วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 11:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ที่ดับทุกข์ได้

องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พบความจริงของโลกและชีวิต อันได้แก่ ธรรมชาติทั้งหลาย มีการเกิดดับเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว และต้องแตกสลายในที่สุด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีอะไรยืนยงถาวร เป็นสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้ เมื่อท่านรู้เห็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงนำความรู้นี้ไปศึกษาเรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนพบอริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เบื้องหลังการเวียนว่ายตายเกิด และการปฏิบัติเพื่อดับชาติดับภพ

สิ่งที่ทำให้คนเราเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วนนั้นเรียกเป็นภาษาธรรมว่า “อวิชชา” ซึ่งได้แก่ ความไม่รู้จักธรรมชาติตามสภาวะที่มันเป็นจริง จึงได้เกิดการคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นาๆ เกิดการหลงไปกับความคิด เกิดการยึดมั่นถือมั่น กลายมาเป็นทุกข์ ในที่สุด

ความจริงของทุกข์แบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ตามธรรมชาตินี้ ก็คือ ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ได้แก่ ความพอใจ ไม่พอใจ หลงไปตามความพอใจไม่พอใจนั้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส ในคิดนึก นอกจากนั้นไม่มีทุกข์เกิด

ความพอใจ ในภาษาธรรมก็คือ “โลภะ” ความไม่พอใจก็คือ “โทสะ” การหลงไปตามความพอใจไม่พอใจก็คือ “โมหะ” รวมเรียกว่า “อวิชชา” หรือ เหตุของอกุศล เหตุของทุกข์ทั้งปวง

ที่มันเกิดเป็นทุกข์ ก็เพราะความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรารับกระทบสัมผัสทั้ง ๖ ทาง คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ โดยมี “อวิชชาสวะ” ที่สะสมในจิตใจเรามาข้ามชาติข้ามภพเป็นตัวคอยบงการอยู่เบื้องหลัง ปุถุชนทั่วไปจึงไม่สามารถต้านทานได้โดยง่าย เพราะแท้จริงแล้ว คนเราสั่งตัวเองไม่ได้ ความเคยชินหรือความรู้ความจำที่สะสมมาข้ามชาติข้ามภพเป็นตัวสั่ง หรือเรียกว่า “นิสัย” นั่นเอง

นิสัย เกิดจากการสะสมความรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ตลอดชีวิต รวมไปถึงชาติภพก่อนๆ เป็นอันมาก เมื่อเรารู้เห็นอะไรแล้วคิดปรุงแต่ง สิ่งนั้นจะถูกเก็บไว้ในความทรงจำ เรียกว่าการเกิดของ “อวิชชาใหม่” และจะกลับมาเป็นข้อมูลที่สั่งให้เราเกิดพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ เมื่อเราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ หลงไปกับความพอใจไม่พอใจ ข้อมูลเหล่านี้ ก็จะเก็บสะสมมากเข้าจนก่อตัวเป็นนิสัย ข้อมูลไหนมีมาก มีซ้ำๆ ซากๆ จำนวนมาก ข้อมูลนั้นก็จะมีอิทธิพลต่อความคิดของคนเรามาก หรือเรียกว่า เกิดเป็นอินทรีย์ แสดงความเป็นใหญ่ในหน้าที่ได้ ข้อมูลในจิตแบบนี้นี่เองที่เป็นเบื้องหลังของลักษณะเฉพาะของบุคคล

จะเห็นได้ว่า ปุถุชน จะเอา “อวิชชาเก่า” ไปสร้าง “อวิชชาใหม่” อยู่ตลอดเวลา หรือเอาทุกข์ไปสร้างทุกข์ อวิชชาก็หนาแน่นมั่นคงอยู่ในจิตใจ จนไม่สามารถต้านทานมันได้โดยง่าย

อวิชชาที่สะสมในจิตใจนั้น เราเอาออกไม่ได้ แต่เราหยุดการเกิดของอวิชชาใหม่ได้ คือ ต้องไปขัดขวางกระบวนการคิดปรุงแต่ง สิ่งที่จะเอาไปดับการเกิดของอวิชชา คือ ความจริง เพราะการหลงไปกับสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสเป็นเพียงความคิดเห็น ความจริงที่เอาไปดับความเห็นได้ คือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ได้แก่ กฎไตรลักษณ์ และ กฎอิททัปปัจจนายตาปกิจสมุปบาท สรุปเป็นคำๆ เดียวว่า “ไม่เที่ยง”

“ไม่เที่ยง” ก็คือ ธรรมชาติทั้งหลาย มีการเกิดดับเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว และต้องแตกสลายในที่สุด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีอะไรยืนยงถาวร เป็นสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้

    เมื่อตาเห็นรูป ให้พิจารณารูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปที่เห็นนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราคนเห็นก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

    เมื่อหูได้ยินเสียง ให้พิจารณาเสียงนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า เสียงที่ได้ยินนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

    เมื่อจมูกได้กลิ่น ให้พิจารณากลิ่นนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า กลิ่นนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

    เมื่อลิ้นรับรส ให้พิจารณารสนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รสนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราคนก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

    เมื่อกายสัมผัส ให้พิจารณาสัมผัสนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า สัมผัสนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

    เมื่อใจคิดนึก ให้พิจารณาความคิดนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ความคิดนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย


ถ้าเราสามารถพิจารณาได้อย่างนี้ เรียกว่า เอาปัญญาสัมมาทิฐิไปตั้งรับไว้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความจริงที่ยกเอามาพิจารณาจะหยุดการคิดปรุงแต่ง เมื่อไม่เกิดการคิดปรุงแต่ง อวิชชาใหม่ก็ไม่เกิด จิตจะเก็บความจริงไว้ในจิตแทน ความจริงนี้ภาษาธรรมเรียกว่า “วิชชา” แปลว่า เราเอาวิชชาไปดับอวิชชา หรือ เอาความจริงไปดับความเห็น หรือ เอาปัญญาไปดับทุกข์ ดับทันที่ที่มันเกิด ทุกข์เกิดที่ไหนเราดับมันที่นั่น

เมื่อวิชชาเกิดสะสมในจิตมากขึ้น มันก็จะเกิดความเป็นใหญ่ในหน้าที่ หรือเกิดเป็น “ปัญญินทรีย์” เริ่มส่งผลต่อความนึกคิดของเรา หรือกลายเป็นนิสัยใหม่ของเรา จึงอุปมาการปฏิบัติธรรมว่า เหมือนเอาน้ำจืดเติมลงไปในน้ำเกลือ ให้ความเค็มลดลงจนหายไปในที่สุด คำว่าเกลือคืออวิชชาเก่าที่สะสมอยู่ในจิต คำว่าน้ำจืดคือวิชชาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ นั่นเอง

ถ้าเราทำอย่างนี้เป็นประจำ ทำให้ครบทั้ง ๖ ทาง ด้วยความเพียร จนความจริงสะสมไว้ในใจเรามากๆ จะส่งผลให้เราสามารถดับทุกข์ได้ถาวร พบมรรคผลนิพพาน ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ภายใน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ถ้าไม่ได้ทำอนันตริยกรรมมาก่อน ก็คือผู้ที่กำลังเดินอยู่ในทางอันประเสริฐ เพื่อดับชาติดับภพ เป็นที่สุด…

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ความพอใจ ในภาษาธรรมก็คือ “โลภะ” ความไม่พอใจก็คือ “โทสะ” การหลงไปตามความพอใจไม่พอใจก็คือ “โมหะ” รวมเรียกว่า “อวิชชา” หรือ เหตุของอกุศล เหตุของทุกข์ทั้งปวง

ความรู้ที่ว่านี้ เป็นความรู้ที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ผู้นั้นจะต้องมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิที่มั่นคง
จริงๆ และโลภ โกรธ หลง ก้ละด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาเช่นกันเพราะ
โลภ ละด้วย การให้ทาน ช่วยเหลือคนอื่น และมีศีลเพื่อลดความเหนแก่ตัว จริงก้ต้องมีภาวนาเพิ่ม
โกรธ ละด้วย การมีศีลเหมือนกัน เจริญเมตตาธรรมมีการให้อภัยเปนต้นและก้ต้องมีภาวนาเหมือนกัน
หลง ละด้วยการภาวนาตามหลักพุทธศาสนาคือเจริญสติสัมปชัญญะตามทางสายเอกหรือสายกลางที่สุดเพื่อให้ถึงที่สุดของศีล สมาธิและปัญญา เพื่อละอวิชชาคือตัวหลง ตัวไม่รู้ ตัวเขลา ให้ขาดจิตใจ แล้วถึงทางดับทุกข์และเสวยวิมุติสุข ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

(ทีพูดมาก้เสริมจาก จขกท. อีกหน่อยน่ะครับ) :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. มัคคสังยุต
อวิชชาวรรคที่ ๑
อวิชชาสูตร
ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล


[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า.

[๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิดการงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบการงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.

จบ สูตรที่ ๑

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 12 ต.ค. 2010, 21:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาสูตร


[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็น อย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชา จึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดย ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้นกาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ


สังโยชนสูตรที่ ๑


[๕๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่ อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุ สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน สัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยการสิ้นความยินดีเป็นเหตุหลุดพ้นจากทุกข์


[๑๐๓] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อมเบื่อหน่าย. เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึง สิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดี และความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นเวทนาอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสัญญาอันไม่เที่ยง นั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นสังขารอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ฯลฯ เห็นวิญญาณอัน ไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ย่อม เบื่อหน่าย เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว.

[๑๐๔] พระนครสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง. เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งรูปโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จิตหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทำไว้ในใจซึ่งเวทนาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย ฯลฯ ซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง. เมื่อภิกษุทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งวิญญาณตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในวิญญาณ. เพราะสิ้นความยินดี จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัด จึงสิ้นความยินดี เพราะสิ้นความยินดีและความกำหนัด จึงหลุดพ้นแล้ว เรียกว่าหลุดพ้นดีแล้ว.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล


[๔๖๙] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา หูไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา จมูกไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ลิ้นไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา กายไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญา โดยประมาณอย่างนี้ แก่ผู้ใด. เราเรียกผู้นี้ว่าธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๘. สัลเลขสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส


[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหาจุนทะออกจากที่พักผ่อน แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่างๆ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลกเมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นหรือ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมจะมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้หรือ พระเจ้าข้า

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้มีหลายประการ ประกอบด้วยการกล่าวปรารภอัตตาบ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลกบ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใดเมื่อภิกษุพิจารณาเห็นอารมณ์นั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเราเรามิใช่นั่น นั่นมิใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ในวินัยของพระอริยะ




อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ

ฯลฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 237&Z=1517

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย


[๓๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ อยู่ ณ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่พักผ่อนในเวลา เย็น เข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีลควร กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุ ผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวนเป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คืออุปาทานขันธ์ คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์ คือเวทนา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์ คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ ๑. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็น ดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้มีศีล กระทำ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล.

[๓๑๑] โก. ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดย แยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.

[๓๑๒] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหน ไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกร ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี กระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

[๓๑๓] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามี ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นแล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ ภิกษุผู้เป็นอนาคามีกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

[๓๑๔] โก. ดูกรท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ ในใจโดยแยบคาย?

สา. ดูกรท่านโกฏฐิตะ แม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ก็ควรกระทำอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่น แล ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดัง ลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน. ดูกรท่านโกฏฐิตะ กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป หรือการสั่งสมกิจที่กระทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ และแม้ธรรมเหล่านี้ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ก็ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิเท่าไร ทิฐิเท่าไร ความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ทิฐิคือความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ฯ

ถามว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ที่ตั้งแห่งทิฐิ ๘
ถามว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความกลุ้มรุมแห่งทิฐิ ๑๘
ถามว่า ทิฐิเท่าไร ตอบว่าทิฐิ ๑๖
ถามว่า ความถือผิดแห่งทิฐิเท่าไร ตอบว่า ความถือผิดแห่งทิฐิ ๑๓๐
ถามว่า ความถอนที่ตั้งแห่งทิฐิเป็นไฉน ตอบว่า โสดาปัตติมรรคเป็นเครื่องถอนที่ตั้งแห่งทิฐิ ฯ

คำว่า ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดเท่าไร ตอบว่า ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูปว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งเวทนา สัญญา สังขารวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดซึ่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จูฬตัณหาสังขยสูตร

ท้าวสักกะจึงตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ผู้นฤทุกข์ ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เมื่อข้าพเจ้าทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดีทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ก็ไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก

เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่นย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้


ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลาน์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา โดยย่อแก่ข้าพเจ้าอย่างนี้แล.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพสูตร


[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟังข้อนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูป หู กับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส
กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธ สิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นคงเป็นของศักดิ์สิทธิ์
ดุจเทพเจ้าแต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจ ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปหานสูตรที่ ๑


[๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อละสิ่งทั้งปวงนั้นเสียเธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมสำหรับละสิ่ง ทั้งปวงนั้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลายจักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนาหรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ฯลฯ ใจธรรมารมณ์มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับละสิ่งทั้งปวง ฯ

ปริชานสูตรที่ ๑


[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลาย กำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ฯลฯ ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ก็ ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ที่ยัง ไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้ยังเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ

[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร บุคคลรู้ยิ่งกำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้น ทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละ ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ หู ฯลฯ เสียง ฯลฯ ลิ้น ฯลฯ รส ฯลฯ กาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อความ สิ้นทุกข์ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 09:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นไฉน?

เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ ความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์เพราะอาศัยหูและเสียง ... เพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... เพราะอาศัยลิ้นและรส ...เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... เพราะอาศัยใจและธรรม จึงเกิดมโนวิญญาณความประชุมแห่งธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 13 ต.ค. 2010, 20:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร