วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 23:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์ จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจจวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ
๑. ทุกขอริยสัจ
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขอริยสัจ
[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์
อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
[๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้
เรียกว่าชาติ
[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน
ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ
ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์
นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา
[๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ
ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งทรากศพไว้ ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
[๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน
ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของ
ผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ
[๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง
ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ
กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อม
โภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของ
ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์
อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ
[๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์
[๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
[๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระ
ทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความ
เสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส
[๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน
ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์
อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำ
ลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขา
นี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์
[๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับ
อารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่
ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต
นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์
[๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า
เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้
มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจ-
*ฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ
ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความ
ปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา
ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่าง
นี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลย
หนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์
ประการหนึ่ง
[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์
วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขสมุทยอริยสัจ
[๑๕๘] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี
เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
[๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อ
ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก
จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้ง
อยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้
รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้ง
อยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมา-
*รมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้
จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ-
*วิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ
ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูป-
*สาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน-
*วิญญาณนี้
จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ-
*สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสต-
*สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน
โลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน-
*สัมผัสสชาเวทนานี้
รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญา
นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รส-
*สัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญ-
*เจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญ-
*เจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็
ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา
ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปที่วิตกนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้
เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็
เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขนิโรธอริยสัจ
[๑๖๐] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน
ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด
[๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้
เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก
จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อ
ดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ
มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อจะดับก็ดับที่
มโนนี้
รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็
ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมา-
*รมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับ
ก็ดับที่ธัมมารมณ์นี้
จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุ
วิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ
ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่
จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ
ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็
ละที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัส-
*สชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสสชา-
*เวทนานี้
รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญญา
นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา
ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้
เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูป
สัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา
ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่
ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปตัณหา
นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ
โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะ
ละก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้
เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ
โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจารนี้
เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ
โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ
ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
[๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
[๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน
การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
[๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน
ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงด
เว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
[๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้น
จากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
[๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมา-
*อาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
[๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคอง
จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ เพื่อละ
อกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่
ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
[๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบ
ด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ
ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ
[๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยัง
ใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก
ว่า สัมมาสมาธิ
สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์ จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์


แม้แต่ ท่านดุลย์ ยังไม่กล้ากล่าวว่า
อริยสัจจธรรม เป็นธรรมที่ท่านทรงประกาศ

ถ้าท่านเป็นศิษย์ หรือเป็นผู้เลื่อมใสในคำสอนท่านดุลย์ ก็โปรดระมัดระวัง การเผยแผ่ธรรมอันมีอรรถ และพยัญชนะไม่ครบอย่างนี้ แล้วประกาศว่าเป็นธรรมะของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพ

เตือนท่านด้วยความหวังดี

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย
เหตุให้เกิดทุกข์ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์



อริยสัจจ์๔ ของพระพุทธเจ้า

ความทุกข์ คือ
ความเกิดเป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์,
ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
ความปราถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์

สมุทัย คือตัณหา
อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
อันเป็นเครื่องมือให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ,
ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.

นิโรธ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์
คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง
คือความสละทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.

มรรคคือ ข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์
คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้
ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง
การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง
ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง.


เราจะเลือกฟัง เลือกพิจารณา อริยสัจจ์๔ แบบไหนกันดี :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 19:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นักปฏิบัติธรรมที่ปรารถนาความพ้นทุกข์หรือวิมุติพระนิพพานควรหันมาสนใจจิตใจของตนเองจะอธิบายอริยสัจจ์๔โดยย่อให้ท่านที่สนใจในธรรมได้ทราบพอสังเขปอริสัจจ์๔ว่าโดยพยัญชนะไม่เหมือนกันแต่ถ้าว่ากันโดยอรรถธรรมนั้นคืออันเดียวกันเช่นเดียวกับแม่น้ำทุกสายย่อมไหลไปรวมกันที่มหาสมุทรและย่อมมีรสเดียวกันคือรสเค็มธรรมะของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกันจะปฏิบัติวิธีใหนแนวทางใดจิตย่อมพ้นสมมติมีวิมุตินิโรธนิพพานอันเดียวกันไม่มีการผิดเพี้ยนแม้แต่ปลายผงธุลีเดียวเรื่องวิมุติพระนิพพานอันเดียวกันอริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด-รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด-ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด-ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง) อริยสัจจ์ข้อที่๑-๒ จิตที่ส่งออกเป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอกจิตเป็นทุกข์ หมายถึงจิตที่ออกไปรับรู้อยู่กับสัญญาอารมณ์ต่างๆตั้งรูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,และอายตนะ๖มีรูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,และธรรมมารมณ์อื่นๆฯลฯอีกมากมายเมื่อจิตส่งออกไปรับรู้ผัสสะหรืออารมณ์ต่างๆเหล่านี้และผลที่ตามมาก็คือผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกเป็นทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่๓-๔จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ หมายถึงจิตที่มีสติรู้อยู่กับจิตหรือมีสติอยู่กับรู้คือจิตนั่นเอง(จิตเห็นจิต)ผลที่เกิดจากจิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธนั้นหมายถึงเมื่อมรรคจิตได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้นแล้วนิโรธจะแสดงให้นักปฏิธรรมได้ทราบเองข้อสำคัญมรรคควรเจริญให้มากเท่านั้นเอง ต่อไปจะได้อธิบายอริยสัจจ์๔ของจิตอริยสัจจ์ข้อที่๑-๒จิตรู้เกิดรู้ดับเป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด-รู้ดับเป็น ทุกข์ จิตรู้เกิดรู้ดับนั้นหมายถึงจิตที่ออกไปรับรู้กับสัญญาอารมณ์ต่างๆตั้งรูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,และอายตนะ๖มีรูป,เสียง,กลิ่น,รส,สัมผัส,และธรรมมารมณ์อื่นๆฯลฯอีกมากมายเมื่อจิตไปรับรู้ผัสสะหรืออารมณ์ต่างๆเหล่านี้และผลที่ตามมาก็คือผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิดรู้ดับเป็นทุกข์ อริยสัจจ์ข้อที่๓-๔ จิตรู้ไม่เกิด-ไม่ดับเป็นมรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด-ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์ หมายถึง จิตที่มีสติรู้อยู่กับจิตหรือมีสติรู้อยู่กับรู้คือจิตนั่นเองทุกอิริยาบทของจิตเมื่อมรรคได้ทำหน้าที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วจะต้องไปถามหานิโรธนิพพานที่ใหนกันอีกที่สำคัญก็คือธรรมต้องปฏิบัติให้เกิดให้มีขึ้นที่จิตใจของตนเองให้แจ่มแจ้งชัดเจนถ้าตราบใดที่ยังปล่อยจิตปล่อยใจให้อวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ครอบงำจิตใจอยู่ตลอดเวลาพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าโมฆะบุรุษบุรุษผู้ไม่มีสาระแก่นสารอะไรเลย


แก้ไขล่าสุดโดย suthee เมื่อ 14 ก.ย. 2010, 20:11, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วประโยชน์อะไร เมื่อพ้นความเกิดเสียแล้ว
ยังจะกล่าวอะไร ถึงอะไร อีก

อริยสัจจ์แห่งจิต แสดงถึงความจริงของสิ่งที่ปรากฏอยู่
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มเป็นนิโรธ

ท่านกำลังกล่าว ในสิ่งที่พ้นจากการปรากฏ พ้นความเกิด
พ้นจากทุกข์ พ้นเหตุเกิดทุกข์ พ้นจากทางวิถีแห่งการพ้นทุกข์ เสียแล้ว

เมื่อไม่มีอะไรให้ระลึกนึกถึงได้อีกต่อไป ไม่มีการปรากฏ ไม่มีอาการไปอาการมา
เสียแล้ว และเมื่อถึงที่สุดแห่งสัจธรรมแล้ว

ใยจึงจึงกล่าวถึงอริยสัจจ์ ในแบบนั้นล่ะครับ ท่านผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
ขอบคุณครับผม

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 21:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต suthee จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์ จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์


อยากตั้งตัวเป็นอาจารย์คนหรืองั้ย..สุธีร์
อยากตั้งก็ตั้งไปเถอะ..อย่าเป็นคุณแอบก็แล้วกัน..แอบอาจารย์เอาดัง

ช่วยคนให้พ้นทุกข์..นะดี
อยากได้สักการะ..นะไม่ดี

เด้อ..สุธีร..เด้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔เป็นทางผ่านของจิตก็จริงแต่ไม่ใช่นักปฏิบัติจิตจะต้องดำเนินจิตเหมือนกันหมดทุกรายหรือวิธีการปฏิบัติจิตก็ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสติปัญญาของแต่ละท่านที่เป็นนักปฏิบัติจิตข้อสำคัญทำอย่างไรที่จะสามารถถอดถอนอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ออกไปจากจิตใจให้หมดสิ้นได้ก็เท่านั้นเอง เรื่องของธรรมไม่มีการคุยโม้โอ้อวดมีแต่ความจริงล้วนๆเป็นความจริงที่กิเลสไม่ชอบเพราะกิเลสกับธรรมเป็นข้าศึกกันมาตั้งแต่กัปป์ใหนกัลป์ใดไม่ทราบได้อยากรู้ความจริงในเรื่องของจิตหรือวิมุติพระนิพพานก็ต้องตั้งใจปฏิบัติเองให้รู้เองเห็นเองเป็นสันทิฏฐิโกแล้วไม่จำเป็นต้องเชื่อใครด้วยเพราะแจ่มแจ้งด้วยใจของตนเองอย่าเอาแต่จำตามตำหรับตำรามาคุยโม้โอ้อวดกันไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยและยังไม่สามารถยกระดับจิตให้พ้นจากอบายภูมิ๔ด้วยซ้ำไปถ้าต้องการพิสูจน์ว่าธรรมะที่อธิบายมาในอริยสัจจ์๔ของจิตนี้พ้นทุกข์ได้จริงไม๊ก็สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติจิตไม่ใช่เอาแต่ความจำมาคุยอวดกันเล่นๆไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


suthee เขียน:
ไม่ใช่เอาแต่ความจำมาคุยอวดกันเล่นๆไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย




แล้วแต่เหตุของแต่ละคนนะ
ทุกๆสิ่งล้วนมีประโยชน์ ไม่ว่าจะท่องจำมาหรือว่าเกิดจากการปฏิบัติ
เหมือนที่คุณนำมาโพสๆ ก็ล้วนเกิดจากการท่องจำมาด้วย ไม่ใช่จากผลของการปฏิบัติอย่างเดียว

จริงไหม? :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 15 ก.ย. 2010, 18:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔ในตำราหรือในพระไตรปิฎกกับอริยสัจจ์๔ในจิตมันคนละโลกกันเลยอริสัจจ์๔ในตำราเป็นแค่ความจำจำได้จนหมดตู้พระไตรปิฎกก็ไม่ทำให้พ้นทุกข์ไปได้ดีไม่ดีเพิ่มความทุกข์ให้กับผู้รู้จำหนักเข้าไปอีกดีไม่ดีเดินแทบไม่ไหวเพราะแบกเอาความจำไว้มากในสมัยพุทธกาลพระโปฐิละเป็นอาจารย์สอนพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าโปฐิละคัมภีร์ใบลานเปล่าหมายความว่าพระโปฐิละท่านมีแต่ความจำและจำพระไตรปิฎกได้หมดทำไมไม่พ้นทุกข์อริยสัจจ์พระโปฐิละท่านก็รู้แต่ทำไมไม่พ้นทุกข์ล่ะ เพราะฉะนั้นสัญญาความจำได้หมายรู้มันไม่เที่ยงแก้ทุกข์ไม่ได้นอกจากจิตที่รู้ความจริงในอริสัจจ์๔ในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนี้นี่เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5975

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ท่าทางจะไม่รับรู้อะไร หรือไม่ก็คงไม่เข้าใจในตัวหนังสือ :b32:
ถนัดท่องจำ แล้วนำมาตัดแปะ ก็ตามสบายนะ :b12:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร