วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


จริง ๆ เราไม่รู้เรื่อง ปัจจเวกขณญาณ เพราะไม่เคยอ่าน
และไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเคยได้ชิมด้วย :b32: :b9:
ที่แสดงความเห็น ก็คือ คาดเดาจากความไม่รู้นี่ล่ะ
แบบว่า หน้ามึนอ่อน ๆ น่ะ

เพิ่งมาได้อ่านนี่ล่ะ :b12:

เราคิดว่า/เข้าใจว่า
อย่างน้อย คนที่ถึงญาณนี้ ต้องรู้ตัว และตรวจสอบสิ่งที่รู้ได้ ไม่มีบิดพริ้วไปจากนั้น
ปฏิเสธไม่ได้ บิดเบือนไม่ได้ ด้วยสภาวะ

คือ ปัจจเวกขณญาณ น่าจะต้องเห็นลำดับแห่ง โสภณเจตสิก ล้วน
เพื่อเป็นบทส่งไปสู่การเหวี่ยงเข้าวิถี
ถ้า เพี้ยนจากนั้น มรรคจิตไม่เกิด ผลจิตไม่เกิด นิพพานจิตจะไม่เป็นไปตามสภาวะ

:b14: :b14:

ซึ่งถ้ามันไม่เป็นไปตามลำดับ แห่งโสภณเจตสิก มันก็น่าจะเป็น ตามที่หลับอยู่หมายถึง ใช่ป๊ะ
หลับอยุ่ เขียน:
เอาจิตไปรับเฝ้าตามความรู้สึก จนจิตมันเหนื่อย แค่นี้ก็คิดว่าตัวได้ญานแล้วหรือ? ไม่ได้เฉียดสมถะสักกะแอะ


s006 s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณญาณ (พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๑ )
ปัจจเวกขณญาณ
(พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓๑ )


ปัญญาในการเห็นธรรมที่มาร่วมกันในขณะนั้น ชื่อว่า ปัจจเวกขณญาณ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ในขณะแห่งสกิทาคามิมรรค ในขณะแห่ง อนาคามิมรรค และในขณะ แห่งอรหัตตมรรค
ญาณชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหว มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะดำรงไว้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสัจจะ เพราะมีสภาวะเป็นของแท้ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะเป็นรสอย่างเดียวกัน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกัน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะสละ มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด มาร่วมกันในขณะนั้น
ญาณชื่อว่าอนุปปาทญาณ (ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะมีสภาวะสงบระงับมาร่วมกันในขณะนั้น

http://tammatayat.blogspot.com/2011/12/ ... _9968.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจิตหยุดได้จริง(กายสังงขารวจีสังขารจิตสังขารสงบระงับ)ที่รู้เห้นไม่ได้เรียกว่านิมิตเป้นการรู้เห้นธรรมตามเป็นจริงแท้ ในแต่ละขั้นๆๆ...และพระพุทธองค์สอนให้กำหนดนิมิตจนถึงขั้นสูงๆเลยทีเดียว
เพ่งอากาศว่างๆก้อากาศนั่นแหละเป็นนิมิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะมีก่อนญานมีหลัง......สมถะมี40กองเลือกเอา
จะโส ภ ณะ เจตสิกใดๆๆจิตใดจิตนึงก็เลือกเอาแล้วกัน เอาให้เป็นเอกัคคตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๕๓] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ เป็นกิเลสอันสกทาคามิมรรคตัดขาด
ดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส เป็น
อันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถ
ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ
อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ


[๑๕๔] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ เป็นกิเลสอันอนาคามิมรรคตัดขาด
ดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๔ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส
เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลส
นั้นๆ อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ


[๑๕๕] อุปกิเลสแห่งจิตของตน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ
อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยเป็นกิเลสอันอรหัตมรรค
ตัดขาดดีแล้ว จิตที่หลุดพ้นจากอุปกิเลส ๘ ประการนี้ พร้อมด้วยปริยุฏฐานกิเลส
เป็นอันพ้นแล้วด้วยดี ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้วิมุตตินั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่าผู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นอุปกิเลสนั้นๆ
อันอริยมรรคนั้นๆ ตัดเสียแล้ว เป็นวิมุติญาณ ฯ


[๑๕๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น
เป็นปัจจเวกขณญาณอย่างไร ฯ

ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่า
กำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่า
สัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าปีติ-
*สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
สงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบกขา-
*สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะ
ความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้
ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ชื่อว่า
สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์เพราะอรรถ
ว่าหลุดพ้น ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าปล่อย
ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่า
มนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน
ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะ
อรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร
ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ

[๑๕๗] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ
ว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ
(ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล
ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็น
แก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้)
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ

[๑๕๘] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล
ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ ในขณะ
แห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ
เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกัน
ในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ

[๑๕๙] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็น
มูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่า
นี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่มาประชุมกันใน
ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ฯ


:b48: :b49: :b49: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 02 ม.ค. 2012, 11:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 11:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
สมถะมีก่อนญานมีหลัง......สมถะมี40กองเลือกเอา
จะโส ภ ณะ เจตสิกใดๆๆจิตใดจิตนึงก็เลือกเอาแล้วกัน เอาให้เป็นเอกัคคตา


:b13: :b13: :b13:

เป็นอย่างที่คาดไว้จริง ๆ

smiley

จะโส ภ ณะ เจตสิกใดๆๆจิตใดจิตนึงก็เลือกเอาแล้วกัน เอาให้เป็นเอกัคคตา
ให้เป็นพละ ใช่มั๊ย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนักกายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.
http://www.buddhadasa.org/html/life-wor ... /2-12.htmlเทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 15:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ทุกท่าน
ผู้เข้าถึงกระแสแล้ว ย่อมทราบชัดในเวลาต่อมา และตรงตามพุทธดำรัสว่า เป็นปัจจัตตัง จะมีผู้รับรองหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นเพราะสภาวะจิตที่เปลี่ยนไปแล้วไม่กลับมาอีก(นิวรณ์ธรรมอย่างหบาบ) ใครจะพูดว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็ไม่ได้ทำให้สภาวะจิตที่เบาจากกิเลสนั้นเปลี่ยนไป สภาวะนั้นยังดำรงอยู่ ตั้งแต่วันที่พบสภาวะดับหมดความรู้สึกจนกระทั่งถึงวันนี้ ที่สำคัญมากกว่าคือ ปฎิบัติเช่นไรจึงเกิดธรรมนั้นต่างหาก :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ละครน้ำเน่า เขียน:
อย่าเอาความคิดไปวิจารณ์ญาณเลยครับ :b14:


:b32:

:b1: :b1: :b1:

:b12: :b13: :b13:

ก็ไม่ได้กะจะวิจารณ์หรอก โถ่.... :b6:
เราก็แค่ หยอดมุข เพื่อให้ผู้รู้ปรากฎตัว หง่ะ
โธ่...
คุณเล่นมา แสดงความเห็นดักทางอย่างนี้
แล้วจะมีใครกล้าเข้ามาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้มั๊ยเนี๊ยะ

จะได้รู้ว่า นักเขียนประมาณนี้ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม :b32: :b32:


eragon_joe เขียน:
จริง ๆ เราไม่รู้เรื่อง ปัจจเวกขณญาณ เพราะไม่เคยอ่าน
และไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเคยได้ชิมด้วย :b32: :b9:
ที่แสดงความเห็น ก็คือ คาดเดาจากความไม่รู้นี่ล่ะ
แบบว่า หน้ามึนอ่อน ๆ น่ะ


รู้แล้วรึ ! ว่าใครมั่วนิ่ม เพ้อเจ้อ :b4:
ระวังเหอะ ! ที่ที่ไปจะเป็นที่ที่มั่วนิ่ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 16:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
ขอความเจริญในธรรมมีแก่ทุกท่าน
ผู้เข้าถึงกระแสแล้ว ย่อมทราบชัดในเวลาต่อมา และตรงตามพุทธดำรัสว่า เป็นปัจจัตตัง จะมีผู้รับรองหรือไม่ ก็ไม่จำเป็นเพราะสภาวะจิตที่เปลี่ยนไปแล้วไม่กลับมาอีก(นิวรณ์ธรรมอย่างหบาบ) ใครจะพูดว่าใช่หรือไม่ใช่ ก็ไม่ได้ทำให้สภาวะจิตที่เบาจากกิเลสนั้นเปลี่ยนไป สภาวะนั้นยังดำรงอยู่ ตั้งแต่วันที่พบสภาวะดับหมดความรู้สึกจนกระทั่งถึงวันนี้ ที่สำคัญมากกว่าคือ ปฎิบัติเช่นไรจึงเกิดธรรมนั้นต่างหาก :b8:


:b41: :b48: :b48: :b41:

:b1:

...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 16:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
รู้แล้วรึ ! ว่าใครมั่วนิ่ม เพ้อเจ้อ :b4:
ระวังเหอะ ! ที่ที่ไปจะเป็นที่ที่มั่วนิ่ม


:b18: :b18: :b18:

อ้าว...เป็นงั๊นก็ซวยล่ะสิ่

:b13: :b13: :b13:

huh

ว๊าาาา ไปทำสติดีกั่วะ
เดี๋ยวอาจารย์ผ่านมาเห็น
เป็นได้โดนหนังกะติ๊กเหนี่ยวแน่เลยยย

:b29: :b29: :b29:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ทุกท่าน
ความเห็นนี้อยู่นอกคำรา กล่าวถึงการบรรลุธรรม มี 3 แนวทาง ๆทั้ง 3 ล้วน รู้กายรู้ใจ
1.บรรลุด้วยแรงเฉื่อย การตามรู้กายและใจเป็นขณะๆ เป็นธรรมชาติ ต้องใช้ระยะเวลามาก เพื่อละแรงของตัณหา การปฎิบ้ติสมาถะได้สมาธิแล้ว มารู้กายใจจนกระทั่งสมาธิพละและ ปัญญาพละสมดุลจนกรทั่งเกิดการระเบิด(แนวพระป่า) ก็จัดเป็นการบรรลุด้วยแรงเฉื่อย
2.บรรลุด้วยแรงเร่ง เป็นการตามรู้กายและใจเป็นขณะๆเป็นธรรมชาติ แต่ต่อมาเร่งสติให้เร็วขึ้น จนเกิดการสั่นสะเทือนในร่างกายวืธีนี้จะเกิดการทะลักของอารมณ์ ความไม่ปกติขอองร่างกาย เมื่อถึงที่สุดให้ปล่อยวางจิตแยกออกจากขันธ์ 5
3. บรรลุด้วยแรงหมุน เป็นการปล่อยวางการยึดอายตนะภายนอก ได้แก่ ตา หู เป็นต้น กับความรู้สึกภายใน จากการเห็นและได้ยิน เกิดการหมุนขึ้น และรู้ในการหมุนนั้น จนหมุนรับไม่ไหว ปล่อยวางลงจิตหลุดจากขันธ์ 5 :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ม.ค. 2012, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๓๒ - ๔๕๓. หน้าที่ ๑๙ - ๒๐.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
[color=#0000BF][ย่อมทรงไว้ซึ่งร่างกายมีในที่สุด
/color]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร