วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 18:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2011, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
‎"คุณค่าแท้ หรือ คุณค่าเทียม"


:b8: เราสามารถนำคำสอนของพระองค์ มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตในโลกยุคดิจิตอลได้

:b53: หลักการแรกคือการพิจารณาถึง "คุณค่าแท้" และ "คุณค่าเทียม"

ยกตัวอย่างเรื่องการกินอาหาร ก็มีคุณค่าอยู่ทั้ง 2 ด้าน
คุณค่าแท้ คือ ประโยชน์ด้านสุขภาพอนามัยที่ช่วยบำรุงร่างกายให้อยู่ได้ด้วยดี
คุณค่าเทียม คือ ความเอร็ดอร่อย ความโก้เก๋
ดังนั้นการกินอาหารในร้านริมถนนกับการกินอาหารในภัตตาคารหรูหรา
ในแง่คุณค่าแท้ก็ไม่ต่างกัน คือได้ประโยชน์ในทางสุขภาพใกล้เคียงกันมาก
แต่เราทุกคนต่างก็อยากไปกินอาหารในภัตตาคาร

เพราะมันอร่อยกว่า โก้เก๋กว่า นี่คือการให้ความสำคัญ กับคุณค่าเทียมในเรื่องการกินอาหาร

พระพุทธเจ้าสอนว่า

ให้เราเอาคุณค่าแท้เป็นหลัก คือ กินอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย ให้มีเรี่ยวแรงในการทำงานและมีชีวิต
ไม่ใช่กินเพื่อมุ่งเอาความเอร็ดอร่อยเป็นหลัก
ถ้าใครติดคุณค่าเทียม ก็จะเกิดโทษ เช่น เป็นโรคอ้วน หรือถ้ากลัวอ้วน ก็กลายเป็นโรคบูลีเมียและอนอเรกเซีย

ถ้ามองในเรื่องเทคโนโลยีทั่วไป อย่างเช่นรถยนต์ คุณค่าแท้ของรถยนต์
คือใช้เป็นพาหนะเพื่อเดินทาง เป็นการทุ่นแรงทุ่นเวลา คุณค่าเทียมของมัน
คือความโก้เก๋ การสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ผู้ขับขี่

สมัยนี้เราเน้นคุณค่าเทียมมาก ดังนั้นเวลาดูโฆษณารถยนต์ ให้สังเกตว่า
เขาไม่ค่อยพูดว่ารถคันนี้ช่วยให้คุณไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัยและประหยัด
แต่เน้นว่ารถคันนี้ขับแล้วโดดเด่น โก้เก๋ ไม่เหมือนใคร สถานะทางสังคมสูงส่งกว่าผู้อื่น

:b53: ในสังคมปัจจุบัน โรคภัยไข้เจ็บทางร่างกาย และปัญหาสังคมจำนวนมาก
ล้วนเกิดขึ้นจากการที่ผู้คนหมกมุ่น ยึดติดกับคุณค่าเทียมมากเกินไป

อาตมามีความเห็นว่า คนในยุคปัจจุบัน ไม่ต้องถึงขั้นปฏิเสธคุณค่าเทียมไปเสียทั้งหมด
เพียงแต่อย่าให้ความสำคัญกับมันมากไป จนมองข้ามคุณค่าแท้


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2011, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2011, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2011, 01:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus327.jpg
Lotus327.jpg [ 2.16 KiB | เปิดดู 7781 ครั้ง ]
:b43: คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม

"...คุณค่าของวัตถุนั้น เราอาจจะแยกออกได้ ๒ ส่วน คือ คุณค่าแท้ กับ คุณค่ารอง

ตัวอย่างปัจจัย ๔

เสื้อผ้านี้ คุณค่าแท้ของมันคืออะไร ? คือเพื่อปกปิดร่างกาย ป้องกันความละอาย แก้ความหนาว ความร้อน เป็นต้น นี่คือประโยชน์แท้ หรือคุณค่าแท้ของมัน แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชนแล้ว มันไม่แค่นั้น มันจะมีคุณค่ารองอีก

คุณค่ารองนี้คืออะไร ? คือสิ่งที่จะให้เกิดความรู้สึกสวยงาม โก้หรูหรา อวดกัน วัดกัน อะไรต่างๆ เป็นต้น นี้คือคุณค่ารอง หรือคุณค่าเทียม

อย่างเราใช้รถยนต์ มันก็จะมีคุณค่าแท้ส่วนหนึ่ง และสำหรับบางคนก็จะมีคุณค่ารองอีกส่วนหนึ่ง

คุณค่าแท้คืออะไร ? คุณค่าแท้ก็คือใช้เป็นยานพาหนะ นำเราไปสู่ที่หมาย ด้วยความรวดเร็ว... แนวความคิดที่ควบกับคุณค่านี้ก็คือ พยายามให้สะดวกและปลอดภัย ทนทานที่สุด

คุณค่ารองก็คือว่า เราจะต้องให้โก้ เป็นสิ่งแสดงฐานะอะไรต่างๆเป็นต้น... ความคิดที่ควบกับคุณค่าแบบนี้ ก็คือต้องพยายามให้สวย ให้เด่นที่สุด ถึงสิ่งอื่นๆก็เหมือนกัน

ที่อยู่อาศัย ก็มีคุณค่าแท้ คือให้เป็นที่พักพิงหลบภัย และเป็นที่ที่เราจะได้ดำรงชีวิตส่วนเฉพาะของเรา ในครอบครัวของเรา ให้มีความสุข หรืออะไรก็ตามแต่... แต่ก็มีคุณค่ารองอีกเหมือนกัน ในความหมายของปุถุชน เช่นการแสดงฐานะ แสดงความหรูหรา หรืออะไรก็ตามแต่

สิ่งทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา ทางวัตถุนี้ ปุถุชนมักจะมีคุณค่าอยู่ 2 คือคุณค่าแท้ กับคุณค่ารอง พุทธศาสนายอมรับคุณค่าแท้ คุณค่าแท้นี่แหละสำคัญ พระบวชมา ท่านจะให้พิจารณา ปฏิสังขาโย เช่น เวลาฉันบิณฑบาต ให้พิจารณา บอกว่า ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตัง ปฏิเสวามิ... ข้าพเจ้าได้พิจารณาโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร อย่างนี้เป็นต้น พิจารณาอย่างไร ? ท่านก็บอกต่อไปว่า ฉันเพื่ออะไร ? คือให้เรารู้ว่า ที่เราฉันนี่ ฉันเพื่อให้มีกำลัง กาย จะได้มีชีวิตเป็นไป แล้วเราจะได้ทำหน้าที่ของเรา อะไรต่ออะไรได้ เป็นอยู่สบาย นี่คือคุณค่าแท้ ต่อไปคุณค่ารองก็คือ เอร็ดอร่อย ต้องมีเครื่องประดับเสริม ต้องไปนั่งในภัตตาคารให้หรูหรา อาจจะเป็นมื้อละพัน หรือมื้อละหมื่นก็มี แต่ว่าคุณค่าทางอาหาร บางทีก็เท่ากับมื้อละ 20 บาท 15 บาท แต่ว่ามื้อละพัน หรือมื้อละ 15 บาท คุณค่าที่จำเป็น คุณค่าแท้ต่อชีวิต เท่ากัน ส่วนคุณค่ารอง หรือคุณค่าเทียม ไม่เท่ากัน

ในชีวิตของปุถุชนนี้ คุณค่ารองเป็นเรื่องสำคัญ แล้วคุณค่ารองนี้แหละ ที่ทำให้เกิดปัญหาแก่มนุษย์มากที่สุด ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากความแร้นแค้นยากจน อันเป็นสาเหตุทางเศรษฐกิจเป็นปัญหา สำคัญมาก พุทธศาสนายอมรับ แต่ความชั่วร้ายในสังคม ที่เกิดจากคุณค่ารอง หรือ คุณค่าเทียมของสิ่งทั้ง หลายนั้น มากมายกว่า คนเรานี้ แสวงหาคุณค่ารองกันมากมายเหลือเกิน แล้วปัญหามันก็เกิดขึ้นนานาประการทีเดียว เป็นปัญหาขนาดใหญ่ และมีผลกว้างไกลกว่าปัญหาที่คนยากจนสร้างขึ้น เป็นตัวการสำคัญซ่อนอยู่เบื้องหลังการเกิดปัญหาเศรษฐกิจที่ร้ายแรง

เพราะฉะนั้น สำหรับพระ จึงต้องพยายามมุ่งคุณค่าแท้ให้คงอยู่ ส่วนฆราวาสนั้น ขอให้ตระหนักไว้ อย่าเพลิน อย่าลืม อย่าประมาท อย่าหลงเกินไป ฆราวาสเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่อย่างพระ แต่ว่าอย่าหลงลืม อย่ามัวเมา ต้องพยายามคำนึง คอยตระหนักถึงคุณค่าแท้ไว้ด้วย ว่าเราใช้สิ่งนี้ เพื่อประโยชน์ที่แท้จริง คืออะไร อย่าลืมตัวจนเลยเกินไป..."


โดย : พระธรรมปิฎก


:b44: กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านนะเจ้าค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2011, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2011, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2010, 00:17
โพสต์: 255

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อันนี้ท่านกำลังอธิบายเรื่องจิตสังขาร หรือการปรุงแต่งของจิต ท่านเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อชา เวลาหลวงพ่อชาท่านพูดเรื่องนี้ ท่านว่าเราจะวาดเกินจริงไป คือความจริงมันมีแค่นี้ แต่เราปรุงแต่งเกินไป กว่าที่มันเป็นจริง ถ้าเราไม่ฉุกคิดให้ทัน ก็จะเห็นว่าคุณค่าเทียม(คือจิตมันคิดปรุงแต่งไปจนเกินจริง เกินความจำเป็นนั้น)มันสำคัญ อย่างเช่น เขาว่ามีสเต็ก อร่อยขึ้นชื่ออยู่ที่เขาใหญ่ร้านหนึ่ง ใครไม่ได้กินสเต็กร้านนี้สักครั้ง ถือว่ายังไม่เคยลิ้มรส สเต็กที่แท้จริง เขาว่าแค่นี้ จิตมันก็ปรุงแต่งไปแล้ว คิดไปถึงหน้าตาว่ามันต้องน่าทานอย่างโน้น อย่างนี้ รสชาติมันต้องนุ่มลิ้นเชียวละ(แต่ความจริง ยังไม่เห็น ไม่ได้กินด้วยซ้ำ แจ่จิตมันปรุงแต่งไปรอแล้ว) ถ้าเรารู้ไม่ทันการปรุงแต่ง นั่นแหละกิเลสมันก็พาเราขับรถไป ที่นี้อาจารย์ชยาสโรภิกขุ ท่านก็ว่า ขับรถไป2-3 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับความรู้สึกอร่อยที่รู้รสได้ในช่วงที่สเต็คมันอยู่ในปากสำผัสกับลิ้น นั้นไม่ถึง 10 นาที แต่ละคำอร่อย แค่ช่วงแตะลิ้น กลืนลงคอความอร่อยก็จบลง เทียบกับเวลาที่เสีย ไป2-3ชั่วโมง อันตรายที่อาจเกิด ค่าน้ำมัน รวมกันแล้วคุ้มไหม ที่ตามใจการปรุงแต่งของจิต(จนเป็นความอยาก) ท่านว่ายังคิดไม่ได้ ลองเคี้ยวๆ แล้วอย่าพึ่งกลืน คายใส่มือแล้วมาพิจารณาดู ก็จะคิดได้เอง อันนี้แหละที่เราว่า หลวงพ่อชาท่านฉลาดเรื่องรู้จักการปรุงแต่งจิต และท่านก็ฝึกลูกศิษย์ของท่านในเรื่องการทรมานจิต(ทรมานกิเลส) จนจิตมันเชื่อง บังคับมันได้ ไม่ถูกกิเลสขับให้หมุนตามไป
นี่แหละ ที่ควรพิจารณากันให้มาก.....เจโตวิมุติ/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร