วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=28



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2011, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีมนตร์เก่าแก่ของอินเดียโบราณแต่ภาษายังเพี้ยนๆ ใครเก่งมนตร์สันสกฤตช่วยด้วยครับ

เผอิญมีมนตร์เก่าแก่ของอินเดียเป็นของพระภควัทธรรมมหาเถระ ตรีปิฎกธราจารย์ชาวอินเดีย แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนเมื่อพันปีก่อน แต่ตันฉบับภาษาสันสกฤตของเก่าหายสาบสูญไปแล้วจึงมีแต่ต้นฉบับที่เป็นภาษาจีน ตอนนี้กำลังจัดทำเป็นต้นฉบับภาษาสันสกฤตตามเดิมอยู่ แต่ติดปัญหาเรื่องอักขระบางตัวนิดหน่อยไม่รู้ว่าจะหามาใช้แบบไหนดี จึงอยากรบกวนผู้ชำนาญมนตราสันสกฤต ช่วยกรองให้หน่อย ว่าใช้แบบที่1 หรือแบบที่2 หรือควรแก้เป็นแบบไหนดี ของเดิมมีทั้งหมด 84 มันตรา แต่ที่ติดปัญหามี 58 มันตรา ดังนี้

7. 。อัน 唵。 แปลว่า อะ อุ มะ คือ พระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ อะ แทน พระอิศวร (พระมเหศวร) อุ แทน พระนารายณ์ (พระหริ ) มะ แทน พระพรหม (พระปรเมษฐ์) ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “โอม” หรือแบบที่ 2 “อามัม”

41. 。ฮู ลู ฮู ลู หมอ ลา 呼盧呼盧摩囉 。แปลว่าการประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “หูลุหูลุมะละ” หรือแบบที่ 2 “หุลุ หุลุ มัลละ”

42. 。ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี 呼盧呼盧醯利。แปลว่าการประกอบพิธี โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “หุลุหุลุศรี” หรือแบบที่ 2 “หุลุ-หุลุ หะเร”

13. 。ซี ลี่ หมอ เฮอ。ปั๋ว ตัว ซ่า เมีย。醯唎摩訶。皤哆沙咩。แปลว่ามหากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้ผู้ที่มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า บรรดามารไม่กล้ารบกวนได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ศรีมหาปะฏะศะมิ” หรือแบบที่ 2 “หฤทะยัม วะระตะ ยิษะยามิ”

15. 。ออ ซือ อวิ้น 阿逝孕。แปลว่าผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อสิยูม” หรือแบบที่ 2 “อะเชยัม”

16. 。ซ่า ผอ ซ่า ตัว。 หนอ หมอ ผอ ซ่า ตัว。หนอ หมอ ผอ เฉีย 薩婆薩哆。那 摩 婆薩多。那摩婆 伽。แปลว่าธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จสิทธะได้ธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สะรวะสัตตวะ นะโม ปวสัตตวะ นโม ภควะ” หรือแบบที่ 2 “สะรวะ ภูตานัม ภะวะ-มาระคะ”

37. 。ซื่อ หนอ ซื่อ หนอ 室那 室 那 。แปลว่าเป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ศินะศินะ” หรือแบบที่ 2 “กฤษณะ”

22. 。 อี๋ ซี ลี่ 夷醯唎 。แปลว่ากระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด มหากรุณาอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวง ฉะนั้น ไม่ว่าในแห่งหนตำบลใด สรรพสัตว์ใดได้รับความทุกข์ จะตามไปช่วยเหลือตามเสียงที่ร้องขอนั้น ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อีศีลี” หรือแบบที่ 2 “เอหิ หะเร”

27. 。จวี้ หลู จวี้ หลู เจี๋ย หมง 俱 盧 俱 盧 羯 蒙 。แปลว่าการเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษาผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “คุรุคุรุฆามัม” หรือแบบที่ 2 “กุรุ-กุรุ กรัมะ”

28. 。 ตู้ หลู ตู้ หลู ฝา เซ่อ เยี้ย ตี้ 度 盧 度 盧 罰 闍 耶 帝。แปลว่าผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ธูรูธูรูภาษียะติ” หรือแบบที่ 2 “ธุรุ-ธุรุ วิชะยะเต”

29. 。 มอ เฮอ ฝา เซอ เยี้ย ตี้ 摩訶罰闍耶帝。แปลว่าพระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นสิทธะได้เหมือนกัน ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มหาภาษียะติ” หรือแบบที่ 2 “มหาวิชะยะเต”

30. 。ถัว ลา ถัว ลา 陀囉陀囉。แปลว่าเมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ธาระธาระ” หรือแบบที่ 2 “ธะระ-ธะระ”

31. 。 ตี่ ลี่ หนี 地唎尼 。แปลว่าโลกสัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ถิริณี” หรือแบบที่ 2 “ธะระณี”

32. 。ซื่อ ฝอ ลา เยีย 室佛囉耶 。แปลว่าเมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ศะวะรายะ” หรือแบบที่ 2 “ราชะ”

62. 。มอ ลา นอ ลา 摩囉那囉。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 แปลว่าการปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มะละนะละ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “วราหะ-มุขายะ สวาหา”

64. 。ซี ลา เซิง ออ มู่ เชีย เยีย 悉囉 僧 阿穆佉耶ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าการแสดงความรักแก่หมู่ชน ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “นรสิงหะ-มุขายะ สวาหา”

66. 。ซัว พอ มอ เฮอ ออ ซี ทัว เยีย 娑婆 摩訶 阿悉陀夜 ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าสัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน สามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกันสรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สะระวะมหาอัสตายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “ปัทมะ-หัสตายะ สวาหา”

68. 。เจอ จี๋ ลา ออ ซี ทัว เยีย 者吉囉阿悉陀夜。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าใช้วชิระธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้อย่างง่ายดาย ได้รับความสำเร็จ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “จักระอัสตายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “จักระ-หัสตายะ สวาหา”

70. 。ปอ ทัว มอ เจี๋ย ซี ทัว เยีย 波陀摩羯悉哆夜。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าดอกบัวแดงชนะ มีผลสำเร็จทั้งสิ้นพุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อความสุขร่วมกันเป็นการย้ำให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ปัทมะเกสายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “ศังขะ- ศัพทะ-นิโพธะนายะ สวาหา”

82. 。มัน ตัว ลา 漫多囉。แปลว่าเป็นธรรมมณฑล ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มันตรา” หรือแบบที่ 2 “มันตระ”

83. 。ป๋า ทัว เยีย。。跋陀耶ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 แปลว่าความต้องใจ สมบูรณ์ คือ ร่างกายเป็นมูลฐานของความทุกข์ เมื่อเราปล่อยวางร่างนี้แล้ว สำรวมกายที่ถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งนึกคิดไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส จึงสามารถเข้าถึงธรรมได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ปะทะเย สวาหา” หรือแบบที่ 2 “ปทายะ สวาหา”

36. 。 อี ซี อี ซี 伊醯伊醯 。แปลว่าการชักชวนตามธรรมะ ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “เอหิเอหิ” หรือแบบที่ 2 “เอหิ-เยหิ”

3. 。 ผอ ลู เจี๋ย ตี้ 。ซั่ว ปอ ลา เยีย 婆盧羯帝 爍缽囉耶。 แปลว่าขอน้อมนมัสการผู้เพ่งพิจารณาเสียงของสรรพสัตว์ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อวโลกิเตศะวะรายะ” หรือแบบที่ 2 “วโลกิเตศะวะรายะ”

2. 。นำ มอ ออ ลี่ เยีย 南無阿唎耶 。 แปลว่าขอนอบน้อมนมัสการพึ่งพิงองค์อริยบุคคล ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นะโมอาระยะ” หรือแบบที่ 2 “นะมะ อารยะ”

8. 。ซ่า ปั่ว ลา ฝา อี 薩 皤 囉 罰曳。แปลว่าองค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สะวะละติ” หรือแบบที่ 2 “สะรวะ-ภะเยษุ”

9. 。ซู่ ต๋า หนอ ต๋า เซี่ย 數怛 那 怛寫 。 แปลว่าการปฏิบัติธรรมต้องถือความสัตย์เป็นมูลฐาน ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ศุททะนะตัสยะ” หรือแบบที่ 2 “ตราณะ-กรายะ ตัสยะ”

10. 。นำ มอ ซี จี๋ ลี่ ตัว。 อี๋ มง ออ ลี่ เยี่ย。 。南無悉吉栗埵 。伊蒙阿唎耶。แปลว่านอบน้อมผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นมัสกฤตวานิมางอาระยะ” หรือแบบที่ 2 “มะนะสะกะฤตะวา อิมัม อารยะ”

11. 。ผอ หลู จี๋ ตี้ 。 ซื่อ ฝอ ลา เลิ่ง ถัว ผอ 婆盧吉帝。室佛囉楞 馱婆 。 แปลว่าจิตต้องกับธรรมท่องเที่ยวไปอย่างอิสระเนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อวโลกิเตศะวะละรันตะภา” หรือแบบที่ 2 “วะโลกิเต ศะวะระ-สัตวะนัม”

12. 。นำ มอ หนอ ลา จิ่น ฉือ。南無那囉謹墀。 แปลว่านอบน้อมการคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นะโมนิลากันถะ” หรือแบบที่ 2 “นีลกัณฐะ-นามะ”

14. 。 ซ่า ผอ ออ ทา 。โตว ซู เผิง 薩婆阿他 。豆輸朋。แปลว่าการได้เห็นพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์เสมอภาคพระธรรมไม่มีขอบเขต ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สระวาทฺวะตะสุภัม” หรือแบบที่ 2 “สรวาระถะ-สาธะนัม ศุภัม”

17.。หมอ ฝ่า เทอโต้ว 摩 罰 特 豆 。แปลว่าผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มะภะเตตุ” หรือแบบที่ 2 “วิโศธะกัม”

19. 。อัน。ออ ผอ หลู ซี 唵。阿 婆盧醯 。แปลว่าผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส) หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงสิทธะสภาวะที่มีอยู่เดิม ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “โอมอวโลกา” หรือแบบที่ 2 “โอม อะปะโลกะ”

20. 。หลู เจีย ตี้ 盧 迦 帝。 แปลว่าเป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “โลกาเต” หรือแบบที่ 2 “โลกาติ”

21. 。เจีย หลอ ตี้ 迦羅帝 。แปลว่าผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “กาละติ” หรือแบบที่ 2 “กรานตะ”

24. 。ซ่า ผอ ซ่า ผอ 薩婆薩婆。แปลว่าธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สาโพสาโพ” หรือแบบที่ 2 “สะระปะ-สะระปะ”

25. 。มอ ลา มอ ลา 摩囉摩囉 。 แปลว่าผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มะรามะรา” หรือแบบที่ 2 “สมะระ-สมะระ”

26. 。มอ ซี มอ ซี ลี่ ถัว อวิ้น 摩醯摩醯唎馱孕 。 แปลว่าความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาสิทธะกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มะศิมะศิฤธะยุ” หรือแบบที่ 2 “มะมะหฤทะยัม”

33. 。เจอ ลา เจอ ลา 遮囉遮囉。แปลว่าการเกรี้ยวกราดสุรเสียงออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วทุกทิศ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ชะละชะละ” หรือแบบที่ 2 “จะละ-จะละ”
34. 。มอ มอ ฝา หมอ ลา 麼麼 罰摩 囉。แปลว่าการกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มามะภามะละ” หรือแบบที่ 2 “มะมะ วิมะละ”

35. 。 มู่ ตี้ ลี่ 穆帝隸。แปลว่าหลุดพ้น ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มุธิริ” หรือแบบที่ 2 “มูรัต เตเร”

38. 。ออ ลา เซิง。ฝอ ลา เซ่อ ลี่ 阿囉參。佛 囉 舍 利。แปลว่าความพ้นธรรมไปถึงขั้นธรรมราชา มีความอิสระในธรรมการได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งตรีมณี ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อาละลินภะระศรี” หรือแบบที่ 2 “สระโป ปะวีตะ”

39. 。ฟา ซอ ฟา เซิง 罰沙罰 參 。แปลว่าผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ภาษาภาษิน” หรือแบบที่ 2 “วิษะ-วิษัม”

40. 。 ฝอ ลา เซ่อ เยีย 佛囉 舍 耶 。แปลว่าจะต้องมีความรู้ด้วยตนเองอย่างคชสาร(พญาช้าง) ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “การะศะยะ” หรือแบบที่ 2 “ปราณะศะยะ”

46. 。ผู่ ถี เยีย 。ผู่ ถี เยีย 菩提夜 。菩提夜 。แปลว่าการตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “พุทธายะพุทธายะ” หรือแบบที่ 2 “โพธิยะ-โพธิยะ”

47. 。ผู่ ถัว เยีย 。 ผู่ ถัว เยีย 菩馱夜 。菩 馱夜 。แปลว่าเป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “โพธายะโพธายะ” หรือแบบที่ 2 “โพธะยะ-โพธะยะ”

48. 。หมี ตี้ ลี่ เยีย 彌帝唎夜 。แปลว่ามหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ไมตรีเย” หรือแบบที่ 2 “ไมตริยะ”

49. 。นอ ลา จิ่น ซือ 那囉 謹墀。แปลว่านักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นิละกันสะตะ” หรือแบบที่ 2 “นีละกัณฐะ”

50. 。ตี้ ลี่ เซ่อ นี นอ 地利瑟尼那 。แปลว่าความแข็งแกร่งประดุจวชิราวุธ ให้เรามีความแข็งแกร่งมั่นคงในการปฏิบัติธรรม ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ตริสะระณะ” หรือแบบที่ 2 “ทัศะเนนะ”

51. 。ผอ เยีย มอ นอ 婆夜 摩那。แปลว่าเสียงแห่งความชื่นชมปีติยินดีก้องกังวานไปทั่วทั้งสิบทิศ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “ภะยะมะนะ” หรือแบบที่ 2 “ประหลาทะยะ มะนะหะ”

53. 。ซี ทัว เยีย 悉陀夜 。ซัว ผอ เฮอ 。。娑 婆 訶 。แปลว่าความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สีตายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “สิทธายะ สวาหา”

55. 。มอ เฮอ ซี ทัว เยีย 摩 訶悉陀 夜. 。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าความไพศาลของพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพุทธผล ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “มหาสีตายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “มหา สิทธายะ สวาหา”

57. 。ซี ทัว อวี้ อี 悉陀喻藝 。แปลว่าทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม) ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สีตายะเย” หรือแบบที่ 2 “สิทธะ-โยเค”

60. 。นอ ลา จิ่น ซือ 那囉謹墀。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 。แปลว่าความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นีลากันถิ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “นีลากัณฐายะ สวาหา”

72. 。นอ ลา จิ่น ซือ。ปั๋ว เชีย ลา เยีย。。那囉謹墀。皤伽囉耶。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 แปลว่ารักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร เถระเพ่งโดยอิสระเป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นิลากันเตปันตะลายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “นีลกัณฐะ-วยา ฆรายะ สวาหา”

74. 。มอ พอ ลี เซิง เจี๋ย ลา เยีย 。。摩婆利 勝 羯 囉 夜。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 แปลว่าผู้กล้าสภาวะเดิมคุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้อยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “โมโผลิศังกะรายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “มหา พลิ-ศังกะรายะ สวาหา”

77. 。นำ มอ ออ ลี่ เยีย 南無 阿 利 耶 。แปลว่าขอนอบน้อมอริยะบุคคล ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “นะโมอาระยะ” หรือแบบที่ 2 “นะมะ อารยะ”

78. 。 ผอ หลอ เจี๋ย ตี 婆 羅 吉 帝。แปลว่าความสว่าง ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “อวโลกิเต” หรือแบบที่ 2 “วะโลกิเต”

79. 。ซัว ปั๋ว ลา เยีย 爍 皤 囉 夜 。ซัว ผอ เฮอ 娑婆訶 แปลว่าเสียงอิสระของโลก ถอดเสียงอ่านเป็นคำสันสกฤตได้เป็นแบบที่ 1 “สะวะรายะ สวาหา” หรือแบบที่ 2 “ศะวะรายะ สวาหา”

หมายเหตุ เนื่องด้วยช่วงนี้ข้าพเจ้าติดธุระ หากมีข้อมูลอื่นๆสอบถามรบกวนโพสเอาไว้ก่อน แล้ววันที่ 15 ธันวาคม 2554 ข้าพเจ้าจะเข้ามาเช็คข้อมูลในเว็บอีกครั้ง ขอบพระคุณในความกรุณาของทุกท่านมากครับหรือจะติดต่อมาที่ akabab@hotmail.com จะตอบกลับไปในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 เหมือนกันครับ

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2011, 00:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


มหากรุณาธารณี

นะโมรัตนะตรายายะ
นะโมอาระยะ
อะวะโลกิเตศะวะรายะ
โพธิสัตตะวายะ
มหาสัตตะวายะ
มหาการุณิกายะ
โอม
สะวะละวะติ
ศุททะนะตัสยะ
นมัสกฤตวานิมางอาระยะ
อะวะโลกิเตศะวะระลันตะภา
นะโมนิลากันถะ
ศรีมหาปะฏะศะมิ
สะระวาทวะตะศุภัม
อะสิยูม
สะระวะสัตตะวะ
นะโมปะวะสัตตะวะ
นะโมภะคะ
มะภะเตตุ
ตัทยะถา
โอมอะวะโลกา
โลกาเต
กาละติ
อีศีลี
มหาโพธิสัตตะวะ
สาโพสาโพ
มะรามะรา
มะศิมะศิ
ฤธะยุ
คุรุคุรุฆามัม
ธูรูธูรูภาษียะติ
มหาภาษียะติ
ธาระธาระ
ถิรินี
ศะวะรายะ
ชะละชะละ
มามะภามะละ
มุธิริ
เอหิเอหิ
ศินะศินะ
อาละลินภะละศรี
ภาษาภาษิน
การะศะยะ
หูลุหูลุมะระ
หุลุหุลุศรี
สะระสะระ
สีรีสีรี
สุรุสุรุ
พุทธายะพุทธายะ
โพธายะโพธายะ
ไมตรีเย
นิละกันสะตะ
ตริสะระณะ
ภะยะมะนะ
สะวาหา
สีตายะ
สะวาหา
มหาสีตายะ
สะวาหา
สีตายะเย
ศะวะรายะ
สะวาหา
นีลากันถิ
สะวาหา
มะละนะละ
สะวาหา
ศรีสิงหะมุขายะ
สะวาหา
สะระวะมหาอัสตายะ
สะวาหา
จักระอัสตายะ
สะวาหา
ปัทมะเกสายะ
สะวาหา
นีละกันเตปันตะลายะ
สะวาหา
โมโผลิศังกะรายะ
สะวาหา
นะโมรัตนะตรายายะ
นะโมอาระยะ
อะวะโลกิเต
สะวะรายะ
สะวาหา
โอมสิทธะยันตุ
มันตรา
ปะทายะ
สะวาหา.

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร