วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: ความว่า พระอานนทเถระพยากรณ์การบรรลุพระอรหัต ด้วยปฏิปทามรรค.
จริงอยู่ เมื่อพระอรหันต์ผู้เป็นสุกขวิปัสสก บรรลุโสดาปัตติมรรคอันมีธรรมุทธัจจะเป็นเบื้องต้น
แล้วบรรลุมรรค ๓ ที่เหลือด้วยวิปัสสนาล้วน การบรรลุพระอรหัตย่อมเป็นมรรคมีธรรมุทธัจจะ
เป็นเบื้องต้น การบรรลุพระอรหัตของพระอรหันต์ผู้มีมรรค ๔ อันตนบรรลุแล้วก็ดี ยังไม่บรรลุแล้วก็ดี
ซึ่งธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ บรรลุแล้วด้วยสามารถแห่งปฏิปทามรรค ๓ มีสมถะเป็นเบื้องต้น เป็นต้น
มรรคหนึ่งๆ ย่อมเป็นมรรคมีมรรคหนึ่งๆ นอกนี้เป็นเบื้องต้น.

ฉะนั้น พระอานนทเถระจึงกล่าวว่า เอเตสํ วา อญฺญตเรน.
บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ ภาเวติ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น คือ
เจริญวิปัสสนา ทำสมถะให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน.
ความว่า ยังสมาธิให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง.
บทว่า มคฺโค สญฺชายติ มรรคย่อมเกิด คือโลกุตรมรรคย่อมเกิดก่อน.
ในบทมีอาทิว่า โส ตํ มคฺคํ ภิกษุนั้นย่อมเสพมรรคนั้น ชื่อว่าการเสพเป็นต้นของมรรค
อันมีขณะจิตเดียวย่อมไม่มี ภิกษุยังทุติยมรรคเป็นต้นให้เกิด ท่านกล่าวว่า ภิกษุเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น.

บทว่า สญฺโญชนานิ ปหียนฺติ อนุสยา พฺยนฺตี โหนฺติ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
คือย่อมละสังโยชน์ทั้งปวงได้ตามลำดับตลอดถึงอรหัตมรรค อนุสัยย่อมสิ้นไป.
อนึ่ง บทว่า อนุสยา พยนฺตีโหนฺติ ความว่า อนุสัยปราศจากไปโดยไม่เกิดขึ้นอีก.
บทว่า ปุน จปรํ อีกประการหนึ่ง คือยังมีเหตุอื่นอีก.
บทว่า วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถ ภาเวติ ย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น คือ
ภิกษุเจริญสมถะ ทำวิปัสสนาให้เป็นเบื้องต้น คือให้ไปถึงก่อน.
ความว่า ยังวิปัสสนาให้เกิดก่อน แล้วจึงเจริญสมาธิภายหลัง.
บทว่า ยุคนทฺธํ ภาเวติ เจริญคู่กันไป คือเจริญทำให้คู่กันไป.

ในบทนี้ไม่อาจเข้าสมาบัติด้วยจิตนั้น แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตนั้นได้
แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติได้เพียงใด ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลายได้เพียงนั้น.
พิจารณาถึงสังขารได้เพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติได้เพียงนั้นอย่างไร. ภิกษุเข้าปฐมฌาน
ครั้นออกจากปฐมฌานนั้นแล้วย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขาร
ทั้งหลายแล้ว ย่อมเข้าทุติยฌาน ครั้นออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว ย่อมพิจารณาสังขาร
ทั้งหลาย ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมเข้าตติยฌาน ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว
ย่อมพิจารณาถึงสังขารทั้งหลาย.
ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุชื่อว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาอันเป็นธรรมคู่กัน.

บทไหนที่อ่านแล้วประทับใจจะนำมาโพสต่อเรื่อยๆครับผม :b1:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2011, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: บทว่า อญฺญมญฺญํ นาติวตฺตนฺติ ไม่ล่วงเกินกันและกัน คือ หากสมถะล่วงเกินวิปัสสนา
จิตพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน เพราะสมถะเป็นไปในฝ่ายหดหู่.
หากว่า วิปัสสนาล่วงเกินสมถะ จิตพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านเพราะวิปัสสนาเป็นไปในฝ่าย
แห่งความฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น สมถะเมื่อไม่ล่วงเกินวิปัสสนาย่อมไม่ตกไปในความเกียจคร้าน
วิปัสสนาไม่ล่วงเกินสมถะ ย่อมไม่ตกไปในความฟุ้งซ่าน สมถะเป็นไปเสมอย่อมรักษาวิปัสสนา
จากการตกไปสู่ความฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นไปเสมอย่อมรักษาสมถะจากการตกไปสู่ความเกียจคร้าน.

สมถะและวิปัสสนาทั้ง ๒ มีกิจอย่างเดียวกันด้วยกิจคือ การไม่ล่วงเกินกันและกันด้วยประการฉะนี้.
สมถะและวิปัสสนาเป็นไปเสมอไม่ล่วงเกินกันและกัน ย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จ.
ความที่สมถะและวิปัสสนานั้นเป็นธรรมคู่กันในขณะแห่งมรรคย่อมมีได้ เพราะเป็นธรรมคู่กัน
ในขณะแห่งวิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี.
เพื่อความเข้าใจกิจของมรรคทั้งสิ้น เพราะท่านกล่าวการทำการละ การสละ การออกและ
การหลีกไปด้วยอำนาจแห่งกิจของมรรค ท่านจึงชี้แจงกิเลสสหรคตด้วยอุทธัจจะและขันธ์
และกิเลสสหรคตด้วยอวิชชาและขันธ์ เพราะท่านกล่าวขันธ์ที่เหลืออย่างนั้นแล้ว
จึงไม่ชี้แจงถึงอุทธัจจะและอวิชชาด้วยอำนาจแห่งการเข้าใจเพียงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์. :b53:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2011, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: เมื่อพระโยคาวจรกำหนด กำหนดด้วยดีถึงความต่างกันและเป็นอันเดียวกันแห่งขันธ์ ๕
ในส่วนเบื้องต้น แล้วตั้งอยู่ ในเวลาออกจากมรรค ออกโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ หรือโดยความเป็นอนัตตา แม้เมื่อเห็นขันธ์หนึ่ง โดยความเป็นสภาพ
ไม่เที่ยงเป็นต้น แม้ขันธ์ที่เหลือก็เป็นอันเห็นโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นต้น ฉันใด
แม้ข้อนี้ก็พึงเห็นมีอุปมาฉันนั้น.
บทว่า ทุกฺขสฺส ทุกฺขฏฺโฐ ตถฏฺโฐ สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแท้ คือ อรรถ ๔ อย่าง
มีความบีบคั้นแห่งทุกขสัจเป็นต้น เป็นสภาพแท้ เพราะเป็นจริง.
แม้ในสัจจะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อรรถ ๔ อย่างนั้นนั่นแล ชื่อว่าเป็นสภาพมิใช่ตัวตน
เพราะไม่มีตัวตน ชื่อว่าเป็นสภาพจริง เพราะไม่ผิดไปจากความจริงโดยสภาพดังกล่าวแล้ว
ชื่อว่าเป็นสภาพแทงตลอด เพราะควรแทงตลอดในขณะแห่งมรรค. :b53:

:b38: ในบทมีอาทิว่า นวหากาเรติ ตถฏฺเฐน ด้วยความเป็นของแท้ด้วยอาการ ๙ ท่านประกอบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วครั้งแรกนั่นเอง.
ในบทมีอาทิว่า ทฺวาทสหิ อากาเรหิ ด้วยอาการ ๑๒ ความเป็นของแท้เป็นต้น มีความดังกล่าวแล้ว
ในญาณกถา.
พึงทราบการประกอบตามนัยดังกล่าวแล้วแม้ในนิเทศแห่งอาการเหล่านั้น.
ในบทมีอาทิว่า สจฺจานํ กติ ลกฺขณานิ สัจจะมีลักษณะเท่าไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแยกลักษณะ ๖ ที่ควรกล่าวต่อไปเป็นสองส่วน คือเป็นสังขตะและอสังขตะ
แล้วตรัสว่า เทฺว ลกฺขณานิ มีลักษณะ ๒ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตฺลกฺขณญฺจ อสงฺขตลกฺขณญฺจ สังขตลักษณะและอสังขตลักษณะ คือ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังขตลักษณะและอสังขตลักษณะไว้อย่างนี้ว่า๒-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ เหล่านี้ คือ ความเกิดปรากฏ
ความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่นปรากฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ เหล่านี้ คือความเกิดไม่ปรากฏ
ความเสื่อมไม่ปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ความแปรเป็นอย่างอื่นไม่ปรากฏ ดังนี้. :b53:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2011, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนา
ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร
ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง
เกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น
ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ :b48:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b38: สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือสังขตลักษณะ ๑
อสังขตลักษณะ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๒ นี้ ฯ
สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง
มีความเกิดปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑
สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อยัง
ตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๖ นี้ ฯ

สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ ทุกขสัจ มีความ
เกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑
สมุทัยสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปร
ปรากฏ ๑ มรรคสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความ
แปรปรากฏ ๑ นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑
เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๑๒ นี้ ฯ :b41:

:b38: การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้นนี้เป็นคุณแห่งรูป
ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า
รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ดังนี้เป็นทุกขสัจ

การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละ
ฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ
การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ
สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ

การแทงตลอดด้วยการละว่า สุขโสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ
การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ดังนี้เป็นทุกขสัจ

การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ
นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ
การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ
สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ :b48:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2011, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุเกิดและเหตุดับสัญญา

:b38: เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว
ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียด
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา
สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้
แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

ดูกรโปฏฐปาทะ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยสุขเกิดแต่อุเบกขามีในก่อนของเธอย่อมดับ
สัจจสัญญาอันละเอียด ประกอบด้วยอทุกขมสุขย่อมมีในสมัยนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้มี
สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วยอทุกขมสุข ในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้
แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง.

ดูกรโปฏฐปาทะ ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ได้บรรลุ
อากิญจัญญายตนฌานซึ่งมีอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วย
วิญญาณัญจายตนฌานที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ สัจจสัญญาอันละเอียดประกอบด้วย
อากิญจัญญายตนฌานย่อมมีในสมัยนั้น เธอย่อมเป็นผู้มีสัจจสัญญาอันละเอียด
ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานในสมัยนั้น สัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น
เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา ด้วยประการอย่างนี้
แม้นี้ก็เป็นข้อที่จะพึงศึกษาอย่างหนึ่ง. :b42:

การเข้าอภิสัญญานิโรธ

:b44: ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้มีสกสัญญา พ้นจากปฐมฌานเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยลำดับ เธอย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังคิดอยู่ก็ยังชั่วเมื่อเราไม่คิดอยู่จึงจะดี ถ้าเรายังขืนคิด ขืนคำนึง สัญญาของเรา
เหล่านี้พึงดับไป และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นพึงเกิดขึ้น ถ้ากระไร เราไม่พึงคิด ไม่พึงคำนึง
ครั้นเธอปริวิตกอย่างนี้แล้วเธอก็ไม่คิด ไม่คำนึง เมื่อเธอไม่คิด ไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้น
ก็ดับไป และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอก็ได้บรรลุนิโรธ การเข้าอภิสัญญานิโรธ
แห่งภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.

ดูกรโปฏฐปาทะ เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้มีสกสัญญา พ้นจากปฐมฌานเป็นต้นนั้นแล้ว
ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยลำดับ เธอย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังคิดอยู่ก็ยังชั่วเมื่อเราไม่คิดอยู่จึงจะดี ถ้าเรายังขืนคิด ขืนคำนึง สัญญาของเรา
เหล่านี้พึงดับไป และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นพึงเกิดขึ้น ถ้ากระไร เราไม่พึงคิด ไม่พึงคำนึง
ครั้นเธอปริวิตกอย่างนี้แล้วเธอก็ไม่คิด ไม่คำนึง เมื่อเธอไม่คิด ไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้นก็ดับไป
และสัญญาที่หยาบเหล่าอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอก็ได้บรรลุนิโรธ การเข้าอภิสัญญานิโรธแห่งภิกษุผู้มีสัมปชัญญะโดยลำดับย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง หรือว่าญาณเกิดก่อน
สัญญาเกิดทีหลัง หรือทั้งสัญญาและญาณเกิดไม่ก่อนไม่หลังกัน.
ดูกรโปฏฐปาทะ สัญญาแลเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณจึงเกิดขึ้น
เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า ญาณเกิดขึ้นแก่เราเพราะสัญญานี้เป็นปัจจัย ดูกรโปฏฐปาทะ เธอพึงทราบ
ความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดขึ้น ญาณจึง
เกิดขึ้น. :b48:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


แก้ไขล่าสุดโดย ผงธุลีดิน เมื่อ 21 มิ.ย. 2011, 15:34, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาและอัตตา

:b38: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือสัญญาอย่างหนึ่ง
อัตตาอย่างหนึ่ง?
ดูกรโปฏฐปาทะ ท่านต้องการอัตตาเช่นไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการอัตตาอย่างหยาบๆ ที่มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔
บริโภคกวฬิงการาหาร
ดูกรโปฏฐปาทะ อัตตาของท่านหยาบ มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร
เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของท่านจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง
ดูกรโปฏฐปาทะ ท่านพึงทราบความข้อนี้แม้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตา
จักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาที่หยาบ มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหารนี้ ยกไว้
เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของบุรุษนี้เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ดับไปอย่างหนึ่ง ดูกรโปฏฐปาทะ ท่านพึง
ทราบความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการอัตตาที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
ดูกรโปฏฐปาทะ อัตตาของท่านก็จักสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์
ไม่บกพร่อง. เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจักมีสัญญาอย่างหนึ่ง มีอัตตาอย่างหนึ่ง
ท่านพึงทราบความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง
อัตตาสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่องนี้ ยกไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
สัญญาของบุรุษนี้เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ดับไปอย่างหนึ่ง. ท่านพึงทราบความข้อนี้โดยบรรยายนี้ว่า
สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่งอัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการอัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา.
ดูกรโปฏฐปาทะ ก็อัตตาของท่านจักไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา. เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญา
ของท่านจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง.ท่านพึงทราบความข้อนี้แม้โดยบรรยายนี้ว่า
สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง. ดูกรโปฏฐปาทะ อัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วย
สัญญานี้ ยกไว้ แต่ว่าสัญญาของบุรุษนี้ เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ดับไปอย่างหนึ่ง ท่านพึงทราบความ
ข้อนี้แม้โดยบรรยายนี้ว่า สัญญาจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจทราบความข้อนี้ได้หรือว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ
หรือว่าสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง.
ดูกรโปฏฐปาทะ ท่านมีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง มีความชอบใจ
ไปทางหนึ่ง มีความพยายามไปทางหนึ่ง มีลัทธิอาจารย์อย่างหนึ่ง ยากที่จะรู้ความข้อนั้นได้ว่า
สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือว่าสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์มีความเห็นไปทางหนึ่ง มีความพอใจไปทางหนึ่ง
มีความชอบใจไปทางหนึ่ง มีความพยายามไปทางหนึ่ง มีลัทธิอาจารย์อย่างหนึ่ง ยากที่จะรู้ความ
ข้อนั้นได้ว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือว่าสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง ก็คำว่าโลกเที่ยง
นี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่ากระนั้นหรือ. :b53:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มิ.ย. 2011, 17:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กลับฐานที่ตั้งกันหมดเรยยยยยยยยย

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2011, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การได้อัตตา ๓ ประการ

:b38: เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว จิตตหัตถิสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
สมัยใดมีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ความได้อัตตาที่หารูปมิได้
เป็นโมฆะ มีแต่การได้อัตตาที่หยาบเป็นเที่ยงแท้
สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ความได้อัตตาที่หยาบ ความได้อัตตาที่หารูปมิได้
เป็นโมฆะ มีแต่การได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจเป็นเที่ยงแท้
สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปมิได้ สมัยนั้น ความได้อัตตาที่หยาบ ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ
เป็นโมฆะ มีแต่การได้อัตตาที่หารูปมิได้เป็นเที่ยงแท้.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จ
ด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว
ดูกรจิตตะสมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตา
ที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปมิได้สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ ไม่นับว่าได้อัตตาที่
สำเร็จด้วยใจ นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้อย่างเดียว.

ดูกรจิตตะ ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านว่า เธอได้มีในอดีตกาล มิใช่ว่าเธอไม่ได้มี
ก็หาไม่ เธอจักมีในอนาคตกาล มิใช่ว่าเธอจักไม่มีก็หาไม่ เธอมีอยู่ในบัดนี้ มิใช่ว่าเธอไม่มีอยู่
ก็หามิได้ เช่นนั้นหรือ เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้ ท่านจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ว่า
ข้าพเจ้าได้มีแล้วในอดีตกาล มิใช่ว่าไม่มีก็หามิได้ ข้าพเจ้าจักมีในอนาคตกาล มิใช่ว่าจักไม่มี
ก็หามิได้ ข้าพเจ้ามีอยู่ในบัดนี้ มิใช่ว่าไม่มีอยู่ก็หามิได้.

ดูกรจิตตะ ถ้าเขาพึงถามท่านว่า เธอได้อัตตภาพที่เป็นอดีตแล้ว การที่เธอได้
อัตตภาพเช่นนั้นนั่นแหละ เป็นของเที่ยงแท้ การได้อัตตภาพเป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ
เธอจักได้อัตตภาพเป็นอนาคต การได้อัตตภาพเช่นนั้น เท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ การได้
อัตตภาพเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ เธอได้อัตตภาพเป็นปัจจุบันในบัดนี้ การได้อัตตภาพ
เช่นนั้นเท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ การได้อัตตภาพเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นโมฆะ อย่างนั้น
หรือ เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนั้น ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ว่า
ข้าพเจ้าได้อัตตภาพเป็นอดีตแล้ว การได้อัตตภาพเช่นนั้นเท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น
การได้อัตตภาพเป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ ข้าพเจ้าจักได้อัตตภาพเป็นอนาคต การได้
อัตตภาพเช่นนั้นเท่านั้นเป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น การได้อัตตภาพเป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็น
โมฆะ ข้าพเจ้าได้อัตตภาพเป็นปัจจุบันบัดนี้ การได้อัตตภาพเช่นนั้นเท่านั้นเป็นของเที่ยงแท้ใน
สมัยนี้ การได้อัตตภาพเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นโมฆะ.

ดูกรจิตตะ อย่างนั้นแหละ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หยาบ สมัยนั้น ไม่นับว่า
ได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่หยาบอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้ นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจอย่างเดียว.
ดูกรจิตตะ สมัยใด มีการได้อัตตาที่หารูปมิได้ สมัยนั้น ไม่นับว่าได้อัตตาที่หยาบ
ไม่นับว่าได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ นับว่าได้อัตตาที่หารูปมิได้อย่างเดียว. :b50: :b49: :b50:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 15:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสมาธิขันธ์

:b38: ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะที่ท่านพระโคดมได้ตรัส
สรรเสริญ และทรงยังประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นไฉน.

อ. ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย? ดูกรมาณพ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียง
ด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ..รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็น
อริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ?
ดูกรมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการ
เหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.

ดูกรมาณพ อย่างไรภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง
ทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมาณพ นกมีปีก จะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัว
เป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย
บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมาณพ ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.

ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว
ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้าป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอละความเพ่งเล็ง มีใจปราศจากความเพ่งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้
ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้
ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้
ละอุทธัจจกุกกุจจะเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอุทธัจจกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉาไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้. :b41:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาภูต

:b38: ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน ดังนี้. ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวงปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียด
และหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้.
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้.เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับ
ไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. เกวัฏฏ์
คฤหบดีบุตรมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล. :b53:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหานิทานสูตร ปฏิจจสมุปบาท

:b38: ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อ
ไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกายต้องพร้อม
ด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัส
เพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศเมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึงปรากฏในนามกาย
ได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศนิมิต อุเทศ
เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อก็ดี การสัมผัส
โดยการกระทบก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศเมื่ออาการ
เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะก็คือนามรูปนั่นเอง ฯ :b43:

:b38: ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-

ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง
ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไปนามรูปจักบังเกิดเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่จักขาดความสืบต่อ
นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ

ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้
อาศัยในนามรูปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ
ต่อไปได้บ้างไหม ฯไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ :b49:

:b53: เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณก็คือนามรูปนั่นเอง
ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูปจึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ หรืออุปบัติ
ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร
ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความเป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ :b48:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนากับอัตตา

:b38: ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา
ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา อานนท์ หรือ
เล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตาของเราไม่ต้องเสวย
เวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้นอัตตาของเรามีเวทนา
เป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่างนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนามี ๓ อย่างนี้ คือ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา๓ ประการนี้ ท่านเล็งเห็นอันไหน
โดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตาเสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนาคงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใด
อัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คงเสวยแต่
ทุกขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้
เสวยสุขเวทนาไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น

ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขมสุขก็ดี ล้วนไม่เที่ยง
เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความคลาย และความดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่านี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนาอันนั้นดับไป
จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็น
อัตตาของเรา ต่อทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา
อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าเวทนาเป็น
อัตตาของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงเกลื่อนกล่นไปด้วยสุข
และทุกข์ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นอัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้น
แหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าว
แล้วนี้ ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่าถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวย
เวทนา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด
ในรูปขันธ์นั้น ยังจะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว
อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้อง
เสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส
ก็เพราะเวทนาจะต้องดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง
เพราะเวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับไปแล้ว ฯ
ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว
อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า
อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ฯ

ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่เล็งเห็นอัตตาว่าไม่ต้องเสวย
เวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนา
เป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่สะทกสะท้าน
ย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อานนท์ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้า
แต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตายสัตว์ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย
ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตายสัตว์มีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้น
แล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ฯ

ข้อนั้น เพราะเหตุไร
ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติการแต่งตั้ง ทางที่กำหนดรู้
ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสารยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น เพราะรู้ยิ่ง
วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มีทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุผู้หลุดพ้น เพราะ
รู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้นนั้นไม่สมควร ฯ :b40:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ onion

:b38: ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗เป็นไฉน คือ-
๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑

๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒

๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสรนี้
เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓

๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะ
ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕

๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะ
ล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖

๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้น
วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗

ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และ
ข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มีว่า
สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ
และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ
ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

:b38: วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ
ว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด
วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ
ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควรเพลิดเพลิน
วิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญีสัตตายตนะ ผู้ที่รู้ชัด
อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะ
ข้อนั้น bและรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อ
เพลิดเพลินอสัญญีสัตตายตนะนั้นอีกหรือ ฯ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบาย
เป็นเครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลิน
เนวสัญญานาสัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ

ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษและอุบาย
เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็นจริงแล้ว ย่อม
เป็นผู้หลุดพ้นได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ ฯ :b55:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญ

:b38: ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
ความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ
ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
อากาสานัญจายตนะ ว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
วิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
อากิญจัญญายตนะ ว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี
ความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้วแสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้วแสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง
ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุ
ว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญา
จายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ยินอารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ onion

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร