วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 19:49
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูรหัสทรชน แล้วก็เลยสงสัยขึ้นมา (อีกแล้ว 555555) นางเอกถูกลักพาตัวไปจากพ่อแม่ใช่ไม๊ครับ แล้วก็โดนหลอกให้ต้องฆ่าพ่อของตัวเอง โดยที่นางเอกก็ไม่รู้ว่าพ่อเป็นพ่อ สมมติว่านางเอกทำสำเร็จ ถามว่า กรรมของนางเอก จะเป็นอนันตริยกรรมหรือเปล่าครับ หรือว่าเป็นกรรมแค่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตครับ :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 19:49
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นคือ กรรมที่นางเอกทำ เป็นกรรมที่ฆ่าบุพการี หรือ เป็นกรรมที่ฆ่ามนุษย์คนหนึ่ง (อย่าลืมว่านางเอกไม่รู้ว่าพ่อเป็นพ่อ) ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 19:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมคิดว่า...น่าจะเป็น..นะ

นึกถึงเรื่ององคุลีมาล..นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www



แม้จะไม่รู้ว่าเป็นบุพการี...ก็ไม่อาจยกเว้น
(ความคิดเห็นส่วนตัว)

พระพุทธองค์ถึงได้ให้ปัจฉิมโอวาทว่า
"จงตั้งอยู่บนความไม่ประมาทเถิด" :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2011, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 17:27
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงจะเป็นความไม่รู้ก็ต้องเป็นอนันตริยกรรมอยู่แล้วก็เพราะฆ่าบิดาก็เป็นเพราะความไม่รู้นั่นเอง
กรรมจะทำหน้าที่ของมันไปตามกฎ ส่วนมนุษย์จะอ้างอย่างไรก็แล้วแต่
ถึงลูกจะไม่ได้ฆ่าพ่อแม่แต่ได้ทำบาปกับท่านเอาไว้ เช่น ชอบเถียงว่าพ่อแม่ นินทาพ่อแม่
แล้ววันนึงลูกเกิดสำนึกผิดขึ้นมาก็ไปกราบเท้าขอขมากับท่านทั้ง 2 ซึ่งก็แน่นอนว่าท่านก็จะให้อภัยลูก เพราะจริง ๆท่านไม่ได้โกรธลูกแต่เพียงเสียใจกับการกระทำของลูกเท่านั้น การกระทำของลูกแบบนั้นเป็นเพียงแค่การชำระจิตของตนให้กลับมาใสเหมือนเดิมเท่านั้น แต่เรื่องของกฎแห่งกรรมที่ลูกได้ทำบาปกับพ่อแม่เอาไว้ก็ยังมีผลอยู่ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น ถ้าเป็นอย่างในหนังที่กล่าวมาแล้วถึงจะเป็นพ่อเราหรือไม่ใช่จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ก็ไม่ควรจะฆ่าคนอยู่แล้ว เพราะอย่างไรมันก็คือบาป และถ้าคนนั้นเป็นพ่อของเราถึงจะไม่รู้ก็บาปเป็นอนันตริยกรรมแน่นอน เพราะฉะนั้นอย่าฆ่าใครเลยดีกว่ารวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม :b25:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างของศาลพระภูมิกับศาลสถิตย์ยุติธรรม
ศาลพระภูมิมักตัดสินความตามใจตัวเอง
ส่วนศาลสถิตย์ยุติธรรม ตัดสินความตาม หลักการหรือ ข้อบัญญัติที่กำหนดไว้

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 19:49
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ


ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.พ. 2011, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


BENZiNE เขียน:
โฮฮับ เขียน:

กรรมหรือการกระทำใด ไม่ว่าศีลหรือข้อกฎหมายถ้าขาดเจตนา
ความผิดนั้นไม่ครบองค์ประกอบ

ขยายความหน่อยครับ สรุปว่ากรรมของนางเอกเป็นกรรมแบบไหนครับ ??

ที่ผมกล่าวไว้ในตอนแรกนั้น เพียงอยากจะชี้ให้คนอื่นเห็นว่า การเอาหัวข้อธรรมใดๆมาพิจารณา
แล้วเอาความคิดตัวเองใส่ลงไป ทั้งๆที่มีคำอธิบายอยู่ในเรื่องนั้นอยู่แล้ว มันเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง
อย่างเช่นเรื่องนี้ มีกำหนดไว้เป็นหัวข้อธรรมในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งมีคำอธิบายมีความหมายไว้
เพื่อให้เรายึดถือเป็นหลักการ จะได้เข้าใจไปในทางเดียวกัน อย่าทำนอกหลักการพระไตรปิฎกครับ


ถ้าเราจะพิจารณาถึง เรื่องกรรมหรืออนันตริยกรรมที่ว่านี้ เราต้องรู้ก่อนว่า เรื่องกรรมเรื่องอนันตริยกรรม
เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ใน พระไตรปิฎก
ฉะนั้นรายละเอียดของเรื่องนี้ เราก็ต้องยึดเอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก

ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า กรรมจะเกิดได้ก็ด้วยเจตนา ความหมายของเจตตนาคือ
การจงใจกระทำการเพื่อให้ถึงจุดมุ่งหมายสุดท้ายแห่งการกระทำนั้นๆ

ที่นี้เรามาดูซิครับว่า นางเอกคนนั้นมีจุดมุ่งหมายอะไร ผมไม่กล่าวในรายละเอียดเพราะไม่เคยดู
เอาจากที่คุณบอกว่า โดนหลอก ไม่รู้ว่าเป็นพ่อ อันนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณท์ในเรื่องของอนันตริยกรรม
เพราะไม่ได้มีเจตนาที่พ่อ มีความจงใจฆ่าเพื่อเหตุอื่นไม่ใช่ฆ่าพ่อตัวเอง


อันนี้เป็นการขยายความเพิ่มเติม ไม่ได้แย้งพระไตรปิฎก
สมมุติในมุมกลับ นางเอกคนนี้ ได้รับการเลี้ยงดูมาจากคนอื่น และเข้าใจว่า
คนที่เลี้ยงเป็นพ่อของตัวเอง ถ้านางเอกคนนี้ไปฆ่าชายคนนี้ด้วยสาเหตุใดก็ตาม
นางเอกคนนี้ก็เข้าข่าย อนันตริยกรรมนะครับ มันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2011, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระวินัยปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๙๑ – ๓๙๓

[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]
ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคห-
ปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สามํ อธิฏฺฐาย ดังนี้อีก เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น
ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา
นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สยํ หนติ ดังนี้
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที่
ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:
...
[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]
อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ
พึงทราบแม้หมวด ๔ ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง
นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ
มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน
อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้
ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา
จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง
ปาราชิกด้วย.
มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า
แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า
เราจะฆ่าแพะให้ตาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก
ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใคร ๆ อื่นนอน
อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์
ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง
ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ
ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน
หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย.
ผู้ศึกษาพึงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล. แต่ในวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา
ย่อมเป็นของทารุณ แล.

อธิบายวิธีวินิจฉัย

ภิกษุเห็นแพะนอนอยู่ คิดไว้ว่าเวลากลางคืนจะมาฆ่า
ครั้นเวลากลางคืน มารดา หรือ บิดาของภิกษุนั้น หรือพระอรหันต์มานอนในที่แพะเคยนอนเมื่อกลางวัน
ภิกษุนั้นเห็นมารดา หรือบิดา หรือ พระอรหันต์ แล้วเข้าใจว่าเป็นแพะ จึงลงมือฆ่าจนตาย
ท่านวินิจฉัยว่า “เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เราจะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย”
สรุป แม้เข้าใจผิด ไม่ทราบว่าเป็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์ แต่ตั้งใจฆ่าวัตถุนั้น (มารดา บิดา หรือพระอรหันต์) จนตาย ก็ถูกต้องอนันตริยกรรม

โดยนัยกลับกัน ภิกษุตั้งใจฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์
แต่เข้าใจผิด ลงมือฆ่าแพะจนตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ถ้าเข้าใจผิด ลงมือฆ่ายักษ์หรือเปรตจนตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าเข้าใจผิด ลงมือฆ่าคน (ที่ไม่ใช่มารดา บิดา หรือพระอรหันต์) จนตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้งสามกรณี ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 23:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 19:49
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภูพิงค์ เขียน:
โดยนัยกลับกัน ภิกษุตั้งใจฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์
แต่เข้าใจผิด ลงมือฆ่าแพะจนตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม


ตรงไหนในพระวินัยที่ยกมา บอกไว้ครับ หาไม่เจอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้ครับ
http://www.fungdham.com/tripitaka01.html
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๓๙๑ - ๓๙๓

"เธอทำในใจว่า เราจะฆ่าแพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย
แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่าเราจะฆ่าแพะให้ตาย
จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย.
ไม่มีใคร ๆ อื่นนอนอยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์ด้วย."

"เธอทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย
แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย. ผู้ศึกษาพึงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว
แล้วในก่อนนั่นแล
."

ตัวหนังสือสีเขียว ท่านหมายความว่าให้วินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 14 มี.ค. 2011, 00:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 19:49
โพสต์: 28

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าไปอ่านมาแล้วครับแต่ก็ยังหาไม่เจอ จริงๆ ไม่ค่อยเข้าใจด้วยแหละครับ ช่วยยกมา แล้วอธิบายให้ฟังเลยได้ไม๊ครับ

อีกอย่างถ้าฆ่าพ่อแม่โดยไม่รู้ เป็นอนันตริยกรรม แล้วฆ่าคนอื่นที่เข้าใจว่าเป็นพ่อแม่ ไม่เป็นอนันตริยกรรม งั้นมันก็ขัดกับเรื่องกฎแห่งการยึดมั่นถือมั่นของจิต ที่คุณโฮฮับยกมาอ้างสิครับ (คุณโฮฮับเข้าก็บอกว่าเค้าอ้างอิงมาจากพระไตรปิฎกเหมือนกัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มันเป็นไปตามกฎแห่ง การยึดมั่นถือมั่นของจิต


ภูพิงค์ เขียน:
พระวินัยปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๙๑ – ๓๙๓อธิบายวิธีวินิจฉัย
ภิกษุเห็นแพะนอนอยู่ คิดไว้ว่าเวลากลางคืนจะมาฆ่า
ครั้นเวลากลางคืน มารดา หรือ บิดาของภิกษุนั้น หรือพระอรหันต์มานอนในที่แพะเคยนอนเมื่อกลางวัน
ภิกษุนั้นเห็นมารดา หรือบิดา หรือ พระอรหันต์ แล้วเข้าใจว่าเป็นแพะ จึงลงมือฆ่าจนตาย
ท่านวินิจฉัยว่า “เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เราจะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย”
สรุป แม้เข้าใจผิด ไม่ทราบว่าเป็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์ แต่ตั้งใจฆ่าวัตถุนั้น (มารดา บิดา หรือพระอรหันต์) จนตาย ก็ถูกต้องอนันตริยกรรม

คุณภูพิงค์ครับ ผมขอแนะนำคุณสักอย่างครับ ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนๆครับ

การนำพระไตรปิฎกมาโพส คุณต้องสามารถอธิบายในสิ่งที่คุณนำมาลงด้วย
การอธิบายความที่ว่าก็คือ การเอาเรื่องราวที่จขกทเขาถาม มาเทียบเคียงกับสิ่งที่ตนเอามา
แล้วอธิบายไปว่าจุดไหนที่จขกทไม่เข้าใจ

ธรรมของพระพุทธเจ้ามีมากถึง84000พระธรรมขันต์ การพิจารณาการกระทำใด
เราต้องเอาพระธรรมหลายบทมาพิจารณา ไม่ใช่มองดูแต่การกระทำแล้วก็ตัดสิน
เพราะเห็นว่ามีตัวบทอยู่ แบบนี้มันไม่ถูกครับ การกระทำใดนั้นเมื่อได้ลงมือกระทำลงไปแล้ว
เราต้องเอา จิตใจของผู้กระทำมาเป็นหลักในการพิจารณา ไม่งั้นพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่อง
จิต เจตสิก รูป นิพพานไว้หรอกครับ
อยากจะยกเรื่องพระวินัยกับพระอภิธรรมมาเทียบให้คุณดูว่า มันต่างกันตรงไหน
พระวินัยเขามีไว้เพื่อห้ามหรือป้องกัน พระวินัยเป็นเรื่องที่ยังไม่เกิด
ท่านบัญญัติไว้ไม่ให้บุคคลไปกระทำผิด

การออกกฎก็ต้องคำนึงและให้ความสำคัญของกฎข้อแรกๆที่มีอยู่ก่อน
อย่างเรื่องอนัตริยกรรมหลักการจะต้องยึด ศีลข้อ1.ห้ามฆ่าสัตว์
การกระทำยังไม่เกิด เป็นการบอกเล่า ต้องบอกว่าผิดไว้ก่อนเพื่อเป็นการ
ป้องปรามไม่ให้คนทำผิดศีลข้อ1. และให้ความสำคัญกับศีลข้อนี้ ว่ากัน
ด้วยเหตุและผล มันจะใช่หรือไม่ใช่อนันตริยกรรมหรือไม่ ก็คือท่าน
ไม่ต้องการให้บุคคลไปทำผิดหรือฆ่าสัตว์ตัดชีวิตครับ


แต่ถ้าเราได้กระทำลงไปแล้ว เราจะเอาพระวินัยมาพิจารณาอย่างเดียวไม่ได้
เราต้องเอาพระอภิธรรมมาพิจารณาครับ ในส่วนนี้ท่านจะเน้นเรื่องจิตเป็นสำคัญ
ทุกข์เกิดที่จิต การกระทำเกิดเพราะจิต ทุกสิ่งเกิดจากการยึดมั่นถือมั่นของจิต

ผมจะอธิบายง่ายๆเรื่องของคุณภูพิงค์ให้ฟังครับ ที่ว่า ผิดเพราะอะไร
เข้าข่าย อนันตริยกรรมเพราะอะไร .....
ตอนฆ่าบิดา มารดาตายโดยเข้าใจว่าเป็นแพะ แต่เมื่อกระทำไปแล้ว ถึงมารู้ว่า
เป็นบิดา มารดา (อันนี้ไม่ได้กล่าวไว้ วินิจฉัยตามเหตุ)

ความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับว่า เมื่อลงมือแล้วรู้ว่าไม่ใช่แพะ แต่เป็นพ่อแม่
มันเข้าหลักเกณการยึดมั่นถือมั่นครับ

ภูพิงค์ เขียน:
โดยนัยกลับกัน ภิกษุตั้งใจฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์
แต่เข้าใจผิด ลงมือฆ่าแพะจนตาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ถ้าเข้าใจผิด ลงมือฆ่ายักษ์หรือเปรตจนตาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าเข้าใจผิด ลงมือฆ่าคน (ที่ไม่ใช่มารดา บิดา หรือพระอรหันต์) จนตาย ต้องอาบัติปาราชิก
ทั้งสามกรณี ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม

อันนี้ก็เช่นกันครับ เมื่อได้กระทำไปแล้ว มารู้ว่าไม่ใช่บิดามารดา มันก็ไม่เข้าข่ายอนันตริยกรรม
มันไม่ครบองค์ประกอบที่ตัวเจตนาไว้ แถมจิตก็ไม่ได้ไปยึดกับการที่ได้ฆ่าบิดามารดาแล้ว


ฉะนั้นบทสรุปของเรื่องนี้ มันต้องที่ตอนจบครับว่า
ผู้กระทำรู้หรือไม่รู้เมื่อกระทำในสิ่งนั้นจนสำเร็จแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำอธิบายมาติกาในบทภาชนีย์ดังปรากฏในพระวินัยปิฎกที่ผมยกมาข้างต้น เป็นส่วนขยายความของพระอุบาลีเถระ ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องไว้ในฐานะเอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย

เรื่องอนันตริยกรรมปรากฏแม้ในพระอภิธรรมปิฎก เช่น พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้า ๖๘๑ – ๖๘๓ (ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.fungdham.com/tripitaka01.html) เป็นบทวินิจฉัย ว่าโดยกรรม
อธิบายทั่วไป ไม่จำเพาะแก่ภิกษุ มีเนื้อความและแนวการวินิจฉัยทำนองเดียวกับที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก ที่ผมยกมาข้างต้น

และท่านได้บรรยายไว้ด้วยว่า
“ในข้อนี้ บัณฑิตพึงกล่าวถึง หมวด ๔ แห่งการฆ่าแพะ หมวด ๔ แห่งสงคราม และหมวด ๔ แห่งการฆ่าโจร”

ท่านอธิบายไว้ชัดเจน ดังตัวอย่างข้อความนี้
“เจตนาฆ่ามารดาบิดา แต่แพะตายก็ดี ย่อมไม่ได้รับอนันตริยกรรม.”

อนันตริยกรรม ๓ ข้อแรกว่าด้วยการฆ่า มารดา บิดา หรือพระอรหันต์ เป็นครุกรรม มีโทษมาก ให้ผลแน่นอนเมื่อจุติจากอัตภาพนี้แล้ว (คือ เกิดในอเวจีมหานรก) และปิดทางมรรคผลในปัจจุบันชาติ แตกต่างจากปาณาติบาตทั่วไป

ลีลาการใช้ภาษาและสำนวนในพระไตรปิฎก แม้แตกต่างจากภาษาและสำนวนในชีวิตประจำวัน แต่ก็ยังเอื้อให้เข้าใจเนื้อความได้กระจ่าง

ขยายความให้ชัดเจน
ดังนี้

กรณีแรก
มนุษย์เห็นแพะนอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน มารดา บิดาของมนุษย์นั้น หรือพระอรหันต์ มานอนในที่แพะนอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นแพะ ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์นั้นจนตาย สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ สำคัญผิดว่าตนฆ่าแพะ วิบากโทษแห่งอนันตริยกรรมที่ประกอบไว้ ก็ยังให้ผลแน่นอนเมื่อละจากอัตภาพนี้ (คือ เกิดในอเวจีมหานรก) และย่อมปิดทางมรรคผลในปัจจุบันชาติ

กรณีที่สอง
ในทางกลับกัน มนุษย์เห็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนอยู่ ตั้งใจไว้ว่าจะมาฆ่าในเวลากลางคืน ครั้นเวลากลางคืน แพะมานอนในที่มารดา บิดา หรือพระอรหันต์นอนเมื่อกลางวัน มนุษย์นั้นเข้าใจผิดคิดว่าเป็นมารดา บิดา หรือพระอรหันต์ ฆ่าแพะนั้นจนตาย สำเร็จเป็นแต่เพียงปาณาติบาต ไม่เป็นอนันตริยกรรม แม้เมื่อเธอผละจากไปทันที ไม่รู้ว่าที่แท้ตนได้ฆ่าแพะ สำคัญผิดว่าตนฆ่ามารดา บิดา หรือพระอรหันต์ กรรมฆ่าแพะนั้นก็ไม่สำเร็จเป็นอนันตริยกรรม ถ้าเธอได้กัลยาณมิตรที่เหมาะสม และเธอกลับมีสัมมาทิฐิ เธอยังมีโอกาสแห่งมรรคผลในปัจจุบันชาติ


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 16 มี.ค. 2011, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สาธุ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร