วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 05:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรับรู้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสาม คือ อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ (คือ ตัวอย่างทางตา...จักขายตนะ+รูปารมณ์+จักขุวิญญาณ) ภาวะนี้ในภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า ผัสสะ หรือ สัมผัส แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบหรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ

พูดอย่างเข้าใจง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้นั่นเอง

ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือการรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ ไปตามทางที่รับรู้ คือ อายตนะนั้น ครบจำนวน 6 คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส


ผัสสะ เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการรับรู้ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว กระบวนธรรมก็ดำเนินต่อไป เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิตใจ การจำหมาย การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ที่สืบเนื่องไปตามลำดับ…


-ผัสสะ และ สัมผัส นี้ไม่ควรเข้าใจสับสนกับความหมายในภาษาไทย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“อาศัยตา และรูป เกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดารอารมณ์นั้น บุคคลผันพิสดารอารมณ์ซึ่งอารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเป็นเหตุ ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน”


(ต่อไปว่าด้วยอาตยตนะ และอารมณ์อื่นๆจนครบ 6 คู่ ใจความอย่างเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณกรัชกายมากเลยนะค่ะ ทำให้ความเข้าใจเรื่องผัสสะมากขึ้น
smiley tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2012, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ามนุษย์จะเข้าใจความจริงแท้ เขาหนีไม่พ้นที่จะต้องเข้าใจตัวมนุษย์เอง ถ้าเข้าใจตัวมนุษย์เอง กล่าวได้ว่าเข้าใจหมดทุกอย่าง เพราะว่า ตัวมนุษย์นี้เป็นสุดยอดของสิ่งทั้งหลายบรรดามีในโลกและในสากลพิภพ
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เราค้นพบตัวเอง ให้รู้จักตัวเอง ให้เข้าถึงความจริงที่มีอยู่ในขันธ์ 5 นี้

เมื่อใดเข้าถึงความจริงนี้แล้ว ก็จะทำให้เราปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง ทั้งภายในและภายนอก ถ้าปฏิบัติต่อชีวิตจิตใจของตัวเองยังไม่ถูกต้อง ก็ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายภายนอกให้ถูกต้องไม่ได้ด้วย และจะแก้ปัญหาไม่จบไม่สิ้น

ปัญหาทุกอย่างนั้น มันโยงถึงกันไปหมด มีเหตุปัจจัยถึงกัน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ในที่สุดมนุษย์จะหนีไม่พ้น ที่จะต้องทำความเข้าใจตัวมนุษย์เองให้ชัดเจน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แยกความคิดออกเป็น 2 อย่างคือ ความคิดปรุงแต่ง กับ ความคิดเชิงปัญญา เช่นที่เรียกว่า สืบสาวหาเหตุปัจจัย

เบื้องต้น ความคิดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแนะนำให้เราคิด ทรงแนะนำให้เราละเสีย ก็คือ ความคิดปรุงแต่ง


ความคิดปรุงแต่ง คือ คิดอย่างไร คือ ความคิดด้วยอำนาจความยินดียินร้าย ใต้อิทธิพลของความชอบ ชัง


หมายความว่า คนเรานี้ได้ประสบอารมณ์ต่างๆที่เข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เวลาประสบอารมณ์นั้น นอกจากการรับรู้แล้ว ก็จะมีสิ่งหนึ่ง คือ ความรู้สึกที่เรียกว่า เวทนา สิ่งใดที่เข้ามาแล้วเป็นที่สบาย เรียกว่า เกิดสุขเวทนา

อันใดที่ไม่สบาย เรียกว่า เกิดทุกขเวทนา



สิ่งทั้งหลายที่เรารับรู้ทุกอย่าง จะมีความรู้สึกประกอบอยู่ด้วย เวลาเราเห็น ไม่ใช่เฉพาะว่าเห็นรูปร่าง เห็นสีเขียว สีขาว สีดำ สีแดง รูปร่างกลม ยาว เหลี่ยมเท่านั้น ทุกครั้งที่เราได้ดู ได้เห็นนั้น เราจะมีความรู้สึกด้วย คือ มีความรู้สึกสบาย ไม่สบาย จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยา ที่เรียกว่า ความชอบ หรือไม่ชอบ หรือที่ภาษาเก่าของพระเรียกว่า ยินดียินร้าย

ถ้าเป็นสุขเวทนา สบาย เราก็ชอบใจ หรือยินดี

ถ้าเป็นทุกขเวทนา เราก็ไม่ชอบใจ หรือยินร้าย


เราต้องแยกให้ได้ 2 ตอน ที่ว่าสบาย กับ ยินดี หรือสบาย แล้วชอบใจ นี่คนละตอนกัน

ตอนสบายเป็นเวทนา เป็นฝ่ายรับ ยังไม่ดีไม่ชั่ว ยังไม่เป็นกุศลหรืออกุศล สบาย ไม่สบาย สุข ทุกข์ อันนี้ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ยังเป็นกลางๆเป็นเวทนา


แต่เมื่อไรเกิดปฏิกิริยา ว่าชอบหรือไม่ชอบ ยินดีหรือยินร้าย อันนี้เรียกว่า เกิดตัณหา แล้ว ตัณหานี้ เป็นปฏิกิริยา เป็นสภาพจิตที่เป็นสังขารแล้ว คือ ก้าวข้ามจากเวทนาไปเป็นสังขารแล้ว



* สุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย เป็นเวทนา

* แต่ยินดี - ยินร้าย ชอบใจ – ไม่ขอบใจ เป็นสังขาร

เมื่อเราเกิดความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ คือเกิดตัณหาขึ้นมาแล้ว จากนั้นเราจะคิด ถ้าชอบใจ เราคิดตามอำนาจความชอบใจ

ถ้าไม่ชอบใจเรา ก็คิดตามอำนาจความไม่ชอบใจ ความคิดอย่างนี้ เรียกว่า ความคิดปรุงแต่ง จะเกิดความเอนเอียง จะเกิดปัญหาแก่จิตใจ จะมีตัวตนที่รับกระทบอย่างนั้นอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราคิดเชิงปัญญา คือ พิจารณาว่า อะไรเกิดขึ้นจึงเป็นอย่างนี้ อ้นนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร สืบสาวหาเหตุปัจจัย อันนี้ไม่ใช่คิดปรุงแต่ง อันนี้เป็นการคิดเชิงปัญญา เช่น คิดสืบสาวตามหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงคิด ในตอนที่ตรัสรู้

เพราะฉะนั้น ต้องแยกให้ถูกว่า ความคิดมี 2 แบบ เราไม่ควรจะคิดเชิงปรุงแต่ง เพราะจะทำให้

1. ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นตามเป็นจริง แต่เห็นตามอำนาจความยินดียินร้าย เป็นการสร้างภาพ และเกิดความลำเอียง ไปตามความชอบ ชัง


2. เกิดโทษต่อชีวิตจิตใจ ทำให้จิตใจขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแคบ บีบคั้น เร่าร้อน เครียด เป็นต้น

พูดสั้นๆว่า ว่าเกิดทุกข์ รวมทั้งปัญหานานา ทั้งแก่ตนและกับผู้อื่น ที่เนื่องจากโลภะ โทสะ และโมหะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนำ ความคิดปรุงแต่ง ลงต่ออีกหน่อย คิดปรุงแต่งดีก็มี ถ้าปรุงแต่งดี ได้ถึงฌานสมาบัติอย่างสูง


ได้พูดแล้วว่า การคิดมีสองอย่าง คือ การคิดปรุงแต่ง กับ การคิดเชิงปัญญา เช่น สืบสาวหาเหตุปัจจัย
การคิดแบบปรุงแต่งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเสียอย่างเดียว ที่ดีก็มี คือ การคิดปรุงแต่งกุศลขึ้นมา

ยกหลักมาว่ากัน ความคิดปรุงแต่ง ท่านเรียกว่า อภิสังขาร ซึ่งมี 3 อย่าง

ปรุงแต่งไม่ดี เป็นบาป ก็เป็นอปุญญาภิสังขาร

ปรุงแต่งดี เป็นบุญ ก็เป็นปุญญาภิสังขาร

เหนือขึ้นไปอีก ปรุงแต่สูงสุด ก็เป็นอาเนญชาภิสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การคิดปรุงแต่งที่เป็นตัวร้าย ท่านเรียกเป็นภาษาพระว่า อปุญญาภิสังขาร คือปรุงแต่งความคิดและ

สภาพจิตที่ไม่ดี รวมทั้งปรุงแต่งใจให้เป็นทุกข์ บีบคั้นใจตัวเอง ปรุงแต่งความโลภ ความโกรธ

เช่น เห็นอารมณ์ที่ไม่สบายตาแล้วเกิดความชัง เกิดความยินร้าย เกิดความไม่สบายใจ เก็บเอาสิ่ง

โน้นถ้อยคำคนนี้มาปรุงแต่ง ทำให้ใจตัวเองมีความทุกข์ ปรุงแต่งความกลุ้ม ความกังวลอะไรต่างๆ

เหล่านี้ เรียกว่าปรุงแต่งอกุศล เป็นอปุญญาภิสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการปรุงแต่งดี ปรุงแต่งเป็นบุญ ปรุงแต่งเป็นความสุข ทำให้เกิดกุศล ทำให้สร้างสรรค์ ทำให้

ความดีงามเจริญเพิ่มพูน ทำให้ใจสบาย สดชื่นผ่องใส...ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขาร

มนุษย์เราที่อยู่ในระดับของปุถุชน หนีไม่พ้นการปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น อย่าเพิ่งไปติเตียนการปรุงแต่ง

โดยสิ้นเชิง ให้ปรุงแต่งดีเถอะ ปรุงแต่งเป็นบุญเป็นกุศล ทำใจให้มีสุข ปรุงแต่งใจให้สบาย ปรุงแต่ง

ความดีท่านไม่ห้าม ท่านเรียกว่าเป็นปุญญาภิสังขาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้กระทั่งเจริญสมาธิได้ฌาน ก็เป็นปุญญาภิสังขาร ยังปรุงแต่งดีอยู่นั่นแหละ จนกระทั่งถึงอรูปฌานก็

ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นอาเนญชาภิสังขาร เป็นการปรุงแต่งที่ประณีตขึ้นไป ก็ยังไม่พ้นการปรุงแต่งอยู่

นั่นเอง





เพราะฉะนั้น สมาธิ อย่าว่าแต่สมาธิธรรมดาเล็กน้อยเลย แม้แต่สมาธิสูงเยี่ยมยอดขนาดอรูปฌาน ได้

สมาบัติสมบูรณ์แล้ว ก็ยังเป็นการปรุงแต่งอยู่ คือเป็นอาเนญชาภิสังขาร

การปรุงแต่งอย่างนี้ ก็ทำให้จิตพัฒนาไปถึงขั้นสูง แต่ก็ต้องระวัง ต้องมีสติอยู่เสมอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2012, 11:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 12:50
โพสต์: 40


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron