วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
sriariya เขียน:
สติ ไม่ใช่ เจตสิก(ธรรมที่ประกอบอยู่กับจิต) ก็ถูกอยู่ แต่สติจะเกิดขึ้น ได้ ก็ต้องอาศัย เจตสิก ถ้าไม่มี เจตสิก(ธรรมที่ประกอบอยู่กับจิต) จะมีสติถึงเรื่องอะไรกันละ อันนี้ต้องรู้จริง รู้แจ้ง แล้วค่อยแสดงความคิดเห็นนะ อย่าเผลอเชียวละ
อนึ่ง


สติ ไม่มีคำว่า สติชั้นต่ำ ,สติชั้นกลาง .สติชั้นสูง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ในพุทธศาสนา ไม่มีการแบ่งแยกความสูงต่ำ เว้นแต่พวกที่ชอบบิดเบือนหลักธรรมคำสอน อวดรู้ ไปแบ่งแยกสูงต่ำเอาเองด้วยความรู้เท่าไม่ถึงกาล

สติ คือ ความระลึกได้ ความหวนนึกถึง ฯลฯ ถ้ามีสติ ก็ย่อม ระลึกนึกถึง เจตสิกทั้งหลายที่ประกอบอยู่ในจิต อันได้รับการอบรม ขัดเกลา เรียนรู้ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ตามแต่พฤติกรรมที่กำลังดำเนินกิจกรรมอยู่
ความรู้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่องใดใดก็ตาม ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น เพราะความรู้เหล่านั้น ล้วนสามารถทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติ หรือระลึกนึกถึง หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ตามสภาพการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน

เป็นธรรมชาติของมนุษย์และเป็นธรรมชาติในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์

ถ้าหากจะมีพวกที่เขลาแล้วยังอวดฉลาดโต้แย้ง ว่า ธรรมไม่ใช่ ความรู้ต่างๆทั้งหลาย ก็จงคิดพิจารณาให้ดีว่า ธรรมะจะเกิดมีในจิต หรือ จะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งว่า เจตสิก จะเกิดมีในมนุษย์ได้ ก็ต้องมี ความรู้ในด้านต่างๆ เป็นปัจจัย ถ้ายังสงสัยในเรื่องการเกิดของธรรมะ ก็ให้คิดและพิจารณา พวกสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายว่า ธรรมะที่มีในสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมีหรือไม่ ถ้ามี มีธรรมะข้ดใดบ้าง และธรรมะที่มีอยู่ในสัตว์เดรัจฉาน สามารถทำให้พวกมันหลุดพ้นจากความทุกข์หรือหลุดพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลงได้หรือไม่ได้หรือไม่ พิจารณาให้ดี นะขอรับ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๔ พ.ค. ๒๕๕๓


พระราชดำรัส ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระราชดำรัสของ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ไม่ควรนำมาโพสสะเปะสะปะ จะตั้งเป็นกระทุ้ใหม่ ก็คงไม่ผิด ถ้าเกี่ยวข้องกับทางธรรม เลือกหมวดโพสให้ถูก ก็คงไม่มีใครว่า อะไรให้ เจ้า ผู้ใช้ชื่อว่า enlighted อันเขลา แล้วยังอวดฉลาด ไม่รู้จักที่ควรหรือไม่ควร อิ อิ อิ


คุณผู้ใช้ชื่อว่า klinhom ขอรับ คุณจะอนุโมทนา หรือไม่อนุโมทนา ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ อนุโมทนาแล้วได้อะไร ได้ความรู้ ได้ความเข้าใจในธรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่
แล้วจะเขียนบอกทำไมกันขอรับว่า "อยากจะอนุโมทนาด้วยแต่ไม่ค่อยแน่ใจ " แสดงว่า อ่านภาษาไทย แล้วไม่ค่อยรู้เรื่องว่างั้นเถอะ ฮา ฮา ฮา ฮา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


klinhom เขียน:
กระผมพรชัย(KLINHOM)ขอน้อมรับความผิดที่ใด้กระทำผิดทางกาย วาจา ใจ ขอขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับคำสั่งสอนครับผม แจ้งด้วยความบริสุทธิ์ใจ ที่ผมไม่ใด้อนุโมทนาด้วยนั้น ครั้งที่แล้วมีสมาชิก สองท่านตอบกันไปมาอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ไม่ตรงประเด็นที่พระอาจารย์คำถาม
ผมมีความเคารพต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้อความของผมทำให้ท่านไม่สบายใจผมกราบขออภัยมานะที่นี้ด้วยครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง


คุณเข้าใจผิดแล้วขอรับ อย่าหลงกับตัวหนังสือให้มากนักเลยขอรับ ที่ข้าพเจ้าเขียนไปก็ไม่ใช่เป็นการต่อว่าให้คุณดอกขอรับ และขอความที่คุณโพสมา ก็ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าไม่สบายใจ
เพราะข้าพเจ้า มีสติ คือ ความระลึกได้ และย่อมระลึกได้ ในทางที่ถูกที่ควร ย่อมระลึกได้ ตามที่ได้รับการขัดเกลา หรืออบรม ฯลฯ
ต่อไป ถ้าคุณได้อ่านกระทู้ใด ข้อความใด ก็อย่าหลงให้มากนักนะขอรับ เรื่องธรรมดา ขอรับ

สติ คือ ความระลึกได้ แต่จะระลึกได้ในเรื่อง อะไร ความรู้อะไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จากที่คุณเขียนมา คุณลองใช้สติ คือ ลองระลึกนึกถึง ความคิดของคุณในตอนที่ได้อ่านข้อความว่า คุณ คิดอะไร แล้วคุณใช้สติ คือ การระลึกได้ ถึงเรื่องอะไร ถึง ความเข้าใจอะไร
ไม่ต้องขออภัยดอกขอรับ คุณไม่ได้ทำผิด และไม่ได้ก่อความรำคาญ เพียงแต่สติของคุณ คงจะไม่ดีพอ นั่นย่อมหมายความว่า สัมปชัญญะของคุณ ก็ไม่ดีพอตามไปด้วยขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




100_3442_resize.JPG
100_3442_resize.JPG [ 108.68 KiB | เปิดดู 11560 ครั้ง ]
:b8: นมัสการท่านพระอาจารย์สอนปราชญ์ เจริญโลกย์ เจริญธรรม แด่กัลยาณมิตรทุกท่าน ได้กลับมาอ่านกระทู้เก่าๆ ดีๆ แถมมีรสชาติเผ็ด มันแทรกอยู่ด้วย ก็ดีนะครับ เป็นการปัจจเวก วิเคราะห์ พิจารณาย้อนหลังดูผลงาน (กรรมและผลกรรม)ที่เราทำมาและกำลังแสดงผลอยู่ในปัจจุบัน จะได้ประเมินผล วัดผลความก้าวหน้า หรือถอยหลัง ในการเดินทาางตามรอยเท้ารอยบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าทั้งหลาย

กระทู้นี้ยังมีคุณค่าและประโยชน์แก่ผู้สนใจใฝ่ศึกษาธรรมอยู่เสมอนะครับ


ต้องขอบพระคุณคณะทำงานของลานธรรมจักร ทุกท่าน ทุกคน ที่ช่วยกันคืนชีวิตใหม่ให้กับลานธรรมอันดีเยี่ยมเช่นนี้ มหากุศลในการช่วยกันใหแสงสว่างแห่งพุทธธรรมสู่ใจชาวโลก จงมาดลให้คณะทำงานลานธรรมจักร ละกัลยามิตรทุกท่าน จงอยู่เย็นเป็นสุขด้วยธรรม มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึงนิพพานกัน ทันในปัจจุบันชาตินี้ ทุกท่านทุกคนเทอญ :b8: :b8: :b16: :b16: :b1: :b1: :b12: :b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ธ.ค. 2010, 21:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
.. มหากุศลในการช่วยกันใหแสงสว่างแห่งพุทธธรรมสู่ใจชาวโลก จงมาดลให้คณะทำงานลานธรรมจักร ละกัลยามิตรทุกท่าน จงอยู่เย็นเป็นสุขด้วยธรรม มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงธรรม เข้าถึงนิพพานกัน ทันในปัจจุบันชาตินี้ ทุกท่านทุกคนเทอญ


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




DCP_0032_resize.JPG
DCP_0032_resize.JPG [ 73.19 KiB | เปิดดู 11518 ครั้ง ]
:b10: ท่านพระอาจารย์สอนปราชญ์ไปอยู่ที่ไหนหนอ หายไปนานจริงๆนะครับ
tongue smiley :b8: :b27: :b20:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2011, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 17:27
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาธรรมกันอย่างเดียวไม่ปฎิบัติหรือปฎิบัติไม่จริงจังหรือปฎิบัติด้วยความอยาก

ก็จะไม่รู้เท่าทันจิตหรอก เพราะว่ามันไวมากแสงที่ว่าเดินทางไวที่สุดแล้วถ้าเทียบกับดวงจิตล่ะก็ต่างกันมากเลย
เพราะฉะนั้นทุกคนที่แสดงมาล้วนมีเจตนาที่ดีคืออยากอธิบายให้เข้าใจในแบบฉบับของตัวเองที่ได้รู้ได้ฟังได้อ่านมาเท่านั้น อย่าใช้กิเลสมาตัดสินเลย ธรรมะไม่มีถูกหรือผิดคนที่เข้ามาอ่านก็จะมีคำตอบที่มีมุมมองหลากหลายทำให้เกิดการพิจารณา บางทีคำตอบของคนนี้อาจจะเข้าใจที่สุด แต่อีกคนอาจเป็นคำตอบของอีกคนนึงก็ได้ ตรงนี้มีหน้าที่แค่แสดงความคิดเห็นและความเข้าใจของแต่ละคนเท่านั้นไม่ได้มีหน้าที่จะไปปรามาสผู้อื่นที่ตอบไม่ตรงกับเรา อย่าลืมถามตัวเองว่าตัวเรานั้นบรรลุธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือยัง ศึกษาธรรมก็เพื่อให้ลดอัตตาตัวตนลงไม่ใช่เพิ่มขึ้น ถ้ายังงั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากคนที่จบปริญญาโทที่ชอบว่าคนที่จบปริญญาตรีหรือต่ำกว่านั้นเลย

และจะโต้กันไปทำไมกัน ถ้าเรามั่นใจในคำตอบของเรา ถ้าเราอ่านของคนอื่นแล้วเราว่ามันไม่ใช่เราก็ไม่เก็บเอามาพิจารณาก็แค่นั้น ไม่ใช่พาดพิงหรือกล่าวว่ากระทบกระเทียบผู้อื่น โปรดรู้ไว้ด้วยว่าได้มีจิตอกุศลขึ้นมาแล้ว กำลังสร้างภูมิภพใหม่ให้อยู่แล้ว ศึกษาธรรมะมาเสียเปล่าไม่ได้ทำจิตให้เกิดกุศลเลย
ถ้าใครจะปรามาสเราก็เชิญตามสบาย เพราะเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เพื่อไม่ให้มีวิบากกรรมต่อกัน เราขอหลีกทางให้กับผู้ที่มีจริตแบบนี้
ทุกครั้งที่เราอ่านเราเคารพในความคิดของทุกคนไม่ว่าจะเป็นเช่นไร
แต่ถ้าเป็นแบบนี้ไม่เอาแล้ว ไม่ไหวแล้ว แทนที่จะได้ความรู้กลับได้คำที่ต้องการชนะ :b26:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2011, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ หมายถึงกิริยาของจิต ที่ทำหน้าที่ในการ ระลึกต่ออารมณ์ มีเจตนาในการกำหนดลงไปในอารมณ์
หรือกำหนดตามไป สติ จะคู่กับสัมปชัญญะ คือ เมื่อตั้งใจกำหนดลงไป ระลึกลงไป ก็จะเกิดสภาพรู้พร้อม
ต่อสิ่งที่กำลังระลึก

สัมมาสติ หมายเอาถึง ระบบปฏิบัติ ที่เป็นไปเพื่อสร้างปัญญาเครื่องตรัสรู้ให้เกิด เรียกระบบนี้ว่า
สติปัฏฐาน4 ดังนั้น สัมมาสติ จึงหมายเอา สติปัฏฐาน4 ซึ่งต้องใช้สติสัมปชัญญะเป็นสำคัญในการใช้เป็น
เครื่องมือกระทำให้สติปัฏฐาน4สมบูรณ์ขึ้นมาได้

อริยสัมมาสติ หมายถึง สติที่ได้รับการอบรม จนเกิดเป็นความสมบูรณ์ มีพลัง มีความคมกล้า มีความเป็นธรรมชาติ และมีความเป็นอัตโนมัติ ในการทำหน้าที่ต่อ เครื่องรบกวนทั้งปวง เป็นสติที่ประกอบด้วย
บริวารคือมรรคอีก7ตัวหล่อหลอมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งในทุกเวลานาที

เรียกในส่วนนี้ว่า อริยสัมมาสติ หรือกลายเป็นมหาสติที่สมบูรณ์

จางบางไม่ค่อยว่าง แต่ก็มาแล้วนะคะ บีวิดขา

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2011, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


yuy เขียน:
ศึกษาธรรมกันอย่างเดียวไม่ปฎิบัติหรือปฎิบัติไม่จริงจังหรือปฎิบัติด้วยความอยาก

ก็จะไม่รู้เท่าทันจิตหรอก เพราะว่ามันไวมากแสงที่ว่าเดินทางไวที่สุดแล้วถ้าเทียบกับดวงจิตล่ะก็ต่างกันมากเลย
เพราะฉะนั้นทุกคนที่แสดงมาล้วนมีเจตนาที่ดีคืออยากอธิบายให้เข้าใจในแบบฉบับของตัวเองที่ได้รู้ได้ฟังได้อ่านมาเท่านั้น อย่าใช้กิเลสมาตัดสินเลย ธรรมะไม่มีถูกหรือผิดคนที่เข้ามาอ่านก็จะมีคำตอบที่มีมุมมองหลากหลายทำให้เกิดการพิจารณา บางทีคำตอบของคนนี้อาจจะเข้าใจที่สุด แต่อีกคนอาจเป็นคำตอบของอีกคนนึงก็ได้ ตรงนี้มีหน้าที่แค่แสดงความคิดเห็นและความเข้าใจของแต่ละคนเท่านั้นไม่ได้มีหน้าที่จะไปปรามาสผู้อื่นที่ตอบไม่ตรงกับเรา อย่าลืมถามตัวเองว่าตัวเรานั้นบรรลุธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือยัง ศึกษาธรรมก็เพื่อให้ลดอัตตาตัวตนลงไม่ใช่เพิ่มขึ้น ถ้ายังงั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากคนที่จบปริญญาโทที่ชอบว่าคนที่จบปริญญาตรีหรือต่ำกว่านั้นเลย

และจะโต้กันไปทำไมกัน ถ้าเรามั่นใจในคำตอบของเรา ถ้าเราอ่านของคนอื่นแล้วเราว่ามันไม่ใช่เราก็ไม่เก็บเอามาพิจารณาก็แค่นั้น ไม่ใช่พาดพิงหรือกล่าวว่ากระทบกระเทียบผู้อื่น โปรดรู้ไว้ด้วยว่าได้มีจิตอกุศลขึ้นมาแล้ว กำลังสร้างภูมิภพใหม่ให้อยู่แล้ว ศึกษาธรรมะมาเสียเปล่าไม่ได้ทำจิตให้เกิดกุศลเลย
ถ้าใครจะปรามาสเราก็เชิญตามสบาย เพราะเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เพื่อไม่ให้มีวิบากกรรมต่อกัน เราขอหลีกทางให้กับผู้ที่มีจริตแบบนี้
ทุกครั้งที่เราอ่านเราเคารพในความคิดของทุกคนไม่ว่าจะเป็นเช่นไร
แต่ถ้าเป็นแบบนี้ไม่เอาแล้ว ไม่ไหวแล้ว แทนที่จะได้ความรู้กลับได้คำที่ต้องการชนะ :b26:


ความคิด และ จิต อาจจะมีความไวน้อยกว่าการเดินทางของแสงขอรับ เพราะ การทำงานของจิต และความคิด ก็คือการเดินทางของคลื่นไฟฟ้าชนิดหนึ่ง จึงอาจจะเดินทางช้ากว่าแสงเล็กน้อย ข้าพเจ้าไม่สามารถบอกระยะทางได้แน่นอน แต่รู้ว่าช้ากว่าการเดินทางของแสง แต่ก็อาจจะมีความเร็วกว่าแสงก็ได้เพราะข้าพเจ้าก็วัดความเร็วนั้นได้ไม่แน่นอน แต่ถ้าปลดปล่อยออกจากร่างกาย จะมีความเร็วเท่าแสงหรือเร็วกว่าแสงอย่างแน่นอน ชนิดที่เรียกว่า ไม่ทันได้เห็นก็ถึงตัวแล้วละขอรับ
ไม่มีใครปรามาสคุณได้ดอกขอรับ ถ้าคุณอ่านแล้วมีจิตเป็นกุศล ความคิดของคุณก็มีแต่กุศล ไม่มีความคิดเป็นอกุศลอย่างเด็ดขาด
ผู้สอน ย่อมมีความคิด และวิธีการตามหลักจิตวิทยา
ใครได้ฝึกธรรมะมาดี หรือดีแต่มือถือสาก ปากถือศีล ก็รู้ได้ในทันทีละขอรับ


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 28 มิ.ย. 2011, 19:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 00:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
แม้ครั้งที่หนึ่งแม้ครั้งที่สอง

พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
พระจอมไตรโลกนาถ ผู้ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ไม่มีผู้ใดเทียบเทียม เป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว :b39:


:b42: ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


:b40: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิของพระอริยะอันมีเหตุประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่จิตเป็นอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ


สัมมาสมาธิเป็นไฉน :b41:


ภิกษุในวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใจภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดังนี้


ด้วยข้าพเจ้าเป็นปุถุชนผู้หนาไปด้วยกิเลส เป็นผู้ยังไม่ถึงกระแส อีกทั้งยังมีปัญญาน้อย
ข้าพเจ้าขอน้อมนำพระธรรมของพระบรมศาสดามาไว้ในใจ ด้วยความเคารพเลื่อมใสยิ่ง
พระชินะเจ้าผู้มีคุณอันไม่มีประมาณ ข้าพเจ้าจะดำเนินรอยตามพระพุทธองค์
เพื่อเกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่น เพื่อยังโลกให้สว่างไสว ดังเช่นที่พระองค์เคยดำเนินมา
จนกระถึงฝั่งพระนิพพานอันเกษม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2011, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes กรัชกาย อนุโมทนา คับ :b4:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2011, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง การ ระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง ๔ อย่าง เป็นทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม สามารถอธิบายได้ในหลากหลายวิธี การอธิบายต่อไปนี้ เป็นการอธิบายหลักวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
๑.ระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง กาย ก็คือ ร่างกายทั้งหลาย นับตั้งแต่ตัวเรา ก็คือ ร่างกายของตัวเรา ไปจนถึง ร่างกายอื่นๆนอกจากตัวเรา ทำไมต้องระลึกนึกถึงกายภายใน กายภายนอก ก็เพราะเพื่อให้ผู้ปฏิบัติ เกิดความรู้ ความเข้าใจ รู้จักเปรียบเทียบ สภาพสรีระร่างกายของตัวเอง และผู้อื่น (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
๒.ระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง เวทนา ก็คือ ความรู้สึก เกี่ยวกับความรู้สึกนี้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่าง ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก กล่าวไว้ว่า เวทนา หมายถึง "ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ ๑.สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย ๒.ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย ๓.อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา; อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ ๑.สุข สบายกาย ๒.ทุกข์ ไม่สบายกาย ๓.โสมนัส สบายใจ ๔.โทมนัส ไม่สบายใจ ๕.อุเบกขา เฉยๆ; ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี"
หากท่านทั้งหลายได้พิจารณาจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกนั้น ย่อมเกิดจาก รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ อันแปรเปลี่ยน เป็นความคิดบ้าง แปรเปลี่ยนสิ่งที่เกิดจากร่างกายบ้าง ซึ่งการระลึกได้หรือการหวนนึกถึงในเวทนา ก็ย่อมเป็นการพิจารณาเปรียบเทียบ ความรู้สึก นับตั้งแต่ตัวเรา ไปจนถึงผู้อื่น(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
๓.ระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง จิต
คำว่า "จิต" ย่อมหมายความถึง "ธรรมชาติรู้อารมณ์" หรือ "การรับรู้อารมณ์" เมื่อได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก ด้วย อายตนภายใน การรับรู้อารมณ์ หรือ ธรรมชาติรู้อารมณ์ ย่อมสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับ เจตสิก หรือ ความรู้ หรือ ธรรมที่ประกอบอยู่ในจิตทั้งหลายเหล่านั้น แต่ในหลัก"สติปัฏฐาน" ได้แยกออกมาเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเป็นเฉพาะอย่าง ซึ่ง ตามหลักความจริงแล้ว มนุษย์ (หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะมีความโลภ ความโกรธ ความหลง มีราคะ ตัณหาได้ ก็ต้องประกอบหรือเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ เจตสิก ถ้าไม่มีเจตสิก คือไม่มีความรู้ ไม่มีธรรมอันประกอบอยู่ในจิต ก็ย่อมไม่เกิด ราคะ ตัณหา ไม่เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง กิเลสจะมีอยู่ในจิต หรือไม่มีอยู่ในจิต ก็ล้วนต้องมีความสนใจในตัวเอง พิจารณาตัวเองอยู่เสมอ ดังนั้น ในหลัก "สติปัฎฐาน" จึงได้แยก "จิต" ออกมาเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ได้รู้ ได้สนใจ มี"สัมปชัญญ"อยู่เสมอว่า ตัวเรามีกิเลสชนิดใดอยู่ ไม่มีกิเลสชนิดใดอยู่ เพราะการขจัดกิเลส ต้องขจัดเป็นเรื่องๆ เป็นอย่างๆไป เนื่องจาก สาเหตุ หรือ ปัจจัยอันจะก่อให้เกิด ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา ไม่ได้มีเพียงเรื่องเดียว รูปแบบเดียว ถึงแม้ว่า ต้นตอที่จะทำให้เกิดมีเพียง รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ และก็เป็นเช่นเดียวกับ กาย,เวทนา คือต้องพิจารณาเปรียบเทียบทั้งตัวเองและผู้อื่น คือทั้งจิตภายใน และจิตภายนอก ตัวเรา
๔.ระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง ธรรม
ธรรม ตามความหมายที่พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฏกฯ ได้ให้ไว้คือ "สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น"
ถ้าท่านทำความเข้าใจ ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น ก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ ได้เป็นอย่างดียิ่งเพราะ "การระลึกได้ หรือ การหวนนึกถึง ธรรม" ก็คือ การหมั่นทบทวนความรู้ ความเข้าใจ หมั่นพิจารณา ให้รู้ ในธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวเรา รู้จักศึกษาค้นหาธรรม(คือความรู้)เพื่อใช้ในการขจัดอาสวะทั้งหลาย มีความขยันหมั่นเพียร มีความสงบกายสงบใจ ผ่อนคลายกายใจ มีความวางเฉย และพิจารณาเปรียบเทียบในธรรมที่มีอยู่ในตัวผู้อื่น ว่าจะมีหรือไม่มีจะเหมือนหรือไม่เหมือน อย่างนี้เป็นต้น
การระลึกได้ หรือการหวนนึกถึง ตามหลัก "สติปัฏฐาน ๔"นั้น จะเป็นการ พิจารณา ซึ่งแตกต่างกับ วิตก วิจาร เพราะ การเกิด วิตก นั้น เป็นการรับรู้หรือเป็นความต้องการที่จะรับรู้ซึ่งอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่นถ้าเราได้ประสบพบเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความโกรธ ไม่พอใจ พอมานั่งสมาธิ สัมปชัญญะไม่ดีพอ ก็จะเกิดความต้องการรับรู้ไปสู่อารมณ์ที่คั่งค้างอยู่คิดถึงเรื่องที่ทำให้เกิดความโกรธ ความไม่พอใจนั้น และก็จะวิจาร ต่อไปว่า ตอนนั้น น่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้
แต่การระลึกได้ หรือการหวนนึกถึงนั้น เป็นการพิจารณาตัวเองในร่างกาย,ในความรู้สึกเมื่อได้รับการสัมผัสฯ,ในการรับรู้ หรือธรรมชาติรู้อารมณ์ ,ในธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวเรา ว่ามีความถูกต้องหรือบกพร่อง หรือขาด หรือต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2011, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 11:30
โพสต์: 31

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่ารักจัง
อนุโมทนา สาธุ
onion

.....................................................
เวรกรรมมีไว้ให้กลัวเพื่อสร้างสังคมให้น่าอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ย. 2011, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2009, 15:47
โพสต์: 417

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: วิปัสนา-กรรมฐาน เล่ม 1-2
ชื่อเล่น: นา
อายุ: 44
ที่อยู่: 140/19 ถ.อภัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

 ข้อมูลส่วนตัว




ARNUMOTANAMI.JPG
ARNUMOTANAMI.JPG [ 33.32 KiB | เปิดดู 11176 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าแก้ไขคนอื่น จงแก้ไขตัวเราเอง

....................................................

เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเล่า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามาเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
เจ้าก็ไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา

...................................................
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2011, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ต.ค. 2011, 22:03
โพสต์: 8

โฮมเพจ: wethakoo1106@hotmail.com
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ สวดมนต์ ปฏิบัติธรรมบางครั้ง เลี้ยงสัตว์ อ่านธรรมะ
ชื่อเล่น: แก้ว
อายุ: 0
ที่อยู่: กรุงเทพฯ 10150

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อแตกต่าง ระหว่าง "สติ กับ สัมมาสมาธิ" เป็นอย่างไร
สติ ก็คือ ความระลึกได้โดยทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมรูปธรรม ทั้งที่สิ่งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หากกล่าวว่าเราจะระลึกได้มากบ้างน้อยบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของสติ เพราะอยู่ที่กำลังปัญญา สัญญา ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสติในแต่ละคน เช่น.การระลึกถึงเรื่องราวในนิทานชาตกต่าง ๆ ที่เราได้อ่านมา มีสติในการฟังพระเทศน์ มีสติในการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เป็นต้น หากเราไม่มีสติแล้วไซร้ สิ่งทั้งปวงก็ไม่สำเร็จผล เพราะไม่ครบองค์ประกอบของความมีสติ แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว คำว่า "สติ" เป็นการระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ในชิวิตประจำวันโดยทั่ว ๆ ไป
สัมมาสมาธิ คือ สมาธิชอบ ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นกุศลเสียเป็นส่วนมาก ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางธรรมซึ่งเกี่ยวเนื่องกับข้อปฏิบัตของพระพุทธเจ้าต่าง ๆ เช่น ฌาน 4 (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน) สติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) อนุสสติ 10 (พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ฯลฯ) เป็นต้น ซึ่งมีทั้งสมาธิที่เป็นโลกิย และ
โลกุตตระ ......
ดังนั้น.สัมมาสมาธิ จึงเป็นสมาธิฝ่ายที่เป็นกุศลเท่านั้น หากเป็นอกุศลแล้ว ต้องเรียกว่า มิจฉา
สมาธิซึ่งเป็นฝ่ายตรงกันข้าม เช่น.การระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้าว่า พุทโธ เป็นพระอรหันต์ หรือตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ การระลึกถึงกายว่า กายนี้สักว่ากาย ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เรา เขา เป็นต้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธส่วนหนึ่งเหมือนกัน ความแตกต่างแล้วจะมีหลายประการ นี้เป็นเพียงรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาเป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้มีความเฉลียวฉลาดเป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้มีความเพียรเป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้มีปฏิภาณเป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้มีความทรงจำเป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 เป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยอนุพยัญชนะ 80 เป็นเลิศในโลก
ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการเป็นเลิศในโลก

จาก...นิรันตราย ดิถี.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2012, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่ๆทุกคนด้วยความเครารพ.
**ผมขออนุญาตสนทนาธรรมในหัวข้อนี้ด้วยคนนะครับ เริ่มด้วย...
สติ ในภาษากลางๆคือ ความระลึกได้ครับ ส่วนในภาษาบ้านๆป่าๆเรียกว่า ความรู้ตัว
สัมมาสติ เป็นภาษาธรรม ความหมายย่อมเป็นไปในทางธรรม คือความรู้ตัว รู้จิต รู้ใจ ของตน ที่เป็นไปเพื่อออกจากอกุศลกรรม เป็นไปเพื่อกำจัดกิเลสและทุกข์สิ้นเชิง
**ส่วนเรื่องหัวข้อธรรมระหว่างพี่ อโศกะกับพี่ Sriariya นั้นผมขออนุญาตแสดงความเห็นนิดหน่อยนะครับ ในเรื่อง สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ รวมถึงเรื่องขันธ์ 5 ด้วยครับ
สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) ในทางธรรมแล้ว หมายว่า เชื่อว่าปาบมี บุญมี สวรรค์มี นรกมี กรรมดี กรรมชั่วมี ทำดีได้ดี ทำชั่วย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว เชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระอรหันตสาวกที่สำเร็จตามพระพุทธเจ้ามีจริง นิพพานมีจริง ทางสู่นิพพานมีจริงและทำได้จริง ครับ นี่คือสัมมาทิฏฐิที่เป็นบาทแห่งมรรคครับ
สัมมาสังกัปปะ(ความคิดชอบ) ในทางธรรมแล้ว หมายว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อม ย่อมมีความคิดชอบว่า เราจะเลือกทำกรรมดีประกอบกุศลกรรมไม่ทำกรรมชั่วไม่ประกอบอกุศลกรรม เพราะเหตุที่เชื่อว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว สวรรค์มีจริง นรกมีจริง เราจะปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งมรรคเพื่อมรรคผลนิพพาน เพราะเชื่อว่า พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระอรหันตสาวกที่สำเร็จตามพระพุทธเจ้ามีจริง นิพพานมีจริง ทางสู่นิพพานมีจริงและทำได้จริง นี่คือสัมมาสังกัปปะที่เป็นผลสืบเนื่องต่อมาจากสัมมาทิฏฐิครับ
ขันธ์ 5 ผมขอแก้ไขในส่วนของพี่ อโศกะ นิดเดียว ตรงที่ว่า เวทนา กับ สังขาร ครับ คือถ้าเป็นเวทนาทางกายแล้วจะเกิดก่อนสังขารครับ แต่ถ้าเป็นเวทนาทางใจจะเกิดเพราะสังขารปรุงแต่งครับ พี่อาจจะลืมอธิบายตรงจุดนี้ไป ผมขอเสริมแค่ตรงนี้แหละครับ
**สุดท้ายนี้ผู้ปฏิบัติย่อมรู้อยู่เฉพาะตัวครับ และผู้ปฏิบัติย่อมรู้เหมือนๆกันในภูมิที่มีและผ่านมาเหมือนกัน และเพียงได้สนทนาธรรมกันก็เข้าใจกันได้ครับ อีกอย่างนะครับ การพิจารณาธรรมต้องพิจารณาโดยธรรมในทางธรรม จะเอาสมมติในทางโลกมาเป็นหลักพิจารณาไม่ได้ครับ ไม่งั้นมันจะติด ธรรมที่ถูกจะกลายเป็นผิดไป จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิที่ยากจะแก้ได้ครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร