วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2011, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว




คำอธิบาย: พระพุทธเจ้าแสดงธรรม
ธรรมจักร.jpg
ธรรมจักร.jpg [ 23.09 KiB | เปิดดู 1778 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8: โลกุตระฌาน นั้น เป็นองค์แห่งมรรค ที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "พึงเจริญ"

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 03:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



ดูกรจุนทะ
การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว ๔ ประการเป็นไฉน ??

ดูกรจุนทะ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ข้อนี้ เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๑

ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๒

ดูกรจุนทะ
ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกายเพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ข้อที่ ๓

ดูกรจุนทะ
ก็ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
ข้อนี้เป็นการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุขข้อที่ ๔


ดูกรจุนทะ การประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย
เพื่อความคลายกำหนัด
เพื่อความดับ
เพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้
เพื่อพระนิพพานโดยส่วนเดียว


ดูกรจุนทะ
ก็ฐานะนี้แลย่อมมีได้ คือการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
พวกสมณศากยบุตรเป็นผู้ขวนขวาย ในการประกอบตนให้ติดเนื่องในความสุข ๔ ประการเหล่านี้แล ดังนี้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น อันพวกเธอพึงกล่าวอย่างนี้
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อจะกล่าวกะพวกเธอ พึงกล่าวได้โดยชอบ
พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น พึงกล่าวตู่พวกเธอด้วยสิ่งไม่มีจริงไม่เป็นจริงหามิได้ ฯ
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๒๙๑๕ - ๒๙๔๓. หน้าที่ ๑๒๑ - ๑๒๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=1

:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2011, 12:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
เจ้าวังทอง เขียน:
ฌานอยากมีใจจะขาดแต่ไปไม่ถึง อยากได้ฌานขั้นนิโรธสมาบัติ ดับทุกข์แล้วมันดีหรือไม่ดีละ


นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเป็นความดับแห่งนามขันธ์ 4 ครับ
นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติ แต่ไม่ใช่ฌาน
ฌานหรือฌานสมาบัติคือชนิดของจิตครับ
แต่นิโรธสมาบัติเป็นการดับจิตตสังขารครับ


สมาบัติมี 3
1.ฌานสมาบัติ 8
....ชนิดของจิต
2.ผลสมาบัติ 4......ชนิดของจิต
3.สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นิโรธสมาบัติครับ....ความดับจิตตสังขารครับ



เจริญในธรรมครับ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2011, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สนทนากันครึกครื้นดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2011, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ความพยายามจึงมีผล ความเพียร
จึงมีผล ฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑ - ๕๑๑. หน้าที่ ๑ - ๒๑.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 125 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร