วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 06:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 04:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 05:48
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมตั้งใจว่า ทุกๆ 1 ท่านที่ตอบแบบสอบถามจนจบ ผมจะร่วมสมทบทุนเพิ่ม 10 บาทในการบริจาคเข้ากองทุนช่วยเหลือวัดป่าที่ขาดแคลนในช่วงเดือนมกราคม 2555 โดยเงินในส่วนนี้ผมจะอธิฐานจิตถวายในนามผู้ร่วมตอบสอบถามทุกคนครับ ยังไงขอท่านได้อนุโมทนาในกุศลที่ท่านได้สร้างทางอ้อมตรงนี้ด้วยครับ

ผมขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ร่วมตอบแบบสอบถามไปแล้วเป็นอย่างยิ่งครับ การเก็บข้อมูลยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆจนถึงกลางเดือนมกราคม อย่างไรผมฝากประชาสัมพันธ์ต่อๆด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2011, 08:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ธ.ค. 2011, 02:33
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


peerayuth เขียน:
แสงอาทิตย์ เขียน:
ตอบให้แล้วนะคะ ยินดีค่ะ


ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งครับ

ขอรายงานความคืบหน้าครับ ผมเพิ่งเอาข้อมูลที่มีอยู่ตอนนี้มาวิเคราะห์ทางสถิติแบบคร่าวๆเพื่อดูแนวโน้มของผลวิจัยว่าจะออกมาเหมือนที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า ถึงแม้ว่าตอนนี้จำนวนผู้ตอบยังคงห่างไกลจากมาตรฐานทางวิชาการที่ตั้งไว้มาก แต่ผลออกมาตอนนี้ค่อนข้างเป็นไปตามที่ผมตั้งสมมติฐานไว้ครับ

จากการใช้สถิติเชิงซับซ้อนในการระบุว่าปัจจัยอะไรจะส่งผลต่ออะไรบ้างมากน้อยแค่ไหนแบบลูกโซ่ โดยรวมคนที่ฝึกสมาธิจะมีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สูงกว่าคนที่ไม่เคยฝึก ซึ่งความสามารถในการควบคุมและรับรู้อารมณ์ตัวเองจากการฝึกสมาธิได้ส่งผลต่อมาคือทำให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองในเรื่องการจัดการกับปัญหาทั่วๆไป (Self efficacy)ได้ดี ตรงนี้ก็จะส่งผลต่อมาคือทำให้คนที่ฝึกสมาธิมุ่งเน้นการจัดการกับปัญหาโดยแก้ที่เหตุ (Problem-focus coping) ซึ่งตรงข้ามกับคนที่ไม่ได้ฝึกสมาธิที่มักจะหาปัจจัยภายนอกมาทำให้ลืมปัญหา (Emotion-focus coping)

ผลที่ออกมา ณ ขณะนี้นับว่าน่าสนใจและค่อนข้างหน้าพอใจครับ แต่ตอนนี้ผมเองต้องพยายามหาช่องทางประชาสัมพันธ์ให้คนมาร่วมตอบแบบสอบถามเพิ่มขึ้น เพราะยังขาดอีกประมาณร้อยต้นๆ ยังไงผมต้องขอขอบพระคุณทุกท่านมากๆเลยนะครับที่ใจดีเสียสละเวลาอันมีค่ามาช่วยตอบแบบสอบถามและช่วยประชาสัมพันธ์ต่อๆกันครับ หากพอมีใครพอช่วยสละเวลาทำแบบสอบถามได้อีกโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงาน ผมต้องขอรบกวนด้วยนะครับ ผมขอบพระคุณมากๆอีกครั้งครับ


"จากการใช้สถิติเชิงซับซ้อนในการระบุว่าปัจจัยอะไรจะส่งผลต่ออะไรบ้างมากน้อยแค่ไหนแบบลูกโซ่"

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ใช้สถิติตัวไหนวิเคราะห์ครับ ขอความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 04:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 05:48
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


MeditationScience เขียน:

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ใช้สถิติตัวไหนวิเคราะห์ครับ ขอความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานครับ


ผมใช้การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคที่ชื่่อว่า Structure Equation Modeling (SEM) ครับ ใช้แบบ Varience-based SEM ซึ่งก็มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Patial Least Square (PLS) แต่ถ้าเป็นแบบ Component-based SEM ก็จะเรียกกันว่า LISREL เป็นการวิเคราะห์แบบถดถอย (regression) รูปแบบนึงที่สามารถสร้างสมการหลายๆสมการรวมกันเป็น Model ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของตัวแปรหลายๆตัวได้ในการวิเคราะห์เพียงครั้งเดียว ซึ่งวิธีนี่จะดีกว่าการใช้ Path analysis กับ Regression มาก อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่า A สัมพันธ์กับ B โดยตรง (direct effect) หรือสัมพันธ์กับ B โดยผ่าน C (mediating effect) ได้ดีกว่า Path analysis กับ Regression อีกด้วยครับ เช่นในข้อมูลที่วิเคราะห์จากแบบสอบนี่ผมทดสอบว่าการทำสมาธิ (A) ส่งผลตรงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาในที่ทำงาน (B) หรือไม่ หรือส่งผลทางอ้อมผ่านความฉลาดทางอารมณ์ (C)

ไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยมีสอนกันในมหาลัยฯหรือเปล่านะครับ กะว่าถ้าได้กลับไปสอนที่เมืองไทยจะเอาวิธีนี้ไปเผยแพร่เหมือนกัน

อย่างไรหากมีใครพอช่วยสละเวลา 10-15 นาทีช่วยทำแบบสอบถามให้ได้ ผมต้องขอรบกวนฝากประชาสัมพันธ์อีกทีนะครับ ตอนนี้ยังต้องการกลุ่มคนทำงานอีกมาก ไม่จำเป็นต้องเคยฝึกสมาธิก็ได้ครับ ขอบคุณมากๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 08:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: ตอบไปนานแล้วละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2011, 09:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ธ.ค. 2011, 02:33
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="peerayuth"][quote="MeditationScience"]


ไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยมีสอนกันในมหาลัยฯหรือเปล่านะครับ กะว่าถ้าได้กลับไปสอนที่เมืองไทยจะเอาวิธีนี้ไปเผยแพร่เหมือนกัน

ในประเทศไทยมีใช้กันนานพอสมควรแล้วครับ จาก Link เป็นตัวอย่างการใช้ SEM ของนักศึกษาระดับปริญญาโทวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา (College of Research Methodology and Cognitive Science) มหาวิทยาลัยบูรพา

http://www.rmcs.buu.ac.th/jn/8-1/16.pdf


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2011, 04:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ธ.ค. 2011, 02:33
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบแบบสอบถามให้แล้วนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะช้าเกินไป หรือเป็นกลุ่มตัวอย่างที่คาดหมายหรือเปล่า ขอให้สำเร็จการศึกษา เป็น Doctor ที่ีมีคุณภาพต่อไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ธ.ค. 2011, 06:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 05:48
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


MeditationScience เขียน:
ตอบแบบสอบถามให้แล้วนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะช้าเกินไป หรือเป็นกลุ่มตัวอย่างที่คาดหมายหรือเปล่า ขอให้สำเร็จการศึกษา เป็น Doctor ที่ีมีคุณภาพต่อไปครับ


ต้องขอขอบคุณมากๆเลยนะครับ ไม่ช้าหรอกครับเพราะผมยังต้องการคนอีกมากจริงๆ ยังไงขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรด้วยนะครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มี.ค. 2012, 15:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2009, 05:48
โพสต์: 13


 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่ทุกท่านได้ช่วยตอบแบบสอบถามงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์จากการฝึกสมาธิที่ผมลงประกาศไปเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ท้ายที่สุดทางผมก็ได้จำนวนแบบสอบถามที่ใช้ได้สมบูรณ์ทั้งหมดประมาณ 317 ฉบับ และตามที่ผมได้สัญญาไว้ว่าจะบริจาคปัจจัย 10 บาทต่อทุก 1 แบบสอบถามที่ตอบครบถ้วนเพื่ออุทิศบุญตอบแทนทุกท่านที่เสียสละเวลาตอบแบบสอบถามให้ ผมจึงขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่าผมก็ได้ถวายปัจจัยตามที่ตั้งใจไว้ให้แก่พระอาจารย์วัดป่าท่านหนึ่ง ซึ่งเมื่อปลายเดือนที่แล้วท่านจาริกไปที่ประเทศอินเดียและได้นำปัจจัยที่ผมถวายในนามทุกท่านนี้ไปร่วมบริจาคสร้างวัดใหม่ของไทยที่อินเดียและร่วมสร้างพระประธานพระพุทธเมตตา หน้าตัก 28 ฟุตแคว้นมคธ และร่วมสร้างโรงพยาบาลที่วัดไทยกุสินารา ขอให้บุญกุศลใหญ่ครั้งนี้จงตกแก่ทุกท่านที่ช่วยกรุณาตอบแบบสอบถามกันถ้วนหน้าด้วยครับ สาธุ

สำหรับข้อมูลที่เก็บมาได้ทั้งหมดผมได้นำมาประมวลผลหาความสัมพันธ์ทางสถิติ ปรากฏว่าผลที่ออกมานั้นสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับประโยชน์ของการฝึกสมาธิที่มีต่อชีวิตประจำวันและการงาน จากผลที่ได้มานี้ผมได้นำมาเขียนเป็นบทความทางวิชาการ 2 ฉบับ ซึ่งในขณะนี้ได้ถูกส่งไปยังวรสารวิชาการที่ต่างประเทศ และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะถูกตีพิมพ์หรือไม่ หากได้ข้อสรุปอย่างไรผมจะแจ้งให้ทุกท่านทราบอีกครั้ง และจะแปลเป็นภาษาไทยเพื่อเผมแพร่ต่อไปครับ

หากผมมีโครงการวิจัยเกี่ยวกับการประโยชน์จากการทำสมาธิครั้งหน้า ผมต้องขอรบกวนทุกท่านช่วยตอบแบบสอบถามล่วงหน้านะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร