วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 00:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



๒๑

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่านิทานเพื่อเปรียบเทียบธรรมว่า
นางนกเหยี่ยวเขาได้โฉบจับนกมูลไถ
(นกชนิดหนึ่งที่มักจับอาศัยที่มูลไถในนา) ได้โดยฉับพลัน
นกมูลไถเมื่อถูกนางนกเหยี่ยวนำไป ก็คร่ำครวญขึ้นว่า
เรามีบุญน้อยด้อยวาสนา ซ้ำยังเที่ยวไปในที่ผิดแดนผิดวิสัย
ซึ่งไม่ควรจะไป ถ้าเราเที่ยวไปในแดนของตน
นางนกเหยี่ยวแค่นี้ ก็ไม่พอมือที่จะต่อสู้กับเรา


นางนกเหยี่ยวได้ยิน จึงถามว่า ถิ่นของเจ้าอยู่ที่ไหน
นกมูลไถตอบว่าอยู่ที่ดินมูลไถในนานี่แหละ
นางนกเหยี่ยวผู้หยิ่งในกำลังของตนจึงปล่อยนกมูลไถ
กล่าวว่า จงไปลองกำลังกับเราในแดนของเจ้าดูสักที
เจ้าจะไม่พ้นเราไปได้ นกมูลไถก็รีบบินไปที่ดินมูลไถ แห่งหนึ่ง
จับอยู่ที่บนก้อนดินก้อนใหญ่ แหงนหน้าขึ้นกล่าวท้านางนกเหยี่ยวว่า
เชิญนกเหยี่ยวมาต่อสู้กันเดี๋ยวนี้
นางนกเหยี่ยวห่อปีกทั้งสองโฉบลงไปยังนกมูลไถอย่างเต็มกำลัง
นกมูลไถคอยท่าอยู่แล้ว จึงรีบหลบเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในระหว่างก้อนดินมูลไถนั้นทันที
นางนกเหยี่ยวจึงโฉบลงมาอกกระทบก้อนดินแตกตายอยู่ในที่นั้น


พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรุปเข้ากระแสธรรมความว่า
ผู้เที่ยวไปในที่ผิดแดน ผิดวิสัย ซึ่งไม่ควรจะเที่ยวไปจะเป็นเช่นนี้
ฉะนั้น อย่าได้เที่ยวไปในที่ผิดแดนผิดวิสัยซึ่งไม่ควรจะเที่ยวไป
เพราะว่าผู้มุ่งร้ายจะได้ช่องทางทำอันตรายได้
นิทานเปรียบเทียบธรรมเรื่องนี้เป็นนิทาน สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
คือ เมื่อปล่อยให้จิตใจระลึก คือ นึกคิดไปในเรื่องที่ไม่ควรจะคิด
ก็จะทำให้ถลำผิด เหมือนอย่างนกมูลไถเที่ยวไปผิดเขต จึงถูกเหยี่ยวจับตัว
ต่อเมื่อคิดไปในเรื่องที่ควรนึกคิดซึ่งเป็นวิสัยของตน จึงมีความสวัสดี
แม้จะมีเรื่องกระทบใจอย่างแรง ก็มีที่หลบใจให้พ้นภัยได้

เหมือนนกมูลไถที่คอยหลบภัยเข้าระหว่างก้อนดินมูลไถ จึงพ้นภัยจากเหยี่ยวได้ฉะนั้น



พระพุทธเจ้าก่อนจะตรัสรู้ ได้ทรงมีสัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
คือ เพียรละชั่ว ทำดียิ่งขึ้นเสมอ
จนถึงเพียรทำจิตใจให้เป็นสัมมาสติ (ระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ)
เมื่อประกอบเข้ากับองค์ประกอบอื่นๆ จนครบเป็นมรรคมีองค์แปด จึงได้ตรัสรู้


ใครเล่าเป็นผู้เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ และสอนโลกให้เพียร
ให้ระลึก และให้ตั้งใจชอบได้ด้วยเหมือนพระพุทธเจ้า


:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2010, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


๒๐

ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ใกล้พระนครราชคฤห์แห่งมคธรัฐ
ได้มีพราหมณ์ผู้หนึ่งได้ยินข่าวเรื่องพระองค์ทรงผนวช
ได้มีความโกรธไม่ชอบใจมาแต่แรกแล้ว
จึงได้เข้าไปเฝ้าและด่าว่าพระองค์ด้วยวาจาที่หยาบช้าต่างๆ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามว่า “ได้เคยมีมิตรญาติมาเป็นแขกท่านบ้างหรือไม่”
พราหมณ์กราบทูลว่า “บางคราวก็เคยมีมา”


ตรัสถามว่า “ท่านได้เคยจัดอาหารหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต้อนรับแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่”
กราบทูลว่า “บางคราวก็เคยจัด”
ตรัสถามว่า “ถ้าแขกเหล่านั้นไม่รับประทานของนั้นจะตกแก่ใคร”
กราบทูลว่า “ก็ตกแก่ข้าพระองค์นั่นแหละ”
ตรัสว่า “คำที่ท่านด่าว่าเราก็เช่นเดียวกัน
คือ ท่านด่าว่าเราต่างๆ แต่เราไม่รับคำด่าของท่าน
คำด่านั้นก็ตกเป็นของท่านเอง
ส่วนผู้ที่ด่าว่าโต้ตอบเรียกว่า เป็นผู้บริโภคคำด่า
เราไม่บริโภคคำด่าร่วมกับท่าน คำด่านั้นจึงตกป็นของท่านดังกล่าวนั้นแหละ”


พราหมณ์จำนนต่อพระพุทธดำรัสจึงเสกล่าวว่า
“หมู่ชนพากันเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ แต่ยังโกรธอยู่นี่”
พระพุทธเจ้าได้ตรัสแปลความว่า
“ผู้ที่ฝึกใจได้แล้วดำรงชีวิตเป็นธรรมสม่ำเสมอ
มีความรู้ชอบจนถึงเป็นผู้พ้นกิเลสหมด จึงสงบระงับคงที่ไม่มีโกรธ
จะเกิดความโกรธมาจากไหนเล่า”
และได้ตรัสอีกตอนหนึ่งว่า
“ผู้ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก”



เรื่องนี้แสดงว่าพระพุทธเจ้าได้ทรางมีพระปฏิภาณในการโต้
ตอบเป็นอย่างเยี่ยม และแสดงถึงพระญาณปรีชา
ในการแยกสิ่งที่ควรแยกออกจากกันได้
จึงทรงมีพระวาจาเป็นสัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
คือเมื่อพูดออกมาก็พูดถูกชอบ ไม่เช่นนั้นก็งดเว้นคือนิ่งไม่พูด
ทรงมีการทำทางกายเป็นสัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)
คือ เมื่อทำก็ทำถูกชอบ ไม่เช่นนั้น ก็งดเว้นไม่ทำ
ทรงครองชีวิตโดยชอบเป็นสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
คือ ทรงดำรงชีวิตด้วยความมักน้อย สันโดษ
ไม่กระทบศรัทธาและทรัพย์ของใครๆ


ส่วนบุคคลอื่นโดยมากเมื่อประสบผ่านอารมณ์ที่เป็นเครื่องกระตุ้นเตือน
ให้เกิดความชอบ ความชัง ความหลงนานาชนิด ก็ออกรับไว้
ไม่ค่อยจะคิดปลีกแยกตัวแยกใจออกจึงพากันพูดผิดทำผิดเลี้ยงชีวิตผิด
(corruption) ต่างๆ ถ้ารู้จักดิดแยกตัวแยกใจออก
อย่างพระพุทธเจ้าก็จะลดความชั่วความผิดลงได้มาก



ใครเล่าเป็นผู้มีวาจา การงานและครองชีวิตชอบ
อำนวยประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่โลกเลิศล้ำเหมือนพระพุทธเจ้า



คัดลอกจาก ธรรมจักษุ ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๒ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒
ที่มา...
http://larndham.org/index.php?/topic/40 ... ntry732314

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2017, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 13:34
โพสต์: 1654

งานอดิเรก: ฟังเพลง และฟังธรรมตามกาลเวลา
สิ่งที่ชื่นชอบ: อภัยทาน
อายุ: 39
ที่อยู่: กรุงเทพมหานคร

 ข้อมูลส่วนตัว




เปิดใจกว้าง.jpg
เปิดใจกว้าง.jpg [ 34.54 KiB | เปิดดู 2350 ครั้ง ]
:b29: ผู้ที่ฝึกใจได้แล้วดำรงชีวิตเป็นธรรมสม่ำเสมอ จึงสงบระงับคงที่ไม่มีความโกรธ :b29:

:b44: (♡✿◕‿◕✿♡) กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง สุขกายเจริญวัย สุขใจเจริญธรรม ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ (♡✿◕‿◕✿♡) :b8: :b8: :b8: :b20:

.....................................................
ธรรมอำนวยพร
ขอให้.....มีจิตที่รู้ ที่ตื่น ที่เบิกบาน (พุทธะ)
ขอให้.....ทำการงานด้วยความสุข (อิทธิบาทสี่)
ขอให้.....ขจัดทุกข์ได้ด้วยปัญญา (อริยสัจสี่)
ขอให้.....มีดวงตาที่เห็นความจริง (ไตรลักษณ์)
ขอให้.....เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร