วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 06:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

บัวสี่เหล่า คืออุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ที่อยู่ในฐานะของบุคคลที่สามารถฝึกสอนให้รู้ธรรมได้และไม่ได้ในทางพระพุทธศาสนา เรื่องราวที่พระพุทธเจ้าเปรียบบุคคลเสมือนบัวจำพวกต่าง ๆ นั้น เป็นข้อความที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) และพระไตรปิฏก ว่าเมื่อแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ พระองค์ได้พิจารณาว่าพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุม คัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว 4 เหล่า (ตามนัยอรรถกถามี 4 เหล่า) หรือ 3 เหล่า (ตามนัยพระไตรปิฎกมีเพียง 3)

อนึ่ง มีความสับสนถึงเรื่องการเปรียบบุคคลด้วยบัว 3 เหล่าตามนัยพระไตรปิฎก คือสับสนนำข้อความในปุคคลวรรค ที่เปรียบบุคคลเป็น 4 เหล่า มาปะปนกับข้อความในอรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลัง) ที่เปรียบดอกบัวเป็น 4 เหล่า ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะในพระไตรปิฏกพระพุทธองค์ตรัสเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัวเพียง 3 เหล่าเท่านั้น

เมื่อพิจารณาจากบัวสี่หรือสามเหล่าดังกล่าว ความในมติอรรถกถากล่าวว่ายังมีมนุษย์บางจำพวกที่ไม่สามารถสอนได้ (อเวไนยสัตว์) ในขณะที่หากพิจารณาจากพระพุทธพจน์จากมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ตามพระไตรปิฎก มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตรัสรู้ธรรมเช่นเดียวกับที่พระองค์ตรัสรู้ได้ (เวไนยสัตว์) กล่าวคือพระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วว่ามนุษย์ที่ยังสามารถสอนให้รู้ตามได้ยัง มีอยู่ จึงทรงตกลงพระทัยในการนำพระธรรมที่ทรงตรัสรู้มาสั่งสอนเวไนยสัตว์

บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู เนยย ปทปรมะ ก็เปรียบเหมือนดอกบัว ๔ เหล่านั้นแล. ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง ชื่ออุคฆฏิตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร ชื่อว่าวิปจิ ตัญญู. บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ ด้วยการไต่ถาม ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ชื่อว่าเนย ย. บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก ชื่อว่าปทปรมะ.

1. อุคคฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

2. พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู)

3. พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

4. พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)


ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org/wiki/บัวสี่เหล่า

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 01:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใครหนอ...แต่งบัวเหล่าที่ 4..ขึ้นมา

พระพุทธเจ้าแบ่งคนออกแค่..3..จำพวกเอง

ด้วยพระสัพพัญญู..พระองค์ย่อมจะรู้ว่า..ใครจะพ้นน้ำเมื่อไร.

ดังนั้นคำว่า...
..ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)..

จึงเป็นเรื่องไม่จริง..สำหรับวัฏฏะวนที่แสนจะยาวนานนี้..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 44 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร