วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 16:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิ
ปิดบังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจหรือปฏิจจสมุทบาท๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะ
ปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรี
มีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็น
ของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของพวก
ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด. ภิกษุ
ทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุ
ทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะ
ปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์
ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่าง
มั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อย
คำที่ตรัสอย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร: รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐฺอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำ
ก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่างๆ
เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้? ("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถามและภิกษุเหล่านั้นทูลตอบ อย่างเดียวกัน
ทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว
รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว; เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัด
แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่
ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้? ("ข้อนั้นหามิได้
พระเจ้าข้า!")

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะ
ทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้๑ เป็นสิ่งที่อริยะสาวกละขาดแล้ว; ในกาลนั้น ก็เป็น
อันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์, แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, แม้ในความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์, แม้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์; ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า,
ดังนี้ แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 16:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


นัตถิกทิฏฐิปิดบังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจหรือปฏิจจสมุปบาท๒


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะ
ปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว, ไม่มี
ยัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว, ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว, ไม่มีผลวิบาก
แห่งกรรม อันบุคคลกระทำ ดีแล้ว กระทำ ชั่วแล้ว, ไม่มีโลกนี้, ไม่มีโลกอื่น,
ไม่มีมารดา, ไม่มีบิดา, ไม่มีสัตว์ทั้งหลายอันเป็นโอปปาติกะ, ไม่มีสรณะและ
พราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำ ให้แจ้งซึ่งโลกนี้ และ
โลกอื่น ด้วยปัญ ญ าอันยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก; คนเรานี้ เป็นแต่
การประชุมของมหาภูตทั้งสี่, เมื่อใดทำ กาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไปสู่หมู่
แห่งดิน น้ำ ย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้า
ไปสู่หมู่แห่งลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมหายไปในอากาศ; บุรุษทั้งหลายมีเตียง
วางศพเป็นที่ครบห้า จะพาเขาผู้ตายแล้วไป; ร่องรอยทั้งหลาย ปรากฏอยู่
เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียงกระดูกทั้งหลาย มีสีเพียงดังสีแห่งนกพิลาป, การ
บูชาเซ่นสรวง มีขี้เถ้าเป็นที่สุด, สิ่งที่เรียกว่าทานนั้น เป็นบทบัญญัติของคน
เขลา, คำของพวกที่กล่าวว่า อะไร ๆ มีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย),
เป็นคำ เท็จ เป็นคำ เพ้อเจ้อ; ทั้งคนพาลและบัณ ฑิต ครั้นกายแตกทำ ลาย
แล้ว ย่อมขาดสูญพินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่การตาย" ดังนี้?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลายของพวก
ข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด. ภิกษุ
ทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้" ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อวามต่อไปนี้:-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อรูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะ
ปักใจเข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาคแล้ว, ไม่มียัญญะ
อันบุคคลประกอบแล้ว, ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว, ไม่มีผลวิบากแห่งกรรม อันบุคคล
กระทำดีกระทำชั่ว, ไม่มีโลกนี้, ไม่มีโลกอื่น, ไม่มีมารดา, ไม่มีบิดา, ไม่มีสัตว์ทั้งหลาย
อันเป็นโอปปาติกะ, ไม่มีสรณะและพราหมณ์ผู้ไปแล้วถูกต้อง ผู้ปฏิบัติแล้วถูกต้อง ผู้ทำ
ให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศอยู่ในโลก; คนเรานี้
เป็นแต่การประชุมของมหาภูตทั้งสี่, เมื่อใดทำกาละ เมื่อนั้นดินย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งดิน
น้ำย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งน้ำ ไฟย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งไฟ ลมย่อมเข้าไปสู่หมู่แห่งลม อินทรีย์
ทั้งหลาย ย่อมหายไปในอากาศ; บุรุษทั้งหลาย มีเตียงวางศพเป็นที่ครบห้า จะพาเขา
ผู้ตายแล้วไป; ร่องรอยทั้งหลาย ปรากฏอยู่เพียงแค่ป่าช้า เป็นเพียงกระดูกทั้งหลาย มีสี
เพียงดังสีแห่งนกพิลาป, การบูชาเซ่นสรวง มีขี้เถ้าเป็นที่สุด, สิ่งที่เรียกว่าทานนั้นเป็น
บทบัญญัติของคนเขลา, คำของพวกที่กล่าวว่า อะไร ๆ มีอยู่นั้น เป็นคำเปล่า (จากความ
หมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ; ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว
ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่ตายแล้ว" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร: รูปเที่ยง
หรือไม่เที่ยง? ("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่
ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาค
แล้ว, ไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว, ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว, ไม่มีผลวิบากแห่ง
กรรมอันบุคคลกระทำดีแล้ว, กระทำชั่วแล้ว, ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำของพวกที่กล่าวว่า
อะไร ๆ มีอยู่ นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ; ทั้งคนพาลและ
บัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญ พินาศไป มิได้มีอยู่ ภายหลังแต่ตาย"
ดังนี้. ("ข้อนั้น หามิได้พระเจ้าข้า!")
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีคำกล่าว
อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับคำกล่าวในกรณีแห่งรูปนี้
ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้ง
แล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้วครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว; เหล่านี้ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
("ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า!") ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? ("เป็น
ทุกข์ พระเจ้าข้า!") แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้า
ไม่ยึดมั่นถือมั่นซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ไม่มีทานอันบุคคลบริจาค
แล้ว, ไม่มียัญญะอันบุคคลประกอบแล้ว, ไม่มีโหตระอันบุคคลบูชาแล้ว, ไม่มีผลวิบาก
แห่งกรรมอันบุคคลกระทำ ดีแล้ว กระทำ ชั่วแล้ว, ...ฯลฯ...ฯลฯ... คำ ของพวกที่
กล่าวว่า อะไร ๆ มีอยู่นั้นเป็นคำเปล่า (จากความหมาย) เป็นคำเท็จ เป็นคำเพ้อเจ้อ;
ทั้งคนพาลและบัณฑิต ครั้นกายแตกทำลายแล้ว ย่อมขาดสูญพินาศไป มิได้มีอยู่ภายหลัง
แต่การตาย" ดังนี้. ("ข้อนั้น หามิได้ พระเจ้าข้า!")

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะ
ทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อริยะสาวกละขาดแล้ว; ในกาลนั้น ก็เป็น
อันว่า ความสงสัยแม้ในทุกข์, แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, แม้ในความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์, แม้ในข้อปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์, ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน
มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า,
ดังนี้ แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฏกหน่ะจริงแต่เอรากอนไม่จริง Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b30: :b30: :b30:

สงสัยจะทำตัวไม่ถูกใจท่าน อีกแล้ว

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาให้ดีในใจความนึกคิดเจ้าอย่าลามไปถึงครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b16:

อิอิ

:b16: :b16: :b16:

55555

:b11: :b11: :b11:

เอกอนคิดอะไรอยู่ เอกอนรู้

ว่าแต่ หลับอยู่รู้ตัวหรือไม่ คิดอะไรอยู่


:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ตัวไม่ตลอดหรอกแต่ก็มีความระลึกได้ว่าเรายังไม่บรรลุ.....ก้ดีกว่าหลายๆคนที่เข้าใจว่าตนได้ฌาณแล้วทั้งที่สมาธิแค่ใกล้ระดับปฐมฌาณยังไม่เคยสัมผัส :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

อ้อ ท่านก็เลยมาเตือนด้วยความเป็นห่วง...

:b1: :b1: :b1:

แม้คนที่ถูกเตือนเขาจะห่วงตัวตน หรือไม่ก็ตาม

:b1: :b1: :b1:

ซึ่งท่านควรจะ พิจารณาอาการที่ปรากฎ นะ
ปัจจัยต่าง ๆ มันก็เป็นไปตาม คำสอนที่เอกอนเอามาโพสต์นั่นล่ะ

:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


:b29:
คำพระหน่ะจริงแต่เอกอนไม่จริง :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ด้วย...ทิฐิ

:b1: :b1: :b1:

:b8: :b8: :b8:

ตามสบายนะ

:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หาอะไรมาเป็นบริกรรมนิมิตไว้นะ
แล้วก็ลองบริกรรม จิเจรุนิๆๆๆๆๆ..... onion ให้จิตตั้งมั่นในภายใน onion ซะบ้างนะ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 23:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่บ้าน...ใคร่ครวญวงปฏิจจสมุปบาท...

ทำช้า ๆ ...

ทำจนเป็นสมาธิ...

จิตเข้าไปรู้สึก..ในแต่ละขั้น..แต่ละขั้น...

จิตรู้สึกได้เป็นปัจจัตตัง...

1 เดือน...ก็ยังไปไม่ถึง..นามรูปเลย :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

ปัจจยาการแห่งเวทนา โดยละเอียด๑

(หลังจากที่ได้ทรงประทับอยู่ด้วยการหลีกเร้น เป็นเวลากึ่งเดือน เสด็จออกจากที่หลีกเร้นนั้น
แล้ว ได้ตรัสว่า:-)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศ๒แห่งวิหารธรรม อย่าง
เดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้ว เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรม
อย่างนี้เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:-
"เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -สัมมาทิฏฐิบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -สัมมาสังกัปปะบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -สัมมาวาจาบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -สัมมากัมมันตะบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -สัมมาอาชีวะบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -สัมมาวายามะบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; - สัมมาสติบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -สัมมาสมาธิบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบ
รำงับบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญาที่เข้าไปสงบ รำงับ
แล้วบ้าง;
เวทนา ย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุ
ถึงบ้าง" ดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราได้อยู่แล้ว โดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียว
กันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ , เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้ เรา
ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า :-

"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาวาจาบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวาจาบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาวาจาบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมากัมมันตะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาอาชีวะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาวายามะบ้าง;
"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวายามะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาวายามะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาสติบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสติบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาสติบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งมิจฉาสมาธิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัมมาสมาธิบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งฉันทะบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งวิตกบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง; -ความเข้าไปสงบรำงับ
แห่งสัญญาบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญาที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับ
บ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตกและสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับ
แล้วบ้าง;
เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึง
บ้าง" ดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 21:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดแห่งโลก คือการเกิดแห่งปฏิจจสมุปบาท๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งโลก แก่พวกเธอ
ทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจัก
กล่าวบัดนี้.
ครั้นภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ถ้อยคำเหล่านี้ว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ความก่อขึ้นแห่งโลก เป็นอย่างไรเล่า?

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยตาด้วย รูปทั้งหลายด้วย จึงเกิด
จักขุวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ตา+รูป+จักขุวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี
ตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ
ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วย : นี้คือ ความก่อเกิดแห่งโลก.

(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยหูด้วย เสียงทั้งหลายด้วย จึงเกิด
โสตะวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (โสตะ+เสียง+โสตะวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...

(๓)ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยจมูกด้วย กลิ่นทั้งหลายด้วย, จึงเกิด
ฆานวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ;...ฯลฯ...

(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสทั้งหลายด้วย, จึงเกิด
ชิวหาวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ)
นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...

(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยกายด้วย โผฏฐัพพะทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดกายวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (กาย+โผฏฐัพพะ+
กายวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; ...ฯลฯ...

(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอาศัยใจด้วย, ธัมมารมณ์ทั้งหลายด้วย,
จึงเกิดมโนวิญญาณ; การประจวบพร้อมแห่งธรรม ๓ ประการ (ใจ+ธัมมารมณ์+
มโนวิญญาณ) นั่นคือผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็น
ปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็น
ปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : นี้คือ ความก่อเกิดขึ้น
แห่งโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้แล คือความก่อขึ้นแห่งโลก.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 72 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร