วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 23:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา คือ ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ อันเป็นเหตุให้ถอนความหลงผิด รู้ผิดในสังขาร (สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งทั้งนามธรรม และรูปธรรมก็ตาม) เสียได้, การฝึกอบรมปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้ชัดในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

การเจริญวิปัสสนา เป็นวิถีทางเดียว ที่ทุกคนจะได้เข้าถึง "ความจริงของชีวิต" สามารถที่จะแยกออกได้ว่า สิ่งใดเป็น "สัจจะ" และสิ่งใดเป็น "มายา"

เมื่อรู้ และเห็นสิ่งเหล่านี้ อย่างแจ่มแจ้ง และถูกต้องแล้วโอกาสที่จะตกเป็น "ทาส" ของมัน ก็เป็นไปได้ยาก ยกเว้นแต่เป็น " ทาสสมยอม" คือ เป็นทาสของมันทั้ง ๆ ที่รู้ อย่างนี้ ก็ไม่มีใครช่วยได้

ในที่นี้จะกล่าววิธีปฏิบัติวิปัสสนาที่แพร่หลายในประเทศไทยเพียงสังเขป เป็นที่รับรองต้องกัน ในหมู่ผู้รู้ทั้งหลายว่า สำนักปฏิบัติธรรม หรือสำนักวิปัสสนาในเมืองไทยเกือบทั้งหมดได้ใช้แนว " อานาปานสติสูตร "(14/167) และ " สติปัฏฐานสูตร " (12/84) เป็นเสียส่วนใหญ่

ต่างกันแต่ว่า ส่วนมากไม่ได้เอาไปสอน หรือปฏิบัติให้ครบหมดทั้งพระสูตร แต่ได้เจาะ หรือตัด เอาเฉพาะที่ต้องการจะเน้น แล้วนำไปขยาย ตามแต่ที่ตนต้องการ ด้วยเหตุนี้ แนวการปฏิบัติของสำนัก หรืออาจารย์ต่าง ๆ จึงไม่เหมือนกัน

จึงทำให้ผู้ที่มีการศึกษาน้อย หรือผ่านการปฏิบัติมาน้อยแห่ง จึงเกิดความสงสัยว่า ทำไมจึงมีหลายแบบมากนัก ? และแบบไหน ? เป็นแบบที่ถูกต้อง ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สุด ?

ก็ตอบได้ว่า หลักในอานาปานสติสูตร และสติปัฏฐานสูตร หรือมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด ถ้าท่านไม่ชอบวิธีอื่น ๆ ก็ทำตามหลักที่ว่านี้เถิด ไม่ผิดแน่นอน

ขอเพิ่มเติม สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาพระว่า อย่าได้เอาวิปัสสนา ไปปนกับการเพ่งกสิณ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ และสีต่าง ๆ รวมทั้งเพ่งพระพุทธรูปด้วย เพราะนั่นเป็นวิธีการ ของการฝึกสมาธิล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาในช่วงนี้เลย สมาธิจะเป็นวิปัสสนาได้ ก็ต่อเมื่อการเอาจิตที่สงบ หรือตั้งมั่นดีแล้วนั้น ไปเจริญวิปัสสนา โดยการพิจารณาร่างกายเป็นอสุภะ กายคตาสติ ปฏิกูล หรือมรณสติ เป็นต้น

ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว จะต้องใช้หลักของอานาปานสติ และสติปัฏฐาน คือ เน้นที่สติเท่านั้น แม้ในหลักทั้ง 2 นี้ ในขั้นต้น ๆ ก็ยังเป็นเรื่องของสมาธิอยู่ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า หายใจออก ให้จิตจดจ่อ หรือแน่นิ่ง อยู่กับลมหายใจ เป็นต้น

ดังนั้น สำนักปฏิบัติต่าง ๆ บางแห่ง จึงปฏิบัติควบคู่กันทั้งสมาธิ และวิปัสสนา ต่างกันแต่ว่า สำนักไหนจะเน้นที่สมาธิมาก หรือ เน้นที่วิปัสสนา คือปัญญา มากน้อยกว่ากันเท่านั้น

ขอบันทึกไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผลของการเจริญสมาธิ กับการเจริญวิปัสสนานั้น แตกต่างกันมากเลยทีเดียว กล่าวคือ

การเจริญสมาธิล้วน ๆ เมื่อจิตสงบแล้ว อย่างน้อย ๆ จะเกิดมีขนลุก น้ำตาไหล คันตามตัว ตัวเบา หรือตัวลอย ตัวแข็ง เกิดความสุขสบาย นั่งแล้วไม่อยากเลิก ในบางคน เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจเห็นนิมิตต่าง ๆ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อยากเห็นอะไรก็ได้เห็น ซึ่งเป็นทั้งของจริงก็มี ของเก๊ก็มาก

ส่วนการเจริญวิปัสสนานั้น ผลจะปรากฏว่า จิตจะเกิดการเบื่อหน่าย คลายกำหนัด คลายความยึดถือในสิ่งต่าง ๆ เพราะสิ่งต่าง ๆ ล้วนมีปัญหา ไม่จีรังยั่งยืน เป็นต้น ทำให้รู้จักชีวิตได้อย่างแท้จริง

ในการเจริญวิปัสสนาเบื้องต้น ไม่สนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะต้องฝืน ระมัดระวัง ต้องประคองสติ และสัมปชัญญะ(รู้ตัว) ให้ทันกับพฤติกรรมทั้ง 3 คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่ตลอดเวลา แต่ในที่สุดก็จะเกิดความสุขไปอีกแบบหนึ่ง คือ สุขเกิดจากการปล่อยวาง เบาสบาย เพราะรู้เท่าทันในสัจจะ หรือในมายาแห่งชีวิต

ผลพวงของสมาธิ และวิปัสสนา ในการเจริญวิปัสสนาต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐาน จะขาดเสียมิได้ แต่การเจริญสมาธินั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิปัสสนาก็ได้ แต่ผลพวงย่อมต่างกัน

สมาธิ ทำให้มีความสุข มีฤทธิ์และอำนาจต่าง ๆ อย่างสูงถ้าได้ฌาน ตายแล้วก็ไปเกิดในพรหมโลก และยังไม่พ้นทุกข์ ยังไม่หมดภพชาติ ยังไม่หมดกิเลสตัณหา ต้องกลับมาเกิดอีก

วิปัสสนา ทำให้หมดทั้งความสุข และความทุกข์ คือ รู้สัจจธรรมของโลก และชีวิต อย่างถูกต้องแท้จริง จนหมดความอยากมี อยากเป็น หรือความต้องการใด ๆ

เมื่อเรารู้ข้อเท็จจริง ของสมาธิและวิปัสสนา อย่างนี้แล้วก็ควรที่จะปฏิบัติให้ครบทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แม้ว่าการปฏิบัตินี้ จะไม่อาจละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง แต่การที่เราได้สัมผัสกับความสุขในสมาธิ กับการได้สัมผัสสัจจะของชีวิต (วิปัสสนา) ย่อมจะบรรเทาความมัวเมา ในโลกและชีวิตลง อย่างน้อยก็ 50%

ที่กล่าวมานี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัว ไม่มีในตำรา และไม่ยืนยันว่า เป็นความเห็นที่ถูกต้อง หรือไม่ ? แต่ขอยืนยันได้ว่า หลังจากผ่านการปฏิบัติแล้ว มันเป็นอย่างนี้ และไม่มีการต่ำลง มีแต่จะยิ่งสูงขึ้นไปตามลำดับ

ที่มา http://www.dhammathai.org/articles/027.php


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2012, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร