วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 04:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พรหมวิหารคือจริยะพื้นฐาน ที่จะกำกับเจตนา

พรหมวิหาร (พรหม+วิหาร) แปลกันว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ (หรือ ท่านผู้เป็นใหญ่) ท่านผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 01 ก.พ. 2012, 12:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรากฏว่า ได้เกิดความเข้าใจเพี้ยนขึ้นในภาษาไทย เรามักเข้าใจว่า พรหมวิหาร เช่น เมตตานี้ เป็นธรรมของผู้ใหญ่โดยวัย หรือโดยสถานะในสังคม ถ้าอย่างนั้น เด็กก็ไม่ต้องมีเมตตา เป็นต้น ใช่ไหม เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่จะต้องเมตตาต่อเด็ก หรือต่อผู้น้อย อะไรทำนองนี้

แต่ถ้าไปดูในหลักธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั่วไป แม้แต่ในหลักธรรมที่คฤหัสถ์พึงปฏิบัติ ก็มีวิธีปฏิบัติของคฤหัสถ์ต่อพระภิกษุ เริ่มต้นเลย 1-2-3 คฤหัสถ์พึงปฏิบัติต่อพระภิกษุด้วยกายกรรมมีเมตตา ด้วยวจีกรรมมีเมตตา ด้วยมโนกรรมมีเมตตา คือ ให้ญาติโยมมีเมตตาต่อพระ อ้าว... ถ้าเมตตาเป็นธรรมของผู้ใหญ่ ก็น่าจะให้พระเมตตาโยม นี่ทำไมให้โยมเมตตาพระละ

ตามคำอธิบายในคัมภีร์บาลี พระผู้น้อยก็ตาม ญาติโยมก็ตาม ตักน้ำล้างเท้า และพัดวีถวายแก่พระเถระ เรียกว่า เรียกว่าเป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต หรืออย่างหมอชีวกผ่าฝีถวายการบำบัดแด่พระพุทธเจ้า ก็เป็นการกระทำด้วยเมตตาจิต นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ว่าเราเข้าใจ และเอาธรรมะมาใช้คลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามความหมายที่ท่านว่าไว้ เพราะปัญหาทางภาษา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใหญ่ หรือท่านผู้เป็นใหญ่นี้ คือ พรหม ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่ด้วยความดีงาม หรือมีคุณธรรมยิ่งใหญ่ หรือไม่ก็แปลว่าประเสริฐ ท่านสอนทุกคนให้ทำตัวเป็นพรหม

ควรรู้ภูมิหลังว่า ในศาสนาพราหมณ์เดิมถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และสร้างสังคมมนุษย์ แล้วก็ทำให้โลกสังคมมนุษย์นี้ดำรงอยู่ได้
แต่พระพุทธศาสนาปฏิเสธลัทธินั้น ท่านไม่สอนให้นับถือเรื่องพระพรหมสร้างโลก แต่บอกว่ามนุษย์ทุกคนนี่แหละ มีหน้าที่สร้างโลก ช่วยกันผดุงโลก อภิบาลโลก

ถ้ามนุษย์ประพฤติปฏิบัติดี คือมีธรรมชุดนี้ ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา แล้ว เราก็เป็นพรหมกันทุกคน แล้วเราก็เป็นผู้สร้างสรรค์โลก บำรุงรักษาอภิบาลโลกให้อยู่ดีได้ โดยไม่ต้องไปรอพระพรหม

แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเรามัวรอพระพรหมอยู่ และทำอะไรๆโดยไม่รับผิดชอบ เราก็ทำลายโลก และทำลายสังคมนี้ แล้วก็ได้แต่รอพระพรหมมาสร้างโลกให้ใหม่ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ไหว โลกแย่แน่

พระพุทธเจ้าไม่ให้เรามัวรอพระพรหม แต่ในมนุษย์ทุกคนเป็นพรหมเอง ด้วยการมีพรหมวิหาร เพราะฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องมีพรหมวิหาร คือ มีธรรมที่จะทำให้มีจิตใจของพระพรหม หรือมีใจกว้างขวาง มีคุณความดียิ่งใหญ่ดุจพระพรหมนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาละ ตกลงว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ต้องมีในทุกคนนั่นแหละ
โดยเฉพาะแน่นอนว่า ผู้ที่เป็นใหญ่หรือเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรมทุกข้อเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ต้องมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวอย่างด้วย เท่ากับเป็นผู้นำหรือมีหน้าที่เป็นพิเศษในการที่จะสร้างสรรค์บำรุงรักษาอภิบาลสังคมนี้ไว้ เพราะฉะนั้นจึงควรเอาใจใส่มากในการมีธรรมชุดนี้

เอาละ ตกลงว่า เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็ต้องมีในทุกคนนั่นแหละ โดยเฉพาะแน่นอนว่า ผู้ที่เป็นใหญ่หรือเป็นผู้ใหญ่ ก็เป็นธรรมดาว่าจะต้องต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติธรรมทุกข้อเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ต้องมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นตัวอย่างด้วย เท่ากับเป็นผู้นำหรือมีหน้าที่เป็นพิเศษในการที่จะสร้างสรรค์บำรุงรักษาอภิบาลสังคมนี้ไว้ เพราะฉะนั้นจึงควรเอาใจใส่มากในการมีธรรมชุดนี้

แต่โดยหลักการที่แท้แล้ว ทุกคนนั่นแหละต้องมีเมตตาต่อกัน เด็กก็ต้องมีเมตตาต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็ต้องมีเมตตาต่อเด็ก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริงเมตตา ก็หมายถึงความเป็นมิตร หรือน้ำใจมิตร เท่านั้นเอง เมตตากับมิตตะ นี่มีรากศัพท์เดียวกัน อย่างที่ว่าแล้ว เมตตาก็คือ ธรรมของมิตร หรือน้ำใจของมิตร คือใจรัก หรือน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข และแน่นอนว่า ความเป็นมิตรนี้ทุกคนควรมีต่อกัน ทั้งคุณพ่อคุณแม่ต่อลูกๆ ทั้งลูกต่อคุณพ่อคุณแม่และพี่น้อง แล้วก็ต่อเพื่อนักเรียน ต่อเพื่อนบ้าน ต่อเพื่อนร่วมชาติ ต่อเพื่อนร่วมโลก มีเมตตาต่อกันไปจนทั่ว

เมตตาของคุณพ่อคุณแม่นั้นมีเป็นตัวอย่างให้แก่ลูก และลูกก็มีเมตตาตอบแทนด้วยความรักต่อพ่อแม่ แล้วก็เมตตาต่อผู้อื่น แผ่ขยายออกไป และไม่เฉพาะเมตตาเท่านั้น ก็ต้องมีให้ครบหมดทั้ง 4 อย่าง ต่อด้วยกรุณา และเมตตา ลงท้ายด้วยอุเบกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มองพรหมวิหาร คือ คำนึงทุกสถานการณ์ มุ่งประสานทั้งสังคม ทั่วทั้งโลก เข้าสู่ดุล V


แน่นอนว่า ถ้าทุกคน โดยเฉพาะผู้ทำหน้าที่ในการผดุงสังคม มีความชัดเจนในหลักพรหมวิหาร แล้วปฏิบัติให้ตรงตามความหมาย จะธำรงรักษาสังคมไว้ได้อย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงสอนนักหนา ให้เจริญพรหมวิหาร มีเมตตา เป็นต้น กันทุกคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะปฏิบัตินั้น (ปฏิบัติ มีความหมายตามศัพท์เดิมว่า เดิน ในที่นี้ ปฏิบัติก็เริ่มที่เดินจิตให้ถูก)


ย้ำว่า ต้องชัดในความหมาย และความชัดนั้นจะเห็นได้จากความสามารถที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างของธรรมแต่ละข้อนั้นๆด้วย แต่เวลานี้สังคมไทย มีความไม่ชัดเจน และสับสนปนเปมากในเรื่องพรหมวิหาร ตั้งแต่เมตตา กรุณาไปเลย


นอกจากเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนเพี้ยนไปแล้ว ความผิดพลาดสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่คนไทยได้กระทำต่อหลักพรหมวิหาร คือ เอาสี่ข้อที่ท่านจัดเป็นชุดไว้ให้ ไปแยกใช้กระจัดกระจายกันหมด จนกระทั่งไปๆมาๆ บางข้อก็อ้างบ่อยนักหนาเหมือนพูดเล่นๆ แต่บางข้อไม่เอามาบอกมาเตือนกัน เหมือนไม่เห็นความสำคัญเสียเลย

ที่ถูกนั้น ต้องจับให้อยู่รวมกันเป็นชุด เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ครบทั้งชุดเป็นธรรมดา ครบทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ถ้าพูดตามภาษานิยมของคนยุคนี้ ก็คือ เป็นองค์รวม หรือเป็นระบบองค์รวม แต่ที่จริงก็คือเป็นเรื่องของความสมดุลและพอดี

ชุดองค์รวมสี่นี้ คนไทยไม่ใช้แต่ละข้ออย่างเป็นองค์ร่วม แต่เอาไปแยกส่วนกระจายกันไปเสีย เน้นกันนักที่ข้อเมตตา และกรุณา แต่มุทิตาไปไม่ค่อยถึงสักที ยิ่งอุเบกขาแล้วแทบไม่รู้เรื่องเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่านี้ ไม่ใช่แยกไม่ได้เลย ก็แยกได้ คือว่าไปตามสถานการณ์ที่ต้องใช้ข้อนั้นๆ อย่างเมตตานั้นเป็นพื้นยามปกติ ก็ย่อมใช้เสมอ พูดบ่อยได้ แต่ข้อสำคัญต้องมีความตระหนักรู้อยู่ มองไปให้ตลอดทั้งชุดให้ถึงอุเบกขา


โดยเฉพาะอุเบกขานั้น เป็นข้อที่โยงกับปัญญา จึงเป็นข้อที่ต้องเอาใจใส่ศึกษาให้จะแจ้ง แต่คนไทยไม่ใส่ใจ และไม่พยายามศึกษาให้เข้าใจ เลยกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แล้วก็เข้าใจผิด จึงต้องมาซักซ้อมทบทวนกันให้ชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่ากันให้ถึงหลักแท้ๆ คนที่มีพรหมวิหาร 4 นั้น ผดุงรักษาอภิบาลโลก โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ไว้ได้ เพราะปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมโลกได้ทั่วถึง ครบถ้วน ทัน และถูกต้องตรงตามสถานการณ์ คือ


1. (ในสถานการณ์ที่เขาอยู่เป็นปกติ) เมตตา มีความเป็นมิตร คือ มีใจรัก ปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เห็นใครเจอใคร ก็มองอย่างเป็นมิตร เมื่อเขาอยู่เป็นปกติ ก็มีน้ำใจปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข เป็นน้ำใจพื้นฐานที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มนุษย์ต้องมีความเป็นมิตรกัน นี่คือเมตตา ซึ่งเป็นธรรมข้อพื้นฐานที่สุด


จากนั้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไป ตามเรื่องของความเป็นจริงในสังคมของมนุษย์ คือ เมื่อเราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมนุษย์ผู้อื่นนั้น เขาก็อยู่ในสถานการณ์ต่างๆกัน และแม้สำหรับแต่ละคน สถานการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะเป็นดาที่ว่าชีวิตและสังคมตลอดจนทั้งโลกที่แวดล้อม ย่อมเปลี่ยนแปลงไป เป็นอนิจจัง เป็นไปตามกฎธรรมชาติ มีสุข แล้วก็มีทุกข์ มีขึ้น แล้วก็มีลง มีขึ้นสูง แล้วก็มีตกต่ำ แล้วแต่เหตุปัจจัย ทำให้ชีวิตอยู่ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เมื่อกี้นี้บอกว่าสถานการณ์ปกติ เรามีเมตตา ทีนี้ต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. (ในสถานการณ์ที่เขาทรุดลงเดือดร้อน) กรุณา ใฝ่ใจจะแก้ไข ขจัดทุกข์ของเขา คือ เมื่อผู้อื่นประสบเหตุร้าย เกิดปัญหา เกิดความเดือดร้อนขึ้นมา ก็เข้าสู่สถานการณ์ที่สอง เรียกว่า ตกต่ำลงไป เขาก็เดือดร้อนเป็นทุกข์ ก็มาถึงวาระของพรหมวิหารข้อที่ 2 คือ กรุณา ได้แก่ความปรารถนาที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์

ถ้าแปลตามศัพท์ก็ว่า กรุณา คือความพลอยดีใจหวั่นไหว เมื่อเห็นผู้อื่นประสบความทุกข์ หรือแผ่ขยายใจตามไปคำนึงถึงความทุกข์ของเขา เพื่อหาทางไปช่วยเหลือ เป็นเหตุให้ขวนขวาย เอาใจใส่ จนกระทั่งลงมือปฏิบัติเพื่อช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์นั้นขึ้นมา

เมตตา กับ กรุณา ต่างกันอย่างชัดเจนที่สุด แต่คนไทยมักแยกไม่ออกเลย จึงบอกว่าเป็นปัญหามาก เพราะไม่รู้ไม่ชัดในหลักแม้แต่ที่ง่ายๆแค่นี้ เป็นอันว่า ถ้าเกิดสถานการณ์ที่คนอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์ขึ้นมา เราก็ต้องย้ายจากเมตตาไปกรุณา กรุณาก็คือการที่ใจเรานี้ไวต่อการที่จะรับรู้ความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ พอเห็นเขาเดือดร้อนมีทุกข์ ก็พลอยมีใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา

ถ้าเป็นคนธรรมดา ก็คือ พอเห็นคนอื่นทุกข์ ก็พลอยไม่สบายใจด้วย แต่ท่านว่ายังไม่ถูกแท้ ที่ถูกคือ ใจหวั่นไหวไปตามความทุกข์ของเขา หรือไวต่อการรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น ด้วยความปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ แต่ตัวเองไม่ต้องเป็นทุกข์ ไม่มัวไปเศร้า ไม่ปล่อยใจให้ระทมทุกข์ด้วย
เป็นอันว่า ต้องแยกกัน ให้ได้หลักการก่อนว่า สอง เมื่อเขาตกต่ำเดือดร้อน ก็มีกรุณา ปรารถนาจะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. (ในสถานการณ์ที่เขาดีขึ้น) มุทิตา พลอยยินดีที่เขางอกงามมีความสุขความสำเร็จ คือ เขาทำความดีงาม มีความสุข มีความเจริญ ก้าวหน้า หรือทำการสำเร็จ เช่น เด็กสอบไล่ได้ คนเข้างานได้ ได้เลื่อนขั้น หรือละเลิกการร้าย หันย้ายเข้าสู่ทางแห่งความดี เช่น เลิกยาเสพติด หันมาตั้งใจเรียน ก็เรียกว่าขึ้นสูง หรือดีขึ้น เราก็ใช้พรหมวิหารข้อ ที่ 3 คือ มุทิตา มีใจพลอยินดีด้วย อยากจะช่วยส่งเสริมสนับสนุน เพื่อให้เขามีความสุข ทำความดีงามสำเร็จ หรือทำประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2012, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครบแล้วนะ หมดแล้ว สถานการณ์ในชีวิตมนุษย์ก็มี 3 นี่แหละ หนึ่ง เขาอยู่เป็นปกติ เรามีเมตตา สอง เขาตกต่ำเดือดร้อน เรามีความกรุณา สาม เขาขึ้นสูง งอกงามสำเร็จดีขึ้นไป เรามีมุทิตา

ทีนี้ ยังมีอีกข้อ คือ ข้อ 4 ที่รอจะเอาเข้ามาคุม

ข้อนี้แหละสำคัญยิ่งนัก เป็นหลักใหญ่ในการรักษาสังคมมนุษย์

ถ้าตัวนี้ไม่มา ถึงจะมี 3 ตัวแรก ก็รักษาไม่ไหว ไม่พอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา เป็นตัวสุดท้ายของธรรมชุดนี้ ซึ่งพวกเราชาวพุทธพูดถึงอ้างถึงกันบ่อย ลองดูตรงกับที่เราคิดไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรม ผู้...เอาอุเบกขามาดำรงรักษาธรรม


ก็ครบทุกสถานการณ์แล้ว ยามปกติก็มีเมตตา ยามเดือดร้อนก็กรุณาช่วยเขาไป ยามดีมีสุขก็มุทิตาส่งเสริมสนับสนุน มันก็น่าจะครบแล้ว เรานึกว่าพอ แต่ท่านบอกว่าไม่ครบ ต้องมีตัวที่ 4 คุมท้าย เป็นตัวสำคัญที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2012, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายว่า พรหมวิหาร 3 ข้อแรกนั้น ยังหนักทางด้านความรู้สึก แม้จะเป็นความรู้สึกทีดีอย่างยิ่ง แต่ยังไม่เป็นหลักประกันว่ามีปัญญาหรือไม่ และในที่สุด ความรู้สึกนั้นๆ ถูกต้องดีจริงหรือไม่ จะต้องรู้โดยมีปัญญาที่จะบอกให้ตัดสินได้


เขาอยู่เป็นปกติ เราก็รู้สึกเป็นมิตรมีเมตตาปรารถนาดี นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี เขาตกต่ำเดือดร้อน เราก็รู้สึกสงสารอยากช่วยเหลือ นี่ก็เป็นความรู้สึกทีดี แล้วเขาได้ดีมีสุข เราก็มุทิตาพลอยรู้สึกยินดีด้วย ก็เป็นความรู้สึกทีดีทั้งนั้น


เจ้าหมอนั่นไปทำอะไรมา อ๋อ....นี่ไปลักขโมยเงินของเขามา จึงถูกจับและกำลังเดือดร้อนมีทุกข์ เราจะกรุณาสงสารช่วยปล่อยไป หรือว่าเขาทำการสำเร็จขโมยเงินได้มาก้อนใหญ่ เราจะมุทิตาพลอยยินดี สนับสนุนได้ไหม นี่ถ้าว่าตามหลักสาข้อแรก ก็ถูกใช่ไหม ตอนนี้แหละคือ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ได้แค่สงสารไปช่วยออกมา หรือดีใจตามไปสนับสนุน อย่างนี้ยังไม่พอที่จะให้สังคมอยู่ได้


จึงต้องมีปัญญารู้ลึกลงไปอีกว่า ที่เขาทำมาได้มาอย่างนี้ ความจริงของเรื่องเป็นอย่างไร เป็นความถูกต้องหรือไม่ จะเกิดผลเสียอย่างไรหรือไม่แก่สังคม หรือ แม้แต่ชีวิตของเขาเอง การได้เงินมาในทางไม่ดีนี้ ก็อาจจะก่อผลเสีย เป็นเครื่องบั่นทอนชีวิตของเขาเอง กลายเป็นนิสัยเสีย ไม่ตั้งใจทำมาหากิน ตกอยู่ในความประมาท สังคมก็เสีย ชีวิตก็เสีย เพราะฉะนั้น เราจะอยู่แค่กับความรู้สึกไม่ได้ จะต้องมีความรู้เข้าใจความจริง คือมีปัญญากำกับด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 45 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร