วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจาก มีสหายธรรม ได้ถามถึง "สถาบันพลังจิตตานุภาพ" ข้าพเจ้าได้เข้าไปพบประวัติของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ ที่เวบฯ สมาธิดอทคอม จึงได้คัดลอกมาให้สหายธรรมทั้งหลายได้อ่านกันไว้ประดับความรู้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบว่า เขาจะอนุญาต ให้นำมาโพสเผยแพร่ได้หรือไม่ ถ้าเขาไม่อนุญาต ก็ขอช่วยลบหน่อยนะผู้ดูแลทั้งหลาย ถ้าเขาอนุญาตก็ไม่เป็นไร ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ทางหนึ่ง ก็คงเป็นกุศลนะขอรับ
สถาบันพลังจิตตานุภาพ


โดย สมาธิดอทคอม เมื่อ พ, 13/10/2010 - 20:40
สาระน่ารู้
ครูสมาธิ
สถาบันพลังจิตตานุภาพ





อาตมาในนามพระเทพเจติยาจารย์ ฉายา สิรินฺธโร ชื่อเดิม วิริยังค์ สกุล บุญฑีย์กุล ประชาชนส่วนมากเรียกตามนามเดิมว่า “หลวงพ่อวิริยังค์” เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อาตมาจิตเริ่มเป็นสมาธิครั้งแรก เมื่ออายุเพียง 13 ปี ที่วัดป่าสว่างอารมณ์ ซึ่งมีหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส นับตั้งแต่นั้นการทำสมาธิได้ดำเนินติดต่อกันเรื่อยมา
จนกระทั่งอายุ 15 ปี หลวงปู่กงมาจึงบวชให้เป็นตาปะขาวอยู่รับใช้ท่านเมื่ออายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ปฏิบัติสมาธิกับท่านทั้งในป่าไม้ภูเขาและตามวัดอย่างเคร่งครัดจนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุรวมการอยู่เรียนสมาธิกับท่าน
เป็นเวลา 8 ปีเต็ม จึงมีความรู้เรื่องสมาธิสามารถสอนผู้อื่นได้
หลวงปู่กงมาได้พาอาตมาไปอยู่กับหลวงปู่มั่นเมื่อ พ.ศ. 2484 ขณะนั้นมีอายุ 22 ปี พอดีหลวงปู่กงมาบอกอาตมาว่า “วิริยังค์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ เป็นปรจารย์และเป็นอาจารย์ของเราสมาธิทุก ๆ ขั้นตอนเราได้สอนเธอไปหมดแล้ว ต่อไปนี้เธอจะได้เรียนสมาธิกับท่านปรมาจารย์ เธอจงอย่าประมาท จงปฏิบัติหลวงปู่มั่นแบบถวายชีวิต เธอจะได้ความรู้อย่างกว้างขวาง ยิ่งกว่าที่เราสอนอีกมากนัก”
อาตมารับคำตักเตือนจากหลวงปู่กงมาด้วยความตื้นตันใจ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2484 จึงเป็นปีเริ่มศักราชใหม่ของอาตมา โดยที่หลวงปู่มั่น รับเข้าเป็นศิษย์แบบใกล้ชิด ที่เรียกว่า ท.ส. อาตมาจึงได้เป็นพระอุปัฏฐากท่านตั้งแต่นั้นมา
นับว่าเป็นโอกาสดีที่สุดในชีวิต ที่อาตมาได้อยู่ใกล้ชิด ท่านปรมาจารย์ด้านสอนสมาธิ และเป็นโอกาสที่อาตมาจะได้ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมดของสมาธิ นับเป็นบุญญาธิการยิ่งใหญ่นักของอาตมาที่จะนำเอาหลักการสมาธิมาเป็น ประโยชน์ และก็เหมือนท่านรู้ซึ้งถึงจิตใจของอาตมาที่ต้องการรู้เรื่องสมาธิอย่างกว้าง ขวาง ท่านได้ให้โอกาสแก่อาตมาเป็นพิเศษในการไต่ถามอัตถปัญหาเรื่องของสมาธิ ถ้าอาตมาไม่ถามท่านก็ยกปัญหาขึ้นถามและท่านก็ตอบเอง ดังนั้นระยะเวลาอยู่ใกล้ชิด 4 ปี และอยู่นอกพรรษา หมายถึงเดือนตุลาคมไปถึงเดือนมิถุนายนเป็นเวลาอีก 5 ปี รวมทั้งหมด 9 ปี จึงเป็นอันว่าปัญหาของสมาธิได้ถูกชี้แจงอย่างหมดเปลือกจริง ๆ ซึ่งบางครั้งปัญหาเข้าขั้นสำคัญ ท่านให้อาตมาอยู่ด้วยกับท่านสองต่อสองตลอดเวลา และแก้ไขปัญหานั้น ซึ่งมีครั้งหนึ่งอาตมาต้องใช้เวลาอยู่กับท่านสองต่อสองนานถึง 3 เดือน
ผลงานชิ้นแรกที่อาตมาได้ทำ คือ เมื่ออยู่กับท่านในปีที่ 2 อาตมาได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านตลอดพรรษา เมื่อได้บันทึกแล้วอาตมาก็ได้ถวายให้ท่านตรวจดู ท่านพอใจและไว้ใจอาตมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจากการบันทึกในครั้งนั้นได้นำมา พิมพ์เป็น หนังสือมุตโตทัย ที่โด่งดังอยู่ในเวลานี้ เพราะได้ถูกพิมพ์เผยแผ่กว่าล้านเล่ม
ระหว่างที่อาตมาอยู่ใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ได้ทราบข้อเท็จจริงมากทั้งสมาธิตื้น สมาธิลึก ตลอดถึงวิปัสสนา ซึ่งเมื่อเข้าใจทุกประการแล้ว อาตมามีความรักและหวงแหนในหลักการต่าง ๆ อย่างยิ่งไม่อยากที่จะให้หลักการเหล่านั้นต้องสลายไป เพราะท่านมีวิธีทั้งขั้นพื้นฐานและขั้นสูงสุด อาตมาถามท่านว่า “ต่อ ไปกระผมจะเขียนเป็นหลักการให้ชาวโลกเขาทำกันจะได้ใหม” ท่านตอบว่า “ต้องเอาแบบขั้นพื้นฐานสำหรับเป็นประโยชน์แก่มหาชน สำหรับขั้นสูงให้มีน้อย โอกาสที่เธอจะทำนั้นมีอยู่ แต่ต้องทำขั้นพื้นฐานเพื่อคนส่วนมากในโลกจะได้สงบ และเธอต้องไปอยู่กรุงเทพ เพราะคนกรุงเทพที่มีวาสนาบารมี มีอยู่ไม่น้อย”
ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ เป็นแรงสนับสนุนในใจของอาตมาอยู่ตลอดเวลาจน พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2534 อาตมาได้มีโอกาสไปพักผ่อนที่วิทยาลัยสงฆ์น้ำตกแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นบริเวณป่าไม้ ภูเขาดอยอินทนนท์ ทำให้ได้ทบทวนหลักการต่าง ๆ ที่เคยได้ไต่ถามอัตถปัญหาสมาธิ พร้อมทั้งคำแนะนำจากหลวงปู่มั่น จึงได้เขียนเป็นตำราสมาธิขึ้นจนเต็มรูปแบบสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาสมาธิได้ รวมการทบทวนและรวบรวมการเขียนตำรานั้น ใช้เวลา 5 ปีจึงสำเร็จ เพื่อให้ได้เนื้อหาสาระที่สำคัญ จึงจัดทำเป็นรูปเล่มตั้งแต่ ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง รวม 3 เล่ม เหมาะแก่การศึกษาและปฏิบัติสมาธิยิ่งนัก
ในขณะเขียนตำราสมาธิ ก็มาคำนึงว่าชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่าง ๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมณ์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลายทั้งที่อยู่อาศัย ทั้งรถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ไปมาได้ง่าย ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนท และอีเมลล์ ก็ย่นระยะการติดต่ดสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเงินเป็นหมื่นล้าน แสนล้านเขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไม ? เราจะต้องลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่าง ๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ ?
จึงได้คิดสร้างนครธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2529 และได้ดำเนินการสร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนส่วนมากเข้าใจแต่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ บวชพระ ถวายสังฆทาน เป็นต้น จึงจะได้บุญกุศลแต่จะมาสร้างนครธรรมสอนคนด้วยไฮเทคนี้ ไม่รู้ว่าจะได้บุญตรงไหนแต่ด้วยใจที่มีความมุ่งมั่นของผู้สร้าง จึงพยายามพูดให้สาธุชนทั้งหลายเข้าใจในการทำบุญกุศล จนสามารถมีผู้บริจาคสร้างสำเร็จ เมื่อพ.ศ. 2539 จึงเป็น นครธรรม ยุคไฮเทค แหล่งย่นระยะการศึกษาธรรมะล้ำยุค สุดอลังการ ณ วัดธรรมมงคล ในเนื้อที่ 4,800 ตารางเมตร ใต้ฐานพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในกรุงเทพมหานคร คือสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมทันสมัย มีห้องเรียนภาคทฤษฎี มีห้องเรียนภาคปฏิบัติทั้งนั่งสมาธิและเดินจงกรม มีห้องชมธรรมะด้วยสไลด์มัลติวิชั่น มีห้องสนทนาธรรม มีห้องสมุดธรรมะ มีห้องธุรการ มีห้องอาหารและเครื่องดื่ม มีห้องสำนักงานประทีปเด็กไทย เพื่อช่วยเหลือเด็กทั่วเมืองไทย มีห้องถ้ำวิปัสสนาไว้ให้ปฏิบัติธรรมเป็นต้น ผู้ที่มาศึกษาและปฏิบัติธรรมจะได้รับความสะดวกสบายในห้องแอร์คอนดิชั่นอย่าง ดี เป็นการลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัย เพื่อสุขภาพใจโดยเฉพาะจึงเหมาะแก่คนยุคโลกาภิวัฒน์ ที่ได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรม ทั้งมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ทั้งจะได้รับความรู้และความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง นี้คือ นครธรรม สถานที่ตั้ง สถาบันพลังจิตตานุภาพ ในใจกลาง กรุงเทพมหานคร
ด้วยเหตุนี้จึงได้ประกาศเปิดสอนหลักสูตรครูสมาธิขึ้น ณ นครธรรม วัดธรรมมงคล และเปิดรับสมัครนักศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2540 มีบุคคลที่มีความรู้ตามกำหนดมาตรฐานมาสมัครเรียนถึง 200 กว่าคน เริ่มเปิดสอนเมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 เป็นรุ่นแรกเรียกว่า รุ่นปฐโม (รุ่นพยัคฆ์) ดำเนินการสอนโดยพระเทพเจติยาจารย์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติพร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติภาคสนาม จึงจะจบครบตามหลักสูตร ในหลักสูตรนี้แบ่งออกเป็น 3 เทอม ๆ ละ 40 วัน มีการปิดภาคเรียนเทอมละ 7 - 15 วัน เปิดเรียน วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 18.00 น. - 20.20 น. วันละ 2 ชั่วโมง เริ่มชั่วโมงแรกเรียนภาคทฤษฎี 40 นาที ถาม - ตอบ เพื่อความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง 20 นาทีรวมเป็น 1 ชั่วโมง หยุดพัก 20 นาที ต่อจากนั้นเรียนภาคปฏิบัติเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิอีก 30 นาที รวมเป็น 1 ชั่วโมง เมื่อเรียนจบทั้ง 3 เทอมแล้ว มีการสอบข้อเขียน ทั้งภาคทฤษฎีและสอบภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการสอบสัมภาษณ์ และในขั้นสุดท้ายจะต้องไปสอบปฏิบัติภาคสนาม บนดอยอินทนนท์ที่สูงที่สุดในเมืองไทย จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะมีสิทธิ์จบหลักสูตรครูสมาธิ 200 ชั่วโมง และสุดท้ายจึงจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้
จากการเรียนการสอนที่ผ่านมาของนักศึกษา ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ผลที่ออกมาจึงทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ และได้ทั้งประสบการณ์ด้านการปฏิบัติเป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง นับเป็นปรากฏการณ์ในการศึกษาสมาธิในยุคปัจจุบัน ทำให้ผลงานนี้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางทั่ววงการต่าง ๆ จะเห็นได้จากการมีผู้มาสมัครเรียนหลักสูตรครูสมาธิเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
เมื่อมีการเรียนการสอนตามระบบของหลักสูตรดังได้กล่าวมาแล้ว จึงมีความพร้อม คือมีทั้งอาจารย์ผู้สอน มีนักศึกษา มีอาคารสถานที่ มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบถ้วนบริบูรณ์ที่ นครธรรม อันเป็นสถานที่ตั้งสถาบันการศึกษาครูสมาธิ เรียกว่า “สถาบันพลังจิตตานุภาพ” (Willpower Institute) เป็นสถานที่ศึกษาสมาธิทันสมัยในยุคปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาศึกษาจะได้รับประโยชน์จากสถาบันแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งจะเป็นผลดีต่อชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และก่อให้เกิดความสงบ ร่มเย็นเป็นสุขแก่โลกมากยิ่งขึ้นต่อไป

หลักสูตร ครูสอนสมาธิ

เป็นหลักสูตรครูสมาธิที่เปิดสอนให้แก่ บุคคลทั่วไป ณ สถาบันพลังจิตตานุภาพวัดธรรมมงคล ในการเรียนการสอนนักศึกษา จะได้รับการถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับสมาธิเบื้องต้นตั้งแต่การเริ่มบริกรรม จนถึงสมาธิชั้นสูง ที่หลวงพ่อวิริยังค์ได้เรียน มาจากพระอาจารย์ใหญ่ เช่น พระอาจารย ์มั่น พระอาจารย์กงมา และจากประสบการณ์ชีวิตการ ปฏิบัติสมาธิ ของท่านกว่า ๖๐ ปี นอกจากผู้เรียนจะเข้าใจ การทำสมาธิ ทั้งสมถะ-วิปัสสนา อย่างถี่ถ้วนแล้ว ยังสามารถเป็นครูสอนสมาธิแก่บุคคล อื่นได้ โดยถูกต้องด้วย

จากคำสอนของ.............พระเทพเจติยาจารย์(หลวงพ่อวิริ ยังค์ สิรินฺธโร)

"การทำสมาธิแบบบริกรรม"
การบริกรรม ทำให้จิตเป็นหนึ่ง
จิตเป็นหนึ่ง ทำให้เกิดความสงบ
ความสงบ ทำให้จิตมีพลัง
จิตมีพลัง ทำให้มีสติระลึกรู้
มีสติระลึกรู้ ทำให้เกิดสติปัญญา
มีสติปัญญา ทำให้รู้ทันอารมณ์
การรู้ทันอารมณ์ ทำให้จิตเป็นกลางได้

ประโยชน์ของ สมาธิ
1. ทำให้หลับสบายคลายกังวล
2. กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ
3. ทำให้สมองปัญญาดี
4. ทำให้มีความรอบคอบ
5. ทำให้ระงับความร้ายกาจ
6. บรรเทาความเครียด
7. มีความสุขพิเศษ
8. ทำให้จิตใจอ่อนโยน
9. กลับใจได้
10. เวลาสิ้นลมพบทางดี
11. เจริญวาสนาบารมี
12. เป็นกุศล


วัตถุประสงค์ของการทำ สมาธิ คือการสร้างพลังจิต พลังจิตที่ได้จากการทำสมาธิมี ๒ ประเภท คือพลังหลัก และพลังเฉลี่ย
พลังหลัก - จะถูกเก็บสะสมไว้ในจิต ไม่มีการแตกสลายตามกายเนื้อแต่สะสมข้ามภพ-ชาติ พลังเฉลี่ย - จะถูกใช้ไปในชีวิตประจำวัน การทำสมาธิ เริ่มจากการบริกรรม กำจัดความคิดและอารมณ์ต่าง ๆ ออกไป จนกว่าจิตจะสงบเบา สมาธิต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่มีอารมณ์ กำจัดได้มากเท่าไรก็เป็นสมาธิได้ลึกเท่านั้น เพราะ การทำสมาธิเป็นการกะเทาะอารมณ์ออกจากจิต เปรียบดังกะเทาะสนิมออกจากเนื้อเหล็ก ความนึกคิด การเคร่งเครียดต่อการงานทุกวัน ทำให้สมองต้องทำงานตลอดเวลาไม่มีเวลาพัก ยิ่งคิดหรือ เคร่งเครียด มากก็ยิ่งเป็นเหตุให้สมองมีความเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่ากำหนด การว่างจากความคิดเสียบ้าง จึงเป็นวิธีที่ทำให้สมองได้รับการพักผ่อน การทำสมาธิจึงเป็นการหยุดพักที่มีประสิทธิภาพ เปรียบเหมือนคนเดินทางไกลหลังจากการหยุดพักสักวัน ชั่วโมงหรือไม่กี่นาที ก็ย่อมได้เรี่ยวแรงกลับมา

การทำสมาธิ มี ๒ แบบคือ สมถะ และวิปัสสนา
สมถะ ต้องการให้ทรงสติสัมปชัญญะ ได้ความสงบ สุขสบาย
วิปัสสนา เพื่อการรู้แจ้งเห็นจริง ใช้ปัญญาเป็นเครื่องภาวนาตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕
การทำสมาธิเบื้องต้นจำต้องมีสมถะ คือ ควบคุมอารมณ์จิตให้ทรงอยู่ ถ้าอารมณ์ไม่ทรงตัว วิปัสสนาจะไม่มีผล เป็นวิปัสสนาตะครุบเงา หรือวิปัสสนาตกน้ำ

วิปัสสนา ตกน้ำ คำพังเพย
เหมือนเงาเพชรใต้น้ำเอย บอกให้
งมเอาเพชรเลย งมเปล่า แลนา
วิปัสสนาขาดสมาธิไซร้ ผิดแล้ว ทางกลาง

การทำสมาธิต้องมีขั้นตอน การทำสมาธิขั้นต้นจึงต้องปูรากฐานด้วยความระมัดระวัง ควรจะมีผู้รู้คอยแนะนำ เปรียบเหมือนขั้นตอนของหมอรักษาโรคภัยไข้เจ็บ คนที่ไม่ไปหาหมอ แต่ซื้อยามารับประทานเองตามคำแนะนำ ของบางคน อาจจะเป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับผู้ฝึกสมาธิที่ไม่มีครูอาจารย์แนะนำ คลำ ๆ ทำไป ก็คงจะได้ผลอยู่บ้าง แต่ก็ไม่แน่นอน เหมือนกับคนไข้รับประทานยากลางบ้านไม่มีหมอสั่งให้
สมาธิมีคุณสมบัติ : ซึมซาบ อ่อนละมุน นุ่มนวลแต่เหนียวแน่น เหมือนลมละเอียดชนิดหนึ่งที่ถูกกลั่นกรองแล้วคล้ายปุยนุน เพียงแต่ปุยนุ่นไม่แกร่ง แต่สมาธิแกร่ง

ขั้นตอนของ การเดินจงกรม

๑. กำหนดเส้นทางจงกรม
๒. ยืนตรงจุดเริ่มต้นทางเดินจงกรม พนมมือระหว่างอกแล้ว หลับตากล่าว คำอธิษฐานเดินจงกรม ว่า
" เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา "
ขอให้ใจของข้าพเจ้าาจงสงบเป็นสมาธิ
ยกมือที่พนมสูงขึ้นระหว่างคิ้ว กล่าวในใจว่า "สาธุ"
๓. เอามือลง ใช้มือขวาจับมือซ้าย ห้อยมือพอสบายไม่เกร็ง
๔. กำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก ไม่ต้องหลับตา ตามองทางเดินจงกรมไกลว่าตัวประมาณ ๑.๕ - ๒ เมตร
๕. เริ่มบริกรรมคำว่า " พุทโธ ๆ " อยู่ในใจ พร้อมก้าวเท้าขวาเดินตามด้วยเท้าซ้าย ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เดินในลักษณะเดินปกติ
๖. เมื่อเดินสุดทางจงกรม ให้ค่อย ๆ หมุนตัวกลับทางขวา ยืนทรงตัวตรง แล้วจึงเริ่มก้าวด้วยเท้าขวาเหมือนตอนเริ่มต้น
๗. เมื่อครบตามเวลาทำกำหนด ให้ยืนตรงจุดเริ่มต้นเดิน พนมมือระหว่างอก กล่าวในใจว่า
" สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ "
ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด
แล้วยกมือที่พนมขึ้นระหว่างคิ้วแล้วกล่าวในใจว่า " สาธุ " เป็นอันจบพิธีการเดินจงกรม

วิธีนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายตรง ยกมือพนมระหว่างอก กล่าวคำอธิษฐานสมาธิ
" ข้าพเจ้า ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้เจ้าของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ... พุทโธ ธัมโม สังโฆ ... พุทโธ ธัมโม สังโฆ ... พุทโธ ๆ ๆ
เอามือลง วางบนตัก มือขวาทับมือซ้าย หลับตาเบา ๆ บริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ........ ในใจจนกว่าจะเลิก ตามเวลาที่กำหนด
หลังจากนั้นให้ตั้งใจสวดแผ่เมตตาพิเศษ ดังนี้

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ, อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกันและกัน จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด
กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง, สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต
ขอให้สัตว์ทั้งสิ้นนั้น จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนั้นเทอญ

ปัจจุบันมีสถาบันพลังจิตตานุภาพและสาขากระจายอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้(หากสนใจก็สอบถามในจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ เอาเองนะขอรับ)
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
(ผู้คัดลอก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2012, 23:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:


วิธีนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
(ผู้คัดลอก)


นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย

พี่เทว่า นั่งเอาขาซ้ายทับขาขวาได้มั้ยครับ ขัดต่อการนั่งฝึกอบจิตมั้ย :b31: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
sriariya เขียน:


วิธีนั่งสมาธิ

นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
(ผู้คัดลอก)


นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย

พี่เทว่า นั่งเอาขาซ้ายทับขาขวาได้มั้ยครับ ขัดต่อการนั่งฝึกอบจิตมั้ย :b31: :b10:


ศรัทธาคือความเชื่อ ก็เป็นเรื่องของ ศรัทธาคือความเชื่อ "การสอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพ"ศรัทธาคือความเชื่อตามที่ได้รู้ได้ศึกษามาจะจากตำราก็ดี จะจากคำบอกเล่าก็ดี จากการได้เห็นพระพุทธรูปก็ดี ก็เป็นเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ
ส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว จากประสบการณ์ ที่ได้ฝึกฝนมา ข้าพเจ้าไม่ผูกติดในเรื่องเล็กน้อยเหล่านั้น เวลาข้าพเจ้าฝึกตน ข้าพเจ้า ก็จะนั่งแบบ พระสังกัจจายนะ คือนั่งแบบไม่เอาเท้าทับซ้อนกัน แต่จะนั่งเอาเท้าซ้ายไว้ด้านนอก เท้าขวาไว้ด้านใน
หรือบางครั้ง ก็เอา ขาขวาไว้ด้านนอก ขาซ้ายไว้ด้านใน บ้างถ้าไม่สะดวกนั่งก็จะนอน หรือถ้าวิ่งออกกำลังกาย ก็จะฝึกตนไปด้วยพร้อมกัน
สรุปแล้วไม่ผูกติดว่าจะเอา ขาซ้ายทับขาขวา หรือ ขาขวาทับขาซ้าย อย่างไรก็ได้ถ้าสะดวก ไม่ทรมานร่างกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 00:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนวนเชิญชวน เหมือนโฆษณาเชิงพาณิชย์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:


ศรัทธาคือความเชื่อ ก็เป็นเรื่องของ ศรัทธาคือความเชื่อ "การสอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพ"ศรัทธาคือความเชื่อตามที่ได้รู้ได้ศึกษามาจะจากตำราก็ดี จะจากคำบอกเล่าก็ดี จากการได้เห็นพระพุทธรูปก็ดี ก็เป็นเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ

ส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว จากประสบการณ์ ที่ได้ฝึกฝนมา ข้าพเจ้าไม่ผูกติดในเรื่องเล็กน้อยเหล่านั้น เวลาข้าพเจ้าฝึกตน ข้าพเจ้า ก็จะนั่งแบบ พระสังกัจจายนะ คือนั่งแบบไม่เอาเท้าทับซ้อนกัน แต่จะนั่งเอาเท้าซ้ายไว้ด้านนอก เท้าขวาไว้ด้านใน
หรือบางครั้ง ก็เอา ขาขวาไว้ด้านนอก ขาซ้ายไว้ด้านใน บ้างถ้าไม่สะดวกนั่งก็จะนอน หรือถ้าวิ่งออกกำลังกาย ก็จะฝึกตนไปด้วยพร้อมกัน

สรุปแล้วไม่ผูกติดว่าจะเอา ขาซ้ายทับขาขวา หรือ ขาขวาทับขาซ้าย อย่างไรก็ได้ถ้าสะดวก ไม่ทรมานร่างกาย


ศรัทธาคือความเชื่อ ก็เป็นเรื่องของ ศรัทธาคือความเชื่อ "การสอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพ"ศรัทธาคือความเชื่อตามที่ได้รู้ได้ศึกษามาจะจากตำราก็ดี จะจากคำบอกเล่าก็ดี จากการได้เห็นพระพุทธรูปก็ดี ก็เป็นเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ

พี่เท พูดและทำประหนึ่งว่า ความจริง (ธรรมะ) กับความเชื่อ (ศรัทธา) คนละเรื่องคนละส่วนกัน คือว่าความเชื่ออาจไม่จริงก็ได้ หรือไงเนี่ย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
sriariya เขียน:


ศรัทธาคือความเชื่อ ก็เป็นเรื่องของ ศรัทธาคือความเชื่อ "การสอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพ"ศรัทธาคือความเชื่อตามที่ได้รู้ได้ศึกษามาจะจากตำราก็ดี จะจากคำบอกเล่าก็ดี จากการได้เห็นพระพุทธรูปก็ดี ก็เป็นเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ

ส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว จากประสบการณ์ ที่ได้ฝึกฝนมา ข้าพเจ้าไม่ผูกติดในเรื่องเล็กน้อยเหล่านั้น เวลาข้าพเจ้าฝึกตน ข้าพเจ้า ก็จะนั่งแบบ พระสังกัจจายนะ คือนั่งแบบไม่เอาเท้าทับซ้อนกัน แต่จะนั่งเอาเท้าซ้ายไว้ด้านนอก เท้าขวาไว้ด้านใน
หรือบางครั้ง ก็เอา ขาขวาไว้ด้านนอก ขาซ้ายไว้ด้านใน บ้างถ้าไม่สะดวกนั่งก็จะนอน หรือถ้าวิ่งออกกำลังกาย ก็จะฝึกตนไปด้วยพร้อมกัน

สรุปแล้วไม่ผูกติดว่าจะเอา ขาซ้ายทับขาขวา หรือ ขาขวาทับขาซ้าย อย่างไรก็ได้ถ้าสะดวก ไม่ทรมานร่างกาย


ศรัทธาคือความเชื่อ ก็เป็นเรื่องของ ศรัทธาคือความเชื่อ "การสอนของสถาบันพลังจิตตานุภาพ"ศรัทธาคือความเชื่อตามที่ได้รู้ได้ศึกษามาจะจากตำราก็ดี จะจากคำบอกเล่าก็ดี จากการได้เห็นพระพุทธรูปก็ดี ก็เป็นเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ

พี่เท พูดและทำประหนึ่งว่า ความจริง (ธรรมะ) กับความเชื่อ (ศรัทธา) คนละเรื่องคนละส่วนกัน คือว่าความเชื่ออาจไม่จริงก็ได้ หรือไงเนี่ย


บะ...เจ้ากรัชกาย..ทำไมเจ้าคิดลึกคิดมากเลยเถิดซะจริงๆ
เจ้าน่าจะรู้ว่า ศรัทธาคือความเชื่อ อาจจะเป็นความจริงก็ได้ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงก้ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากความจริงแล้วกลายเป็นความเชื่อที่ไม่มีจริงก็ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากเรื่องจอมปลอมคือเรื่องไม่จริง แต่กลายเป็นความเชื่อที่เป็นจริงก็ได้ ศรัทธาคือความเชื่อ ก็คือ ธรรมะ หรือ ความจริง ,หรือ ความจริง(ธรรมะ) ก็คือ ความเชื่อ(ศรัทธา) เพราะเป็นธรรมชาติคือความจริงของมนุษย์ เจ้าถามอะไรข้าพเจ้า ทำไมไม่อ่านตรงที่ข้าพเจ้าตอบไป คิดเอาเอง แถมยังคิดผิดปกติมนุษย์ซะง้้นแหละ อิ อิ อิ
การที่ข้าพเจ้าไม่ตอบตรงๆว่า นั่งสมาธิเอาขาซ้ายทับขาขวา หรือจะเอา ขาขวาทับขาซ้าย มีใครเห็นกันบ้างละเจ้ากรัชกาย ก็มีเพียงแต่ในตำรา มีเพียงแต่คำบอกเล่า มีแต่พระพุทธรูป ซึ่งก็เข้าล๊อคที่ข้าพเจ้ากล่าวไป ที่ตัวโตโตนั้นแหละขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:



บะ...เจ้ากรัชกาย..ทำไมเจ้าคิดลึกคิดมากเลยเถิดซะจริงๆ

เจ้าน่าจะรู้ว่า ศรัทธาคือความเชื่อ อาจจะเป็นความจริงก็ได้ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงก้ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากความจริงแล้วกลายเป็นความเชื่อที่ไม่มีจริงก็ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากเรื่องจอมปลอมคือเรื่องไม่จริง แต่กลายเป็นความเชื่อที่เป็นจริงก็ได้ ศรัทธาคือความเชื่อ ก็คือ ธรรมะ หรือ ความจริง ,หรือ ความจริง (ธรรมะ) ก็คือ ความเชื่อ (ศรัทธา) เพราะเป็นธรรมชาติคือความจริงของมนุษย์
เจ้าถามอะไรข้าพเจ้า ทำไมไม่อ่านตรงที่ข้าพเจ้าตอบไป คิดเอาเอง แถมยังคิดผิดปกติมนุษย์ซะง้้นแหละ อิ อิ อิ

การที่ข้าพเจ้าไม่ตอบตรงๆว่า นั่งสมาธิเอาขาซ้ายทับขาขวา หรือจะเอา ขาขวาทับขาซ้าย มีใครเห็นกันบ้างละเจ้ากรัชกาย ก็มีเพียงแต่ในตำรา มีเพียงแต่คำบอกเล่า มีแต่พระพุทธรูป ซึ่งก็เข้าล๊อคที่ข้าพเจ้ากล่าวไป ที่ตัวโตโตนั้นแหละขอรับ


ป่าวคิดลึกนะขอรับ :b15: แต่คิดไม่ถึงว่า พี่เท จะตอบปัญหาพอฟังได้เช่นนี้ :b1: ความเชื่ออาจไม่จริงก็ได้ จริงก็ได้ แต่ความไม่เชื่อ (อัสสัทธา) จริงแท้

ถ้าแบบนี้น่ะ พี่เท อย่าเพิ่งตายนะขอรับ อยู่สร้างปารมีไปนานๆ :b21:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2012, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มิ.ย. 2010, 22:55
โพสต์: 213

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บอกตรงๆ เวลาแอบอ่านที่ท่านกรัชฯเสวนากับท่านsriฯ ผมรู้สึกเหมือนว่ากำลังอ่านจดหมายเพื่อถอดรหัสที่สายลับส่งให้กันอยู่ :b32:

หยอกเล่นนะครับแต่หมายควมตามนั้นจริง แค่แวะมาแซวอย่าได้ถือสาผมเลย :b18:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 09:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว





ปารมี 30 ทศ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พลังจิตตานุภาพ (พละ+จิตตะ+อานุภาพ) ศัพท์มีความหมายดี ถ้าจะให้ยอดดี เราจะต้องฝึกอบรมจิตให้มีกำลัง แล้วมันจะทรงฤทธานุภาพ ... พูดให้พอเห็นเค้า พลังหรือพละ ก็ได้แก่ พลธรรม 5 คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ นี่แหละ แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า เราจะฝึกจิตให้กำลัง 5 นี้งอกงามขึ้นได้ยังไง ?

พี่เท บอกหน่อยดิ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 16:27
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมทราบครับ เพิ่งจบหลักสูตรครูสมาธิมาด้วยครับ

หลักสูตรครูสมาธิ โดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร(ลูกศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ) เจ้าอาวาศวัดธรรมมงคล

คือ เป็นหลักสูตร สอนสมาธิ (ทฤษฎี และ ปฏิบัติ) เพื่อให้ผู้เรียนรู้จริงๆๆ ในเรื่องของการทำสมาธิ ทั้งแบบนังและเดินจงกรม เรียนจบสามารถนำมาสอนผู้อื่นได้ด้วย
ตอนท้ายมีการสอบ ทฤษฎี และ ปฏิบัติ พร้อมรับประกาศนียบัตร

เนื่อหาการสอนแต่ละบทที่เรียน (ทฤษฎีและปฏิบัติ) มีครูมาสอนใช้เวลาประมาณ40นาที และเปิดเสียง หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร บรรยายอีกประมาณ 40 นาที่
หลังจากนั้น เดินจงกรม 30 นาที่ นั่งสมาธิ 30 นาที

แบบหนังสือออกเป็น3เล่ม มีบทที่ได้เรียนดังนี้

เล่มที่1 ข้อ1.วิธีการ 1.1อิรยาบถ 1.2อาการ-กิริยา 1.3สถานที่-บริเวณ 1.4ชุมชน-ป่าไม้-ภูเขา 1.5อากาศ 1.6เวลา
เล่มที่1 ข้อ2.จุดเริ่มต้น 2.1ความตั้งใจ 2.2 ความวางใจ 2.3การบริกรรม 2.4 เริ่มต้นการกำหนด 2.5เกี่ยวกับลมหายใจ 2.6เกี่ยวกับอุบาย 2.7 เกี่ยวกับอารมณ์ 2.8 เกียวกับกระแส
เล่มที่1 ข้อ3.การบริกรรม 3.1การบริกรรมนึกพุทโธและอื่นๆ 3.2การบริกรรมเป็นเพี่ยงเบื้องตน 3.3การบริกรรมเป็นความจำเป็น 3.4การไม่บริกรรม กำหนดความหยุด
3.5การผ่อนลมหายใจในขณะกำหนดความหยุด 3.6การบริกรรมเปรียบด้วยเด็กอ่อน 3.7การวางจิตขณะบริกรรม 3.8การวัดผลของการบริกรรม
เล่มที่1 ข้อ4.ลักษณะต่อต้อนสมาธิ 4.1ความเจ็บปวด เมื่อย เหนี่อย หิว 4.2ความทปริวิตก 4.3ความกระวนกระวาย 4.4ความหงุดหงิด 4.5 อาการกิริยาเจ็บคัน โดยไม่มีเหตุผล
4.6ควาลังเลสงสัย 4.7ความโลภอยากได้เร็ว

เล่มที่2 ข้อ1.สมาธิ 1.1ลักษณะของสมาธิ 1.2ขั้นตอนของสมาธฺ 1.3คุณสมบัติของสมาธิ 1.4การวัดผลของสมาธิ 1.5ประโยชน์ของสมาธิ 1.6 สมาธิตื้น
1.7 สมาธิลึก 1.8 อาการของสมาธิ 1.9 การเพิ่มของสมาธิ 1.10 หนทางให้สมาธิเสื่อม 1.11 อาทิสมานกายกับสมาธิ 1.12 สมาธิกับการแสดงฤทธิ์
1.13 สมาธิกับการรักษาโรค 1.14 สมาธิกับการรวมคณะ 1.15 สมาธิกับการหลงผิด 1.16 สมาธิกับการควบคุมอารมณ์ 1.17 สมาธิกับการงาน 1.18 สมาธิกับการเรียน
เล่มที่2 ข้อ2.ฌาน 2.1 ลักษณะของฌาน 2.2ขั้นตอนของฌาน 2.3คุณสมบัติของฌาน 2.4การวัดผลของฌาน 2.5 ความตื้นของฌาน 2.6ความลึกของฌาน
2.7ประโยชน์ของฌาน 2.8อาการของฌาน 2.9การเพิ่มของฌาน 2.10ความเสื่อมของฌาน 2.11อาทิสมานกายกับฌาน

เล่มที่2 ข้อ3.ญาณ 3.1ลักษณะของญาณ 3.2ขั้นตอนของญาณ 3.3คุณสมบัติของญาณ 3.4การวัดผลของญาณ 3.5ประโยชน์ของญาน 3.6ความตื้นของญาณ 3.7ความลึกของญาณ 3.8อาการของญาณ

เล่มที่3.ข้อ1วิปัสสนา 1.1สิ่งที่ควรรู้เรื่องวิปัสสนา 1.2การเกิดขึ้นของวิปัสสนา 1.3 ความแตกต่างระหว่างสมถะ-วิปัสสนา 1.4ความสำคัญของสมถะ-วิปัสสนา 1.5ความหมายของสมถะ-วิปัสสนา
1.6จุดมุ่งหมายของสมถะ-วิปัสสนา 1.7แผนผังสมถะ-วิปัสสนา 1.8จุดเริ่มต้นของวิปัสสนา 1.9ความช้าเร็วที่เกิดของวิปัสสนา 1.10กิริยาจิตของวิปัสสนา 1.11ความลักลั่นของวิปัสสนา
1.12ส่วนผสมของวิปัสสนา 1.13ความเป็นไปได้แห่งวิปัสสนา 1.14ความเป็นเลิศของวิปัสสนา 1.15พระอภิธรรมกับวิปัสสนา 1.16วิปัสสนูปกิเลส 1.17 ฌานกับวิปัสสนา ฃ
1.18ชวนะจิตของวิปัสสนา 1.19มีความจำเป็นอย่างไรแก่บุคคลใดในวิปัสสานา 1.20ชาวโลกกับวิปัสสนา


มีสาขาให้เลือกเรียน ดังนี้

0. สำนักงานใหญ่วัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101/1 02-311-1387, 02-3113903
๑. บ้านอาจารย์อำนวย สุวรรณคีรี กรุงเทพมหานคร บางกะปิ 087-980-6377
๒. วัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร พระราม2 02-874-8108
๔. วัดสิริกมลาวาส กรุงเทพมหานคร ลาดพร้าว 02-570-8281, 02-570-8281, 081-910-5996, 081-910-5996
๕. หาดใหญ่ จ.สงขลา 081-368-0566, 087-291-1177
๖. วัดบางโฉลงใน จ.สมุทรปราการ 081-371-2130,081-913-2794
๗. มหาวิทยาลัยโยนก จ.ลำปาง 081-716-5842, 054-265-170 ต่อ 145
๘. อาคารไอทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร พหลโยธิน19 02-554-9000,089-201-5465
๙. บ้านบรรณรุจิ กรุงเทพมหานคร งามวงศ์วาน 02-580-4700,089-665-2323
๑๐. วัดผ่องพลอยวิริยาราม กรุงเทพมหานคร สุขุมวิท105 .081-558-8017
๑๔. บ้านปิยะธรรม กรุงเทพมหานคร ซอยอ่อนนุช 10 สวนหลวง .02-332-5827, 089-6654242
๑๕. บ้านนำชัย จ.ภูเก็ต 076-217-321,081-676-7758
๑๗. วัดป่าหลวง จ.อุดรธานี 081-651-4237,086-988-3947
๑๘. วัดเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ 081-445-3305,083-180-8513
๑๙. วัดแหลมทอง จ.ชลบุรี 089-823-3889,02-311-1387
๒๐. ศูนย์สมาธิพระยาวิสูตรโกษา จ.จันทบุรี 081-375-2249
๒๑. อุทยานธรรมกิตติลักษณ์ จ.เชียงราย 081-924-8588
๒๒.​วัดเชตวัน จ.ลำปาง 089-501-4841
๒๓. วัดเม็งรายมหาราช (ฮ่องลี่) จ.เชียงราย 081-783-2331,081-810-8961
๒๔. บ้านศรีสุกรี (หางดง) จ.เชียงใหม่ 089-701-0158
๒๕. อาคารเนชั่น ๑ กรุงเทพมหานคร บางนา 083-841-8735,02-338-3333 ต่อ 1109,3514 หรือ 02-311-1387
๒๖. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร ถ.พระอาทิตย์ เขตพระนคร 02-282-2888,089-153-4566
๒๗. วัดรัตนวนาราม จ.พะเยา 084-805-5241,081-781-3536
๒๘. มูลนิธิส่งเสริมการบริหารจิต ในพระสังฆราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร พระราม ๙ 084-805-5241,081-781-3536
๒๙. วัดสุทธจินดา จ.นครราชสีมา 081-846-0513, 089-200-2129
๓๐. โรงเรียนวชิรมกุฏ กรุงเทพมหานคร บางขุนพรหม 089-996-0390,085-145-2590
๓๑. วัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 089-622-5746
๓๒. วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี 081-260-0948 หรือ 02-311-1387
๓๓. มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพมหานคร 076-217-321,081-676-7758
๓๔. สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพมหานคร 02-141-9641,02-141-9523
๓๕. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพมหานคร บางซื่อ
๓๖. วัดป่าท่าทราย จ.สมุทรสาคร 02-311-1387, 02-3113903
๓๗. ศูนย์อนุบาลพุทธชาด กรุงเทพมหานคร 02-311-1387, 02-3113903
๓๘. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา 02-311-1387, 02-3113903
๔๐. วัดตรีรัตนาราม จ.ระยอง 02-311-1387, 02-3113903
๔๑. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ 02-311-1387, 02-3113903
๔๔. วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี 02-311-1387, 02-3113903
๔๕. วัดดอนขวาง จ.นครราชสีมา 02-311-1387, 02-3113903
๔๖. วี เอส เคม ปทุมวัน 02-311-1387, 02-3113903


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
sriariya เขียน:



บะ...เจ้ากรัชกาย..ทำไมเจ้าคิดลึกคิดมากเลยเถิดซะจริงๆ

เจ้าน่าจะรู้ว่า ศรัทธาคือความเชื่อ อาจจะเป็นความจริงก็ได้ อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เป็นความจริงก้ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากความจริงแล้วกลายเป็นความเชื่อที่ไม่มีจริงก็ได้ หรืออาจจะมีรากฐานมาจากเรื่องจอมปลอมคือเรื่องไม่จริง แต่กลายเป็นความเชื่อที่เป็นจริงก็ได้ ศรัทธาคือความเชื่อ ก็คือ ธรรมะ หรือ ความจริง ,หรือ ความจริง (ธรรมะ) ก็คือ ความเชื่อ (ศรัทธา) เพราะเป็นธรรมชาติคือความจริงของมนุษย์
เจ้าถามอะไรข้าพเจ้า ทำไมไม่อ่านตรงที่ข้าพเจ้าตอบไป คิดเอาเอง แถมยังคิดผิดปกติมนุษย์ซะง้้นแหละ อิ อิ อิ

การที่ข้าพเจ้าไม่ตอบตรงๆว่า นั่งสมาธิเอาขาซ้ายทับขาขวา หรือจะเอา ขาขวาทับขาซ้าย มีใครเห็นกันบ้างละเจ้ากรัชกาย ก็มีเพียงแต่ในตำรา มีเพียงแต่คำบอกเล่า มีแต่พระพุทธรูป ซึ่งก็เข้าล๊อคที่ข้าพเจ้ากล่าวไป ที่ตัวโตโตนั้นแหละขอรับ


ป่าวคิดลึกนะขอรับ :b15: แต่คิดไม่ถึงว่า พี่เท จะตอบปัญหาพอฟังได้เช่นนี้ :b1: ความเชื่ออาจไม่จริงก็ได้ จริงก็ได้ แต่ความไม่เชื่อ (อัสสัทธา) จริงแท้

ถ้าแบบนี้น่ะ พี่เท อย่าเพิ่งตายนะขอรับ อยู่สร้างปารมีไปนานๆ :b21:


ฮ่า ฮ่า ฮ่า ข้าพเจ้าจะตอบให้ลึกซึ้งกว่านั้นก็ยังได้ ในเรื่องของศรัทธา(ความเชื่อ) กับ ความจริง (ธรรมะ) อย่างที่เจ้ากล่าวมา จะเอาแบบพิสดารก็ยังได้ ไม่อยากคุย (แต่ความจริงคุย) อยากรู้ไหมละว่าข้าพเจ้าจะอธิบายอย่างไรในเรื่องของศรัทธาคือความเชื่อ
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ข้าพเจ้าอายุยังไม่ถึง ๕ วันดีเลย(รับรองเขียนไปผิด) ยังมีชีวิตอยู่อีกนาน ไม่อยากคุย (แต่ความจริงก็คุยนั่นแหละ) และไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อด้วยนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2012, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
พลังจิตตานุภาพ (พละ+จิตตะ+อานุภาพ) ศัพท์มีความหมายดี ถ้าจะให้ยอดดี เราจะต้องฝึกอบรมจิตให้มีกำลัง แล้วมันจะทรงฤทธานุภาพ ... พูดให้พอเห็นเค้า พลังหรือพละ ก็ได้แก่ พลธรรม 5 คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ นี่แหละ แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า เราจะฝึกจิตให้กำลัง 5 นี้งอกงามขึ้นได้ยังไง ?

พี่เท บอกหน่อยดิ :b1:


ชะช้า..ชะช้า พอรู้ว่าข้าพเจ้าไม่ค่อยรู่เรื่องในพระไตรปิฎกก็เลยยกมาลองภูมิว่างั้นเถอะ เจ้ากรัชกาย เอ๋ย..ข้าพเจ้าเปิดพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก อ่านดูก็รู้แล้วว่า พลังหรือพละ มีอะไรบ้าง จะนำมาให้ได้ศึกษาดังนี้.
ทำอย่างไรจึงจะปฏิบัติให้เกิด พละ คือ กำลัง
พละหมายถึง กำลัง
1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู
อินทรีย์ ๕ ได้แก่ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม
3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
(หมายเหตุ) กำลังแขน หรือกำลังกาย แม้มีความสำคัญ แต่ท่านจัดว่าต่ำสุด หากไม่มีกำลังอื่นควบคุมค้ำจุนก็อาจกลายเป็นกำลังอันธพาล

แล้วท่านทั้งหลายจะฝึกแบบศาสนาไหนกันละ
ถ้าจะฝึกแบบศาสนา ต้นกำเนิด ก็คือ "ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู" ท่านทั้งหลายก็ต้องรู้และศึกษารวมไปถึง พิจารณาในหลักธรรม ๒ หมวดก็คือ หมวด "พรหมวิหารสี่" และหมวด "อิทธิบาท ๔" ในที่นี้ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายในรายละเอียด เอาเพียงรู้ว่า หลักะรรมทั้งสองหมวด ในทางศาสนาพราหมณ์- ฮินดู สามารถสร้าง พละหรือกำลัง ได้ทุกอย่าง

ถ้าจะฝึกแบบศาสนาพุทธ ท่านทั้งหลายก็ต้องเรียนรู้หลายหมวดธรรม อีกทั้งยังต้องเรียนรู้ในพระไตรปิฎก และสามารถทำความเข้าใจในหลักการที่ซ่อนไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งจะเชื่อมโยงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ซึ่งล้วนเป็น โพธิปักขิยธรรม อันหมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก) หมายความว่า ท่านทั้งหลายจะต้องเรียนรู้ทุกเรื่องในธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ จึงจะสามารถเกิด พละ ๕ โดยอัตโนมัติ อันนี้ถ้าจะอธิบายไปคงยาวไปอีก เอาเป็นว่าในทุกหมวด เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน มีอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง เข้าใจอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

ถ้าจะฝึกแบบศาสนาคริสต์ ท่านทั้งหลายก็ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในหลักอันสำคัญ ๓(สาม)ประการ นั่นก็คือ พระบิดา,พระจิต,พระบุตร รวมไปถึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ในหลักบัญญัติ ๑๐ (สิบ)ประการให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ศาสนานี้แม้จะสั้นๆ แต่ความจริงแล้วต้องคิดกว้างพิจารณาอย่างกว้างจึงจะเกิดพละ คือ กำลังทั้งหลายเหล่านั้น

ถ้าจะฝึกแบบศาสนาอิสลาม ท่านทั้งหลายก็ต้องยึดถือและพิจารณาทำความเข้าใจใน ศีลหรือข้อปฏิบัติทั้ง ๕ ข้อ อีกทั้งพิจารณาในข้อห้ามทั้งหลายแห่งศาสนาว่ามีไว้เพื่ออะไร มีไว้ทำไม รวมไปถึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจหลักศรัทธา 6 ข้อในคัมภีร์กุรอาน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ท่านทั้งหลายก็จะเกิด พละคือ กำลังทั้งหลายเหล่านั้น

ถ้าจะฝึกแบบศาสนาซิกส์ ท่านทั้งหลายก็ต้องยึดถือ(ไม่ใช่ยึดถือเพียงอย่างเดียว)ต้อง เรียนรู้และทำความเข้าใจในศีล ๒๑ ข้อ ได้แก่
1. นับถือ ศาสดาทุก องค์ เป็น บิดา และตนเป็นบุตร
2.เมือง ปาฏลีบุตร และกานันทปุระ เป็น ที่ศักดิ์สิทธิ
3.เลิกถือ ชั้น วรรณะ
4.ห้ามทะเลาะ วิวาท ระหว่าง ศิษย์
5.พลีชีพ ในการรบ
6.บูชา สิ่ง ศักดิ์ สิทธิ 3 ประการ คือ
6.1 พระเจ้า เป็น สัจจะ เป็น ศรี เป็น อกาละ
6.2 ศาสโนวาท แห่ง คุรุ ทั่งหลาย
6.3 ความบริสุทธิ
7. มี ก. ทั้ง 5
8.เว้นการพูดเท็จ
9. เว้นโลภโกรธ นับถือ ภรรยาผู้อื่นเสมือนมารดา
10. ไม่เกี่ยวข้องกับ ศัตรู ของ ศาสนา
11. ไม่คบผู้ไม่ส่งเสริมการรบ
12. ห้ามใช้ สีแดง
13. ห้ามใช้ คำว่า สิงห์ ต่อท้าย ตั้งแต่ บัดนี้
14. ห้ามเปลือย ศรีษะ นอกจากตอนอาบน้ำ
15. ไม่เล่นการพนัน
16. ห้ามตัด หรือ โกน หนวด ผม และ เครา
17.ห้ามเกี่ยวข้องกับผู้เบียดเบียน ชาติ และ ศาสนา
18.ให้ ถือ ว่า การ ขี่ม้า มวยปล้ำ ฟันดาบ เป็น กิจกรรม ที่ต้องทำเป็นนิจ
19. ให้ถือ ว่า เกิด มาเพื่อ ทำให้ผู้มี ความทุกข์ได้มาสุข และทำความเจริญ ให้แก่ ชาติ และ ศาสนา
20.เว้นจาก ความหรู หราฟุ่มเฟือย ไร้ สาระ
21. ถือ ว่า การ คบพระเจ้า นับถือแขก เป็น กิจกรรม ที่ควรทำเป็นประจำ
ในศาสนา ซิกส์นี้ หากยึดถือ เรียนรู้ทำความเข้าใจ ก็ย่อมเกิด พละ คือ กำลังทั้งหลายเหล่านั้น ได้ อย่างแน่นอน
ไปพิจารณาเอาเองเถอะขอรับท่านทั้งหลาย
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
ผู้เขียน (21 ก.พ.2555)


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 24 ก.พ. 2012, 20:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron