วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 01:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




post-23528-1245065149_thumb.jpg
post-23528-1245065149_thumb.jpg [ 35.46 KiB | เปิดดู 7017 ครั้ง ]
ประัวัติท่าน หมอชีวก โกมารภัจจ์ อีกรูปแบบครับจากหนังสือ อายุรเวทศึกษา โดยขุนนิทเทศสุขกิจ



เื่มื่อยังเด็ก อยู่ใีความอุปการะ เลี้ยงดูของ เจ้าอภัย ราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ เมื่อโตขึ้นสมควร จะศึกษาวิชาความรู้ ในชั้นสูงต่อไป เจ้าอภัย จึงให้ไปเรียนวิชาที่ ตักษิลา ท่านชีวก เลือกเรียนวิชาแพทย์ อยู่กับอาจารย์ ท่่าน หนึ่ง เรียนอยู่ 7 ปี จึงสำเร็จ

วิธีที่อาจารย์ จะสอบความรู้ว่า ศิษย์ คนใด จะออกเป็นหมอ ได้หรือยัง มีกลวิธีการสอบหลายอย่าง แล้วแต่อาจารย์ จะ เห็นควรสอบอย่างไร แก่ศิษย์คนใด เฉพาะ ท่านชีวก อาจารย์ สอบโดยสั่งว่า " ชีวก เธอจงเอาเสียมเล่มนี้ ออกไปตรวจดูบรรดา สมุนไพร รอบกุฎี นี้ โดยรัศมี 1 โยชน์ ให้ตลอด ถ้าพบต้นไม้อะไรที่ไม่เป็นยา จงเอามาให้ดู " ท่านชีวกถือเสียมเข้าป่า ตรวจ ดูบรรดากลิลไม้ ตลอดหมด ในรัศมี 1 โยชนื รอบกุฎีี ไม่พบต้นไม้อะไร สักอย่าง ที่ไม่เป็นยา พยายามแล้ว พยายามแล้ว พยา ยามอีก ที่จะให้ใด้ต้นไม้อะไรสักอย่าง เพื่อจะได้เอามาบอกอาจารย์ ว่า ไม่ใช่ยา แต่ก็หาไม่ได้ ในที่สุด ต้องมือเปล่ากับมา บอกอาจารย์ ว่า " ได้ตรวจดูกบิลไม้ หมดทุกอย่าง ในป่า เห็นเป็นยาทั้งนั้น อ้ายที่ไม่เป็นยา หาไม่ได้เลย "

อาจารย์ได้ทราบดังนั้น ก็พอใจ เป็นที่ประจักษ์ว่า ท่านชีวก สำเร็จวิชาแพทย์ รู้กบิลไม้ในป่า อย่างเจนจบ ว่าเป็นยา ทุกอย่าง จึงประสิทธิประสาท ให้เป็นผู้สำเร็จในวิชา และเป็นหมอได้ อาจารย์ให้เงินเป็นค่าเดินทางเข้าเมือง และแนะให้ หมอชีวกไปหากินที่เมือง สาเกต นครหลวง แห่ง แคว้น อโยธยา ที่อาจารย์ แนะให้ไปเมือง สาเกต ก็เพราะว่า ที่ เมืองนั้น มี หมอมีชื่อเสียงมาก อาจารย์รู้ภูมิของหมอชีวก ตลอดเวลาที่ให้การศึกษา ว่าหมอชีวก เป็นคนฉลาดมาก ภูมิความรู้ดี ความ จำดี ทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัยใจคอก็ดี ถ้าให้ไปเมืองสาเกต อย่างไรเสีย หมอชีวกต้องเด่นแน่ๆ และเป็นความประสงค์ ของ อาจารย์ ที่จะ ให้หมอชีวก ไปแสดงฝีไม้ลายมือ อวดบรรดาคณาจารย์ และคนทั้งหลาย ให้เห็นภูมิควารู้ ความสามารถ ของ อาจารย์ผู้ให้การอบรมศึกษา ด้วย เพราะศิษย์ ดี ย่อมเป็นศรีแก่ครู หมอชีวก รับพร และลาอาจารย์ แล้วก็ไปเมือง สาเกต

ธรรมดา คนที่เป็นหมอ เมื่อทำการรักษาพยาบาล คนเจ็บไข้ ก็ย่อมจะรักษาคนไข้หาย ไม่มาก ก็น้อยด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเป็นการปกติ ไม่ค่อยมีใคร เล่าลือ อื้อฉาวประการใด แต่หมอชีวก เมื่อไปเป็นหมอ ที่เมืองสาเกต ได้ทำความชื่นชม ยินดี และเป็นทีพึ่ง ของราษฎรเป็นอันมาก ผิดกับหมออื่นที่เคยมี คือได้ ช่วยชีวิตของหญิงคลอดลูก และเด็กๆ ให้รอดพ้นจากความ ตายได้มาก เพราะแต่ก่อน ไม่เคยมีหมอเก่ง เช่นนี้ จนชาวบ้าน ชาวเมือง ให้ฉายา หรือ อภิไธย ว่า " โกมารภัจจ์ " แปลว่า
" หมอผู้ชำนาญโรคเด็ก " และเรียกกันว่า หมอชีวก โกมารภัจจ์ แต่นั้นมา หมอชีวก มีความรู้ ความสามารถ ไม่เฉพาะ แต่เรื่องโรคเด็ก และการเอาลูกออก หรือ กุมารผลิต เท่านั้น แต่มีความรู้ ความสามารถ ในโรคทางยา และทางผ่าตัด ทั่วไป ด้วย รักษาคนไข้ รายสำคัญ ๆ เป็นที่เล่าลือมาก ดังเรื่้องต่อไปนี้

เมียเศรษฐีคนหนึ่ง ที่เมืองสาเกต เป็นโรคมีอาการปวดหัวมานาน ตั้ง 7 ปี เคยให้หมอมีชื่อเสียงรักษา เสียเงินเสียทอง ไปมาก ไม่มีใครรักษาหาย และจนไม่มีใครรับ รักษา หมอชีวกรับรักษา แต่โดยที่หมอ ชีวก ยังเป็นหมอหนุ่ม และเป็นหมอ มือใหม่ คนไข้เอาสัญญาว่า ุถ้ารักษาไม่หาย จะไม่สมนาคุณ เพราะเข็ด เสียเงินทองไปมาก ก็รักษาไม่หาย หมอชีวกตกลง ในการรักษา หมอชีวก เอาเนยเหลว 1 ประสาร ( 1 ฟายมือ ) ต้มเข้ากับยาต่างๆ เสร็จแล้ว เอายากรอกเข้าทางจมูกคนไข้ ปรากฎว่า กรอกครั้งเดียวเท่านั้น เมียเศรษฐีหายโรคปวดหัว เศรษฐีให้รางวัล หมอชีวก เป็นเงิน 16,000 กหาปณะ ( เหรียญ เงินโบราณอินเดีย ) และแถมให้รถม้าคันหนึ่ง พร้อมด้วยม้าเทียม และคนรับไช้ เสร็จด้วย เงินจำนวนนี้ หมอชีวก จึงใช้เป็น ค่าเดินทาง ไปเมืองราช คฤห์ อันเป็นเมืองหลวง ของแคว้นมคธ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ และเป็นบ้าน เดิมของหมอชีวก และด้วยเงินจำนวนนี้ หมอชีวก เอาไปใช้หนี้ ให้แก่เจ้าอภัย ซึ่งเีคยมีอุปการะคุณ ให้ทุนไปเ่ล่าเรียน วิชา แพทย์ ที่ตักษิลา อีกด้วย จำนวนเงินที่เศรษฐีให้เป็นรางวัล แก่หมอชีวกนั้น เป็นพยานอันแสดงอย่างหนึ่่งว่า เศรษฐีโบราณ เขา สมนาคุณหมอ โดยหมอมิได้เรียกร้องเลย เป็นมูลค่าสูงมาก

คนไข้รายสำคัญ ต่อมา คือ พระเจ้าพิมพิสารเอง พระองค์ประชวร เป็นฝีคัณฑสูตร์ ( คือฝีใดๆ ที่เกิดตามริมของทวาร หนัก ) ฝีแตก แล้วกลายเป็นแผลลำราง เป็นเรื้อรังมานาน หมกชีวก รับรักษา หมอใช้น้ำมันชนิดหนึ่งใส่ ในไม่ช้าแผลรำราง ก็หายเป็นปกติ พระเจ้าพิมพิสาร โปรดแต่งตั้ง ให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ และนำตัว เข้าเฝ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอชีวกได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระบรมศาสดา และคณะสงฆ์ แต่นั้นมา ตามพุูทธประวัติ แสดงหลายตอนว่า พระพุทธเจ้า กับหมอชีวก โกมารภัจจ์ ใก้ล้ชิดสนิทกันมาก การที่พระบรมศาสดา ทรงยกย่อง รับเอาหมอ ชีวก เป็นแพทย์ประจำพุทธองค์ นั้น แสดงว่า หมอชีวก เป็นแพทย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มากทีเดียว

คนไข้รายต่อมา เป็นพ่อค้า ที่เมือง ราชคฤห์ ป่วยเป็นโรคปวดหัว มานานหลายปี หมอชีวก รักษาด้วยวิธีผ่าตัด คือ มัดตัวพ่อค้าเข้ากับที่นอน แล้วผ่าหนังศีรษะ แหวกออก ดึงหนอนออกมาได้ 2 ตัว แล้วเย็บแผล ใส่น้ำมัน หายเป็นปกติ หนอน ที่หมอชีวก เอาออกได้นั้น ไม่ทราบว่าเป็นหนอนอะไร อาจเป็นเจ้าตัวจิ๊ด ที่เรารู้กันเดี๋ยวนี้กระมัง

รายต่อมาเป็นลูกเศรษฐี ในกรุงพาราณสี เป็นเด็ก ชองเล่นหกคะเมน ตีลังกา ควงตัดลำไส้เกิดบิดกันขึ้น กินอาหารไม่ ย่อย ปวดท้อง จนหน้าท้องเขียว ต้องขอร้องให้หมอ ชีวก ไปรักษา หมอไปทำการผ่าตัด ควักไส้ที่บิดกันนั้น แสดงให้เมีย เศรษฐี ดู แล้ว จัดลำไส้เข้าที่เดิม เย็บแผล แล้วใส่น้ำมันหาย หมดชีวก ได้รับรางวัล ตามแบบที่เคยได้จาก เศรษฐีอีก 16,000 กหาปณะ

คนไข้ที่หมอชีวก รักษาลำบากมาก คือ พระเจ้าปโชติแห่งกรุงอุชญาณี ประชวรเป็น กาฬสิงคลี หรือดีซ่าน ได้ทรงขอร้อง ไปยังพระเจ้าพิมพิสาร ขอหมอชีวก ไปรักษา หมอชีวก ออกจากกรุงราชคฤห์ ไปยังกรุง อุชญาณ๊ เมื่อหมอตรวจดูอาการ พระเจ้า ปโชติ แล้ว ก็รู้สึก ว่า พระเจ้า ปโชติ เป็นผู้ยากแก่การรักษามาก ยากยิ่งกว่ารักษาโรค เพราะพระเจ้า ปโชติ รับสั่งว่า จะใช้ยาอะไรรักษา ก็ได้ทั้งนั้น ขออย่างเดียว อย่าใช้ ยาที่เข้าเนยเหลว เท่านั้น ถ้าขืนให้กิน เนยเหลว เป็นเล่นงานกัน เผอิญยา ที่หมอ ชีวก จะใช้รักษาโรคชนิดนั้น ก็เป็นยา ต้องเข้าเนยเหลว ครั้นจะไม่รับรักษา ก็จะกลายเป็นหมอใจน้อย ไม่มีปัญญา ชาว เมือง ก็จะดูุถูกว่า หมดภูมิ ครั้นจะรับรักษา ถ้าพระเจ้า ปโชติ เรอ หรือ อ้วก ออกมา ได้กลิ่นเนยเข้า ตนก็จะได้รรับโทษ ถ้าจะ ไม่ใส่เนยเหลว ก็ผิดหลักวิชา และจะไม่ได้ผลดี ลังเลใจอยู่ แต่หมอชีวก เป็นคนไม่สิ้นแต้ม ในที่สุดรับรักษา และตกลงใน ต้องให้พระเจ้าปโชติ กินเนยเหลว ให้ได้ เป็นไรเป็นกัน จึงจัดแจงผสมยา เ้ข้าด้วยเนยเหลว แต่ใช้ยาอื่นๆ ผสมดับกลิ่น ดับรส และสีของเนย ให้กินไม่รู้สึก เมื่อให้ พระเจ้าปโชติ เสวยยา แล้ว หมอ ชีวก ก็ออกอุบาย รีบทูลขอช้างเร็ว 1 เชือก เพื่อไปเก็บยา ในป่าอีก เมื่อพระเจ้าปโชติ สั่งให้แล้ว หมอชีวก ก็ขึ้นช้าง หนีกลับกรุงราชคฤห์ ไม่รอให้พระเจ้าปโชติ เรอ หรืออ้วก ได้กลิ่นเนย ต่อมาไม่ช้า พระเจ้าปโชติอ้วก ได้กลิ่น และรส เนย ก็ทรงพิโรธ หาว่า หมอ ชีวก หลอกให้กินเนยเหลว ขัดพระโองการ จึงสั่ง ให้ทหารเร็ว ออกตามจับ ตัวหมอชีวกให้ได้ ทหารเร็วไปพบ หมอชีวก กำลังพักผ่อนกินอาหารอยุ่ในป่า จึงตรงเข้าไปจะจับตัว หมอจึงพูดว่า " ท่านมาจับตัวเราหรือ ได้สิ ไม่เป็นไร รอให้เรากินอาหารเสียก่อน แล้วเราจะให้ท่านจับตัวไป แต่ แนะ ท่านมา กำลังเหนื่อย จงนั่งพักผ่อนและดื่มน้ำ ให้เป็นที่สบายก่อน " ว่าพลางหมอก็ยื่นขันน้ำ ซึ่งหมอเอายาถ่ายอย่างแรง ลอบเจือลง ในขณะนั้น ส่งให้ ทหารรับขันน้ำไปดื่มด้วย ความกระหาย ในไม่ช้า หมอชีวก ก็เสร็จจากการกินอาหาร และทันใดนั้น ทหาร เร็ว ก็มีอาการอุจจาระร่วง อย่างแรง ไม่มีกำลังพอ ที่จะจับตัว หมอได้ หมอชีวกก็ รีบขึ้นช้าง บ่ายหน้าไปกรุงราชคฤห์ ฝ่ายพระเจ้า ปโชิต ปรากฎว่า หายจาก โรคดีซ่๋านอย่างเด็ดขาด รู้สึกบุญคุณของหมอ จึงให้จัดผ้า สีเวยก ส่งไปประทานแ่ก่หมอ ชีวกสำรับ หนึ่ง ผ้้่าสีเวยก นั้น พระพุทธโฆษาจารย์ ( อินเดีย) สันนิษฐานว่า อาจเป็นผ้าที่ชาว อุตตรกุรุ ใช้ห่อศพไปป่าช้า หรือเป็นผ้าไหม ที่สตรี ชาว สิวิ ทอด้วยฝีมืออย่างดี

โดยปกติหมอชีวก โกมารภัจจ์ คอยดูแลเอาใจใส่ ถวายพระอภิบาล แต่องค์สมเด็จ พระบรมศาสดา และภิกษุสงฆ์ ทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ มีเรื่องว่า คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงรู้สึก ไม่ค่อยสบาย หมอชีวกผสมน้ำมันถวาย ให้พระอานนท์ ทาถู นวดพระพุทธองค์ อยู่ หลายเพลา ไม่หาย หมอชีวกเห็นว่า จำเป็นต้อง ถวายพระโอสถถ่าย การใช้ยาถ่าย หรือยาอะไรๆ แก่ คนไข้นั้น หมอทั่วๆไป ก็โดยมาก คงให้ยา อย่างที่ให้คนทั่วๆ ไป แต่หมอชีวก มีความรอบรู้เท่า ถึงการในสภาพ ของบุคคล แต่ละคนที่จะรักษา กับรอบรู้ ในเรื่องยา อย่างพิสดาร การให้ยาถ่าย แก่พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นพระสุขุมาลชาติ ต้องระมัดระวัง และต้องเป็นยา อย่างเบาที่สุด หมอชีวกจึงเอาดอกบัว มาขยี้ ประมาณ 3 กำมือ ผสมเข้ากับยาต่างๆ ถวายให้พระพุทธเจ้า ทรงดม ครั้งละ 1 กำมือ พระพุทธองค์ ทรงดม 1 ครั้ง ก็ไปพระบังคมหนักอย่างสบาย 10 ครั้ง โดยไม่รู้สึกเสียพระกำลังเลย แม่แต่น้อย เมื่อทรงถ่ายแล้ว หมอชีวก ก็สรง พระพุทธองค์ ด้วยน้ำอุ่น และงดถวายจังหันชั่วคราว ไม่ช้า พระบรมศาสดา ก็ทรง พระสำราญ เป็นปกติ การให้ยาถ่าย แบบที่หมอชีวก ถวายพระพุทธเจ้านั้น ถ้าเราไม่คิดให้ลึกซึ้ง อาจเห็นไปว่า หมอชีวกทำ แผลงอวดดี หรืออวดวิเศษ กะสมบัติยาถ่าย ให้ยาถ่ายอะไรๆ ก็ได้ ถ้าคิดอย่างนั้น ก็เป็นความคิดที่ผิด เพราะคนเรา มีธาตุ ไม่เหมือนกัน บางคนธาตุเบา บางคนธาตุหนัก ยาถ่ายที่พระพุทธองค์ทรงดมนั้น ถ้าให้คนอย่างเราๆ ดม คิดว่าดมจนตายก็คง ไม่ไป นอกจากจะไปเอง คนธาตุหนักหรือพวก สกุลชาติ กินดีเกลือหนัก 1 บาท บางคนไม่สะเทือนท้อง คนธาตุเบา เพียงแค่ น้ำลูกสมอต้ม ก็เดินปราด การวางยา แ้ม้ยาถ่าย แก่ผู้บริสุทธิ์ยิ่ง จึงเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวกับความรอบรู้สูงมาก และหมอ ชีวก คน เดียวที่รู้ถึง เพราะเป็นแพทย์ประจำพระพุทธองศ์

ภิกษุสงฆ์ เจ็บไข้ มักเกี่ยวกับท้องเสีย เพราะอาหารที่ชาวบ้าน พากันถวาย ไม่ค่อยระมัดระวัง ให้สะอาด และไม่พิจา รณา ว่าอะไรควร ไม่ควร เหมือนดั่งครั้งหนึ่ง พวกสุภาพสตรี ชาวเมืองเวสาลี หรือไพสาลี พากันนิยมถวายของหวานแก่ พระภิกษุ จนเอือม ทำเอาพระ เจ็บป่วย กันมาก แต่เคราะห์ดี หมอชีวก ตามไปแก้ไขทันท่วงที

หมอโบราณที่มีชื่อเสียงหลายคน แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์ พวกหมอโบราณนับถือ มาก และในกระบวนความรู้เรื่องยา ไม่มีตัวจับ หมอชีวกคนนี้ เขาเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า " เภสัชราชา " คือ พระยายา หรือราชาแห่งยา ขึ้นชื่อว่า กบิลไม้แล้ว ที่ หมอชีวก จะไม่รู้จัก ใช้เป็นยาไม่มี หมอชีวก เป็นหมอเก่งทั้งทางยา และทางผ่าตัด มีชื่อเสียง ไม่เฉพาะในแว่นแคว้น มหาภารตะ และบูรพทิศ ยังมีชื่อเสียง ไป เหยียบถึงประเทศอิยิปต์ คืือ ในครั้งนั้น พระเจ้าปโตเลมี กษัตริย์ แห่งประเทศ อิยิปต์ ทรงประชวร ต้องขอหมอ ชีวก จากพระเจ้าพิมพิสาร ไปรักษา จึงหาย ฮิปปอคราติส หมอฝรั่งโบราณชาติกรีก ซึ่งฝรั้งเดี๋ยวนี้ ยก ย่องหนักหนา ว่าเป็น บิดาแห่งการแพทย์ของเขา ก็เป็นรุ่นราว คราวเดียว และในสมัยเดียวกันกับ หมอชีวก ฮิปปอคราติส จะ กล่าวอะไรไว้ในวิชาแพทย์ หมอฝรั่งมักพูดถึงบ่อยๆ อย่างไม่เบื่อ แต่ถ้าจะเอาคุณวุฒิ ความรู้ ปรีชาสามารถ ตลอดจนฝีไม้ ลายมือกันแล้ว ฮิปปอคราติส ก็ดี หมอฝรั่งคนอื่นในสมัยนั้น ก็ดี และแถมให้อีก 1,000 ปี ต่อมา มือก็ไม่ถึงข้างซ้ายของหมอ
ชีวก โกมารภัจจ์ หมอชีวก ได้พูดอะไรไว้บ้าง ในวิชาแพทย์ เรามีความเสียใจ ที่ไม่มีหลักฐาน บริบูรณ์ เพราะประเทศอินเดีย ภายหลัง ที่พระบรมศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับขันธ์ เข้าปรินิพพาน แล้ว พระพุทธศาสนา ยุกาล ล่วง มาแล้วถึง พ.ศ. 1743 พวก มหมัด ( อิสลาม หรือมุสลิม ) เข้าบุกรุก และยึดครองประเทศอินเดีย ประเทศอินเดีย ก่อนที่มหมัด บุกเข้าไปนั้น เป็นที่รู้กันว่า มีความเจริญมาก ในศิลปวิทยา และวิชาการแพทย์ วิชาเหล่านี้ เจริญอยู่ในมหาวิทยาลัย และในโรงพยาบาลอัน เป็นส่วนเกี่ยวข้อง อยู่กับ โบสถ์ วิหาร ของพระุพุทธศาสนา ที่เมือง ปาตลิบุตร ตักษิลา สารนาธ นาลันทะ วิกรมศิลา และ อุทนตปุระ เมื่อพวกมหมัด เข้าตีประเทศอินเดีย นั้น เมือง อุทนตปุระ และวิกรมศิลา ก็แตก ถึงซึ่งความพินาศ พวกมหมัด ฆ่าภิษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา เสียมาก ที่หนีได้ ก็ไปเมืองกบิลพัสดุ หนีลงทางอินเดียตอนใต้บ้าง หนีเข้าประเทศพม่าบ้าง สถานที่ โบสถ์วิหาร ทรัพย์สมบัติ ตำรับตำรา ถูกเผาทำลายมาก ถูกเก็บเอาไปบ้าง นับแต่นั้นมา ศิลปวิทยา และการแพทย์ ของอินเดีย ก็เสื่อมโทรมเป็นลำดับ และต่อมา อีกไม่กี่สัตวรรษ อินเดียก็เสีย แก่อังกฤษอีก อังกฤษ ขนเอาทรัพย์สมบัติ ของ อินเดียา ไปเสียอีกมาก ที่เมือง อุทนตปุระ และ วิกรมศิลา เสียแ่ก่มหมัดนั้น ก็แบบเดียวกับ ที่กรุงศรีอยุธยาของไทยเสียแก่ พม่า ทรัพย์สมบัติ ที่ถูกเผาผลาญ เสียหายไป รวมทั้งตำรับตำรา ต่างๆ เป็นอันมาก เป็นอันไม่มีวันได้กลับคืน

วิชาแพทย์ แผนโบราณ ในระบบอายุรเวท ของขาวอาเซียนี้ มุสลิม ได้เอาไป ประเทศอารเบีย ก่อนนานแล้ว และพระ เจ้ากาหลิบ รับสั่ง ให้แปล ออกเป็นภาษาอาหรับ เมื่อ พ.ศ. 1243 ประมาณ 1252 ปีมาแล้ว และที่แปลออกนั้น ก็ได้เป็น ต้นเค้า วิชาแพทย์ของฝรั่งในยุโรปด้วย วิชาแพทย์ของอาเซีย ในระบบอายุรเวท ยังไม่ถึงประเทศจีน อิหร่าน และกรุงโรม และใน ครั้งนั้น ทางประเทศ กัมพูชา ( เขมร ) ก็ได้วิชาแพทย์นี้ไป ปรากฎว่าได้จัดตั้ง อโรคยาศาลา ( สุขศาลา หรือโรงพยาบาล ) ขึ้นถึง 102 แห่ง ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางตะวันออก ก่อนฉันใด ศาสดาและ บรรดาวิชาความรู้ ทั้งหลาย ก็เกิดขึ้นทาง ตะวันออก ก่อนฉันนั้น แต่เวลานี้ความเจริญ กำลังรุ่งเรือง อยู่ทางตะวันตก ดูคล้ายกับ ความเจริญ คล้อยตามไปกับดวงตะวันกระนั้น

ความรู้ ความสามารถ ของหมอชีวก ที่กล่าวมาแล้ว แสดงว่า วิชาตรวจโรคของหมอโบราณ มีความแม่นยำมาก ถ้า ไม่แม่นจริง จะผ่าหัว ผ่าท้องคนโบราณไม่ได้ ทั้งแสดงความรู้ ความสามารถ ในการผ่าตัด ยาที่หมอชีวก ใช้ใส่แผล ต้อง เป็นยา อันตุภูตะ หรือภูตหาร( Antiseptic ) และเป็นยาอันวิษมะ หรือ วิษมหาร ( Antitoxic ) มิฉนั้นจะรักษาแผลให้หาย
ไม่ได้ ดีเช่นนั้น เครื่องมือผ่าตัด ของหมอโบราณชาวเอเซีย ในเอนไซโคลปีเดีย บริเตนนิกา ( Encycloedia Brittainica ) ฉะบับพิมพ์ครั้ง ที่ 9 ของ อังกฤษ กล่าวไว้ดังนี้

SURGICAL INSTRUMENT

Susrata describes more than one hundred surgical instruments, made of steel. They should have good handles and firm joints be well polished., and sharp enought to divide a hair : they should be perfectly clean, and kept in flannel in a wooden box. They included various shapes of scalpets. bistouries, lancets, scarifiers, saws, bone nippers, scissors, trocars and needles. They were also blunt hooks, loops, probes ( including a caustic holder ) , directors, sounds, scoops, and forceps ( for polypi etc) as well as catheters, syringes, a rectal speculum, and bougies. They were fourteen varieties of bandages. The favourite form of splint was made of thin slips of bamnoo bound together with string and cut to the lenght required. Wise says that he has frequently used this admirable splint, particularly for fractures of the thigh, humerus radius, and ulna, and it has been subsequently adopted in English army under the name of " patent rattan-cane splint "

แปลใจความว่าดังนี้

" ในคัมภีร์ กุสสรุต ชี้แจง เครื่องมือผ่าตัดไว้ มากกว่า 100 ชิ้น ทำด้วยเหล็กอย่างดี มี ด้านและข้อต่อแน่นหนา เกลี้ยง เกลา มีความคม สามารถผ่าเส้นผมได้ เครื่องมือเหล่านั้น สะอาด ห่อผ้าสักหลาด เก็บไว้ในหีบไม้ มีมีดผ่าตัด มีดผ่าฝี มีดผ่า ตัดสองคม มีดเฉือนผิวหนัง เลื่อยตัดกระดูก คีมจับกระดูก กรรไกร เครื่องมือเจาะอวัยวะ เข็มเย็บแผล ขอเกี่่ยวอวัยวะ ห่วง หมุดหยั่งแผล รางนำมีด เครื่องหยั่ง ช้อนขูดแผล และปากคีบ หรือคีม หลอดสวนปัสสาวะ เครื่องฉีด เครื่องเปิด ถ่างทวาร หนัก เครื่องหยั่งเครื่องถ่างทวาร มีผ้าพันธะ ชนิดต่างๆ 14 ชนิด มีเฝือกที่ทำด้วยซี่ไม้ไผ่อย่างน่าชม ไวส์ เคยทำใช้บ่อยๆ ในการเข้าเฝือก กระดูกหัก เช่น กระดูกโคนขา กระดูกโคนแขน กระดูกแขนนอก กระดูกแขนใน และ ต่อมา กองทัพบกของ อังกฤษ ก็ได้เอาแบบอย่างไปใช้ เรียกว่า" เพเท็นท แร็ทแทน-เคน สพลินท "



( จากหนังสือ อายุรเวทศึกษา โดยขุนนิทเทศสุขกิจ พิมพ์ ครั้งที่สอง พ.ศ. 2516 หน้า 48-54 )

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


แก้ไขล่าสุดโดย ไหว้พระปล่อยปลา เมื่อ 14 ก.ค. 2009, 02:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2009, 20:12
โพสต์: 791

แนวปฏิบัติ: พุทโธและสัมมาอรหัง
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ใต้ร่มโพธิญาณ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมอชีวกโกมารภัจจ์



- ก็สมัยนั้น ในพระนครราชคฤห์ มีกุมารีชื่อสาลวดีเป็นสตรีทรงโฉมสคราญตาน่าเสน่หา
ประกอบด้วยผิวพรรณเฉิดฉายยิ่ง จึงพวกคนมีทรัพย์ชาวพระนครราชคฤห์ ได้คัดเลือกกุมารีสาลวดี
เป็นหญิงงามเมือง ครั้นนางกุมารีสาลวดี ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก
ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัว
ไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์
จึงนางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใครๆ ทราบว่าเรา
มีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้
สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า นายประตูจ๋า โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอก
ให้เขาทราบว่าเป็นไข้นะ
คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า จะปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนั้น หลังจากนั้น
อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า แม่สาวใช้
จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ
ทาสีนั้นรับคำนางว่า ทำเช่นนั้นได้ เจ้าค่ะ ดังนี้ แล้ววางทารกนั้นลงบนกระด้งเก่าๆ
นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองหยากเยื่อ
ก็ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตร
เห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ ครั้นแล้วได้ถามมหาดเล็กว่า พนายนั่นอะไรฝูงการุมกันตอม
ม. ทารก พ่ะย่ะค่ะ
อ. ยังเป็นอยู่หรือ พนาย
ม. ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ
อ. พนาย ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้
คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ แล้วนำทารกนั้นไปวังเจ้าชายอภัย
มอบแก่นางนมว่า โปรดเลี้ยงไว้ด้วย อาศัยคำว่า ยังเป็นอยู่ เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก
ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขาจึงได้ตั้งนามสกุลว่า โกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก
ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า ใครเป็น
มารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ
เจ้าชายรับสั่งว่า พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า
เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้.
จึงชีวกโกมารภัจจ์มีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านี้แล คนที่ไม่มีศิลปะ จะเข้าพึ่ง
พระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไร เราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้.
- ก็โดยสมัยนั้นแล นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ตั้งสำนักอยู่ ณ เมืองตักกสิลา
จึงชีวกโกมารภัจจ์ ไม่ทูลลาเจ้าชายอภัย ลอบเดินทางไปเมืองตักกสิลา เดินรอนแรมไปโดยลำดับ
ถึงเมืองตักกสิลา แล้วเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้น ครั้นแล้วได้กราบเรียนคำนี้แก่นายแพทย์ว่า
ท่านอาจารย์ กระผมประสงค์จะศึกษาศิลปะ
นายแพทย์สั่งว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้น จึงศึกษาเถิด.
ครั้งนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชาที่เรียน
ได้แล้วก็ไม่ลืม ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า ตัวเราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว
เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม และเราเรียนมาได้ ๗ ปีแล้วยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไร
จักสำเร็จสักที จึงเข้าไปหานายแพทย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มาก
เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมาเป็นเวลา ๗ ปี
ก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ.
นายแพทย์ตอบว่า พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา
ระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา
ชีวกโกมารภัจจ์รับคำนายแพทย์ว่า เป็นเช่นนั้นท่านอาจารย์ ดังนั้นแล้ว ถือเสียมเดินไป
รอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่ง จึงเดินทางกลับ
เข้าไปหานายแพทย์ และได้กราบเรียนคำนี้ต่อนายแพทย์ว่า ท่านอาจารย์กระผมเดินไปรอบเมือง
ตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง
นายแพทย์บอกว่า พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอจะครองชีพได้
- ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชทรงประชวรโรคริดสีดวง
งอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรง
มีระดู ต่อมาพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ พระราชา
ทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยันของพวกพระสนมนั้น ต่อมาท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า
พ่ออภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า
บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์
จักประสูติ เอาเถอะ พ่ออภัย เจ้าช่วยหาหมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด
อ. ขอเดชะ นายชีวกผู้นี้เป็นหมอประจำข้าพระพุทธเจ้า ยังหนุ่ม ทรงคุณวุฒิ เธอจัก
รักษาพระองค์ได้
พ. พ่ออภัย ถ้าเช่นนั้นเธอจงสั่งหมอชีวก เขาจักได้รักษาพ่อ
ครั้งนั้นเจ้าชายอภัย สั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า พ่อนายชีวก เธอจงไปรักษาพระเจ้าอยู่หัว
ชีวกโกมารภัจจ์รับสนองพระบัญชาว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก
ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราชว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักตรวจโรคของพระองค์ แล้วรักษาโรค
ริดสีดวงงอกของพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช หายขาดด้วยทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ครั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ทรงหายประชวรจึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐ นาง
ตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกทำเป็นห่อแล้ว ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมาร-
*ภัจจ์ว่า พ่อนายชีวก เครื่องประดับทั้งปวงของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า
ชี. อย่าเลย พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงโปรดระลึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพระ-
*พุทธเจ้าเถิด
พ. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการว่า เป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
- ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรโรคผอมเหลือง
นายแพทย์ที่ใหญ่ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน มารักษา ก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไป
เป็นอันมาก ครั้งนั้น พระเจ้าปัชโชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาส์น ไปในพระราชสำนักพระเจ้า
พิมพิสารจอมเสนามาคธราช มีใจความว่า หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน
พระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน จึงพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราช ได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อนายชีวก เจ้าจงไปเมืองอุชเชนี
รักษาพระเจ้าปัชโชต
ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการ แล้วเดินทางไปเมืองอุชเชนี เข้าไปใน
พระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชต ได้ตรวจอาการที่ผิดแปลกของพระเจ้าปัชโชต แล้วได้
กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น
พระเจ้าปัชโชตรับสั่งห้ามว่า อย่าเลย พ่อนายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย อาจรักษาเรา
ให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน
สำหรับฉัน
ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แล ทรงประชวร
เช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสีย ไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้ เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี
กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ดังนี้ แล้วได้หุงเนยใสด้วยเภสัชนานาชนิด ให้มีสี กลิ่น รส
เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุกคิดได้ว่า เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย
จักทำให้เรอ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้ากระไร
เราพึงทูลลาไว้ก่อน วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้
แด่ท้าวเธอว่า ขอเดชะ ฯ พวกข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่ว
เวลาครู่หนึ่งเช่นที่ประสงค์นั้น ขอประทานพระบรมราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมี
พระราชโองการตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวกต้องการ
ไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตูใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการ
ไปเวลาใด จงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามาเวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น จึงพระเจ้าปัชโชตได้มี
พระราชดำรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอ
บรมราชานุญาตไว้ทุกประการ
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้วันละ ๕๐ โยชน์
จึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าปัชโชตด้วยกราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด ครั้นให้พระเจ้าปัชโชตเสวยเนยใสแล้วก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนคร
ไปโดยช้างพังภัททวดี ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้ทำให้ทรงเรอขึ้น
จึงพระเจ้าปัชโชตได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า พนายทั้งหลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่ม
เนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมาเร็วไว
พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้างพังภัททวดีแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า
ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิดกับอมนุษย์ เดินทาง
ได้วันละ ๖๐ โยชน์ จึงพระเจ้าปัชโชตดำรัสสั่งกากะมหาดเล็กว่า พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญ
หมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่า
หมอเหล่านี้แลมีมารยามาก เจ้าอย่ารับวัตถุอะไรๆ ของเขา
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับประทานอาหารมื้อเช้า
ในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัว
รับสั่งให้เชิญท่านกลับไป
ชี. พ่อนายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร เชิญท่านรับประทาน
อาหารด้วยกันเถิด
ก. ช่างเถิดท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า พ่อนายกากะ ขึ้นชื่อว่า
หมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไร ของเขา
ทันใดนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บ พลางเคี้ยวมะขามป้อม และดื่มน้ำ
รับประทาน แล้วได้ร้องเชื้อเชิญกากะมหาดเล็กว่า เชิญพ่อนายกากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและ
ดื่มน้ำรับประทานด้วยกัน จึงกากะมหาดเล็กคิดว่า หมอคนนี้แลกำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำ
รับประทาน คงไม่มีอะไรจะให้โทษ แล้วเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน
มะขามป้อมครึ่งผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายอุจจาระออกมาในที่นั้นเอง
ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เรียนถามชีวกโกมารภัจจ์ว่า ท่านอาจารย์ ชีวิตของข้าพเจ้า
จะรอดไปได้หรือ?
ชีวกโกมารภัจจ์ตอบว่า อย่ากลัวเลย พ่อนายกากะ ท่านจักไม่มีอันตราย แต่พระเจ้า-
*อยู่หัวทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราไม่กลับละ แล้วมอบ
ช้างพังภัททวดีแก่นายกากะ เดินทางไปพระนครราชคฤห์ รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนคร
ราชคฤห์แล้วเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ
พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า พ่อนายชีวก เจ้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำถูกแล้ว เพราะ
พระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหด จะพึงสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้
ครั้นพระเจ้าปัชโชตทรงหายประชวร ทรงส่งราชทูตไปที่สำนักชีวกโกมารภัจจ์ว่า เชิญหมอ
ชีวกมา เราจักให้พร
ชีวกกราบทูลตอบไปว่า ไม่ต้องไปก็ได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
จงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า.
ก็โดยสมัยนั้นแล ผ้าสิไวยกะคู่หนึ่งบังเกิดแก่พระเจ้าปัชโชต เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ
มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่
หลายแสนคู่
ครั้นนั้น พระเจ้าปัชโชต ทรงส่งผ้าสิไวยกะคู่นั้นไปพระราชทานแก่ชีวกโกมารภัจจ์
จึงชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความดำริว่าผ้าสิไวยกะคู่นี้ พระเจ้าปัชโชตส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อ
ดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่
ตั้งหลายร้อยคู่ หลายพันคู่ หลายแสนคู่ นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น หรือพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชแล้ว ใครอื่นไม่ควรอย่างยิ่งเพื่อใช้ผ้าสิไวยกะ
คู่นี้.
- ก็โดยสมัยนั้นแล พระกายของพระผู้มีพระภาคหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ
จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ กายของตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอัน
เป็นโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะชีวก-
*โกมารภัจจ์ว่า ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคต
ต้องการจะเสวยพระโอสถถ่าย ชีวกโกมารภัจจ์กล่าวว่า พระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงโปรด
ทำพระกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื่นสัก ๒-๓ วัน
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทำพระกายของพระผู้มีพระภาคให้ชุ่มชื่น ๒-๓ วันแล้ว
เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะชีวกโกมารภัจจ์ว่า
ท่านชีวก พระกายของพระตถาคตชุ่มชื่นแล้ว บัดนี้ ท่านรู้กาลอันควรเถิด
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า การที่เราจะพึงทูลถวาย พระโอสถ
ถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคนั้น ไม่สมควรเลย ถ้ากระไร เราพึงอบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยา
ต่างๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต ครั้นแล้วได้อบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วเข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยัง
พระผู้มีพระภาคให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดอุบลก้านที่ ๒ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มี
พระภาคให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยัง
พระผู้มีพระภาคให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ด้วยวิธีนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายถึง ๓๐ ครั้ง
ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ขณะเมื่อชีวกโกมารภัจจ์เดินออกไปนอกซุ้ม
ประตูแล้วได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อถ่ายครบ
๓๐ ครั้ง พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคให้ถ่าย
ครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรง
พระกายแล้ว จักถ่ายอีกครั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของชีวกโกมารภัจจ์ด้วยพระทัยแล้ว
รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ ชีวกโกมารภัจจ์ กำลังเดินออกนอกซุ้มประตูวิหารนี้
ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว
พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง
จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้วจักถ่ายอีก
ครั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง อานนท์ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดเตรียม
น้ำร้อนไว้
พระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวายต่อมา ชีวกโกมารภัจจ์
ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. เราถ่ายแล้ว ชีวก
ชี. พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ากำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตูพระวิหารนี้ ได้มีความ
ปริวิตกดังนี้ว่า เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกายของ
พระผู้มีพระภาคหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง
แต่พระผู้มีพระภาคทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้วจักถ่ายอีกครั้งหนึ่งอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงโปรดสรงพระกาย
ขอพระสุคตจงโปรดสรงพระกาย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรงน้ำอุ่น ครั้นสรงแล้ว ทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งอย่างนี้
เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลคำนี้แด่
พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคไม่ควรเสวยพระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผัก
ต่างๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ
ต่อมาไม่นานนัก พระกายของพระผู้มีพระภาคได้เป็นปกติแล้ว.
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ถือผ้าสิไวยกะคู่นั้นไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคม
พระผู้มีพระภาค นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้
แด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคสักอย่างหนึ่ง พระพุทธ-
*เจ้าข้า
ภ. พระตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก
ชี. ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า
ภ. จงว่ามาเถิด ชีวก
ชี. พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่ ผ้า
สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้ พระเจ้าปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ
มีชื่อเสียงเด่นอุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่
หลายพันคู่ หลายแสนคู่ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้าคู่สิไวยกะของข้า
พระพุทธเจ้า และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคทรงรับผ้าคู่สิไวยกะแล้ว ครั้นแล้วทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง
ให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณกลับไป.

.....................................................
ข้าพเจ้าขออาราธนาพระบารมี 30 ทัศ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เสด็จนิพพานไปแล้ว มากยิ่งกว่าเม็ดกรวดเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง 4 ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพ พระธรรมมานุภาพ พระสังฆานุภาพ พระบารมีพระโพธิสัตว์ พระปัจเจกโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์ทั้งหลายและพระบารมีขององค์พระสมณะโคดมบรมครู ขอได้ส่งพลังมายังตัวข้าพเจ้า จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บและสรรพเคราะห์ทั้งหลายในกายของข้าพเจ้า จงหายไปสิ้นทั้งหมดขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะต่ออุปสรรคและมารทั้งหลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2009, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


ขอบคุณจร้า หนุกดี :b16:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 10:28
โพสต์: 439


 ข้อมูลส่วนตัว




567.jpg
567.jpg [ 33.53 KiB | เปิดดู 6410 ครั้ง ]
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปคะ

.....................................................
สรรพสิ่งทุกอย่าง ล้วนมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

.................................................................................................
ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีเหตุและผลอยู่ในตัว
การกระทำของตนย่อมเป็นกรรมที่ตนกำหนดเอง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร