วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 21:22
โพสต์: 264

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญกายคตาสติ ตามแบบสมถะ กับการเจริญอาการ ๓๒ ตามแบบวิปัสสนากรรมฐาน
มีความแตกต่างกันอย่างไรคะ

.....................................................
"เราไม่สรรเสริญแม้แต่ความตั้งอยู่ได้ในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ต้องพูดถึงความเสื่อมถอยจากกุศลธรรมทั้งหลาย
เรายกย่องสรรเสริญอย่างเดียว แต่ความก้าวหน้าต่อไปในกุศลธรรมทั้งหลาย"

(องฺ. ทสก. ๒๔/๕๓/๑๐๑)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
การเจริญกายคตาสติ ตามแบบสมถะ กับการเจริญอาการ ๓๒ ตามแบบวิปัสสนากรรมฐาน
มีความแตกต่างกันอย่างไรคะ


สวัสดี คุณรินรส...

การเจริญกายคตาสติ ...สติตั้งที่กาย หมวดที่เกี่ยวกับ การพิจารณากาย ข้างบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป ข้างล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้...พร้อมด้วยองค์ประกอบต่างๆภายในภายนอก หรือที่กล่าวโดยทั่วๆ ไป ว่า อาการ 31 หรือ 32.

เจริญแล้วเกิดความสงบตั้งมั่นในจิต ก็เป็นสมถะภาวนา
เจริญแล้วเกิดความรู้แจ้ง เห็นสัจจะธรรมตามเป็นจริง เพื่อความหน่าย ความสลัด ความละกิเลส ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

ทั้งสมถะและวิปัสสนา เป็นกิจที่กระทำไปด้วยกัน

แต่จะเอาสมถะนำวิปัสสนา หรือ
วิปัสสนานำสมถะ หรือ
สมถะวิปัสสนา ไปด้วยกัน ก็แล้วแต่อัธยาศัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่าง
สมถะนำวิปัสนนา สักประการหนึ่ง เช่น ผม
คุณรินรส สามารถ เพ่งพิจารณาผม โดยเอาเส้นผมจริง มาเพ่งพิจารณา กำหนด สังขาร ว่าผมเป็นธาตุดิน ไม่ใส่ใจสิ่งใด นอกจากผม จนจิตตั้งมั่นแนบแน่นกับเครื่องกำหนดหมาย แล่นไปตั้งแต่ ปฐมฌาน ถึงจตุตถฌาน.

จะอาศัยจิตที่ดำรงอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน หรือจตุตถฌานนั้น น้อมจิตไประลึกถึงธรรมชาติของผม ว่าเป็นสังขาร เห็นความปรุงแต่ง เห็นธรรมชาติของความปรุงแต่ง ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา ในฌานนั้นๆ กำหนดอนิจจสัญญา หรืออัปปณินิตสัญญา หรือ อนัตตสัญญา ต่อการกำหนดระลึกรู้ต่อผมนั้น.

(ปล.ก่อนอื่นใด ในการทำสมถะวิปัสสนา จำเป็นต้องมีจิตที่ตั้งเจตจำนง อย่างแน่วแน่ว่าจะปฏิบัติเพื่อพ้นจากวัฏฏะสงสาร เพื่อพ้นจากทุกข์ เพื่อความหน่าย ความไม่พัวพัน .....ถ้ามิตั้งจิต อธิษฐานจิตนี้ กรรมฐานก็แป๊ก)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่าง
วิปัสสนานำสมถะ อีกประการหนึ่ง อาการ 32

เมื่อจิตมีปรกติ แล่นไป ในที่ต่างๆ สงบลงได้ยาก
ก็ให้ความทีมีจิตนั้นแล่นไปในที่ต่างๆ สงบลงได้ยาก ให้แล่นมาในกายนี้แทน ว่าประกอบด้วยอาการ 32
แล่นพิจารณา ขึ้นลง ลงขึ้น จนจิตไม่แล่นออกไปรับอารมณ์ภายนอก
เมื่อจิตไม่แล่นไปในอารมณ์ภายนอก ก็กำหนดขอบเขตของการแล่นไปในกายในแคบลง แคยลง จนอยู่ที่อาการใดอาการหนึ่ง เป็นอารมณ์เดียว เป็นสมถะ

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงเป็นวิปัสสนานำสมถะ ก็ทำสมถะภาวนาอันมีวิปัสสนานำนี้จนจิตตั้งมั่น มีกำลังจึงเจริญวิปัสสนายิ่งขี้นไปอีก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2011, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่าง สมถะวิปัสสนา พร้อมๆ กัน ในอาการ 32

ตั้งจิตพิจารณากายนี้อันเป็น อัตตภาพที่อาศัยของจิตนี้ล่ะ
พิจารณาโดยความเป็นสังขาร ว่า ไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง จิตตั้งมั่นในสัญญานี้ไปพร้อมกับความรู้จัก
สังขารนี้คืออัตตภาพนี้ ด้วยความรู้จักกายทั้งภายในทั้งภายนอก ในอารมณ์เดียว จิตก็จะเจริญทั้งสมถะวิปัสสนา พร้อมๆกัน

ที่ชื่อว่ากำหนดกายไปในภายนอก เพราะว่ากำหนดนิมิตแห่งกายด้วยสติ
ที่ชื่อว่ากำหนดกายไปในภายใน เพราะว่า จิตรู้ที่นิมิตนั้นตามเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อความกำหนดนิมิต เป็นทั้งภายในและภายนอก แล่นตามไปอยู่อย่างนี้ จิตก็เป็นสมถะเป็นวิปัสสนาพร้อมๆ กัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุ ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2011, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณรินรู้จักสำนักปฏิบัตินี้ไหมครับ :b1:

รูปภาพ


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=1337.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


รินรส เขียน:
การเจริญกายคตาสติ ตามแบบสมถะ กับการเจริญอาการ ๓๒ ตามแบบวิปัสสนากรรมฐาน
มีความแตกต่างกันอย่างไรคะ


จะว่าแตกต่าง ก็คงไม่ได้ จะว่าไม่แตกต่างก็คงไม่ได้ เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อันหนึ่ง คือการเจริญกายคตาสติ ก็คือ การคิดพิจารณา ตามอาการ 32 ให้ได้รู้ ให้ได้เข้าใจว่า เป็นของธรรมดา เป็นของไม่เที่ยง ไม่สะอาด ฯลฯ จะได้ไม่หลงมัวเมา หลงติดจนเกินควรขอรับ

อาการ ๓๒ คือ

ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่เรียกว่า โกฏฐาส 32 ประการ แบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ ปฐวีธาตุ เป็นอาการ 20 และอาโปธาตุ เป็นอาการ 12

อาการ 20 มีดังนี้ เกสา-ผม, โลมา-ขน, นะขา-เล็บ, ทันตา-ฟัน, ตะโจ-หนัง, มังสัง-เนื้อ, นะหารู-เอ็น, อัฏฐิ-กระดูก, อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก, วักกัง-ม้าม, หะทะยัง-หัวใจ, ยะกะนัง-ตับ, กิโลมะกัง-พังผืด, ปิหะกัง-ไต, ปัปผาสัง-ปอด, อันตัง-ไส้ใหญ่, อันตะคุณัง-ไส้น้อย, อุทะริยัง-อาหารใหม่, กะรีสัง-อาหารเก่า (อุจจาระ), มัตถะลุงคัง-มันสมอง

ส่วนอาการ 12 ได้แก่ ปิตตัง-น้ำดี, เสมหัง-เสมหะ, ปุพโพ-น้ำเหลือง, โลหิตัง-น้ำเลือด, เสโท- เหงื่อ, เมโท-มันข้น, อัสสุ-น้ำตา, วะตา-มันเหลว, เขโฬ-น้ำลาย, สิงคาณิกา-น้ำมูก, ละสิกา-น้ำไขข้อ, มุตตัง-มูตร (ปัสสาวะ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร