วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 20:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิต เจตสิก รูป นิพพาน
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (อาจารย์ สุรศกดิ์ เขมรังสี)
:b48: :b48: :b48:
นมตฺถุ รตนตฺยสส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอความผาสุก ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติทั้งหลาย
และ ต่อไปนี้ก็จะได้แสดงธรรม เป็นหลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนา เพื่อความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางของการปฏิบัติกรรมฐาน ในการเจริญกรรมฐาน โดยเฉพาะเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จะต้องเจริญสติระลึกรู้ต่อ สภาวะธรรมที่กำลังปรากฏอยู่ ...ยังมีหลายท่านที่ยังไม่เข้าใจ เรื่องสภาวะ หรือไม่เข้าใจเรื่อง ปรมัตถธรรม แยกไม่เป็น แยกไม่ออก ระหว่าง บัญญัติ กับ ปรมัตถ์ ก็จำเป็นต้องมาชี้แจง ซ้ำให้เข้าใจ บางคนฟังครั้งเดียวก็เข้าใจดี บางคนก็ต้องฟังหลายๆ เที่ยว จึงจะเข้าใจได้ สภาวะ หมายถึง สิ่งที่มีที่เป็นอยู่จริงๆ เรียกว่า ปรมัตถธรรม ธรรมที่เป็นจริงโดยแท้ แบ่งออกมาเป็น รูป เป็น จิต เป็น เจตสิก เป็น นิพพาน ปรมัตถธรรมมี ๔ อย่าง รูป ปรมัตถ์ จิต ปรมัตถ์ เจตสิก ปรมัตถ์ นิพพานปรมัตถ์ ในสิ่งที่มาประกอบเป็นชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็จะมี ปรมัตถธรรม อยู่ ๓ อย่าง คือ รูป จิต เจตสิก ...ส่วนนิพพานนั้นยังไม่มี ยังไม่เกิดขึ้น สำหรับปุถุชน...ปุถุชนนี่ ไม่มีโอกาสได้พบได้ถึงนิพพาน ถ้าถึงเมื่อไหร่ ก็เป็นอริยะบุคคล ช่วงก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยะบุคคลเรียกว่าใกล้ถึงนิพพาน ปุถุชนนี่ยังไม่รู้จักนิพพาน อย่างแท้จริง

.....รูป ปรมัตถ์ ก็จัดเป็นรูปธรรม ธรรมชาติที่มีความเสื่อมสิ้นสลายไป ส่วน จิต เจตสิก เป็น นามธรรม ฉะนั้นสิ่งที่ประกอบเป็นชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะรูปธรรม นามธรรม ...รูป ก็คือ รูปขันธ์ รูปปรมัตถ์
เป็นรูปธรรม ธรรมที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ ส่วน นามธรรม คือ จิต เจตสิก
เป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ ฉะนั้น ปรมัตถ์ธรรม หรือ รูปธรรมนามธรรม เป็นสภาวะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่จริงๆ เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล และไม่ใช่ตัวเรา เขา สักแต่ว่าเป็นธาตุ เป็นธรรมชาติ เป็น สภาวะ เป็นรูปธรรม นามธรรม หรือเป็น ปรมัตถธรรม การเจริญวิปัสสนาก็จะต้องมีสติ ระลึกรู้ ให้ตรงตัวต่อสภาวะธรรมที่กำลังปรากฏ หรือ ตรงต่อ รูปธรรม นามธรรมที่กำลังปรากฏ ตรงต่อปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ (ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ที่ประกอบมาเป็นร่างกาย เป็นรูปธรรม ดิน น้ำ ลม ไฟ ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย เป็นรูปธรรมต่างๆ รับรู้อะไรไม่ได้ นอกจากเสื่อมสลาย รูปมาจากภายนอก มากระทบรูปที่เป็นภายใน ก็เป็นรูปธรรมด้วยกัน สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เหล่านี้เป็นรูปธรรม เสียงก็เป็นรูป สีสันก็เป็นรูป กลิ่นก็เป็นรูป รสชาดก็เป็นรูป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เป็นรูปต่างๆ สิ่งใดที่ปรากฏแล้ว ก็เสื่อมสลาย รับรู้อารมณ์ไม่ได้ สิ่งนั้นจัดเป็นรูปธรรม ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดิน น้ำ ลม ไฟ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นรูปต่างๆ หมายถึง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัว ตัวเรา เขา
......การเจริญวิปัสสนา ให้กำหนดตรงต่อรูป นาม ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็กำหนดให้ตรงตัวของรูป รูปสี
รูปเสียง รูปกลิ่น รูปรส รูปโผฏฐัพพะ....รูป ที่เป็นธรรมชาติเสื่อมสลายไป เมื่อระลึกรู้ ก็รู้ความจริงว่า รูปนี้มีความเสื่อมสลาย สี กระทบตาก็เสื่อมสลาย ดับไป เสียงกระทบหูก็ดับไป กลิ่นกระทบจมูกก็ดับไป รสกระทบลิ้นก็ดับไป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กระทบกายก็ดับ นี่คือรูปธรรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นรูปต่างๆ ส่วน จิต เจตสิก เป็นนาม ที่รับรู้อารมณ์ได้ เจตสิกคือ ธรรมชาติที่ประกอบ กับ จิต
....จิต อุปมาเหมือน น้ำ เปล่าๆ เจตสิก เหมือนเครื่อง แกง มี น้ำพริก กะปิ หอม กระเทียม กระชาย ขิง ข่า อะไรก็แล้วแต่ ตำโขลกผสมลงไปในน้ำ น้ำก็เป็นน้ำแกง มาซดน้ำแกง ถ้าสังเกตให้ดีก็จะมีรสชาด ของเครื่องแกงชนิดต่างๆ แล้วแต่ว่าชนิดไหน มันมากกว่า อาจจะได้กลิ่นกระเทียม ได้กลิ่นรสชาดของน้ำปลา ของกะปิ ของหอม สิ่งเหล่านี้คือส่วนผสม ที่มาผสมอยู่กับน้ำ แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาผสมกับน้ำ น้ำกลายเป็นสิ่งเหล่านั้นไป น้ำหวาน น้ำอัดลมชนิดต่างๆ ก็แล้วแต่ส่วนผสม มาผสมกับน้ำ จิตใจนี้ก็เหมือนกัน มีเจตสิกมาผสม มาเกิดร่วม จิตก็เป็นไปตามสิ่งที่มาประกอบ เรียกว่า เจตสิก สิ่งที่ประกอบกับจิต อาศัยจิตเกิด นี้เขาเรียกว่า "เจตสิก"

(ต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 04 พ.ย. 2010, 14:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....เจตสิก ก็มีทั้งฝ่าย บุญ ฝ่ายบาป ฝ่ายกลางๆ เข้าทั้งขั้วทั้งสองฝ่าย อย่างเช่น ความโกรธ เป็น เจตสิก ลักษณะธรรมชาติ ประทุษร้ายในอารมณ์ ความโลภ พอใจ ติดใจในอารมณ์ ความหลง สภาพที่บังความเป็นจริงไว้ มานะ ความถือตัว ทิฏฐิ ความเห็นผิด อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกกุจจะ รำคาญใจ มัจริยะ หวงแหนในทรัพย์สมบัติ หรือคุณความดีของตน ถ้าเป็นอิจฉา ก็คือ การไม่พอใจ ในทรัพย์สมบัติหรือคุณงามความดีของผู้อื่น เห็นคนอื่นได้ดีทนอยู่ไม่ได้ มันมาปรุงแต่งในจิต จิตก็จะมีสภาพไปอย่างนั้น ใช้เวลากำหนดไปที่จิต ก็อ่านดู สังเกตดู ว่าในจิตมีเจตสิก ต่างๆ ประกอบ มีโลภะไหม? โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ความท้อถอย เบื่อหน่าย ...เหมือนเราซดน้ำแกงแล้วก็สังเกตรสชาดอะไรในน้ำแกง อันนี้ก็เหมือนกัน จิตมันเกิดขึ้นขณะนี้ มันมีอาการ ปฏิกิริยาอย่างไร สังเกตดู มันเป็นนามธรรม แต่ละชนิด โลภะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ เป็นนามแต่ละอย่าง ละอย่าง ...
.....บางครั้งก็มี เจตสิก ฝ่ายดี เข้ามาประกอบ เกิด เมตตา เกิดสงสาร เกิดพลอยยินดี เกิดสติ เกิดปัญญา เกิดละอายต่อบาป กลัวบาปเหล่านี้ เป็นต้น จิตก็เป็นในทางที่ดี เจตสิกฝ่ายดีเข้ามาประกอบ ก็ต้องกำหนดรู้ ว่าขณะนี้ จิต มีความเมตตากำลังเกิดขึ้น กำลังมีความสงสาร เวลาสงสารก็กำหนดรู้ ความสงสาร เกิดพลอยยินดี ก็กำหนดรู้ลักษณะพลอยยินดี นี่คือ การกำหนดนามธรรม
....เพราะฉะนั้น พิจารณาว่า ที่เราปฏิบัติมา ได้ระลึก สังเกต พิจารณาจิตใจ อาการ สิ่งที่ประกอบกับจิตนี้หรือไม่ เวทนาที่ประกอบกับจิต มันก็มี ดีใจ เสียใจ เฉยๆ แล้วก็สังเกต เวลาดีใจก็ให้รู้ เสียใจก็รู้ สบายใจ ไม่สบายใจ รี่คือ นามธรรม จิต เป็นนาม เจตสิกเป็นนาม เห็นเป็นนาม ได้ยิน เป็นนาม รู้กลิ่นเป็นนาม รู้รส เป็นนาม รู้สึกสัมผัสทางกายเป็นนาม คิดเป็นนาม ชอบใจไม่ชอบใจเป็นนาม สงบ ไม่สงบ เป็นนามธรรมแต่ละอย่าง ผู้ปฏิบัติจะต้องระลึกรู้นามธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ หยั่งสังเกตลงไปในกระแสจิต รู้ทันความคิด รู้จิตที่รู้สึก รู้ความตรึก นึก รู้ความรู้สึกในจิตใจ มีอาการในตัวมีปฏิกิริยาอย่างไร ใส่ใจสังเกต (ต่อ)...


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 04 พ.ย. 2010, 14:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....วิปัสสนา ต้องระลึกรู้ปรมัตถธรรม ระลึกถึงเจตสิกที่ประกอบกับจิต ขณะนี้ๆ ระลึกรู้จิตที่กำลังเป็นไปอยู่ กำลังคิด กำลังเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก รู้สึก...รู้สึกสบาย ไม่สบาย ก็เป็นเวทนา ระลึกให้ตรงต่อธรรมชาติเหล่านี้ เมื่อระลึกไป กำหนดไปเรื่อยๆ มันก็จะเปิดเผยตัวมันเอง รูป นาม มันก็จะแสดงความจริง ให้รับรู้ ให้เห็น รูป เขาก็แสดงความเสื่อมสลาย เสื่อมสลายๆ กระทบแล้วเสื่อมสลาย นามธรรม
เขาก็แสดงลักษณะธรรมชาติประจำตัวของเขา โทสะเขาก็แสดงความโกรธ มานะ เขาก็แสดงความถือตัว โลภะก็แสดงความโลภ โมหะก็แสดงลักษณะความหลง เหล่านี้ เขาจะแสดงอาการให้ปรากฏ...

....ผู้ปฏิบัติก็ระลึกสังเกตไปในจิตใจ ในอาการ ความรู้สึก และเขาก็...สภาวะธรรมเหล่านี้ก็เปิดเผยความจริงให้เห็น เห็นความเปลี่ยนแปลงเกิด ดับ เห็นสภาพที่บังคับไม่ได้ มีความไม่เที่ยง มีความตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีสภาพบังคับบัญชาไม่ได้ วิปัสสนาก็เกิดขึ้น อาศัยการที่ต้องระลึกรู้ ให้ตรงต่อรูปนามที่ปรากฏ ถ้าระลึกไม่ตรง ก็ไม่มีโอกาสได้เกิดปัญญา รู้แจ้ง ถ้าไม่เข้าใจในลักษณะของรูปของนาม หรือลักษณะของปรมัตถธรรม ก็เจริญวิปัสสนาไปไม่ถูก เพราะฉะนั้น ในฐานะที่เรามาปฏิบัติธรรม ต้องทำความเข้าใจ เรื่องวิปัสสนา หรือ วิปัสสนาจะต้องกำหนดรู้ ปรมัตถธรรมที่ปรากฏ หรือรูป นามที่ปรากฏ
ถามตัวเอง ตัวเราเองว่า...เราเข้าใจเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องปรมัตถ์ เรื่องบัญญัติ หรือยัง? ถ้ายัง ก็ต้องฟังให้รู้เรื่อง ปฏิบัติให้ถูกเรื่อง ให้ถูกต้อง

....ฉะนั้น ก็ยังมีความสับสนอยู่ ยังมีหลายท่านยังสับสน ไม่เข้าใจ อะไรเป็นสภาวะปรมัตถธรรม อะไรเป็นสมมติ บัญญัติ ต้องทำความเข้าใจ ใส่ใจ แล้วก็น้อมสังเกตพิจารณา ความจริงดู แล้ว รูปธรรม นามธรรม เป็นสภาวะ ปฏิเสธความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน แห่งความเป็นเราเป็นของเรา ความคิดก็ไม่ใช่เรา โลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มีสติ มีศรัทธา มีเมตตา มีกรุณา ก็ไม่ใช่ตัวของเรา แล้วจะเอาตรงไหนเป็นของเรา (ต่อ)....


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 04 พ.ย. 2010, 14:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ร่างกายนี้ก็เป็นรูปธรรม มีแต่ความแตกสลาย เสื่อมสลาย ไม่ใช่ตัวเราของเรา นามธรรม จิต เจตสิก ก็เป็นเพียงธรรมชาติ เป็นสภาวะธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงไปและดับไป ผู้ปฏิบัติจะต้องระลึกให้ตรงต่อรูป นาม ระลึก ก็ไม่ใช่การตรึกนึกคิดเอา การระลึกไม่ใช่คำพูด ก็เป็นสภาวะธรรมที่เข้าไปรับรู้ ไป ระลึกพิจารณาสังเกต สภาวะในตัวเอง ต้องใส่ใจ สังเกตให้ดี เวลาที่กำหนดรู้ ลงสู่ที่กาย ก็ สังเกตความรู้สึก มันต้องมีอยู่ ความเมื่อย ความเจ็บ ความหย่อน ความตึง ความร้อน ความหนาว เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่กายต้องมี สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง ก็ให้ใส่ใจสังเกตไปทั่วๆตัว แล้วก็ระลึกสังเกตสภาวะในจิตใจ เวลาที่จิตมีความคิด ก็ให้รู้ลักษณะความคิด เวลาจิตมีความปรุงแต่ง เกิดความชอบใจไม่ชอบใจ ก็ระลึกรู้ จึงเรียกว่า ได้เจริญวิปัสสนา กำหนดสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ส่วน สมมติ นั้น หมายถึง ความเป็นรูปทรง สัณฐาน รูปร่างสัณฐาน กำหนดรู้ไปที่กาย ขยายเป็นรูปร่าง นี้เป็นสมมติ เวลาเข้าสู่ปรมัตถ์จริงๆ จะต้องไม่มีรูปร่าง สัณฐาน ของ แขน ขา หน้าตา ไม่มี มีแต่สภาวะเป็นธรรมชาติ ที่มีจริงเป็นความรู้สึก เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ ชื่อ ภาษา ความหมาย เป็นบัญญัติ เรียกว่าที่มีการนึกคิด วิพากษ์ วิจารณ์ จิตจะไปสู่สมมติหมด ก็เป็นความหมายเป็นเรื่องเป็นราว เวลาสติอยู่กับปรมัตถธรรมแท้ๆ จะไม่บอกว่าอะไรเป็นอะไร
....เพราะฉะนั้น ให้เราพยายามทำความเข้าใจ รูปนามปรมัตถ์ให้ดี จะได้ทำหน้าที่ของการเจริญสติได้ถูกต้อง ซึ่ง รูป นาม ปรมัตถ์ ก็มีอยู่ ตลอดเวลา ปรากฏกันเป็นไปอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีตา ก็เห็น มีหูก็ได้ยิน ก็ระลึกรู้ไป....ฉะนั้น เวลากำหนดรู้ลงสู่กาย ถ้ารู้ด้านเดียวมันจะขยายเป็นสมมติ เป็น รูปร่าง สัณฐาน เป็นความหมายขึ้นมา จึงควรที่จะต้องระลึกรู้ ควบคู่กันไป ทั้งความรู้สึกทางกาย ทั้งความรู้สึกทางจิตใจ กำหนดไปที่กายนี่ ให้รับที่ความรู้ รับที่ความรู้สึก ถ้ามีสติสัมผัส สัมพันธ์ แทรกซึม สัมผัสถูกต้อง ไปทุกสัดส่วน สรีระร่างกาย เหมือนน้ำที่ราดลงไปในกองทราย ก็ซึมทราบ เอิบอาบไปทุกเมล็ดทราย ชุ่มฉ่ำไปทั่วถ้าน้ำนั้นมีมากพอ...(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....สติสัมปชัญญะ เหมือนน้ำที่แทรกซึมสัมผัสถูกต้องสรีระทุกส่วนในร่างกาย แต่แทรกซึมสัมผัสถูกต้องไปที่ความรู้สึก ไม่ใช่ไปที่รูปร่าง สัมผัสแทรกซึมถูกต้องไปที่ ความรู้สึก ความไหว ความตึง แข็ง อ่อน เย็น ร้อน สบาย ไม่สบาย ไม่เป็นรูปทรง แขน ขา หน้าตา อย่าให้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ...ฉะนั้น ต้องมีสติสัมผัส รับรู้ ในความรู้สึก
....แล้วก็มีหลายท่านที่ กำหนดรู้ได้เพียงทางกาย อ่านใจไม่ออก ดูใจไม่ถูก อันนี้ก็เป็นปัญหาในการปฏิบัติ จำเป็นต้องพยายาม ทำ ศึกษา พิจารณา จิตใจ ให้เป็น นักปฏิบัติวิปัสสนา กำหนดจิตใจไม่ถูก...หาใจไม่เจอนี่... มันก็ลำบาก ดูทางกายอย่างเดียว เดี๋ยวก็เป็นสมมติหมด เป็น รูปทรง สัณฐาน เป็นความหมาย ขยายเป็นมายาหมด กำหนดจิตใจได้ มันก็จะได้เป็นดุลย์ถ่วง ความรู้สึกทางกายบ้าง ความรู้สึกทางใจบ้าง รู้ใจที่คิด รู้ใจที่รู้สึก สลับสับเปลี่ยนคู่กันไป ระหว่างทางกายกับทางใจ การรู้ความจริง ก็จะสามารถทิ้งสมมติ หลุดจากความหมาย ไม่ขยายเป็นรูป ร่างก็จะหลุดจาก อำนาจของความยึดมั่นถือมั่น จิตจะได้หลุดพ้น วิมุติหลุดพ้น ด้วยการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้อง
....เพราะฉะนั้น ก็ขอให้ได้พยายามสนใจ ทำความเข้าใจ ตามที่ได้แสดงมาก็พอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ทุกท่านเทอญ.


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 04 พ.ย. 2010, 14:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2010, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุคะ อนุโมทนาคะ ท่านศรีสมบัติ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร