วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 00:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ กัลยาณมิตรทุกท่าน

พระสูตรนี้เป็นสูตรหนึ่งที่ท่านควรจะได้อ่านสักครั้งในชีวิต
วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร viewtopic.php?f=7&t=37809

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสอ่านพระสูตรอีกพระสูตรหนึ่ง ชื่อ มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร เห็นว่าควรจะนำมาลงไว้เช่นกัน จึงได้ขออนุญาตทางเวบมหาปารมิตา http://www.mahaparamita.com ซึ่งทางเวบได้ตอบกลับมาแล้ว

"ทางเวบมหาปารมิตา ยินดีให้ท่านนำพระสูตร ชื่อ มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร ไปเผยแผ่ต่อได้
แต่ห้าม ดัดแปลง แก้ไข และจำหน่ายโดยเด็ดขาดและหากจะนำไปจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ก็จะต้องแจ้งทางเวบมหาปารมิตา เป็นหนังสือลายลักษณ์อักษร ว่าพิมพ์เนื่องในงานใด กี่เล่ม และเมื่อพิมพ์แล้ว ต้องขอความกรุณาส่งหนังสือพระสูตรที่พิมพ์ ให้ทางเวบมหาปารมิตาด้วย "

จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำพระสูตรนี้มาเผยแพร่ต่อไป

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 05 ก.ค. 2011, 15:45, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร
พระสังฆปาละ พระเถระชาวอินเดียเชื้อสายทิเบต แห่งอาณาจักรฟูนัน ในสมัยเหลียง
แปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน
พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก (釋聖傑) แปลไทย ... วันที่ 27 มิถุนายน 2553 ถึง 3 กรกฎาคม 2553
*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 มิ.ย. 2011, 04:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2011, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าสดับมาดั่งนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในสวนของท่านอนาถบิณฑิกะในเมืองสาวัตถี พร้อมด้วยบรรดามหาภิกษุจำนวนหนึ่งหมื่น และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายจำนวนหนึ่งแสน ที่ล้วนแต่ตั้งอยู่ในภูมิอันไม่เสื่อมถอย ในอดีตที่ผ่านมาแสนนานก็ได้สักการะพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประมาณพระองค์ไม่ได้มาแล้ว แลได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่หมู่สัตว์ ชำระพุทธโลกธาตุให้บริสุทธิ์ ได้บรรลุถึงธารณี มีปฏิภาณไหวพริบ ได้สำเร็จแล้วซึ่งปัญญาญาณสมบูรณ์ในมวลหมู่กุศล ได้ใช้อภิญญาอันเป็นอิสระเที่ยวไปในพุทธเกษตรทั้งปวง และเปล่งประภาสรัศมีที่ไม่มีประมาณ กล่าวแสดงพระสัทธรรมที่ไม่มีประมาณ ได้สั่งสอนพระโพธิสัตว์ทั้งปวงให้เข้าสู่ความเป็นเอกลักษณะ(ความเป็นหนึ่งเดียว, ไม่มีสอง) ได้บรรลุถึงความไม่หวาดกลัว ใช้ความดีบำราบหมู่มาร ทั้งสั่งสอนเหล่าพาหิระที่เห็นผิดให้หลุดพ้น หากมีสรรพสัตว์ที่ยินดีในสาวกก็จะกล่าวสาวกยาน ผู้ยินดีปัจเจกก็จะกล่าวปัจเจกยาน ผู้ยินดีในโลกก็กล่าวโลกยาน ได้ใช้ทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญาสงเคราะห์สรรพสัตว์ทั้งหลาย โปรดผู้ยังไม่ได้โปรด ผู้ยังไม่หลุดพ้นก็ช่วยให้หลุดพ้น ผู้ไม่สงบก็ช่วยให้สงบ ผู้ยังไม่นิพพานก็ยังให้นิพพาน ได้ประพฤติโพธิสัตวจรรยาอย่างถึงที่สุด สามารถเข้าสู่พุทธธรรมปิฎกทั้งปวงได้อย่างช่ำชอง อันกุศลนานาเหล่านี้ก็ล้วนแต่บริบูรณ์พร้อม นามกรแห่งท่านเหล่านั้นมี พระมัญชุศรีธรรมราชกุมารโพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระสมันตประภาสโพธิสัตว์ พระศูรวีริยโพธิสัตว์ พระไภษัชยราชโพธิสัตว์ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์ พระรัตนมุทราโพธิสัตว์ พระจันทรประภาสโพธิสัตว์ พระอาทิตยศุทธิโพธิสัตว์ พระมหาพละโพธิสัตว์ พระอนันตพละโพธิสัตว์ พระวิริยปราปต์โพธิสัตว์ พระมหาธวัชพละโพธิสัตว์ พระธรรมลักษณโพธิสัตว์ พระอิศวรราชโพธิสัตว์ บรรดาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ดังนี้จำนวนหนึ่งแสน พร้อมทั้งเทวดา นาคปีศาจอื่นๆ อีกเป็นมหาชนหมู่ใหญ่ ที่ล้วนแต่มาประชุมกันอยู่

爾時世尊於中夜時放大光明,青、黃、赤、白、雜頗梨色,普照十方無量世界。一切眾生觸此光者,皆從臥起,見此光明皆得法喜,咸生疑惑:「此光何來?普遍世界,令諸眾生得安隱樂。」作是念已。於一一光復出大光明,照耀殊特,勝於前光,如是展轉乃至十重。一切菩薩及諸比丘、比丘尼、優婆塞、優婆夷,天、龍、夜叉、乾闥婆、阿修羅、迦樓羅、緊那羅、摩睺羅伽、人非人等,咸皆踊躍,得未曾有。各各思念:「必是如來放此光明,我等應當疾至佛所,禮拜親近恭敬如來。」是時文殊師利及諸菩薩摩訶薩眾遇此光者,歡喜踊躍充遍身心,各從住處到祇洹門。

爾時舍利弗、大目揵連、富樓那彌多羅尼子、摩訶迦葉、摩訶迦旃延、摩訶俱絺羅,皆從住處到祇洹門。帝釋、四天王,上至阿迦尼吒天,亦覩光明,歎未曾有,與其眷屬齎妙天花、天香、天樂、天寶衣,一切皆悉到祇洹門。其餘比丘、比丘尼、優婆塞、優婆夷,天龍八部,遇光歡喜,皆來到門。


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 03:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคในยามราตรีทรงเปล่งมหารัศมีที่รุ่งเรือง มีวรรณะเขียว เหลือง แดง ขาวและสีประภัสสรดังผลึกหลากสี ส่องสว่างไปยังโลกธาตุต่างๆทั่วทศทิศไม่มีขอบเขตประมาณ หมู่สัตว์ทั้งปวงที่ได้สัมผัสรัศมีนี้ ต่างลุกขึ้นมาจากที่นอน เมื่อได้ทอดทัศนารัศมีนี้จึงบรรลุถึงธรรมปีติ ต่างก็มีความสงสัยว่า“รัศมีนี้มาแต่ที่ใดหนอ ถึงสว่างไปทั่วโลกธาตุ ยังให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้บรรลุถึงความผาสุกได้เช่นนี้” เมื่อมีมนสิการเช่นนี้แล้ว แต่ละรัศมีหนึ่งๆ ยังบังเกิดเป็นมหารัศมีอีก สว่างออกไปเป็นที่วิเศษอัศจรรย์ยิ่งกว่ารัศมีก่อนหน้านั้น เช่นนี้เรื่อยไปจนถึงสิบเท่า บรรดาพระโพธิสัตว์และภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทพ นาคยักษ์ ครุฑ อสุร กินนร คนธรรพ์ มโหราค มนุษย์แลอมนุษย์เป็นอาทิ ต่างเกิดอุเพงคปีติ ปลาบปลื้มใจจนตัวฟูลอย เพราะสัมผัสสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต่างก็คิดว่า “จะต้องเป็นพระตถาคตที่ทรงเปล่งรัศมีอย่างนี้ เราทั้งหลายพึงรีบไปเฝ้าฯพระพุทธองค์ แล้วนมัสการอย่างใกล้ชิดเถิด” ในเวลานั้น พระมัญชุศรีและพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลายที่ได้เห็นรัศมีนี้ ก็โสมนัสปลาบปลื้มเป็นอุเพงคปีติไปทั่วสรรพางค์แลจิตใจ ต่างได้มาจากที่ของตนถึงยังประตูของเชตวันวิหาร

เวลานั้น พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระปูณณมันตาณีบุตร พระมหากัสสปะ พระมหากัจจายนะ พระมหาโกฏฐิตะ ก็ล้วนได้มาจากที่ของตนถึงยังประตูของ เชตวันวิหาร ท้าวศักระ จตุโลกบาลสูงขึ้นไปจนถึงอกนิษฐาพรหมโลก ก็ได้เห็นรัศมีนี้ แล้วอุทานว่าไม่เคยมีมาแต่กาลก่อน กับทั้งบริษัทบริวารต่างก็จัดแจงนำทิพยมาลี ทิพยสุคนธ์ ทิพยดนตรี ทิพยรัตนอาภรณ์ทั้งหลายทั้งปวงมายังประตูของเชตวันวิหาร ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาอื่นๆ เทพ นาคอันมีหมู่สัตว์ในคติแปดอื่นๆ ที่ได้พบรัศมีที่น่ายินดีนี้ ก็ล้วนมาถึงยังประตูแห่งนี้ด้วย

爾時世尊一切種智,知諸大眾悉已在門外,從住處起出至門外,自鋪法座結加趺坐。告舍利弗:「汝今晨朝來門外乎?」舍利弗白佛言:「世尊!文殊師利等菩薩摩訶薩,皆悉先至。」

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคผู้ทรงสัพพัญญุตญาณ ทรงทราบว่ามหาชนต่างมาประชุมอยู่ประตูด้านนอกแล้ว ทรงลุกขึ้นจากที่ประทับแล้วเสด็จไปยังนอกประตู ประทับขัดสมาธิบนธรรมอาสน์ของพระองค์แล้วตรัสกะพระสารีบุตรว่า “ในยามเช้านี้ เธอได้มาถึงนอกประตูเป็นคนแรกหรือ?” พระสารีบุตรทูลว่า“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระมัญชุศรีกับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้มาถึงก่อนพระเจ้าข้า”

爾時世尊告文殊師利:「汝於晨朝先至門乎?」文殊師利白佛言:「如是,世尊!我於中夜見大光明十重照耀,得未曾有,心懷歡喜踊躍無量,故來禮拜親近如來,并欲願聞甘露妙法。」

เมื่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีรับสั่งกะพระมัญชุศรีว่า “ยามเช้านี้ เธอได้มาถึงประตูเป็นคนแรกหรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “เป็นเช่นนั้นๆ พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ในยามราตรีได้เห็นมหารัศมีที่ส่องสว่างไปสิบเท่า ไม่เคยปรากฏมีมาก่อน ดวงจิตโสมนัสเป็นอุเพงคปีติพ้นประมาณ เหตุนี้จึงมานมัสการพระตถาคตอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งปรารถนาจะได้สดับอมฤตธรรมอันวิเศษด้วย พระเจ้าข้า”

爾時世尊告文殊師利:「汝今真實見如來乎?」文殊師利白佛言:「世尊!如來法身本不可見,我為眾生故來見佛。佛法身者不可思議,無相無形,不來不去,非有非無,非見非不見,如如實際,不去不來,非無非非無,非處非非處,非一非二,非淨非垢,不生不滅。我見如來亦復如是。」

พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “บัดนี้ เธอได้เห็นตถาคตอย่างแท้จริงหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ธรรมกายแห่งพระตถาคตแต่เดิมมาก็ไม่อาจเห็นได้ เพื่อสรรพสัตว์เป็นเหตุข้าพระองค์จึงมาทัศนาพระพุทธองค์ ธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นอจินไตย(นึกคิดเอาไม่ได้) ไร้ลักษณะ ไร้รูปร่าง มิได้มาแลมิได้ไป มิใช่มีแลมิใช่ไม่มี มิใช่เห็นแลมิใช่ไม่เห็น ดั่งตถตา (ความเป็นไปอย่างนั้นเอง) ที่ไม่ได้มาและไม่ได้ไป มิใช่การปราศจาก และมิใช่การไม่ปราศจาก มิใช่สถานที่แลมิใช่การไม่ใช่สถานที่ มิใช่การเป็นหนึ่ง มิใช่การเป็นสอง มิใช่ความบริสุทธิ์ มิใช่มลทิน ไม่เกิดไม่ดับ ข้าพระองค์ทัศนาพระตถาคตอยู่อย่างนี้พระเจ้าข้า”

佛告文殊師利:「汝今如是見如來乎?」文殊師利白佛言:「世尊!我實無見亦無見相。」爾時舍利弗白文殊師利:「我今不解汝之所說。云何如是見於如來?」文殊師利答舍利弗:「大德舍利弗!我不如是見於如來。」

มีพุทธดำรัสกะพระมัญชุศรีว่า “บัดนี้เธอได้เห็นตถาคต ด้วยลักษณะเช่นนี้หรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า“พระผู้มีพระภาค! ที่แท้แล้วข้าพระองค์ไร้ซึ่งการเห็น จึงไร้ซึ่งการเห็นลักษณะใดๆ” ครั้งนั้นพระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ข้าพเจ้าไม่เข้าใจที่ท่านกล่าว เหตุไฉนจึงทัศนาพระตถาคตอย่างนี้?” พระมัญชุศรีตอบว่า “พระคุณท่านสารีบุตร ข้าพเจ้าไม่ได้ทัศนาพระตถาคตอย่างนี้”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 มิ.ย. 2011, 23:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 03:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


舍利弗白文殊師利:「如汝所說,轉不可解。」文殊師利答舍利弗:「不可解者即般若波羅蜜。般若波羅蜜,非是可解非不可解。」舍利弗白文殊師利:「汝於眾生起慈悲心不?汝為眾生行六波羅蜜不?復為眾生入涅槃不?」

พระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ที่ท่านกล่าวมานี้ ยิ่งไม่อาจเข้าใจ” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันการไม่อาจเข้าใจก็คือปัญญาปารมี ปัญญาปารมี มิใช่การสามารถเข้าใจแลมิใช่การไม่อาจเข้าใจ” พระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์หรือไม่? ท่านประพฤติบารมีทั้งหก เพื่อสรรพสัตว์หรือไม่? แลได้เข้าสู่นิพพานเพื่อสรรพสัตว์หรือไม่เล่า?”

文殊師利答舍利弗:「如汝所說,我為眾生起慈悲心,行六波羅蜜,入於涅槃;而眾生實不可得,無相無形,不增不減。舍利弗!汝常作是念:『一一世界有恒河沙等諸佛,住世恒河沙劫,說一一法,教化度脫恒河沙眾生,一一眾生皆得滅度。』汝有如是念不?」舍利弗言:「文殊師利!我常作是念。」

พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “ดั่งที่ท่านกล่าวมา ว่าเรานั้นเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ ได้ประพฤติบารมีหก ได้เข้าสู่นิพพาน แต่ทว่าที่แท้แล้วความเป็นสรรพสัตว์ก็ไม่อาจเข้าถึง ไร้ลักษณะไร้รูปร่างไม่เพิ่มไม่ลด ดูก่อนสารีบุตร ท่านมีความคิดอยู่เสมออย่างนี้ว่า “แต่ละโลกธาตุหนึ่งๆ มีพระพุทธเจ้าเท่าเม็ดทรายในคงคานที ที่ได้ดำรงพระชนม์อยู่เป็นกัลป์เท่าเม็ดทรายในคงคานที ได้ตรัสธรรมหนึ่งๆ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น และสรรพสัตว์หนึ่งๆ ก็ล้วนได้ดับลง” ท่านมีความคิดเช่นนี้หรือไม่?” พระสารีบุตรตอบ “ท่านมัญชุศรี เรามีความคิดอย่างนี้อยู่เสมอ”

文殊師利答舍利弗:「如虛空無數,眾生亦無數;虛空不可度,眾生亦不可度。何以故?一切眾生與虛空等。云何諸佛教化眾生?」舍利弗言:「若一切眾生與虛空等,汝何故為眾生說法令得菩提?」文殊師利答舍利弗:「菩提者實不可得,我當說何法使眾生得乎?何以故?舍利弗!菩提與眾生,不一不二,無異無為,無名無相,實無所有。」

พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “อุปมาอากาศที่นับคำนวณไม่ได้ สรรพสัตว์ก็นับคำนวณไม่ได้ เมื่อไม่อาจข้ามพ้นอากาศไปได้ ก็ไม่อาจข้ามพ้นสรรพสัตว์เช่นกัน เหตุไฉนนั้นฤๅ? สรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะสั่งสอนสรรพสัตว์ได้อย่างไร?” พระสารีบุตรกล่าวว่า “หากสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ แล้วเหตุไฉนท่านจึงแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ยังให้บรรลุโพธิญาณเล่า?” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันโพธินั้นที่แท้ไม่อาจเข้าถึง แล้วเราจะกล่าวธรรมอันใดเพื่อยังให้สรรพสัตว์เข้าถึงเล่า? เหตุไฉนนั้นฤๅ ท่านสารีบุตร โพธิกับสรรพสัตว์ ไม่เป็นหนึ่งไม่เป็นสอง ไม่แตกต่างไม่ปรุงแต่ง ไร้นามไร้ลักษณะ ที่แท้แล้วมิได้มี”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 03:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


爾時世尊出大人相肉髻光明,殊特希有,不可稱說。入文殊師利菩薩摩訶薩法王子頂,還從頂出普照大眾。照大眾已,乃遍十方一切世界。是時大眾觸此光明,身心快樂得未曾有。皆從座起,瞻仰世尊及文殊師利,咸作是念:「今日如來放此奇特微妙光明,入文殊師利法王子頂,還從頂出普照大眾,照大眾已乃遍十方。非無因緣,必說妙法。我等但當勤修精進,樂如說行。」如是念已,各白佛言:「世尊!如來今日放此光明,非無因緣,必說妙法。我等渴仰,樂如說行。」如是白已,默然而住。

สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งพระรัศมีออกจะพระอุษณีมังสะ อันเป็นมหาบุรุษลักษณะ มีความวิเศษหาได้ยากยิ่ง มิอาจพรรณนาได้ เข้าสู่เศียรของพระมัญชุศรีธรรมราชกุมารโพธิสัตว์มหาสัตว์ แล้วย้อนออกจากเศียรส่องไปยังมหาชน เมื่อส่องมหาชนแล้ว ก็ยังแผ่ไปทั่วโลกธาตุทั้งหลายในทศทิศ เวลานั้นเมื่อมหาชนได้สัมผัสรัศมีนี้ กายและจิตก็เป็นสุขเกษมอย่างไม่เคยมีมาก่อน ต่างก็ลุกขึ้นจากอาสนะ แล้วแลมองพระโลกนาถเจ้ากับพระมัญชุศรี ต่างก็มีมนสิการว่า “วันนี้พระตถาคตทรงเปล่งรัศมีประเสริฐและอัศจรรย์อย่างนี้ เข้าสู่เศียรของท่านมัญชุศรีธรรมราชกุมาร แล้วยังย้อนจากเศียรส่องไปยังมหาชน เมื่อส่องมหาชนแล้วยังแผ่ไปในทิศทั้งสิบ อันจะไร้ซึ่งเหตุปัจจัยก็หาไม่ จะต้องทรงแสดงพระสัทธรรมเป็นแน่ เราทั้งหลายจะต้องพากเพียรบำเพ็ญ ยินดีประพฤติตามธรรมที่ทรงแสดง” เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ต่างก็ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! วันนี้พระตถาคตทรงเปล่งรัศมีนี้ จะไร้ซึ่งเหตุปัจจัยก็หาไม่ จะทรงแสดงพระสัทธรรมเป็นแน่แท้ ข้าพระองค์ทั้งหลายใคร่จะได้สดับยิ่งนัก ยินดีจะประพฤติตามธรรมที่ทรงแสดง” เมื่อกล่าวจบเช่นนี้ จึงยืนนิ่งอยู่

爾時文殊師利白佛言:「世尊!如來放光加我神力,此光希有,非色非相,不去不來,不動不靜,非見非聞,非覺非知。一切眾生無所觀見,無喜無畏,無所分別。我當承佛聖旨,說此光明,令諸眾生入無想慧。」

ครั้งนั้นพระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระองค์ทรงฉายพระรัศมีมาพูนเพิ่มธรรมพละให้ข้าพระองค์ อันพระรัศมีนี้หาได้ยากยิ่งนัก ไร้รูปไร้ลักษณะ ปราศจากการไป ปราศจากการมา ไม่เคลื่อนไหวไม่แน่นิ่ง มิใช่การได้เห็น มิใช่การได้ยิน มิใช่ความรู้สึก มิใช่ความเข้าใจ สรรพสัตว์ทั้งปวงมิอาจพิจารณาเห็นได้ ไร้ซึ่งความยินดี ไร้ซึ่งความหวาดกลัว แลไร้ซึ่งการแบ่งแยก ข้าพระองค์ได้รับพระพุทธบัญชา จึงพรรณนาถึงรัศมีนี้ ยังให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้เข้าสู่ปัญญาที่ปราศจากสัญญา(ปัญญาที่ไม่ได้มาจากการจดจำมา)”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 มิ.ย. 2011, 10:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


爾時佛告文殊師利:「善哉,善哉!汝善快說,吾助汝喜。」文殊師利白佛言:「世尊!此光明者是般若波羅蜜,般若波羅蜜者是如來,如來者是一切眾生。世尊!我如是修般若波羅蜜。」

ครั้งนั้น พระพุทธองค์ตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอจงกล่าวโดยเร็วเถิด ตถาคตยินดีกับเธอด้วย” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันรัศมีนี้คือปัญญาปารมี ปัญญาปารมีคือพระตถาคตพระตถาคตคือสรรพสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์บำเพ็ญปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้”

爾時佛告文殊師利言:「善男子!汝今如是說深般若波羅蜜。我今問汝,若有人問汝:『有幾眾生界?』汝云何答?」文殊師利白佛言:「世尊!若人作如是問,我當答言:眾生界數如如來界。」

พระพุทธองค์ตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “ดูก่อนกุลบุตร บัดนี้เธอกล่าวปัญญาปารมีที่ลึกซึ้งอยู่อย่างนี้ตถาคตจะถามเธอว่า หากมีบุคคลถามเธอว่า “มีสรรพสัตวธาตุอยู่เท่าใด?” เธอจะตอบว่าอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “สรรพสัตวธาตุนับได้เท่ากับตถาคตธาตุ”

「文殊師利!若復問汝:『眾生界廣狹云何?』汝云何答?」文殊師利白佛言:「世尊!若人作如是問,我當答言:如佛界廣狹。」「文殊師利!若復問汝:『眾生界繫在何處?』當云何答?」「世尊!我當答言:如如來繫,眾生亦爾。」「文殊師利!若復問汝:『眾生界住在何處?』當云何答?」「世尊!我當答言:住涅槃界。」

“มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุกว้างหรือแคบอย่างไร?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “กว้างและแคบเท่าพุทธธาตุ”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 มิ.ย. 2011, 23:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


“มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุข้องเกี่ยวกับสถานที่ใด?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า พระตถาคตข้องเกี่ยวอย่างไร สรรพสัตว์ก็อย่างนั้น”“มัญชุศรี หากถามเธออีกว่า “สรรพสัตวธาตุตั้งอยู่ที่แห่งใด?” เธอจะตอบอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากมีบุคคลถามเช่นนี้ ข้าพระองค์จะตอบว่า “ตั้งอยู่ที่นิพพานธาตุ”

佛告文殊師利:「汝如是修般若波羅蜜,般若波羅蜜有住處不?」文殊師利白佛言:「世尊!般若波羅蜜無有住處。」佛告文殊師利:「若般若波羅蜜無住處者,汝云何修?云何學?」文殊師利白佛言:「世尊!若般若波羅蜜有住處者,則無修學。」

มีพุทธดำรัสกะพระมัญชุศรีว่า “เธอบำเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ แล้วปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่หรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่” มีพุทธดำรัสกะพระมัญชุศรีว่า “หากปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่ แล้วเธอบำเพ็ญอย่างไร? ศึกษาอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! หากปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่แล้วไซร้ ก็ย่อมไม่มีการบำเพ็ญแลศึกษา”

佛告文殊師利:「汝修般若時,有善根增減不?」文殊師利白佛言:「世尊!無有善根可增可減,若有增減則非修般若波羅蜜。世尊!不為法增、不為法減,是修般若波羅蜜。不斷凡夫法、不取如來法,是修般若波羅蜜。何以故?世尊!般若波羅蜜,不為得法故修,不為不得法故修;不為修法故修,不為不修法故修。世尊!無得無捨,是修般若波羅蜜。何以故?不為生死過患,不為涅槃功德故。世尊!若如是修般若波羅蜜,不取不受,不捨不放,不增不減,不起不滅故。世尊!若善男子、善女人,作是思惟:『此法上,此法中,此法下。』非修般若波羅蜜。何以故?無上、中、下法故。世尊!我如是修般若波羅蜜。」

มีพุทธดำรัสกะพระมัญชุศรีว่า “เมื่อสมัยที่เธอบำเพ็ญปัญญา กุศลมีเพิ่มและลดหรือไม่? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! กุศลไม่อาจเพิ่มแลไม่อาจลด หากมีการเพิ่มและลดย่อมมิใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมี

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 14 มิ.ย. 2011, 10:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่ว่าธรรมจะเพิ่ม ไม่ว่าธรรมจะลด ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี ไม่ขาดสิ้นจากธรรมของบุถุชน ไม่ยึดมั่นในธรรมแห่งพระตถาคต จึงเป็นการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? พระผู้มีพระภาค! อันปัญญาปารมี มิใช่ต้องบรรลุธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ มิใช่ไม่บรรลุธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ มิใช่ประพฤติธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ มิใช่ไม่ประพฤติธรรมแล้วจึงบำเพ็ญข้าแต่พระผู้มีพระภาค! การไม่เข้าถึง การไม่เพิกเฉย คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี ด้วยเหตุไฉนนั่นฤๅ?เพราะเหตุที่ไม่ใช่ความทุกข์ของสังสารวัฏ แลไม่ใช่กุศลของพระนิพพาน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากบำเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ เป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่น ไม่น้อมรับ ไม่วางเฉย ไม่ปล่อยวาง ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่เกิดขึ้น ไม่ดับลง ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา จะมีมนสิการอย่างนี้ว่า “ธรรมนี้สูง ธรรมนี้กลาง ธรรมนี้ต่ำ” อันหาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุที่ธรรมไม่มีสูง กลาง ต่ำ พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ได้บำเพ็ญปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้”

佛告文殊師利:「一切佛法非增上耶?」文殊師利白佛言:「世尊!佛法、菩薩法、聲聞法、緣覺法,乃至凡夫法,皆不可得。何以故?畢竟空故。畢竟空中,無佛法、凡夫法。凡夫法中,無畢竟空。何以故?空不空不可得故。」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “บรรดาพุทธธรรมทั้งปวงมิใช่อธิบดีเป็นเลิศกระนั้นหรือ? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! อันพุทธธรรม โพธิสัตวธรรม สาวกธรรม ปัจเจกโพธิธรรม จนถึงบุถุชนธรรม ล้วนไม่อาจเข้าถึงได้ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะที่สุดก็เป็นศูนยตา ในศูนยตาอันเป็นที่สุดนั้นก็ไร้ซึ่งพุทธธรรมและบุถุชนธรรม ในบุถุชนธรรมนั้นก็ไม่ได้มีศูนยตาเป็นที่สุด เหตุไฉนนั่นฤๅ? เหตุเพราะศูนยตาหรือไม่ศูนยตาก็ไม่อาจบรรลุถึงได้ทั้งสิ้น”

佛告文殊師利:「佛法無上不?」文殊師利白佛言:「世尊!無有一法如微塵許,名為無上。何以故?檀波羅蜜檀波羅蜜空,乃至般若波羅蜜般若波羅蜜空,十力十力空,四無所畏、十八不共法,乃至薩婆若薩婆若空。空中無無上,無上中無空。空不空畢竟不可得故。世尊!不可思議法是般若波羅蜜。」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “พุทธธรรมไม่เป็นอนุตตระกระนั้นหรือ? ” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่มีธรรมประการเดียวแม้เท่ากับปรมาณูธุลีที่จะชื่อว่าอนุตตระ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะทานปารมีนั้นก็ศูนยตา จนถึงปัญญาปารมีก็ศูนยตา ทศพละก็ศูนยตา1 เวสารัชชะก็ศูนยตา2 อาเวณิกพุทธธรรมก็ศูนยตา3 จนถึงความเป็นสัพพัญญูก็ศูนยตา4 ในศูนยตาไร้ซึ่งความเป็นอนุตตระ ในความเป็นอนุตตระก็ไร้ซึ่งศูนยตา เหตุเพราะศูนยตาหรือไม่ศูนยตาก็ไม่อาจบรรลุถึงได้ พระผู้มีพระภาค! อจินไตยธรรมก็คือปัญญาปารมี”

_________________________________________________________________________

1 ทสพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ ๑๐ คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)

๑. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไรโดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน —knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)

๒. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action;knowledge of the results of karma)

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies andall goals)

๔. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of theworld with its many and different elements)

๕. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสงบใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน —knowledge of the different dispositions of beings)

๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหนเพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as
regards maturity of persons)

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)

๘. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)

๙. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the decease and rebirth of beings)๑๐. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)M.I.69; A.V.33; Vbh.336. ม.มู.๑๒/๑๖๖/๑๔๐; องฺ.ทสก.๒๔/๒๑/๓๕; อภิ.วิ.๓๕/๘๓๙/๔๕๔.

2 เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ ๔ (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม - intrepidity;self-confidences) พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ (The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)

๑. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้ - You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)

๒. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น - You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)

๓. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง - Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.

๔. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง - The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering does not lead him who acts accordingly to such a goal.)

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 05 ก.ค. 2011, 15:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


佛告文殊師利:「汝不思惟佛法耶?」文殊師利白佛言:「世尊!我若思惟佛法,我則見佛法無上。何以故?無上無故。世尊!五陰、十二入、十八界,畢竟不可得,一切佛法亦不可得。不可得中,無可得、不可得故。世尊!般若波羅蜜中,凡夫乃至佛,無法無非法。我當思惟何法?」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “เธอไม่ตรึกถึงพุทธธรรมกระนั้นหรือ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากข้าพระองค์ตรึกถึงพุทธธรรมแล้วไซร้ ข้าพระองค์ย่อมเห็นพุทธธรรมว่าเป็นอนุตตระ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะความเป็นอนุตตระนั้นไม่มีอยู่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เบญจขันธ์5 อายตนะภายในและภายนอก6 ธาตุสิบแปด7 ที่สุดแล้วก็ไม่อาจเข้าถึง บรรดาพุทธธรรมก็ไม่อาจเข้าถึง ในความไม่อาจเข้าถึงนั้นก็เข้าถึงไม่ได้ เหตุเพราะไม่อาจเข้าถึงสิ่งใดได้ พระผู้มีพระภาค! ในปัญญาปารมี ความเป็นบุถุชนจนถึงความเป็นพระพุทธะ ความปราศจากธรรม ความปราศจากอธรรม ข้าพระองค์จะต้องตรึกถึงธรรมใดอีกเล่าพระเจ้าข้า?”

___________________________________________________________________________________

ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่ (Since this is so, he abides in the attainment of security,of fearlessness and intrepidity.) เวสารัชชะ ๔ นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล ๑๐ (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทำให้พระตถาคตทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นำ เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป (Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)

3 พุทธธรรม ๑๘ ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่ ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ)
๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ
๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต
๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต
๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย )๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย) ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทำพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน๑๗. ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต

4 สัพพัญญู แปลว่า พระพุทธเจ้า,พระสัพพัญญู,ผู้รู้ธรรมทั้งปวง. ที่ทรงได้นามว่าสัพพัญญู เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวงโดยปรกติ

5 ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต — the Five Groups of Existence; Five Aggregates) 1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกายพฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ — corporeality) 2.เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ — feeling; sensation) 3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น — perception) 4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต — mental formations; volitional activities) 5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6 — consciousness

6 อายตนะ หมายถึง สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ ทำให้จิตและเจตสิก ประกอบด้วย 1.อายตนะภายใน มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2.อายตนะภายนอก มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ รวมอายตนะภายในและภายนอก เรียกว่า “อายตนะ 12”

7 ธาตุ 18 (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ — elements) 1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท — eye element) 2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์ — visible-data element) 3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ — eye-consciousness element) 4. โสตธาตุ(ธาตุคือโสตปสาท — ear element) 5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์ — sound element) 6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ — earconsciousness element) 7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท — nose element) 8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์ — odor element) 9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ — nose-conscious-ness element) 10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท —tongue element) 11. รสธาตุ(ธาตุคือรสารมณ์ — flavor element) 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ —tongue-consciousness element) 13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท — body element) 14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์ — tangible-data element) 15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ— body-consciousness element) 16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน — mind element) 17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์ — mental-data element) 18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ — mind-consciousness element)

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 05 ก.ค. 2011, 15:04, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2011, 23:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


佛言:「善男子!若無思惟,汝不應說:『此凡夫法,此緣覺法。』乃至不應說:『此是佛法。』何以故?不可得故。」「世尊!我實不說凡夫法乃至佛法。何以故?不修般若波羅蜜故。」

มีพระพุทธดำรัสว่า “ดูก่อนกุลบุตร หากไร้ซึ่งการตรึกถึง เธอก็ไม่พึงกล่าวว่า “นี่คือบุถุชนธรรม นี่คือปัจเจกโพธิธรรม” จนถึงไม่พึงกล่าวว่า “นี่คือพุทธธรรม” เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะ(สิ่งเหล่านั้น) ไม่อาจเข้าถึง” (พระมัญชุศรีทูลว่า) “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ที่จริงข้าพระองค์ไม่ได้กล่าวบุถุชนธรรมจนถึงพุทธธรรมเลย เหตุไฉนนั่นฤๅ? เหตุเพราะไม่ได้บำเพ็ญในปัญญาปารมี”

佛言:「善男子!汝亦不應作如是意:『此欲界,此色界,此無色界。』何以故?不可得故。」「世尊!欲界欲界性空,乃至無色界無色界性空。空中無說,我亦無說。世尊!修般若波羅蜜,不見上不見不上。何以故?世尊!修般若波羅蜜,不取佛法,不捨凡夫法。何以故?畢竟空中無取捨故。」

มีพระพุทธดำรัสว่า “ดูก่อนกุลบุตร เธอก็ไม่พึงมีมติเช่นนี้ว่า “นี่คือกามธาตุ นี้คือรูปธาตุ นี่คืออรูปธาตุ” เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะ(สิ่งเหล่านั้น)ไม่อาจเข้าถึง” (พระมัญชุศรีทูลว่า) “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!กามธาตุนั้นว่างจากสภาวะของกามธาตุ จนถึงอรูปธาตุก็ว่างจากสภาวะของอรูปธาตุ ในความว่างไร้ซึ่งการกล่าว ข้าพระองค์ก็ไม่ได้กล่าว พระผู้มีพระภาค! อันการบำเพ็ญปัญญาปารมี ไม่เห็นว่าสูง ไม่เห็นว่าไม่สูง เหตุไฉนนั้นฤๅ? พระผู้มีพระภาค! การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ติดยึดในพุทธธรรม ไม่เพิกเฉยในบุถุชนธรรมเหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะที่สุดแล้วในศูนยตาก็ไร้ซึ่งความยึดมั่นและการวางเฉย”

佛告文殊師利:「善哉,善哉!汝能如是說深般若波羅蜜,此是菩薩摩訶薩印。文殊師利!若善男子、善女人,非於千萬佛所深種善根得聞此法,乃於無量無邊佛所深種善根乃得聞此甚深般若波羅蜜,不生怖畏。」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอสามารถกล่าวปัญญาปารมีที่ลึกซึ้งเช่นนี้ นี่คือเครื่องหมายแห่งพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ดูก่อนมัญชุศรี หากกุลบุตร กุลธิดา มิใช่แค่การได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าจำนวนสิบล้านพระองค์ จนถึงการได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าจำนวนไม่มีประมาณไม่มีขอบเขต ถึงจะได้สดับปัญญาปารมีอันคัมภีรภาพนี้ โดยไม่ตื่นตระหนกหวั่นเกรง”

文殊師利復白佛言:「世尊!我承佛威神,當更說甚深般若波羅蜜。」佛告文殊師利:「善哉,善哉!恣聽汝說。」文殊師利白佛言:「世尊!若不得法生,是修般若波羅蜜。何以故?諸法無有生故。若不得法住,是修般若波羅蜜。何以故?諸法如實故。若不得滅,是修般若波羅蜜。何以故?諸法寂滅故。

พระมัญชุศรีทูลพระพุทธองค์อีกว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! เพราะข้าพระองค์ได้รับพระพุทธานุภาพ จึงจะขอกล่าวปัญญาปารมีอันคัมภีรภาพอีก” มีพุทธดำรัสว่า “สาธุๆ ขอให้เธอกล่าวเถิด” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่ได้บรรลุถึงการเกิดแห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่จะเกิดขึ้น) ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งการเกิด หากไม่ได้บรรลุถึงการตั้งอยู่แห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่ตั้งอยู่) ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมเป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา) หากไม่ได้บรรลุถึงการดับไปแห่งธรรม (คือไม่มีธรรมใดที่จะดับไป) ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมเป็นความดับอยู่แล้ว”

「世尊!若不得色,是修般若波羅蜜,乃至不得識,是修般若波羅蜜。何以故?一切諸法如幻如焰故。

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


「世尊!若不得眼,是修般若波羅蜜,乃至不得意,是修般若波羅蜜。若不得色乃
至法,不得眼界、色界、眼識界,乃至不得法界、意識界,是修般若波羅蜜。若不得欲
界,是修般若波羅蜜,乃至無色界亦如是。

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงรูปก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงวิญญาณก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมดุจมายา ดุจพยับแดด” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงจักษุ ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงมโนก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงรูปจนถึงธรรมารมณ์ ไม่เข้าถึงจักษุธาตุ รูปธาตุ จักษุวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงกามธาตุ ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี จนถึง อรูปธาตุก็เช่นเดียวกันนี้”

「世尊!若不得檀波羅蜜,是修般若波羅蜜,乃至不得般若波羅蜜,是修般若波羅蜜。若不得佛十力、四無所畏乃至十八不共法,是修般若波羅蜜。何以故?內空故,乃至無法、有法空故。

「世尊!若得生、住、滅,非修般若波羅蜜。若得五陰、十二入、十八界,非修般若波羅蜜。若得欲界、色界、無色界,非修般若波羅蜜。若得檀乃至般若,若得佛十力乃至十八不共法,非修般若波羅蜜。何以故?以有得故。

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่เข้าถึงทานปารมี ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี จนถึงการไม่เข้าถึงปัญญาปารมี ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี หากไม่เข้าถึงพุทธทศพละ เวสารัชชะ จนถึงอาเวณิกพุทธธรรม ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะภายในว่าง จนถึงความปราศจากธรรมและความมี
ธรรม ก็เป็นศูนยตา”

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากเข้าถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากเข้าถึงเบญจขันธ์ อายตนะภายในและภายนอก ธาตุสิบแปด ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากเข้าถึงกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ หากมีการเข้าถึงทานจนถึงปัญญา หากเข้าถึงพุทธทศพละจนถึงอาเวณิกธรรม ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะมีการเข้าถึง”

「世尊!若善男子、善女人,聞此甚深般若波羅蜜,不驚不疑,不怖不退,當知是人久於先佛深種善根。」 文殊師利復白佛言:「世尊!若不見垢法、淨法,不見生死果,不見涅槃果,不見佛,不見菩薩,不見緣覺,不見聲聞,不見凡夫,是修般若波羅蜜。何以故?一切諸法無垢無淨,乃至無凡夫故。世尊!若見垢淨乃至見凡夫,非修般若波羅蜜。世尊!若見垢法差別,淨法差別,乃至見佛差別,凡夫法差別,非修般若波羅蜜。何以故?般若波羅蜜無差別故。」

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา ได้ฟังปัญญาปารมีที่คัมภีรภาพนี้แล้วไม่ตระหนก ไม่สงสัย
ไม่หวาดกลัว ไม่ท้อถอย พึงทราบได้ว่าบุคคลนี้ได้ปลูกฝังกุศลมูลกับพระพุทธเจ้าอย่างลึกซึ้งมาก่อนแล้ว”พระมัญชุศรีทูลอีกว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากไม่พบธรรมที่แปดเปื้อน ธรรมที่วิศุทธิ์ ไม่พบผลแห่งสังสารวัฏ ไม่พบผลแห่งนิพพาน ไม่พบพระพุทธ ไม่พบพระโพธิสัตว์ ไม่พบพระปัจเจกโพธิ ไม่พบพระสาวก ไม่พบบุถุชน ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไม่มีความแปดเปื้อนและไม่มีความบริสุทธิ์ จนถึงปราศจากบุถุชน พระผู้มีพระภาค! หากเห็นว่ามีมลทินฤๅบริสุทธิ์ จนถึงเห็นความเป็นบุถุชน ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ พระผู้มีพระภาค! หากเห็นว่ามลทินธรรมมีความแตกต่างวิศุทธิธรรมมีความแตกต่าง จนถึงได้เห็นว่าพระพุทธะมีความแตกต่าง บุถุชนธรรมมีความแตกต่าง ก็หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะปัญญาปารมีไร้ซึ่งความแตกต่าง”

佛告文殊師利:「善哉,善哉!是真修行般若波羅蜜。文殊師利!汝云何供養佛?」文殊師利白佛言:「世尊!若幻人心數滅,我則供養佛。」

佛告文殊師利:「汝不住佛法耶?」文殊白佛:「佛無法可住,我云何住?」

佛告文殊師利:「若無法可得,誰有佛法?」文殊白佛言:「世尊!無有有佛法者。」

佛告文殊師利:「汝已到無所著乎?」文殊師利白佛:「無著則無到。云何世尊問已到無著?」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ นี่คือการบำเพ็ญจริยาแห่งปัญญาปารมีอย่างจริงแท้ ดูก่อนมัญชุศรี เธอสักการะพระพุทธเจ้าอย่างไร?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากมายาในจิตบุคคลดับสิ้น ข้าพระองค์จึงจักสักการะพระพุทธเจ้า”

พ. “เธอไม่ได้ตั้งอยู่ในพุทธธรรมหรือกระไร?” ม. “พระพุทธองค์ไร้ซึ่งธรรมที่จะตั้งอยู่ แล้วข้าพระองค์จะตั้งอยู่ได้อย่างไร?”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


พ. “หากไม่มีธรรมที่จะเข้าถึง แล้วใครที่มีพุทธธรรมอยู่?” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ไม่มีผู้ใดเลยที่มีพุทธธรรม”

พ. “เธอได้ถึงความไม่ยึดมั่นแล้วหรือ?” ม. “การไม่ยึดมั่นย่อมเข้าถึงไม่ได้ แล้วพระผู้มีพระภาคทรงถามว่าได้เข้าถึงความไม่ยึดมั่นได้อย่างไร?”

佛告文殊:「汝住菩提不?」文殊白佛言:「世尊!佛尚不住菩提,何況我當住菩提乎?」

佛告文殊師利:「汝何所依,作如是說?」文殊師利白佛:「我無所依作如是說。」

佛告文殊:「汝若無依,為何所說?」文殊白佛:「如是,世尊!我無所說。何以故?一切諸法無名字故。」

พ. “เธอตั้งอยู่ที่โพธิหรือไม่” ม. “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! พระพุทธองค์ยังไม่ตั้งอยู่ในโพธิ แล้วข้าระองค์จะตั้งอยู่ในโพธิได้อย่างไร”

พ. “เธออาศัยอะไร ที่กล่าวมาเช่นนี้” ม. “ข้าพระองค์ไม่ได้อาศัยสิ่งใด ในการกล่าวเช่นนี้”

พ. “หากเธอไม่ได้อาศัย แล้วกล่าวได้อย่างไร” ม. “เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาค! ที่ข้าพระองค์ไม่ได้กล่าว เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งนาม”

爾時長老舍利弗白佛言:「世尊!若菩薩摩訶薩,聞此深法,不驚疑怖畏,必定得
近阿耨多羅三藐三菩提不?」

爾時彌勒菩薩白佛言:「世尊!若諸菩薩摩訶薩,聞此深法,不驚疑怖畏,得近阿
耨多羅三藐三菩提不?」

爾時有天女名無緣,白佛言:「世尊!若善男子、善女人,聞此深法,不驚疑怖
畏,當得聲聞法、緣覺法、菩薩法、佛法不?」

เวลานั้นท่านอาวุโสสารีบุตรทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้เข้าใกล้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิ
อย่างแน่นอนหรือไม่?”

เวลานั้นพระเมตไตรยโพธิสัตว์ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้เข้าใกล้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิหรือไม่?”

เวลานั้นมีเทพธิดา ชื่อ อปัจจัย ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! หากกุลบุตร กุลธิดา ที่ได้ฟังธรรมที่ลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว จะได้บรรลุถึงสาวกธรรม ปัจเจกโพธิธรรม โพธิสัตวธรรม พุทธธรรมหรือไม่?”

爾時佛告舍利弗:「如是,如是!舍利弗!若諸菩薩摩訶薩,聞此深法,不驚疑怖畏,必定當得阿耨多羅三藐三菩提。是善男子、善女人,當為大施主、第一施主、勝施主,當具足戒、忍辱、精進、禪定、智慧,當具諸功德成就相好,自不怖畏令人不怖畏,究竟般若波羅蜜,以不可得無相無為成就第一不可思議法故。」

เวลานั้นพระพุทธองค์รับสั่งกับพระสารีบุตรว่า “เป็นเช่นนั้นๆ สารีบุตร หากโพธิสัตว์มหาสัตว์ทั้งหลาย ได้สดับธรรมอันลึกซึ้งนี้แล้วไม่ตื่นตระหนกสงสัยหวาดกลัว ย่อมจะบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิอย่างแน่นอน อันกุลบุตร กุลธิดานี้ จะเป็นมหาทานบดี (เป็นผู้นำการบริจาคทานที่ยิ่งใหญ่) เป็นเอกทานบดี(เป็นผู้นำการบริจาคทานที่เป็นเลิศ) เป็นวิชยทานบดี (เป็นผู้นำการบริจาคทานที่ประเสริฐ) จะสมบูรณ์ด้วยศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา จะสมบูรณ์ในความดีงามและลักษณะมงคลทั้งปวง ตนเองย่อมไม่หวั่นกลัวและยังให้ผู้อื่นไม่หวั่นกลัวด้วย ย่อมเป็นผู้ถึงที่สุดแห่งปัญญาปารมี เหตุเพราะได้อาศัยการไม่อาจเข้าถึงความไร้ลักษณะ ความไม่ปรุงแต่ง (การไม่บรรลุถึงความไร้ลักษณะและการไม่ปรุงแต่ง) แล้วได้สำเร็จถึงอจินไตยธรรมที่เป็นเลิศ”

佛告文殊師利:「汝何所見,何所樂,求阿耨多羅三藐三菩提?」文殊師利白佛言:「世尊!我無見無樂故求菩提。」

佛告文殊師利:「若無見無樂,亦應無求。」文殊白佛:「如是,世尊!我實無求。何以故?若有求者,是凡夫相。」

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 15 มิ.ย. 2011, 20:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2011, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


佛告文殊師利:「汝今真實不求菩提耶?」文殊白佛:「我真實不求菩提。何以故?若求菩提,是凡夫相。」

佛告文殊師利:「汝為定求,為定不求?」文殊白佛:「若言定求、定不求、定求不求、定非求非不求,是凡夫相。何以故?菩提無住處故。」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “เธอเห็นอยู่อย่างไร เธอยินดีอย่างไร ที่ปรารถนาพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ?” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ไม่มีความเห็นและไม่มีความยินดี เป็น
เหตุให้ปรารถนาโพธิ”

พ. “หากไม่มีความเห็น และไม่มีความยินดี ก็พึงไม่มีความปรารถนา” ม. “เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ที่แท้แล้วไร้ซึ่งความปรารถนา เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะหากมีความปรารถนา ก็คือบุถุชนลักษณะ”

พ. “บัดนี้เธอมิได้ปรารถนาโพธิอย่างแท้จริงแล้วหรือ?” ม. “ข้าพระองค์ มิได้ปรารถนาโพธิอย่างแท้จริง เหตุไฉนนั้นฤๅ? หากปรารถนาโพธิ ก็คือบุถุชนลักษณะ”

พ. “เธอปรารถนาอย่างแน่นอน หรือเธอไม่ปรารถนาแน่นอน?” ม. “หากกล่าวว่าปรารถนาแน่นอน ไม่ปรารถนาแน่นอน การปรารถนาหรือไม่ปรารถนาแน่นอน การแน่นอนว่าจะปรารถนาก็ไม่ใช่ ไม่ปรารถนาก็ไม่ใช่ ล้วนคือบุถุชนลักษณะ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะโพธินั้น ไร้ซึ่งสถานที่ตั้งอยู่”

佛告文殊師利:「善哉,善哉!汝能如是說般若波羅蜜,汝先已於無量佛所,深種善根久修梵行,諸菩薩摩訶薩應如汝所說行。」文殊白佛:「我不種善根,不修梵行。何以故?我若種善根則一切眾生亦種善根,我若修梵行則一切眾生亦修梵行。何以故?一切
眾生則梵行相。」

佛告文殊師利:「汝何見何證說如是語?」文殊白佛:「我無見無證亦無所說。世尊!我不見凡夫,不見學,不見無學,不見非學非無學。不見故不證。」

มีพุทธดำรัสกับพระมัญชุศรีว่า “สาธุๆ เธอสามารถแสดงปัญญาปารมีอย่างนี้ เธอได้ปลูกฝังกุศลมูลอย่างลึกซึ้งต่อพระพุทธเจ้าหาจำนวนมิได้มาแล้ว ได้ประพฤติพรหมจรรย์มานานแล้ว บรรดาพระโพธิสัตว์มหาสัตว์พึงประพฤติตามที่เธอกล่าว” พระมัญชุศรีทูลว่า “ข้าพระองค์มิได้ปลูกฝังกุศลมูล มิได้ประพฤติพรหมจรรย์ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะหากข้าพระองค์ได้ปลูกฝังกุศลมูลแล้วไซร้ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมได้ปลูกฝังกุศลมูลด้วย หากข้าพระองค์ประพฤติพรหมจรรย์แล้วไซร้ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมได้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วย เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลายที่คือลักษณะแห่งพรหมจรรย์”

พ. “เธอได้เห็น ได้บรรลุ ตามคำที่กล่าวนี้ได้อย่างไร” ม. “ข้าพระองค์ไม่ได้เห็น ไม่ได้บรรลุ แลมิได้กล่าว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์มิเห็นความเป็นบุถุชน มิเห็นความเป็นผู้ต้องศึกษา(เสขะ) มิเห็นความเป็นผู้ไม่ต้องศึกษา(อเสขะ) มิเห็นความมิใช่เสขะ ความมิใช่อเสขะ เพราะไม่เห็นเป็นเหตุให้ไม่บรรลุถึง”

爾時舍利弗白文殊師利:「汝見佛不?」文殊答舍利弗:「我尚不見聲聞人,何況我當見佛?何以故?不見諸法故,謂為菩薩。」

舍利弗白文殊師利:「汝今決定不見諸法耶?」文殊師利答舍利弗:「大德大比丘!汝止,不須復說。」

舍利弗白文殊師利:「謂為佛者,是誰語言?」文殊師利答舍利弗:「佛、非佛不可得,無有言者,無有說者。舍利弗!菩提者不可以言說,何況有佛可言可說?復次,大德舍利弗!汝說:『佛者是誰語言?』此語言,不合不散,不生不滅,不去不來,無有一法可與相應,無字無句。大德舍利弗!欲見佛者,當如是學。」

เวลานั้น พระสารีบุตรได้กล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “ท่านได้เห็นพระพุทธะอยู่ฤๅไม่?” พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า “ข้าพเจ้าไม่เห็นแม้ผู้เป็นสาวก และจะประสาใดที่ข้าพเจ้าจะเห็นพระพุทธะเล่า? เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะการไม่เห็นสรรพธรรมนั้นแล จึงเป็นโพธิสัตว์”

พระสารีบุตรกล่าวว่า “บัดนี้ท่านไม่แลเห็นธรรมทั้งปวงแน่หรือ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “พระคุณเจ้าผู้เป็นมหาภิกษุ ท่านหยุดเถิด มิต้องกล่าวอีก”

พระสารีบุตรกล่าวว่า “แล้วพระพุทธะที่ตรัสอยู่นี้คือผู้ใด?” พระมัญชุศรีตอบว่า “อันพระพุทธะหรือมิใช่พุทธะก็มิอาจเข้าถึง ไร้ซึ่งวาจา ไร้ซึ่งผู้กล่าว ดูก่อนท่านสารีบุตร ก็โพธินั้นแลไม่อาจกล่าวด้วยวจนะแล้วจะประสาใดกับการจะมีพระพุทธะที่กล่าววาจาอีกเล่า? ยังมีอีก พระคุณเจ้าสารีบุตร ท่านกล่าวว่า“พระพุทธะที่ตรัสอยู่คือผู้ใด?” คำนี้ไม่รวมไม่แยก ไม่เกิดไม่ดับ ไม่ไปไม่มา ไร้ซึ่งธรรมแม้ประการเดียวที่เป็นโยคะสอดคล้องต้องกัน ปราศจากอักขร ปราศจากโวหาร พระคุณเจ้าสารีบุตร เมื่อปรารถนาได้พบพระพุทธะ ก็ศึกษาอย่างนี้เถิด”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2011, 02:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


爾時舍利弗白佛言:「世尊!此文殊師利所說,新發意菩薩所不能解。」文殊師利答舍利弗:「如是,如是!大德舍利弗!菩提非可解。新發意者云何當解?」舍利弗白文殊師利:「諸佛如來不覺法界耶?」文殊師利答舍利弗:「諸佛尚不可得,云何有佛覺法界?舍利弗!法界尚不可得,云何法界為諸佛所覺?舍利弗!法界者即是菩提,菩提者即是法界。何以故?諸法無界故。大德舍利弗!法界、佛境界無有差別,無差別者即是無作,無作者即是無為,無為者即是無說,無說者即無所有。」

เวลานั้น พระสารีบุตรได้ทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! การกล่าวของพระมัญชุศรีนี้โพธิสัตว์ผู้เกิดโพธิจิตยังไม่นานจักไม่อาจเข้าใจ” พระมัญชุศรีตอบว่า “เป็นอย่างนั้นๆ พระคุณเจ้าสารีบุตรโพธิยังเข้าใจมิได้ แล้วผู้เกิดโพธิจิตยังไม่นานจะศึกษาได้อย่างไรเล่า?” พระสารีบุตรว่า “พระพุทธตถาคตทั้งหลายมิได้ตรัสรู้ซึ่งธรรมธาตุ(ธรรมภาวะ) ฤๅหนอ?” พระมัญชุศรีตอบว่า “ความเป็นพระพุทธะทั้งหลายนั้นยังไม่อาจเข้าถึงได้ แล้วจะมีพระพุทธะผู้ตรัสรู้ธรรมธาตุได้อย่างไรกัน? ท่านสารีบุตร ความเป็นธรรมธาตุนั้นก็ไม่อาจเข้าถึง แล้วจะมีธรรมธาตุให้พระพุทธะทั้งหลายตรัสรู้ได้อย่างไร? ท่านสารีบุตร ธรรมธาตุนั่นแลคือโพธิ โพธินั่นแลคือธรรมธาตุ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะสรรพธรรมไร้ซึ่งธาตุ พระคุณเจ้าสารีบุตร ธรรมธาตุแลพุทธวิสัยไม่มีความต่างกัน ความไม่ต่างกันนั้นแลก็คือการปราศจากผู้กระทำ ความปราศจากผู้กระทำนั่นแลก็คือความไม่ปรุงแต่ง(อสังขตะ) ความไม่ปรุงแต่งนั้นแลก็คือการไม่มีการกล่าว การไม่มีการกล่าวนั่นแลก็คือความไม่ได้มีอยู่”

舍利弗白文殊師利:「一切法界及佛境界,悉無所有耶?」文殊師利答舍利弗:「無有,無不有。何以故?有及不有,一相無相,無一無二故。」舍利弗白文殊師利:「如是學者,當得菩提耶?」文殊師利答舍利弗:「如是學無所學,不生善道不墮惡趣,不得菩提不入涅槃。何以故?舍利弗!般若波羅蜜畢竟空故。畢竟空中無一無二無三無四,無有去來不可思議。大德舍利弗!若言我得菩提,是增上慢說。何以故?無得謂得故。如是增上慢人,不堪受人信施,有信人不應供養。」

พระสารีบุตรได้กล่าวกะพระมัญชุศรีว่า “บรรดาธรรมธาตุแลพุทธวิสัย ล้วนไม่มีอยู่ฤๅหนอ? พระมัญชุศรีตอบว่า “ไม่มีแลไม่ใช่ไม่มี เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะความมีกับความไม่มี เอกลักษณะ อลักษณะมิได้เป็นหนึ่ง มิได้เป็นสอง (ไม่ได้ต่างกัน)” ส. “ผู้ศึกษาอย่างนี้ จะได้บรรลุโพธิหรือไม่หนอ?” ม. “อันการศึกษาอย่างนี้คือการไม่ได้ศึกษา มิได้ยังให้เกิดกุศลมรรค มิได้ยังให้ตกอบายภูมิ มิได้บรรลุโพธิ มิได้เข้าสู่นิพพาน เหตุไฉนนั้นฤๅ? ท่านสารีบุตรเหตุเพราะปัญญาปารมีเป็นศูนยตาอย่างที่สุด ก็ความเป็นศูนยตาอย่างที่สุด ก็ไร้ซึ่งความเป็นหนึ่ง สอง สาม สี่ ไร้ซึ่งการไปมา ไม่อาจนึกคิดเอาได้ พระคุณเจ้าสารีบุตร หากกล่าวว่า ตัวข้าพเจ้าได้บรรลุโพธิ ก็คือการกล่าวด้วยอัสมิมานะถือตนเป็นใหญ่ เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุเพราะการไม่บรรลุก็คือการบรรลุ ผู้ที่มีอัสมิมานะถือตนเป็นใหญ่อย่างนี้ มิอาจรับทานที่บุคคลให้ด้วยศรัทธาได้ ผู้มีศรัทธามิควรถวายบูชา”

*** พระสูตรมหายานแปลไทย จาก http://www..mahaparamita.com สงวนลิขสิทธิ์ในการแก้ไข ดัดแปลง จำหน่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร