วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สิ่งที่อยู่เหนือความเกิดแก่ เจ็บตาย
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ

การพัฒนาชีวิตของเรา ต้องดำเนินทั้งภายนอกด้วย ทั้งภายในด้วย
ถ้าหากว่าเรามัวพัฒนาแต่เรื่องภายนอกโดยไม่คำนึงหรือละเลยสิ่งภายใน
การพัฒนานั้นจะขาดความสมดุล แล้วในที่สุดจะไม่ประสบความสำเร็จ

เราพึ่งพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้โดยไม่ต้องสงสัย
ที่พึ่งนอกจากนั้นเป็นที่พึ่งที่ทรยศ จะช่วยเราจริงๆ ไม่ได้
แม้ว่าเราจะพึ่งมันได้เป็นบางครั้งบางคราว
แต่ว่าถึงที่สุดแล้วมันก็จะหนีจากเรา มันจะพลัดพรากจากเราไป
เพราะมันเป็น “สังขาร” หมด
เราจึงพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุสิ่งที่เรียกว่า “วิสังขาร”
สิ่งที่อยู่เหนือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย


เพราะเรากลัวตัวเอง กลัวอยู่กับตัวเอง ก็ต้องออกนอกอยู่ตลอดเวลา
ซัดส่ายไปตามอารมณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา เลยเป็นทาสของสิ่งภายนอกอยู่ร่ำไป
สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ เราก็ขึ้นๆ ลงๆ ตามความเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น
จิตใจของเราก็ไหวกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา
ไหวกระเพื่อมจนกระทั่งเราถือความวุ่นวายว่าเป็นความปกติ


บางทีการเคลื่อนไหวและการกระทำการงานต่างๆ เป็นสิ่งที่สมควร
แต่บางครั้งบางคราวการอยู่นิ่งและการงดเว้นจากการกระทำก็เหมาะสมกว่า

ถึงแม้ว่าการปฏิบัติของเรานั้นยังไม่ถึงขั้นที่ว่า “การปฏิบัติชอบ”
ก็อย่างน้อยที่สุด ขอให้เรา “ชอบปฏิบัติ” เสียก่อน

เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติ ธรรมะก็เป็นแค่ปรัชญาอันลึกซึ้งที่น่าสนใจ
แต่ในโลกที่เป็นจริง พอกิเลสเกิดขึ้น เราก็ทนต่อกิเลสไม่ได้
มันฉุดลากไปเลย ความรู้ของเรามันหายไปไหนก็ไม่รู้

การจะฆ่ากิเลสนิวรณ์นั้น ต้องเข้าใจคำว่า “ฆ่า” นั้น
ว่าหมายถึง การรู้เท่าทัน ฆ่าด้วยการรู้เท่าทัน

การปฏิบัติทุกขั้นตอน อย่าไปปฏิบัติเพื่อจะเป็น เพื่อจะเอา
เพราะจะเป็นการปฏิบัติที่พายเรือในอ่าง ไม่เป็นการปฏิบัติที่จะข้ามไปฝั่งโน้น


ถ้าจะฟังเทศน์แต่ความจริงล้วนๆ พระจะต้องขึ้นธรรมาสน์พูดแต่คำว่า
“เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ” คงไม่มีใครอยากฟัง ฟังไม่กี่ครั้งก็เบื่อ
ผู้แสดงธรรมจึงต้องชูรสบ้าง หาอะไรมาประกอบการอธิบายเพื่อให้มันน่าฟัง
แต่แท้จริงแล้วความรู้เกี่ยวกับโลกที่ลึกซึ้งที่สุด
ก็สักแต่ว่าความเข้าใจในเรื่องการเกิด และการดับ
นักปฏิบัติผู้สามารถรู้แจ้งในการเกิดและการดับของสังขาร
ย่อมเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย
และย่อมน้อมจิตไปเพื่อสิ่งที่อยู่เหนือการแตกสลาย


เมื่อเราเห็นตัวเอง และเข้าใจเรื่องกิเลสแล้ว
เราจะเห็นความทุกข์หลายๆ อย่างในชีวิตเรานี้ไม่จำเป็นเลย
มันไม่ได้เกิดเพราะดวงไม่ดี หรือเพราะกรรมเก่า
แต่เกิดเพราะความคิดผิดของเราต่างหาก

เราต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เราปฏิบัติเพื่ออะไร เราปฏิบัติเพื่ออยากเอาอยากเด่นไหม
หลวงพ่อชา ท่านก็สอนเสมอว่า อย่าปฏิบัติเพื่อจะเอาอะไร
อย่าปฏิบัติเพื่อจะได้อะไร อย่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่าเป็นพระอรหันต์
อย่าเป็นพระอนาคามี อย่าเป็นพระสกิทาคามี อย่าเป็นพระโสดาบัน

อย่าเป็นอะไรเลย เป็นแล้วมันเป็นทุกข์


อย่าเป็นอะไรเลย สบาย ความสบายอยู่ตรงที่เราไม่ต้องเป็นอะไร
เราไม่ต้องเอาอะไร ภาวนาจนไม่มีความรู้สึกว่าได้กำไรหรือขาดทุนจากการปฏิบัติ
มีความรู้สึกราบรื่น สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ แต่เราก็ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ตาม
เราอยู่ด้วยความวางเฉยของผู้รู้เท่าทัน อาการแห่งความสุขก็มีอยู่
แต่มันอยู่ข้างนอกมันไม่ได้เข้าไปถึงใจของเรา

จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต อันนี้เป็นหลักสำคัญมาก
ท้องฟ้าไม่ใช่เครื่องบิน เครื่องบินไม่ใช่ท้องฟ้า ท้องฟ้าก็อยู่อย่างนั้นแหละ
เมฆก็ผ่านไปผ่านมา เครื่องบินก็ผ่านไปผ่านมา เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว
อันนี้เป็นอากาศ แต่ว่าอากาศไม่ใช่ท้องฟ้า ท้องฟ้าไม่ใช่อากาศ

จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ
เดี๋ยวพอใจ เดี๋ยวไม่พอใจ อันนี้ก็เป็นอารมณ์ แต่อารมณ์ไม่ใช่ใจ
ที่ว่าวันนี้ใจไม่ดี ใจไม่สบาย ความจริงไม่ใช่เรื่องของใจนี่ ใจมันนิ่ง
ความยินดีและความยินร้าย ความพอใจและความไม่พอใจ
เป็นเรื่องของอารมณ์ต่างหาก ให้รู้จักแยกจิตออกจากอารมณ์
ยอมให้อารมณ์เป็นอารมณ์ ให้จิตเป็นจิต นี่เราจะมีความสบายอยู่ตรงนี้

การภาวนา คือ การลดความโง่ของตัวเอง
ผู้ที่หาว่าไม่มีเวลาภาวนา คือผู้ที่ถือว่าไม่มีเวลาลดความโง่ของตัวเอง


ผู้ที่มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้ที่รู้สึกสดใส
และเป็นผู้ไม่กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
ที่จะแสวงหาความสุขและความมั่นคงจากภายนอก

ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือจะเป็นความรักความเคารพจากคนอื่น
ทีนี้เราไม่มีความรู้สึกว่าเราขาดอะไร ไม่ต้องการอะไรจากใครในโลก
เราไม่มีความรู้สึกว่าเรามีอะไรเกิน จะมีแต่ความรู้สึกว่ามันพอดี ตรงนี้แหละจิตเป็นธรรม

เราไม่ต้องไปแสวงหาความแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ให้มารู้จัก มาตระหนัก กับสิ่งที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมดาๆ นั่นแหละ
ปัญญาไม่ได้เกิดจากสิ่งผิดปกติ
แต่มันเกิดจากการรับรู้อย่างทะลุปรุโปร่งต่อสิ่งปกติ


สมถะ คือ หยุด วิปัสสนา คือ ดู การภาวนาต้องการ ๒ สิ่งนี้
คือ ทั้งหยุด ทั้งดู ถ้าไม่หยุดแล้วก็ดูไม่ชัด
ระงับนิวรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งครอบงำจิต
ทำให้ดูอะไรไม่ออก หรือดูผิดเพี้ยนจากความจริง


ในการปฏิบัติท่านให้มีหลักว่า “รีบช้าๆ”
รีบปฏิบัติแต่อย่าใจร้อน ปฏิบัติอย่างรีบๆ ก็ไม่ได้ ท่านจึงให้เรา “รีบช้าๆ”
ต้องรีบเพราะชีวิตของเรามันสั้นเหลือเกิน แต่ต้องช้าๆ หน่อย
ไม่อย่างนั้นอาจจะพลาดพลั้งหรือหลงทาง ตรอกซอกซอยมีเยอะ
โอกาสหลงทางมันมีมาก ต้องค่อยๆ ดู ค่อยๆ ศึกษาไป

...“ทุกข์เพราะคิดผิด”...ให้จำไว้ อย่าลืม
เวลาเริ่มจะเป็นทุกข์ แทนที่จะไปว่าเขา จะไปโกรธเขา
หรือจะไปหงุดหงิดกับเขา จงทบทวนที่จิต
ถ้าหากว่าจิตใจของเราอยู่กับธรรม จะเป็นทุกข์ไม่ได้ เป็นทุกข์ไม่เป็น
ไม่มีสิ่งใดหรือคนใดจะมาบังคับให้เราเป็นทุกข์ทางใจได้
มันไม่อยู่ในวิสัยของใครที่จะบังคับให้ใครเป็นทุกข์ได้
ถ้าเราไม่ยอมเป็นทุกข์ หรือมีคุณธรมพอที่จะปกป้องตัวเอง
หรือรักษาความทรงตัวของจิตตนไว้ได้...

เราต้องกล้าในการปฏิบัติ เราต้องเป็นผู้กล้า กล้าดูความทุกข์
เพราะความทุกข์มีเหตุมีปัจจัย ดูความทุกข์ วิเคราะห์ความทุกข์
เราจะได้รู้ว่าส่วนไหนต้องแก้ไข ส่วนไหนต้องยอมรับ
ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางธรรมชาติ
ส่วนไหนป็นความทุกข์ที่เกิดจากการคิดผิด ความถือผิด


:b8: :b8: :b8:

ที่มา... http://www.dhammajak.net/book/nanadham/page11.php
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=35879

:b44: รวมคำสอน “พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38509

:b44: ประวัติและปฏิปทา “พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=22230

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2010, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5111

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


ชอบดูภาพพระทางอีสาน-เหนือ บิณฑบาตมากเลยค่ะ ดูงามและเมตตามากๆ เวลาท่านเอียงบาตรน่ะ ภาคใต้จังหวัดที่เราอยู่มาตลอด (ที่ จ. อื่นไม่รู้ค่ะ) เราไม่เคยเห็นอ่ะค่ะแบบนี้ พระท่านจะยืนตรงๆ โยมก็ยืนตามสมัยนิยม ใส่เสร็จก็ลงไปนั่งยองๆ ไหว้พระรับพรตามเรื่อง

เคยอ่านเจอในหนังสือของหลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล ท่านสอนให้โยมใส่บาตรต้องคุกเข่า หงายมือใส่ของในบาตร ส่วนพระท่านก็จะเอียงบาตรให้ ก็ออกมางดงามจริงๆ เลย ดูแล้วชวนให้ศรัทธา

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2015, 13:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนาสาธุนะครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2015, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2758


 ข้อมูลส่วนตัว


น้อมกราบท่านพระอาจารย์เจ้าค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2016, 12:26 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร