วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 01:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




-บุญ.jpg
-บุญ.jpg [ 24.98 KiB | เปิดดู 10233 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool

ทำบุญละลายบาป จะได้หรือไม่

การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง เช่น ความชั่วเกิดขึ้นในใจ เมื่อความดีเกิดขึ้นความชั่วย่อมถอยไป ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อย ๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้ เรียกว่าเอาความดีมาไล่ความชั่วหรือละลายความชั่ว

อีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้วซึ่งจะต้องมีผลในโอกาสต่อไป ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว ผลของกรรมชั่วนั้นก็จะค่อย ๆ จางลงจนไม่มีอานุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์ เปรียบเหมือนกรด (เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้ แต่ถ้าเติมด่าง (อัลคอไลน์) ลงไปเรื่อย ๆ กรดนั้นก็เจือจางลง หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ สมมติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังน้ำใหญ่ ๆ ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี ที่ทางพระท่านเรียก “อัพโพหาริก” แปลว่า “มีเหมือนไม่มี” เรียกไม่ได้ว่ามีหรือไม่มี เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือในเนื้อไม้ เรารู้ได้ว่ามีความชื้นอันเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา

เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงไปในถังใหญ่ ๆ แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อย ๆ โดยไม่เติมเกลือ ในที่สุดน้ำนั้นจะไม่ปรากฎความเค็มเลย เพราะจำนวนน้ำเหนือจำนวนเกลือมากนัก ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีพระพุทธภาษิตอ้างอิงดังนี้


“ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปกรรมเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก บางคนทำบาปเล็กน้อยเช่นนั้นเหมือนกัน แต่บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น (ทิฏฺฐธมฺมเวทนียัง) ไม่ปรากฎผลอีกต่อไป
บุคคลเช่นไรทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก คือบุคคลผู้มิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมจิต มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก
บุคคลเช่นไรทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลแสบเผ็ดเพียงในชาติปัจจุบัน แล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป คือบุคคลผู้ได้อบรมกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรมมาก มีใจใหญ่อยู่ด้วยคุณ มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณมิได้
เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็ก ๆ น้ำนั้นย่อมเค็มเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าใส่ก้อนเกลือนั้นลงไปในแม่น้ำคงคา น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเล็กน้อย บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก (เพราะเขามีคุณน้อย) บางคนทำบาปเล็กน้อย บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป (เพราะเขามีคุณมาก) ฉันนั้น”

(อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๒๑ ข้อ ๕๔๐)

คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อย เหมือนน้ำในถ้วยเล็ก ๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมาก ส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้ คุณธรรมหรือความดี จึงมีอาณุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปก็มีมากขึ้นเพียงนั้น เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติ มีอานุภาพในการทำลายบาป ดังพระพุทธภาษิตว่า “หม้อที่คว่ำย่อมคายน้ำออก ไม่ทำให้น้ำไหลเข้าไปข้างใน ฉันใด ผู้อบรมแล้ว ทำให้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ย่อมคายบาป คายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้างใน ฉันนั้น” (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๗๒)
“ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม นักปราชญ์เรียกผู้สะอาด สมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่าเป็นผู้ล้างบาปได้” (อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ๒๐/๓๕๒)

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจ และการทำความดีละลายผลแห่งกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่ามีใครคนหนึ่งเคยทำความเดือดร้อน เจ็บช้ำใจให้แก่เรา ต่อมาเขารู้สึกตัวรีบทำความดีต่อเรา และทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขา ให้อภัยในความผิดพลาดของเขา จริงอยู่สิ่งที่เขาได้ทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้ว ทำคืนไม่ได้ แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้ นอกจากนั้นยังมีกำไรเสียอีก อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่ การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้ ส่วนการทำดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ การทำความดีจึงดีกว่าการทำชั่ว
อีกตอนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า
“บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกให้สว่างเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น” นี่แสดงว่าบุคคลสามารถละลายหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศลกรรมได้ ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่ว มีกำลังใจในการทำความดีในการกลับตัว ไม่ถลำลึกลงไปในความชั่ว คนที่เคยทำความชั่วมา ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก

มหาตมะคานธีมีวาทะว่า “การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไขและตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น”

รวมความว่า ตามหลักพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดี แต่ต้องใช้เวลานาน กุศลกรรมที่แรง ๆ เช่น อรหัตมรรค อรหัตผล สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมด และมีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่า ๆ ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะให้ผลอยู่บ้างก็เฉพาะเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่าง ๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น.........

(จากหนังสือหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด...อาจารย์วศิน อินทสระ)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:
smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แก้ไขล่าสุดโดย ningnong เมื่อ 06 พ.ค. 2010, 01:25, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:36
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง" <<< ก็แปลว่าบาปยังคงอยู่ครบ

ความเข้าใจของผมคือ ต่อให้ทำดีมากเท่าไร ...ยังไงก็ตกนรก เพราะบาปมันแค่เจอจาง
ไม่ได้แปลว่าลบหายไป อีกทั้ง "บาปกรรม !...ล้างไม่ได้ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)"
viewtopic.php?f=4&t=31752


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อ้างคำพูด:
ผงคลีดิน / เขียน
"ใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง" <<< ก็แปลว่าบาปยังคงอยู่ครบ

:b6:
...กองบุญก็ส่วนกองบุญ...กองบาปก็ส่วนกองบาป...คนละส่วนกัน
...เวลาพิจารณาโทษก็จะดูที่กรรมหนักสุดทำก่อนสิ้นลมคือครุกรรม...
...ทำอย่างไรถึงจะนึกถึงแต่กรรมดีที่ทำ...ก็คือเลิกทำกรรมไม่ดีที่เคยทำ...
...ทำดีเป็นประจำ...ให้กลายเป็นนิสัย...ฝึกเตรียมตัวตายอันนี้สำคัญมาก...
...ซึ่งก็คือการฝึกจิตตภาวนา...ต้องเริ่มทำเดี๋ยวนี้...ไม่ต้องรอจนแก่ค่อยทำ...
...ความทนทานของร่างกายในสภาพแก่ชราคร่ำคร่ามันฝึกยาก...มันไม่ทันการ...
:b16:
...ดูตัวอย่างองคุลีมารสิคะ...ฆ่าคนตายก็ต้องตกนรก...แต่ด้วยได้บรรลุอรหัตตผล...
...กรรมตกนรกจึงไม่อยู้ในวิสัยเพราะพ้นสภาพของจิตวนเวียนว่ายตายเกิดแล้ว...
...เหลือแต่วิบากกรรมที่ตามมาส่งผลคือเวลาไปบิณฑบาตถูกปาหินหัวแตกอ่ะคะ...
...เชื่อมั่นและศรัทธาเท่านั้นที่เป็นเกราะกำบังความไม่ดี...จงเชื่อว่าความดีชนะความไม่ดีได้...
...อย่าประมาทว่ากรรมดีที่ทำเพียงเล็กน้อยจะไม่มาส่งผล...โดยเข้าใจว่าทำน้อยได้น้อย...
...เปล่าเลยเพราะเกิดตายมานับภพชาติไม่ได้...ทำมาทั้งดีและไม่ดีมามากมายก่ายกอง...จนจำไม่ได้...
:b23:
...อย่าให้เวลาที่เหลืออยู่สูญเสียไป...โดยไม่ได้สร้างความดีเข้าสู่จิตใจอีกต่อไปเลยนะคะ...
...การที่ตัวเรากังวลในบาปตลอดเวลา...นั่นแหละเป็นสภาพของการตกนรกทั้งๆที่ยังมีลมหายใจอยู่...
...เร่งสร้างกรรมดี...เพราะใจตนเองที่เป็นผู้สร้างภพชาติการเกิด...อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่าทำตนเองให้...
...ได้เลือกไปเกิดในภพที่ดี...ส่วนคนที่หมดลมหายใจไปแล้วไม่มีสิทธิ์เหลือให้เลือกได้อีกต่อไปแล้วค่ะ...
:b2:
:b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 25 พ.ค. 2010, 16:58, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมใครกรรมมัน ชดใช้แทนกันไม่ได้...
ส่วนกรรมดี..บุญก็ส่วนของบุญ..บาป..ก็ส่วนของบาป..นำมาหักลบล้างกันไม่ได้..
บางที่ทำกรรมดี มาก..เดินไปไกล..จน กรรมชั่ว เดินติดตามส่งผลไม่ทัน..เพราะกรรมดีมีมากและกำลังส่งผลอยู่....ยกตัวอย่าง..
เห็นปลากำลังจะตายเพราะน้ำในบ่อกำลังแห้งขอด เพราะมีเมตตาจึงนำปลาที่กำลังจะตายย้ายลงหนองน้ำใหญ่...พอต่อมาวิบากกรรมเก่าตามมา..ว่าวันนี้ต้องถูกรถชนตาย..แต่ผลของกรรมดีที่ได้ช่วยชีวิตปลาเอาไว้ เลยทำให้อุบัติเหตุครั้งนั้นเพียงขาหักไม่เสียชีวิต..นี่เพราะกรรมดีมาส่งผลทันเวลาแท้ๆ เลยทำให้อกุศลกรรมเก่าที่จะต้องตายเลื่อนออกไปอีก..มันก็เป็นเช่นนี้แล..
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 22:04
โพสต์: 9

โฮมเพจ: http://livejan.hi5.com/
ชื่อเล่น: Jan
อายุ: 16

 ข้อมูลส่วนตัว


ผงคลีดิน เขียน:
"ใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง" <<< ก็แปลว่าบาปยังคงอยู่ครบ

ความเข้าใจของผมคือ ต่อให้ทำดีมากเท่าไร ...ยังไงก็ตกนรก เพราะบาปมันแค่เจอจาง
ไม่ได้แปลว่าลบหายไป อีกทั้ง "บาปกรรม !...ล้างไม่ได้ (พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต)"
viewtopic.php?f=4&t=31752

นั่นสิคะ แค่ทำให้บาปเจือจางลงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบาปจะหมดไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




33_20100623150535_.jpg
33_20100623150535_.jpg [ 31.33 KiB | เปิดดู 9573 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

:b6: :b6: :b6:

..... .... ... .. ."ถ้าผลของกรรมเป็นของตายตัวแก้ไขไม่ได้แล้ว การประพฤติพรหมจรรย์หรือประกอบคุณงามความดีก็ไม่มีประโยชน์ โอกาสที่จะทำความดีจนสิ้นทุกข์ก็จะมีไม่ได้ (เพราะว่าแต่ละคนได้เคยทำกรรมชั่วกันมามากแล้วทั้งนั้น) แต่เพราะเหตุที่ผลของกรรมเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว (มีเงื่อนไข มีเหตุปัจจัย สามารถจะเบี่ยงเบนได้) การประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติคุณงามความดีจึงมีประโยชน์ โอกาสที่จะทำความดีเพื่อความสิ้นทุกข์จึงมีได้". .. ... .... .....

... .. ."บาปกรรมที่ทำแล้วสามารถละได้ ล่วงพ้นเสียได้ด้วยการเว้นบาปกรรมเช่นนั้น แล้วทำกรรมดีใหม่"... .. .

... ... ..."ยิ่งถ้าทำคุณงามความดีชนิดมหัคตกุศล แปลว่ากุศลที่ยิ่งใหญ่ เช่น ฌาน อภิญญาด้วยแล้ว ก็จะมีผลอันยิ่งใหญ่ คือบาปกรรมใดที่ทำไว้พอประมาณ บาปกรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในเจโตวิมุตติเช่นนั้น ถ้าจนถึงกับได้อาสวักขยญาณ คือความสิ้นกิเลสด้วยแล้ว ก็จะเป็นผู้อยู่เหนือกรรมทีเดียว"... ... ...


(บางส่วนจากหนังสือวิธีสร้างความดีและความมีเงื่อนไขของกรรม...วศิน อินทสระ)

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:
smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
..... .... ... .. ."ถ้าผลของกรรมเป็นของตายตัวแก้ไขไม่ได้แล้ว การประพฤติพรหมจรรย์หรือประกอบคุณงามความดีก็ไม่มีประโยชน์ โอกาสที่จะทำความดีจนสิ้นทุกข์ก็จะมีไม่ได้ (เพราะว่าแต่ละคนได้เคยทำกรรมชั่วกันมามากแล้วทั้งนั้น) แต่เพราะเหตุที่ผลของกรรมเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว (มีเงื่อนไข มีเหตุปัจจัย สามารถจะเบี่ยงเบนได้) การประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติคุณงามความดีจึงมีประโยชน์ โอกาสที่จะทำความดีเพื่อความสิ้นทุกข์จึงมีได้". .. ... .... .....

... .. ."บาปกรรมที่ทำแล้วสามารถละได้ ล่วงพ้นเสียได้ด้วยการเว้นบาปกรรมเช่นนั้น แล้วทำกรรมดีใหม่"... .. .

... ... ..."ยิ่งถ้าทำคุณงามความดีชนิดมหัคตกุศล แปลว่ากุศลที่ยิ่งใหญ่ เช่น ฌาน อภิญญาด้วยแล้ว ก็จะมีผลอันยิ่งใหญ่ คือบาปกรรมใดที่ทำไว้พอประมาณ บาปกรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในเจโตวิมุตติเช่นนั้น ถ้าจนถึงกับได้อาสวักขยญาณ คือความสิ้นกิเลสด้วยแล้ว ก็จะเป็นผู้อยู่เหนือกรรมทีเดียว"... ... ...


แสดงว่า กรรมชั่ว(กรรมไม่ดี)ที่ทำไปแล้ว สามารถทำกรรมดีใหม่ เพื่อแก้ไข และสามารถทำให้กรรมไม่ดีเจือจาง ลดน้อยลง และถ้าทำกรรมดีใหม่จนถึงความสิ้นกิเลส กรรมชั่วหรือกรรมที่ไม่ดี ที่เคยทำไว้ก็จะไม่มีผลอีกต่อไป ความเข้าใจผมถูกต้องหรือเปล่าครับ ? ขออนุโมทนาครับ ท่านningnong :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยิน ทำบุญได้บาปไหม การทำบุญที่ขาดสติจะได้บาป เอาเงินไปถวายพระเยอะๆ เป็นบาปไหม

บุญบาปกรรมแก้ไม่ได้ ไม่ใช่สะสาร วัตถุธาตุ จับต้องไม่ได้ เป็นข้อมูลที่ลบไม่ได้ มนุษย์ตัดสินไม่ได้

ผิดคือบาป บุญคือถูก กรรมผิดในวันนี้วันหน้าอาจกลายเป็นกรรมถูกก็ได้

วันนั้นกาลิเลโอประกาศว่าโลกกลม สันตปาปาสั่งให้จับตัวมาฆ่าเพราะทำผิดมีบาปหนัก

เป็นพ่อมดหมอผี จะมาเปลี่ยนความเชื่อของศาสนาจักรว่าที่เราเชื่อกันมาว่าโลกแบน

แต่วันนี้บาปของกาลิเลโอกลายเป็นบุญ บาปและบุญจะไปตัดสินในชีวิตหลังความตาย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 01:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




865.jpg
865.jpg [ 33.11 KiB | เปิดดู 9290 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool :b6: :b6: :b6:

การหยุดให้ผลของกรรม

กรรมจะหยุดให้ผลด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ

๑. หมดแรง (ให้ผลจนสมควรแก่เหตุแล้ว) เหมือนคนได้รับโทษจำคุก ๒ ปี เมื่อถึงกำหนดเขาย่อมพ้นโทษนั้น การให้ผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน โดยปกติธรรมดามันจะให้ผลจนหมดแรง นอกจากเวลาที่ให้ผลอยู่นั้น บุคคลผู้นั้นทำชั่วเพิ่มขึ้น มันก็จะให้ผลรุนแรงมากขึ้น ถ้าเขาทำความดีมากขึ้น ผลชั่วก็จะเพลาลง ในขณะกรรมดีกำลังให้ผล ถ้าเขาทำกรรมดีเพิ่มขึ้น ผลดีก็มีกำลังมากขึ้น ถ้าเขาทำชั่วขณะนั้น ผลของกรรมดีก็จะเพลาลง

๒. เมื่อกรรมอื่นเข้ามาแทรกแซงเป็นครั้งคราว คือกรรมดีจะหยุดให้ผลชั่วคราวเมื่อบุคคลนั้นทำกรรมชั่วแรง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมชั่วอันมีกำลังเชี่ยวกรากนั้นให้ผลก่อน ถ้าขณะที่กรรมชั่วกำลังให้ผลอยู่ มันจะหยุดให้ผลชั่วคราวเมื่อบุคคลนั้นทำกรรมดีแรง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมดีให้ผลก่อน

๓. เมื่อบุคคลผู้ทำกรรมได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดวัฏฏะคือการเวียนว่ายตายเกิดเสียได้ มีชีวิตอยู่เป็นชาติสุดท้าย ไม่เกิดในภพใหม่อีก กรรมย่อมหมดโอกาสให้ผลอีกต่อไป อนึ่ง ความไม่ควรแก่การเกิดอีกของบุคคลผู้มีคุณธรรมสูงสุดเพราะได้พัฒนาจิตอย่างดีที่สุดแล้วนั้น กรรมต่าง ๆ ทั้งดีและชั่ว ย่อมไม่สามารถให้ผลอีกต่อไป

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

เจริญในธรรมครับ :b16: :b16: :b16: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2011, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 10:52
โพสต์: 256

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b47: :b8: :b8: :b8: :b47: :b45:

:b41:

.....................................................
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร
ทำดี ดีแล้ว เป็นพร ไม่ต้อง อ้อนวอน ขอพร กะใคร ให้กวน
พรที่ ให้กัน ผันผวน เป็นเหมือน ลมหวน อวลไป อวลมา อย่าหลง
พรทำ ดีเอง มั่นคง วันคืน ยืนยง ซื่อตรง ต่อผู้ รู้ทำ
อยากรวย ด้วยพร เพียรบำ - เพ็ญบุญ กุศลนำ ให้ถูก ให้พอ ต่อตน
ทุกคน เกิดมา เป็นคน ชั่วดี มีจน เป็นผล แห่งกรรม ทำเอง
ถือธรรม เชื่อกรรม ยำเยง บาปชั่ว กลัวเกรง ทำแต่ กรรมดี ทวีพรฯ

ท่านพุทธทาสภิกขุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus803.jpg
Lotus803.jpg [ 8.33 KiB | เปิดดู 8968 ครั้ง ]
การทำบุญละลายบาปนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
คือใช้ความดีละลายความชั่วให้เจือจาง
เช่นความชั่วเกิดขึ้นในใจ เมื่อความคิดดีขึ้น ความชั่วย่อมถอยไป
ถ้าความดีเกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่ให้โอกาสแก่ความชั่ว ความชั่วก็เกิดขึ้นไม่ได้
เรียกว่าเอาความดีมาไล่ความชั่วหรือละลายความชั่ว

อีกอย่างหนึ่ง ความชั่วที่บุคคลทำลงไปแล้ว ซึ่งจะมีผลในโอกาสต่อไป
ถ้าผู้นั้นเร่งทำความดีให้มากขึ้น จนท่วมท้นความชั่ว
ผลของกรรมชั่วก็ค่อยๆ จางลงจนไม่มีอนุภาพในการทำอันตรายให้ทุกข์
เปรียบเหมือนกรด(เอซิด) ซึ่งมีคุณสมบัติทำลายชีวิตได้
แต่ถ้าเติมด่าง(อัลคอไลน์)ลงไปเรื่อยๆ กรดนั้นก็เจือจางลง
หมดคุณสมบัติในการทำลายให้โทษ

เปรียบอีกอย่างหนึ่ง เหมือนเกลือกับน้ำ
สมมุติว่าเอาเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงไปในน้ำแก้วหนึ่ง
น้ำนั้นจะเค็มมากเพราะน้ำน้อย แต่ถ้าเราเอาเกลือจำนวนนั้นใส่ลงไปในถังใหญ่ๆ
ความเค็มจะไม่ปรากฎแม้เกลือจะยังมีอยู่เท่าเดิม มันกลายเป็นมีเหมือนไม่มี
ที่ทางพระท่านเรียก"อัพโพหาริก" แปลว่า"มีเหมือนไม่มี"
เรียกไม่ได้ว่ามีเหมือนไม่มี เหมือนน้ำในก้อนดินแห้งหรือเนี้อไม้
เรารู้ได้ว่าความชื้นเป็นคุณสมบัติของน้ำ เมื่อเราจุดไฟเผามีควันขึ้นมา

เอาน้ำเกลือในแก้วซึ่งเค็มมากนั้น เทลงในถังใหญ่ๆ
แล้วเติมน้ำลงไปเรื่อยๆ โดยไม่เติมเกลือ
ในที่สุดน้ำก็จะไม่ปรากฎความเค็มเลยเพราะจำนวนเหนือจำนวนเกลือมากนัก
ข้อนี้ฉันใด การทำความดีละลายความชั่ว หรือละลายผลแห่งกรรมชั่วก็เป็นฉันนั้น
ในที่นี้ความชั่วเปรียบเหมือนเกลือ ความดีเปรียบเหมือนน้ำ
ในทางกลับกัน กรรมดีเล็กน้อยอาจถูกกรรมชั่วละลายได้เช่นกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพุทธสุภาษิตอ้างอิงดังนี้

"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นนำเขาไปสู่นรก
บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อยเหมือนกัน
แต่บาปกรรมให้ผลเพียงในปัจจุบันชาติเท่านั้น (ทิฏฺฐธมฺมเวทนีย์)ไม่ปรากฎผลอีกต่อไป

บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก?
คือบุคคลที่ไม่ได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้อบรมปัญญา มีคุณธรรมน้อย ใจต่ำ
บุคคลเช่นนี้แหละ ทำบาปเพียงเล็กน้อยแล้วไปนรก

บุคคลเช่นไร ทำบาปเพียงเล็กน้อย แต่บาปนั้นให้ผลอันแสบเผ็ด
เพียงในชาติปัจจุบันแล้วไม่ให้ผลอีกต่อไป?
คือบุคคลผู้ที่ได้อบรมกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา มีคุณธรรมมาก
มีใจใหญ่อยู่ด้วยคุณ มีเมตตาเป็นต้น อันหาประมาณมิได้

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)


แก้ไขล่าสุดโดย ฟ้าใสใส เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 20:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




บัว 27.jpg
บัว 27.jpg [ 2.11 KiB | เปิดดู 8967 ครั้ง ]
เปรียบเหมือนบุคคลใส่ก้อนเกลือลงไปในจอกน้ำเล็กๆ น้ำนั้นย่อมเค็ม เพราะน้ำน้อย
แต่ถ้าใส่ก้อนเกลือลงไปในแม่น้ำคงคา
น้ำในแม่น้ำคงคาจะไม่เค็มเพราะก้อนเกลือนั้นเลย เพราะน้ำมีมาก ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย
บาปนั้นนำเขาไปสู่นรก (เพราะเขามีคุณน้อย) บางคนทำบาปเพียงเล็กน้อย
บาปนั้นให้ผลเพียงในปัจจุบัน ไม่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป(เพราะเขามีคุณมาก)ฉันนั้น" ๑

คนที่มีคุณธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงเพียงเล็กน้อยเหมือนใน
น้ำในถ้วยใบเล็กๆ เมื่อทำบาป บาปย่อมให้ผลมาก
ส่วนคนมีคุณมากเหมือนน้ำในแม่น้ำ เมื่อทำบาป บาปให้ผลเพียงเล็กน้อย
หรืออาจไม่ให้ผลเลยก็ได้ คุณธรรมหรือความดี จึงมีอานุภาพทำลายบาป ล้างบาปไปในตัว

บุคคลยิ่งมีคุณธรรมสูงมากขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะล้างบาปหรือละลายบาปมากขึ้นเพียงนั้น
เพราะคุณความดีหรือความบริสุทธิ์ของใจนั้น มีคุณสมบัติ มีอานุภาพในการทำลายบาป
ดังพุทธภาษิตว่า

"หม้อที่คว่ำ ย่อมคายน้ำออก ไม่ทำให้น้ำเข้าไปข้างใน ฉันได
ผู้อบรมแล้ว ทำให้ได้มากแล้วซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘
ก็ย่อมคายบาปคายอกุศลธรรมออก ไม่ให้บาปอกุศลธรรมเข้าไปข้างใน ฉันนั้น"๒

"ผู้มีกายสะอาด วาจาสะอาด ใจสะอาด ไม่มีอาสวะ คือกิเลสที่หมักหมม
นักปราชญ์เรียกผู้สะอาด สมบูรณ์ด้วยความสะอาดเช่นนั้นว่าเป็นผู้ล้างบาปได้"๓

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ แสดงว่าการทำความดีละลายความชั่วในใจ
และการทำความดีละลายผลแห่งกรรมชั่วที่ทำลงไปแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
เป็นการเปิดโอกาสให้คนผู้เคยผิดพลาดได้กลับตัว

ในเรื่องชีวิตธรรมดา สมมติว่าเคยมีใครคนหนึ่งเคยทำความเดือดร้อน
เจ็บช้ำใจให้แก่เรา ต่อมาเขารู้สีกตัวรีบทำความดีต่อเรา
และทำเป็นการใหญ่ เราเห็นใจเขา กลับรักเขา ให้อภัยในความผิดพลาดของเขา
จริงอยู่สิ่งที่เขาทำลงไปแล้วนั้นก็เป็นอันทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
แต่ความดีใหม่ที่เขาทำลงไปเป็นอันมากนั้นย่อมมีผลลบล้างความชั่วได้
นอกจากย่อมมีกำไรเสียออีก

อีกอุปมาหนึ่ง เหมือนคนเคยเป็นหนี้ เมื่อได้ใช้หนี้แล้ว ใช้หมดแล้ว
ยังมีเงินเหลือให้ผู้ที่เขาเคยเป็นหนี้อีกมากมาย อย่างนี้เจ้าหนี้ย่อมจะพอใจเป็นอันมาก
เขาได้ชื่อว่าเคยเป็นหนี้เท่านั้น หนี้สินหาได้ติดตัวเขาอยู่จนบัดนี้ไม่
การทำชั่วเหมือนการก่อหนี้ ส่วนการทำความดีเหมือนการปลดเปลื้องหนี้ และการให้หนี้
การทำความดีจึงดีกว่าการทำความชั่ว

อีกตอนหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงปรารภพระองคุลิมาลแล้วตรัสว่า

"บาปกรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมละเสียได้ด้วยกุศลกรรม
บุคคลเช่นนั้นย่อมยังโลกให้สว่างเหมือนดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น"

นี้แสดงว่าบุคคลสามารถละลายบาปหรือล้างบาปกรรมด้วยกุศล กรรมได้

ความจริงเรื่องนี้ ทำให้ผู้ที่เคยทำชั่ว มีกำลังใจในการทำความดีในการกลับตัว
ไม่ถลำลึกลงไปในความชั่ว คนที่เคยทำความชั่วมา
ถ้าเขารู้สึกตัวแล้วและพยายามทำความดี
อาจทำความดีได้มากกว่าและเป็นคนดีได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยทำชั่วมาเสียอีก

"การทำผิดเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าค้นพบความผิดแล้วแก้ไข
และตั้งใจว่าจะไม่ทำอีกเป็นซ้ำสอง ก็น่ายกย่องนับถือยิ่งขึ้น"๔

รวมความว่า ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น บาปย่อมล้างได้ด้วยบุญ
กรรมชั่วล้างได้หรือละลายได้ด้วยกรรมดี แต่ต้องใช้เวลานาน
กุศลกรรมที่แรงๆ เช่น อรหัตมรรค อรหัตผล
สามารถลบล้างความชั่วในใจได้หมดและมีอานุภาพห้ามผลแห่งกรรมชั่วเก่าๆ
ที่เคยทำมาแล้วได้หมดสิ้น จะให้ผลอยู่บ้างก็เฉพาะเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
พอท่านนิพพานแล้วผลกรรมต่างๆ ก็เป็นอโหสิกรรมไปหมดสิ้น

บทความนี้คัดมาจากหนังสือ "หลักกรรม และ การเวียนว่ายตายเกิด
เขียนโดย สศิน อินทสระ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ธรรมดา โทร ๘๘๘-๗๐๒๖-๗

ขอบคุณที่มา :: Oknotion


กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ :b8: :b8: :b8: :b20:

:b48: ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครองนะเจ้าค่ะ :b20: :b20: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 15:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ให้เกิดบาปใหม่ขึ้นกับตัวเราอีก คือหยุดความพอใจ (โลภ) ความโกรธ(โทสะ) ความหลง (โมหะ)
หยุดโดยวิธีวิปัสสะนา คือรู้เห็นความจริงของโลกและชีวิต ปัญญาก็จะ้เกิดขึ้นและใช้ปัญญาในการดับทุกข์ที่เกิดขึ้นจากหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตใจเราก็จะมีศีลเกิดขึ้น นำไปสู่สมาธิ (ความสงบ) เกิดขึ้นกับเรา บาปใหม่ก็จะไม่เพิ่มขึ้น ทำบุญ ให้ทาน ทำความดี บาปเดิมที่เราสร้างขึ้นก็จะเจือจางลง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร