วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 19:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปัจจุบันนี้ มักมีการตีความคำว่า “สัญญา” กับ “สติ” ปนเปกันไปหมด โดยไม่ใช้หลักเกณฑ์ในพระพุทธพจน์เป็นเครื่องตัดสิน พระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนแล้ว และสามารถนำมาเทียบเคียงเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจได้ถูกต้องยิ่งๆขึ้น

คำว่า “สัญญา” กับ “สติ” นั้น เมื่อกาลเวลาล่วงเลยนานเข้า ความเข้าใจในเรื่องสติและสัญญา ถูกนำมาใช้แบบผิดๆ จนกระทั่งเกิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น คำว่า “ถิรสัญญา” ความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก็คือ สัญญาขันธ์ ดีๆ นั่นเอง จำได้หมายรู้ในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดบ่อยๆ ครั้งเข้าจนแม่นยำ เลยเรียกว่าเกิด ถิรสัญญา

เมื่อมีการนำคำว่า “ถิรสัญญา” มาถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ความหมายของคำว่า “ถิรสัญญา” ก็ยิ่งพิศดารมากขึ้นไปด้วยโดยลำดับ จนกระทั่งเข้าใจไปเองว่า ถิรสัญญานี่แหละที่ทำให้เกิดปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ได้ หรือ ตัวถิรสัญญาเป็นปัญญาเสียเองเลยก็มี ซึ่งเป็นการสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์โดยสิ้นเชิง

คำสั่งสอนที่มี มาในพระสูตร ทรงสั่งสอนให้ฝึกฝนอบรม ศีล สมาธิ(สติ) ปัญญา ไม่เคยมีตรงไหนในพระสูตร ที่มีพระพุทธพจน์สั่งสอนให้ฝึกฝนอบรมถิรสัญญาให้เกิดขึ้นเถิด มีแต่ทรงสั่งสอนให้เพียรสร้างสติและยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด จึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้ โดยการกระทำให้มาก เจริญให้มากซึ่งอานาปานสติใช่มั้ยครับ

“สัญญา” นั้น เป็นหนึ่งในขันธ์ ๕ มีหน้าที่จดจำและหมายรู้ในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ทั้งฝ่ายกุศล อกุศล อัพยากฤตธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีพระพุทธพจน์กล่าวปฏิเสธไว้อย่างชัดเจนว่า สัญญาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนพึ่งพาอาศัยไม่ได้

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 09:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ายิ่งเป็นถิรสัญญาด้วยแล้ว ยิ่งจะถูกปฏิเสธยิ่งกว่าสัญญาขันธ์เสียอีกเพราะอะไร?
ยิ่งจิตจดจำสัญญาอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างแม่นยำด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการสร้างความคุ้นชินให้เกิดขึ้นต่ออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เหล่านั้น เมื่อจิตจดจำอารมณ์ได้อย่างแม่นยำ(คุ้นชิน)แล้ว ก็สามารถเก็บอาการไว้ ไม่ให้แสดงอาการของจิตออกไปทางกาย วาจาได้ แต่ใจยังรับอารมณ์(มโนวิญญาณ)อยู่ เพราะจิตคุ้นชินกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นนั่นเอง ยังเป็นเพียงปัญญาทางโลกที่เกิดจากถิรสัญญาเท่านั้น ยังปล่อยวางไม่เป็น ย่อมแตกต่างจาก สัญญา ๑๐ ประการ ที่มีมาในอาพาธสูตร อันได้แก่

อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑
ปหานสัญญา ๑
วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อานาปานัสสติ ๑


ที่พระองค์ท่านทรงให้ท่านพระอานนท์นำไปสาธยายให้ ท่านพระคิริมานนท์ซึ่งป่วยหนัก เพื่อแก้ทุกขเวทนา อันเป็นเหตุให้ทุกขเวทนาสงบระงับลงโดยเร็วได้ฟัง

ซึ่งล้วนเป็นสัญญา ในอันเป็นเหตุที่จะปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆทั้งหลายออกไปจากจิต ด้วยการพิจารณาเห็นว่า จะวางจิตให้ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่นออกไป ได้ตามกำลังของสัมมาสมาธิในองค์มรรค ที่ได้ปฏิบัติไว้อย่างไร จิตจึงจะปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายออกไปได้ โดยอาศัยอานาปานสติหรือพิจารณากายในกาย(สัมมาสมาธิ) เป็นบาทฐานนั่นเอง

เริ่มต้นด้วยสัญญาก็จริง แต่การดำเนินการต่อไป ที่จะปล่อยวางอุปกิเลสทั้งหลายออกไปให้ได้นั้น เกิดจากการสร้างสติให้เกิดขึ้น เพื่อระลึกรู้ในสัญญาเหล่านั้นอย่างต่อเนื่องเนืองๆอยู่ จนกระทั่งจิตเกิดนิพพิทาญาณ ย่อมเห็นความเกิดดับของสรรพสังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความเบื่อหน่ายในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเบื่อหน่าย จิตก็คลายกำหนัด เมื่อจิตคลายกำหนัด จิตก็หลุดพ้นโดยลำดับ แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ ไม่ใช่การจำได้หมายรู้อย่างแม่นยำ(ถิรสัญญา) แต่ประการใดเลย เป็นการระลึกรู้(สัมมาสติ) ถึงสัญญา ๑๐ ประการเหล่านั้นได้อย่างชำนาญจนเป็นวสี กระทั่งจิตเกิดญาณปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงในข้อธรรมทั้งหลาย(อุปาทาน) เหล่านั้นนั่นเอง

ส่วนที่มีการสอนว่า ถิรสัญญานั้นให้จำได้อย่างแม่นยำลงที่กายและใจนั้น ปุถุชนคนทั่วไปที่มีทั้งคนดีและคนชั่วทุกคน เมื่อเผลอไปและมีการระลึก(จำ)ได้นั้น ล้วนระลึกได้ลงที่กายและใจหรือรูปนามของตนเองด้วยกันทั้งสิ้น ไม่อาจที่จะระลึกได้ในที่อื่นไปนอกจากกายและใจของตนเองได้เลย

อย่างเช่นพวกที่ชอบสร้างอกุศลธรรม-กรรมชั่วทั้งหลาย ที่ทำจนเป็นนิสัยสันดาน ล้วนมีถิรสัญญาในเรื่องอกุศลกรรมทั้งหลายเหล่านั้นเช่นกัน จนคุ้นชินไม่สะดุ้งสะเทือนต่อบาปอกุศลทั้งหลายเหล่านั้นเลย ขณะเมื่อทำการอกุศลกรรมอยู่นั้น แม้ระลึกได้ว่ายังมีพลเมืองดีและตำรวจคอยสอดส่องอยู่ ก็ระลึกได้ลงที่กายและที่ใจของตนเองทั้งสิ้น ไม่เห็นว่าถิรสัญญาที่ว่านี้ จะช่วยให้เกิดปัญญาในการละวางอกุศลกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นได้เลย

ส่วนถ้าเป็นถิรสัญญาในฝ่ายกุศลนั้น ล้วนเป็นเรื่องดี ช่วยให้เป็นคนดีศรีสังคมได้ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากทุกๆ ศาสนา ที่ล้วนสอนให้ทำถิรสัญญาให้เกิดขึ้นเช่นนี้เหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ หรือจิตหลุดพ้นจากกิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายได้เลย

เราชาวพุทธจำเป็น ต้องลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อให้จิตมีกำลังสติคอยระลึกรู้อยู่ที่สัญญา ๑๐ ประการข้างต้น ด้วยความชำนาญจนเป็นวสี จึงจะทำจิตให้หลุดพ้นจากทุกข์ได้ครับ.....


ธรรมภูต


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกต้องแล้วครับ ที่ต้องระลึกรู้ลงไปที่กาย เวทนา จิต และธรรม

"จิตก็จะสลัดคืน จางคลายจากอาสวะกิเลสที่หมักดองอยู่
เพียงแต่ต้องอาศัยความเพียร ทำให้เป็นวสี (ซึ่งยากมาก)
จนเกิดปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริง "

จะสัญญาหรือถิรสัญญา เป็นความจำได้หมายรู้ลงไปในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด

ที่จะยึดมั่นถือมั่นฝ่ายเดียว

ส่วนสัญญา๑๐ มีสัมมาสติกำกับนั้น ระลึกรู้ลงไปที่กาย เวทนา จิต และธรรม

เพื่อปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย (สติปัฏฐาน)

พระมหาบุรุษรัตน์ ทรงมีมหาสติตื่นอยู่เสมอ(ชาคโร) ไม่ใช่ถิรสัญญานะครับ

สัญญาจำได้ก็ลืมได้ เพราะเป็นแค่ความจำได้หมายรู้

ไม่ใช่ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เป็นเพียงสํญญาที่ยังต้องจำอยู่ร่ำไปครับ

ส่วนสตินั้น เมื่อระลึกรู้เข้าไปจนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงในสังขารธรรมทั้งหลายได้แล้วไม่มีวันลืม

เป็นปัญญาในอันที่จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายครับ

"รู้ไม่ต้องจำ จำเพราะไม่รู้"

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยสัจจ์๔แห่งจิต ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลที่เกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ผลที่เกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์(หรือนิพพานนั่นเอง)
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee

this nation is last our nation , we don't come back to are born again time stump


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร