วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม
ของ
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

รูปภาพ

บันทึกการแสดงธรรมเทศนาสั้น

คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร. จัดพิมพ์เผยแพร่โดยชมรมกัลยาณธรรม
ปี พ.ศ. ๒๕๕๒.

ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์, ๒๕๕๒.


:b47: :b47:

ปกิณกะธรรม ๑
แสดงธรรม ณ ศาลาอุรุพงศ์ วัดบรมนิวาส
เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗


"ความชั่ว"..ตั้งใจจะ "ละ" ไปจนตาย
"ความดี"..ตั้งใจจะ "ทำ" ไปจนตาย
เราต้องตั้งใจอย่างนี้จึงจะใช้ได้


"ความคิด" นั้นยาว "ความนึก"นั้นสั้น
ต้องรวมลงเป็นอันเดียวกันขณะทำความสงบ
นึก ก็คือ มุ่งไปในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง
คิด คือ ตรองว่าถ้าทำเหตุอย่างนั้นๆแล้วจะได้ผลอย่างไร ดีหรือไม่ดี

เมื่อมี "อริยทรัพย์" แล้วก็เป็น "อริยชน"
ใจของเราก็จักได้หล่อเลี้ยงด้วยอริยทรัพย์
และกายของเราก็จักได้ความสุขสมบูรณ์

ลมทั่วตัวเป็น "มหาภูตรูป"
สติทั่วตัวเป็น "มหาสติปัฏฐาน"
จิตใหญ่เป็น "มหคคตํ จิตตํ" "มหากุสลํ กมฺมํ"
ถ้ากายของเราเป็นใหญ่ ใจของเราก็เป็นใหญ่ เรียกว่า "อธิปติปจฺจโย"
เราก็จะมี "อริยทรัพย์" เต็มที่
(จิตที่เป็น "อธิปติ" เปรียบเหมือนกับแท่งหินใหญ่ที่ตั้งบนยอดเขาสูง
ถึงลมจะพัดมาทางทิศใดก็ไม่หวั่นไหว)

การทำความสงบมีประโยชน์ ๒ อย่าง คือ
๑) ข่ม
๒) ตัด
ถ้าเราตัดไม่ได้ เพียงข่มไว้ก็ยังดี
"ข่ม" แปลว่า มีอยู่แต่ไม่ให้มันกำเริบ พยายามกดไว้
"ตัด" หมายความว่า...ไม่ให้มันเกิดเลย


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2012, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๒
แสดงธรรม ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗


ภัยที่เกิดจากความดี ถ้าเราไม่ดีก็ไม่มีใครเพ่งเล็ง
ข้อสำคัญ...ต้องรู้จักใช้ความดีให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
ถ้ามีความดีแล้วไมู่้รู้จักใช้
คือ ใช้ไม่ถูกกาลเทศะ ไม่ถูกกับบุคคลและอัธยาศัยของเขา
ก็ไม่ได้รับผล กลับกลายเป็นภัย ความดีก็กลายเป็นเลวเป็นชั่ว


ต้องรู้จักสังวรในการใช้ความดี
ถ้าเป็นพระก็ต้องระวังในการใช้ความดีกับญาติโยมให้มาก
ความดีและความชั่วมีในตัวบุคคลทุกคน
แต่ต่างกันที่วาสนาบารมี

เหมือนกับคนที่อ่านหนังสือได้เขียนได้ แต่ไม่ดีไปทั้งหมด
บางคนอ่านเร็วและถูก บางคนอ่านช้าถูก
บางคนเขียนตัวสวย ตัวกลม ตัวเอน
บางคนเขียนช้าสวย บางคนเขียนเร็วสวย ฯลฯ
ถ้าคนใดรู้จักใช้ความดีให้ถูกกาลเทศะ
ก็เป็นการอำนวยผลดีให้แก่ตน ถ้าไม่รู้จักใช้ก็ให้โทษ

:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2012, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๓
แสดงธรรม ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗


"ธรรมะ" ที่แท้จริงอยู่ที่ไหน
คำพูด, หนังสือหรือคัมภีร์เหล่านี้เป็นเพียง "เงา" ของธรรมะ
ส่วนตัวจริงของธรรมะนั้นอยู่ที่ "จิตใจ"

ใจที่เป็นธรรมะคือใจที่เป็นปกติ เยือกเย็น ใจสบาย
ส่วนใจที่ไม่เป็นธรรมะ ก็คือ ใจที่หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ใจไม่สบาย

ถ้าใจสบาย รัศมีของความสบายก็จะเปล่งออกมาที่กายเป็นกายสบาย
จะอยู่ที่ไหนก็สบาย จะกิน, นอน, เดิน, นั่งก็สบาย
เงินจะมีใช้ก็สบาย จะไม่มีใช้ก็สบาย จะใช้หมดก็สบาย
ใครจะว่าดีก็สบาย ว่าไม่ดีก็สบาย ฯลฯ

ส่วนใจที่ไม่มีธรรมะนั้น
รัศมีของความไม่สบายก็จะเปล่งออกมาที่กาย
เป็นกายที่ไม่สบาย ใจก็ผีสิง กายก็ผีสิง
ส่วนใจที่สบายนั้น...คือ ใจที่เทวดาสิง

"ทาน" ที่พร้อมด้วยองค์ ๔ คือ

วัตถุสมบัติ
ได้มาด้วยความสุจริต

เจตนาสมบัติ
ประกอบด้วยใจที่ไม่โลภ โกรธ หลง

คุณสมบัติ
ผู้ให้ต้องมีกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ *

ผู้รับก็ต้องมีคุณธรรม
คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ เป็นต้น

(* คือ ละเว้นความทุจริต ดังนี้
กายทุจริต ๓ ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักฉ้อ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑
วจีทุจริต ๔ อย่าง ได้แก่ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑
มโนทุจริต ๓ อย่าง ได้แก่ โลภอยากได้ของเขา ๑ พยาบาทปองร้ายเขา ๑
เห็นผิดจากครองธรรม ๑ - เพิ่มเติมโดยผู้ตั้งกระทู้)

ตัวผู้ให้มีองค์ ๓ ก็เหมือนมีก้อนเส้า ๓ ก้อน
ผู้รับมีอีกองค์หนึ่งก็เป็นภาชนะที่วางบนก้อนเส้า
เมื่อทานนั้นประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้เมื่อใด
พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ

ของดีนั้นทำนิดเดียวก็เป็นมาก
ของไม่ดีทำมากก็เป็นของน้อย
ของดีด้วย...ทำมากด้วย...ยิ่งดีเลิศ

:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๔
แสดง ณ วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี
เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗


การกำหนดรู้ลม เป็น "วัตถุสมบัติ"
ติดอยู่กับลม ตามลมเข้าออก ไม่เผลอ เป็น "เจตนาสมบัติ"
ความไม่สะกดลม-กลั้นลมไว้ ปล่อยไปตามสบายให้ใจเป็นอิสระ
หายใจโปร่งโล่ง เบิกบาน เป็น "คุณสมบัติ"
กิริยาที่นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย
มือขวาทับมือซ้ายตั้งตัวตรง ตาหลับ เป็น "กิริยา"
ทั้งหมดนี้เรียกว่า ปุญญกิริยาวัตถุ

"การนั่งสมาธิ" เป็นประโยชน์ ๓ ประการ คือ

๑) เป็นการเผยแผ่พระศาสนาไปในตัว
เพื่อเป็นการแสดงมารยาทให้บุคคลอื่นที่มาเห็นได้เกิดความเชื่อ
หรือความเลื่อมใสขึ้นโดยไม่ต้องเจตนา

* ผู้บันทึกเทศนาธรรมได้บันทึกย่อไว้
โดยไม่ได้บันทึกคำพูดของท่านอาจารย์ทุกคำ
เพียงสรุปย่อที่ท่านเล่าแทรกไว้ในเทศนาธรรมดังนี้

"พระอาจารย์เล่าตัวอย่างถึงพระพุทธเจ้าพาพระสาวกไปเจริญสมาธิในป่า
ปริพาชกมาเห็นมารยาทกิริยาที่สมาธิอยู่ด้วยความสงบ
ก็ได้เกิดความเลื่อมใสขึ้นโดยไม่ต้องพูดธรรมะใดๆ ทั้งหมด
อีกเรื่องหนึ่ง ลูกศิษย์ขี้เมาคนหนึ่งที่ปักษ์ใต้
เวลาเข้ามาในวัดชอบทำเสียงเอะอะ
เมื่อมาเห็นพระภิกษุสามเณรกำลังนั่งสมาธิกันอยู่
ก็มีความเกรงไม่กล้าพูดเอะอะต่อไป
เกิดความศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสขึ้นโดยกิริยามารยาทนั้นๆ
จึงเป็นเหตุให้บรรเทาความฟุ้งซ่านของบุคคลผู้ดื่มสุราได้อย่างหนึ่ง"

๒) เป็นการสร้างสมบุญกุศลที่เป็นแก่นสารให้เกิดมีในตน

๓) เพื่อเกิดแสงสว่างเป็น "วิปัสสนาญาณ"
อันอาจถึงมรรคผลนิพพานได้


"ดีนอก" เปรียบเหมือน "เงินนอกถุง"
"ดีใน" เปรียบเหมือน "เงินในถุง"
ย่อมสะดวกกับการที่จะหยิบฉวยติดตัวไปได้ทุกเวลา

:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปกิณกะธรรม ๕
แสดง ณ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗


"ธรรมะ" มี...ทุกคนจะรู้หรือไม่รู้ก็มี จะเรียนหรือไม่เรียนก็มี
นอกจากเราจะเรียนภาษาของธรรมะหรือไม่เท่านั้น
เมื่อเราเรียนรู้สมมติบัญญัติของธรรมะก็เท่ากับเราอ่านออก เหมือนอ่านหนังสือ

เด็กทารกไม่รู้เดียงสาเลย พอเกิดออกมาก็ร้องแว้ นั่นก็เป็น "เวทนา" แล้ว
กินอะไรไม่อร่อยจับโยนทิ้งเปลี่ยนอันใหม่ นั่นก็เป็น "สังขาร"
พอโตหน่อยจำอะไรๆได้ นั่นก็เป็น "สัญญา"
"ธรรมะ" มีอยู่อย่างนี้ทุกรูปทุกนาม

เรียนรู้อะไร? เรียนรู้สมมติบัญญัติแล้วขว้างทิ้งสัญญาเก่าใหม่,
อดีต, อนาคต นั่นแหล่ะจึงจะถึงนิพพาน
ตำรวจที่ไม่ถอดเครื่องแบบเสียก่อนย่อมสืบความลับของโจรได้ยาก
เหตุนั้นจึงควรบำเพ็ญ ศีล สมาธิ ปัญญา
ให้สนิทสนมกับขันธ์ ๕ ของตนเสียก่อนจึงจะรู้ความลับของมัน

นั่นแหล่ะเป็นตัว "วิปัสสนา"

"วิปัสสนา" เป็นตัว "ละ"
"สมาธิ" เป็นตัว "ทำวิปัสสนา"
เราจะไปทำขึ้นไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวผล


"ศีล" เป็นเหตุ - "สมาธิ" เป็นผล
"สมาธิ" เป็นเหตุ - "ปัญญา" เป็นผล
"ปัญญา" เป็นเหตุ - "วิมุติ" เป็นผล


เมื่อทำเหตุแก่ ผลก็ย่อมแก่ตาม
เหมือนผลไม้เมื่อสุกแก่ มันก็หล่นเอง ไม่ต้องเอาไม้ไปสอย
คนแก่มากๆ เข้าก็ตายเอง
จะไปห้ามไม่ให้ตายไม่ได้ จะบอกให้อยู่ก็อยู่ไม่ได้

"ศีล" บริสุทธิ์ ก็เปรียบเหมือนผ้าขาวธรรมดาราคาเมตรละ ๑๐ บาท
ถ้าเราทำสมาธิด้วย ก็เหมือนเราเขียนลวดลายลงในผ้าขาว
มันจะมีราคาสูงขึ้นถึงเมตรละ ๔๐ บาท
จิตเราก็เช่นเดียวกัน
จิิตที่เป็นสมาธิ ปัญญาก็เกิด ก็ย่อมให้ผลราคาสูง


ต้อง "ทำ" แล้วจึงจะ "รู้"
รู้แล้วมันจึงจะ "ละ"
ต้องทำเหตุเสียก่อน...ผลก็ย่อมเกิดเอง


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๖
แสดง ณ วัดสิริจันทร์นิมิต (เขาพระงาม) จ.ลพบุรี
เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗


อาตมาตั้งใจว่า
"ถ้าเราอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์แล้ว
ทำดีอย่างครูบาอาจารย์ไม่ได้ เราจะไม่อยู่"

(ท่านอาจารย์เล่าถึงตอนที่ท่านอยู่ปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
แล้วได้คอยสังเกตและจดจำในจริยาวัตรอันละเอียดประณีต
สุขุมของท่านเป็นแบบอย่าง
แต่รายละเอียดที่ท่านอาจารย์เล่านั้น ไม่มีบันทึกโดยละเอียด)

เรื่องงานของผู้หญิงแล้ว อาตมาจะต้องทำให้ได้ทุกอย่าง
ตั้งแต่ทอผ้า ปั่นฝ้าย หุงข้าม ต้มแกง ฯลฯ แต่จะดีหรือไม่ดีไม่รู้นะ
ถ้าเราทำไม่ได้ เราจะไปสอนคนอื่น บังคับคนอื่นไม่ได้
อำนาจทั้งหมดมันอยู่ที่ความรู้ของเรา ความจริงของเรา

:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปกิณกะธรรม ๗
แสดง ณ วัดป่าคลองกุ้ง จังหวัดจันทบุรี
เนื่องในงานมาฆบูชา (กัณฑ์เช้า)
เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘


แสดงธรรมในบทพระคาถา
"สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา สีเลน นิพฺพุตึ ยนติฯ"
มีใจความโดยย่อว่า

ทำ "ทาน" เท่ากับมีเงินหนัก ๔ บาท
มี "ศีล" เท่ากับมีทองหนัก ๕ บาท ๘ บาท ๑๐ บาท และ ๒๒๗ บาท
ทำ "ภาวนา" เท่ากับมีเพชรหนัก ๔๐ บาท
เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่ในองค์ของสมถกรรมฐาน ๔๐ ห้อง

รวมความแล้ว "ทาน ศีล ภาวนา"
ก็เป็นความดีเหมือนกันแต่คุณภาพต่างกัน


คนที่ไม่มี ทาน ศีล ภาวนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคนยากจน
และถ้าท่านทรงเห็นว่า ลูกของท่านเป็นคนยากจน ท่านก็จะทรงละอายมาก
ถ้าลูกของท่านเป็นคนมั่งมีศรีสุข ก็จะทำให้พ่อแม่มีหน้ามีตา มีชื่อเสียงไปด้วย

"อามิสบูชา" มีน้ำหนักเพียง ๕ กิโลกรัม
แต่ "ปฏิบัติบูชา" มีน้ำหนักถึง ๑๐๐ กิโลกรัม
เหตุนั้น...พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องว่า ปฏิบัติบูชา เป็นบูชาอันเลิศ

อามิสบูชา นั้นเราจะทำซ้ำๆ ซากๆ ไม่ได้
ถ้าเราทำแล้วอาจจะกลายเป็นโทษหรือเป็นบาปไปด้วย
ตัวอย่างเช่น ดอกไม้ที่เราจัดใส่พานหรือแจกันสวยๆ งามๆ นั้น
เราจะนั่งเปลี่ยน ๓ ชั่วโมงทำใหม่ๆ อย่างนี้ย่อมทำไปไม่ได้
หรือถ้าเห็นพระเดินมา เรานึกว่าท่านคงหิวก็นำเงินไปใส่บาตรหรือในย่าม
ให้ท่านไปซื้อข้าวซื้อแกงซื้อของกินในเวลาวิกาล
อย่างนี้ก็ย่อมเป็นโทษแก่ท่านและเป็นบาปแก่เราด้วย

อามิสบูชา จึงเป็นสิ่งที่ทำได้เฉพาะกาลเวลาเท่านั้น ไม่ใช่ทำได้เสมอไป
ส่วนปฎิบัติบูชานั้น...ทำได้ไม่จำกัด กาลเวลา สถานที่ หรือบุคคล


คนที่ทำ "ทาน" มากก็จะให้ผลให้เขาเป็นคนมีทรัพย์สินอุดมสมบูรณ์
คนมี "ศีล" จะทำให้ได้อัตภาพที่ดี มีรูปร่างผิวพรรณดีงาม
ไม่เป็นใบ้ บอดหนวกหรือหน้าตาวิปริตน่าชัง
ถ้ามี "ภาวนา" ด้วย
ก็จะทำให้ผู้นั้นเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ไม่เป็นบ้าวิกลจริต
เหตุนั้น...พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เรา
ทำทั้งทาน ศีล ภาวนาให้ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการ


ให้ลองคิดดูเถิด สมมติมีคนๆ หนึ่งเป็นเศรษฐี
มีเงินทองมากมาย เพราะเขาได้ทำทานไว้ในชาติก่อนมาก
แต่ไม่เคยได้รักษาศีล ๕ เลย
เขาจึงเกิดมามีร่างกายน่าเกลียดน่าชังมาก
คือ มือง่อย ตีนหงิก ตากลวงโบ๋ จมูกโหว่ ปากแหว่ง
ดังนี้มีใครบ้างที่จะพากันนิยมคบหากับเศรษฐีคนนั้น
นี่แหละถึงเขาจะมีทรัพย์สินเงินทองเท่าใดก็ไม่อาจช่วยตัวเขาให้มีความสุขได้

หรืออีกอย่างหนึ่ง สมมติว่ามีคนๆ หนึ่งเป็นลูกเศรษฐี
และตัวเองก็เป็นคนสวยงามมากแต่เป็นคนวิกลจริต
คิดดูสิว่า พ่อแม่เขาจะยอมยกทรัพย์มรดกให้ลูกคนนี้ปกครองหรือไม่
เหตุนั้น "ภาวนาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก"

"การภาวนา" นั้นถึงแม้จะไม่ทำให้เราสำเร็จมรรคผลได้ในชาตินี้
ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้เราเ็ป็นผู้มีสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดในชาติหน้า


"ศีล" ก็เป็นเครื่องขัดเกลาหล่อหลอมให้เราเป็นคนสวยคนงาม
เราต้องขัดกาย วาจา ใจของเราให้บริสุทธิ์ สะอาด
ให้เหมือนกับดอกไม้หอมที่จะถวายบูชาพระพุทธเจ้าในวันนี้

ตาของเราขัดให้เป็นตาดี รูปใดไม่ดีที่ผ่านไป
เราเห็นแล้วก็อย่าไปเกลียด, รังเกียจ, ไม่ชอบ ถ้าเรารู้ว่าไม่ดี อย่าไปดู
หูก็ขัดให้เป็นหูดี เสียงอะไรไม่ดีมากระทบ
ก็อย่าไปเก็บเอามาโกรธ, เกลียด เสียอกเสียใจ
จมูกได้กลิ่นไม่ดีมากระทบก็อย่าไปรังเกียจ, รำคาญใจ ทำใจเฉยให้เป็นปกติ
ไม่รับรู้อะไรเข้ามาให้จิตใจของเราเศร้าหมอง ต้องให้เป็นจิตที่บริสุทธิ์

บุญกุศลภายนอก คือ ความดีที่เกิดแต่กาย วาจาของเรานี้
ก็จะกลายเป็นเหมือนกลีบบัวที่หุ้มห่อเกสร
คือ ดวงใจของเราไว้ให้บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม คือ "มรรคจิต"
เมื่อ "มรรคจิต" เกิดขึ้นเมื่อใด "ผลจิต" ก็ย่อมตามมา
บุคคลผู้นั้นก็จะถึงซึ่งความสุขสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และอริยทรัพย์
เป็นคนไม่ยากไม่จน มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
รูปร่างก็งดงาม จะไปไหนก็มีคนยินดีต้อนรับ, รักใคร่
นิยมนับถือสมกับเป็นลูกของพระพุทธเจ้า
จะมีความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๘
แสดง ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา (กัณฑ์บ่าย)
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘


แสดงใน
"อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺุญุตา จ ภตฺตสมฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนนฺติฯ"


มีความโดยย่อว่า "อนูปวาโทฯ" ให้รักษาวาจาของเราไว้ให้ดี
อย่าไปพูดใส่ร้ายคนอื่นให้เขาได้รับความเจ็บใจ
อย่าไปกล่าวคำใดที่ไม่จริง เช่น เขาไม่มีความชั่วร้ายแต่เราไปใส่โทษให้เขา
นี้เรียกว่า เบียดเบียนเขาด้วยวาจาในเรื่องที่ไม่เป็นจริง

"อนูปฆาโตฯ" ไม่เบียดเบียนเขาด้วยกาย
คือ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเขา ไม่ว่าสัตว์ใดๆ
ไม่ทรมานเขาให้เขาได้รับความทุกข์ลำบาก

"ปาฏิโมกฺเข จ สํวโรฯ" ให้มีความสำรวมในศีลพระปาฏิโมกข์
ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทวินัยอย่างหนึ่ง กับให้สำรวมในอินทรีย์
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า "อินทรียสังวร"
คือ ไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นทางอายตนะ ๖ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งกองกิเลสอย่างหนึ่ง
ถ้าพระเณรองค์ใดประพฤติไม่ถูกต้องตามศีลพระปาฏิโมกข์หรือสิกขาวินัยของตน
ก็จัดว่าผู้นั้นไม่ใช่ "ผู้บวช"
เป็นคนนุ่งผ้าเหลืองเปล่า จิตใจของตนก็ไม่มีความสุข
อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ทำลายความดีของตัวเอง
และผู้ที่ฆ่าตัวเองได้นั้น ก็ทำไมเล่าจะฆ่าผู้อื่นไม่ได้

"มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสมฺมึฯ"
ให้เป็นผู้รู้จักประมาณในอาหารการบริโภค ทั้งอาหารกายและอาหารใจ

อาหารกาย ได้แก่ อาหารคำๆ ที่บริโภคเข้าไปเป็นเลือดเนื้อ
คือ ให้รู้จักกินอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
ไม่เป็นพิษเป็นโทษและไม่มากเกินประมาณ

อาหารจิต ก็ต้องหาอาหารที่ดีมาบำรุง
อาหารที่เป็นพิษของดวงจิต คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อย่าให้มันมีขึ้นในจิตในใจ พอรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นก็ให้รีบดับเสีย

ให้เก็บไว้ในตัว อย่าให้มันออกมาเกะกะลุกลามไปถึงคนอื่น
และความชั่วความไม่ดีของคนอื่น เราก็ไม่เก็บเข้ามาไว้ในตัวของเรา
กิเลสข้างในเราก็อย่าให้ไหลออก ข้างนอกก็กันอย่าให้มันเข้า

ข้อนี้ท่านสอนให้มีความสันโดษมักน้อยนั่นเอง
คือ ให้รู้จักหากินโดยสัมมาสุจริตภายในขอบเขตของตน

เช่น พระเณรก็ให้บริโภคปัจจัย ๔ เท่าที่ตนจะพึงมีพึงได้
เช่น เขาให้ ๑ ก็อย่าไปเรียกเอา ๒ เขาให้ ๒ อย่าไปเรียกเอา ๓
ต้องเขาให้ ๒ เราเอาเพียง ๑ หรือเขาให้เท่าไรเรายินดีเท่านั้นอย่างนี้จึงจะดี

ถ้าเป็นฆราวาสก็ให้เลี้ยงชีวิตในทางชอบธรรม
เช่น เรามีนาอยู่ ๕ ไร่ เราก็อย่าไปโกงเอาของคนอื่นเขามาทำเข้าอีกเป็น ๖ ไร่
อย่างนี้ต้องได้รับความเดือดร้อน
เพราะเขาต้องฟ้องร้องเอาตัวไปเข้าคุกเข้าตะรางแน่นอน

เงินทองนั้นถึงจะได้มาสักเท่าภูเขาสระบาปก็ตาม
ถ้าทุจริตแล้วไม่เอามันเลย
ความโลภ, โกรธ, หลง ที่จะไหลเข้ามาเกาะกินจิตใจของเราแล้ว
ต้องเขี่ยมันออกไปให้ไกลทีเดียว อย่าให้่มันเข้าใกล้ได้เลยเป็นอันขาด

"ปนฺตญฺจ สยนาสนํ"
ให้รู้จักพอใจในความสงัดวิเวกในที่นอนที่อาศัย

คือ ให้หลบหลีกปลีกตนออกจากหมู่ที่ระคนด้วยความวุ่นวาย เดือดร้อน
ไปอยู่ตามป่า, ตามเขา, ตามโคนไม้, ป่าช้า
หรือเรือนร้างว่างเปล่าสุญญาคารที่ไกลสงบสงัดจากอารมณ์ภายนอก
อันจะมาทำลายความดีของเรา

ให้ตัดห่วงกังวลที่จะมาพันพัวกับตัวเราออกเสีย
ที่ใดเขามีความเดือดร้อนวุ่นวายกัน เราอย่าเข้าไปร่วมหมู่ด้วย
รวมความว่า เราจะต้องตัดทุกๆ อย่างให้น้อยลง

มันยาวอยู่ก็ต้องตัดให้สั้นเข้า ถ้าสั้นอยู่ก็ต้องทำให้มันกลมเข้าไป
ถ้ากลมอยู่แล้วก็ทำให้มันเกลี้ยง ถ้าเกลี้ยงอยู่แล้วก็ทำให้มันใสขึ้นอีก
มันจะได้กลิ้งไปมาได้ ไม่ติดไม่ขัด
เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๙
แสดง ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา (กัณฑ์ค่ำ)
เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘


แสดงพระธรรมเทศนาใน
"พระโอวาทปาฏิโมกข์คาถา"
มีใจความโดยย่อว่า

วัน ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๓ เป็นวันพระ
ที่พระสงฆ์ซึ่งเป็นเอหิภิกขุ ๑๒๕๐ องค์
มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ที่ปาวาลเจดีย์


พระพุทธองค์ทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์แก่ภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์
และเป็นวันที่พระองค์ทรงกำหนดวันปลงอายุสังขารของพระองค์ด้วย

นับตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวัน ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๖
เป็นวันที่พระองค์จะต้องทรงทอดทิ้งอัตภาพร่างกายไปสู่ความไม่กลับมาอีก
จึงได้ประทานโอวาทคำสอนจนหมดจนสิ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ซึ่งจะต้องเป็นพี่เลี้ยงปกปักรักษาพระธรรมคำสั่งสอนไว้
เพื่อดำรงอยู่จนกว่าจะสิ้นอายุแห่งพระพุทธศาสนา

ทั้งนี้ก็ด้วยพระเมตตาบารมีของพระองค์
ที่ยังทรงปรารถนาดีต่อสัตว์โลกผู้ยังโง่เขลาและจักต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้น
เมื่อพระองค์ทรงล่วงลับไปแล้ว
ผู้ที่จะดำรงพระพุทธศาสนาไว้ คือ พุทธบริษัท ๔
ดังนั้น จึงทรงแสดงพระโอวาทเป็นคาถา มีใจความดังนี้

"ขนฺตี" นี้ก็คือ พระองค์ได้ประทาน "น้อต" ให้พวกเราไว้ตัวหนึ่ง
สำหรับขันตรึงไม้ให้ติดกับเสา
เพื่อไม่ให้เรือนของเราโยกคลอน (หมายถึงจิตใจของเรา)
ขันตีอันนี้เป็นเหล็กกล้าที่ไม่มีสนิม
เป็นตปะ ความเพียรที่เผากิเลสให้แห้งไปได้ดียิ่งกว่าสิ่งอื่น
พวกเรานั้นมีแต่ตะปูขี้สนิม
เช่น ขี้เกียจ ขี้คร้าน ขี้โลภ ขี้โกรธ ขี้หลง ขี้ปวด ขี้เมื่อย อะไรต่างๆ เหล่านี้
ซึ่งพอจะทำความดีให้ัตัวเองก็ทำไม่ได้ เพราะขาด "ขนฺตี"

"สพฺพปาปสฺส อกรณํ"
ขึ้นชื่อว่า บาปทั้งหลาย จงอย่าได้ทำเป็นอันขาด

"กุศลสฺสูปสมฺปทา"
ให้ทำกุศล (ความดี) ให้มากที่สุดที่จะทำได้
และให้ยิ่งๆขึ้นไป คือ ถึงพร้อมด้วย ทาน ศีล ทางกาย วาจา

"สจิตตปริโยทปนํ"
ให้ทำจิตให้ขาวรอบบริสุทธิ์
หมายถึงให้มีสมาธิ ภาวนาเป็นอารมณ์อยู่เสมอ


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2012, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๑๐
แสดง ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เนื่องในโอกาสวันมาฆบูชา (กัณฑ์ค่ำ)
เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗


แสดงในบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
และพระสังฆคุณ โดยย่อว่าดังนี้่


๑. อิติปิโส ภควา
พระองค์มีความดีเท่าใดไม่เคยหวงไว้
ทรงชี้แจงแนะนำให้คนอื่นรู้ตาม ปฏิบัติตามด้วย

๒. อรหํ
พระองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทางกายของพระองค์ก็บริสุทธิ์
เพราะธาตุขันธ์ อายตนะของพระองค์ที่ได้ทรงเพ่งเล็งมาแล้วอย่างยิ่ง
ก็ได้สะอาดบริสุทธิ์หมดสิ้น
คือ เมื่อพระองค์ได้ทรงเพ่ง "กายคตาสติ" มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ
อาการ ๓๒ เหล่านี้อันใด เมื่อนั้นสิ่งนั้นก็เป็นสิ่งบริสุทธิ์หมดจด
และพระหฤทัยของพระองค์ก็ไม่ให้มีโลภ โกรธ หลง ไม่มีความเศร้าหมอง

๓. สมฺมาสมพุทฺโธ
พระองค์ตรัสรู้เองโดยไม่มีใครมาสอนให้ทำหรือบังคับให้ทำ

๔. วิชฺชา
พระองค์ทรงมีพระปรีชา ฉลาด ยิ่งกว่าใครๆ
คือ มีวิชชา ๓ วิชชา ๘ ได้แก่

๔.๑) ปุพเพนิวาสานุสฺสติญาณ
ระลึกชาติอดีตได้

๔.๒) จุตูปปาตญาณ
รู้ความตายของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
ที่ทำกรรมอันใดไว้จึงมาเกิดเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และตายแล้วจะไปไหนอีก

๔.๓) อาสวกฺขยญาณ
พระองค์ทรงรู้จักวิธีกำจัดกิเลสให้สิ้นไปจากพระสันดานของพระองค์

๔.๔) ทิพฺยจกฺขุ
ไม่ว่าใกล้หรือไกล แม้เปลือกตาหนาตั้ง ๘ ฟุต
พระองค์ก็ทรงสามารถมองเห็นอะไรๆ ได้ ในเมื่อพระองค์ต้องการจะเห็น

๔.๕) ทิพยโสตฺ
ใครจะพูดกันที่ไหน ว่าอะไร พระองค์ก็สามารถจะได้ยินทั้งหมด
ถ้าพระองค์ต้องการจะฟังเมื่อใดก็ได้ฟัง ถ้าไม่ต้องการฟังก็ไม่ฟัง
เหมือนวิทยุที่เราอยากจะฟังเมื่อใดก็เปิดเครื่องรับได้เมื่อนั้น

๔.๖) อิทฺธิวิธิ
พระองค์ทรงสามารถแสดงฤทธิ์ดำดิน เหาะเหินเดินอากาศได้
บุกป่าก็ไมาถูกหนาม บุกน้ำก็ไม่เปียกกาย

๔.๗) เจโตปริยญาณ
กำหนดรู้วาระน้ำจิตของบุคคลอื่นได้

๔.๘) มโนมยิทฺธิ
พระองค์ทรงใช้อำนาจจิต บังคับคนให้เป็นไปตามความประสงค์
เช่น พระองค์นึกถึงใครก็ทรงอธิษฐานจิตให้คนนั้น
แลเห็นพระรูปกายของพระองค์ไปปรากฏอยู่เฉพาะหน้า
ทำให้คนๆ นั้นเห็นอำนาจของพระองค์จนเกรงกลัว
หรือทำให้เขาเชื่อมั่นในพระองค์จนคลายจากการกระทำชั่วก็ได้

เหล่านี้เรียกว่า "วิปสฺสนาญาณ"

๕. จรณสมฺปนโน
พระองค์ทรงดำเนินอยู่ด้วยการประพฤติปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา
มิได้ทรงละแม้จะสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
พระองค์ก็ยังทรงดำเนินด้วย กาย วาจา ใจ ดีอยู่
ศีลก็ยังทรงทำ สมาธิก็ยังทรงเจริญ
ปัญญาก็ยังทรงใช้พิจารณาในกองสังขารอยู่เสมอ

๖. สุคโต
พระองค์เสด็จไปไหนก็มีคนรัก ถวายความต้อนรับเป็นอันดี
จะมาก็ดี จะอยู่ก็ดี ไม่มีคนเกลียดชังพระองค์

๗. โลกวิทู
พระองค์ทรงรู้แจ้ง ตลอดทั้งโลก มนุษย์ เทวดาและพร้อม

๘. อนุตฺตโร ปุรสทมฺมสารถิ
พระองค์ทรงเป็นบุรุษผู้ฝึกหัดทรมานบุคคลเลิศยิ่งไม่มีผู้ใดสู้
คือ ทรงเป็นนายสารถีที่ขับคนให้เดินตรงทางไม่คดเคี้ยว ให้เข้าสู่ศีล สมาธิ ปัญญา

๙. สตถา เทวมนุสฺสานํ
พระองค์ทรงเป็นครูสั่งสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
คือ สอนมนุษย์ให้เป็น "เทวดา" สอนเทวดาให้เป็น "พรหม"
สอนพรหมให้เป็น "อริยะ" สอนอริยะให้เป็น "อรหันต์"

๑๐. พุทฺโธ ภควาติ
นี้แหล่ะพระองค์จึงทรงเป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ดังนี้

รวมความแล้วก็มี
พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
ถ้าเราน้อมความดีของพระองค์เหล่านี้มาให้ตัวเราเมื่อใด
เราก็จะถึงพระพุทธคุณเมื่อนั้น


:b39:


พระธรรมโดยย่อ ก็มี
พระปริยัติ พระปฏิบัติ และพระปฏิเวธ


๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้หรือไม่ตรัสก็ดี
มีทั้งกุศลและอกุศล มีทั้งดีทั้งชั่ว
ดีก็เป็น "สุกกธรรม" คือ ธรรมขาว
ชั่วก็เป็น "กัณหธรรม" คือ ธรรมดำ
อย่างที่ท่านว่า กุสฺลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา
และ อพฺพกตา ธมมา คือ ธรรมเฉยๆ ที่ไม่ได้ปรุงแต่งให้เป็นบาปเป็นบุญ
ได้แก่ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ซึ่งปกติมันก็มีอยู่ ตั้งอยู่ของมันเฉยๆ
ต่อเมื่อเราไปทำกรรมดีหรือชั่ว จึงจะเป็น กุสฺลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา

๒. สนฺทิฏฺฐิโก
เป็นสิ่งที่ให้เราเห็นได้ว่า อย่างนั้นทำดีได้ดี อย่างนี้ทำชั่วได้ชั่ว
เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้จริง มีเหตุมีผล
ใครทำชั่วแล้วต้องได้รับทุกข์จริงอย่างนั้นๆ
ใครทำดีแล้วก็ได้รับผลดีจริงอย่างนั้นๆ

๓. อกาลิโก
ให้ผลไม่เลือกกาลเวลาใด ทำเมื่อใด ก็ได้เมื่อนั้น

๔. เอหิปสฺสิโก
ควรที่จะเรียกให้มาดูได้

๕. โอปนยิโก
ถ้าเห็นใครเขาทำดี ก็ให้น้อมเข้ามาทำบ้าง
ถ้าเห็นไม่ดีก็อย่าทำ

๖. ปจฺจตฺตํ
เป็นสิ่งที่เราจะรู้เอง เห็นเอง เฉพาะตัว ไม่ใช่คนอื่นจะรู้ด้วย
เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าทำดีก็รู้ว่าดีอย่างไร
เวลาทำชั่ว เราก็รู้เองในผลที่ได้รับ

๗. เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ
วิญญูชนพึงรู้ได้ดังนี้
เราจะต้องศึกษา สดับตรับฟัง คือ "ปริยัติ"
เมื่อรู้แล้วปฎิบัติตามด้วยเป็น "ปฏิบัติ"
และเมื่อปฏิบัติแล้วก็จะให้ผลแห่งความรู้แจ้งแทงตลอดแก่เราเป็น "ปฏิเวธ"


:b39:

พระสังฆคุณ โดยย่อมีดังนี้

๑. สุปฏิปนฺโน
คือ ได้แก่ ผู้ประพฤติดีตามโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระภิกษุสามเณรก็อยู่ในศีลพระปาฏิโมกข์ ไม่ล่วงสิกขาบทวินัย

๒. อุชุปฏิปนฺโน
คือ ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ไม่โอนเอียง
ใครจะฉุดไปทางไหนก็ไม่ไปให้ผิดทาง

๓. ญายปฏิปนฺโน
ทำให้รู้แจ้งตามความจริงด้วยตนเอง ไม่ใช่เชื่อตามเขาบอก
เช่นเขาว่าเราเป็นหมา เราต้องดูตัวเราว่า มีหางหรือเปล่า ถ้าไม่มีเราก็ไม่ใช่

๔. สามีจิปฏิปนฺโน
ปฏิบัติให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเสมอ ไม่ให้ถอยต่ำลงมา
เช่น มีศีล ๕ แล้วก็ทำให้มีศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗
สมาธิเคยทำวันละ ๑ ชั่วโมง เราเพิ่ทำให้เป็นวันละ ๒ ชั่วโมง
ปัญญาก็เหมือนกัน ต้องหมั่นกำหนดพิจารณาในตัวของเราอยู่เสมอ
จนถึงที่สุดจะทำความหลุดพ้นจากกิเลสได้

๕. ยทิทํ จตตาริ ปุริสยุคานิ
บุคคล ๔ คู่ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล
อนาคามิมรรค-อนาคามิผล และอรหัตตมรรค-อรหัตตผล

๖. อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
บุคคล ๘ คู่นี้แหล่ะเป็น "ลูกแก้ว" ของพระพุทธเจ้า

๗. เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย
ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลกรณีโย

บุคคล ๔ คู่เหล่านี้เมื่อไปไหนก็เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
ควรแก่การทำความเคารพ ควรแก่ทักษิณาทาน
และเป็นผู้ควรที่เราจะกราบไหว้

๘. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ
นี่เป็นนาบุญ ๔ ไร่ที่เราควรหว่านข้าวลงไว้
(ตั้งแต่ "สุปฏิปนฺโน" ถึง "สามีจิปฏิปนฺโน")
เพื่อประโยชน์สุขแห่งตัวเรา
และเมื่อเรามีข้าวแล้วก็ต้องเตรียมทำยุ้งไว้เพื่อเก็บด้วย
มิฉะนั้นข้าวก็จะตกเกลื่อนกลาด ไม่ได้กินถึงลูกถึงหลาน
ลูกหลานก็ไม่รู้จักข้าวเปลือกนั้นเป็นเช่นไร

เราต้องฝัดต้องสีให้เป็นข้าวสารแล้วนำมาหุงต้มกิน
จึงจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
อย่าเก็บไว้ในยุ้งเฉยๆ มันจะถูกหนูกินหรือรั่วไหลไปหมด
ต้องทำยุ้งให้ดี คือ "ภาวนา"


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปกิณกะธรรม ๑๑
แสดง ณ วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘


มีดสับดินนั้นไม่ทำให้ลุกเป็นไฟดอก
ต้องสับกับหิน มันจึงจะลุกเป็นไฟได้


ความเพียร คือ สมาธิ นี้
อาตมาทำเสียจนรู้สึกว่า กระดูกในร่างกายนี้มันแข็งเป็นเหล็กไปหมดทั้งก้อน
เสือสางอะไรมันจะกล้าดีเข้ามา ไม่กลัวมันทั้งนั้น
จะสู้มันทุกอย่าง ไม่ว่าผีห่าผีโหงอะไรทั้งหมด
(ท่านเล่าถึงตอนท่านไปธุดงค์อยู่ในป่า)

ครั้งหนึ่งมีคนเขาบอกว่า "ท่านอย่าไปทางนั้นนะ จะต้องหลงทาง"
อาตมาบอกว่า "หลงทางน่ะฉันไม่กลัวดอก ฉันกลัวแต่หลงโลกเท่านั้น"

"ขี่กิเลส" นั้นคือ กดไว้
ถึงมันจะโลภก็อย่าให้มันออกมาข้างนอกให้เขาเห็น
คนขี้ขอนั้นไปขึ้นบ้านใครๆ เขาก็เกลียดหน้าเพราะเขากลัวจะไปขอเขา
ถ้ามันจะโกรธ ก็อย่าให้มันออกมาข้างนอก
รีบเก็บอาวุธปืนมีดไม้เสีย (คือ ปาก มือ เท้าของเรา)
มีแต่มือน่ะมันไม่เท่าไรดอก โกรธแต่เราอย่าพูด
ถ้าเราไม่พูด เขาก็ไม่เกลียดเรา
ถึงท่าทางกิริยาจะทำโกรธ แต่อย่าให้ใจมันโกรธ
ถ้าเราพูดขึ้นเขาก็เกลียดเรา หลง มันจะหลงก็รีบมีสติไว้ อย่าให้มันเหลิง
นี่แหล่ะ เรียกว่า "ขี่กิเลส"
คือ ไม่ให้กิเลสมันมีอำนาจยิ่งกว่าเรา

ไปอยู่ไหนก็ตอ้งขยายกลิ่นหอมให้เขา
อย่าไปขยายกลิ่นเหม็นไว้
ไปไหนก็ต้องให้เขารัก อยู่ไหนก็ต้องให้เขาชอบ

"คนโง่" นั้นต่อให้นั่งเฝ้าหลุมทองอยู่ก็ไม่มีปัญญาทำให้เป็นอะไรได้
"คนฉลาด" อยู่กับดินกับหญ้า เขาก็ทำให้เป็นเงินเป็นทองได้

เราต้องพยายามให้มี เครื่องประดับทองฝังเพชร จึงจะวิเศษ
คือ ศีล สมาธิ และปัญญา


อย่าเห็นแก่กิน อย่าเห็นแก่นอน
กลางคืนสว่างด้วยพระจันทร์
กลางวันสว่างด้วยพระอาทิตย์...นั้นเป็นเรื่องของโลก
แต่เรานั้นลืมตาก็ต้องให้มันเห็น
หลับตาก็ต้องให้มันรู้ทั้งกลางวันและกลางคืน


:b44: :b44:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2012, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกิณกะธรรม ๑๒
แสดงอบรมผู้บวชเนกขัมม์ ณ วัดบรมนิวาส
เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘


อาตมารู้ตัวเจ้าของเองว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวไม่มีอะไรดีสักอย่าง
รูปร่างหน้าตาก็ไม่สวยไม่งาม วาจาที่พูดกับเขามันก็ไม่เพราะ ไม่น่าฟัง
แต่มัน "ดี" อยู่ข้างในนิดเดียวเท่านั้น...คือ เมตตาสงสาร เขานี่แหล่ะ


อาตมาตั้งใจไว้ว่า จะให้เลือดทุกๆ หยดในร่างกายตั้งศีรษะจดปลายเท้า
เป็นไปเพื่อกิจพระศาสนา
ไม่ว่าจะเป็นบนผ้าหรือใต้ดินก็จะต้องขอเอาจนสุดชีวิต

ผู้ปฏิบัติธรรม จะต้องมีการเสียสละไม่เห็นแก่ตัว
บุคคลใดมีธรรมอันพอจะช่วยให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ แต่ไม่ช่วย
พระพุทธเ้จ้าย่อมไม่ทรงสรรเสริญบุคคลชนิดนั้นและตัวเราเองก็ติเตียน

ถ้าหากเราจะทำอย่างนั้นบ้าง เราก็สบายไปนานแล้ว ไม่ต้องมาลำบากอย่างนี้
ทุกสิ่งทุกอย่างทำไปนี่ก็เพราะเห็นแก่ศาสนาเป็นส่วนใหญ่


จบปกิณกะธรรม

:b44: :b44:

:b50: รวมคำสอน ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38679

:b50: ประวัติและปฏิปทา ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=21381

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2015, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอริยสงฆ์แห่งวัดอโศการาม
Kiss


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


น้อมกราบองค์ท่านพ่อลีเจ้าค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1012


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบสาธุๆๆ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร