วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 17:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 15:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 10:24
โพสต์: 1


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามเป็นความรู้และแนวทางการปฏิบัติหน่อยนะครับ เพื่อเป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับผู้เริ่มต้น การฝึกสติปัฏฐาน 4 จะได้เดินไปถูกทาง สำหรับผมเพิ่มเริ่มฝึกนั่งสมาธิได้แค่นิดหน่อย โดยศึกษาเองจากตำรา แล้วก็ลองทำดู เท่าที่ศึกษาจากตำราบ้าง ตามอินเตอร์เน็ตบ้าง ได้ความรู้ว่าสติปัฏฐาน 4 ในเรื่องการพิจารณากาย ให้พิจารณาจากลมหายใจ เข้าออก ให้รู้ตามลมตลอด (ไม่ต้องบริกรรมใดๆ) ให้พิจารณาเข้ารู้ออกรู้ ผมก็ลองทำตาม แต่ก็ไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า จนมาเมื่อประมาณต้นเดือน ก.พ. 2555 ตัดสินใจลองไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าเจริญราช ปทุมธานี ที่วัดสอนให้ ดูท้องพองยุบ โดยให้บริกรรม ยุบหนอ พองหนอ ผมจึงเกิดข้อสงสัย แต่ก็ไม่กล้าไปปฏิบัติธรรมที่อื่นต่อ เนื่องจากกลัวว่า หากไปศึกษาหลายสำนักเกินไปเดี๋ยวจะสับสนไปใหญ่ คิดว่าไม่ดูลมหายใจ ก็ดูท้องพองยุบ เนี่ยน่าจะเป็นทางที่ถูกที่สุดแล้ว จึงอยากเรียนสอบถามพี่ๆ เพื่อเป็นแนวทางที่เลือกเดินสำหรับผู้เริ่มต้นได้มาถูกทาง ดังนี้ ครับ
1. การพิจารณาดูลมหายใจ เข้ารู้ ออกรู้ โดยไม่มีการบริกรรมใดๆ ทั้งสิ้น พิจารณาลมที่สัมผัส เข้าออกที่จมูก ผิดหลักหรือเปล่าครับ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีคำบริกรรม และการดูลมหายใจโดยไม่มีคำบริกรรม ถือเป็นการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 ในเรื่องการพิจารณากาย หรือเปล่าครับ
2. การพิจารณาท้องพองยุบ โดยบริกรรม "ยุบหนอ พองหนอ" จำเป็นต้องมีคำบริกรรม หรือเปล่าครับ และถ้าหากเราบริกรรมว่า "ยุบรู้ พองรู้" ได้ไหมครับ
3. สุดท้ายแล้วสำหรับผู้เริ่มต้น ที่จะใช้แนวทางสติปัฏฐาน 4 เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ควรใช้วิธีการพิจารณาลมหายใจ หรือ ดูท้องพองยุบ อันไหนดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามข้อ 1-3 เรายังตั้งท่ากันอยู่ที่จุดสตาร์ท ยังไม่ออกเดินทาง ยังไม่เกิด ปัญหา แต่หลังจากออกเดินทางนั่นแหละจะเกิดปัญหามากมาย ตัวอย่างหนึ่งของผู้เดินทาง

มีปัญหาค่อนข้างหนักใจระดับนึงค่ะ

ขอเล่าย้อนหลังไปประมาณ 2-3 ปีก่อน ว่าได้เริ่มปฏิบัติธรรมในระดับเริ่มต้น คือนั่งดูจิต พยายามให้สติเกิด ทั้งสวดมนต์แผ่เมตตาก่อนนอน และอีกเล็กๆน้อยๆ ทั้งนี้ไม่ได้มีอาจารย์หรือใครนำทางเป็นเรื่องเป็นราว คือคลำๆทางไปเอง ฟังซีดีหลวงพ่อปราโมทย์เป็นหลัก กับ อ่านหนังสือธรรมะทั่วไป

สิ่งที่เห็นผลแรกๆ คือ เห็นความคิดเกิดขึ้นมากมาย เห็นอารมณ์โกรธเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป (เห็นเป็นดวงไฟสีแดงๆพุ่งจากท้องขึ้นมาข้างบน แล้วดับไป รับรู้ถึงความเย็นแผ่ไปทั่วร่างกาย) เห็นสังขารนี้ไม่ใช่ของเรา แต่ทั้งหมดนี้จะเป็นช่วงๆ ไม่เห็นตลอด เห็นนิดๆหน่อยๆ

จนเริ่มเห็น "ภาพ" หรืออะไรก็ไม่ทราบ ที่ไม่ชอบใจและทำให้กลัว คือ เริ่มเห็นภาพคนที่เสียชีวิต (คิดว่า เพราะจะซีดๆ ขาวๆ) แต่เป็นคนที่ไม่รู้จัก
บางครั้งก็เห็นแต่คนซ้ำๆเดิมๆ หากมีสติก็จะแผ่เมตตาแล้วก็จะเห็นคนใหม่ๆ สภาพแตกต่างกันไป และมักจะเห็นตอนก่อนนอน คือ ตอนหลับตา จนเริ่มกลัวการนอน
ยิ่งหากต้องนอนคนเดียวแล้วจิตเริ่มตก จนไม่รู้ว่านี่คือจินตนาการหรือ "ภาพ" อะไร

อยากรู้ว่าจะต้องทำยังไง ใครมีคำชี้แนะบ้างค่ะ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... n#msg12655

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ที่ต้องมีคำบริกรรมกำกับ ก็เหมือนเด็กที่หัดเดิน
ที่ต้องเกาะ กำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้เพื่อการประคองตัว
ถ้าเดินคล่องแล้ว ก็ไม่ต้องการตัวช่วย

ส่วนจะกำหนดตามลมหายใจเข้าออก
หรือกำหนดที่ลักษณะการพองยุบของท้อง
อันใดอันหนึ่งก็ได้ ตามแต่จริตของเราเอง

อนึ่ง...กำหนดอาการพองยุบของท้อง จะกำหนดได้ง่ายกว่า

การฝึกกรรมฐาน ควรจะมีครู เพื่อคอยประคับประคอง
ให้ไปในทิศทางที่ถูกที่ควร เหมือนคนหัดเดินป่าควรมีแผนที่
เพราะในป่ามันอันตราย ทั้งกับสัตว์ป่า ทั้งภูมิประเทศ


อนุโมทนา เจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


คิดหนอ, สงสัยหนอ, กลัวผิดหนอ, อยากรู้หนอ, ลมหรือเปล่าหนอ,
หรือบริกรรมหนอ, จะถูกไหมหนอ, จะผิดไหมหนอ, เข้ารู้ออกรู้ ใช่กายไหมหนอ,
ยุบรู้ พองรู้ได้ไหมหนอ, สรุปดูลม พองยุบ เริ่มต้นอันไหนดีหนอ..???

ไม่เห็นลมไม่เห็นพองยุบไม่ได้ปัจจุบันหนอ, ไม่เห็นคิดไม่เห็นสงสัยหลงไปแล้วหนอ,
กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นอุปกรณ์หนอ, พองยุบลมเข้าออก มีบริกรรม มีหนอ ไม่มีบริกรรมไม่มีหนอ
มีรู้ไม่มีรู้ เป็นเพียงอุปกรณ์ให้ สติระลึกปัญญารู้ในอารมณ์ปัจจุบัน

กำหนดอย่างไหนชัดไม่หลงลืมเลือกอันนั้น กายมีไว้ระลึกให้เห็นทุกข์เห็นโทษ
เห็นเน่าเหม็นเห็นโสโครกเห็นเป็นก้อนทุกข์

รู้เวทนาจากปัจจุบัน มีอารมณ์พอใจ,ไม่พอใจ, สุขกาย,ทุกข์กาย,หรือเฉยๆ
ที่ไม่รู้ เพราะสติยังไม่ตั้งมันอีกทั้ง ไม่ใช่ตัณหาจริตที่เหมาะดู กายดูเวทนา
เพราะสภาพธรรมที่ปรากฏชัดตามความเป็นจริง เด่นชัด คือชอบสงสัยชอบคิด
เป็นทิฏฐิจริต ถ้ารู้ลงปัจจุบันลูกทุ่งๆ ซื่อๆ ไป

การตามรู้จะเท่าทันตามความเป็นจริงได้มากกว่า เมื่อจิตกำลังสงสัยกำลังคิดฯลฯ

พอได้สติ รู้จักหน้าตาปัจจุบัน (สภาพรูปหรือนาม) ตามความเป็นจริงจะหมดปัญหา
เพราะเมื่อคอยกำหนดตามรู้ อย่างใดอย่างหนึ่งใน สติปัฏฐานสี่ ย่อมปรากฏชัดเอง
เท่าทันตามความจริงที่มันควรจะเป็นจริง

ที่โยมทำคือจะจับกายจับลมในเบื้องต้น แต่สภาพธรรมที่ปรากฏเป็นฐานอื่น?
พุทธฏีกาสงสัยว่ามันจะช้าไปไหมนะเลยลองฝากไว้พิจารณาเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานคืออะไร ถ้าตอบคำถามนี้ได้ ก็จะรู้ว่ามีความจำเป็นต้องท่องยุบหนอ - พองหนอไหม

อานาปานสติสมาธิ - สติปัฎฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสติเป็นหลักก่อนครับ แล้วจึงน้อมดูที่ลมหายใจเข้าออกครับ พอสติอยู่กับตัว จะเห็นท้องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ต้องท่องยุบหนอพองหนอก็ได้ครับ เวลาหายใจเข้าออกให้เป็นธรรมชาติแต่ดูจนสุดลมครับ ถ้าอึดอัดเปลี่ยนการกำหนดรู้ไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้เพื่อคลายความอึดอัดแต่ต้องรู้ตัวว่ากำหนดรู้กายด้วยสติอยู่ ถ้าคิดหากรู้ทันต้องฝืนความคิดแล้ววกกลับเข้ามากำหนดรู้ร่า่งกายทันที แต่หากพิจารณาต้องพิจารณาตามสภาพความจริงของธรรมที่ปรากฎเช่น ปวดอยู่ ร้อนอยู่ เสียงดังอยู่ ครับผม หากความรู้ผิดพลาดก็ขออภัยมาณ ที่นี้ครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2012, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยเจอผู้รู้ในเวบลานธรรมบอกว่า อานาปานสติพุทโธ กับสติปัฏฐานพองยุบ ผสมเข้าด้วยกันได้
ไ่ม่ได้ต่างอะไรกันมาก เพราะอาปานะฯ กับสติปัฏฯ ก้มีทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ด้วยกันอยู่แล้ว
ในช่วงที่เรากำหนดพองหนอ พุทโธ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นี่เปนสมถะ แต่ถ้านั่งนานเกิดความรู้สึกทางเวทนาหรือมีเกิดอารมณ์ทางใดทางหนึ่ง อันจากสัมผัสทางกายและจิต ให้เกิดเวทนา เกิดทุกข์สุข เกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเรากำหนดพิจารณาตาม เช่นปวดหนอๆๆ คิดหนอๆๆๆ เสียใจหนอเป็นต้น หรือจะอย่กับพุทโธ ยังบริกรรมพุทโธอยู่ขณะที่เกิดเวทนาขึ้นไม่ทิ้งอารมณ์เวทนา การกำหนดเช่นนี้ถือเป็น"วิปัสสนากรรมฐาน"ทำเพื่อให้เกิดวิัปัสสนาทางปัญญาได้

อ้างคำพูด:
อานาปานสติพุทโธ กับสติปัฏฐานพองยุบ ผสมเข้าด้วยกัน

ที่ผู้รู้คนนึงบอกไว้คือ เมื่อแรกนั่งกำหนดอานาปานสติดูลมเข้าออก สักพักนิ่ง จิตรวมเปนสมาธิ ไม่สนใจสิ่งภายนอก แต่ต่อมาเกิดปวดขาเพราะนั่งนาน ทำให้ความปวดปวดหนักๆขึ้น ย้ายฐานกายจากการดูที่ลมเข้าออก
มาเป็นกำหนดดูความปวดที่ขาแทนแล้วก้ภาวนาคำตัวเองถนัดๆเช่นปวดหนอๆ หรือพุทโธๆก้ได้ แล้วพอนั่งแล้วความปวดหายไป(เปนแบบสติปัฏฐาน) ก้สลับไปดูลมหายใจเหมือนเดิม สลับกันระหว่างพุทโธกับพองหนอยุบหนอ(แต่เราแค่กำหนดปวดหนอแทน ก้แค่นั้น) เรียกผสมผสานกัน ดูผ้รู้คนนี้คงจะปฏิบัติได้ทั้งสองวิีธีมาก่อนแล้ว ถึงมาใช้วิธีผสมกันได้ :b41:

เรื่องคำ "บริกรรม" เปนสิ่งสำคัญ ไว้ประคองจิตจนเปนสมาธิได้ จะไม่บริกรรมก้ได้ เพียงแต่คำเหล่านี้จะผูกจิตเข้ากับอารณ์สมาธิได้ดีกว่า คนที่บริกรรมปกติ ช้าๆ จิตจะรวมเร็ว เมื่อจิตรวมเปนสมาธิ เราจะรู้สึกไม่อยากบริกรรม(จะบริกรรมต่อก้ได้) แต่โดยธรรมชาติจิตจะทิ้งคำภาวนาโดยอัตโนมัติ จิตสงบดีแล้วเราก้ไ่ม่สนใจว่าเราจะเริ่มภาวนายุบหนอ พองหนอ หรือพุทโธ ว่าอันไหนดีกว่ากัน สนแต่จิตที่ว่างลอยเด่นกลางสมาธีนี้(ทรงอารมณ์) :b40:

อ้างคำพูด:
ยุบรู้ พองรู้"
ถ้ากำหนดตามแนวสมถะ ยังงี้ทำได้ แต่ถ้าตามหลักวิัปัสสนา ถือว่าควรจะลงด้วย "หนอ" รั้งจิตให้มีสติได้ดีกว่า คำว่า "รู้" คำว่ารู้ในทางปฏิบัติหมายถึงรู้จริง เข้าใจแล้วจะไม่ใช่แค่รู้สึกหรือกำหนดรู้ หรือรู้ทันความรู้สึกอย่างเดียว ถ้าอยากใช้คำๆนี้จริงเพราะชอบ ก้ให้กำหนด"รู้หนอ" แทนจะดีกว่าคับ :b39:

จขกท. คิดว่าแบบไหนดี ก้เชิญปฏิบัติแบบนั้นได้เลย จะพุทโธ หรือพองหนอ ชอบคำไหนก้ใช้คำๆนั้นปฏิบัติแนวนั้น ดีทั้งสองวิธี แต่แบบพองหนอ เริ่มต้นจะทำยาก กำหนดยากกว่า เพราะไปจับการเคลื่อนไหวคือท้องพองยุบเปนหลัก ทำมีปัญหาเวลาบริกรรมคำพวกนี้ แต่ก้ยากแค่เฉพาะเริ่มต้นแค่นั้น พอทำได้เริ่มคล่องแล้ว คราวนี้เหมือนติดจรวดไปเรย อาการทุกอย่างที่เกิดขึ้นทางกาย เราจะรับรู้ได้หมด :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร