วันเวลาปัจจุบัน 27 มี.ค. 2024, 12:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[พระพุทธเจ้าประทับยืน ปางประทานอภัย ขนาบด้วยพระอัครสาวก คือ พระโมคคัลลานะ
และพระสารีบุตร ขนาด ๑.๐๓ x ๒.๙๒ เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร]


พระบฏ : ภู มิ ปั ญ ญ า ไ ท ย
ในจิตรกรรมไทยประเพณี



เมื่อพูดถึงหรือนึกถึง พระบฏ ดูจะเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า

หมายถึง ภาพเขียนพระพุทธเจ้า หรือภาพเล่าเรื่องในพระพุทธประวัติ
พระมาลัย หรือทศชาติชาดก ลงบนผืนผ้าขนาดยาว
ที่แขวนห้อยอยู่ภายในอาคารศาสนสถาน
เช่น ศาลาการเปรียญ วิหาร และอุโบสถ ซึ่งในปัจจุบันหาดูได้ยากเต็มที


รูปภาพ
[พระพุทธประวัติ ตอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ขนาด ๐.๗๖ x ๑.๖๖ เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป]


คำว่า พระบฏ ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

หมายถึง ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้นและแขวนไว้เพื่อบูชา
คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า "ปฏ" (อ่านว่า ปะ-ตะ)
แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า


หลักฐานการกล่าวถึงพระบฏในดินแดนประเทศไทยที่เก่าที่สุด
ปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ ๑๐๖
พบที่วัดช้างล้อมจึงเรียกว่า จารึกวัดช้างล้อม
ระบุปีพุทธศักราช ๑๙๒๗ กล่าวถึง

นักบวชรูปหนึ่งชื่อว่า พนมไสดำ
ได้สร้างพระบฏขนาดใหญ่สูงถึง ๗ เมตร เพื่อเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
ไปให้แก่พระมหาธรรมราชา และนอกจากนี้ในจารึกยังกล่าวถึงพระบฏจีน
ที่มีขนาดเล็กกว่า และใช้ในการประดับตกแต่งภายในอาคาร

รูปภาพ
[พระพุทธเจ้าปางลีลา ฝีมือช่างล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐]

คติการสร้างพระบฏตั้งแต่ครั้งสุโขทัยได้มีการสืบทอดต่อกันมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์
พระบฏที่เก่าแก่ที่สุดที่พบ คือ พระบฏที่พบได้จากกรุพระเจดีย์ วัดดอกเงิน
อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดสูง ๓.๔๐ เมตร และกว้าง ๑.๘๐ เมตร
เป็นฝีมือสกุลช่างล้านนา อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ คือ สมัยอยุธยาตอนกลาง


เป็นภาพพระพุทธเจ้าปางลีลาขนาดใหญ่ กึ่งกลางผ้า
ด้านข้างเป็นแถวของเทพชุมนุม ด้านบนเป็นพระเจดีย์ทอง
ส่วนด้านล่างเป็นแถวของภิกษุ กษัตริย์และชาวเมือง
ซึ่งเป็นเรื่องราวในพระพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


พระบฏที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นพระบฏที่เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา

รูปภาพ
[ช่วงบนเป็นภาพพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คือพระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระสมณโคดม และพระศรีอาริยเมตไตรย
ใต้ล่างภาพพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ มีสัตว์ประจำในแต่ละกัปป์ คือไก่ นาค เต่า วัว และเสือ ตามลำดับ]


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[พระพุทธเจ้าประทับยืน ปางประทานอภัย ขนาบข้างด้วยพระอัครสาวก]

:b42: ความมุ่งหมายของการสร้าง พ ร ะ บ ฏ :b42:

การสร้างพระบฏในคติดั้งเดิมนั้น
สร้างเป็นพุทธบูชาด้วยการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
และเพื่อการประดับตกแต่งอาคารศาสนสถาน
บ้างใช้บูชากราบไหว้แทนองค์พระปฏิมา

แต่ในระยะหลังนั้น
เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นอานิสงส์ให้แก่ผู้สร้างเอง
และบุคคลในครอบครัว
ที่บริเวณส่วนล่างของผืนผ้ามักมีคำเขียนอุทิศ
บอกชื่อผู้สร้างและวันเดือนปีไว้ด้วย


พระบฏ มีความแพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมากในสมัยรัชกาลที่ ๕
นอกจากจะมีการสร้างอุทิศถวายให้แก่วัดแล้ว ยังมีไว้บูชาภายในบ้านอีกด้วย


ในความเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมาย
ทำให้รูปลักษณ์ของพระบฏเปลี่ยนไปด้วย ทั้งเรื่องราวที่เขียน และวัสดุที่ใช้ทำ
เปลี่ยนจากการเขียนลงบนผืนผ้า เป็นการเขียนแบบ
แล้วส่งไปตีพิมพ์บนกระดาษที่ต่างประเทศ

รูปภาพ
[พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์ ขนาด ๑.๐๖ x ๒.๕๙ เมตร
ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป]


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ทรงมีลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า


“กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงพระดำริทำพระบฏเล็กๆ ขาย
ให้พระวรรณวิจิตร (ทอง) เขียนตัวอย่างเป็นปางมารประจญ
แล้วส่งออกไปตีพิมพ์ที่เมืองนอก

ครั้น ได้เข้ามาก็ส่งไปจำหน่ายตามร้านเป็นที่ต้องตา ต้องใจคนมาก
ขายดี เล่าลือจบทราบถึงพระกรรณ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ตรัสถามถึงลักษณะพระบฏนั้น
ฉันจึงไปซื้อมาถวายแผ่นหนึ่ง ก็พอพระราชหฤทัย

ต่อมากรมหลวงสรรสาตรศุภกิจ เห็นว่าขายดีมีกำไรมาก
จึงทรงจัดให้ช่างเขียนขึ้นหลายแบบส่งออกไปทำเข้ามาอีก
แล้วคนอื่นก็สั่งทำเข้ามาขายด้วย
ต่างคิดค้นหาแบบเก่าใหม่ที่หวังว่าคนจะชอบส่งไปเป็นตัวอย่าง
เป็นการแย่งขายแย่งประโยชน์กันตามเคย
พระบฏต่างๆ จึงมีทะยอยๆ กันเข้ามามาก...”


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[พระมาลัยไปไหว้พระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ขนาด ๐.๙๒ x ๒.๑๕ เมตร
ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป]


:b42: การศึกษาพัฒนาการทางรูปแบบของ
พ ร ะ บ ฏ ที่พบในประเทศไทย :b42:


การศึกษาพัฒนาการทางรูปแบบของพระบฏครั้งนี้
เป็นการศึกษาจากพระบฏ จำนวน ๖๖ ชิ้น
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ใน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
และหอสมุดแห่งชาติ


ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

:b44: แบบแรก :b44:

เป็นภาพพระพุทธเจ้าองค์เดียว
หรือ ภาพพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอัครสาวกประทับยืนเขียนเต็มทั้งผืนผ้า

:b44: แบบที่สอง :b44:

เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนพระองค์เดียว หรือขนาบข้างด้วยพระอัครสาวก
ในเนื้อที่ ๓ ใน ๔ ของผืนผ้าด้านบนหรือด้านล่าง
ขนาด ๑ ใน ๔ เขียนภาพเล่าเรื่องในพระพุทธประวัติ พระมาลัย หรือทศชาติ

:b44: แบบที่สาม :b44:

ตรงกลางผืนผ้ายังคงเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืน
พร้อมด้วยพระอัครสาวกแต่มีขนาดเล็กลงกว่าแบบที่ ๑ และแบบที่ ๒
เพราะให้ความสำคัญแก่ภาพเล่าเรื่องมากขึ้น
ที่นิยมกันมาก คือ เรื่องพระมาลัยและพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เขียนไว้ช่วงบน ส่วนช่วงล่างเป็นตอนสำคัญๆ ในพระพุทธประวัติ และชาดก

:b44: แบบที่สี่ :b44:

เป็นภาพเล่าเรื่องเต็มทั้งผืน
เช่น พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระพุทธมารดาและเสด็จลงจากดาวดึงส์
มารผจญ ทศชาติชาดก พระมาลัย

:b44: แบบที่ห้า :b44:

เขียนภาพเล่าเรื่องเป็นตอนๆ ในพระพุทธประวัติ
หรือชาดกลงบนผืนผ้าขนาดเล็ก
ประมาณ ๗๐ x ๘๐ เซนติเมตร หรือ ขนาด ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร

ที่นิยมกันมาก คือ เวสสันดรชาดก ทั้ง ๑๓ กัณฑ์
เขียนเล่าเรื่องเป็นตอนๆ บนผืนผ้าแต่ละผืน

รูปภาพ
[เวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร ขนาด ๐.๕๕ x ๐.๗๕ เมตร
ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี]


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2012, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[เวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาพน ตอนที่พระฤาษีชี้ทางไปยังเขาวงกตแก่ชูชก
ขนาด ๐.๔๘ x ๐.๗๗ เมตร ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป]


:b42: ช่างเขียนพ ร ะ บ ฏ :b42:

ในหนังสือทูลเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕
ทำให้ทราบว่าช่างเขียนพระบฏในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่สำคัญ

คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- พระเทวาภินิทมิตร
- พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ)
- พระวรรณวาศวิจิตร (ทอง)
- พระพรหมพิจิตร (ใจ)
- หลวงเพศวกรรม (เล็ก)


อย่างไรก็ตาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น
ปรากฏช่างเขียนเป็นจำนวนมากที่ล้วนมีฝีมือ
ผลงานที่สำคัญคือ ภาพเขียนที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม


สันนิษฐานว่า ท่านทั้งหลายเหล่านี้
ก็คือช่างเขียนพระบฏในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วย


ช่างเขียนที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

คือ พระอาจารย์ลอย วัดสุวรรณาราม (แม่กองร่างภาพ)
- พระอาจารย์แดงวัดหงส์รัตนาราม
- อาจารย์ยมวัดราชบูรณะ
- พระสินวัดระฆัง
- พระครูธรรมธาดา (เที่ยง)
- นายรอด
- หลวงเพศวกรรม (เล็ก)
- พระพรหมพิจิตร (ใจ)
- ม.จ.ประวิช ชุมสาย
- พระยาจินดารังสรรค์ (พลับ)
-พระวิทยะบรรจง (จ่าง)
- พระวรรณวาศวิจิตร (ทอง)
- พระยาอนุศาสตร์จิตรกร (จันทร)
- ขุนศรีศุภหัตถ์ (นึก)
- หลวงวัฒนศิลป์
- หมื่นศิรธัช
- กรมหมื่นวรวัฒน์
และ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์


พระบฏ เป็นมรดกทางศิลปะและภูมิปัญญาของไทยมาแต่โบราณกาล
ที่นับวันใกล้จะสูญหายและเสื่อมสภาพไป
โดยที่คุณค่าและความสำคัญของพระบฏ
ยังไม่เป็นที่เปิดเผยและเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งนัก

หากไม่มีการศึกษา รวบรวมและเก็บรักษาไว้
คาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
อนุชนคนไทยจะไม่มีโอกาสได้รับรู้
และชื่นชมมรดกอันล้ำค่านี้


:b8: :b8: :b8:

(ข้อมูลอ้างอิง : จารุณี อินเฉิดฉาย, พระบฏ ภูมิปัญญาไทยในงานจิตรกรรมไทยประเพณี.
ศิลปากร, นิตยสารรายสองเดือน, กรุงเทพฯ : เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด,
พ.ศ.๒๕๔๕, หน้า ๒๕-๔๕.

http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/08/07/entry-1


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2018, 13:19 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b42: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2019, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2020, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2015, 09:43
โพสต์: 702

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาครับ :b8: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร