วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 19:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือ บันทึกธรรมจากหลวงปู่
พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร)
รวบรวมบันทึก ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
โดย พระสุทธิพันธิ์ สุทธิมโน และศิษยานุศิษย์
พิมพ์ครั้งแรก เมษายน ๒๕๕๑
จำนวน ๖,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ที่ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ จำกัด
๔๙ หมู่ที่ ๑ เพชรเกษม ๖๙ หนองแขม
กทม. ๑๐๑๖๐ โทร. ๐๒-๔๔๔๔-๓๓๕๑-๙
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร



:b40: :b44: :b40:


• ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ท่อน ญาณธโร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20749

• รวมคำสอน “หลวงปู่ท่อน ญาณธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=50532

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: �� พ่อแม่ให้มรดกแก่เราแล้ว คือ ร่างกายนี้เราจะเอาไปเรียนไปทำมาหากินให้เจริญเท่าไรก็ได้ขึ้นอยู่กับเรา ยิ่งถ้าเราเอาจริงเอาจังกับการพิจารณาร่างกายนี้เอาจนแจ่มแจ้ง กระดูกจะกลายเป็นพระธาตุเราได้รับมรดกอันล้ำค่ามหาศาลจากพ่อจากแม่แล้ว จะได้มรรคผลนิพพานก็เพราะธาตุเหล่านี้ ถ้าเราไม่รู้จักคิดก็จะไปแก่งแย่งเอามรดกจากพ่อจากแม่อีก ถ้าท่านไม่ให้ก็โกรธ บางรายถึงกับฆ่าพ่อฆ่าแม่ก็มี

ถ : ก่อนตายควรนึกถึงอะไรดีคะหลวงปู่
ต: พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
สีลานุสติ ระลึกถึงความดีของศีล
จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่เราเคยทำ
ให้เอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องระลึกนึกถึงถ้าเวทนาไม่แก่กล้า เราก็กำหนดความรู้ของเราเฉยๆ ความรู้อยู่ที่หัวใจเรานั่นแหละ มีแต่รู้อันเดียวเท่านั้นที่จะช่วยเราได้ อย่างอื่นไม่มี ความรักก็ดี ความชังก็ดี ยินดี ยินร้ายเหล่านั้นช่วยเราไม่ได้ ความรู้อย่าให้ลืม ให้มีสติทุกเมื่อ ให้กำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ หายใจเข้า รู้หายใจออก รู้ เวทนาอย่างอื่นก็จะเบาไปๆเหมือนเรานอนหลับไปเฉยๆ อย่าได้ตายโดยความหลง ให้ตายด้วยความรู้เท่า

:b39: �� เรื่องที่แล้วไปแล้ว มันก็แล้วไปแล้ว จะเอามาคิดอะไรอีก ผ่านไปแล้ว อย่าเอามาคิดจิตจะฟุ้งซ่านขุ่นมัว

:b39: �� ถ้าหากคนเราประพฤติปฏิบัติตามธรรมะได้จริงแล้วสังคมจะไม่เดือดไม่ร้อน เหตุที่มีปัญหาอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นเพราะว่าสังคมไม่ยอมรับนับถือและไม่ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งคำสอนของพระบรมศาสดาหรือครูบาอาจารย์

:b39: �� ถ้าจิตใจเศร้าโศกไม่เบิกบานร่าเริงแล้วเสียมงคลไปหมด ใจอาภัพ แต่ถ้าจิตใจไม่เศร้าไม่โศก มีแต่ร่าเริงเกษมสำราญแล้วเป็น

:b39: �� เผลอๆ หลงๆ ลืมๆ ขาดสติ แล้วจะเอาปัญญาที่ไหน ปัญญาไม่เกิด ปัญญาจะเกิดต้องอยู่ด้วยความนิ่งเสียก่อน เหมือนดั่งน้ำนิ่ง ถ้าน้ำมันกระเพื่อมอยู่ มันก็ดูเงาตัวเองไม่ได้ไม่ชัด จะดูอะไรๆ ก็ไม่ชัดแม้ธรรมะก็คิดปรุงไปหมด เป็นวิปลาสคลาดเคลื่อนไม่เป็นของจริง ต้องให้มันนิ่งก็ดูเงาได้ชัดเจน ฉันใดถ้าใจเราไม่จดจ่อดูอะไรก็ไม่ชัด ถ้าใจนิ่งเห็นอะไรๆ ชัด เห็นสังขารตามความจริง มีโอกาสสิ้นสงสัย

:b39: �� ขันธ์ทั้งห้าเป็นภาระอันหนัก ต้องรู้จักวางรู้จักเฉยซะ หากวางได้ จะเบากายเบาใจอย่างยิ่ง

:b39: �� หลวงปู่แจกกำไลให้ญาติโยม หลวงปู่เมตตาเตือนสติ บางคนชอบเหล่ บางคนไม่พอพอไม่เป็น จะเอามาก ๆ เก็บไว้แต่ตัวคนเดียวถึงได้ของดีขนาดไหนมาไว้ มันก็ไม่ดี มันดีอยู่ที่การละ การวาง การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่มีผิดใจเลย ไม่มีคิดอาฆาตมาดร้ายพยาบาทจองเวรผู้ใดเลย เรียกว่าเป็นผู้มีอุเบกขาของดีอยู่ตรงนั้น

:b39: �� ถ้าท่านรู้ตัวท่านดีว่าท่านไม่ได้ผิด ก็ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งนั้น ไม่เห็นจะต้องหวั่นไหวอะไรเลย ต่อให้คนทั้งโลกจะชี้หน้าว่าผิดแม้ตัวผมเอง (หลวงปู่ชี้นิ้วเข้าหาหลวงปู่) ก็ไม่ต้องหวั่นไหว

ถ. ปฏิบัติธรรมอย่างไรให้พ้นทุกข์คะ
ต. ก็วางเฉย เฉยไว้มันจึงไม่ทุกข์ ถ้าไปยึดถือทุกอย่าง มันก็ทุกข์ วาง...มันจึงไม่ทุกข์อุเบกขา


:b39: �� ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร ทำอย่างไรกับเราอย่าหวั่นไหว เฉยไว้ก็ดีเองๆ

:b39: �� เห็นธรรมคือเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทำอย่างไรเราจะพ้นจากกองทุกข์ เห็นว่าของทุกอย่างไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา แม้ร่างกายที่อยู่ร่วมกันก็ไม่ใช่เราเลย มันอยากเจ็บมันก็เจ็บ มันอยากแก่มันก็แก่ มันอยากตายมันก็ตาย ห้ามมันไม่ฟัง ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นไม่กลัวตาย ตายเมื่อไรช่างมัน ทำความดี... ดีกว่า

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ผู้ให้
พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อนญาณธโร)


เกิดเมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๗๑ ที่บ้านหินขาว ต.สาวัตถี จ.ขอนแก่น
นามเดิมท่อน ประเสริฐพงษ์
เป็นบุตรคุณแม่ทา คุณพ่อแจ่ม ประเสริฐพงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๖ มีพี่น้องรวม ๑๙ คน หลวงปู่บวชเมื่ออายุ ๒๑ ปีที่วัดศรีจันทราวาส มีหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดป่าชัยวันเป็นพระอาจารย์สอนวิปัสนากรรมฐานให้แก่หลวงปู่นำเข้าป่าและถ้ำต่างๆ เพื่อปฏิบัติธรรมหลายต่อหลายปี

หลวงปู่ได้ช่วยหลวงปู่คำดีสร้างวัดถ้ำผาปู่จวบจนหลวงปู่คำดีมรณภาพ ปี ๒๕๐๐ ญาติโยมนิมนต์ให้หลวงปู่ท่อนไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง จ.เลย หลวงปู่และญาติโยมได้ร่วมกันก่อสร้างวัดศรีอภัยวันขึ้น ณ ป่าช้านาโป่งแห่งนั้น ในเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่เศษ ภายหลังได้ขยายเพิ่มเป็น ๖๐ ไร่เศษ

หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่พระญาณทีปาจารย์ เมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ และที่พระราชญาณวิสุทธิโสภณ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ หลวงปู่เป็นผู้มีเมตตาธรรมสูงยิ่ง ใครได้อยู่ใกล้หลวงปู่ จะรู้สึกฉ่ำเย็นเป็นสุขสงบตามจริยวัตรที่งดงามของหลวงปู่ มีอารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ เมตตาต่อทุกสรรพสิ่งเสมอกัน

เมตตาที่จะโปรดญาติโยมโดยไม่คำนึงถึงองค์หลวงปู่เองว่าจะลำบากลำบนทุกข์เข็ญเช่นไร เป็นหลวงปู่ผู้มีแต่ให้โดยแท้
ลูกศิษย์ของหลวงปู่รู้ดีว่า “ญาณวิสุทธิโสภณ” ของหลวงปู่นั้นเด่นชัดประจักษ์ใจประจักษ์ตาเพียงใด ธรรมะจากหลวงปู่จึงบริสุทธิ์และทรงคุณค่าสูงยิ่ง บันทึกธรรมะจากหลวงปู่เล่มนี้ จึงมีคุณูปการเป็นอเนกอนันต์ต่อผู้ใฝ่ประพฤติ ปฏิบัติธรรม ตามรอยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของหลวงปู่ผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของเรา

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


บันทึกธรรมจากหลวงปู่

:b44: พ่อแม่ท่านมีเมตตาให้แก่เรา เราจึงได้เกิดได้เติบโต ในตอนที่แม่อุ้มท้องเรา ๙ เดือนแม่ต้องลำบากขนาดไหน จะกินอะไรก็ระวัง แม้ของที่แม่ชอบ ถ้ากินแล้วจะไม่ดีต่อลูก แม่ก็อดใจไม่กิน เวลาจะทำอะไรก็ลำบากทรมาน แต่แม่ไม่เคยบ่น ยิ่งเวลาคลอด แม่ลำบากขนาดไหน แม่เจ็บปวดรวดร้าวขนาดไหน แม่เสียเลือดเสียกำลังไปขนาดไหน แม่สลบไสลกี่ครั้ง แม้ปานนี้แม่ก็ยังไม่โกรธลูกเลยที่ทำให้แม่ต้องเจ็บปวดรวดร้าวขนาดนี้ ขอเพียงให้ลูกของแม่ปลอดภัยก็พอแล้ว ลูกงอแงเวลาไหนมือแม่ถึงสายเปลเวลานั้น คอยไกวเปลเห่กล่อมจนลูกแม่หลับ ถึงทาเล็บสวยๆ ถ้าลูกแม่อึออกมาแม่ก็ลุยเลยไม่มีรังเกียจของๆ ลูก ไม่ว่าน้ำมูกน้ำลายแม่ก็เช็ดเอางมเอา บางทีใช้ปากดูดน้ำมูกให้ลูกก็มีพ่อกับแม่ท่านช่วยกันดูแลฟูมฟักรักษา ริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม เพราะท่านรักท่านเมตตาเราอย่างสุดหัวใจ ดั่งพระราชนิพนธ์ที่ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๖ทรงประพันธ์ไว้ว่า

อันความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน


:b44: บุญคุณของพ่อของแม่มีให้กับเรามากมายมหาศาลขนาดนี้ เราผู้เป็นลูกจะเนรคุณท่านได้หรือ ให้รู้จักคุณของพ่อแม่แล้วกตัญญูตอบแทนพระคุณท่าน

:b44: หลวงปู่ได้เลื่อนสมณศักดิ์ ญาติโยมพากันตื่นเต้นดีใจ หลวงปู่เมตตาให้สติ “เลื่อนชั้นก็เหมือนเก่านั้นแหละ คนก็คนเดิม กิเลสก็ยังเหมือนเดิม ไม่ได้ลดไปด้วยเลย ถ้าเห่อเหิม กิเลสมันจะยิ่งเจริญขึ้นไปอีกไม่น้อยไปเบาไปได้เลย เมายศหมดสง่าเมาสุราหมดสำคัญ เมาพนันหมดตัวเมาผัวลืมพ่อ เมาเมียลืมแม่ เมาวัยลืมแก่ เมากระแช่ลืมกัญชา เป็นเพียงแค่สมมติกันขึ้น เพื่อช่วยกันทำงานให้พระศาสนาเท่านั้นแหละ”

:b44: คำพูดที่ไม่ได้พิจารณาก็ย่อมกระทบกระเทือนผู้อื่น ให้พิจารณากลั่นกรองให้ดีเสียก่อนจึงค่อยพูด

:b44: �� เวลาที่หลวงปู่ท่านกลับมาวัด หลังจากไปกิจนิมนต์นานๆ ท่านมักจะดูอ่อนแรงเสมอพระรูปหนึ่งกราบเรียนถามท่านว่า หลวงปู่ไม่เหนื่อยหรือครับที่อายุตั้งขนาดนี้แล้ว (๘๐ปี) ยังต้องไปกิจนิมนต์นานๆ ตลอดหลวงปู่เมตตาตอบว่าเหนื่อยก็ส่วนเหนื่อยใจก็ส่วนใจสิ มันเหนื่อยพอกินข้าวแล้วพักผ่อนก็หาย นอนไปในรถก็ได้ แต่เราต้องไปโปรดญาติโยม ญาติโยมเพียงคนเดียวถ้าได้พบหลวงปู่แล้วโยมเขาหายทุกข์ก็คุ้มแล้ว

:b44: เราไม่คุย เราไม่นอกลู่นอกทาง รักษาความสงบไว้อย่างนั้น ไม่ต้องคุยโอ้อวดผู้ใดอย่าไปคุยโอ้อวดมันจะเสื่อม เสื่อมเลยมันไม่สงบอีกแล้ว ไม่ต้องคุยโอ้อวดผู้ใดไม่ต้องยกตนเทียมท่าน ไม่ต้องยกตนข่มท่าน โอ้อวดใครก็ไม่ใช่ มันรู้เรื่องอยู่มันรู้เรื่องราวอยู่อย่างนั้นๆ เราก็สบายของเรา ยิ้มอยู่แค่นั้น ใครจะว่าอะไรก็ยิ้ม จิตจะอยู่เหนือโลก เหนือธรรม ไม่หวั่นไหวกับโลกธรรมทั้งหลาย ขอให้ทำไปเถิดอย่าได้โอ้อวดตกใจ ดีใจ ภูมิใจ มันจะเป็นวิปลาส

:b44: นิพพานใจจะต้องเด็ดเดี่ยวมากนะ ต้องไม่ห่วงใคร จะต้องไปคนเดียว

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: การปฏิบัติธรรมนั้น นอกจากการตั้งสติแล้ว ไม่มีอย่างอื่นยิ่งไปกว่า ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ก็มีสติระลึกได้ ถ้าเดินนึก เดินคิด นั่งนึก นั่งคิด นอนนึก นอนคิด ไม่ชื่อว่าปฏิบัติธรรม เขาเรียกกันว่าฟุ้งซ่านไปตามสัญญาอารมณ์ ถ้ามีสติระลึกได้ทุกเมื่อมีสัมปชัญญะประกอบด้วยยิ่งดีใหญ่เป็นการปฏิบัติธรรมโดยแท้

:b43: เกิดบังดับ โลกบังธรรม งามบังผี ดีบังจริง สมมติบังวิมุตติ หลักธรรมบังพระนิพพาน

:b43: แม้ภูเขาสูงแสนสูง หากบุคคลผู้มีความเพียรพยายามปีนป่ายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขาสูงแสนสูงก็ต้องอยู่ใต้ฝ่าตีนของคนผู้นั้น การละบาปนั้น บาปมันมายังไง บาปมา ทางจิตใจ เกิดที่จิตใจ โลภ โกรธ หลง มันเป็นบาป ชำระบาปทั้งหลายได้ด้วยการปฏิบัติธรรม รักษาศีล ไม่ให้มันกำเริบ เสิบสาน ไม่ให้มันแก่กล้าขึ้น หากปล่อยไปตามอำนาจมัน ทำให้เดือดร้อนทำลายตัวเอง

:b43: กิเลสเป็นเหมือนสนิมเกาะกินใจมนุษย์อยู่ตลอดเวลา หากปล่อยให้มันเกาะกินจิตใจไม่รู้จักระวังรักษา ใจของเราย่อมหมดคุณภาพ เป็นใจเสื่อมโทรม กิเลส มันร้อน มันเป็นไฟ ต้องระวังอย่าลุอำนาจกิเลส อันจะทำให้กระทบกระเทือนผู้อื่นเขา

:b43: จิตหรดี คือ จิตที่เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับอะไร เป็นมงคลอย่างยิ่ง

:b43: หลวงปู่มักเตือนว่า คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว คนชั่วชอบทำลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง คนจริงชอบทำ คนระยำชอบติ

:b43: อย่าส่งจิตออกนอก ส่งออกมันเป็นบ่วงแห่งมาร

�อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ)
อย่านอนบนไฟ (โลภ โกรธ หลง)
ให้ไปอย่างแร้ง (ไม่ติด ไม่สะสม)
แสวงหาบริสุทธิ์ (ของที่ชอบธรรม)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 01 มี.ค. 2011, 09:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: อย่าไปรีบ ไปเร่ง อย่าไปเคร่ง ไปเครียด ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เวลาจะได้ มาเอง นั่นแหละ อย่าไปยึดมั่นในสิ่งใดๆ แม้การปฏิบัติ

:b48: อย่าไปสนใจจิตของผู้อื่น จงสนใจจิตของตน

:b48: การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นภิกษุที่ยึดเหนี่ยวแนวทางของหลวงปู่ คือ มีน้อยใช้ตามน้อย มีมากเอาไว้สงเคราะห์ผู้ไม่มี อยู่ไปตามมีตามได้ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ขอใคร ยินดีกับความเพียรเพื่อหวังความพ้นทุกข์

:b48: อาหารบิณฑบาตประเสริฐกว่ารับนิมนต์หรือเขามาส่งตามวัด

:b48: หลวงปู่ไปเมตตาคนป่วยด้วยคำเตือนใจสั้นๆ ว่า รู้อยู่ที่ใจได้ไหม

:b48: ใครจะเป็นอย่างไรก็ยิ้ม ยืนยิ้มดูไปเฉยๆ

:b48: ปฏิบัติพอเริ่มรู้เริ่มเข้าใจ ให้ระวังตัวมานะทิฐิว่าคนอื่นดีไม่เท่าตัวเองหมดขาดความเคารพ แม้ภายนอกจะดูอ่อน น้อมแต่จิตใจเย่อหยิ่ง มันเป็นจิตวิปลาสสัญญาวิปลาส

:b48: เราคนเดียวเที่ยวรัก เที่ยวโกรธหาโทษใส่ตัว

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 01 มี.ค. 2011, 09:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b47: ให้มีสติอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม เอาจิตอยู่กับ ๔ อย่างนี้ให้ตลอดเวลา พิจารณาโดยแยบคาย พิจารณาอย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้จะสบาย เอาธรรมเป็นผู้ตัดสินเสมอๆ

:b47: �� ให้มีสติตามดูจิต เหมือนคนเดินบนถนนลื่นๆ ต้องระวังทุกก้าว ให้มีสติจดจ่อไม่วาง ดูจิตมันจะปรุงไปไหน จะคิดไปไหนจดจ่อดูมันก็ได้ แน่ๆ จะไปไหน ถ้ามันดื้อนัก ถ้ายังไป เราจะไม่นอนให้นะ

:b47: �� การมีสติรู้ตัวพร้อมจึงเรียกทำความเพียรไม่จำเป็นว่านั่งสมาธิ เดินจงกรมจึงเรียกทำความเพียร ถ้าไม่มีสติรู้ตัว ฟุ้งคิดไปเรื่อยก็ไม่เรียกทำความเพียร เมื่ออิริยาบถใดจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน มีสติรู้ตัวพร้อม จึงเรียกว่าทำความเพียร

:b47: �� การแผ่เมตตาต้องแผ่เป็นอัปปมัญญาถ้ามีว่าคนนี้รัก ให้มากๆ คนไม่ชอบใจ ไม่ให้แสดงถึงความมีอคติ ต้องให้เท่าเทียมไม่เจาะจง ให้หมด ใจจึงเป็นกลาง ให้หมดแหละ แผ่เมตตาให้เต็มดวง พ่อแม่จะได้บุญน้อยลงไปไหม ไม่หรอก เหมือนพระอาทิตย์ส่องโลก มันก็สว่างไปหมดทั่วทุกมุมโลกทุกคนก็เห็นความสว่างเท่ากันหมด

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: (หลวงปู่เมตตาเล่าเรื่องนางปฏาจาราเถรี) ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเธอในครั้งนี้ใครทำ ไม่ใช่เธอทำเองหรือ เพราะความรัก ความยึดมั่นในสิ่งรัก จึงทำให้ทุกข์ มีรักที่ไหน มีทุกข์ที่นั่น

:b42: �� เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิด ความนึกของตัวตลอดไม่ยอมให้หลุดจากจิต แล้วเราจะเข้าใจสังขาร อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เองมันปรุงให้เราดีใจ เสียใจ ร้องไห้ หัวเราะโศกเศร้า มันปรุงเราได้ๆ

:b42: �� เวลาไหนเราไม่ปรุงไม่แต่งไปตามสังขารราคะ โทสะ โมหะ สังขารปรุงไม่ได้ เรียกนิพพานชั่วขณะ

:b42: �� มีสติแนบกับความรู้ ให้เป็นหนึ่งเดียวกันพิจารณาลมหายใจเป็นไตรลักษณ์ หรือพิจารณากายคตาสติ คือ พิจารณาร่างกายมองกระดูกเอามันจุดเดียวก็ได้ ไม่ต้องนึกต้องคิด มันจะแจ้งมันเอง เห็นหมดในร่างกายแจ้งในความไม่มีอะไรเป็นเรา มีแต่ของสกปรก เอาให้เห็นความโง่บรมโง่ของเราของมันเน่ามันเปื่อย มีแต่ของสกปรกเราหลงรักหลงยึด จนจะตายกับของไม่เที่ยงแถมไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มีแต่ของโสโครกอีกอย่างทำให้ชำนาญในฌาน การเข้าการออก การดำรงในฌาน

�� ให้พิจารณาจนเห็นทุกข์ในโลก เห็นโทษของกาม

�� ที่ว่าว่างๆ นั้น คือมันว่างจากอารมณ์ ยินดี ยินร้าย แต่ความรู้ไม่ว่าง รู้ชัดทุกลมหายใจหายใจเข้าก็รู้ชัด หายใจออกก็รู้ชัด รู้อยู่ตลอดเวลา แต่ว่างจากอารมณ์ ยินดี ยินร้ายเหมือนดังชามที่ว่าง ไม่มีอะไรเลย

:b42: �� ให้มีความเมตตาปรารถนาดีกับสรรพสัตว์จริงๆ อย่างไม่มีประมาณ ไม่ว่าคนนั้นสัตว์นั้นจะดีกับเราแค่ไหนหรือร้ายกับเราขนาดไหนก็ให้เมตตาปรารถนาดีเท่าเทียมกันอย่าให้มีเลือกที่รักมักที่ชังแม้แต่น้อยให้เหมือนดังแม่เมตตาลูก ไม่คิดจะทำให้ทุกข์แม้แต่น้อย ทั้งกาย วาจา ใจ

:b42: �� รักษาจิตให้ดี มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่อยู่ของใจ

:b42: �� ให้สำรวมอินทรีย์ พิจารณาวิปัสสนาภูมิอริยสัจ ๔ มรรค ๘ คือ ทางเดิน

:b42: �� ตามดูอาการหลับให้ละเอียด มันค่อยๆหลับไปอย่างไร

:b42: �� เมื่อเกิดความปรุงแต่ง ก็ให้รู้ รู้แล้วพิจารณาตลอดสาย พิจารณาให้เกิดปัญญา รู้แล้วดับ


(มีต่อ)

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2011, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: สมาธิ คือ สมาธิ ยังเป็นสมุทัย พอถอนให้พิจารณากาย เอาให้มันเบื่อหน่าย ไม่งั้นจะเกิดทิฐิว่าตัวได้ ตัวถึง เป็นวิปลาส

:b42: ให้ดูกระดูกอย่างเดียว ดูจุดเดียว อย่าไปพิจารณากาย ๓๒ งานมันมาก เอาอย่างเดียวเอามันให้แจ้ง มันก็คลายได้ เอามันอยู่อย่างนั้น จะเดินจงกรม ไม่เดินจงกรมพิจารณาให้เห็นว่า กายมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันไม่มีอะไรเลยที่น่ายึดมั่น มันแค่เครื่องอาศัยชั่วคราวเร่งทำให้มาก เอาให้จริง

:b42: พระรูปหนึ่งชมขาบาตรใหม่หลวงปู่ว่าสวยหลวงปู่ก้มลงไปถามขาบาตรอย่างอารมณ์ดี “สวยเหรอๆ ... ขาบาตรมันก็ไม่เห็นว่ามันสวย มันก็เฉยๆ อยู่”

:b42: รูปก็สักว่ารูป เสียงก็สักแต่ว่า อย่าไปยินดียินร้าย มีความรู้ชัดอยู่อย่างนั้น ให้ดูความรู้ให้ดีๆ จี้ลงไปๆ จะเกิดความมหัศจรรย์ ทำจิตตั้งมั่น ให้รู้ รู้อยู่อย่างเดียว ให้มีจิตดวงเดียว ให้มันใสแน๋วอยู่ดวงเดียวเท่านั้นรู้ว่าใสอยู่ตลอด ดังน้ำบนใบบัว กลมใสแน๋ว รู้อยู่อย่างนั้

:b42: ผ้าจีวรให้เป็นผ้าขี้ริ้ว ผ้าราคาถูกแค่ไหนแพงหรือดีแค่ไหน กายมันก็ไม่รู้อะไรด้วยเอามาคลุมกาย กายมันก็เฉยๆ อยู่ไม่เห็นว่าอะไร มีแต่กิเลสมันไปยึดโน้นยึดนี้ ยึดสมมติทางโลก ต้องอย่างนั้นดี อย่างนี้ไม่ดี แล้วก็ทุกข์เอง

:b42: กิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) มันเกิดขึ้นทีหลังจิตเรา จิตจริงๆ มันบริสุทธิ์ กิเลสไม่ใช่จิตเรา มันมาปรุงมาแต่ง มันเกิดมาทีหลัง เราจะยอมให้มันมาเป็นใหญ่กว่าจิตเราได้อย่างไร มันมาทำฟอร์มเป็นเพื่อนเรา เพื่อนกินเพื่อนกันเพื่อนรู้ไม่ทันเพื่อนกัน เอาไปกิน รู้ทันมันเอาครึ่ง รู้ไม่ถึงมันเอาหมด ให้รู้ทันมัน เมื่อมันเกิดให้รู้ให้ทันเมื่อเขาด่าเรา ทำเราโกรธ จริงๆ มันก็ตัวเขาไม่ใช่เรา จิตเรายังเป็นหนึ่ง ยังนิ่งเป็นหนึ่งดังกับเขาตบมือข้างเดียว เราไม่เอามือไปรับมันก็ไม่ดัง มันก็ไม่ถึงเรา กิเลสมันไม่ใช่เรามันไม่ใช่ของเรา มันเกิดขึ้นไม่นานมันก็ดับ เราเคยโกรธมาตั้งมาก เดี๋ยวนี้มันไปไหนหมด

:b42: ถ้าเราเสียเปรียบเราดีใจ ถ้าเราได้เปรียบเราเสียใจ อันไหนดีให้เขา ของเราอย่างไรก็ได้ นี่เรียกคนใจเจริญ ให้เขานิดเดียวเราเอามากๆ ไม่ดีเลย เราผิดธรรม ตำหนิตัวเอง ใจเราเสื่อม ใจเราไม่ดี ให้เอาชนะความตระหนี่เหนียวแน่นด้วยความเสียสละถ้ายังคิดว่าเราจะเอาชนะคนอื่นด้วยการเอารัดเอาเปรียบเขา ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้แพ้ (ตนเอง) ตลอดไป

:b42: พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธพึงเอาชนะความเบียดเบียนด้วยความไม่เบียดเบียน ชนะคนไม่ดีด้วยความดีพึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: การปฏิบัติธรรม อย่าอยากได้อยากเห็นอยากเป็นใดๆ เลย ให้รู้มันอยู่อย่างเดียวมีอะไรก็ช่าง รู้อยู่อย่างเดียว ถ้าอยากก็ไม่ไปไหน เป็นสมาธิอยู่ก็หลุดจากสมาธิ เราปฏิบัติเพื่อความปล่อยวาง เพื่อละความยึดมั่นต่างๆ เพื่อละความยินดียินร้ายเราเป็นผู้ดูไม่ใช่ผู้บังคับให้มันเป็น

:b42: ครั้งหนึ่งหลวงปู่นั่งภาวนา แต่ในหมู่บ้านตีกลองเสียงดังมาก หลวงปู่จึงเปลี่ยนเสียงที่รำคาญใจเป็นเสียงธรรม หูได้ยินอยู่แต่มันดังเป็นเสียงธรรมที่ใจ เสียงของกลองป๊ะโทนๆ ป๊ะโทนๆ เวลามาดังที่ใจเป็น ทำจริงๆ ได้ผลจริงๆ เสียงนกตัวหนึ่งร้อง คิดคักๆ คิดคักๆ ตัวหนึ่งตอบออกมาว่าคิดแล้ว คิดๆ คิดแล้วคิดอีกๆ

:b42: ไม่มีห่วง ไม่มีดีใจ ไม่มีเสียใจ ไม่มีพอใจ ไม่มีไม่พอใจ ไม่มีหัวเราะ ไม่มีร้องไห้ ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีดี ไม่มีเลวจึงใกล้ พระนิพพาน ถ้ายังห่วงแสดงว่ายังไกลอยู่ ยังเก็บ ยังกอบ ยังกำ ยังโกยอยู่ แสดงว่า ยังห่างอยู่มาก เราจะไม่ให้มีความห่วงอยู่เลย จะไม่ให้มีความตระหนี่ถี่เหนียวมาเป็นใหญ่กว่าใจเราได้เลย เราจะขูดออกขัดออก

:b42: จิตปรุงกิเลส คือ จิตเริ่มคิดก่อน คิดชอบคิดไม่ชอบ เมื่อความคิดเกิดจึงปรุงให้เกิดกิเลส โลภ โกรธ หลง เมื่อกิเลสเกิดขึ้น เราไม่มีสติสัมปชัญญะพอจะดับกิเลส มันก็ปรุงจิตให้คิดวุ่นวายไปเรื่อย ไม่ผ่องใส พอจิตคิด มันก็ปรุงให้กิเลสเพิ่มขึ้นๆ หมุนกันเป็นเกลียว จนกว่าจะมีสติ

:b42: มีพระกราบเรียนถามหลวงปู่เรื่องของสถานที่ ที่นี่ดีไหมครับ หลวงปู่เมตตาว่าดี...ดี มันไม่เคยด่าใคร ไม่บ่นให้ใคร

:b42: ฝนตกก็เฉย แดดออกก็เฉย ใครจะทำความสะอาดก็เฉย ใครทำสกปรกก็เฉยไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่รู้สึกใดๆ กับอะไรทั้งสิ้น

:b42: น้ำใสน้ำนิ่ง จะเห็นปลา เห็นทรายชัด ถ้าน้ำกระเพื่อมก็ไม่เห็น เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่งหยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด รู้จิตผู้อื่นต้องทำให้เป็นวสีจึงจะรู้ได้ตลอด

:b42: จิตมันใส กลมบ้าง เป็นจุดสว่างบ้าง ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน ถ้ามันมีความรู้ชัดแจ้งดีในตัวมัน นี่แหละตัวจิต แต่ถ้ามีความรู้ไปรู้มัน มันเป็นนิมิต

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ: มีสิทธิรู้ได้ไหมครับว่า ใครดี ใครไม่ดีใครจะโกงเรา
ต: รู้อยู่ รู้ได้อยู่ที่ใจ แต่นักปราชญ์ท่านไม่รุกรานเขาหรอก ถ้าเขาชั่วก็ชั่วของเขาถ้าเขาไม่ยอมกลับตัว มันก็ตัวของเขา ครูบาอาจารย์ก็บอกไม่ได้แล้ว เขาทำตัวเขาเอง เรื่องของเขา

:b42: เวลาภาวนาต้องไม่มีตัวไม่มีตนไม่มีอะไรเป็นอาการว่างไปหมด แต่ความรู้ไม่ว่างให้ย้อนเข้ามาพิจารณาธรรมะว่า เราตกอยู่ในกองทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เราเป็นผู้รู้ผู้เดียว แม้ที่สุดก็ไม่มีเราในรู้นั้น ไม่ยึดมั่นยึดถืออะไรอีก วางหมด มันเบาไม่หนักแล้ว

:b42: ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นน่าฟังน่าใส่ใจหากใครได้ฟังธรรมะแล้วมีจิตใจชื่นบานท่านว่าคนนั้นมีบุญมาก เพราะได้สัมผัสความสงบเย็นชุ่มฉ่ำแห่งอมฤตรสวารีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

:b42: ดุ่มเดิน ดั้นด้น เด็ดเดี่ยว เดียวดาย ดีเด่น โด่งดัง ดึงดูด ในที่สุดก็ด่วนดับ อย่าดีดดิ้น ดื้อด้าน ดักดาน ถือตัว อันเป็นทางตรงกันข้ามกับธรรมะ

:b42: วาจาใดที่ทำให้ตนเองบ้าง ทำให้ผู้อื่นบ้างไม่สบายหู ไม่สบายใจ วาจานั้นถือว่าเป็นวาจาที่ไม่ควรพูด

:b42: เมื่อนกจับต้นไม้ต้นใด มันก็ถือว่าสักแต่จับอยู่เท่านั้น เมื่อบินไปแล้วก็หมดเรื่องไม่มีความอาลัยกับต้นไม้นั้น

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: อริยทรัพย์ ๗ คือ ศรัทธา ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือ ในความดีที่ทำ ศีล รักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม หิริ ความละอายใจต่อการกระทำชั่วทั้งปวง โอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อการทำบาปทุกชนิด พาหุสัจจะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก จาคะ การเสียสละช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้อื่นให้ทานเสมอๆ ปัญญา รอบรู้ในกองสังขารและสรรพสิ่งรู้บาป รู้บุญ รู้คุณ รู้โทษ เป็นตัวกรอง ไม่ใจเบา อย่าให้ถูกกิเลสหลอกลวง ขบคิดพิจารณาในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด รู้คิด รู้พิจารณา

:b44: อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิงได้ ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายใดๆ ทำใจให้ไม่อ้างว้างยากจน เป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย

:b44: ทำกายทำจิตให้สบายไม่ขัดข้อง มีโอกาสได้ทำความเพียร นั่งสมาธิ เจริญภาวนาพิจารณาอสุภะ ดูของเน่าเปื่อยของเหม็น การอยู่ป่าช้าเป็นที่เหมาะแก่การภาวนาทำให้จิตเกิดธรรมะ ธรรมะเป็นสัปปายะเกิดความสลดสังเวช เห็นอสุภะ เห็นเขาชำแหละคน ผู้หญิงทั้งหลายก็แค่นี้ผู้ชายทั้งหลายก็แค่นี้

:b44: สติระลึกได้ ใจไม่ลอยไปทางอื่น ไม่เผลอไม่หลง มีความระลึกได้ถี่ยิบเป็นมหาสติหากรู้ตัวว่าเราทำอะไรอยู่ คิดปรุงอะไรอยู่เป็นสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะเป็นธรรมมีอุปการะมาก ถ้าพร่ำเพ้อเจ้อเป็นคนขาดสติ สติต้องทำขนาดไหน ทำให้เหมือนเราเดินไปในที่ลื่นๆ ต้องเอาเท้าจิกดินหากพลาดก็ลื่นล้ม นี้เรียกว่าการตั้งสติหายใจเข้า รู้ กำหนดพุท หายใจออก รู้กำหนดโธ เป็นการตั้งสติ อย่าหายใจทิ้งเฉยๆ ถ้ามัวคิดไปอย่างอื่น ใจลอย ฟุ้งซ่านเขาเรียกว่านอกลู่นอกทาง ไม่อยู่ในทาง

:b44: ต้องรวมพลังจิตไปอยู่จุดเดียวจึงเกิดพลังพิเศษ จึงเห็นธรรม

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: เหตุที่มีรัก มีชัง ยินร้าย ยินดี ก็เพราะมันมีสมมติ ถ้าวิมุตติไปแล้วก็เฉยๆ เหมือนผมที่โกนออกจากหัวแล้ว เล็บที่ตัดแล้วเอาไปกองไว้ ไม่ว่าดีชั่ว ตัดออกจากเจ้าของไปแล้ว ใครจะว่า ดี ชั่ว สกปรก มันก็อยู่อย่างนั้น คนไปสำคัญว่า ดี ชั่ว สกปรก กันเอง

:b43: ใจวิมุตติหลุดพ้นไม่ยึดไม่ถือ วางแล้วสบาย ทำใจให้วางอยู่ทุกวัน มีชีวิตอยู่ก็วางอยู่ วางแต่ยังไม่ตาย วางได้สบายมากเหมือนดังคนที่ตายแล้ว หัดทำใจให้เป็นไปอย่างนี้เสมอๆ วางอยู่เสมอๆ เราก็จะไม่มี เราก็จะไม่ทุกข์ ไม่สุขไม่หวง ไม่ห่วง ไม่ติดในห้วงมหรรณพ สักว่าแต่อยู่ สักว่าแต่ใช้อาศัยไปเฉยๆ

:b43: ไปยืนดูสมมติอยู่ เป็นเรื่องปวดหัวจริงๆ ทวนกระแสเข้ามาหาตัว ว่าตัวไปรับรู้อะไรบ้าง มากมายขนาดไหน ไม่มีอะไรน่ายึดถือ จะไปหายึดอะไรกันนักหนาถ้าไม่ยึดไม่ถืออะไรเลย วางได้แล้ว ถ้าปล่อย ถ้าวางแล้ว ใจก็ว่าง อยู่ด้วยความว่างถ้าใจวางก็เหมือนคนตายแล้ว ไม่มีอะไรจะยึดถือ ว่าง...วางเฉย

:b43: ทำจิตให้ว่างจากสมมติ ไม่มีดีไม่มีชั่วคนไปสำคัญมั่นหมายเอาเอง ไม่มีความสำคัญ ไม่มั่น ไม่หมายในสิ่งใด

:b43: อยู่เหมือนหลักเหมือนตอ วางลงได้ขนาดนั้น วางได้ก็เบาสบายไม่มีอะไรหนักธาตุขันธ์ร่างกายก็ไม่หนัก พร้อมที่จะวางอุปาทานขันธ์ พร้อมเสมอแล้วที่จะตาย

:b43: ความสันโดษ มักน้อยเป็นทรัพย์อันประเสริฐของผู้ต้องการความพ้นทุกข์

:b43: ผู้ใดได้รับความสงบมากๆ คนนั้นคนรวยผู้ใดสะสมกองกิเลสมากๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มากๆ ฟุ่มเฟือยอยู่ในกามสุข คนนั้นคนจน มีหนทางถึงหายนะแน่นอน

:b43: บวชแล้ว ถ้าไม่ยินดีในความสงบสงัดไม่สันโดษมักน้อย มักมากมักใหญ่ใฝ่สูงไม่หลีกเร้นทำความเพียร คลุกคลีมัวเมาทำให้เกิดอารมณ์นานัปการ ไม่ได้รับความสงบ เมื่อไรจะเบาบางสักที กิเลสก็หนาแน่นขึ้นๆ เป็นดินพอกหางหมูเมื่อไรจะถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มี.ค. 2011, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b40: ภิกษุในธรรมวินัยต้องเป็นผู้สันโดษมักน้อยไม่มักมาก นอนน้อย กินน้อยยินดีในที่สงบสงัด จะได้รับความสงบ ให้กาย วาจา ใจ อยู่ด้วยความสงบไม่ลุอำนาจแก่กิเลสทั้งหลาย เป็นเหตุให้เกิดความสลดสังเวชเกิดขึ้นในใจได้เห็นธรรม เป็นธรรมเป็นวินัยแล้ว

:b40: เพียรแผดเผากิเลสในใจของเรานี่แหละมันปรุงไป แต่งไป มีความรัก มีความชังความยินร้าย ความยินดี ดีใจ เสียใจ ร้องไห้หัวเราะ เหล่านี้มันเป็นกิเลส ไม่นึกไปตามมันแผดเผามันไปเลย เอาอยู่กับพุทโธนี่แหละ หายใจเข้าเป็นพุท หายใจออกเป็นโธ เรื่องอื่นอย่ามาปรุงเรา เราไม่ไปถ้าไปก็เรียกว่าตามใจมัน ใส่ฟืนใส่เชื้อเพลิงให้มัน ไอ้พวกกิเลสก็ได้กำลังถ้าไม่ไปตามมันก็น้อยลงๆ จนไม่มีเลยไม่มีนึกคิดไปทางนอกเลย เรียกว่าเอาชนะมันได้

ถ: ผมเฝ้าดูเฝ้ารู้อยู่ที่จิต สติอยู่กับจิต รู้ที่รู้ดูเข้าไปเรื่อยๆ มันละเอียดเข้าๆ มันก็ใสขึ้นๆ ครับ
ต : ตามรู้มันอยู่ ไม่เผลอ มันก็ใสขึ้นมาไม่ขุ่น ไม่มัว ไม่มืด ให้ดูอยู่ทุกขณะให้รู้อยู่ทุกเมื่อ อย่าหลง
ถ: ผมตามดู ผมเห็นความคิดที่มันผุดโผล่ออกมาจากตรงนี้ ถ้าเราตามดูอยู่ตรงนี้ความคิดมันจะก่อรูปได้ไม่มาก ได้ยิบแย๊บก็ดับไปเลยครับ
ต: เขาเรียกว่าสัมปชัญญะความรู้ตัว ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เผลอหนักๆ เข้ามันได้กำลังเอาจนไม่เผลอ ไม่หลงไป ตามสัญญาอารมณ์มันจะมายั่วยุแนวนั้นแนวนี้ก็เฉย รู้ทันมันอยู่ ดูเป็นเพียงที่ยั่วยุเฉยๆ ยุให้รำ ตำให้รั่ว ยั่วให้แตก เราไม่ไปตามมันแล้ว เราอยู่อย่างนี้เขาเรียกว่าชนะกิเลสตัวเอง

:b40: อวิชชา คือความไม่รู้ ถ้ารู้อยู่เป็นวิชชา

:b40: ให้มีสติ ความระลึกได้ มีสัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่เสมออย่าให้เผลอ จิตเป็นหนึ่งอยู่ รู้อยู่ เป็นหนึ่งอยู่ รู้ตัวอยู่ เรียกว่าไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ปล่อยออกนอกลู่นอกทาง อยู่ในฌานอยู่เสมอกำหนดเวลาไหนก็ได้เวลานั้น ถี่เข้าๆ จนไม่มีช่องว่างพอให้สังขารเข้าแทรกได้เลย

:b40: อย่าเอาแต่จะชนะอย่างเดียว เสียงแข็งขึ้นเพราะจะเอาชนะกัน ยิ่งแข็งยิ่งแตกหักง่าย

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร