วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 01:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2012, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 00:37
โพสต์: 27


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม แออัดอยู่ด้วยบุตร ครองเรือน ใช้สอยกระแจะจันทน์จากแคว้นกาสี ทัดทรงพวงดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้ ยินดีทอง และเงินอยู่.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) และในสัมปรายะ (ในเวลาถัดต่อมา) แก่พวกข้าพระองค์
ผู้อยู่ในสถานะเช่นนี้ เถิด พระเจ้าข้า !”
พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรม ๔ ประการเหล่านี้
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน) ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?
๔ ประการ คือ :-
อุฏฐานสัมปทา (ความขยันในอาชีพ)
อารักขสัมปทา (การรักษาทรัพย์)
กัลยาณมิตตตา (ความมีมิตรดี)
สมชีวิตา (การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

ความขยันในอาชีพ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! อุฏฐานสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ สำเร็จการ
เป็นอยู่ด้วยการลุกขึ้นกระทำการงาน คือด้วยกสิกรรม หรือ
วานิชกรรม โครักขกรรม อาชีพผู้ถืออาวุธ อาชีพราชบุรุษ
หรือด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในอาชีพนั้น ๆ เขาเป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยการสอดส่อง
ในอุบายนั้น ๆ สามารถกระทำ สามารถจัดให้กระทำ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา(ความ ขยันในอาชีพ).

การรักษาทรัพย์
พ๎ยัคฆปัชชะ ! อารักขสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้, โภคะ
อันกุลบุตรหาได้มาด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น
รวบรวมมาด้วยกำลังแขน มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ เป็นโภคทรัพย์
ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม, เขารักษาคุ้มครองอย่างเต็มที่
ด้วยหวังว่า “อย่างไรเสียพระราชาจะไม่
ริบทรัพย์ของเราไป โจรจะไม่ปล้นเอาไป ไฟจะไม่ไหม้
น้ำจะไม่พัดพาไป ทายาทอันไม่รักใคร่เรา จะไม่ยื้อแย่ง
เอาไป” ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา(การ รักษาทรัพย์).

ความมีมิตรดี
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กัลยาณมิตตตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ อยู่อาศัยใน
บ้านหรือนิคมใด, ถ้ามีบุคคลใด ๆ ในบ้านหรือนิคมนั้นเป็นคหบดีหรือบุตรคหบดีก็ดี
เป็นคนหนุ่มที่เจริญด้วยศีลหรือเป็นคนแก่ที่เจริญด้วยศีลก็ดี
ล้วนแต่ถึงพร้อมด้วยสัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะ ถึงพร้อมด้วย
ปัญญาอยู่แล้วไซร้, กุลบุตรนั้นก็ดำรงตนร่วม พูดจาร่วมสากัจฉา (สนทนา)
ร่วมกับชนเหล่านั้น เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยสัทธา
โดยอนุรูปแก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป
แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธา
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป
แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป
แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
เขาติดตามศึกษาความถึงพร้อมด้วยศีลโดยอนุรูป
แก่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอยู่ในที่นั้น ๆ.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา(ความ มีมิตรดี).

การเลี้ยงชีวิตอย่างสมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ
พ๎ยัคฆปัชชะ ! สมชีวิตา เป็นอย่างไรเล่า ?
พ๎ยัคฆปัชชะ ! กุลบุตรในกรณีนี้ รู้จักความ
ได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์แล้ว
ดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก
โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย
ของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนคนถือตาชั่งหรือ
ลูกมือของเขา ยกตาชั่งขึ้นแล้ว ก็รู้ว่า “ยังขาดอยู่เท่านี้หรือเกินไปแล้วเท่านี้”
ดังนี้ฉันใด; กุลบุตรนี้ ก็ฉันนั้น :เขารู้จักความได้มาแห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่ง
โภคทรัพย์ แล้วดำรงชีวิตอยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก
ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลักว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้”ดังนี้.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! ถ้ากุลบุตรนี้ เป็นผู้มีรายได้น้อย
แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือยแล้วไซร้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า
กุลบุตรนี้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ (อย่างสุรุ่ยสุร่าย) เหมือนคนกิน
ผลมะเดื่อ ฉันใดก็ฉันนั้น.

พ๎ยัคฆปัชชะ ! แต่ถ้ากุลบุตร เป็นผู้มีรายได้
มหาศาล แต่สำเร็จการเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแล้วไซร้ ก็จะ
มีผู้กล่าวว่า กุลบุตรนี้จักตายอดตายอยากอย่างคนอนาถา.
พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อใด กุลบุตรนี้ รู้จักความได้มา
แห่งโภคทรัพย์ รู้จักความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ แล้ว ดำรงชีวิตอยู่ อย่างสม่ำเสมอ ไม่ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ฝืดเคืองนัก โดยมีหลัก ว่า “รายได้ของเราจักท่วมรายจ่าย และรายจ่าย ของ เรา จักไม่ท่วมรายรับ ด้วยอาการอย่างนี้” ดังนี้; พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เราเรียกว่า สมชีวิตา(การเลี้ยงชีวิตอย่าง สมดุลย์พอเพียงแก่ฐานะ).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๘๙/๑๔๘.

จากเว็บ http://buddhadham.org รวมธรรมะแท้
link= http://buddhadham.org/page/story/page/05.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2012, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ค. 2006, 22:43
โพสต์: 29

โฮมเพจ: http://www.thaimillionaire.net
อายุ: 0
ที่อยู่: กรุงเทพ

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณครับ rolleyes


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร