วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีท่านที่รักในธรรมทุกท่านครับ ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับหลักปฏิบัติกรรมฐานในวิชาธรรมกายมานานแล้ว ผมมี files เสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ก็ฟังอยู่หลายครั้ง โดยส่วนตัวผมมีความเคารพศัทธาท่านมากครับ แต่ด้วยความที่ผมเคยศึกษาหลักสมถและวิปัสนา มาตามตำราแนวพระปริยัติ และจากที่ได้ศึกษาตามแนวทางจากครูอาจารย์รูปอื่นบ้างพอสมควร เบื้อนตนจึงไม่ค่อยเข้าใจความสอดคล้องของวิชาธรรมกายกับหลักกรรมฐานที่เราเข้าใจอยู่เดิม
ที่ถามนี้มิได้มีเจตนาเป็นอกุศลเลย เพียงแต่ว่า เป็นความสงสัยจริงๆครับ ผมเองไม่ใช่นักปฏิบัติแบบหลายๆท่าน ผมเป็นเพียงแต่เป็นคนที่ชอบศึกษาธรรมบ้างมาตั่งแต่เด็กๆ ความรู้ความเข้าใจก็เพียงแค่ความจำและพอจะคิดตามหรือทำความเข้าใจได้บ้างเท่านั้น
ผมขอชี้แจ้งทบทวนสำหรับ ความรู้พื้นฐานของผมโดยสังเขป ขออนุญาติแยกเป็นสมถ และ วิปัสนา ดังนี้
- สมถภาวนา เป็นการระลึก ไปในสิ่งที่เราใช้เป็นเครื่องกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ ๔0 อย่าง ท่านให้ภาวนาหรือกำหนด ไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนเกิดเป็นสมาธิ จะเป็น ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ จนถึง อัปปนาสมาธิที่สามารถระงับธรรมที่เรียกว่า นิวรณ์ ทั้ง ๕ ข้อได้ เกิดเป็นความสงบระงับจากนิวรณ์ อัปปนาสมาธินี้ก็มีทั้งที่เป็น รูป และ อรูป ส่วนจะปฏิบัติให้เกิดเป็นผลทางสมาธิแบบใดก็ขึ้นอยู่กับกองกรรมฐานที่เลือกมาใช้พิจารณาอยู่เหมือนกัน ใน ๔0 กองนั้น บางกอง ทำให้เกิดเพียงอุปจารสมาธิ แต่ไม่สามรถเจริญให้ถึงอัปปนาสมาธิได้ กองกรรมฐานที่จะเจริญให้เป็นอัปปนาสมาธิเห็นจะมีอยู่ทั้งหมด ๓0 กอง ส่วนอรูปฌานจะเกิดได้ต้องได้อัปปนาสมาธิที่เป็นรูปฌาญ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญกรรมฐานบางกองต่อจึงจะได้ ผู้ที่เจริญสมถภาวนาจนเกิดเป็นสมาธิ แม้เป็นอุปจารสามธิ ก็สามารถใช้สมาธินั้น กระทำความเพียรพิจารณา วิปัสนาต่อไปได้จะเกิดประโยชน์มาก

- วิปัสนาภาวนา เป็นการพิจารณาภาวนาตั้งสติระลึกไปในสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง จนเกิดการถอดถอนออกจากความถือมั่นทั้งปวง เท่าที่ผมทราบก็ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ การพิจารณากำหนดรู้ไปใน กาย เวทนา จิต ธรรม ตามลำดับ ในส่วนของกายนั้น ก็มีกองกรรมฐานในสมถภาวนาที่จะใช้เป็นเครื่องระลึกได้อยู่หลายข้อ (ผมสังเกตุมาจากในมหาสติปัฏฐานสูตร) ผู้จะเจริญวิปัสนานั้น อาจจะเคยเจริญสมถมาก่อนหรือไม่ก็ได้
ทีนี้พอผมลองมาทำความเข้าใจในวิธีปฏิบัติที่หลวงพ่อสดท่านสอน ที่เรียกว่าวิชาธรรมกาย ก็เลยงงๆครับจากที่ผมได้ฟัง files เสียง ท่านก็เทศถึงทางระงับคือ สมถภาวนามี ๔0 และทางปัญญาคือวิปัสนาภาวนา ผมชอบฟังท่านมากครับในส่วนของเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาลบ้าง แต่พอถึงหัวใจสำคัญคือหลักภาวนาที่ท่านสอน เราเกิดความสนใจและสงสัยเป็นอย่างมากว่าสอดคล้องอย่างไรกับหลักภาวนาที่ผมเคยทราบและศึกษามาบ้าง ผมก็พยายามทำความเข้าใจแบบงูๆปลาๆ ว่าท่านสอนให้กำหนดเป็นองค์พระอยู่กลางกาย มีการพิจารณากายหยาบจนถึงกายละเอียดจนถึงดวงธรมต่างๆ เป็นชุดๆไป ละเอียดขึ้นไปตามลำดับ การจะได้พัฒนาขึ้นไปตามขั้นนั้นๆ ท่านว่าให้อาศัยตัว "หยุด" เราก็ซึ้งใจถูกใจตรงนี้แหละครับที่ว่า ก็เหมือนกับหลักใหญ่อันหนึ่งที่พอจะทราบว่า ต้องไม่ยึดติดในผลของการปฏิบัติแต่ก็ต้องไม่มีความทยานอยากด้วย คำว่า "หยุด" ของท่านน่าจะหมายถึงสิ่งที่กล่าวไว้ จะได้พัฒนาสู่ขั้นต่อไปได้เรื่อๆ
ครับ...ไม่รู้ว่าที่ผมเข้าใจนั้นไม่รู้ถูกผิดประการใด แต่ก็ยังไม่หายสงสัย หากท่านใดสามารถอธิบายถึงความสอดคล้องกันของวิชาธรรมกายกับหลักกรรมฐานที่เราทราบกันทั่วไป ว่าสอดคล้องกันอย่างไรจะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ
หากท่านจะบอกว่า เป็นสิ่งที่นักปฎิบัติพึงเห็นเอง ก็เห็นจะถูกต้องไม่ปฎิเสธเลยครับ แต่ว่าธรรมทั้งหลาย เบื้อนต้นแม้คนที่รับฟังจะยังไม่เข้าใจด้วยตัวปัญญาที่แท้จริงของตัวเอง แต่ก็พอที่จะพูดหรืออธิบายให้เข้าใจภาษาแบบที่เราใช้สื่อสารได้ใช่ไหมครับ (หากเป็นการพูดที่ เหมือนจะดักคอไว้ ขออภัยจริงๆครับ)

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นคำถามที่ต้องการรายละเอียดอย่างลึกลงไป ผมก็ขอรออ่านเหมือนกันครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 11:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Dawning G. เขียน:

จนถึง .....ที่สามารถระงับธรรมที่เรียกว่า นิวรณ์ ทั้ง ๕ ข้อได้


:b8: :b8: :b8:

พอดีมีหนังสือที่ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งได้ทำวิจัย(วิทยานิพนธ์)เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่
จะลองเอามาลงให้ได้ศึกษา นะคะ

คือมันเป็นเรื่องที่จะว่าบังเอิญก็.... :b1:
หรืออย่างไรก็ไม่รู้
เพราะที่บ้านมีหนังสือเล่มนี้อยู่ แต่ก็แทบจะไม่ค่อยได้ดูได้เห็น
และเมื่อวันเสาร์ก็เดินผ่านชั้นหนังสือบริเวณนั้น เพื่อหยิบหนังสืออีกเล่ม
แต่เล่มนั้นก็ตกลงมา
ก็เลยหยิบขึ้นมา และได้เปิดแง้มดูนิด ๆ
และเห็นข้อความที่ดูเหมือนจะแจงเนื้อความที่คุณถาม พอดี

:b5:

แต่ยาวนะ

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 21 พ.ค. 2012, 17:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 17:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


วิชาธรรมกายเป็นแนวการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เชื่อกันว่าเป็นวิธีที่มีมาแต่โบราณ แต่ได้สูญหายไปหลังจากพุทธปรินิพพานแล้วประมาณ 500 ปี
ได้มีนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่างประเทศกล่าวว่ามีลักษณะคล้ายกับแนวการปฏิบัติในสมัยโบราณ

"ธรรมกาย" ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ
ในพระสูตร(มหามกุฏ)มีปรากฎคำว่า ธรรมกาย อยู่ 4 แห่ง

1. ในฑีฆนิกาย ปาฏกวรรค
"...ดูก่อนวาเสฏฐะ อันว่า คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี
ธรรมภูติผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือพรหมภูตะผู้ที่เป็นพรหมก็ดี
นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต...."

2.ในขุททกนิกาย อุปทาน
"...พระปัจจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป้นผู้มีธรรมะอันใหญ่
มีธรรมกายมาก...."

3.ในขุททกนิกาย อุปทาน
"...บุคคลทั้งหลายยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น
อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย
อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้
ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี..."

4.ในขุททกนิกาย ขุททกปาฐ
ตอนที่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ที่ได้กราบทูลลาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพระนางจะละสังขารเข้าสู่นิพพาน

"...ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว
แต่พระธรรมกายอันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว..."

จากความหมายทั้งสี่ประโยคในพระไตรปิฎก แสดงว่า "ธรรมกาย" เป็นสิ่งที่มีอยู่
บุคคลทั้งหลายสามารถทำให้มี หรือเห็นอยู่ในตนเองได้

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 17:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกาย ในคัมถีร์มิลินทปัญหา (แต่งขึ้นราวประมาณปี พ.ศ. 500)

มีการกล่าวถึง “ธรรมกาย” ตอนเรื่องราวการโต้ตอบปัญหาระหว่างพระนาคเสน
กับพระยามิลินท์โยกราช ซึ่งได้กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่ามีจริงหรือไม่
เพราะบัดนี้พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว และพระองค์จะทรงไปอยู่ที่ใด
พระนาคเสนได้ตอบเปรียบเทียบว่าเหมือนดั่งเปลวไฟที่ดับแล้ว เปลวไฟอยู่ที่ใดก็ไม่อาจทราบได้
และได้กล่าวอีกความว่า
“....ข้อนี้ก็ฉันใดนั่นแลมหาบพิตร พระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว
ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน
อาจชี้ได้เพียง “พระธรรมกาย” ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น...”


ธรรมกาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (พระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. 1000)
“...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น
พระองค์มีรูปพระโฉม พระสรีระอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ
(ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ 32) และพระอสีติยานุพยัญชนะ 80 ทัศ
ประเสริฐด้วยพระธรรมกายอันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้ว
คือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุติขันธ์
วิมุติญาณทัสนะขันธ์ อับริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง....”

จากประโยคนี้แสดงว่า พระพุทธองค์ทรงมีพระวรกายภายนอกอันนอกจากจะงดงามแล้ว
กายภายในก็คือ พระธรรมกาย ก็ยังบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ
หรืออาจจะอ้างได้ว่า ธรรมกายคือกายที่บริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติญาณทัสนะ

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 17:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมกาย ที่ปรากฏในวิธีปฏิบัติกรรมฐานแบบโบราณของไทย

ก่อนหน้าที่หลวงพ่อสดจะค้นพบแนววิธีนี้ ได้เคยมีการปฏิบัติมาก่อนแล้วในสมัยโบราณของไทย
จากหนังสือ “พระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ”
ผู้รวบรวมเขียนขึ้นคือ พระมหาโชติปัญโญ (ใจ ยโสธรรัตน์)
และหนังสือเรื่อง ความรู้เรื่องธรรมกาย (หนังสือนี้ได้รวบรวมเอกสาร
และวิธีปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐานจากคัมภีร์ต่าง ๆ หรือจากแหล่งต่าง ๆ
ในประเทศไทยสมัยโบราณ)
ซึ่งท่านเมตตานันโท ภิกขุ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า

“...ในหนังสือเล่มนี้ ได้มีคำอธิบายไว้หลายตอน ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า
เรื่องธรรมกายนั้นมิใช่เรื่องใหม่เลย มีอยู่ในพุทธศาสนาในแผ่นดินไทยมานาน
พอสมควรแล้ว ตั้งแต่หลักการปฏิบัติธรรมการกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้ว
ซึ่งการเห็นนิมิตนั้นก็ไม่ใช่ว่าไม่มี แม้กระทั้งคำว่า สัมมา อะระหัง
ก็ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้....”
ทั้งนี้ในหนังสือเล่มดังกล่าวได้อธิบายถึงประสบการณ์ภายในจากการทำสมาธิ
แนววิชชาธรรมกายนี้ ตอนหนึ่งว่า

“...ได้สุข เหมือนนั่งใต้ต้นไม้ ต้องลมริ้ว ๆ สบายริ้ว ๆ
มาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิด ปรากฏเห็นรูปร่างตนเองทรงเครื่องมงกุฎ
สร้อยสังวาล ชื่นชมยินดี สบาย....”

ซึ่งประสบการณ์จากการเห็นภายในดังกล่าว
มีลักษณะเหมือนคำอธิบายของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่กล่าวถึงการทำสมาธิ
ตามแนววิชชาธรรมกายเมื่อขณะที่เข้าถึงกายทิพย์ ซึ่งเป็นกายที่อยู่ภายใน
แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ให้ยึดติด เพราะยังมีสิ่งลึกซึ้งและเป็นที่พึ่งได้ยิ่งกว่านั้น
ซึ่งคือการเข้าถึงธรรมกายนั่นเอง ดังอธิบาย

“....จึงตั้งจิตพิจารณาธรรมกายในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ
จนจิตรู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง
จักมีธรรมเป็นที่พึ่งด้วยประการฉะนี้....”

การเข้าถึงธรรมกายในตนเองได้แล้วในคำอธิบายนี้
แสดงว่าจะมีธรรมกายเป็นที่พึ่งของตนเอง
ดังนั้นจึงมีคำอธิบายต่ออีกว่า

“...พระโยคาวจรผู้รู้ว่าธรรมกายดำรงอยู่ในหทัยประเทศ
ทำให้หมุนดั่งว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญวิปัสสนาญาณ
เพื่อให้ถึงธรรมกายเป็นที่พึงอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถาน
อันสงบระงับประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของธรรมกาย
เป็นอมตะ...”

ส่วนการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกายในหนังสือดังกล่าว
ได้อธิบายฐานที่ตั้งของลมที่ทำให้จิตเป็นสมาธิ 9 ฐาน
ซึ่งคล้ายกับฐานที่ตั้งตามคำอธิบายของหลวงพ่อวัดปากนี้
ซึ่งท่านอธิบายไว้เพียง 7 ฐาน แต่ก็มีฐานที่ตรงกันเป็นส่วนใหญ่

จากหนังสือดังกล่าว อาจจะกล่าวได้ว่า วิชชาธรรมกายเป็นสิ่งที่
เคยปฏิบัติกันมาแต่โบราณ ปัจจุบันหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ก็เป็นผู้ค้นคว้าและนำมาเผยแพร่เพื่อการปฏิบัติให้เข้าถึง
ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 17:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงธรรมกาย

จากการศึกษาแนวปฏิบัติพบว่า การฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกาย
อาศัยหลัก ไตรสิกขา กล่าวคือ
การที่บุคคลสามารถรักษาศีลหรือชำระให้บริสุทธิ์ด้วยศีลเป็นเบื้องต้น
แล้วก็จะสามารถปฏิบัติสมาธิทำจิตให้เข้าถึงธรรมกายได้ง่ายขึ้น

สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่น ซึ่งก็คือความตั้งมั่น เป็นสภาวะจิตที่ตั้งมั่น
มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว

การฝึกสมาธิโดยทั่วไปที่ปรากฏ ท่านกล่าวว่า (พระสุธรรมยานเถระ)
สามารถแบ่งได้ง่าย ๆ 3 แบบ คือ
1 เอาใจไว้นอกตัว – เอาความรู้สึกนึกคิดไปจดจ่อกับสิ่งภายนอกเช่น
พยายามจะเพ่ง ปลุกเสก เพื่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ
นิยมในหมู่ฤาษี ชีไพร เป็นการทำสมาธิที่ไม่ใช่แนวทางของ
พระพุทธศาสนา มิใช่ทางพ้นทุกข์และเสี่ยงต่อการเสียจริตได้

2 เอาใจไว้ในตัว คือ เอาความรู้สึกนึกคิดตั้งอยู่ภายในตัว
พิจารณาความเป็นไปของร่างกาย และปรากฏการณ์ที่เกิดมากระทบกับกาย

3 เอาใจไว้กลางตัว คือ การทำสมาธิที่เอาความรู้สึกนึกคิดตั้งไว้ที่กลางกาย
ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกายที่จะได้กล่าวถึงต่อไป

การฝึกสมาธิตามแบบที่ 1 ถือเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมิใช่หนทางที่จะนำไปสู่มรรคผล นิพพานได้
แต่แบบที่ 2 - 3 ถือว่าเป็นสัมมาสมาธิ

:b38: :b38: :b38:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 21 พ.ค. 2012, 21:51, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ระดับการฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกาย จำแนกเป็น 2 ระดับ

1 เป็นการฝึกเบื้องต้น สำหรับผู้ที่ต้องการจะพัฒนาจิตใจ
สติปัญญา ความทรงจำ เพื่อความอยู่เป็นสุข ความก้าวหน้าในชีวิตปัจจุบัน

2 เป็นการฝึกที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้มีอุปนิสัยที่มุ่งจะ
ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ในโลกีย์อย่างจริงจัง
ต้องการจะฝึกฝนให้บรรลุมรรคผลในธรรมะที่ละเอียดลุ่มลึกยิ่งขึ้น

วิธีการทำ
ท่านั่ง นั่งขัดสมาธิ ร่างกายตั้งตรง ดำรงสติมั่น มีความรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร

การกำหนดความรู้สึก บริกรรม 2 อย่างเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวของจิตเบื้องต้น
- บริกรรมนิมิต สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่กำหนดนึกในใจ
“ดวงแก้ว” หรือ “องค์พระแก้วใส” ก็คือ “กสิน” อย่างหนึ่งเรียก อาโลกกสิน
หรือ กสินแสงสว่าง

- บริกรรมภาวนา สิ่งที่จะนึกท่องในใจ เพื่อเป็นการประคับประคองใจ
อีกอย่างหนึ่ง โดยให้ท่องในใจว่า “สัมมา อะระหัง” ซึ่งหมายถึงผู้ที่บริสุทธิ์
ห่างไกลจากกิเลส ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเอง อันเป็นอนุสติอย่างหนึ่ง
คือ พุทธานุสติ

การวางใจหรือตั้งบริกรรม กำหนดความรู้สึก นึกบริกรรมนิมิตดวงแก้วไว้ ณ
ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 (ไปหาดูตามภาพเองน๊ะจ๊ะ)

เมื่อปรากฏนิมิตเป็นดวงแก้วใสเกิดขึ้นแล้ว ให้หยุดบริกรรมภาวนา
เหลือแต่การกำหนดสติเพ่งอยู่กลางดวงนิมิตอย่างเดียว ที่ฐาน 7
ถ้าหากดวงนิมิตเกิดขึ้นที่อื่น ให้น้อมนิมิตนั้นมาตั้งไว้ที่ ฐาน 7
ทำใจให้หยุดสงบเข้าไปตรงกลางดวงนิมิตเรื่อยไป
ดวงนิมิตก็จะสดใสยิ่งขึ้นจนสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือเล็กได้ตาม
ใจปรารถนา
ดวงนิมิตนี้ก็คือ ดวงปฐมมรรค (ดวงธรรม)

:b38: :b38: :b38:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 21 พ.ค. 2012, 21:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคำถามบางประการ

กรณี การฝึกสมาธิตามแนววิชชาธรรมกาย เป็นการสะกดจิตหรือไม่
พระภาวนาวิริยคุณ ได้อธิบายว่า
การถูกสะกดจิตก็คือการที่จิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถูกกระแสจิตของผู้ที่มี
อำนาจจิตเหนือกว่าเพ่งหรือบังคับ ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม เหม่อลอย
หรือไม่มีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีสติที่จะควบคุมตนเองได้อย่างสมบูรณ์
ผู้มีอำนาจจิตที่เหนือกว่าสามารถบังคับให้กระทำการใด ๆ ได้ตามที่เขาปรารถนา
ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เพื่อมรรคผลนิพพาน และมักจะเป็นการสะกดจิต
ตัวต่อตัว แต่การฝึกสมาธินี้มิได้ใช้ฤทธิ์อำนาจใด ๆ บังคับให้เสียความรู้สึกเป็นตัว
ของตัวเอง มิได้ทำให้ลืมสติควบคุมตน เพื่อหวังผลในประโยชน์ประการใดประการหนึ่ง

ส่วนคำอธิบายที่ว่าฝึกแล้วจะทำให้ติดในนิมิตดวงแก้วหรือไม่นั้น
ท่านอธิบายว่า
การใช้บริกรรมนิมิตเป็นอุบายเพื่อทำให้จิตสงบลงในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดสมาธิ
เมื่อมีความสว่างภายใน เกิดสติปัญญาขึ้นแล้ว ก็สามารถที่จะใช้สติปัญญา
พิจารณาธรรมในเบื้องสูงขึ้นอีกต่อไป
และบริกรรมดวงแก้ว หรือบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ต่อไปอีก

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


เทคนิค

1 ไม่ให้ใช้กำลัง เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตาเพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็ว ๆ ไม่ด่วนอยากเห็น
คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมนิมิต
ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง

2 ไม่ให้กังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกเจริญ
ภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย อาศัยการเพ่ง อาโลกกสิน
เมื่อเกิดนิมิตเป็นความสว่างแล้วค่อยเจริญวิปัสสนาในภายหลัง

3 เมื่อเลิกจากการนั่งสมาธิแล้วให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม ไม่ย้ายฐานที่ตั้งจิตไปที่อื่นใด
ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส
ควบคู่กันตลอดไป

4 นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด
ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไป
ตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฎขึ้นมาใหม่อีก

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ลำดับประสบการณ์ภายในของการทำสมาธิขั้นต่าง ๆ

1 ระดับสมถกรรมฐาน

เมื่อปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน.......จนกระทั้งใจหยุดนิ่งที่
ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นขนิกสมาธิ
จนสมาธิมั่นคงเป็นอุปจารสมาธิ ดวงแก้วที่กำหนดก็จะปรากฏชัด
ใส สว่าง มั่นคงขึ้นเป็นอุคหนิมิต ใจจะรวมนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายมั่นคงยิ่งขึ้น
มีดวงใสผุดซ้อนขึ้นมาเป็นปฏิภาคนิมิต จิตตั้งมั่นในสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ
ดวงใสที่ปรากฏขึ้นครั้งหลังนี้ไม่ใช่นิมิตที่กำหนด
แต่เป็น ดวงปฐมมรรค ซึ่งเป็นดวงธรรมเบื้องต้นที่จะนำไปสู่
การเจริญสมถะ และวิปัสสนาต่อไป บางครั้งก็เรียกดวงนี้ว่า
“ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน”

เริ่มต้นจากดวงปฐมมรรคดังกล่าวก็จะดำเนินจิตเข้ากลางดวงไป
ก็จะปรากฏมีดวงใสผุดซ้อนขึ้นมาเป็นลำดับ ขณะที่จิตละเอียดอ่อนขึ้นเรื่อย ๆ
ดวงดังกล่าวเรียกว่า ดวงศีล ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสนะ

ก็จะเข้าถึง “กายมนุษย์ละเอียด” ซึ่งจะผุดซ้อนขึ้นมากลางดวงวิมุตติญาณทัสนะ
เมื่อปล่อยวางกายมนุษย์ละเอียดโดยเอาใจไปกำหนดวางไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7
ของกายมนุษย์ละเอียด โดยมีบริกรรมนิมิตดวงแก้วใส
จนเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายมนุษย์ละเอียด
และจรดจิตเข้ากลางดวงไปอีกเรื่อย ๆ

จะปรากฏมีดวงใสละเอียดซ้อนขึ้นมาอีก
คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสนะ
(ดวงหลายดวงช่วงหลังนี้จะไม่เหมือนกับครั้งแรก เพราะอยู่ในช่วงของคนละกาย)
และจะปรากฏมีกายละเอียดซ้อนขึ้นมา บางดวงวิมุตติญาณทัสนะเรียกว่า กายทิพย์
หรือ กายฝัน หรือเป้นกายเดียวกันเมื่อเราเห็นในฝัน

ดำเนินจิตไปเรื่อย ก็จะเห็นดวง 6 ดวง (คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสนะ) สลับกับการซ้อนกายขึ้นมาเป็นระยะ ๆ ละเอียดอ่อนขึ้นเรื่อย ๆ
กายที่ปรากฏซ้อนขึ้นต่อมา คือ กายทิพย์ละเอียด

ต่อมาสมาธิแนบแน่นยิ่งขึ้น
ผ่านดวง 6 ดวง และสามารถกำหนดรูปฌาน 4 ได้เข้าถึง “กายพรหม”

ต่อมาดำเนินจิตเข้าที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายพรหมละเอียดและได้
อรูปฌาน 4 ก็เข้าถึง “กายอรูปพรหม” ดำเนินจิตไปอีก 6 ดวง
ก็เข้าถึง “กายอรูปพรหมละเอียด”

ขั้นตอนที่กล่าวมานี้เป็นระดับ สมถกรรมฐาน

:b5: :b5: :b12: :b12:

:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ระดับวิปัสสนากรรมฐาน

ระดับวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิชชาธรรมกาย เริ่มตั้งแต่

กายธรรมโคตรภู
ซึ่งเกิดจากการดำเนินจิตเข้าศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของกายอรูปพรหมละเอียด
เห็นตรงดวง 6 ดวง จนดวงสุดท้าย คือ ดวงวิมุตติญาณทัสนะในกายอรูปพรหมละเอียด
จะมี กายธรรมโคตรภู ซ้อนขึ้นมา

กายอื่น ๆ ที่จะซ้อนขึ้นมาเป็นลำดับ ๆ คือ
กายธรรมโคตรภูละเอียด
กายธรรมพระโสดา
กายธรรมพระโสดาละเอียด
กายธรรมพระสกิทาคามี
กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด
กายธรรมพระอนาคามี
กายธรรมพระอนาคามีละเอียด
กายธรรมพระอรหันต์
กายธรรมพระอรหันต์ละเอียด
รวมตั้งแต่ต้นทั้งหมด 18 กาย

ซึ่งอานิสงค์ของการเจริญสมถวิปัสสนากรรมฐานตามแนว
วิชชาธรรมกาย
ในระดับ
กายมนุษย์ ดำเนินการชำระ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญานทัสะ
ไปจนเป็นกาย กายมนุษย์ละเอียด
เป็น สมถะ ระดับ ปฐมฌาน

ลำดับต่อมา ชำระ..................................ไปจนเป็นกายทิพย์
เป็น สมถะ ระดับ ทุติยฌาน

ลำดับต่อมา ชำระ..................................กายรูปพรหม
เป็น สมถะ ระดับ ตติยฌาน

ลำดับต่อมา ชำระ................................กายอรูปพรหม
เป็น สมถะ ระดับ จตุตถฌาน

ลำดับ ตั้งแต่ กายธรรมโคตรภู ไปจนถึงกายธรรมพระอรหันต์
เป็นวิปัสสนา

กายธรรมพระอรหันต์ พ้นจากไตรลักษณ์


:b38: :b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 18:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิตามแนววิชชาธรรมกายกับสติปัฏฐาน 4
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงภุมรา ตาละลักษณ์ ได้สรุปอธิบายว่า

“...กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งในทางอานาปานัสสติภาวนาใช้ลมหายใจเป็นกายในกาย
แต่ในทางวิชชาธรรมกายจะตามเห็นกายภายใน ในกายภายนอกเข้าไปเรื่อย ๆ
โดยดำเนินจิตเข้ากลางดวงธรรมฯ ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เข้าถึงดวงศีล
ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสนะ
เข้าถึงกายมนุษย์หยาบเข้าเป็นอันเดียวกับใจของกายมนุษย์ละเอียด
ให้ศูนย์กลางกายซ้อนกันที่ฐาน 7 เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด
กิเลสที่ประจำกายมนุษย์หยาบคือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฐิ จะลดไป
เวทนาของกายมนุษย์ละเอียด จะเป็นสุขเวทนาที่ละเอียดอ่อนขึ้น จิตละเอียดอ่อนขึ้น
ธรรมประจำกายมนุษย์ละเอียดคือ ศีล 5
เมื่อเข้ากลางดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดไปตามลำดับถึงกายทิพย์...
กายรูปพรหม...กายอรูปพรหม การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม
คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในวิชาธรรมกาย
พิจารณาพร้อมกันไปทั้ง 4 ฐาน.....”


:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 02:32
โพสต์: 10

แนวปฏิบัติ: ทาน, ศีล, ภาวนา
งานอดิเรก: หัดเล่นดนตรี
สิ่งที่ชื่นชอบ: หลายเล่ม
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน จ. ฉะเชิงเทรา (สมุทรสงคราม คือถิ่นเกิด)

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณ คุณ Eragon Joe มากๆเลยครับ ที่กรุณานำมาตอบ ที่คุณบอกว่ามีหนังสืออยู่พอดี แล้วนี่กรุณาพิมพ์ลงให้เลยเหรอครับ ขอบพระคุณจริงๆครับ ผมอ่านไปรอบหนึงแล้ว ก็ทำให้เข้าใจถึงความสอดคล้องกันของวิชาธรรมกายกับหลักกรรมฐานที่เคยทราบเพิ่มขึ้น ถึงผมจะเป็นเพียงผู้ศึกษาแบบที่อาจเรียกได้ว่าศึกษาธรรมแบบลูบคลำ แต่ก็ไขข้อสงสัยไปได้อีกมากเลยครับ อย่างนี้แสดงว่าท่านนักปฏิบัติหลายท่านที่ศึกษาวิชาธรรมกาย คงมีความเข้าใจในความสอดคล้องดังกล่าวเป็นอย่างดีแล้ว บังเอิญผมเองก็ไม่เคยไปค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ขอบพระคุณคุณ Eragon Joe อีกครั้งครับ ขอสิ่งที่ท่านเพียรพยายามไขข้อข้องใจแก่ผมให้มีความรู้ความเข้าใจไม่ว่ามากน้อย จงเกิดเป็นผลบุญแก่ท่านด้วยครับ อนุโมทนาครับ สาธุ.

.....................................................
ขอเราท่านทั้งหลาย จงจริญในธรรมและรักษาตนให้เป็นสุขเถิด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร