วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 10:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ ?

ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว

เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว

วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:




Quote Tipitaka:
[๒๖] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว
ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ความพยายามจึงมีผล ความเพียร
จึงมีผล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑ - ๕๑๑. หน้าที่ ๑ - ๒๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 พ.ค. 2004, 12:30
โพสต์: 147


 ข้อมูลส่วนตัว www


เข้าใจ ฉลากยา ก็ตายปล่าว สำคัญอยู่ที่รู้ ถึงสรรพคุณวิธี หามาใช้แล้วหรือยัง...

สำรอกอวิชชา - ส่วนแห่งวิชชาธรรม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ
ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว
ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย
ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร
ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ

ที่มา พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

ฟันธง "โพชฌงค์" เป็นคำตอบสุดท้าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมิตรทางธรรมทุกท่านที่มาช่วยให้ความรู้ในมุมของการปฏิบัติและสภาวะที่เกิดขึ้นด้วยครับ :b8: :b46: :b46:

อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้น เส้นทางธรรมที่ถูกต้องซึ่งทุกท่านกำลังมุ่งหน้าเดินไปนั้น รายละเอียดหลักใหญ่ที่เป็น milestone สำคัญๆ เช่น วิปัสสนาญาณต่างๆ จะต้องผ่านเหมือนกันทุกท่านไป เพียงแต่สิ่งปลีกย่อยบนเส้นทาง อาจจะแตกต่างกันบ้างตามแต่เหตุ ๖ ปัจจัย ๒๔ ที่พานพบ :b38: :b37: :b39:

ดังนั้น สภาวะที่เกิดขึ้นจริงหลากหลายประเภทที่มิตรทางธรรมเข้ามาช่วยให้ความรู้และวิธีแก้ไขอาการนั้น อาจจะตรงหรือใกล้เคียงกับสิ่งที่มิตรทางธรรมบางท่านติดข้องอยู่ :b44: :b42: :b39:

ซึ่งสภาวะบางอย่างที่มิตรในลานฯพิมพ์มานั้น วิสุทธิปาละเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์เหมือนกัน เช่นอาการตัวโยกตัวโคลง คันหน้าคันตา หรือเกิดอาการหมุนๆ ดึงๆ ดันๆ ฯลฯ เคยแต่ลองทำสมาธิหมุนเล่นๆแล้วไม่ถูกจริตเลยเปลี่ยนวิธีหันมาทำอานาปานสติเหมือนเดิม ซึ่งจากประสบการณ์ในการปฏิบัติอานาปานสติจะพบเจอแต่สิ่งที่พระบรมครูทรงบอกไว้อย่างละเอียดโดยแยกเป็น ๑๖ ข้อใน ๔ จตุกกะตามนั้น :b8: :b46: :b46:

ดังนั้น การศึกษาธรรมจึงควรเปิดกว้างโดยมีกัลยาณมิตรที่ดี (สัปปุริสสังเสวะ) สดับสัทธรรม ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ เพื่อเก็บความรู้ที่ถูกจริตและวิธีแก้ที่ตรงกับอาการ (สัทธัมมัสสวนะ) แต่ต้องอยู่ในกรอบของการรู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ) สอบทานว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยการสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงลงในพระวินัยได้ตามหลักของมหาปเทส ๔ :b46: :b39: :b46:

และ/หรือสอบทานได้ว่า นี้เป็นคำสอนของพระบรมศาสดา (สตฺถุสาสนนฺติ) คือ :b50: :b49: :b48:

๑) เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด
๒) เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้ (ในวัฏฏะ) ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ (ในวัฏฏะ)
๓) เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส
๔) เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก
๕) เป็นไปเพื่อสันโดษไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ
๖) เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
๗) เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘) เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก

ตามหลักในสังขิตตสูตร ๘ (ซึ่งเป็นพระสูตรที่ตามอรรถกถาว่าไว้ว่า ทำให้พระนางปชาบดีโคตมีบรรลุอรหันต์) เพื่อให้ได้สุตมยปัญญาและจินตมยปัญญา
:b51: :b53: :b51:

ถ้าลงกันได้ตามมาตรฐานการตรวจสอบที่พระบรมครูทรงแนะนำเองแล้ว จึงนำมาปฏิบัติธรรมที่สมควรแก่ธรรม (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) ซึ่งในระหว่างที่นำมาปฏิบัติก็จะมีการวนไปสอบทานเรียนรู้และคิดพิจารณาอีกเป็นวงจรกลับมาปฏิบัติต่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามหลักกาลามสูตร ๑๐ (เกสปุตตสูตร) เพื่อให้ได้ปัญญาที่ไม่ได้เกิดมาจากความคิดความเชื่อ แต่เกิดจากการรู้แจ้งเห็นจริงเป็นภาวนามยปัญญาตามลำดับขั้น :b46: :b47: :b46:

จนถึงซึ่งการก้าวข้ามพ้นผ่านแห่งศรัทธาและความเชื่อในสภาพความเป็นจริงแห่งธรรมทั้งหลาย (อัสสัทธะ) ซึ่งเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของพระอรหันต์ เพราะรู้แจ้งเห็นจริง เกิดญาณทัศนะในสภาพความเป็นจริงแห่งธรรมทั้งหลายแล้วด้วยตนเอง จึงข้ามได้ซึ่งความเชื่อหรือไม่เชื่อทั้งปวงนะครับ :b1: :b39: :b39:

มหาปเทส ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?10/112-116
สังขิตตสูตร ๘ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5908&Z=5933&pagebreak=0
กาลามสูตร (เกสปุตตสูตร) ๑๐ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ ในเรื่องอริยบุคคลโสดาบัน :b1: :b46: :b41:

เนื้อหาส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับอริยบุคคลระดับโสดาบันนี้ จะศึกษาได้จากพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ในส่วนของโสตาปัตติสังยุต :b51: :b53: :b51:
(http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=8207&Z=8234&pagebreak=0)

และจากหนังสืออริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น นิโรธอริยสัจ นิทเทส ๑๑ ว่าด้วยผู้ดับตัณหา ที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านมีเมตตารวบรวมพุทธวจนะเป็นหมวดหมู่และแปลไว้ให้ศึกษาได้โดยง่าย นะครับ :b1: :b46: :b46:

ซึ่งจากข้อมูลที่ปรากฏในพระไตรปิฎกที่เกี่ยวข้องกับระดับขั้นการบรรลุธรรมทั้ง ๔ จะเห็นได้ว่า รองจากระดับอรหัตตมรรคอรหัตตผลซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดแล้ว ทรงให้ความสำคัญกับการปฏิบัติในระดับโสดาปัตติมรรค ไม่ว่าจะเป็นศรัทธานำหน้า (สัทธานุสารี) หรือปัญญานำหน้า (ธัมมานุสารี) เพื่อให้ลุซึ่งโสดาปัตติผลเป็นอย่างมาก :b46: :b39: :b46:

(ตรงนี้ให้ข้อสังเกตไว้นิดนึงนะครับ ในอริยบุคคล ๗ ประเภทตามที่พระบรมครูกล่าวไว้คือ สัทธานุสารี, ธัมมานุสารี, สัทธาวิมุต, ทิฏฐิปปัตตะ, กายสักขี, ปัญญาวิมุต, และ อุภโตภาควิมุตนั้น สำหรับผู้ที่ดำเนินไปในโสดาปัตติมรรคแต่ยังไม่ได้โสดาปัตติผลคือ สัทธานุสารี (พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีสัทธินทรีย์แรงกล้า ถ้าบรรลุผล จะกลายเป็นสัทธาวิมุต) และธัมมานุสารี (พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ที่มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ถ้าบรรลุผล กลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ) :b48: :b48: :b48:

ในแง่ความแก่กล้าของอินทรีย์ ๕ แล้ว จะใช้แค่องค์แรกกับองค์สุดท้ายคือ ศรัทธาและปัญญา เป็นองค์นำไปพร้อมกับวิริยะ สติ และสมาธิ เพื่อเข้าสู่โสดาปัตติผล แต่ไม่ได้หมายความว่า องค์ที่เหลือมีความสำคัญน้อยกว่านะครับ เหมือนเวลาเล่นบาสเก็ตบอลที่ประกอบด้วย ๕ คน ๕ ตำแหน่ง แต่ละคนแต่ละตำแหน่งสำคัญกับการแพ้ชนะเท่าๆกัน เพียงแต่มีบางตำแหน่งที่ถูกวางไว้ให้เป็นตัวนำในการทำแต้มได้มากกว่าตำแหน่งอื่นเท่านั้น) :b45: :b51: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และที่พระบรมครูให้ความสำคัญกับการบรรลุโสดาบันมาก เนื่องเพราะโสดาบันเป็นผู้ที่ “มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า” :b8: :b48: :b48:

คืออย่างไรก็ตาม ไม่มีทางที่จะไหลกลับตกต่ำอีกแล้ว มีแต่เดินหน้าผ่านสกทาคามี อนาคามี ไปนิพพานที่ระดับอรหันต์อย่างเดียวตามพุทธพจน์ที่ทรงกล่าวเป็นส่วนมากต่อจากคำว่า พระโสดาบัน ที่ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปในพระไตรปิฎก :b46: :b47: :b46:

(จะเห็นได้ว่า แม้ในระดับโสดาบัน สกทาคามี หรืออนาคามี ความเป็นปรกติลักษณะสามัญตามธรรมชาติก็ยังคงทำหน้าที่อยู่ คือยังอยู่ภายใต้สภาวะถูกบีบคั้น (ทุกขัง) ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ค่าว่าสูงขึ้น (แต่ที่จริงเป็นเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัย (อนัตตา)) :b51: :b51: :b41:

จวบจนเข้าสู่ระดับอรหัตตผลถึงจะพ้นเสียซึ่งสภาวะถูกบีบคั้น (อทุกขัง) ทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (นิจจัง) ในสภาวะนั้นอีก แต่ก็ยังอยู่ภายใต้สภาวะที่เป็นเช่นนั้นเองตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นตัวเป็นตน ของตัวของตน ฯลฯ (อนัตตา) อยู่)
:b46: :b47: :b41:

ดังนั้น การได้ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดโลกุตรปัญญาสัมมาทิฏฐิที่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา” จึงเป็นสิ่งที่รับประกันได้ว่า ผู้นั้นไม่ตกไปในอบายภูมิ เข้าสู่ทางสายตรงที่มุ่งสู่พระนิพพานอีกไม่เกิน ๗ ชาติอย่างแน่นอน :b49: :b50: :b49:

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รับประกันนี้นั้น ไม่ได้หมายความว่าให้ตายใจแล้วตั้งอยู่โดยความประมาท หยุดการปฏิบัติหยุดความเพียรนะครับ ซึ่งพระบรมครูเองถ้าไม่จำเป็นแล้วจะไม่ทรงพยากรณ์ว่า ยังมีบุคคลที่ถึงแม้จะยังมีเชื้อเกิด (อุปาทิ) เหลืออยู่ ๙ จำพวก (ซึ่งรวมพระโสดาบัน ๓ จำพวก) เมื่อตายไปแล้วจะพ้นจากอบายภูมิ เนื่องเพราะจะทำให้บุคคลผู้นั้นตั้งอยู่บนความประมาทได้ :b39: :b48: :b42:

สารีบุตร ! ธรรมปริยายข้อนี้ ยังไม่เคยแสดงให้ปรากฏ แก่หมู่ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มาแต่กาลก่อน. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
เพราะเราเห็นว่า ถ้าเขาเหล่านั้นได้ฟังธรรมปริยายข้อนี้แล้ว จักพากันเกิด
ความประมาท ; อนึ่งเล่า ธรรมปริยายเช่นนี้ เป็นธรรมปริยายที่เรากล่าว
ต่อเมื่อถูกถามเจาะจงเท่านั้น
; ดังนี้แล.

- นวก. อํ. ๒๓/๓๙๓/๒๑๖. (อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๖๐๗)
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=8018&Z=8096&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และสิ่งที่พระบรมครูทรงวางไว้เป็นแนวปฏิบัติ หรือ “เหตุปัจจัย” ที่ทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรมในระดับโสดาบัน และพัฒนาไปสู่โลกุตรปัญญาที่สูงขึ้นไปจนถึงขั้นดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงในระดับอรหันต์นั้น คือสิ่งที่เรียกว่า องค์คุณเครื่องบรรลุโสดาบัน ๔ (โสตาปัตติยังคะ ๔ หรือ วุฑฒิธรรม ๔) คือ :b8: :b39: :b39:

๑. เสวนาสัตบุรุษ, คบหาท่านผู้ทรงธรรมทรงปัญญาเป็นกัลยาณมิตร (สัปปุริสสังเสวะ) :b48:
๒. สดับสัทธรรม, ใส่ใจเล่าเรียนฟังอ่านหาความรู้ให้ได้ธรรมที่แท้ (สัทธัมมัสสวนะ) :b48:
๓. ทำในใจโดยแยบคาย, รู้จักคิดพิจารณาหาเหตุผลโดยถูกวิธี (โยนิโสมนสิการ) :b48:
๔. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) :b48:

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=193
สาริปุตตสูตร ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=8316&Z=8337&pagebreak=0
ผลสูตรที่ ๑ ถึง ๔ เจริญธรรม ๔ ประการทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=9792&Z=9799&pagebreak=0


โดยในข้อ ๑ – ๓ นั้น เป็นเหตุเกื้อหนุนให้การปฏิบัติในข้อ ๔ เจริญงอกงาม ซึ่งในข้อ ๔ นั้น ขยายความได้คือ กิจในอริสัจจ์ ๔ โดยเฉพาะการเจริญ (ภาวนา) มรรคให้ครบองค์ ๘ หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั่นเอง :b8: :b46: :b46:

ซึ่งถ้าปฏิบัติเหตุปัจจัยให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการปฏิบัติ “ธรรมสมควรแก่ธรรม” ได้แก่การเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เห็นการเกิดดับจนมีความก้าวหน้าตามลำดับแห่งโสฬสญาณดังที่อธิบายไว้แล้ว :b1: :b39: :b39:

“ผล” ของคุณสมบัติแห่งโสดาบันที่จะปรากฏประการแรกคือ เห็นแจ้งในกายและใจว่าไม่ใช่เรา (ละซึ่งสักกายทิฏฐิ) และคุณสมบัติต่อมาที่เกิดขึ้นคือ จะหมดสิ้นซึ่งความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะ “ รู้” และ “เห็นนิพพาน” แล้วด้วยตนเองว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกนั้นคือ “ของจริง” ศีลพรต หรือแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ เป็นแนวทางเดียวที่ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ ไม่มีศีลพรตอื่นให้งมงายอีก :b46: :b39: :b46:

นั่นคือ สังโยชน์ข้อวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส ได้ถูกทำลายตามลงไปด้วยโดยอัตโนมัติตามที่ได้เคยอธิบายด้วยเหตุและผลดังนี้ครับ :b8: :b46: :b46:

ต่อจากนั้น คือหลังจากแจ้งแล้วซึ่งพระนิพพานในครั้งแรก จิตซึ่งเคยรู้ในสภาวะแห่งความหลุดพ้น จะละสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นในขั้นหยาบโดยอัตโนมัติ นั่นคือ จิตจะละกิเลสอย่างหยาบที่ออกมาทางกายวาจา (วีติกกมกิเลส) โดยมีศีล ๕ ที่สมบูรณ์เป็นอินทรีย์สังวรศีล อริยกันตศีลโดยอัตโนมัติ (หมายถึง ไม่ต้องกดข่มฝืนใจที่จะรักษาหรือ “ถือ” ศีล เพราะเห็นว่า การละเมิดศีล ๕ เป็นของร้อนและเป็นปฏิปักษ์กับการหลุดพ้นเสียแล้ว จิตจะไม่ไปจับของร้อนนั้นเองโดยไม่ต้องฝืนบังคับ) :b39: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งคุณสมบัติของโสดาบันตรงนี้ คือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงให้ใช้เป็นมาตรวัด หรือแว่นส่องธรรม (ธรรมาทาส) ๔ ประการ สำหรับพยากรณ์ตนเองได้ว่า “เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า” ได้แก่ :b8: :b46: :b46:

(๑) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...
(๒) ในพระธรรม ...
(๓) ในพระสงฆ์ ...
(๔) ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ


ซึ่งคุณสมบัติในข้อ ๑ ถึง ๓ นั่นคือ การที่ไม่มีความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย หรือไม่มีอีกแล้วซึ่งวิจิกิจฉาสังโยชน์ ส่วนคุณสมบัติในข้อ ๔ ได้แก่ ความที่ไม่มีการถือศีลพรตงมงายอีก แต่ไม่ได้แปลว่าไม่มีศีลพรตนะครับ เพียงแต่ศีลพรตที่ถือ เป็นศีลพรตที่ “พระอริยเจ้าใคร่แล้ว (อริยกันตศีล)” และ “เป็นไปเพื่อสมาธิ” :b46: :b39: :b46:

นั่นคือ เป็นศีลที่ไม่ทำให้เกิดการเบียดเบียนทั้งผู้อื่นและตนเอง ทำให้กายใจเป็นปรกติ เพื่อระงับนิวรณ์ เอื้อต่อสมาธิ ซึ่งพระพุทธองค์ให้คำจำกัดความศีลในขั้นนี้ ได้แก่ศีล ๕ หรือที่พระพุทธองค์ใช้คำว่า “ภัยเวร ๕ ประการ” :b39: :b39:

(ดู เวรสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4182&Z=4239&pagebreak=0)


ซึ่งในส่วนของมาตรวัด หรือแว่นส่องธรรมที่ใช้พยากรณ์ตนเองว่าบรรลุโสดาบันหรือไม่นี้ มักจะเข้าใจสับสนว่า เป็น “เหตุ” ที่ทำให้บรรลุโสดาบัน นั่นคือ ถ้าผู้ปฏิบัติ “แค่” :b48: :b48:

๑. “ทำใจให้เชื่อ (ศรัทธา) อย่างแรงกล้า” ในพระรัตนตรัย +
๒. “ทำใจให้ไม่เชื่อ” ในศีลพรตงมงาย +
๓. ด้วยการ “บังคับ” กาย วาจา ด้วยการถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด

แถมด้วยการปฏิบัติในข้อของการละซึ่งสักกายทิฏฐิ ด้วยการ :b44: :b44:

๔. “คิด” หรือ “ทำใจให้เชื่อ” ว่าทุกอย่างว่างจากอัตตาตัวตน ไม่มีซึ่งตัวกูของกู

ด้วยคิดว่า แค่นี้ ก็ทำให้บรรลุโสดาบันได้แล้ว เพราะเข้าใจว่า เป็นการปฏิบัติในมาตรวัด หรือคุณสมบัติของพระโสดาบันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์อย่างเคร่งครัด :b5: :b46: :b46:

อย่างนี้ เป็นการปฏิบัติที่ “ผล” ซึ่งไม่อาจทำให้บรรลุโสดาบันได้นะครับ เพราะไม่ได้ปฏิบัติที่ “เหตุ” ที่จะทำให้บรรลุโสดาบัน สิ่งที่ทำในข้อ ๑ - ๔ เป็นแค่ “ปัจจัย” เกื้อหนุนเท่านั้น :b1: :b38: :b37: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำแล้วจะไม่มีอานิสงค์ที่ดีนะครับ คือทำได้ไม่เสียหาย ถ้าไม่เข้าไปแบก ไปยึดไปถือ ไปเบียดเบียนให้ผู้อื่นและตนเองเดือดร้อน :b39: :b46: :b46:

แถมบุคคลที่มีความศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแรงกล้านั้น อย่างน้อยก็ได้ขึ้นสวรรค์ ไม่ตกไปในอบายภูมิได้ ๑ ชาติ ตามพุทธพจน์ที่ว่า “บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า” :b46: :b39:
(ดู อลคัททูปมสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4443&Z=4845&pagebreak=0)

เพราะผู้ที่ศรัทธาในพระองค์อย่างแนบแน่น ย่อมจะไม่ละเมิดข้อห้ามขั้นต่ำสุดคือศีล ๕ (คือถ้าละเมิดศีล ๕ ก็ยังไม่ใช่ผู้ที่ศรัทธาในพระองค์อย่างแนบแน่น) และยังเป็นผู้ที่เข้าสู่เส้นทางที่เดินไปสู่การรู้แจ้งในระดับโสดาบันด้วย คือโสดาปัตติมรรคบุคคลที่มีบุคลบัญญัติจากพระโอษฐ์ว่า สัทธานุสารี และธัมมานุสรี :b1: :b46: :b46:

ซึ่งสัทธานุสารีนั้น นอกเหนือจากศรัทธาในพระรัตรตรัยแล้ว ยังต้องมีความเชื่อ และน้อมจิตไปในธรรม ๖ ประการด้วยคือ เชื่อและน้อมจิตไปว่า จักษุ.... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ... กายะ ... มนะ เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ คือ “ทำใจให้เชื่อ และน้อมจิตไป” ในความเกิดดับ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจังของธรรมทั้ง ๖ :b39: :b44: :b50:

ซึ่งต่างจากโสดาปัตติมรรคบุคคลในส่วนของธัมมานุสารี ที่นอกเหนือจากความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยแล้ว ยังต้อง “เพ่งด้วยปัญญา” ในความเกิดดับ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนิจจังของธรรมทั้ง ๖ :b46: :b47: :b46:

แต่เมื่อบรรลุโสดาบัน พระพุทธองค์ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “ทำใจให้เชื่อ น้อมจิตไป” และ “เพ่งด้วยปัญญา” เป็นคำว่า “ย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้” คือเกิดดวงตาเห็นธรรม รู้และเห็นด้วยตนเองแล้ว ไม่ต้องทำใจให้เชื่อ ไม่ต้องน้อมจิตไป ไม่ต้องเพ่งด้วยปัญญาในการเกิดดับเพื่อให้บรรลุโสดาบันอีก (แต่ต้องเพ่งด้วยปัญญา พิจารณาเพื่อให้บรรลุในระดับที่ยิ่งขึ้นไป) คือเป็นผู้ที่ไม่ต้องอาสัยศรัทธา ก้าวข้ามผ่านความเชื่อ (อัสสัทธะ) ในการเกิดดับ ความไม่เที่ยงแห่งขันธ์ เพราะเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงแล้วด้วยตนเองนั่นเอง :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกมาให้ดูทั้งสำนวนแปลของหลวงพ่อพุทธทาส และพระไตรปิฎกแปลไทยฉบับสยามรัฐตามนี้ครับ :b8: :b46: :b44:

ผู้รวมอยู่ในกลุ่มโสดาบัน ๓ จำพวก
ก. สัทธานุสารี
ภิกษุ ท. ! จักษุ.... โสตะ .... ฆานะ .... ชิวหา ... กายะ ... มนะ เป็นสิ่ง
ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.
ภิกษุ ท. ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไป ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการ
อย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่ง
ความถูกต้อง) หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ) ล่วงพ้นบุถุชนภูมิไม่อาจที่จะ
กระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ข. ธัมมานุสารี
ภิกษุ ท. ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อการเพ่งโดยประมาณอันยิ่ง
แห่งปัญญา
ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้ ; บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมา-
นุสารี หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะ
กระทำกรรมอันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดดิรัจฉาน หรือเปรตวิสัย และไม่
ควรที่จะกระทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ค. โสตาปันนะ
ภิกษุ ท. ! บุคคลใดย่อมรู้ย่อมเห็นในซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ด้วย
อาการอย่างนี้
(ตามที่กล่าวแล้วในข้อบนมีความเห็นความไม่เที่ยงเป็นต้น) ;บุคคลนี้เราเรียก
ว่าโสดาบัน (ผู้ถึงแล้วซึ่งกระแส) ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (อวินิปาตธมฺม) เป็นผู้
เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน (นิยต) มีสัมโพธิเป็นเบื้องหน้า (สมฺโพธิปรายน).

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า ๕๙๒


[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอัน
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่
เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็น
ธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่
หวั่นไหว
ซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลง
สู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่า
ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่
บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง
ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า
เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

โอกกันตสังยุต จักขุสูตร ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=5633&Z=5648&pagebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ต้องการสรุปก็คือ การปฏิบัติในองค์คุณสมบัติของโสดาบันทั้ง ๓ หรือ ๔ ข้อข้างต้นนั้น ไม่สามารถทำให้บรรลุโสดาบันได้ เพราะเป็นเรื่องของการคิด (จินตามยปัญญา) ยังไม่ใช่การปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่แท้จริง (ภาวนามยปัญญา) :b46: :b39: :b46:

โดยสิ่งที่เป็น “เหตุ” ที่แท้จริง เพื่อใช้ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาบัน (และระดับขั้นอื่นๆยิ่งขึ้นไป) นั้น ได้แก่ องค์คุณเครื่องบรรลุโสดาบัน ๔ (โสตาปัตติยังคะ ๔ หรือ วุฑฒิธรรม ๔) ที่กล่าวไว้แล้วนั่นเอง :b1: :b46: :b46:

ซึ่งเมื่อปฏิบัติในโสตาปัตติยังคะ ๔ โดยเฉพาะข้อปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมจนถึงจุดที่เกิดดวงตาเห็นธรรมแล้ว การเป็นผู้ประกอบด้วย “ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... และประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ... เป็นไปเพื่อสมาธิ” จะเป็นไปเองโดยธรรมชาติที่ปราศจากการคิดหรือฝืนบังคับ จะเป็นความรู้สึกแท้จริงที่ฝังตัวอยู่ภายใน เพราะรู้แจ้งเห็นจริงจนเกิดปัญญาแล้วด้วยตนเองนะครับ :b1: :b39: :b46:

ซึ่งถ้าจะสรุปให้ชัดขึ้นไปอีกสำหรับสภาวะหลังการบรรลุโสดาบัน ซึ่งรวมถึงองค์ธรรมที่ใช้พยากรณ์ตนเองว่าได้บรรลุโสดาบันนั้นว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง จะได้ดังนี้คือ :b8: :b46: :b46:

๑) มีศีล ๕ ครบโดยไม่ต้องฝืน เป็นอินทรียสังวร อริยกันตศีล (ระงับภัยเวร ๕ ประการ)

๒) ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการ คือ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย (ซึ่งตรงกับข้อ ๑)

๓) เป็นผู้ทำลายสักกาย (มิจฉา) ทิฏฐิ คือความเห็นว่าเป็นตัวของตน ได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดโลกุตรปัญญาสัมมาทิฏฐิว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา” (เป็นผู้เห็นแจ้งแทงตลอดญายธรรมที่เป็นอริยะด้วยปัญญา) ไม่มีสิ่งใดเป็นตัวของตน (แต่ยัง “ยึดอยาก” ในรสอร่อย หรือ “ไม่ยึดไม่อยาก” ในรสขมของ “ตน” หรือขันธ์ทั้ง ๕ อยู่นะครับ เหมือนกับเด็กเปิดตู้เย็นเห็นขนมเตรียมใส่บาตรตอนเช้า แม้จะรู้ว่าไม่ใช่ของๆตนแต่ก็ยังยึดอยากในรสขนมนั้นอยู่ ซึ่งตรงนี้ต่างกันอย่างไร คงได้อธิบายเพิ่มเติมโดยย่อในโอกาสต่อไป)
:b1: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สั้นๆได้ว่า “ครบในศีล ๕, ศรัทธาในรัตนตรัย, ทำลายในสักกายทิฏฐิ” ซึ่งสอดคล้องกับสังโยชน์ที่ละได้ทั้ง ๓ ตัว จึงจะครบถ้วนในคุณสมบัติของโสดาบัน :b8: :b46: :b46:

ซึ่งปรากฏอยู่ในท่อนสรุปของเวรสูตร ที่พระบรมครูทรงกล่าวกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตามนี้ครับ :b47: :b46: :b47:

“ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุที่อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ เป็นผู้
ประกอบด้วยองค์เครื่องบรรลุกระแสนิพพาน ๔ ประการนี้ และเป็นผู้เห็นแจ้งแทง
ตลอดญายธรรมที่เป็นอริยะด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตน
ด้วยตนได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติวิสัยสิ้นแล้ว
มีอบาย ทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ”

เวรสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=4182&Z=4239&pagebreak=0


ซึ่งสอบทานกลับได้ในอีกหลายพระสูตรที่สอดคล้องกัน เช่น ปหาตัพพสูตร และปหีนสูตร ที่กล่าวถึงธรรมที่ผู้ปฏิบัติสู่ความเป็นโสดาบัน (ทิฏฐิสัมปทา หมายถึงโสดาปัตติมรรคบุคคล) ต้องละ ๖ ประการคือ :b46: :b39: :b46:

๑) สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าขันธ์ ๕ ของตน)
๒) วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์)
๓) สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง)
๔) อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
๕) อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
๖) อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)

ซึ่งในข้อ ๔, ๕, และ ๖ คือการมีศีล ๕ เป็นปรกตินั่นเอง :b1: :b47: :b46: :b47:
ปหาตัพพสูตร และปหีนสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
http://84000.org/tipitaka/read/?22/360-361


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 16:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หรืออีกนัยหนึ่งของการละซึ่งสักกายทิฏฐิสังโยชน์หลักองค์เดียว คือการเห็นในอนิจจังความไม่เที่ยงความเกิดดับของฐานะ ๖ ได้แก่ :b46: :b39: :b46:

(๑) รูป
(๒) เวทนา
(๓) สัญญา
(๔) สังขาร
(๕) วิญญาณ และ
(๖) แม้แต่ตัวองค์ความรู้ ตัวปัญญาความรู้ชัดในความเป็นอนิจจังของขันธ์ทั้ง ๕ นั้นเองก็ไม่เที่ยง (ที่พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า “แม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้วใคร่ครวญแล้วด้วยใจ”)

ก็เป็นหลักให้ตรวจสอบได้ถึงความเป็นโสดาบันบุคคลได้


(อ้างอิง นวาตสูตร ทิฏฐิสังยุต โสตาปัตติวรรคที่ ๑ ว่าด้วยเหตุเกิดมิจฉาทิฏฐิ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=4821&Z=4871&pagebreak=0)


แต่ที่บางครั้ง พระพุทธองค์ทรงกล่าวเพียงครบศีล ๕ และศรัทธามั่นคงในรัตนตรัยว่าเป็นแว่นส่องธรรม เนื่องเพราะองค์ธรรมสองข้อนี้เป็น “ผล” หรืออาการที่ตรวจสอบได้ง่ายและชัดเจน โดยเป็น “ผล” ที่เนื่องมาจาก “เหตุ” คือการปฏิบัติในโสตาปัตติยังคะ ๔ จนได้ดวงตาเห็นธรรมตามที่ได้เคยอธิบายไว้ :b1: :b46: :b39: :b46:

ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติบางส่วนเกิดความเข้าใจไขว้เขวโดยที่ไม่ซาบซึ้งจริงๆถึงความหมายเนื้อแท้ระหว่างคำว่า :b48: :b48:

“ถือ” ศีล ๕ โดยเคร่งครัด

กับคำว่า

“มี” ศีล ๕ อย่างเป็นปรกติ

และคำว่า

“เชื่อด้วยอาการถือเอา” พระรัตนตรัยเป็นสรณะ

กับคำว่า

“มีความเลื่อมใสโดยไม่หวั่นไหว” ในพระรัตนตรัยอย่างแนบแน่นเป็นปรกติ

เพราะการ “ถือ” แสดงว่ายังมีความหนัก ยังมีการฝืน ยังไม่ปล่อยให้ “มี” เอง หรือเป็นไปเองโดยธรรมชาติ

จึงเกิดความคิดเห็นที่ว่า แค่ถือศีล ๕ ให้ครบ แล้วมีศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว แค่นี้ ก็ทำให้บรรลุโสดาบันได้ :b5: :b46: :b46:

มาต่อในเกร็ดเพิ่มเติมของอริยโสดาบันกันต่ออีกเล็กน้อย ก่อนขึ้นไปที่อริยสกทาคามีในคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2011, 01:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2011, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวัจน์ คู่มือโสดาบัน โดย พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิตโล

http://www.onab.go.th/index.php?option= ... Itemid=280


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ผู้ใคร่ความหลุดพ้น
ขอบคุณ คุณวิสุทธิปาละที่นำองค์คุณของพระโสดาบันโพสต์ให้ทุกท่านได้ศึกษา
สำหรับผู้ผ่านการบรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว สังโยชน์ 3 ถูกทำลายลงด้วยมรรคญาณ ในสังโยชน์ 3 สักกายะทิฏฐิเป็นสิ่งที่ถูกทำลาย ส่วนวิจิกิจฉาและสีลพตปรามาสก็หายไปด้วย ซึ่งเป็นผลจากการทำลายสักกายะทิฏฐิ สักกายะทิฏฐิ คือความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน คือยึดถือว่าเราเป็นศูนย์กลางอย่างหนาแน่น มีเราเป็นผู้กระทำ ผู้คิดนึก เมื่อความเป็นตัวตนหายไป ความเป็นศูนย์กลาง ความยึดถือในความนึกคิดก็เบาบางลงด้วย การคิดนึกส่วนใหญ่จึงเป็นไปตามเหตุ แต่ก็ยังมีความเป็นเขาเป็นเราอยู่(มานะ) สำหรับสักกายะทิฏฐิ ซึ่งเป็นต้นเหตุกิเลสทั้งปวง โดยเฉพาะกิเลสที่เป็นเหตุนำสรรพสัตว์เวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้นในอบายภูมิ การทำลายสักกายะทิฏฐิจึงถือเป็นการปิดอบายภูมิโดยสิ้นเฃิง :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 141 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร