วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

ความมุ่งหมายของการฟังธรรม
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)



ความมุ่งหมายของการฟังธรรมนั้น มีอยู่ ๕ ประการ คือ

:b42: ฟังธรรมเอาบุญ

:b42: ฟังธรรมเอาความรู้

:b42: ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย

:b42: ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ

:b42: ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ


:b42: ๑. ฟังธรรมเอาบุญ

หมายความว่า ฟังธรรมแล้วได้บุญ บุญแปลว่า ชำระ
คือ ชำระกายวาจาใจให้สะอาด เพราะกายวาจาใจของคนเราเปื้อนบาป
จึงจำเป็นต้องชำระด้วยน้ำ คือ บุญ
ดุจชำระเสื้อผ้าที่สกปรกด้วยผงซักฟอกฉะนั้น
บาปนั้นมีอยู่ ๓ ขั้น คือ บาปอย่างหยาบ ๑ บาปอย่างกลาง ๑ บาปอย่างละเอียด ๑


บาปอย่างหยาบ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ล่วงออกมาทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี
และล่วงออกมาทางวาจา เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ เป็นต้น
ต้องชำระด้วยบุญขั้นต้นคือ ศีล


บาปอย่างกลาง คือ นิวรณ์ทั้ง ๕ ได้แก่ กามฉันทะ พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๑
พยาบาท ใจโกรธ ใจขุ่น ๑ ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน ๑
อุทธัจจะกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านรำคาญ ๑ วิจิกิจฉา สงสัยลังเลใจ ๑
บาปทั้ง ๕ นี้ ต้องชำระด้วยบุญอย่างกลาง คือ สมาธิ


บาปอย่างละเอียด คือ อนุสัย ได้แก่ กิเลสที่นอนดองอยู่ในใจ
ดุจขี้ตะกอนอยู่ก้นตุ่มฉะนั้น มีอยู่ ๑๒ ตัว คือโลภะ ๘ โทสะ ๒ โมหะ ๒
อันเป็นส่วนละเอียดติดมาแต่ภพก่อนชาติก่อน
ต้องชำระด้วยบุญขั้นละเอียด คือ วิปัสสนาปัญญา


ในขณะที่ท่านทั้งหลายกำลังฟังธรรมอยู่ในขณะนี้
กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ ของแต่ละท่านก็บริสุทธิ์เพราะอำนาจแห่งศีล
ศีลแปลว่า รักษากายวาจาให้เรียบร้อย ศีลนี่แหละเป็นบุญขั้นต้น เป็นที่พึ่งเบื้องต้น
เป็นแม่ของคุณงามความดีทั้งหลาย และเป็นประมุขของกุศลธรรมทั้งปวง
จะฟังรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องก็ตาม ถ้าตั้งใจฟังแล้วได้บุญทั้งนั้น
เพราะจิตดวงนี้เป็นมหากุศล ถ้าตายลงในขณะนี้ก็มีผลให้ไปมนุษย์ก็ได้
ไปเกิดสวรรค์ก็ได้ เช่น แม่ไก่ฟังธรรมถูกฆ่าตาย ได้ไปเกิดเป็นพระราชธิดา
กบฟังธรรมถูกฆ่าตายได้ไปเกิดเป็นเทพบุตรชื่อว่า มัณฑูกเทพบุตร
ค้างคาว ๕๐๐ ตัว ฟังพระอภิธรรม ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์
ผลสุดท้ายได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้ออกบวชเป็นพระ
ได้ฟังพระอภิธรรม ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด อย่างนี้เรียกว่า ฟังเอาบุญ


:b42: ๒. ฟังธรรมเอาความรู้

หมายความว่า ฟังแล้วต้องจำได้ ใครจำได้มากเท่าไร ก็เป็นความรู้ของคนนั้น
ถ้าจำไม่ได้ต้องจดไว้ บันทึกไว้ หรืออัดใส่เทปไว้ เปิดฟังบ่อยๆ ฟังจนจำได้
สมดังคำโบราณท่านสอนลูกหลานไว้ว่า
“เห็นแล้วจดไว้ ทำให้แม่นยำ เหมือนทราบแล้วจำ ไว้ได้ทั้งมวล
เมื่อหลงลืมไป จักได้สอบสวน คงไม่แปรปรวน จากที่จดลง”


:b42: ๓. ฟังธรรมเพื่อเป็นอุปนิสัย

หมายความว่า ในขณะที่ฟังอยู่นั้น ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง
มีเสียงอื่นรบกวน ทำให้หนวกหูบ้าง ง่วงนอนบ้าง กำลังทำกิจอย่างอื่น
เช่น ล้างถ้วยล้างชามบ้าง โขลกหมากบ้าง ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นบุญอยู่
ตัวอย่าง ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ
งูเหลือมตัวหนึ่งได้ยินเสียงพระนักอภิธรรมกำลังท่องอายตนะกถาอยู่
ถือเอานิมิตในเสียงนั้น ตายแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมื่อพระพุทธเจ้าของเราปรินิพพานแล้ว ได้มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์
ออกบวชเป็นอาชีวกชื่อว่า ชนะโสณะ
ได้ฟังธรรมย่อๆในหัวข้อว่า "อายตนะ" จากพระอุปคุตตเถระ
ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างแก่กล้า ขอบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา
เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระอรหันต์


:b42: ๔. ฟังธรรมเพื่อปฏิบัติ

หมายความได้ ๒ อย่าง คือ ฟังแล้วจำไว้
มีโอกาสเมื่อใดก็นำไปปฏิบัติได้เมื่อนั้น นี้อย่างหนึ่ง
ถ้าเป็นนักปฏิบัติวิปัสสนา สามารถฟังไปปฏิบัติไปพร้อมกันได้เลย
เพราะในขณะที่ได้ยินเสียงพระแสดงธรรมอยู่นั้น ขันธ์ ๕ เกิดแล้ว
อารมณ์ของวิปัสสนาเกิดแล้ว คือเสียงกับหูเป็นรูปขันธ์
ได้ยินเสียงธรรมะแล้วสบายใจ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้เป็นสัญญาขันธ์
แต่งให้เห็นว่าดีหรือไม่ดีเป็นสังขารขันธ์ ได้ยินเป็นวิญญาณขันธ์
ย่อให้สั้นๆ ก็ได้แก่รูปกับนาม รูปนามนี้แหละเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา
ดังนั้น นักปฏิบัติวิปัสสนาจึงลงมือปฏิบัติได้ทันที โดยตั้งสติไว้ที่หู
ตัวอย่าง พาหิยะทารุจีริยะ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า
"ได้ยินก็สักว่าแค่ได้ยิน" ไม่ช้าท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


:b42: ๕. ฟังธรรมเพื่ออุทิศส่วนบุญ

หมายความว่า เราตั้งใจฟังธรรมได้บุญแล้ว
ก็อุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่ บิดามารดา ครู อาจารย์ ท่านผู้มีบุญคุณ ท่านผู้มีพระคุณ


ที่มา...พระธรรมเทศนาอริยธนกถา โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร ๒๕๒๔, อนุสรณ์ คุณหญิงเจือ นครราชเสนี

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3276

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: เราก็ฟังบ่อยๆเลยค่ะ ใจจะได้ไม่ฟุ้งซ่านด้วย :b9:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มี 5 อย่างคือ

1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. สิ่งใดเคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
5.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

(องฺ.ปญฺจก.22/276)

(รวมถึงการฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มี 5 อย่างคือ

1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. สิ่งใดเคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
5.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

(องฺ.ปญฺจก.22/276)

(รวมถึงการฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆด้วย)


อนุโมทนาสาธุครับผม :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: สาธุ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรัชกาย เขียน:
ธัมมัสสวนานิสงส์ คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม มี 5 อย่างคือ

1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. สิ่งใดเคยฟังแล้วแต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้
5.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

(องฺ.ปญฺจก.22/276)

(รวมถึงการฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆด้วย)


:b8: สาธุ สาธุ สาธุค่ะ...คุณกรัชกาย :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: :b46: :b8: :b8: :b8: :b46: :b46:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร