผลสำเร็จ ถ้าไม่คาดหวังสรรเสริญหรือคำชมนั้นก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การทำงานทุกอย่างต้องมีเป้าหมาย มีความคาดหวัง เมื่อสำเร็จก็พอใจในงาน หากคิดว่าสำเร็จก็ช่างไม่สำเร็จก็ช่าง อยากเพียงแค่มีความสุขในการทำงาน มันก็คงจะทำได้ แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง การตั้งเป้าหมายหรือตั้งความคาดหวังเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานครับ ที่ไม่สามารถละทิ้งได้ครับ


พระไพศาล วิสาโล - ที่อาตมาพูดถึงการไม่คาดหวังความสำเร็จนั้น หมายถึง การวางใจขณะที่ทำงาน กล่าวคือ ขณะที่ลงมือทำงานนั้น ใจควรจดจ่ออยู่ที่งานตรงหน้า ทำงานนั้นให้ดีที่สุด อย่าเพิ่งไปจดจ่อข้างหน้าว่าเมื่อไหร่งานจะเสร็จ จะสำเร็จหรือไม่ หรือว่างานเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร พูดง่ายๆ คือให้ใจอยู่กับปัจจุบัน อย่าเพิ่งไปสนใจอนาคต

ส่วนการคาดหวังผลสำเร็จของงานนั้น เป็นธรรมดาที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่เป็นปุถุชน เวลาจะทำงานอะไร ก็อยากให้งานสำเร็จ แต่พอลงมือทำ ก็ควรใส่ใจกับงานที่ทำ เหมือนกับเดินทางไกล แน่นอนว่าเราก็อยากจะเดินให้ถึง แต่เมื่อเริ่มเดิน ใจก็ควรอยู่กับการเดิน อย่าเพิ่งไปจดจ่อกับจุดหมายปลายทาง การวางใจอย่างนี้จะทำให้เราไม่กังวล ไม่เครียดระหว่างที่ยังเดินไม่ถึง

สาเหตุที่ผู้คนมีความทุกข์ในการทำงาน ก็เพราะความกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง รวมทั้ง ความกังวลว่างานจะไม่สำเร็จ แต่ถ้าหากปล่อยวางความคาดหวังในความสำเร็จไว้ก่อน การทำงานก็จะมีความสุขมากขึ้น และงานจะออกมาดีด้วยเพราะจิตใจโปร่งโล่ง ไม่มีความกังวล บ่อยครั้งปัญหาในการทำงานเกิดขึ้นจากใจที่จดจ่อคาดหวังกับความสำเร็จมากเกินไป เช่น ถ้าคิดว่าไม่มีวันสำเร็จ ก็เลิกทำกลางคันหรือท้อตั้งแต่แรก ในทางตรงข้ามถ้าเราไม่จดจ่อคาดหวังกับความสำเร็จ หรือแม้มองไม่เห็นความสำเร็จเลย แต่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ ก็จดจ่อใส่ใจอยู่กับการทำสิ่งนั้น อย่างนี้ต่างหากที่เราควรทำ

‘พระมหาชนก’ เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ ตอนที่ท่านลอยคออยู่กลางมหาสมุทรเนื่องจากเรือล่ม แม้จะมองไม่เห็นฝั่งแต่ท่านก็ว่ายน้ำไม่หยุด ผ่านไป ๗ วัน ๗ คืนก็ยังว่ายอยู่ จน ‘นางมณีเมขลา’ ซึ่งเฝ้าท้องทะเลมาเห็น จึงลงมาถามว่า

“ทำไมในเมื่อไม่เห็นฝั่ง ท่านจึงยังอุตสาหะว่ายกลางมหาสมุทร ไม่มีประโยชน์อันใดเลย”

พระมหาชนก ตอบว่า “ข้าพเจ้าเห็นประโยชน์ของความเพียร แม้ไม่เห็นฝั่งก็พยายามว่ายต่อไป”

นางมณีเมขลา จึงแย้งว่า “ฝั่งอยู่ไกลเหลือประมาณ ความพยายามที่เปล่าประโยชน์ย่อมนำความตายมาถึงท่านก่อนถึงฝั่ง”

พระมหาชนก จึงตอบว่า “ บุคคลเมื่อทำความเพียร เมื่อจะตายก็ได้ชื่อว่าไม่เป็นหนี้ ไม่ถูกญาติ เทวดา มารดาและบิดาติเตียน...บุคคลเมื่อเห็นความประสงค์ของตนและทำการทั้งหลายด้วยความเพียร แม้กิจนั้นจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามที ผลแห่งการงานนั้นย่อมประจักษ์แก่ตน”


ในความเห็นของอาตมา ‘พระมหาชนก’ เป็นตัวอย่างของผู้ปล่อยวางความคาดหวังในความสำเร็จ หากมุ่งทำปัจจุบันให้ดีที่สุด โดยทำความเพียรอย่างเต็มที่

รูปภาพ
พระไพศาล วิสาโล

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร