วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 11:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิง จาก chalermsak
ต่อเนื่องจากเรื่อง รูปฌาน อรูปฌาน สำหรับปุถุชน ที่ยังไม่สามารถยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา เจริญปัญญา เพื่อพ้นจากวัฏฏะสงสารได้ ก็ไปเกิดใน พรหมโลก ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ...

และปุถุชนพรหม เหล่านี้ที่จะมาบังเกิดเป็น มนุษย์ที่เป็นโอปปาติกะ (เกิดและโตทันที ไม่อาศัยครรภ์มารดา) ในยุคสร้างโลก ....

อัคคัญญสูตร

[๕๖] ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้งบางคราว โดยล่วง
ระยะกาลยืดยาวช้านานที่โลกนี้จะพินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่ โดยมากเหล่า
สัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร
มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิต
อยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ มีสมัยบางครั้ง
บางคราว โดยระยะกาลยืดยาวช้านาน ที่โลกนี้จะกลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญ
อยู่โดยมาก เหล่าสัตว์พากันจฺติจากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้น
ได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ใน
อากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละ
สมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ
ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลาง
คืนก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏ
เพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่า
นั้น ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิด
ง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว
ให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้ง
เล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๗๐๓ - ๒๑๒๙. หน้าที่ ๗๑ - ๘๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=51

บทว่า โลลชาติโก ความว่า มีความโลภเป็นสภาพ. แม้ในกัลป์ถัดไปที่ล่วงไปแล้วก็มีความโลภเหมือนกัน เราเกิดอัศจรรย์จึงกล่าวว่า อมฺโภ ดังนี้.
บทว่า กิเมวิทํ ภวิสฺสติ ความว่า สีก็ดี กลิ่นก็ดี ของง้วนดินนั้นน่าชอบใจ แต่รสของง้วนดินนั้นจักเป็นอย่างไรหนอ. ผู้ที่เกิดความโลภในง้วนดินนั้นก็เอานิ้วมือจับง้วนดินนั้นมาชิมดู ครั้นเอามือจับแล้วก็เอามาไว้ที่ลิ้น.
บทว่า อจฺฉาเทสิ ความว่า ง้วนดินนั้นพอเขาเอามาวางไว้ที่ปลายลิ้นก็แผ่ซ่านไปทั่ว เส้นเอ็นรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ เส้นเป็นของน่าชอบใจตั้งอยู่.
บทว่า ตณฺหา จสฺส โอกฺกมิ ความว่า ก็ความอยากในรสในง้วนดินนั้นก็เกิดขึ้นแก่สัตว์ผู้มีความโลภนั้น.
หลายบทว่า อาลุปฺปกากรํ อุปกฺกมึสุ ปริภุญฺชิตุ ํ ความว่า เขาปั้นเป็นคำ คือแบ่งออกเป็นก้อนแล้วเริ่มที่จะบริโภค.

จนฺทิมสุริยาทิปาตุภาววณฺณนา
พระจันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา.
บทว่า ปาตุรเหสํ แปลว่าปรากฏขึ้น.
ก็บรรดาพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นอย่างไหนปรากฏก่อน ใครอยู่ในที่ไหน ประมาณของใครเป็นอย่างไร ใครอยู่สูง ใครหมุนเร็ว วิถีทางของพระจันทร์และพระอาทิตย์นั้นเป็นอย่างไร เที่ยวไปได้อย่างไร ทำแสงสว่างในที่มีประมาณเท่าใด.
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองไม่ปรากฏพร้อมกัน. พระอาทิตย์ปรากฏขึ้นก่อน.
ก็เมื่อรัศมีเฉพาะตัวของสัตว์เหล่านั้นได้หายไป ความมืดมนจึงได้มีขึ้น. สัตว์เหล่านั้นทั้งกลัวทั้งสะดุ้งคิดกันว่าคงจะดีหนอ ถ้าแสงสว่างปรากฏขึ้นมาดังนี้ ต่อแต่นั้นดวงอาทิตย์อันให้ความกล้าเกิดขึ้นแก่มหาชนก็ได้ตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ดวงอาทิตย์นั้นจึงได้นามว่า สุริโย
ดังนี้.


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 28 ก.ค. 2011, 11:54, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 11:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว



viewtopic.php?f=2&t=33773&hilit=Re%3A+%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1&start=75



เส้นทางมองย้อนไปหาสาระที่ซ่อนอยู่ในบางตอนจากกระทู้เก่า ๆ เจ๋ย ๆ
มิได้ต้องการรื้อฟื้นกระทู้ที่ถูกปิดไปแล้ว

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิด
ในน้ำมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมา
เกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และ
คำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่
จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ประกอบ
ด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหล
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็น
พระตถาคตมากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้
ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจ
เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียร
โดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
การแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส
มากกว่าโดยแท้
เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์
มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน
ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก
ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/picture/f33.html


ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา

ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระศาสนาโปรดชาวโลก ดังที่ได้บรรยายไว้ในภาพที่ ๓๒ นั้น เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ แต่งเป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน หรืออธิบายกันตรงๆ ก็คือ สหัมบดีพรหมนั้น ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า คือพระมหากรุณา และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า จะทรงแสดงธรรม หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่งระดับสติปัญญาของคนถึง ๔ ระดับ หรือ ๔ จำพวก

๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
๒. วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น
๓. เนยยะ ผู้พอแนะนำได้
๔. ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง


จำพวกที่หนึ่ง เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน ที่สอง เหมือนดอกบัวใต้น้ำที่จะโผล่พ้นน้ำ และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น ที่สาม เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมาบานในวันต่อๆ ไป และที่สี่ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้ เพราะตกเป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน

ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด ทรงมองเห็นภาพของดาบสทั้งสอง ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปปาทกัมมอายุปมาณวาร

.....
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นพรหมปุโรหิตา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณกึ่งกัปป์
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘ กัปป์
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตสุภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖ กัปป์
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณสุภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๓๒ กัปป์
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญตติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุภกิณหะ
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๖๔ กัปป์
ผู้เจริญจตุตถฌาน บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาเหล่าอสัญญสัตว์ บางคน
ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นเวหัปผลา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอวิหา บางคน
ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอตัปปา บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสา บางคน
ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นสุทัสสี บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอกนิฏฐะ บางคน
ไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดา
ผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญา-
*ยตนภพ บางคนไปเกิดเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เพราะ
อารมณ์ต่างกัน เพราะมนสิการต่างกัน เพราะฉันทะต่างกัน เพราะปณิธิต่างกัน
เพราะอธิโมกข์ต่างกัน เพราะอภินิหารต่างกัน เพราะปัญญาต่างกัน
อายุของเหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ และเหล่าเทวดาชั้นเวหัปผลา
มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๕๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอวิหา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอตัปปา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสา มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นสุทัสสี มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาชั้นอกนิฏฐะ มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑๖,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณ
เท่าไร
มีประมาณ ๒๐,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ มีประมาณ
เท่าไร
มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ มีประมาณ
เท่าไร
มีประมาณ ๖๐,๐๐๐ กัปป์
อายุของเหล่าเทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ มี
ประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๘๔,๐๐๐ กัปป์
เหล่าสัตว์ที่มีอำนาจแห่งบุญส่งเสริม ไปแล้วสู่กามภพ และรูปภพ หรือ
แม้ไปสู่ภวัคคพรหม ย่อมกลับไปสู่ทุคติอีกได้ เหล่าสัตว์มีอายุยืนถึงเพียงนั้น
ก็ยังจุติเพราะสิ้นอายุ ภพไหนๆ ชื่อว่า เที่ยง ไม่มี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ได้ตรัสไว้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นแล เหล่านักปราชญ์ผู้มี
ปัญญาเฉลียวฉลาดรอบคอบ คำนึงถึงความจริงข้อนี้ จึงเจริญมรรคอันอุดมเพื่อพ้น
จากชรามรณะ ครั้นเจริญมรรคอันบริสุทธิ์สะอาด ซึ่งมีปกติยังสัตว์ให้หยั่งถึงพระ
นิพพานแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง

ฉะนี้แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


การสอบถาม

[๕๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในพวกภิกษุผู้พิจารณานั้น ภิกษุผู้พิจารณารูปหนึ่งควรสอบ
ถามตถาคตต่อไปว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเศร้าหมองของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและ
โสตอันเศร้าหมองของตถาคต มิได้มี.
ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกัน ของพระตถาคต มีอยู่หรือไม่.
พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตอันเจือกันของตถาคต มิได้มี.
ภ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่หรือไม่.
พ. ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุและโสตที่ผ่องแผ้วของตถาคต มีอยู่ เราเป็นผู้มีธรรมที่
ผ่องแผ้วนั้นเป็นทาง มีธรรมที่ผ่องแผ้วนั้นเป็นโคจร เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่ใช่เป็นผู้มีตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาวกควรจะเข้าหาศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ เพื่อฟังธรรม ศาสดาย่อมแสดง
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำ ส่วนขาว แก่สาวกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ศาสดาย่อมแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่ภิกษุ ด้วย
ประการใดๆ ภิกษุนั้น รู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ย่อมถึงความตกลงใจใน
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเลื่อมใสในศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากชนพวกอื่น
พึงถามภิกษุนั้นอีกอย่างนี้ว่า ก็อาการกิริยาที่ส่อแสดงของท่านผู้มีอายุเป็นอย่างไร ที่เป็นเหตุให้
ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส
ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. ภิกษุนั้นเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อจะฟังธรรม พระผู้มีพระภาค ย่อมทรงแสดง
ธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เรานั้น ดูกรท่านผู้มีอายุ พระผู้มี
พระภาค ย่อมทรงแสดงธรรมอันยิ่งๆ อันประณีตๆ อันเปรียบด้วยส่วนดำส่วนขาวแก่เราด้วย
ประการใดๆ เรารู้ยิ่งธรรมบางอย่างในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ถึงแล้วซึ่งความตกลงใจในธรรม
ทั้งหลาย เลื่อมใสแล้วในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
[๕๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตมีมูล มีที่อาศัย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ
เหล่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธานี้ เรากล่าวว่า มีเหตุ มีทัสสนะ [โสดาปัตติมรรค] เป็น
มูลมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใครๆ ในโลกไม่พึงให้กวัดแกว่งได้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การตรวจดูธรรมในตถาคต ย่อมมีอย่างนี้แล ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณา
ตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็นอย่างนี้ ก็แหละตถาคตอันภิกษุผู้พิจารณาตรวจดูดีแล้วโดยธรรมเป็น
อย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
จบ วีมังสกสูตรที่ ๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 12:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว



อ้างอิง chalermsak

พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีการสอนหรือแสดงธรรมอย่างไร?
ในฐานะที่ได้รับยกย่องจากบัณฑิตทั้งหลายว่า พระองค์ทรงเป็นสารถีผู้ฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่มีสารถีอื่นจะยิ่งไปกว่าพระองค์ จึงทรงมีวิธีฝึกคนด้วยหลักการที่เรียกว่า
๑. นิคมหมุขเทศนา คือ ทรงแสดงธรรมกำหราบให้เกิดความสำนึกก่อนสำหรับคนที่ยังมีลักษณะกระด้าง ดื้อด้าน ทำนองการนำเอาไม้ซุงมาทำเครื่องเรือน จะต้องจัดการให้ไม้นั้นผ่านขั้นตอนมาโดยลำดับ จากนั้นจึงตามด้วยวิธีที่ละเอียด
๒. อนุคหมุขเทศนา เป็นการแสดงในลักษณะโอบอุ้มด้วยความกรุณาต่อบุคคลเหล่านั้น ในกรณีที่ผู้ฟังมีความพร้อม หรือมีปัญหาที่จะต้องปลุกปลอบให้เกิดขวัญกำลังใจ จนมีความพร้อมที่จะศึกษา พิจารณา ปฏิบัติ

การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าจึงออกมาในลักษณะ ๔ คือ
๑. สันทัสสนา ทรงแสดงเรื่องนั้นให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามสถานะของธรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศล อกุศล หรือกลางๆก็ตาม จนผู้ฟังเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงไปตามเรื่องที่ทรงแสดงมา
๒. สมาทปนา ทรงเชิญชวน ชักชวนให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในธรรม ในพระองค์ และในตัวของผู้ฟัง จนเกิดฉันทะ อุตสาหะ ที่จะประพฤติ ปฏิบัติ เพื่อสัมผัสผลตามที่ทรงแสดงไว้
๓. สมุตเตชนา ทรงกระตุ้น เร่งเร้า ให้คนที่ขาดความเชื่อมั่น มีปัญหาตกค้างอยู่ภายในใจ หรือดูหมิ่นตนเองว่า เราไม่รู้ ไม่สามารถ แม้จะต้องหกล้มหกลุกไปบ้าง ก็ต้องปลุกให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมา จนผู้ฟังมีความอาจหาญ พร้อมที่จะศึกษาปฏิบัติด้วยความกระตือรือร้นไม่ขาดสาย
๔. สัมปหังสนา ให้ความเพลิดเพลิน หรือธรรมปีติ แก่ผู้ฟังจนไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อในการฟัง เมื่อฟังอยู่ก็เพลิดเพลินในธรรม ดังนั้นตอนท้ายของพระสูตรแต่ละสูตร มักจะจบลงด้วยคำว่า “เมื่อพระสูตรนี้อันพระผู้มีพระภาคตรัสจบลง ภิกษุทั้งหลายเพลิดเพลิน ชื่นชม ในภาษิตของพระผู้มีพระภาค”

การแสดงธรรมนั้นคือ การพูด การแสดง การกล่าว การสนทนา แม้แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องธรรมะทางศาสนา เรียกว่า ธรรมสากัจฉา เกิดขึ้นจากกุศลเจตนาของบุคคลที่มุ่งจะให้ผู้อื่นรู้หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา แสดงว่าจิตใจประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อบุคคลผู้นั้น แต่ในขณะที่แสดงตนเองก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องที่แสดง ซึ่งก็ได้ขจัดโมหะคือความหลงในเรื่องนั้นๆ ออกไปในขณะนั้นๆ

การให้ธรรมะเป็นทาน คือการแสดงธรรม จึงทรงยกย่องว่า ชนะการให้ทั้งปวง ตามนัยะแล้วทางพุทธดำรัสที่มี สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม

เท่าที่กล่าวมาแล้วนั้นเพื่อจะเข้าใจได้ถูกต้องว่าพระพุทธเจ้าทรงโปรดรูปแบบอนุสาสนีปาฏิหาริย์มากที่สุดเพราะพระองค์ทรงพิจารณารู้จักจริต ภูมิปัญญา ภูมิหลังของผู้ฟัง และปฏิบัติได้ง่ายแต่เกิดผลที่ยั่งยืนมากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 14:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 493&Z=7552

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.

อรรถกถา

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
ครั้นเธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป
นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.
เธอนั้นข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา
กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน
เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ)
กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง
ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน
สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ
ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล
ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปาน-
กรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง
เท่านี้แล.
นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง
ก็เพราะใน ๓ จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมฐาน
แผนกหนึ่งย่อมไม่มี; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง ๓ จตุกกะ
เหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่นแล.
บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ
ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น
ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย
ความไม่งมงาย.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ,
ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า
สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.
ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้ว ย่อมพิจารณา
ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น
รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา.
ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว
สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ
นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย
ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ
เข้าสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น , เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม
หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ
ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น.
ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ
รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร
หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว
ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว,
เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา
เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย
ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ
ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ
ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้*.
แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท
นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ : - พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย
อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน
ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน
สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ
แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่าง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.
สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิต-
สังขารที่หยาบ ๆ เสีย. ความดับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย
ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย
ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรูปทีเดียว, ใน
จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ
พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น
จิตสังขาร* ดังนี้ จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.
แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้
แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.
สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า
เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก.
ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจ
สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ.
เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.
ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร?
แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา
อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย
ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง
อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง
หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ตั้งจิต
ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ
เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน
โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ)
ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้
ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี
อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า
เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.
สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้
พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก
วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย
จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่
สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น
เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ
ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข
สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า
เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา
(ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย
นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ
กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ
กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ
พิจารณาเห็นธรรมเห็นเครื่องดับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ-
นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย
ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าย่อม
สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิต หายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.
ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้
:- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้
พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่
เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง
ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.
ในลักษณะ ๔ อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่
เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ
เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.
--------------------------------------

วิสุทธิมรรค

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 4%E0%B9%90

๑. นามรูปววัฏฐาน หรือ สังขารปริเฉท)

โยคาวจรผู้ปรารถนาจะบรรลุ ทิฏฐิวิสุทธิ นั้น (ถ้าเป็น) สมถะยานิกะ (ผู้มีสมถะเป็นทางดำเนิน) ครั้นออกจากรูปาวจรญาณ ญาณใดญาณหนึ่ง เว้นแต่เนวสัญญา

(หน้าที่ 238)
นาสัญญายตนะแล้ว ก่อนอื่นพึงกำหนดองค์ทั้งหลายของญาณมีวิตกเป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยองค์ของญาณนั้น (เช่น เวทนา สัญญา เป็นต้น) โดยลักษณะและรส (หน้าที่) เป็นต้น (ของธรรมนั้น ๆ) ครั้นแล้ว พึงกำหนดแม้ทั้งหมด (ดังกล่าวมา) นั้นว่า “นาม” โดยความหมายว่า “น้อมไป” เพราะมุ่งหน้าน้อมไปสู่อารมณ์ แต่นั้นเมื่อโยคาวจรผู้นี้แหละจะพิจารณาดู นาม นี้อาศัยอะไร จึงเป็นไป? ก็เห็นหทยรูป (หัวใจ) เป็นที่อาศัยของนาม เปรียบเหมือนบุรุษเห็นงูภายในเรือน จึงติดตามมันไป ก็พบที่อาศัยของมัน ฉะนั้น ครั้นแล้ว โยคาวจรผู้นั้นก็กำหนด รูป ว่า ภูตรูปทั้งหลายเป็นที่อาศัยของหทยรูป และอุปาทายรูปทั้งหลายนอกนั้นก็อาศัยภูตรูป ท่านโยคาวจรนั้นกำหนดแม้ทั้งหมดนั้นว่า “รูป” เพราะ (มัน) เสื่อมสลาย แต่นั้น ก็กำหนดนามรูปโดยสังเขปว่า นาม มีการน้อมไปเป็นลักษณะ รูป มีการเสื่อมสลายเป็นลักษณะดังนี้
(๑. กำหนดนามและรูปทางธาตุ ๔)

ส่วนโยคาวจรผู้เป็น วิปัสสนายานิกะ (ผู้มีวิปัสสนาเป็นทางดำเนิน) ล้วน ๆ หรือว่า ผู้เป็นสมถยานิกะนั้นนั่นเอง กำหนดธาตุ ๔ โดยสังเขปหรือโดยพิสดาร ด้วยมุขในการกำหนดธาตุเหล่านั้นๆ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วใน จตุธาตุววัฏฐาน มุขใดมุขหนึ่ง ครั้นแล้วเมื่อธาตุทั้งหลายปรากฏชัดแจ้งแก่โยคาวจรผู้นั้นโดยรส (หน้าที่) และโดยลักษณะของมันตามเป็นจริง รูป ๑๐ ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐาน ก็ปรากฏโดย กายทสกะ อย่างนี้ก่อนคือ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โอชา ๑ ชีวิต ๑ กายประสาท ๑ และรูปอีก ๑๐ ก็ปรากฏโดย ภาวทสกะ (คือ ๑๐ เหมือนกายทสกะ ต่างกันแต่เปลี่ยน กายประสาท เป็น ภาวะ คือ เพศชาย หรือ เพศหญิง) เพราะมีภาวะ (เพศ) อยู่ในเส้นผมซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นเหมือนกัน และรูปอีก ๒๔ คือ โอชัฏฐมกะ (รูปมีโอชะเป็นที่ ๘ ได้แก่ ธาตุ ๔ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ และโอชะเป็นที่แปด ๑) ซึ่งมีอาหารเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ๑ โอชัฏฐมกะ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๑ (๘ + ๓ = ๒๔) ก็ปรากฏในเส้นผมที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานนั้นด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงปรากฏเป็นรูป ๔๔ - ๔๔ ในโกฏฐาส ๔ ซึ่งมีสมุฏฐาน ๔ ด้วยอาการดังกล่าวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 29 ก.ค. 2011, 16:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 14:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะพระอ.มั่น บันทึกโดยหลวงปู่หลุย
" ธรรมมะ ธัมโม เรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิด ความแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์"

"อย่าเชื่อหมอมากนัก ให้เชื่อธรรมมากจึงดี เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม"

"อรหันต์ก็เป็นคุณอนันต์ นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ ตรัสรู้ในตัว เห็นในตัว มีญาณแจ่มแจ้งดี ล้วนแต่เล่าเรียนธรรมชาติทั้งนั้นฯ"

"ธรรมะชี้เข้ากายกับจิตเป็นคัมภีร์เดิม"

"ภูเขาสูงที่กลิ้งมาบดสัตว์ให้เป็นจุรณไปนั้น อายุ 70 ปีแล้วไม่เคยเห็นภูเขา เห็นแต่ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ เท่านั้นแล ทิฐิมานะเป็นภูเขาสูงหาที่ประมาณมิได้"

"ธรรมะเป็นต้น เอโกมีอันเดียว แต่แสดงอาการโดยนัย 84,000 ธาตุ 4 ธาตุ 6 ธาตุ18 ให้เห็นด้วยจักษุด้วย ให้เห็นด้วยญาณ คือปัญญาด้วย "นโม" ดิน น้ำ บิดา มารดา ปั้นขึ้นมา"

"84,000 เป็นอุบายที่ให้พระองค์ทรมานสัตว์ สัตว์ย่อมรู้แต่ 84,000 เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นเป็นไม่มี เว้นแต่นิสัยพุทธภูมิฯ รู้อนันตนัย หาประมาณมิได้ พ้นจากนิสัยของสาวก สาวกรู้แต่ 84,000 เท่านั้น จะรู้ยิ่งไปกว่านั้นมิได้"

"ให้รู้ ..นโม.. *นะ* น้ำ *โม* ดิน (อิ อะ) อิติปิโสฯ อรหัง เมื่อรู้แล้ว ความรู้หาประมาณมิได้ อะ อิ สำคัญนัก เป็นคุณสมบัติของพระอรหันต์ฯ"

"ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ นี้เอง ทำให้บุคคลเป็นพระอรหันต์"

"..ญาณ.. ของพระพุทธเจ้า ท่านหมายเอา สกนธ์กาย เช่น นิมิตธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุดิน และอาการ 32 เป็นนิมิต ท่านบอกว่า รู้เห็นเช่นนี้ บรรดาท่านเจ้าคุณทั้งหลายไม่คิดค้านเลยฯ

"สัตว์เกิดในท้องมารดาทุกข์แสน กามเป็นของต่ำช้า เป็นของที่นำทุกข์เดือดร้อนฯ"

"โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดี อย่าให้ติด ถ้าไม่ติดก็ได้ชื่อว่าเป็นสุข ในตอนนี้ ท่านแสดงทบไปทบมาเพื่อให้ศิษย์รู้"

"พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแล้ว ไม่เป็นปัญหาขึ้นมาได้ ถ้าไม่ถูกย่อมเป็นปัญหาขึ้นมา"

"ค้นดูกายถึงหลัก แลเห็นอริยสัจของจริงแล้ว เดินตามมรรค เห็นตัวสมุทัย เห็นทุกขสัจ"

"ต้องทำจิตให้เป็นเอก ต้องสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอกเสมอฯ"

"อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคคือ กาย วาจา ใจเป็นมรรค เข้าไปดับทุกข์ ดับสมุทัย ดับนิโรธ นิโรธดับไม่เอา เอาที่ไม่ดับ คือดับนั้น ยังเป็นตัวมรรค เอาสิ่งที่ไม่ดับ สิ่งที่ตั้งอยู่นั้นแหละเป็นตัวให้สิ้นทุกข์"

"ปฏิภาค.. นั้นอาศัยผู้ที่มีวาสนา จึงจะบังเกิดขึ้น ..อุคหนิมิต.. นั้นเป็นของที่ไม่ถาวร พิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็น ..ปฏิภาคนิมิต.. ชำนาญทาง.. ปฏิภาค.. แล้วทวนเข้ามาเป็นตน ปฏิภาคนั้นเป็นส่วนวิปัสสนาฯ"

"ท่านพิจารณาร่างกระดูกได้ 500 ชาติมาแล้ว ตั้งแต่เกิด เป็นเสนาบดีเมืองกุรุราช เป็นอุบาสก ถึงพระรัตนตรัย"

"เจริญทางจิตอย่างเดียว ตั้งแต่ ..อุปจารสมาธิ.. รู้วาระจิตของผู้อื่นได้ แก้นิวรณ์ได้ แต่โมหะคุมจิต ถ้าเจริญวิปัสสนา ถึง..อัปปนาสมาธิ.. ท่านอาจารย์บอกเช่นนั้น และบอกว่าทำความรู้ให้พอเสียก่อนจึงไม่หวั่นไหว"

"ให้รู้ที่จะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนที่จะไปเกิดฯ ท่านอาจารย์ได้พิจารณาวัฏฏะ 500 ชาติ"

"ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อน จึงปฏิบัติถูก ความผิดเป็นเหตุความถูกเป็นผลของความดีทั้งหลาย ต้องเดินมรรค 8 ให้ถูกจึงจะแก้ได้ เดินตามสายหนทางของพระอริยเจ้า ใช้ตบะอย่างยิ่งคือความเพียร จึงจะสอนตนได้โลกีย์ โลกุตระ 2 อย่างประจำอยู่ในโลก 3 ภพ"

"ปัญญามีสัมปยุตทุกๆภูมิ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ เหล่านี้ ล้วนแต่มีปัญญาประกอบ ควรที่เป็นเสียมก็เป็น ควรที่เป็นขวานก็เป็น ส่วนที่เฉยๆ เรื่อยๆนั้น เช่นเหล็กเป็นแท่งกลม จะเอามาใช้อะไรก็ไม่ได้ นี้ฉันใด"

"จะบอกการดำเนิน วิปัสสนา และ สมถะ โดยเฉพาะนั้นมิได้ เพราะมันไปหน้าเดียว จริตของคนต่างๆกัน แล้วแต่ความฉลาด ไหวพริบของใคร เพราะดำเนินจิตหลายแง่แล้วแต่ความสะดวก"

"อย่าให้จิตเพ่งนอก ให้รู้ในตัว เห็นในตัว เมื่อรู้ในตัวแล้ว รู้ทั่วไป เพราะตัวเป็นต้นเหตุ"

"เทศน์เรื่องมงคลวิเสส ที่มนุษย์ เทวดามีความสงสัย มิได้แก้อัตถะแปลได้เหมือนพระพุทธองค์ มนุษย์เป็นสถานกลาง อะไรดี หรือชั่วก็ต้องกลั่นออกไปจากมนุษย์นี้ทั้งนั้น ทำให้เป็นดีก็มนุษย์ ทำให้ชั่วก็มนุษย์ จะเป็นบุถุชนก็มนุษย์ จะเป็นพระพุทธเจ้าก็มนุษย์"

"ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนทั้งนั้น สุภะ เป็นธาตุบูดเน่า เป็นธรรมชาติของเขา ร้ายแต่มนุษย์ จิตติดสุภะ ดื่มสุรา ท่านยกพระโพธิสัตว์ ยศเป็นกษัตริย์ มีเมีย 6 หมื่น บุตรราหุล ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียว ติดกันจนตาย ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้คนสิ้นทุกข์ไปได้"

"บุคคลรักษาจิต ได้แล้วทั้งศีล แม้รักษาทางปัญญา ได้แล้ว ทั้งศีล สมาธิ ปัญญา ดุจข้าวสุกที่สำเร็จแล้ว เราจะตวงกิน ไม่ต้องไปกังวล ทำนาเก็บเกี่ยว และข้าวเปลือก ข้าวสารเลย กินข้าวสุกแล้วก็เป็นพอนี้ก็ฉันนั้น เป็นสถานที่สำรวม"


"ภายนอกให้ละเอียดเสียก่อน แล้วภายในจึงละเอียด"

"ครั้งพุทธกาล บางองค์ติดทางสมาธิ 50 ปี จึงได้สำเร็จก็มี"

"พระอานนท์ เป็นคลังแห่งพระธรรม อะไรท่านรู้หมด ทำเนิ่นช้า เพราะท่านติดพระสูตร อภิธรรม ไม่น้อมลงมาปฏิบัติ จึงสำเร็จช้า อายุ 80 ปี หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน"

"พระอานนท์ทำความเพียรในกายวิปัสสนา กำหนดจิต โดยมิได้ละ จนขาตรงทีเดียว จึงได้ทอดกายด้วยสติ หัวยังไม่ถึงหมอน จิตก็เข้าสู่ภวังค์ ภวังค์หายไป เกิดความรู้ เญยธรรม ทั้งหลาย ฯ"

"พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร ล้วนแต่เกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ โมคคัลลาน์ สั่งสอนแม่ไม่ได้เลยทีเดียวฯ"

"เหตุปจจโย โหติ ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุ ดับเพราะเหตุฯ"

"อย่าเชื่ออภิญญาฯ ปฏิบัติเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นอาบัติทุกกฏ"

"ธรรมเป็นของเย็น พระกรรมฐานอยู่ที่ไหน สัตว์ป่าต้องอาศัยอยู่ หมูป่าเห็นคฤหัสถ์เป็นยักษ์เป็นมาร เบียดเบียนสัตว์ ยิงจนไม่มีเหลือ เสือภูวัว ท่านอาจารย์ทำอุโบสถ มันมาร้อง เมื่อฟังปาติโมกข์ จบแล้วมันก็หายไป ท่านอาจารย์มั่นคุ้นเคยสัตว์เหล่านี้ ท่านรู้วาระจิตสัตว์เหล่านี้ เป็นมิตรสหายกันด้วยธรรมเครื่องเย็นใจ"

"สัตว์เดจัจฉาน เขาก็มีสัญญา ปัญญา นามธรรม รู้เหมือนกับมนุษย์ แต่เขาพูดไม่ได้"

"ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นนั้นอย่าย้าย มันเต็มแล้วมันย้ายเอง ท่านเตือนท่านมหาบัว ฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้า ละกิเลสส่วนใดได้แล้ว ท่านไม่กลับมาละอีก เพราะมรรคประหารสิ้นไปแล้ว เดินหน้าแก้กิเลสใหม่เรื่อยไป จนละกิเลสรอบ ไม่เกิดอีก นี้ก็เป็นอัศจรรย์"

"ให้ม้างกายเป็นนิจนั้นดี อย่าให้มันหุ้ม"

"สถานที่เข็ดขวาง ท่านบอกว่าเป็นพวกเปรต ต้องทำบุญให้ทานอุทิศถึง เขาก็ได้รับ อนุโมทนา หายไปเกิด ณ ที่อื่นฯ"

"ท่านไม่ชอบฤทธิ์ ชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยกำลังสมถะ ฌานสมาบัติทั้งนั้น ใช้วิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีฤทธิ์ สำเร็จอรหันต์"

"ฝึกหัดจิตดีแล้ว จิตเข้มแข็งมีอำนาจมาก ย่อมกระทำจิตสารพัดได้ทุกอย่าง เมื่อเห็นอำนาจของจิตแล้ว และเห็นกายเป็นของอ่อน จิตบังคับกายได้ฯ"

"เขาโกรธเรา แต่เราอย่าตอบ ให้พิจารณาความบริสุทธิ์ละลาย แล้วยกธงชัยขึ้น และ มีอะไรก็สงเคราะห์เขาผู้ประมาท ไม่นาน เขากลับคืนดี ไม่กลับคืนดีก็วิบัติถึงตายทีเดียว"

"ใครจะไปบังคับจิต นั้นไม่ได้เลย ต้องสอนจิตให้อยู่ด้วยอุบาย แม้คำสั่งสอนของพระองค์ ล้วนแต่เป็นนโยบายทั้งนั้น เหตุนั้น ท่านจึงไม่ชี้อุบายตรงๆ ลงไปทีเดียว จึงชักอื่นมาเปรียบเทียบฯ"

"นิมิตทั้งหลายเกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว ที่แสดงเป็นนิมิตออกมา อย่าหลงตามนิมิต ให้ทวนกระแสเข้าจิตเดิม เพราะนิมิต เป็นของไม่เทียง หลงเชื่อนิมิต ประเดี๋ยวเป็นบ้า"

"ปฏิภาคนิมิตเกิดเฉพาะผู้ที่มีวาสนาอย่างเดียว การภาวนาอย่าให้ทิ้งกายกับจิต นี้เป็นกรรมฐานเดิม แต่ให้จิตเด็ดเดี่ยวอย่างที่สุด จึงเป็นผู้ที่รู้ธรรมในธรรมฯ"

"ให้เป็นมหาสติ มหาปัญญา รอบกาย รอบจิต มรณะร้ายมาถึงแล้ว ต้องเข้าแย่งกันในช่องแคบ แม้โพธิสัตว์ชนะมาร ชนะในช่องแคบ"

"สนิมมันเกิดในเนื้อเหล็ก กิเลสมันเกิดในดวงจิต ต้องประหารจิตให้เป็นธรรม"

"ในโลกนี้เป็นอัตตาหมด ไม่มีต้นไม้และภูเขา วิปัสสนา ลบล้างหมด ไม่มีเชื้อโรคอยู่ในโลกชื่อว่า ..โลกุตระ.. "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 16:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติพระพุทธเจ้า

ตรัสรู้

ระหว่างทางก่อนถึงต้นโพธิ์ ได้พบคนตัดหญ้า ชื่อโสตถิยะ (หรือสวัสดิกะ) เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ถวายฟ่อนหญ้ากุสะ (คล้ายๆ หญ้าคาของเรา) ๘ ฟ่อนเล็กๆ เมื่อทรงรับฟ่อนหญ้าคาแล้ว ก็เอามาปูลาดเป็นสันถัดประทับนั่งบำเพ็ญเพียรที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เพราะที่นี่เป็นทำเลสงบดีกว่าที่อื่นๆ ทรงหันพระพักตร์ไปทางตะวันออก คือแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งในสมัยนั้นไม่ค่อยมีบ้านช่อง จึงมองเห็นแม่น้ำได้อย่างถนัด แสงเดือนในคืนวันเพ็ญสาดลงสู่สายน้ำเป็นประกายแวววับ ทำให้เกิดปิติสุขได้อย่างดี

ขณะนั้นพญาวสวัตตีมาร เห็นพระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจของตน จึงยกทัพมารบกวนรังแกมิให้ทรงตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ พระองค์ได้น้อยพระหฤทัยถึงบารมีธรรม ๑๐ ทัศ ซึ่งทรงบำเพ็ญมาแล้วในอดีต มิได้สะดุ้งตกพระทัยแต่อย่างใด พญามารได้ใช้อาวุธร้ายแรงขว้างไปเพื่อหวังสังหารพระองค์ แต่อาวุธทั้งหลายเหล่านั้นกลับกลายเป็นดอกไม้ และฉัตรกั้นกางอยู่เหนือพระเศียรอย่างน่าอัศจรรย์

พญามารไม่รู้จะทำอย่างไรก็ได้แต่ร้องตู่ว่ารัตนบัลลังก์นี้ เป็นสมบัติของตน พระองค์จึงทรงอธิษฐาน โดยเอามือขวาจับพื้นดินขอให้แม่ปฐพีเป็นสักขีพยาน (ภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย) ทรงเสี่ยงพระบารมีขันติธรรมเข้าช่วยผจญมาร แม่พระธรณีเทพยดาผู้รักษาพื้นแผ่นดินบริเวณนั้น จึงแปลงเพศเป็นหญิงสาวขึ้นมาบีบมวยผม (ที่มาของรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม) เกิดน้ำไหลท่วมกองทัพพญามารให้พ่ายแพ้ไปหมดสิ้นก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน ทำให้พระองค์ตั้งจิตมั่นเป็นสมาธิได้ลึกและแน่วแน่นับแต่บัดนั้น เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะเป็นการเบิกทางไปสู่การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะในราตรีนั้น ตรงกับวันวิสาขปุรณมี ดิถึเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๔๕ (และชาวพุทธเรายึดถือเอาวันนี้เป็นวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นที่ระลึกนึกถึงวันคล้ายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในทางศาสนาพิธี) ทรงพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา


:b8: :b8: :b8:

:b45: :b46: :b47: :b48: :b49:
:b50: :b51: :b53: :b54: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 19:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้


หากตัดมาเพียงแค่นี้....ก็จะเข้าใจว่า...ทั้งสองอย่างก็ถึงนิพพานเหมือนกัน..อย่างที่คุณเฉลิมฯ แกเข้าใจ

แต่หากดูโดยบริบทแล้ว....กลับจะตรงกันข้าม

สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย....เป็นกุศล

สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้....ไม่เป็นกุศล

สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย...เป็นกุศล
สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้....ไม่เป็นกุศล

สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย...เป็นกุศล
สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้....ไม่เป็นกุศล

สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย....เป็นกุศล
สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้....ไม่เป็นกุศล

ดังนั้น..ประโยคนี้..ก็ต้องเป็นเหมือนกันกับข้างบนคือ..

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย..เป็นกุศล

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้...ไม่เป็นกุศล

เป็นต้น....

ผิดก็ต้องขออภัย... :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2011, 22:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

ผิดก็ต้องขออภัย... :b12: :b12: :b12:


:b16: เอกอนไม่ได้คิดถึงสิ่งนั้นเลยกั๊บ
ไม่ได้มองไปที่นัยยะของท่่านเฉลิมศักดิ์
เพียงแต่อาศัยพระสูตรที่ท่านเฉลิมศักดิ์โพสต์ไว้เท่านั้น :b12:

เอกอนกะลังนั่งมองพระสูตรนี้
ในแง่ลำดับที่ลาดไปน่ะ
...
ซึ่ง
สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัย
สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้
สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรม
สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ
สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ
สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย


สลดใจที่ปรากฏในลำดับ ท่านอ๊บซ์ อ๊บซ์

และก็เห็นดินที่ปรากฎประปรายในกระทู้ต่าง ๆ
ซึ่งอยู่ในพิกัดที่ :b1: :b1: :b10:

ก็เลยลองหยิบมาไว้ใกล้ ๆ กันเล่น ๆ หง่ะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ้นกลิ่นดิน :b27:







:b53: :b53: :b53:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ก.ค. 2011, 10:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

:b16: เอกอนไม่ได้คิดถึงสิ่งนั้นเลยกั๊บ
ไม่ได้มองไปที่นัยยะของท่่านเฉลิมศักดิ์
เพียงแต่อาศัยพระสูตรที่ท่านเฉลิมศักดิ์โพสต์ไว้เท่านั้น :b12:

เอกอนกะลังนั่งมองพระสูตรนี้
ในแง่ลำดับที่ลาดไปน่ะ
...


s002
ก็ไม่ได้ตั้งใจจะบอกให้ใครคิด....
พอดีตัวเองคิด....ต่างจากที่เคย...
:b13:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร