วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2011, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจเวกขณญาณ

ปฏิ ( เฉพาะ ) + วิ ( แจ้ง ) + อิกฺขณ ( เห็น ) + ญาณ ( ความรู้ )

ญาณคือความรู้ที่เห็นแจ้งเฉพาะ , ปัญญาที่พิจารณา หมายถึง วิปัสสนาญาณ

ที่ ๑๖ เป็นวิปัสสนาญาณสุดท้ายซึ่งเป็นโลกียะ เกิดขึ้นหลังจากมรรคจิตผลจิตใน

มัคควิถีดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น แล้วปัจจเวกขณญาณ ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดกับ

มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ หรือมหากิริยาจิตญาณสัมปยุตต์ทำกิจชวนะทางมโนทวาร

เกิดขึ้นพิจารณามรรคจิตหนึ่งวาระ ผลจิตหนึ่งวาระ นิพพานหนึ่งวาระ กิเลสที่ละแล้ว

หนึ่งวาระ กิเลสที่เหลืออยู่หนึ่งวาระ พระอริยบุคคลเบื้องต้น ๓ จะมีปัจจเวกขณญาณ

ท่านละ ๕ วาระส่วนพระอรหันต์จะมีปัจจเวกขณญาณเพียง ๔ วาระ เพราะไม่มีกิเลส

ที่เหลืออยู่ให้พิจารณา รวมพระอริยบุคคล ๔ มีปัจจเวกขณญาณทั้งหมด ๑๙ วาระ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

คำว่า สุญญตา นี้เป็นชื่อของโลกุตรมรรค จริงอยู่ โลกุตรมรรคนั้น

ย่อมได้ชื่อเพราะเหตุ ๓ อย่าง คือ เพราะการบรรลุ ๑ เพราะคุณของตน ๑

เพราะอารมณ์ ๑.

ถามว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยอยู่โดยความเป็นอนัตตา

ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นอนัตตา แต่ธรรมดาว่า การออกจากสังขตธรรม

ด้วยมรรค (มรรควุฏฐานะ) ย่อมไม่มีโดยเพียงเห็นโดยความเป็นอนัตตาเท่านั้น

การเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง จึงสมควร

เพราะฉะนั้น เธอจึงยกขึ้นสู่อนุปัสสนา ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง และ

อนัตตา แล้วพิจารณาอยู่ท่องเที่ยวไป ก็วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุ

นั้น ย่อมเห็นสังขารทั้งหลายแม้อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยความเป็นของสูญ

(ว่างเปล่า) ทีเดียว วิปัสสนานี้ชื่อว่า สุญญตา วิปัสสนานั้นดำรงอยู่ในฐานะ

ที่ควรบรรลุ จึงให้ชื่อมรรคของตนว่า สุญญตะ มรรคย่อมได้ชื่อว่า สุญญตะ

เพราะการบรรลุด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะมรรคนั้นสูญจากราคะเป็นต้น

ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุญญตะ ด้วยคุณของตน. แม้พระนิพพาน ท่านก็เรียก

ชื่อว่า สุญญตะ เพราะเป็นสภาวะสูญจากราคะเป็นต้น. มรรคย่อมได้ชื่อ

สุญญตะ โดยอารมณ์เพราะความที่มรรคนั้นทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์

เกิดขึ้น.



เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ถวายเทียน ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ธ.ค. 2011, 22:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ปัจจเวกขณญาณ

ปฏิ ( เฉพาะ ) + วิ ( แจ้ง ) + อิกฺขณ ( เห็น ) + ญาณ ( ความรู้ )

ญาณคือความรู้ที่เห็นแจ้งเฉพาะ , ปัญญาที่พิจารณา หมายถึง วิปัสสนาญาณ

ที่ ๑๖ เป็นวิปัสสนาญาณสุดท้ายซึ่งเป็นโลกียะ เกิดขึ้นหลังจากมรรคจิตผลจิตใน

มัคควิถีดับไปแล้ว
ภวังคจิตเกิดคั่น แล้วปัจจเวกขณญาณ ซึ่งเป็นปัญญาที่เกิดกับ

มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ หรือมหากิริยาจิตญาณสัมปยุตต์ทำกิจชวนะทางมโนทวาร


เกิดขึ้นพิจารณามรรคจิตหนึ่งวาระ ผลจิตหนึ่งวาระ นิพพานหนึ่งวาระ


ถ้ายังเห็นทาง(มรรค)อยู่ ตรงนั้นยังไม่ใช่

ที่ ๆ ไม่มีทาง(มรรค)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมมีแก่ทุกท่าน
ปัจจขเวกญาณ โดยสภาวะเป็นความรู้สึกตัวที่มีขึ้น หลังจากหมดความรู้สึกไปชั่วขณะ(เวลาสั้นมาก) เป็นความรู้สึกประหลาดใจว่าเมื่อกี้เราเป็นอะไร เรากำลังรู้สภาวะความรู้สึกที่ละเอียดของจิตอยู่ อยู่ๆก็หมดความรู้สึกไปต่อหนัาต่อตา และนี่ทำไมจิตถึงอิสระจากแรงหน่วงเหนี่ยว ที่ก่อนหน้าที่จะหมดความรู้สึกยังต้องเพียรรู้ตามความเป็นจริงของรูปนาม ความหน่วง สั่นไหว คลุมเครือ ภายหลังหมดความรู้สึกสิ่งหล่านึ้ก็ดับตามไปด้วย จึงทำการทบทวนถึงเหตุการก่อนหน้านั้น โอ เป็นเช่นนี้หนอ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
เป็นความรู้สึกประหลาดใจว่าเมื่อกี้เราเป็นอะไร


อืมมม เอกอนว่า น่าจะเป็นไปในทำนอง
จะว่าประหลาดใจก็ไม่เชิง
จะว่าไม่ประหลาดใจก็ไม่เชิง

ผู้ที่เจอสภาวะนี้ ในแว๊บนั้นเราคิดว่า
น่าจะเป็นความรู้สึก ตื่นใจ ใจตื่น กับสิ่งที่พบ
และเขาคิดถึงพระพุทธองค์ เพื่อจะถามถึงสิ่งนั้น
เพื่อให้พระพุทธองค์จะรับรอง ฟันธง

:b1:

เราคิดว่างั๊นนะ

เขาจะคิดว่าเขาได้คุณธรรมระดับไหน ก็ไม่สำคัญ
ใครจะว่าเขาได้ หรือไม่ได้คุณธรรมระดับไหน ก็ไม่สำคัญ
เพราะ สิ่งที่เขารู้ เขารู้อยู่แก่ใจ
เขาต้องการคำรับรองจากพระพุทธองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น
และมีแต่พระพุทธองค์เท่านั้นที่จะทำเช่นนั้นได้
เขาจึงอาจจะวางความรู้นั้นได้

บางครั้ง ชีวิตสาวก ก็เลยอาจจะต้องเวียนว่ายไป
เพื่อได้พบกับ พระพุทธองค์ ที่จะรับรองธรรม

:b9: :b9: อันนี้ นิทาน เรื่อยเปื่อย
คาด ๆ คิด ๆ เดา ๆ จากการอ่านพ๊อคเก็ตบุคต่าง ๆ มามากน่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss
อื่ม....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:04
โพสต์: 133


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเอาความคิดไปวิจารณ์ญาณเลยครับ :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 18:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
อย่าเอาความคิดไปวิจารณ์ญาณเลยครับ :b14:


:b32:

:b1: :b1: :b1:

:b12: :b13: :b13:

ก็ไม่ได้กะจะวิจารณ์หรอก โถ่.... :b6:
เราก็แค่ หยอดมุข เพื่อให้ผู้รู้ปรากฎตัว หง่ะ
โธ่...
คุณเล่นมา แสดงความเห็นดักทางอย่างนี้
แล้วจะมีใครกล้าเข้ามาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้มั๊ยเนี๊ยะ

จะได้รู้ว่า นักเขียนประมาณนี้ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 21:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ละครน้ำเน่า เขียน:
อย่าเอาความคิดไปวิจารณ์ญาณเลยครับ :b14:


ว่าแต่ ทำไมท่านถึงคิดว่า "อย่าเอาความคิดไปวิจารณ์ญาณเลยครับ" ล่ะ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาจิตไปรับเฝ้าตามความรู้สึก จนจิตมันเหนื่อย แค่นี้ก็คิดว่าตัวได้ญานแล้วหรือ? :b6:ไม่ได้เฉียดสมถะสักกะแอะ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 09:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เอาจิตไปรับเฝ้าตามความรู้สึก จนจิตมันเหนื่อย แค่นี้ก็คิดว่าตัวได้ญานแล้วหรือ? :b6:ไม่ได้เฉียดสมถะสักกะแอะ :b4:


s004

โหย... สั้นไปป่าวววว

เอาจิตไปเฝ้าตามความรู้สึก
ยังไงเรียกว่าเฝ้าตามความรู้สึก ยังไงไม่เฝ้า(ญาณ)

ยังไงจิตเหนื่อย

ถ้ามันเป็นเช่นนั้น ไม่เป็นญาณ ช่วยอธิบายให้มันเห็นภาพชัด ๆ ที่เถอะ

:b22: :b22: :b22:

พูดลอย ๆ แค่นี้ เราจะรู้ตัวมั๊ยเนี๊ยะ

:b4:

ที่ยังเข้าใจผิดอยู่อ่านจะได้รู้ เห็นเข้าใจ และเอาไปปรับปรุงแก้ไข
โธ่...คนปฏิบัติธรรม เวลาที่มันหลงผิดน่ะ
มันหลงจริง ๆ นะ และยังไงมันก็คิดว่ามันถูก

ต้องมี ผู้ที่รู้ยิ่งกว่า เข้ามาคอยช่วยปรับ

แต่ ผู้ที่รู้ยิ่งกว่า นิ้วไม่ค่อยจะทำงานเลย
ไม่รู้ ทำไม
สู้อุตสาห์เอาตัวเองเป็นตัวล่อแล้วนะ
(ทั้ง ๆ ที่ก็หวาดเสี๊ยว หวาดเสียว)

:b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 01 ม.ค. 2012, 11:13, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 09:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
เอาจิตไปรับเฝ้าตามความรู้สึก จนจิตมันเหนื่อย แค่นี้ก็คิดว่าตัวได้ญานแล้วหรือ? :b6:ไม่ได้เฉียดสมถะสักกะแอะ :b4:


:b6:

แต่ถ้ามีผู้รู้เข้ามาอธิบาย
จะมีคนเข้ามาลอกไปอธิบายเพิ่มเติมอีกมั๊ยเนี๊ยะ
( :b32: เอกอนแอบจ้องไว้แล้ว :b3: )

คือ สังเกตนะ
เรื่องสภาวะการปฏิบัติธรรม มันเปลี่ยนสีได้ยังไงชอบกล ๆ
วันหนึ่งพูดอย่าง อีกวันพูดอีกอย่างไปในทันที
เหมือนพลิกลิ้นพูดเลย ทำนองนั้น

ทั้ง ๆ สภาวะธรรม จากสภาวะหนึ่งกระโดดไปอีกสภาวะหนึ่ง
มันไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ดั่งใจ ดังพลิกใบไม้

แต่จะมีสภาวะหนึ่ง ที่สภาวะธรรมพลิกไปได้
ราวกับพลิกหน้าพ๊อกเก็ตบุ๊คเลย
สภาวะธรรมพลิกไปตามข้อความที่ได้เข้าไปรับรู้ :b6: :b6:

:b10: :b10: :b10:

อันนี้สังเกต ในสิ่งที่เป็นนะ :b3:
บางทีอ่านธรรมบรรยายของอาจารย์ท่านหนึ่ง
ก็มีอารมณ์ธรรมมันก็ไหลตามไปกับธรรมบรรยายนั้น ๆ
:b6: :b6:
ว่าต่อไปจะลดเรื่องการอ่านแล้ว
จะดูว่าอารมณ์มันจะอีท่าไหน
อะไรกันแน่คือ สภาวะธรรมจริง ๆ ที่เราเป็นอยู่
และคงจะต้องเริ่มต้นจากตรงนั้นจริง ๆ

ซึ่งก็จะได้ฟังอาจารย์คึกฤทธิ์เล่าบ่อย ๆ
ว่าเมื่อตอนที่าบวชใหม่ ๆ ท่านก็เคยชอบอ่าน
แต่พอมาวันหนึ่ง เหมือนท่านจะเห็นโทษ
และท่านก็หันมาอ่าน/ศึกษาแต่คำพระพุทธเจ้า
ก็คิด ๆ อยู่ว่า ท่านต้องเห็นโทษ

สงสัยเราต้องลองแข็งใจหยุดอ่านอย่างจริงจังบ้างแล้ว

:b12:

เอาจิตไปรับเฝ้าตามความรู้สึก จนจิตมันเหนื่อย

อาการเป็นไง หลับอยู่
อธิบายหน่อย

:b13: :b13: :b13:

หลับอยู่ เบา ๆ มือหน่อยนะ นี่ปีใหม่นะหลับอยู่
แทะกันแต่ต้นปีเลยเหร๋อ ปีนี้ 555 นะ

เค้ายังไม่ใช่ผู้บรรลุ เกิดสะกัดอารมณ์ไม่อยู่ เดี๋ยวเค้าว๊ากกกก นะ

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 17:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: ขอวิอีกนิดนะ
วิจารณ์ความเห็นตัวเองนี่ล่ะ
ว่าทำไมเราจึง ตั้งข้อสังเกตุเช่นนั้น

:b6: :b6:

เพราะเท่าที่สังเกต ภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า
ส่วนใหญ่ก็จะแสดงอาการเช่นนั้น

คือ กับการปลีกตัวไปปฏิบัติ
เมื่อเกิดสิ่งที่เหมือนว่าตนเข้าใจว่าตนบรรลุธรรมอะไรบางอย่าง
ก็ดูจะต้อง(รีบ)เดินทางเข้าไปพบพระพุทธเจ้า(ทันที)

หรือไม่เช่นนั้น พระพุทธเจ้ารู้วาระจิต
พระองค์ก็เสด็จไป

:b10: :b10:

:b12: :b12: :b12:

ทำไม เป็นไปได้มั๊ยว่า
แม้ในสมัยนี้ก็ตาม ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์
ก็จะเจอกับอาการเช่นนั้น
แต่ด้วย พระพุทธองค์ไม่อยู่แล้ว
อาการนี้จึงไม่อาจจะลงเอยอย่างแต่กาลก่อนไปได้โดยปริยาย
อาการนี้จึงถูกละไว้ เงียบไว้

และจากหลาย ๆ ชาดก ก็จะพบว่า
ทั้งพระสารีบุตร ทั้งพระโมคัลลา และภิกษุสงฆ์อีกหลายองค์
ล้วนต่างเคยเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
และแสดงความมีใจในธรรมของพระพุทธเจ้าในกาลนั้น
แต่แล้วก็มาบรรลุธรรมกับพระพุทธเจ้าพระองค์นี้

:b12: :b10: :b10: :b12:

มีใครพอจะมีความเห็น
ที่จะอธิบายข้อสังเกตนี้ของเราอย่างสมเหตุสมผลบ้างมั๊ย

:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 18:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

แล้วมันจะเกี่ยวมั๊ย
ที่ทำไม สาวกจึงมีนิมิตเห็นพระพุทธเจ้า

:b12:

:b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

๑๔. อรรถกถาปัจจเวกขณญาณุทเทส

ว่าด้วย ปัจจเวกขณญาณ

คำว่า ตทา สมุทาคเต ธมฺเม ปสฺสเน ปญฺญา แปลว่าปัญญาในการ

พิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น ความว่า ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเพ่งรู้ใน

ธรรมคือมรรคและผลกับทั้งในธรรมคือสัจจะ ๔ ที่เกิดขึ้นในมรรคขณะและผลขณะ

คือมาพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้ว ประชุมกันในกาลนั้น ด้วยสามารถแห่งการได้

เฉพาะและด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด.

คำว่า ปจฺจเวกฺขเณ ญาณํ ปัจจเวกขณญาณ ความว่าญาณเป็นเครื่อง

หมุนกลับมาเห็นรู้แจ่มแจ้ง. ก็ปัจจเวกขณญาณท่านกล่าวไว้ด้วยญาณทั้ง ๒ นี้.

ก็ในที่สุดแห่งโสดาปัตติผลในมรรควิถี จิตของพระโสดาบันก็ลงภวังค์. ต่อ

แต่นั้นก็ตัดภวังค์ขาด มโนทวาราวัชชนะก็เกิดขึ้นเพื่อ พิจารณามรรค, ครั้นมโนทวา

ราวัชชนะนั้นดับลงแล้ว ชวนจิตพิจารณามรรคก็เกิดขึ้น ๗ ขณะโดยลำดับฉะนี้

แล. ครั้นแล้วก็ลงสู่ภวังค์อีกอาวัชชนจิตเป็นต้น ก็เกิดขึ้นเพื่อพิจารณาธรรมทั้ง

หลายมีผลเป็นต้นโดยนัยนั้นเอง.


เพราะความเกิดแห่งธรรมเหล่าใดมีผลเป็นต้น พระโสดาบันนั้น ก็พิจารณา

มรรค, ผล, กิเลสที่ละแล้ว, กิเลสที่ยังเหลือ,และพระนิพพาน.

ก็พระโสดาบันนั้นพิจารณามรรคว่า เรามาแล้วด้วยมรรคนี้หนอ, ต่อแต่นั้น

ก็พิจารณาผลว่า อานิสงส์นี้เราได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่ละแล้ว

ว่า ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ เราละได้แล้ว, ต่อแต่นั้นก็พิจารณากิเลสที่มรรคเบื้อง

บนจะพึงประหาณว่ากิเลสเหล่านี้เรายังเหลืออยู่, ในที่สุดก็พิจารณาอมตนิพพาน

ว่าธรรมนี้เราได้แล้วโดยความเป็นอารมณ์

พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน มีปัจจเวกขณะ ๕ อย่าง ด้วยประการนี้. ปัจจเวก

ขณะของพระสทาคามีและพระอนาคามี ก็มีเหมือนพระโสดาบัน. แต่ของพระ

อรหันต์ มีปัจจเวกขณะ ๔ อย่างคือ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่. รวม

ปัจจเวกขณญาณทั้งหมดมี ๑๙ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์.

ฯลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 10:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b9: :b9:

ชอบกระทู้นี้แฮะ :b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร