วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 05:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2011, 18:31
โพสต์: 292


 ข้อมูลส่วนตัว


การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น

ธรรมะมีแต่ปัจจุบัน รักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ตรงนี้
ความจำที่ไม่ดีเป็นพิษ เหมือนยาพิษ จิตเราก็ดื่มยาพิษ หากไปยึดเอาสัญญาที่ไม่ดีไว้
คนอยู่รวมกัน ยังตัดกิเลสไม่ได้เสมอกัน ก็ย่อมหาความสุข-สงบไม่ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา
ให้รู้อารมณ์ของตนเองรบ ๑๐๐ ครั้ง ก็ชนะทั้ง ๑๐๐ ครา
ทุกข์ของใจ ต้องฝืน เพราะใจเป็นเรา เป็นของเรา
ใครกินเพราะอยากจึงเป็นกิเลส แต่ใครกินเพราะหิวเป็นพระธรรม
ใจบ่นเมื่อไหร่ ผู้อื่นเขาก็ได้ยิน โดยเฉพาะเทวดา-นางฟ้า-พรหม และพระท่านได้ยินทุกครั้งที่ใจบ่น เพราะจิตเป็นภาษากลาง จิตคิด-นึกอะไรก็ถึงกันหมด
สักกายทิฏฐิ แปลว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย

พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
............................

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน


.............................

ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖




สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. จงทำใจตนเองให้สบาย ไม่ต้องกังวลกับอะไรทั้งหมด โดยอาศัยการแยกกาย-เวทนา-จิต (อารมณ์ของจิต) และธรรมว่ามันเกิด-ดับๆ เป็นสันตติภายนอก และสันตติภายในตลอดเวลา ผู้ที่ไปรู้ธรรมเหล่านั้นคือ จิต ซึ่งเป็นตัวเราที่แท้จริงผู้ใดปฏิบัติได้ ก็รู้เท่าทันกองสังขารแห่งกาย และกองสังขารแห่งจิตตลอดเวลา ธรรมจุดนี้ละเอียดมาก และทำให้ทรงตัวได้ยาก ต้องใช้ความเพียนขั้นสูงสุด ใครทำได้ก็เป็นพระอรหันต์

๒. อานาปาเป็นฐานใหญ่ในการทำจิตให้สงบ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ จงอย่าทิ้งอานาปา พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ และพระอรหันต์ทุกองค์ ท่านก็ไม่ทิ้งอานาปา เพราะอานาปาช่วยระงับกายสังขาร หรือทุกขเวทนาของกายได้ ทำจิตให้เป็นรูปฌาน และอรูปฌานได้ แต่ไม่หลงติดอยู่ อาศัยเพียงแค่ใช้ระงับเวทนาของกาย และใช้เป็นกำลังช่วยให้จิตพิจารณาตัดกิเลสให้หมดไปเพื่อเข้าสู่พระนิพพานเท่านั้นหมดกายแล้วก็หมดความจำเป็นต้องใช้

๓. จงตัดความกังวลในเวทนาลงเสีย เพราะเวทนาอาศัยกายอยู่ เมื่อเราแยกร่างกายออกเป็นธาตุ ๔ ก็ดี เป็นอาการ ๓๒ ก็ดี ก็จะเหลือแต่จิตเท่านั้น จะเอาเวทนามาจากไหน จุดนี้จักต้องล้างสัญญาออกจากจิตไปเสียด้วย คือ เพิกหรือลืม หรือทิ้งสัญญาไปในบัดดล ไม่คิด-ไม่จำ ล้างทั้งสังขารซึ่งเป็นอารมณ์ปรุงแต่งธรรมไปด้วยปัญญา คิดว่าธรรมดาของมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ในเมื่อขันธ์ ๕ มันไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา เราจะไปยึดมันทำไม ล้างทั้งสัญญาคือ ความจำ ความจำที่ไม่ดีเป็นพิษ เหมือนยาพิษ จิตเราก็ดื่มยาพิษ หากไปยึดเอาสัญญาที่ไม่ดีไว้ ส่วนสังขารอารมณ์ปรุงแต่งธรรมที่เป็นอกุศล ก็มาทำร้ายจิตตนเองอยู่เป็นประจำ ความจริงอารมณ์ปรุงแต่งก็คือ อุปาทานขันธ์ ๕ จิตหลงไปยึดเกาะขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ตัวเราจริงๆ ก็คือจิต เป็นอมตะ ไม่เคยตาย หากไม่เข้าใจธรรมจุดนี้ จิตก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน แล้วสร้างอกุศลกรรมมาทำร้ายจิตตนเองอยู่เสมอ

๔. เอกายโน ภิกขเว มรรคโค สัทธานัง วิสุทธิยา กายอื่นจิตอื่นไม่สามารถทำให้จิตใจของเราเป็นสุขสงบได้ มีแต่จิตใจของเราเองเท่านั้นที่เมื่อฝึกฝนดีแล้ว เป็นหนทางเดียว ที่จักยังความสุขสงบให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดังนั้นในเมื่อคนอยู่รวมกัน ยังตัดกิเลสไม่ได้เสมอกัน ก็ย่อมหาความสุข-สงบไม่ได้ นี่เป็นเรื่องธรรมดา คนโง่ที่คิดบังคับจิตผู้อื่นให้มีความเห็นคล้อยตามเรา ยิ่งพวกโลกียชนยังไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า จักให้คิดไปในทางเดียวกันไม่ได้

๕. อย่าไปคิดรบกับใคร ให้รบกับอารมณ์กิเลสของตนเองในจิตตนเอง ขอเพียงสักแต่ว่าให้รู้อารมณ์ของตนเองรบ ๑๐๐ ครั้ง ก็ชนะทั้ง ๑๐๐ ครา

๖. จงใช้ทุกข์ให้เป็นประโยชน์ ทุกข์กาย หรือทุกขสัจ เป็นเรื่องธรรมดาของผู้มีร่างกาย ทุกคนจะต้องพบ คนโง่เท่านั้นที่เห็นทุกข์ของกายแล้วกอดทุกข์ เลยจมอยู่กับความทุกข์ เพราะขาดปัญญา แยกทุกข์กายกับทุกข์ใจออกจากกันไม่เป็น อาทิเช่น ปวดท้องขี้-ปวดท้องเยี่ยว และหิวเกิดกับคนทุกคน ซึ่งเป็นทุกข์ของกาย ฝืนไม่ได้ ยิ่งฝืนก็ยิ่งทุกข์เพิ่มขึ้น ส่วนทุกข์ของใจ ต้องฝืน เพราะใจเป็นเรา เป็นของเรา เช่นอยากกิน แต่กายไม่ได้หิว ใครกินเพราะอยากจึงเป็นกิเลส แต่ใครกินเพราะหิวเป็นพระธรรม

๗. การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น เพราะเป็นการจุดไฟเผาใจตนเองโดยตรง หากใช้ปัญญาพิจารณาให้ดี ๆ จะพบว่าผิดกรรมบถ ๑๐ หมวดวาจา ๔ ด้วย ผิดพรหมวิหาร ๔ ขาดเมตตาจิตตนเองด้วย บุคคลโดยทั่วไปยังติดคำพูด ติดถูก-ติดผิด ติดดี-ติดเลว อันเป็นอุปาทานตัวยึดมั่นถือมั่นของจิต เพราะยึดติดสมมติ สมมติแปลว่าไม่จริง จึงไปยึดเอาความไม่จริง-ความไม่เที่ยงเข้า จึงเท่ากับยึดความทุกข์ พระธรรมในข้อนี้จึงยากยิ่งในการปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติได้จิตทรงตัว จึงเป็นพระอรหันต์เท่านั้น


๘. การเจ็บ-ป่วยเป็นของธรรมดาของผู้มีร่างกาย ทั้งๆ ที่รู้ก็ยังอดเผลอ-บ่นทำจิตให้เศร้าหมองไม่ได้ หากจิตหยาบก็ใช้ปากบ่น ให้รำคาญหูผู้อื่น เบียดเบียนจิตตนเองไม่พอยังช่วยเบียดเบียนจิตผู้อื่นด้วย หากจิตละเอียดขึ้น ก็ใช้ใจบ่น โดยลืมไปว่าใจบ่นเมื่อไหร่ ผู้อื่นเขาก็ได้ยิน โดยเฉพาะเทวดา-นางฟ้า-พรหม และพระท่านได้ยินทุกครั้งที่ใจบ่น เพราะจิตเป็นภาษากลาง จิตคิด-นึกอะไรก็ถึงกันหมด

๙. ธรรมในพุทธศาสนา ต้องถูกกระทบก่อนจึงจักเป็นของจริง อุปสรรคของการปฏิบัติธรรม อยู่ที่กายเราคือ ขันธมาร และอยู่ที่จิตเราคือ กิเลสมาร ผู้มีปัญญาท่านใช้มารทั้ง ๒ เป็นเครื่องทดสอบอารมณ์จิตได้อย่างดี ธรรมเนียมของคนไทย เมื่อพบกันมักถามว่า สบายดีหรือ หากตอบว่า สบายดี ก็สอบตกทุกคน เพราะคนมีร่างกาย มันมีแต่ทุกข์ ทุกข์มากหรือทุกข์น้อยเท่านั้น โดยเฉพาะโรคหิวกำเริบมีกันทุกคน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ชิคัทฉา ปรมาโรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง (โรคะ แปลว่า เสียดแทง)

๑๐. โลกทั้งโลกไม่มีอะไรสุขจริง นี่คืออริยสัจ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ต่างบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยอริยสัจ ๔ และพระอรหันต์สาวกของพระองค์ทุกองค์ ก็บรรลุธรรมจบกิจเป็นพระอรหันต์ได้ก็ด้วยอริยสัจ มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี นักปฏิบัติธรรมจึงไม่มีใครทิ้งอริยสัจ

๑๑. สุข-ทุกข์เกิด เพราะจิตเกาะยึดติดขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา หากวางอุปาทานขันธ์ ๕ ได้จุดเดียว ก็จบกิจในพุทธศาสนา หรือละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด ก็จบกิจในพุทธศาสนา สักกายทิฏฐิ แปลว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงทราบจริต-นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคลได้สร้างกันมาไม่เสมอกัน และรู้วิธีสอนให้ตรงกับจริต-นิสัย และกรรมของแต่ละบุคคลได้ทุกคน โดยไม่มีคำว่าผิด-พลาด

๑๒. ทำใจให้สบาย จงอย่าไปกังวลกับพวกเล่นคุณไสย เพราะจักทำให้ยิ่งเป็นสื่อให้เขาโจมตีได้ง่าย โดยให้มีสติระลึกถึงอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าไม่ใช่เรา-ไม่มีในเรา ให้พิจารณาและเพิกความรู้สึกลงเสีย โดยคิดว่าเป็นการขาดทุนในผลของการปฏิบัติธรรม และจงอย่าประมาท หมู่นี้พวกเล่นคุณไสยเข้ามาในวัดเยอะ ให้ระวังให้ดี คาถาป้องกันคุณไสยของสมเด็จองค์ปัจจุบันคือ อิติ-ติอิ สัมปติจฉามิ-สัมปจิตฉามิ คาถาป้องกันคุณไสยของสมเด็จองค์ปฐม คือ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา ปัด-ตัด ทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตา แล้วภาวนา คำว่า อนัตตาเข้าไว้

๑๓. รักษากำลังใจเข้าไว้ จงอย่าท้อถอยกับอุปสรรคทั้งปวง อะไรจักเกิดมันก็ต้องเกิด ให้ยอมรับนับถือ และเคารพในกฎของกรรม ซึ่งเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย กรรมใดที่เราไม่เคยก่อไว้ในอดีต วิบากกรรมย่อมไม่เกิดกับเราในปัจจุบัน การกระทำทุกอย่างให้มุ่งหวังเพื่อพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น โดยเล็งเห็นว่าทุกสิ่ง-ทุกอย่างเป็นของธรรมดา

๑๔. ทำใจให้สงบ จงอย่าว้าวุ่นใจ แม้ว่าในขณะนี้อาการทางร่างกายจักไม่ดี ก็ต้องยอมรับนับถือว่ามันเป็นของธรรมดาของผู้มีร่างกาย ไม่มีใครจักหนีความแก่-ความป่วยไข้ไม่สบาย-ความตายไปได้ ในระหว่างที่ชีวิตของร่างกายยังอยู่ย่อมจักต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์พอใจบ้าง-ไม่พอใจบ้างเป็นธรรมดา และต้องพบกับความปรารถนาไม่สมหวังบ้างเป็นธรรมดาด้วยกันทุกคน เพราะที่สุดของโลกแล้ว ก็ไม่มีอะไรเหลือ จึงไม่มีใครสามารถเอาสมบัติของโลกไปได้ สมบัติของโลกที่เรารัก และหวงแหนที่สุดก็คือ ร่างกายที่จิตเราอาศัยอยู่ชั่วคราว เราก็เอาไปไม่ได้ ผู้มีปัญญาตถาคตตรัสสอนให้วางอุปาทานขันธ์ ๕ ตัวเดียว ก็ไปพระนิพพานได้ ให้ล้างใจเสียใหม่ ชำระความเกาะติดในร่างกาย และทุกขเวทนาของกายลงเสียให้หมด

๑๕. ทำใจให้สบาย เรื่องอื่นๆ ก็จักดีขึ้นเอง จงอย่าวิตกกังวลกับเรื่องอื่นใดทั้งปวง ให้รู้จักกำหนดปล่อยวางทุกเรื่อง-ทุกราวลงให้ได้ทุกขณะจิต ธรรมะมีแต่ปัจจุบันรักษาอารมณ์ปัจจุบันให้ดีๆ สุข-ทุกข์พ้นได้ตรงนี้ สุข-ทุกข์เกิดเพราะจิตเกาะติด หรืออิงขันธ์ ๕ หรืออิงอายตนะภายใน (ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ หรือสักกายทิฏฐินั่นเอง)

๑๖. ศัตรูของเราคือ อารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตตนเอง ดังนั้นจงอย่าหาศัตรูนอกตัวเรา วันหนึ่งๆ ไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มากเท่า อารมณ์จิตตนเองทำร้ายจิตตนเอง การที่จักพ้นภัยตนเอง พ้นได้ยากที่จุดนี้ พรหมวิหาร ๔ จึงเป็นธรรมปฏิบัติที่ละเอียดลึกซึ้ง-ปราณีต ยากที่บุคคลธรรมดาๆ จักพึงเข้าถึงได้ เพราะผู้ที่พ้นภัยตนเองได้ก็คือ พระอรหันต์

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

.............................
ที่มาของข้อมูล
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑๖ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖
หนังสือ “ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม
หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......

http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือ
หลวงพ่อหรือพระอริยเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ
…………………………………


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 07:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:22
โพสต์: 70


 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจานุรักษ์ เขียน:
การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือจะถูกก็เลวทั้งสิ้น

ข้อนี้ไม่เห็นด้วย

พ่อแม่ ตำหนิสั่งสอนบุตรธิดาได้ไหม
เพื่อนมิตรกัลยาณมิตร ตักเตือนตำหนิกันไม่ได้หรือ
ตำหนิกันตักเตือนกัน ด้วยความหวังดีปรารถนาดี เลวด้วยหรือ
แม้แต่พระพุทธเจ้า ยังตำหนิติเตียน ภิกษุผู้หยาบกระด้าง

พระองค์ตรัสไว้มีบุคคล ๔ ประเภท แต่ที่งามกว่าใคร คือ
บุคคล ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนและสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ
ตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร
:b4:

http://www.84000.org/true/209.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร
และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร
นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มี.ค. 2007, 05:14
โพสต์: 377

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมคำสอน...หลวงปู่มั่น

แนบไฟล์:
1195276426[1].jpg
1195276426[1].jpg [ 33.8 KiB | เปิดดู 6327 ครั้ง ]


การตำหนิติเตียนผู้อื่น
ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย
ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น
นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย
จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง
เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์
จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน
งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย
ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว
แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง


อย่าสำคัญว่าตนเอง
เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย
ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง
จนไม่มีวันสร่างซา
เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์
ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้
ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร

เมื่อมีผู้เตือนสติ ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน
จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก
เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้
จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา
แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน
แต่มีทางได้รับความสุขจากสมบัติและความประพฤติดีของตน

---

ใจนี้ คือ สมบัติอันล้ำค่า
จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป
คนพลาดใจ คือ คนไม่สนใจปฏิบัติต่อดวงใจดวงวิเศษในร่างนี้
แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติ ก็คือผู้เกิดพลาดอยู่นั่นเอง

---

ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ “ตน” ว่าเสวย เป็นอันผิดทั้งนั้น



:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ความพอดีในการพูดก็คือ พูดเมื่อจำเป็นต้องพูดและพูดแต่พอประมาณ หยุดพูดเมื่อหมดเรื่องที่จะพูดแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่อใครดีละ พระพุทธเจ้า หรือ พระสาวก ? s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2010, 15:28
โพสต์: 2639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวก ไม่มีขัดแย้งกัน

ขอให้อ่านประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านตำหนิติเตียนศิษย์ท่านขนาดไหน จนลือกันไปทั่วว่า ท่านดุ
แต่ที่ท่านทำเช่นนั้น เพราะหวังดี ปรารถนาดีต่อลูกศิษย์ของท่านนั่นเอง

การเทศน์ของท่านน่าจะมุ่งถึง คนธรรมดาที่จ้องจับผิดแต่ผู้อื่น ด้วยความไม่หวังดี
มองคนในแง่ร้าย ที่เรียกว่าเพ่งโทษผู้อื่น ซึ่งนั่นมีแต่โทษ ไม่มีคุณเลย

คนตั้งกระทู้ ผูกประโยคคำถามไม่เป็น ขาดความรู้ความเข้าใจ
ตั้งกระทู้โดยขาดการไตร่ตรอง ขาดความรอบครอบ

.....................................................
.. สติเป็นโล่ห์ ปัญญาเป็นอาวุธ ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะ..มีหยาบมีละเอียด...

ความหยาบความละเอียด...อยู่ที่สภาวะของใจ..ไม่ใช่อาการของกาย

พ่อแม่..จะตำนิติลูก...แม้ด้วยอารมณ์โกรธ...ก็ยังเป็นความดี....แต่เป็นความดีระดับโลก ๆ...

แต่สำหรับผู้ที่จะออกจากทุกข์แล้ว....สิ่งใดเกิดมาจากความโกรธ...จากกิเลสราคะ...มานะ...ฯลฯ..แม้เพียงเล็กน้อย...ก็พึงเห็นโทษของมัน...พึงกำจัด...พึงละ...ไม่ทำให้มันเจริญ...ด้วยธรรมะที่พระพุทธองค์สังสอนใว้ดีแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้
บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร
และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร
นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”


:b8: :b8: :b8:

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 07:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
เชื่อใครดีละ พระพุทธเจ้า หรือ พระสาวก ? s006


สอนต่างกันหรือ?....จึงต้องเลือก

ช่วยบอกหน่อยก็คงจะดี...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 07:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมโฆษ เขียน:
พระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวก ไม่มีขัดแย้งกัน
.....
การเทศน์ของท่านน่าจะมุ่งถึง คนธรรมดาที่จ้องจับผิดแต่ผู้อื่น ด้วยความไม่หวังดี
มองคนในแง่ร้าย ที่เรียกว่าเพ่งโทษผู้อื่น ซึ่งนั่นมีแต่โทษ ไม่มีคุณเลย

....

นี้ยกตัวอย่างมาให้ดู...คนที่เขาเข้าใจ..นัยยะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ม.ค. 2012, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สอนต่างกันหรือ?....จึงต้องเลือก

ช่วยบอกหน่อยก็คงจะดี...
คุณกบฯ ลองอ่านความเห็นที่โพสดูสิ แล้วมีความเห็นยังไง
คนตำหนิผู้อื่น เลวทั้งสิ้น จริงหรือ? :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร