วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 06:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2012, 07:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 เม.ย. 2012, 10:54
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีเรื่องอยากจะถามครับ คือผมเป็นคนที่มีปัญหา
ในการทำอานาปานสติ ตรงที่ ผมมัก
จะชอบบังคับลมหายใจครับ แล้วทุกครั้งที่จะคิดจะนั่งสมาธิ
ร่างกายจะเปลี่ยนจากการหายใจอัตโน
มัติมาเป็นบังคับทุกที ผลที่ได้ก็คืออึดอัด
หายใจไม่ทั่วท้องตอนนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2012, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติ เป็นกรรมฐานละเอียด การจับลมหายใจที่ปลายจมูก จะยากสำหรับผู้ฝึกใหม่ ๆ
เหตุนั้นจึงหายใจแรง ปื้ด ๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า จับลมหายใจที่จมูกได้ เลยการเป็นการบัง
ลมหายใจไป

ท่านให้หายใจแรง ๆ ในตอนแรก ๆ เพื่อไล่ลมหยาบออกไป หายใจให้ "ทั่วท้อง"
แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจลงและให้มีความรู้สึกว่า "สะบาย"และ "ทั่วท้อง"
ตอนแรกอาจจะกำหนดที่ท้อง ยุบ-พอง สักพักก่อนก็ได้ แล้วค่อยเอา
"สติกำหนดรู้ที่ ลมเข้า-ออกที่ ปลายจมูก" สลับกันไป

อานาปานสติ คือ "การใช้สติกำหนดรู้ เฝ้าดู ลมหายใจเข้าออกว่ายาวสั้นอย่างไร"
ไม่ใช่ให้ไปบังคับลมหายใจ ถ้าขาดความเข้าใจหรือทำไม่ถูก นานไปอาจหมดความเพียรได้ ..

:b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2012, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณวิริยะ....ที่นำหลักอานาปานสติมาแจง

อยากจะฝากเพิ่มนิดหนึ่ง...
:b12:
เรา...อย่าไปเป็นลมหายใจเสียเองสิครับ...

แค่...เรารู้ลมหายใจ...

เรา...รู้ลมหายใจ

ไม่ใช่..เราเป็นลมหายใจ

แยกเราออกมาครับ

เหมือนคนนั่งดูหนัง....นะครับ...
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2012, 21:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
ลองอ่านอานาปานสติตามคำแนะนำของพระบรมศาสดาอีกสักหลายๆรอบแล้วปฏิบัติตามดูอาจหายอาการบังคับลมหายใจได้นะครับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
เธอย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจ ว่าเราจักเป็นกำหนดรู้จิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้าว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้พิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร? ทำให้มากแล้วอย่างไร? จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า เราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า เราจักเปลื้องจิต หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
สำหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ว่าเราจักเป็นตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี
เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชาฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

มี 16 ขั้นตอนนะครับ ใหม่ๆก็เอาเฉพาะขั้นตอนที่ 1 2 3 ไปก่อนครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 มี.ค. 2009, 00:58
โพสต์: 16


 ข้อมูลส่วนตัว


หาสถานที่อากาศถ่ายเท เย็นสักนิดหนึ่ง เงียบสงบ นั่งสบาย ๆ วางลำตัวตรง ๆ แต่ไม่ต้องเกร็ง
แรก ๆ อาจต้องระบายลมหายใจออกยาว ๆ เพื่อไล่ลมหยาบออกให้หมดก่อน ให้ภาวนา พุท
ลมเข้ายาว ๆ โธ ลมออกยาว ๆ ก่อน ๓ ถึง ๕ ครั้ง (คำภาวนากับลมให้ยาวเท่ากัน ถ้าใช้คำภาวนาอื่น
ก็ปรับตามความเหมาะสม) หลังจากนั้นแล้วก็กำหนดลมตามปกติ ไม่ต้องไปบังคับ จะแรงจะเบา
จะยาวจะสั้น อยู่ที่สภาพร่างกายของเราต้องการ เราแค่เอาความรู้สึกไหลตามเข้าไป ไหลตามออกมา กำหนดรู้ว่าตอนนี้ลมผ่านตรงจุดไหน แรงเบาแค่ไหน พร้อมกับคำภาวนาของเราก็พอ

กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้าให้ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออกให้ไหลตามลมหายใจออกมา ใช้คำภาวนาที่เราถนัด เคยภาวนายาวสั้นอย่างไร ถ้าถนัดให้ใช้อย่างนั้น ความรู้สึกทั้งหมดถ้าหลุดจากลมหายใจเข้าออก แปลว่าความฟุ้งซ่านจะเข้ามาถึง ต้องรีบดึงกลับเข้ามาอยู่กับลมหายใจอีกครั้ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 00:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


gtagtaza เขียน:
ผมมีเรื่องอยากจะถามครับ คือผมเป็นคนที่มีปัญหา
ในการทำอานาปานสติ ตรงที่ ผมมัก
จะชอบบังคับลมหายใจครับ แล้วทุกครั้งที่จะคิดจะนั่งสมาธิ
ร่างกายจะเปลี่ยนจากการหายใจอัตโน
มัติมาเป็นบังคับทุกที ผลที่ได้ก็คืออึดอัด
หายใจไม่ทั่วท้องตอนนี้

สวัสดีครับคุณgtagtaza :b8:
จริงๆแล้วในตอนที่เริ่มทำสมาธิภาวนานั้น เราต้องมีการบังคับลมหายใจบ้างครับ แต่เป็นเพียงการบังคับเล็กน้อยพอประคองสติให้อยู่กับลมหายใจหรือคำบริกรรม แต่พอผ่านไปสักพักหรือเริ่มมีความสงบขึ้นแล้วมันจะเปลี่ยนเป็นหายใจอัตโนมัติแทนโดยมีสติตามรู้อยู่เท่านั้นครับ ดังนั้นถ้าแค่บังคับลมหายใจเล็กน้อยตอนเริ่มทำก็ไม่ต้องกังวลนะครับทำต่อไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็จับหลักได้เองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 158 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร