วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2010, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองมองอีกแบบหนึ่งนะค่ะ

การผิดศีลข้อสามนี่ โอกาสที่จะไปสุคติน้อยมาก คนสองคนทำให้เราเจ็บปวด
เบียดเบียนเราให้ช้ำใจ เป็นการทำกรรมที่ไม่ดี ผลของกรรมที่เขาจะได้เกินคำบรรยาย

มองว่าตอนนี้พวกเขากำลังสะสมกรรมที่ไม่ดี กรรมที่ทำให้พวกเขาไปทุคติ
มองอย่างนี้แทนที่เราจะทุกข์จะโศก เราจะเกิดความเมตตา เกิดความสงสาร
เกิดความเวทนาพวกเขาขึ้นมาแทน

ใจก็จะเย็นจะสงบขึ้น แต่ไม่ทราบว่าจะถูกกับจริตของใครบ้างหรือไม่
ฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับการหาทางออกอีกทางหนึ่งคะ ขอทุกท่าน
พ้นเคราะห์พ้นโศกโดยไว


:b12:


แก้ไขล่าสุดโดย I am เมื่อ 04 พ.ย. 2010, 12:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ต.ค. 2010, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นี่มาพูดเรื่องกรรม ถามว่ารู้จักกรรม รู้จักผลของกรรมหรือไม่?

กรรม คือ การกระทำ
ผลของการกระทำ คือ ผลของกรรม

กรรมมีสอง กรรมดี กรรมชั่วและผลของกรรมก็มีสอง ผลของกรรมดี ผลของกรรมชั่ว
ถามว่า เคยยอมรับว่ากรรมมีจริง การให้ผลของกรรมมีจริงหรือไม่? ยอมรับ .. ยอมรับแค่ไหน?

เมื่อผลของกรรมดีให้ผล มีลาภ มียศ มีสุข มีสรรเสริญ ก็ยอมรับว่าตนเองต้องเคยทำกรรมดีมาก่อน
แม้คนรอบข้างก็ชื่นชมว่า เป็นคนมีบุญ มีอำนาจวาสนา เพราะเคยทำกรรมดีมาก่อน ตนเองก็หน้าชื่นตาบาน

แต่เมื่อผลกรรมชั่วให้ผล เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เกิดทุกข์ ถูกนินทา กลับไม่ยอมรับผลของกรรม
ไม่ยอมรับว่าตนเองทำกรรมชั่วนั้นมาก่อน แม้นในอดีตหรือปัจจุบัน

เมื่อยอมรับเฉพาะกรรมดี ผลของกรรมดี ยอมรับว่าตนกระทำกรรมดีไว้ในอดีตไม่ยอมรับกรรมชั่ว ผลของกรรมชั่ว ไม่ยอมรับว่าตนเองทำกรรมชั่วกรรมไม่ดีมาก่อนในอดีต สิ่งที่ทำก็คือโทษคนรอบข้าง โทษคนรัก โทษลูก โทษแม้บุพการีอันเป็นผู้มีพระคุณ หรือแม้แต่ทำร้ายสิ่งของ ทำร้ายตนเอง ทำร้ายลูกและคนรอบข้าง

เมื่อเป็นอย่างนี้การแก้ทุกข์ ทำได้ยาก ยากมาก ยิ่งคนมีทิฏฐิกล้ามานะแข็ง อย่าลืมว่าตนเองเกิดมาแล้วนับภพชาติไม่ได้ต้องเคยทำทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีไว้มากมาย การยอมรับกรรม รับผลของกรรม ต้องยอมรับทั้งสองฝ่าย ไม่เลือกรับเฉพาะที่ตนชอบใจ

หากคิดแต่ว่าตนเป็นคนดี ทั้งอดีตและปัจจุบันล้วนแต่กระทำกรรมดีไว้ทั้งนั้นไม่เคยกระทำความชั่ว ไม่เคยฆ่าสัตว์ ไม่เคยลักทรัพย์ ไม่เคยยิ่งชิงของรักของหวงใคร ไม่เคยโกหกไม่เคยดื่มสุราเมรัยเป็นโทษ

เมื่อไม่ยอมรับผลของกรรมไม่ดีนี้ เกิดจากความไม่ดีของตน การแก้ทุกข์ก็ไม่ตรงจุด ไม่ตรงเหตุ ยิ่งแก้ก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งยุ่ง เหมือนช้างติดล่ม ยิ่งดิ้นก็ยิ่งจม ในที่สุดก็จมอยู่กับทุกข์ ตายอยู่กับทุกข์

เมื่อยอมรับกรรมทั้งสองด้าน การแก้ไขไม่ยากเลย ศาสนาพุทธสอนให้มองหาเหตุ ดับเหตุเสีย ทุกข์ก็ดับไป อยากพ้นทุกข์จริงหรือพูดแต่ปาก หรือว่าเมื่อคนรักหวนคืน ความทุกข์นั้นก็คลายไปเอง?

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การโทษกรรม การพิจารณากรรมให้เป็นคุณ
พิจารณาว่า ตอนนี้เราเป็นทุกข์เพราะอะไร?

เพราะเขาทำร้ายเรา เบียดเบียนเรา แย่งของรักของหวงของเรา ถามว่าใครทำ
เขาทำหรือเราทำ กรรมไม่ดีนี้เขาทำ แม้เราจะเป็นทุกข์เดือดร้อนเพราะเขากระทำ
แต่กรรมที่เขากระทำ ก็เป็นกรรมของเขาเองไม่ใช่กรรมของเรา

แล้วย้อนมาดูตนว่า ตนกระทำกรรมอันใดอันหนึ่งที่เป็นกรรมชั่ว
แต่ว่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อนในอดีตหรือในปัจจุบันบ้างก็ได้

คิดอย่างนี้ ก็ควรอโหสิกรรมกันไป การโทษกรรมนี้ จะได้ไม่โทษคนอื่นสิ่งอื่น
ไม่เป็นการทำลายตน ทำร้ายผู้หรือสิ่งอื่นให้เป็นการก่อกรรมเพิ่มเติมขึ้นไปอีก

การใช้กรรม เหมือนการใช้หนี้ การหลีกเลี่ยงและการก่อหนี้เพิ่ม ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง
การยอมรับกรรมและการอโหสิกรรมนี่ยากไหม ยาก ยากมากด้วย แต่ก็ไม่พ้นความพยายาม
ไม่พ้นขันติความอดทน

เอาใจฝากไว้กับคนอื่น อาศัยผู้อื่นหรือฝากไว้กับคนรัก เมื่อคนรักหรือคนอื่นเปลี่ยนไป
ย่อมไม่สบายใจ ย่อมเป็นทุกข์ร่ำไป


ทำอย่างไร จึงจะเอาใจตนกลับมาอยู่กับตนได้?


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2010, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:02
โพสต์: 129

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณค่ะสำหรับธรรมดีๆที่แบ่งปันกัน เข้ากับความทุกข์ที่ดิฉันมีพอดี

.....................................................
ชีวิตที่เหลือ ขออยู่เพื่อธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมนุษย์นี้ไซ้ร ยากแท้หยั่งถึง

การเอาจิตใจไปฝากไว้หรือเอาไปผูกไว้กับคนอื่น เมื่อพฤติกรรมเขาเปลี่ยนไป
มีหรือที่เราจะไม่ทุกข์และหากยังวนเวียนคิดอยู่แต่ว่า :--

- เขาเปลี่ยนไปแล้ว ไม่เหมือนเดิมแล้ว
- เขาทำอย่างนี้กับเราได้อย่างไร ไม่เห็นแก่ลูกหรือไร
- เขาเป็นอื่นแล้ว เขาไปรักคนอื่นแล้ว ไม่รักเราแล้ว ฯลฯ


การคิดอย่างนี้ไม่ใช่การคิดออกจากทุกข์ ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ไม่ทำให้จิตใจสบายขึ้นแต่อย่างใด
แต่เป็นการคิดให้ทุกข์เพิ่มขึ้น ให้โทษแก่จิตใจผู้คิดอย่างยิ่ง เป็นโทษสถานเดียวด้วย


ให้พิจารณาว่าเราต้องการสุขหรือทุกข์ ถ้าต้องการสุขก็ให้ระงับความคิดที่เป็นทุกข์นี้เสีย เพราะความทุกข์เกิดจากความคิด เกิดจากใจ มีสติควบคุมความคิดให้ได้ อย่าให้ฟุ้งซ่านในทางที่เป็นโทษ อย่าคิดแต่เรื่องที่ทำให้ตนเองเกิดทุกข์

การเปลี่ยนใจของคนรัก มักก่อให้เกิดความทุกข์เศร้าโศกเสียใจ แค้นเคืองเป็นอันมาก บางคนยังใช้ความคิดไปในทางที่ผิด เพิ่มความรู้สึกหรืออารมณ์ให้รุนแรงยิ่งขึ้น โดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่สมควรและนำมาซึ่งสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การคิดสั้นทำร้ายตน ทำร้ายคนอันเป็นที่รัก ฯลฯ ซึ่งเรียกว่า "ขาดสติ"

เหตุนั้นต้องฝึกสติ เจริญสติเพื่อควบคุมจิตใจ ให้จิตใจนั้นกลับมาอยู่กับตน ใช้สติควบคุมความคิด
ให้คิดแต่เรื่องที่เป็นคุณเป็นประโยชน์กับตน บรรเทาทุกข์ที่ตนได้รับอยู่นี้ให้ผ่อนคลายลง

การฝึกสติ เจริญสติ ทำอย่างไร?

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 11:50
โพสต์: 283

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความของคุณนิดหนึ่งดีมากเลยคะ ทำให้สบายใจขึ้นเวลาที่อ่านคะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2010, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยสังเกตุมั้ยว่า คนใกล้ตัวที่เราเอาใจไปฝากไว้ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง คนรัก พ่อแม่ เพื่อน มักเดือดร้อนจากการที่เราเอาใจไปฝากเขาด้วย เพราะเราเอาใจไปฝากเขาพร้อมกับความคาดหวังที่สูง เช่นถ้าเป็นคนอื่นเวลาเราหิวข้าว ซื้อข้าวมาให้ เราจะขอบคุณและซึ้งใจกับเขาเป็นพิเศษ แต่คนข้างๆตัวทั้งหลาย เอาข้าวมาให้ทุกวัน ความรู้สึกก็งั้นๆ แต่ถ้าวันไหนไม่เตรียมข้าวให้ ความโกรธจะทวีคูณ

ใจเราฝากไว้กับคนอื่น ก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจพบกับทุกข์ที่เกิดจากใจซึ่งเราสร้างเงื่อนไขเองทั้งสิ้น
ลองมองมุมกลับคะ เอาใจไว้กับตัว แต่ฝากไว้แค่ความเมตตาไว้ มันจะไม่มีความคาดหวังใช่มั้ยคะ
เขาจะทำผิดถูกใจหรือไม่ก็ไม่คาดหวังแล้วทีเนียะ ลองมองกลับไปหาคนข้างๆใหม่แล้ว คุณจะเห็นว่าสิ่งที่เขาทำมีดีตั้งเยอะ ถึงแม้บางทีจะเลวร้ายบ้างก็ตาม

สรุปง่าย ไม่มีใครทำให้เราทุกข์ได้ นอกจากใจเราเองคะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสติ เจริญสติ ก็คือ การฝึกสมาธินั่นเอง อ่านได้ที่นี้นะค่ะ
แล้วแต่ความชอบและจริตนิสัยคะ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19823
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=31289
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19826
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=19824

+++

ที่เราทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะเรายึดเอา ถือเอา คน สัตว์หรือสิ่งของทั้งหลายว่า เป็นของตน
ต้องอยู่ในบังคับบัญชาและเป็นไปตามที่เราคิดเรานึกเสมอ


แต่เมื่อธรรมชาติของสรรพสิ่ง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา เราไม่ทันระวังตัว
ปรับตัวปรับใจไม่ทัน เพราะรู้ไม่เท่าทันความจริง ไม่รู้ความจริงของสิ่งเหล่านี้ว่า
จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

เมื่อเอาใจไปผูกพัน กับสิ่งเหล่านี้ก็ต้องทำใจไว้ล่วงหน้าให้ได้ว่า ต้องพบกับทุกข์
ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงแน่นอน จึงจะเรียกว่า "ผู้ไม่ประมาท"

การแก้ทุกข์ของเราท่านมักแก้ที่ผล หรือแก้ที่ปลายเหตุ ไม่มองที่เหตุ
เหมือนหนามตำเท้า เกิดความเจ็บปวด ก็เอาแต่กินยาแก้ปวด กินทุกวัน กินจนวันตาย


การแก้ทุกข์ท่านให้แก้ที่เหตุ หากว่านี้คือเหตุ ถ้าเป็นท่าน ท่านจะดับเหตุนี้อย่างไร?

ขอบคุณ คุณพลอยเพชรนะค่ะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกคนย่อมเกิดจากเหตุและปัจจัย การเห็นทุกข์ แม้เห็นแล้วก็ใช่ว่าจะเห็นทางแห่งการพ้นทุกข์เหมือนกัน

ไม่งั้นจะมีดอกบัว 3 เหล่า (ตามหลักพระไตรปิฎก) เหรอคะ การที่บุคคลใดจะเป็นบัวเหล่าใด ขึ้นอยู่กับ

เหตุและปัจจัยของบุคคลนั้น :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 10:10
โพสต์: 104

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิดหนึ่ง เขียน:
การแก้ทุกข์ของเราท่านมักแก้ที่ผล หรือแก้ที่ปลายเหตุ ไม่มองที่เหตุ
เหมือนหนามตำเท้า เกิดความเจ็บปวด ก็เอาแต่กินยาแก้ปวด กินทุกวัน กินจนวันตาย


ขอโมทนา สาธุคะ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอโมทนากับบทความดีๆ คะ สาธุ tongue :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 15:01
โพสต์: 18

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านข้อความของคุณ นิดหนึ่ง แล้วรู้สึกดีมาก แต่บางทีมันก็ยากเหลือเกิน มีความรู้สึกว่าตัวเองพยายามแล้ว แต่ทำไม่ได้สักทีค่ะ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การแก้ทุกข์ แก้เหตุของทุกข์นี้ ยากนะ ไม่ใช่ของง่ายๆ

เพราะเราติดสุขกับกามคุณนี้มาเป็นอสงไขยกัปป์ การถอนใจออกจากกามคุณ จึงทุกข์ใจและทรมานอย่างมากแต่ทุกข์นี้ก็บรรเทาลงได้เป็นครั้งเป็นคราว เพราะทุกข์นี้ก็เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

การจะทำให้ทุกข์บรรเทาลง ก็ต้องคิดให้รู้ทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายว่า ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงนะ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาผู้ใดทั้งสิ้น แม้แต่ตนเองก็เปลี่ยนใจเป็นร้อยๆ ครั้งในเรื่องเดียวกัน เตรียมใจไว้ให้พร้อมเมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง

การทำให้ความทุกข์ความโศกลดลงหรือบรรเทาไปบ้าง ควรทำอย่างยิ่ง ไม่ใช่ปล่อยให้ทุกข์นั้นเกิด-ดับๆ อยู่อย่างนั้น มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณา คือ

- โทษกรรมไปก่อนว่า เราเคยทำอย่างนี้มาก่อน เพื่อให้ไม่เกิดโทษกับคนรอบข้างหรือบุตรธิดา
- การให้อภัย ให้อโหสิกกรม ป้องกันความขุ่นเคือง ความโกรธและโทสะ ป้องกันการผูกเวร ผูกโกรธ อันเป็นโทษกับตนเอง

การให้อภัย ให้อโหสิกรรมนี้ เป็นคุณอย่างยิ่งกับตัวเราเอง

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย นิดหนึ่ง เมื่อ 22 ต.ค. 2010, 09:23, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2010, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนาเน้นเรื่องกรรม คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หากเชื่อผลของกรรมทุกอย่างก็แก้ไขง่ายจริงๆ ครับ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2010, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ไหนมีรัก ที่นั้นมีทุกข์
ลองซื้อรถยนต์มาคัน เราก็ทุกข์เพราะกลัวรถหาย
คนรักทั้งคนเมื่อเปลี่ยนไป ทุกข์นั้นก็มากหลาย
แก้ทุกข์ต้องแก้ที่เหตุ แก้ที่อื่นก็ต้องแก้ทุกวัน แก้ไม่จบไม่สิ้น

ขอโมทนา :b4: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร