วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 12:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 17:11
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าพูดถึงเรื่องของ “กรรม” ตามหลักของศาสนานั้นกระผมเด็กแก่มักจะคิดแบบแปลกๆและสงสัยในความคิดของตัวเองว่าเข้าใจถูกหรือไม่ในเรื่องของ “กรรม” คือ กระผมเข้าใจว่าคนเราที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั้งที่รักษาตัวเองอยู่ที่บ้านและไปรักษาตัวตามโรงพยาบาลต่างๆนั้น บ้างก็เจ็บไข้ได้ป่วยไม่มาก เป็นไข้ เป็นหวัด ไอ จาม ปวดหัว ปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ไปจนถึงมีอาการป่วยหนัก เช่น แข้งหัก ขาหัก มะเร็ง อุบัติเหตุต่างๆ บางรายก็มีอาการป่วยหนักถึงขั้นต้องอยู่ในห้องไอ ซี ยู อยู่นานบ้างไม่นานบ้างแล้วแต่ละอาการของคนไข้นั้นๆ...................กระผมคิดว่าคนเหล่านี้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยดังกล่าวคงเป็นไปตามกรรมของใครของมัน และที่ต้องมาเจ็บป่วยนั้นก็คงมาชดใช้กรรมที่ได้กระทำมาไม่ว่าชาติไหนๆนั่นเองจึงต้องมาชดใช้กรรมกันในชาคินี้อย่างนี้ ในความคิดของกระผมจึงคิดต่อไปอีกว่าหากการเจ็บไข้ได้ป่วยดังกล่าวเป็นการชดใช้กรรมแล้ว กระผมก็คิดว่าคนเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องไปรักษาที่ไหนๆก็ได้หากปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้นจะได้ชดใช้กรรมให้หมดไป บางรายหากชดใช้กรรมหมดแล้วอาการเจ็บไข้ได้ป่วยก็คงหายไปเองเพราะหมดกรรมแล้วผมคิดอย่างนั้นไม่ทราบว่าคิดถูกหรือคิดผิดหรือเปล่า บางรายอาจมีกรรมมากอาจถึงตายไปก็ถือว่าได้ชดใช้กรรมหมดไปแล้ว หรือว่าบางรายหากตายไปแล้วยังใช้กรรมไม่หมดถึงตายไปแล้วก็ตามก็อาจตามไปชดใช้ในชาติต่อๆไปอีกจนกว่าจะหมดกรรมกัน(กระผมเข้าใจอย่างนี้) ส่วนในกรณีที่ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลโดยมีนายแพทย์เป็นผู้รักษาอาการป่วยนั้น กระผมก็คิดต่ออีกว่านายแพทย์ก็เกิดมาชดใช้กรรมอีกเช่นกัน อาจมีกรรมต่อกันกับคนไข้ในชาติใดชาติหนึ่ง จึงทำให้นายแพทย์ท่านต้องเกิดมาเป็นแพทย์ตามมารักษาคนไข้คนนั้นให้หายหรืออาจไม่หายจากอาการเจ็บไข้ได้............. กระบวนการในความคิดของกระผมที่คิดแปลกๆเอาเองและเข้าใจเอาเองแต่ต้นทั้งหมดนั้นกระผมคิดว่ามันเป็นผลจาก “กรรม”ทั้งนั้น ที่ทั้งคนป่วย ทั้งนายแพทย์ต้องมาพบเจอกันและมาชดใช้กรรมร่วมกัน ความคิดและความเข้าใจที่แปลกๆของกระผมที่อาจไม่เหมือนใครเรื่องของ “กรรม” ดังกล่าวแต่ต้นนั้นไม่ทราบว่ากระผมคิดถูกต้องหรือไม่ครับ ........กระผมมาศึกษาธรรมะครับหากเข้าใจผิด-ถูกอย่างไรช่วยเมตตาชี้แนะให้ความรู้ด้วยครับ ขอขอบคุณครับ......(และขอโทษด้วยครับที่กระทู้นี้ยาวเกินไปครับ )






__________


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21463


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่เราได้ศึกษาและเข้าใจนะ

นิยาม 5 [ กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ ]

1. อุตุนิยาม [ กฎธรรมชาติวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด เกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฎการ์ณธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์]

2. พีชนิยาม [กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เกี่ยวกับการสืบพันธ์ มีพันธุ์กรรมเป็นต้น ]

3. จิตตนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต ]

4. กรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของกระทำ ]

5. ธรรมนิยาม [ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุม ความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎ 4 ข้อข้างต้นสรุปรวมลงในข้อสุดท้ายนี้ ]

พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ แต่ไม่ทรงสอนทั้งหมด พระองค์ทรงสอนธรรมนิยามเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับจิตตนิยามและและกรรมนิยาม เท่านั้น

อาการป่วยต่างๆของคนไข้ที่คุณว่า จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่กรรมเก่าอย่างเดียวหรอกคะ กรรมใหม่ๆที่เราก่อขึ้นทุกวันๆ ในชาตินี้ก็ก่อใ้ห้เกิดโรคได้ อย่างเช่น เรากินอาหารสุกๆดิบๆบ่อยๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อพยาธิค่ะ หรือ การที่เรามีคุณพ่อคุณแม่เป็นเบาหวานก็ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเช่นกัน แต่กรรมเก่าก็อาจก่อให้เกิดโรคได้เหมือนกันน้าคะ^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากกฎธรรมชาติทั้ง 5 ข้างต้นที่คุณbuddha's student ยกมากล่าวไว้
จะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก ไม่ได้เกิดจากกฎแห่งกรรมเท่านั้น
แต่เป็นไปได้ว่ากฎทั้ง5 ข้อ อาจเกิดขึ้นในจังหวะที่เหมาะสมสอดคล้องซึ่งกันและกันได้

ดังนั้น โรคภัยต่างๆไม่ใช่ผลที่เกิดจากกรรมทั้งหมด
บางโรคเป็นผลจากอุตุนิยาม เช่น ลม ฟ้า อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เป็นไข้หวัด
บางโรคก็เกิดจากธรรมนิยาม ตามกฎธรรมชาติ เช่น แก่แล้วหลงลืม
กฎทั้ง 5 ล้วนสัมพันธ์กัน เช่น โรคเอดส์เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติตามกฎพีชนิยาม
แต่เมื่อมนุษย์เสื่อมจากศีลธรรม โรคระบาดจึงเป็นผลตามมา
หรือการทำลายป่า ทำให้เกิดน้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นผลจากกรรมนิยามที่สะท้อนมาจากพีชนิยาม
ปรากฏการณ์เกิดสึนามิเป็นอุตุนิยาม แต่เมื่อมีคนตายจำนวนมาก เกิดความเศร้าสลด
เป็นจิตนิยามที่สะท้อนมาจากอุตุนิยาม

การเจ็บป่วยที่มีเหตุมาจากอกุศลกรรรม ที่คนไข้ได้ก่อไว้กับผู้อื่นสัตว์อื่น
เมื่อกรรมให้ผลเป็นการเจ็บป่วย คนไข้ต้องชดใช้หนี้เวรกรรม จนกว่าอกุศลวิบากนั้นหมดไป
เขาจึงจะหายจากการเจ็บป่วยได้ ดังนั้นแพทย์ผู้ให้การรักษาคนไข้จึงเป็นผู้ไปร่วมวงจรกรรมของเขา
ที่ผูกเวรกัน แพทย์จึงต้องมีส่วนรับอกุศลวิบากกับคนไข้ด้วย - ดร.สนอง วรอุไร

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 17:11
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน "จันทร์ ณ ฟ้า เขียนว่า...

ดังนั้น โรคภัยต่างๆไม่ใช่ผลที่เกิดจากกรรมทั้งหมด
บางโรคเป็นผลจากอุตุนิยาม เช่น ลม ฟ้า อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เป็นไข้หวัด
บางโรคก็เกิดจากธรรมนิยาม ตามกฎธรรมชาติ เช่น แก่แล้วหลงลืม
กฎทั้ง 5 ล้วนสัมพันธ์กัน เช่น โรคเอดส์เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติตามกฎพีชนิยาม
แต่เมื่อมนุษย์เสื่อมจากศีลธรรม โรคระบาดจึงเป็นผลตามมา
หรือการทำลายป่า ทำให้เกิดน้ำท่วม ฝนแล้ง เป็นผลจากกรรมนิยามที่สะท้อนมาจากพีชนิยาม
ปรากฏการณ์เกิดสึนามิเป็นอุตุนิยาม แต่เมื่อมีคนตายจำนวนมาก เกิดความเศร้าสลด
เป็นจิตนิยามที่สะท้อนมาจากอุตุนิยาม
-----------------------------------------------------------------------------------

ในใจของกระผมก้ยังคิดอยู่ว่าทุกอย่างที่คนเราเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆนา นา นั้นเป็นผลมาจากกรรมของผู้นั้นอยู่ดี อย่างท่าน"จันทร์ ณ ฟ้า "ท่านบอกว่าบางโรคไม่ไม่ใช่ผลที่เกิดจาดกรรม เช่น เป็นไข้หวัดเกิดจากสภาพลม ฟ้า อากาศ กระผมกลับคิดว่าก็เป็นเพราะกรรมของเขาที่ทำให้เขาต้องมารับสภาพอากาศอย่างนั้นจึงทำให้เขาต้องเป็นหวัดแล้วในเมื่อคนอื่นที่อยู่แห่งเดียวกันทำไมไม่เป็นหวัดเหมือนกับเขา กระผมคิดอย่างนี้ไม่ทราบว่าคิดถูกหรือไม่ครับ กระผมต้องขอโทษท่าน "จันทร์ ณ ฟ้า " ด้วยครับกระผมไม่ได้มาแย้งท่านแต่ หากเป็นการแย้งหรือถกกันก็เพื่อหาข้อสรุปทางธรรมที่ถูกต้องที่กระอยากรู้เท่านั้นครับ แต่ความรู้สึก ความเข้าใจของกระผมยังคิดว่าเป็นผลมาจากกรรมอยู่ดีครับ กระผมเข้าใจผิดถูกอย่างไรช่วยเมตตาให้ความกระจ่างด้วยครับ ขอขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ม.ต้น เขียน:
กระผมกลับคิดว่าก็เป็นเพราะกรรมของเขาที่ทำให้เขาต้องมารับสภาพอากาศอย่างนั้นจึงทำให้เขาต้องเป็นหวัดแล้วในเมื่อคนอื่นที่อยู่แห่งเดียวกันทำไมไม่เป็นหวัดเหมือนกับเขา

คุณ ม.ต้น มีความเข้าใจเรื่องกรรมถูกต้อง ครับ
ทุกอย่างแล้วแต่เหตุและปัจจัย...กฏอิทัปปัจจยตา..มีสิ่งนี้เกิดสิ่งนั้นจึงเกิด
พระท่านบอก....บางครั้ง อย่าต้องทุกข์โศก เร่าร้อน เพราะการกระทำ ไปเสียตะพึด, รู้จักเห็นเป็นของธรรมดาไปเสียบ้าง ในการป่วยไข้...อุบัติเหตุก็ตาม...ตามปรกติก็ตาม...แม้ที่สุด แฟนทรยศหักหลัง..อกหักเสียใจยังไง ไม่เห็นจะต้องถึงกับกินยาตาย....รู้จักปล่อยวาง..เฉย..หรือรู้จักให้อภัย
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อาจจะแสลงใจหน่อย ถ้าจะบอกว่า... สิ่งที่ว่ามานะ เข้าข่าย ลัทธิกรรมเก่า คือเชื่อว่า ทุกอย่างนั้นล้วนเกิดจากกรรมเก่า

อาการเจ็บป่วยมันเกิดได้จากหลายสิ่ง ไม่มีอะไรในธรรมชาติ ที่ Fix สาเหตุอยู่ที่สิ่งเดียว...
ถ้าจะมองในเรื่องกรรมจากอดึต มันจะก็พอจะมีสิ่งบ่งชี้ได้บางอย่างนะ (แต่ควรจะตั้งเป็นข้อสังเกตเท่านั้น) เช่น อาการป่วยที่ไม่น่าจะเกิด ป่วยอย่างไม่มีสาเหตุ เรื้อรังอย่างไม่มีเหตุผล... การรักษาที่น่าจะหาย แต่ไม่หาย หรือการรักษาที่อับจนวิธีแล้ว แต่ดันหาย

ว่าง่ายๆ คือ การเจ็บป่วยที่ไม่มี เหตุ หรือมี แต่ไม่เพียงพอ ตามหลักกฎแห่งกรรมแล้ว ทุกสิ่งล้วนมีเหตุเสมอ ถ้าเหตุไม่มีในปัจจุบัน ก็อาจมองได้ว่า น่าจะมีเหตุจากอดีต นั่นคือ วิบากกรรม

หมอที่รักษา เป็นผู้ร่วมวิบากกรรม (เก่า) หรือไม่... ก็ไม่เสมอไป ถ้าเป็นการรักษาทั่วไป รักษาแล้วจบ แต่น่าจะเป็นผู้ร่วมวิบาก หากเกิดกรณีพิเศษอื่นๆ เช่น หมอผ่าตัด (รวมพยาบาลอีกหลายคน) ดันตาฝ้าฟางพร้อมๆ กัน ลืมมีดผ่าตัดไว้ในท้อง :b6: :b6: :b6:


ในเรื่องอื่นๆ ก็มักเป็นเรื่องประจวบเหมาะ เช่น กรณีอุบัติเหตุ ซึ่งตอนนี้เราค่อนข้างเชื่อว่า อุบัติเหตุไม่มีจริง
ผู้ร่วมในอุบัติเหตุนั้น จะพาตัวเอง หรือมีสิ่งที่จะพาเขาเข้าไปในเหตุการณ์นั้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...
จริงๆ แล้ว การเชื่อว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องบังเอิญ ก็ขัดหลักเหตุและผลอยู่นะ


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 28 มิ.ย. 2010, 20:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2010, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมทั้งหลายล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อมีเหตุย่อมมีผล
แต่เหตุของโรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่เกิดจากวิบากกรรมเสมอไปค่ะ

พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 16
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สจิตตวรรค
อาพาธสูตร

...ดูกรอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ
โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก
โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง
โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก
โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด
โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้ ด้วย
ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ นี้เรียกว่าอาทีนวสัญญา ฯ...

ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนานั้น พระองค์ทรงได้ตรัส
ไว้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บว่า เกิดมาจากสาเหตุ 8 ประการใหญ่ๆ คือ

1. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน
2. อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
3. อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน
4. อาพาธมีไข้สันนิบาต
5. อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน
6. อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ
7. อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง
8. อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม

สาเหตุแห่งโรค 4 ประการแรก
การรู้จักระมัดระวังและรู้ประมาณในการใช้สอยปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย
เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องประคับประคอง
ให้ชีวิตดำเนินไปได้อย่างราบรื่น หากบริโภคหรือใช้สอยไม่ถูกวัตถุประสงค์ ไม่ถูกวิธี หรือไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค ก็จะเป็นสาเหตุที่จะนำโรคภัยไข้เจ็บมาสู่ตัวเราได้
เช่น ในขั้นต้นก็อาจทำให้มีอาการดีผิดปกติให้โทษบ้าง เสมหะผิดปกติให้โทษบ้าง
ลมในตัวทั้งที่หายใจเข้า หายใจออก ทั้งในกระเพาะอาหาร ในลำไส้ ในอวัยวะต่างๆ ผิดปกติให้โทษ
บ้างเป็นครั้งคราว เมื่อปล่อยปละละเลยไม่สนใจที่จะค้นหาสาเหตุให้พบว่า
อาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เหล่านั้น มันเกิดจากความประมาทพลั้งเผลอในการใช้สอยปัจจัย 4
อย่างไหนกันแน่ ในไม่ช้าก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง และมีอาการแทรกซ้อน
จากความผิดปกติให้โทษประการหนึ่งนำไปสู่อีกประการหนึ่ง โทษพร้อมกัน
คนในสังคมปัจจุบันจำนวนมากที่ยังขาดความระมัดระวังในการใช้สอยปัจจัย 4
ขาดความเอาใจใส่ดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายกับตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากไม่อยากให้โรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับตนมากก็ต้องดำเนินชีวิตด้วยสติ ไม่ประมาท รู้จักเลือกกินอาหาร ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม และใช้ยารักษาโรคอย่างถูกวิธี
พอเหมาะพอดีกับโรคที่ตนเป็นก็จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บน้อย

เหตุของการเกิดโรคประการที่ 5 คือ โรคเกิดแต่ฤดูแปรปรวนนั้น
อาจจะเกิดขึ้นจากการที่คนเราไม่ค่อยสนใจที่จะศึกษาธรรมชาติของร่างกายตนเองให้มากพอ
มีความประมาทไม่รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่ระมัดระวังในการใช้สอยปัจจัย 4
ให้เหมาะสมในเวลาที่ฤดูแปรปรวน เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมา

เหตุของการเกิดโรคประการที่ 6 คือ โรคเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอนั้น
หมายความว่าหากไม่เปลี่ยนอิริยาบถเลย ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้
เพราะตามปกติร่างกายของคนเราจะต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
หากปล่อยไว้ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานๆ ก็จะเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมา

เหตุของการเกิดโรคประการที่ 7 คือ โรคที่เกิดจากความเพียรเกินกำลังนั้น
ท่านมักจะหมายถึงผู้ที่มีความเพียรมากต้องการที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
จึงทำความเพียรอย่างเต็มที่ ด้วยการปฏิบัติอย่างหักโหม เพื่อหวังจะกำจัดกิเลสได้ในเวลา
อันสั้น ร่างกายที่ถูกใช้จนเกินไป จึงอาจเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
หากจะทำอะไรจึงต้องทำแต่พอเหมาะพอดี ร่างกายก็จะเป็นสุข จิตใจก็จะเป็นสุขไปด้วย

เหตุของการเกิดโรคประการที่ 8 คือ โรคเกิดแต่วิบากกรรมนั้น
หมายถึงโรคอันเกิดแต่ผลของกรรมชั่วในอดีตที่เราเคยกระทำไว้ ซึ่งไม่รู้ว่าเคยทำไว้ใน
ภพชาติไหนบ้าง แต่มันมาให้ผลในชาตินี้ สาเหตุของการเกิดโรคประการที่ 8 นี้
หมอทั่วไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ไม่สามารถที่จะวินิจฉัยได้ ไม่สามารถใช้เครื่องมือ
ทางการแพทย์ตรวจหาสาเหตุได้ ผู้ที่จะทราบสาเหตุของโรคประเภทนี้จะต้องปฏิบัติธรรม
จนสามารถมีญาณระลึกชาติต่างๆในอดีตได้ แต่การจะกระทำอย่างนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก
โรคที่เกิดจากกรรมนี้เป็นสิ่งที่รักษาไม่หายตามวิธีการของแพทย์ มีเพียงทางเดียวที่จะทำให้ผลแห่งกรรมชั่วทุเลาเบาบางลงไปได้คือการทำความดีเพิ่มให้มากขึ้นด้วยการปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


แก้ไขล่าสุดโดย จันทร์ ณ ฟ้า เมื่อ 28 มิ.ย. 2010, 23:53, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


บางพวกว่า ทุกข์เพราะกรรมเก่าแต่อย่างเดียว
บางคนว่า ทุกข์เพราะเทพลิขิต
บางคนว่า ทุกข์เพราะเหตุบังเอิญอย่างเดียว

พระพุทธองค์เลย ชี้เอาว่าทุกอย่าง ก็ต้องผ่าน ผัสสะ

ไม่ว่าจะเพราะบังเอิญ เพราะกรรมเก่า เพราะเทพลิขิต ก็ล้วนแล้วต้อง ผัสสะก่อน

เพราะ

วิบากกรรมเก่า ให้เกิด ผัสสะ ให้เกิด เวทนา ให้เกิด ตัณหา ให้เกิด อุปาทาน ให้เกิด การกระทำกรรมใหม่

ผัสสะ เกิดตลอดเวลา ยกเว้นเวลานอนหลับไม่ฝัน

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 16:40
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนครับ อาจจะอธิบายเป็นการพูดหรือการพิมพ์แล้วจะเป็นการอธิบายที่ยาวนาน บางที่อาจจะการเป็นงูกินหาง คือวกไปวนมา
ถ้าจะให้สรุป ก็ไม่ต่างอะไรจากท่านทั้งหลายที่กล่าวมา
คือ มนุษย์มีกรรมเป็นทายาท และเป็นทายาทของกรรม

คุณ ม.ต้น ก็อาจจะคิดมากไปให้วุ่นวายจิต ก็ขอให้คิดซะว่าทำดีที่สุดก็พอแล้ว สิ่งไหนแก้ได้ก็แก้ไขให้ดีที่สุด
สิ่งใดแก้ไม่ไหวเกินกำลังก็ควรทำใจให้สบายละไว้แล้วเริ่มต้นใหม่
.................
ความคิดส่วนตัวเรื่อง โรคภัยไข้เจ็บ ที่บอกว่าเป็นกรรม ต้องแยกแยะ กรรมใหม่ กรรมเก่า กรรมปัจจุบัน กรรมโดยบังเอิญ(หรือเรียกว่าซวย) มันเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น แต่เราสิแยกไม่ได้เพราะไม่รู้ เพราะบางที่มันก็บังเอิญ
บางทีมันก็กรรมเก่าจริงๆ มันเกินวิสัยของคนธรรมดาที่จะยั่งถึงในเรื่องนี้

ธรรมทั้งหลายล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อมีเหตุย่อมมีผล
แต่เหตุของโรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่เกิดจากวิบากกรรมเสมอไปค่ะ
ประโยคนี้ละถูกแท้แน่นอน


ถือว่าเล็กน้อยอย่าไปคิดมากเลย คิดซะว่าลมเพลมพัด
เช่นเป็นหวัดถ้าคิดว่ามันมาจากกรรมแล้วก็ขออโหสิกรรมไปละกันจะได้หายเร็วๆ
แต่ถ้าคนไหนไม่คิดว่าเป็นกรรมก็ คิดซะว่า แม้พระพิรุณท่านปล่อยผิดที่ บังเอิญมาโดนเรา

เหตุการณ์ข้างหน้ากำหนดไม่ได้ แต่ใช้สติแก้ไขได้
เมื่อรู้ว่าฝนตกจะไปยืนตากฝนให้เป็นหวัดทำไม
เมื่อรู้ว่าสารเหล่านั้นก่อมะเร็งจะไปกินใส่ปากทำไม
เมื่อรู้ว่าเหล้าทำให้ขาดสติ แล้วจะไปดื่มทำไม

สิ่งนี้แหละ ที่เป็นคำถามว่าทำไม เป็นผลของกรรมไหมถ้ากระทำลงไปเอง ลองคิดดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2010, 20:26
โพสต์: 7


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านมากๆแล้วชักปวกหัวแฮะ +~+

อันนี้ผมขอเสนอความคิดเห็นตามธรรมะนิยาย ของ "สุทัสสา อ่อนค้อม" (นามปากกา)
ซึ่งอ้างอิงประวัติของ หลวงพ่อจรัญฯ
และคอยแทรกหลักธรรม

ผมขอสรุปเองว่า
เรื่องกรรมนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เราคาดคะเนได้ แต่ไม่ 100%
การเจ็บป่วยนั้น อาจจะเป็นกรรมเก่าของบุคคลนั้นๆจริง
บางอย่างก็หายได้เอง เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด (กินยา นอนพักเยอะๆ ก็หายเองได้)
แต่บางอย่างก็คงต้องพึ่งหมอ
เพียงแต่กรรมเก่าทำให้บุคคลนั้นยังไม่พบหมอที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ผมขอยกตัวอย่างซักอัน
ถ้า นายเอ ถูกคนเอาดาบฟันจนแขนห้อยจะขาดมิขาดแหล่
ถ้า นายเอ คิดว่าเป็นกรรมเก่าอย่างที่คุณคิด จะปล่อยมันไว้อย่างนั้นรึ????
แล้วจะกลับมาต่อเองได้รึ???? ผมว่า ตายก่อนแน่ๆ (ฮา)
ถ้า นายเอ ได้สร้างกรรมดี ไว้มากพอ
ก็อาจจะทำให้ มีคนพาเขาส่งโรงพยาบาล มีหมอที่รักษาเขาจนหายเกือบเป็นปกติ
เพราะ มนุษย์มักทำทั้ง กรรมขาว(ดี) และ กรรมดำ (ชั่ว) สลับกันไป
บางครั้ง กรรมขาว ก็ช่วยให้ผลของกรรมดำ ลดไปได้บ้าง แต่ไม่มีทางหมดจนกว่าจะชดใช้

แต่ในความจริง
ผมเชื่อว่า ไม่มีคนในเว็บนี้ รู้เรื่อง "กรรม" อย่างละเอียดซักคน
เพราะรู้จากการอ่านเป็นส่วนใหญ่ คำบอกเล่าบ้าง คิดเอาเองบ้าง

แต่ "ผลแห่งกรรม" ที่แท้จริง เป็นอย่างไร
"กรรมจัดสรร" ทำงานอย่างไร
มนุษย์ปุตุชน คนเดินดินอย่างเราๆ ที่ปฏิบัติยังไม่ถึงขั้น (ขั้นไหนก็ไม่รู้ เพราะผมก็ไม่รู้)
คงไม่มีทางเข้าถึง

ดังนั้น อย่าไปนึกว่าจะเข้าใจเรื่องกรรมอย่างละเอียดเลยครับ
แค่เรารู้และแยกแยะได้ว่า อันไหนเป็น "กรรมขาว"(กรรมดี) อันไหนเป็น "กรรมดำ"(กรรมชั่ว)
ก็เพียงพอที่เราจะปฏิบัติกันแล้ว
คิดมากปวดหัวเปล่าๆครับ

สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2010, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรื่องที่ไม่สามารถรู้ได้ทะลุปรุโปร่งคือ
เรื่อง วิสัยพระพุทธเจ้า(ความสามารถของพระพุทธเจ้า)
วิสัยของฌาน(ความสามารถของฌาน)
เรื่องวิบากกรรม
เรื่องโลกจินดา(เรื่องภพภูมิต่างๆ รายละเอียดเกี่ยวกับจักรวาล โลก)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2010, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ น้อง ม.ต้น
เรื่อง "วิบากของกรรม" นั้นเป็นอจินไตย (สิ่งที่ไม่ควรคิด) เป็นสิ่งที่พระพุทธโคดมไม่ทรงตอบค่ะ
พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่อง การทำ "เหตุ" ให้ถูกตรง "ผล" ย่อมถูกตรงเช่นกัน
คำว่า "กรรม" เป็นคำกลาง ๆ หมายถึง "การกระทำ" ดังนั้น กระทำเหตุเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น
ผลจากการกระทำ บางอย่างให้ผลทันที บางอย่างให้ผลช้า บางอย่างอาจจะให้ผลชาติหน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย ตัวอย่างเช่น คุณสอบตก เหตุเพราะคุณไม่อ่านหนังสือ หรือคุณขับรถไปชนคันอื่น เหตุเกิดเพราะคุณขับเร็วเกินไปหรือประมาท หรือคุณได้รับอุบัติเหตุตกบรรไดขาหัก เหตุเพราะคุณขาดความระมัดระวัง เป็นต้น นี่เป็นเหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงสอนเพื่อให้เรา รู้ "เหตุ" และ "ผล" จากการกระทำเพื่อที่เราจะได้รู้จักแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเองด้วยสติปัญญา ท่านไม่ได้สอนให้ยอมจำนนท์ต่อกฏแห่งกรรม โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
ดังนั้น มนุษย์จึงเกิดมาเพื่อ -เสวยกรรมเก่าทั้งกุศลและอกุศลวิบาก
-มาสร้างกรรมใหม่ทั้งที่ดีและไม่ดี
-ปรับปรุงแก้ไขสิ่งผิดพลาดในชีวิต
-มาเรียนรู้ชีวิตและพัฒนาปัญญา
มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อใช้กรรมเก่าเพียงอย่างเดียวหรือปล่อยให้ชีวิตเป็นไปตามยถากรรมเท่านั้น...

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ก้ถูกต้องอย่างที่คนอื่นๆตอบมาว่าคิดถูกต้อง :b42:
แต่คำว่ากรรม เป้นคำกลาง อาจเป็นกรรมขาว หรือกรรมดำก้เปนได้ทั้งนั้น
ซึ่งหลักของกรรมจะให้ผลโดยสมบูรณ์ต้องมีเจตนาระบุลงไปด้วย ถึงจะมีเหตุและผลของ
กรรมมาตามลำดับที่เรียกติดปากว่า "แล้วแต่เหตุปัจจัย" คือกรรมจะเกิดได้ต้องอาศัย
เจตนาเป็นหลัก ถึงจะเกิดเป็นถ้าทางกุศล คิดดี พูดดี ทำดี ในทางอกุศลก้คิดไม่ดี พูดไม่ดี
และทำไม่ดี

เจตนาที่ว่ามีอยู่ 3 อย่าง :b41:
คือ เจตนาก่อนกระทำหนึ่ง เจตนาขณะกระทำหนึ่ง และสุดท้ายเจตนาหลังจากได้ทำกรรมไปแล้ว

ถึงจะเรียกได้ว่าครอบคลุมในเรื่องของกรรมที่ว่าไว้อย่างสมบูรณ์ :b39:

ยิ่งในบทสวดทำวัตรเช้า-เย็น ได้อธิบายเรือ่งของกรรมไว้อย่างชัดเจน สามารถน้อมนำให้เชื่อและ
รู้ซึ้งถึงเรื่องกฏแห่งกรรมยิ่งขึ้นไป มีใจความดังนี้"เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ให้ผล เราทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่วเป็นบุญหรือเป็นบาป เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น.."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร