วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2011, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2011, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




Lotus519.jpg
Lotus519.jpg [ 3.12 KiB | เปิดดู 2255 ครั้ง ]
ปัจจุบันธรรม........ธรรมะหลวงปู่แหวน

เอา
มรรคที่เกิดขึ้นจากกายจากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกายน้อมเข้ามาในใจ
ให้มันรู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือเอาที่อื่น
ถ้ารู้ตามแผนที่ปริยัติธรรมไปยึดไปถือเอาสิ่งต่างๆไป
แผนที่ปริยัติธรรมต่างหากต้องน้อมเข้าหากายต้องน้อมเข้าหาใจ
ให้มันแจ้งอยู่ในกายนี้ให้มันแจ้งอยู่ในใจนี่
มันจะหลงมันจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้
น้อมเข้ามาหากายนี้น้อมเข้ามาหาใจนี้เอาใจนี่แหละนำออก
ถ้าเอามากบางทีมันก็เขวก็ลืมไปน้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี้
มีเท่านี้แหละหลักของมัน

ถ้าออกจากกายใจแล้วมันเขวไปแล้วหลงไปแล้ว
น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมก็คือการรักษากายรักษาใจ
น้อมเข้ามาหากายน้อมเข้ามาใจแหละ

ศีล ตั้งอยู่ในกายนี่แหละ
ตั้งอยู่ในวาจานี่แหละและตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามานี้มันจึงรู้
ตั้งหลักได้ ถ้าส่งออกไปจากนี้มันมักหลงไป

เอาอยู่ในกายในใจนี้
น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน
เอาจิตเอาใจนี่ละวางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย
น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้มันแจ่มแจ้ง
ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่นมันเป็นเพียงสัญญาความจำ
น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้รู้แจ้งในกายของตจนนี้
นอกจากนี้เป็นอาการของธรรม

ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้
ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา
มันก็เกิดขึ้นที่นี่แหละต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้
ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม
รู้กายรู้ใจแจ่งแจ้งแล้วนอกนั้นเป็นแต่อาการ
บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้มันก็ลืมไป

ทำให้มันแจ้งอยู่ในกาย
แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละ
ให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียรความหมั่น

คำว่าสติ
ก็รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะรู้ในปัจจุบัน รู้ในตนรู้ในใจเรานี้แหละ
รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโลภ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา
เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ
สติถ้าได้กำลังใจแล้วมันก็สว่าง

ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ
การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล คือกายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ ใจก็บริสุทธิ์
กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน

เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้

สติ
ปัฏฐานสี่ สติ มีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ
แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กาย แล้วนอกนั้น คือ
เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกัน เพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน

อาการ
ทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ , ทุกขัง ทั้ง ๕ , อนัตตา ทั้ง ๕
เป็นไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง
๕ อนัตตา ทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป
เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น
เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน

การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน
สมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติแต่ธรรม เช่น
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่เที่ยงมันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
อนิจจังทั้ง ๕ มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปํ อนิจัง , เวทนา อนิจจัง ,
สัญญา อนิจจัง, สังขารา อนิจจัง , วิญญาณํ อนิจจัง มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตาม เวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ
สลายจากกันแล้วมันก็ยุติลง

ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติ
วางสมมติได้แล้ว มันก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป
เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ

แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ
แล้วมันมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริงๆ พวกกิเลสมันก็เอาจริงๆ
กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่นความเพียรไม่ท้อถอย
ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้มันก็เย็นสงบสบาย

ถ้าจิตมันปรุงมันแต่งเป็น
อดีต อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคต
ก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม

อาการทั้ง ๕ คือ
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจัง ให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม
อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโมคือเห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน
ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีตอนาคต ดับทั้งอดีตอนาคต
แล้วเป็นปัจจุบัน คือธรรมโม

ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ
สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังไม่มาถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
ส่วนทั้งสองนั้นให้เพ่งพินิจ คือ เราอยู่ปัจจุบันธรรม มันจึงจะถูก
เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้นเป็นธรรมเมา อดีตอนาคต

รู้
ปัจจุบัน ละปัจจุบัน เป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีตอนาคตอยู่
เท่ากับไปเก็บไปถือเอาของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน
ละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ
ถ้ามันเอาอดีตอนาคตมันกลายเป็นแผนที่ไป

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มาก
ไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง ทั้งอดีตอนาคต
ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มันเป็นเชื้อของกิเลส มันอยู่ในแผนที่ใบลาน มันไม่เดือดร้อน
ถ้ามันอยู่ในใจมันเดือดร้อน เพราะฉะนั้นถ้ามันเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ
เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้

ไม่ใช่จำปริยัติ
ได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริงๆ ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก
ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ละวางถอดถอน ในปัจจุบัน
มันจึงใช้ได้

ความโลภ ความโกรธมันเกิดขึ้นในใจ
น้อมเข้ามาแล้วละให้มันหมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, มันเกิดขึ้นมาละมันเสีย
เรื่องของสังขารมันก็ปรุง เกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง
เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีตอนาคตวางไปเสีย อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา
ปัจจุบันเป็นธรรมโม ข้อนี้ถือให้มั่นๆ ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้าๆ
มันก็ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตมันเป็นอดีตอนาคต วางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน
การกระทำสำคัญเวลาทำตั้งใจเข้าๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันมักเกิด
เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
จิตมักจะเก็บอดีตอนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบัน
ธรรมโม น้อมเข้ามาให้ได้กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีตอนาคต
อันเป็นส่วนธรรมเมา เพ่งพินิจเฉพาะ ธรรมโม

รักษากายให้บริสุทธิ์
รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจให้รู้แจ้งใจนี้
กายก็ให้รู้แจ้ง เอาให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก
ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก
ถ้าเอามากมันมักไปยึดเป็นอดีตอนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ
เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับตัวสัญญา

ตั้งหลักไว้ อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา
ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึก ดับ ละ วาง ในปัจจุบันจึงเป็นธรรมโม
เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีตอนาคต ถ้ามันเกิดมันก็ต้องดับลงไป

ต้อง
หมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีตอนาคตปัจจุบัน
สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส
ตัณหา มันก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ มันแสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามาๆ
ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายมันก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน

แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นมันก็ดับไป


กราบอนุโมทนาบุญกับผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่านค่ะ tongue tongue tongue

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร