วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 13:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 92, 93, 94, 95, 96, 97, 98 ... 102  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตไม่สามารถรวมเป็นสมาธิได้

ผมเพียรนั่งสมาธิทุกวันมาสามปีแล้วจิตไม่สามารถรวมเป็นสมาธิได้เลยครับ แต่ก็ไม่เคยละความเพียรคิดเสียว่าทำเหตุปัจจัยไปเรื่อยๆเดี๋ยวถึงเวลาก็ได้ เองครับ เวลาปฏิบัติจะมีความฟุ้งซ่านรบกวนมากเหลือเกินก็รู้แล้วก็กลับมาที่คำ บริกรรมพุธโธ

รบกวนช่วยด้วยครับ

คำตอบ

นั่งสมาธิแล้วจิตยังฟุ้งซ่านด้วยมีอารมณ์เกิดขึ้น เหตุเป็นเพราะใจไม่มีศีลคุม ผู้ใดเอาศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ลงคุมให้ถึงใจ ผู้นั้นเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว จิตย่อมเข้าถึงความเป็นสมาธิได้แน่นอน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: ธรรมะสวัสดี ท่านธรรมบุตร :b53:
ขอบคุณสำหรับบทความ และขอชื่นชม
ตั้งแต่เป็นสมาชิกลานธรรมมาจนขณะนี้
ยังไม่เคยพบใครลงบทความได้หลายหน้าเท่าท่านมาก่อน
:b35: ชื่นชม..ชื่นชม
:b8: ธรรมะคุ้มครอง...เจริญในธรรม

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บัวไฉน เขียน:
:b53: ธรรมะสวัสดี ท่านธรรมบุตร :b53:
ขอบคุณสำหรับบทความ และขอชื่นชม
ตั้งแต่เป็นสมาชิกลานธรรมมาจนขณะนี้
ยังไม่เคยพบใครลงบทความได้หลายหน้าเท่าท่านมาก่อน
:b35: ชื่นชม..ชื่นชม
:b8: ธรรมะคุ้มครอง...เจริญในธรรม


:b20: ธรรมะสวัสดีครับท่านบัวไฉน
ขออนุโทนาบุญที่เกิดขึ้นให้ท่านบัวไฉนด้วย
ขอส่งต่อคำขอบคุณบทความ ให้ท่านอ.ดร.สนอง วรอุไร
ขอมอบคำชื่นชมให้กับน้องลูกโป่งที่แนะนำให้ผมรู้จักธรรมจักร
รวมถึงพี่ชายที่แนะนำให้รู้จักธรรมมะและกัลยาณธรรม
ทั้งกัลยาณมิตรที่เป็นพี่เลี้ยงช่วยแนะนำเรื่องต่างๆ ในธรรมจักร
ขอโทษที่ต้องเอ่ยนาม คุณสาวิกาน้อย คุณโรส คุณทักทาย
คุณดีดี คุณพงพัน คุณมังกรน้อย คุณกบนอกกะลา คุณกระบี่ไร้เงา
คุณB_wish ฯลฯ และต้องขอโทษหากตกหล่นมิได้เอ่ยนาม ท่านอาจารย์ทั้งหลาย
สาธุ..สาธุ..สาธุ..ครับ ท่านบัวไฉน :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 09 ส.ค. 2010, 01:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอยากทราบ สาเหตุของการเป็นไมเกรนครับ เพราะคนใกล้ตัวได้รับผลกรรม เห็นแล้วรู้สึกสงสารเป็นอย่างมากครับ นอกจากนั้น ผมอยากทราบวิธีการปฏิบัติ เพื่อบรรเทาอกุศลกรรมนี้

หากผู้ใดที่เป็น และได้อ่าน และได้ประโยชน์จากคำถามคำตอบนี้ก็ขอให้กุศลกรรมนี้จงมีจงเกิดแก่เจ้ากรรมนาย เวร ของบุคคลใกล้ตัวของข้าพเจ้า ที่ได้รับทุกข์จากไมเกรนนี้

กราบเท้าท่านอาจารย์ครับ

คำตอบ

ผู้ถามปัญหาบอกว่า คนใกล้ตัวได้รับผลกรรม ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นว่า ผู้เป็นไมเกรนต้องประพฤติเหตุไม่ดีมาก่อน ผลไม่ดี (ไมเกรน) จึงได้เกิดขึ้น หากผู้ถามปัญหาไปอ่านเรื่องที่คุณ หมออาจินต์ บุณยเกต เขียนบอกเล่าประสบการณ์ตรงที่ท่านเป็นไมเกรน เนื่องด้วยทำเหตุเบียดเบียนไว้ ผู้ถูกเบียดเบียนจึงผูกพยาบาท เมื่อกรรมไม่ดีให้ผล ท่านจึงต้องทุกข์ทรมานด้วยโรคปวดศีรษะ

ผู้ถามปัญหาอยากทราบว่า ผู้เป็นไมเกรนรายนี้ทำเหตุใดไว้ ขอตอบว่าเป็นคนละเหตุกันกับคุณหมออาจินต์ ต้นเหตุของการเป็นไมเกรนของผู้ป่วยรายนี้ คือใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำลายระบบประสาทฉีดพ่นสัตว์ เมื่ออกุศลกรรมให้ผล ผู้ทำเหตุไม่ดีไว้จึงต้องเป็นไมเกรน คำตอบนี้มิได้ทำให้ผู้ถามปัญหารวมถึงผู้อ่าน พ้นไปจากความทุกข์ ฉะนั้นผู้รู้ไม่ต้องการทราบเหตุของปัญหา แต่ผู้รู้นิยมรักษาอย่างน้อยให้มีศีล ๕ คุมใจ แล้วปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นกับตน

การบรรเทาปัญหาของผู้เป็นไมเกรนรายนี้ เจ้าตัวต้องประพฤติบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ โดยเฉพาะประพฤติทาน ศีล ภาวนาอยู่เสมอ แล้วอุทิศบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรไปเรื่อยๆ จนกว่าเขาจะเลิกจองเวร แล้วปัญหาจะหมดไป

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีคำถามรบกวนครูกรุณาให้ความรู้เป็นธรรมทาน
1. การเจริญสติในอิริยาบถย่อยในชีวิตประจำวัน มีหลักการทำอย่างไรครับ
คือควรทำเมื่ออยู่คนเดียวหรือไม่ครับ เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องอยู่กับคนทั่วไป
ที่เขาไม่ได้ทำแบบเรา เราจะกำหนดยื่นหรอ ตักหนอ ยกหนอ เข้าหนอ รสหนอ เคี้ยวหนอ
กลืนหนอ ได้จริงๆหรือครับ จะไม่ทำให้คนอื่นสงสัยหรือครับว่าเรากำลังทำอะไร

2. ปกติอย่างเช่นการเดิน ผมเป็นคนที่เดินจะก้มหน้าลงมองเพียงก้าวหน้าที่จะก้าวต่อ
ผมเป็นแบบนี้ตั้งนานละครับ จนเพื่อนหรือคนรู้จักจะชอบทักเดินไม่มองหน้าใครเลย
ผมเป็นแบบนี้ก่อนที่ผมจะรู้เรื่องธรรม แต่พอมาเข้าใจเรื่องธรรมะ
ก็จริงอย่างที่ครูสนองเคยกล่าว ว่ามีคนทักครูว่าระวังจะเดินชนเสา
วันนั้นผมตามองพื้นเพียงก้าวหน้า 1 ก้าว ก็มีพี่คนหนึ่งมาจากไหนไม่ทราบ
มาทักเรียกชื่อผม บอกว่าเดินจงกรมหรือ ผมยิ้มแต่คิดในใจ
ที่จริงผมกำลังเดินและท่องพระธัมมจักรครับพี่
ผมจึงเรียนถามครูว่า ผมชอบที่จะเดินแบบปกติ แต่ผมไม่เคยได้รับการฝึกเดินจงกรมเลย
การเดินจงกรม เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะเดินแบบฉบับของเราปกติ แต่ระหว่างเดิน
เรากำหนดสมาธิในใจเอง เช่น การท่องบทสวด การใช้นิ้วมือนับสร้อยข้อมือลูกประคำ
เพราะส่วนใหญ่ผมจะเดินแบบนี้ หรือการจะมีสมาธิจำเป็นต้องกำหนดอิริยาบถย่อย ระหว่างดินเสมอจึงจะเกิดสมาธิได้

3. ผมเคยฟังครูสนองเล่าว่า ก่อนที่ครูจะได้ธรรมจักขุ ครูเคยนั่งทำสมาธิ
พอรู้สึกเมื่อยจึงเปลี่ยนอิริยาบถเดิน แต่ครูคิดว่าหากเปลี่ยนไปมาจะไม่สำเร็จ
เลยตั้งอธิษฐานว่าจะยอมตายด้วยธรรมะพระพุทธเจ้า ครูจึงนั่งทำสมาธิจนได้ดวงตาธรรม
ผมสงสัยอย่างหนึ่งว่าการได้สมาธิ การนั่งจะทำให้เกิดได้ง่ายกว่าหรือครับ

ผมขอเล่าเรื่องศีลข้อ 1 และข้อ 2 ให้ครูฟังนะครับ
ผมเคยบอกแม่ว่าให้ไปบอกน้า ว่าอย่าฆ่าหนูที่จับได้เลย ปกติบ้านเขาจะหนูเยอะ
และทุกครั้งที่จับได้ เขาจะทรมานเอากรงไปตากแดดจนหนูตาย เอากรงไปจุ่มในน้ำบ้าง
แม่ผมไปบอกน้าตามคำพูดผม เขาเปลี่ยนพฤติกรรมทันที เอาหนูไปปล่อยพร้อมพ่อผม
ผมเห็นแล้วสาธุ....เพราะน้าผมทั้งบ้านเขามีแต่โรคประจำตัวรุนแรง...

ส่วนศีลข้อ 2 ผมไปว่ายน้ำที่สระ และผมลืมของทิ้งไว้ในห้องแต่งตัว
ผมนึกขึ้นได้ตอนที่ผมกลับบ้านแล้ว แต่ใจคิดว่า เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยไปเอา
แต่ผมก็ไม่ว่างจนเลยมา 2 วัน ผมคิดเสมอและภาวนาว่าหากเรามีบุญจริง
ของเราคงไม่หายมั้ง... พอวันที่ 2 หลังจากกลับจากนั่งสมาธิที่วัด ตกเย็น
ผมก็ไปที่สระว่ายน้ำ...ผมดีใจที่ของผมยังอยู่ครบ

กราบขอบพระคุณครูในความกรุณาธรรมทาน

คำตอบ

(๑). การเจริญสติในชีวิตประจำวัน ควรทำต่อเมื่อปฏิบัติงานภายนอกแล้วเสร็จ หรือทำในขณะที่ไม่มีเหตุที่ต้องข้องเกี่ยวกับผู้ที่อยู่รอบข้าง ดังเช่นในกรณีของการรับประทานอาหาร ให้เอาจิตจดจ่ออยู่กับทุกอิริยาบถที่เกิดขึ้นขณะนั้น โดยไม่แสดงอาการให้ผู้อื่นสัมผัสได้ ก็ถือว่าเป็นการเจริญสติได้

(๒). ใครพูดอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา แต่การเดินควรมองที่พื้นไม่เกินสี่ก้าว ทั้งนี้เพื่อมิให้ตาไปสัมผัสกับสิ่งกระทบภายนอก แล้วเอาเข้ามาปรุงอารมณ์ให้กับจิต และยังเป็นการป้องกันเท้ามิให้เดินไปเตะ เหยียบ หรือสะดุด สิ่งที่จะทำให้เกิดความเสียหาย

คำถามใดที่ไม่จำเป็นต้องตอบ คือตอบแล้วไม่เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง ผู้ถูกถามมีสิทธิที่จะไม่ตอบ คือ นิ่งไว้ เฉยไว้ก็ได้ ครั้งใดที่มีอิริยาบถเกิดขึ้น เช่น การย่างก้าวของเท้า หากผู้ถามปัญหาเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับการก้าวเดิน หรือมีจิตจดจ่ออยู่กับอิริยาบถย่อยอื่นใด ถือได้ว่าเป็นการเจริญสติ

(๓). บางคนนั่งภาวนา แล้วทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย บางคนเดินจงกรม แล้วทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย บางคนเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับอิริยาบถอื่น แล้วทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย ฯลฯ ความเหมาะสม (สัปปายะ) ในแต่ละอิริยาบถของแต่ละบุคคลมีไม่เหมือนกัน ฉะนั้นพึงเลือกอิริยาบถที่เหมาะกับตน มาใช้เป็นอุบายฝึกจิตให้มีสติ

คำว่า “ ไม่หายมั้ง ” ไม่มีในผู้รู้ตามแนวทางของพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนาสอนให้คนเข้าถึงความจริง คือ ความเป็นเหตุเป็นผลของสรรพสิ่ง ฉะนั้นผู้ใดประพฤติตนมีศีลคุมใจ โดยเฉพาะศีลข้อที่สองได้แล้ว ของไม่หายแน่นอน สาธุกับผู้ที่ถามปัญหาด้วยครับ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 20:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 05:27
โพสต์: 49

อายุ: 0
ที่อยู่: www.ccagthailand.com

 ข้อมูลส่วนตัว


ในโลกนี้มีคนจำนวนมาก หลายประเทศ หลายภาษา และหลายศาสนา

และประเทศที่เจริญมาก ๆ ทางด้านวัตถุ ประชาชนอยู่ดีกินดี แต่ไม่รู้หนทางแห่งการหลุดพ้นจากการเกิด

เพราะไม่มีคนสอน ถ้านับเป็นจำนวนคน ร้อยละ 99.99 % น่าจะได้ คนพวกมีถือว่ามีกรรมหรือเปล่า

แล้วพวกเขาจะมีโอกาสมีดวงตาเห็นธรรมไหม ครับ

.....................................................
ธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ทวาร ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 21:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ใช่การตอบนะครับ..แต่ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น :b1:

ประชาชนที่นับถือศาสนา..เชื่อในศาสดา...แสดงว่าเขายอมรับการมีอยู่ของผู้นำของเขา..ยามใดที่ผู้นำของเขา..พบธรรมนำทางพ้นจากสังสารวัฏฏ..เขาก็จะบอกธรรมอันนั้นแก่บริษัทบริวารที่ทำบุญร่วมกันมาของเขาให้พ้นการเกิดได้เช่นกัน..ครับ

อย่าลืมว่า..วัฏฏะสงสารนี้..เป็นมายาวนานและจะเป็นไปอีกเกินประมาณ..นะครับ

และอย่าลืมว่า..พระพุทธเจ้าที่มีมา..มากคณานับ..และ..จะมีอีกต่อ ๆ ๆ ไป..อีกด้วย

พระท่านจึงสอนว่า..อย่าได้ไปว่าผู้อื่นเลย..ก็อาจเพราะเหตุนี้ก็ได้นะครับ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 03:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ccag เขียน:
ในโลกนี้มีคนจำนวนมาก หลายประเทศ หลายภาษา และหลายศาสนา
และประเทศที่เจริญมาก ๆ ทางด้านวัตถุ ประชาชนอยู่ดีกินดี แต่ไม่รู้หนทางแห่งการหลุดพ้นจากการเกิด
เพราะไม่มีคนสอน ถ้านับเป็นจำนวนคน ร้อยละ 99.99 % น่าจะได้ คนพวกมีถือว่ามีกรรมหรือเปล่า
แล้วพวกเขาจะมีโอกาสมีดวงตาเห็นธรรมไหม ครับ


การอยู่ดีกินดี ก็เพราะทานเพราะบุญที่เคยไว้นั่นแล ที่ส่งผลให้ได้มีกินมีสุข
ไม่ใช่การลงโทษ ไม่ใช่ผลของบาปแต่อย่างใด

วันนี้เขาไม่ได้ฟังธรรม แต่วันหนึ่ง หรือชาติหนึ่งข้างหน้า
พอได้ฟังแล้วก็อาจจะบรรลุธรรมฉับพลันได้ ก็เป็นไปได้
เพราะการอยู่ดีกินดีมีความสุข มันก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าเขามีบุญบารมี

พระโพธิสัตว์ที่ปราถนาพุทธภูมิ ที่กำลังบำเพ็ญบารมีอยู่
ก็อาจจะไม่ได้นับถือพุทธอยู่ในเวลานี้ก็ได้

ผมรู้สึกว่า คนตาบอดในพระพุทธศาสนา
จะมากกว่าศาสนาอื่นอีกนะครับ
แล้วอนาถามาก ที่อุตส่าห์เป็นชาวพุทธแต่ไม่รู้ว่ามีของดี

ศาสนาพุทธเราไม่เมหือนศาสนาอื่นตรงสอนเรื่องภาวนาสติปัฏฐาน
แต่เรื่องศีลเรื่องทาน ใครๆเขาก้สอน

อย่างศีล
บรรดาคนนับถือศาสนาอื่นที่ผมรู้จัก ศีลเขาดีกว่าชาวพุทธเยอะ
กล้าพูดอย่างนี้เลย นี่พูดถึงสภาพจิตที่เป็นศีลเลยนะครับ
กล่าวคือการไม่ปล่อยให้จิตใจตนเองล่วงไปสู่อกุศล
คนคริสต์ที่ผมรู้จักนะ นินทาก็ไม่เอา คิดลบก็ไม่เอา ต่อว่าใครก็ไม่เอา
เขาสอนกันให้มีแต่ความรักความเมตตา
นี่ถ้าไม่พูดถึงยี่ห้อนะ พูดถึงสภาวตามธรรมชาติ ต้องบอกว่าเขามีศีลเหนือมาตรฐานชาวพุทธ..เยอะ

แต่ชาวพุทธเรา หันไปทางไหน
ผมหาคนมีศีลแม้เล็กน้อยก็ไม่มีเลย แทบไม่มีเลยจริงๆ
เป็นที่น่าอนาถว่าเกิดมาในศาสนาพุทธ แต่ตาบอดหูหนวกไม่ฟังเสียงธรรมะ

เอาคำสอนธรรมะไปแนะนำ แล้วยังพากันปรามาสอีกนะว่า
พระไม่ทำมาหากินอะไร จะไปรู้อะไร พูดดีใครก็พูดได้
ไม่มีอะไรทำก็พุดได้ ว่าอย่างนี้เลยนะ
นี่บอดถึงขนาดนี้ คิดว่าตัวเองเก่งกล้าสามารถ
ลืมไปกระมังว่าพระพทุธเจ้าเกิดมาก็ไม่เคยทำมาหากินเหมือนกัน
เอาอะไรมาพูดว่าพระไม่รู้อะไร ไม่แน่จริงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้หรือ
ไม่ศึกษา ไม่เข้าใจ ไม่สนใจ แล้วก็เที่ยวทึกทักเอาว่าตนเก่งกว่าธรรมะ

ทาน ศีล ภาวนา ล้วนเป็นธรรมชาติที่ทุกคนเข้าถึงได้ เป็นของกลาง
จิตใจที่เข้าถึงศีล เข้าถึงทาน มันไม่มียี้ห้อหรอกครับ
ใครทำใครได้ ทำได้แล้วย่อมมีความสุข
ผมจะไปพูดว่าชาวคริสต์ที่ผมรู้จักนั้น เขาแกล้งมีความสุข หรือความสุขของเขามันปลอม ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเขามีความสุขจริงๆ ได้รับผลดีจากการถือศีล บำำเพ็ญทานจริงๆ
ทานที่ทำแล้วย่อมมีผล ศีลที่รักษาอยู่แล้วย่อมมีผล ไม่เลือกยี่ห้อ

ชาวอิสลามนี่ เขาถือศีลกันเอาเรื่องมาก ที่โดดเด่นที่สุดก็เรื่องไม่กินเหล้า
แต่ชาวพุทธต้องมาขอกันในวันพระ ในพรรษา แต่ชาวอิสลามเขาไม่กินทั้งปี
นี่ ใครศีลดีกว่ากัน

สงครามอีรักว่ามีคนตาย ยังตายไม่มากเท่าสงกรานต์ประเทศไทย
ชาวพุทธทั้งนั้น

ชาวพุทธนี่แหละครับ ตัวดีเรื่องหูหนวกตาบอดและไร้ธรรมะ
เตือนกันเองดีกว่าครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 13 ส.ค. 2010, 03:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 05:27
โพสต์: 49

อายุ: 0
ที่อยู่: www.ccagthailand.com

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนา จะต้องเป็นคำตอบสุดท้าย
สำหรับผู้ที่ต้องการหยุด การเวีัยนว่ายตายเกิด ถูกต้องไหม ครับ

.....................................................
ธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ทวาร ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมได้ฟังการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สนองเป็นครั้งแรก ขณะที่ผมทำงานอยู่ที่ประเทศมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2553 ก่อนเข้าพรรษาได้ไม่นานครับ จากการที่หัวหน้าของผมได้นำไฟล์เสียง หัวข้อเรื่อง "ความสุขจากการปล่อยวางอย่างไม่ประมาท" ที่ท่านอาจารย์สนองได้บรรยายไว้เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2550 โดยปกติแล้วผมเป็นคนที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีการทำทานตามโอกาส รักษาศีล แต่ยังคงมีความด่างพร้อยในศีลที่รักษาอยู่พอสมควร ชอบฟังการบรรยายธรรม เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและกฎแห่งกรรม และมีความสนใจในเรื่องการเจริญสติอยู่บ้าง แต่ไม่ได้จริงจังมากนัก เนื่องจากจิตใจยังคงลุ่มหลงไปตามอำนาจกิเลสต่างๆ จากการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่มีความรู้เท่าทัน และไม่เข้าใจว่าการเจริญสติที่ถูกต้องควรจะทำอย่างไร นานๆ ครั้ง ผมจึงจะสวดมนต์และนั่งสมาธิ โดยการหลับตาภาวนา ยุบหนอ-พองหนอ ไปเรื่อยๆ ฟุ้งซ่านบ้าง คิดเรื่องต่างๆ นาๆ บ้าง จิตใจไม่ค่อยจะสงบนัก แต่การฟังธรรมของท่านอาจารย์สนองในครั้งนั้น เป็นการจุดประกายจิตใจในทางใฝ่ดีของผม ผมคิดว่าถึงเวลาที่ของเก่าของผมส่งผลแล้วที่ทำให้ผมได้มีโอกาสได้ฟังการ บรรยายธรรมจากท่านอาจารย์ ผมเริ่มเปลี่ยนแนวความคิดและวิถีทางการดำเนินชีวิตไปจากเมื่อก่อน ผมได้เริ่มค้นหาไฟล์เสียงการบรรยายธรรมและหนังสือของท่านอาจารย์จากทาง Internet เพื่อใช้ศึกษาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและแนวทางในการเจริญสติที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากหนังสือ "ทางสายเอก" ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไว้ในการบรรยายธรรมครั้งนั้น ปัจจุบันข้าพเจ้ามีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังมากขึ้น พยายามให้มีศีลคุมใจอยู่เสมอ พยายามลด ละ เลิก อบายมุขทั้งหลายให้ได้มากที่สุด และผมได้อธิษฐานจิตไว้ว่า ผมจะสวดมนต์และเจริญกรรมฐานทุกวัน นอกจากจะเกิดเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ปฏิบัติไม่ได้จริงๆ เพื่อเป็นเหตุปัจจัยให้จิตมีสติ สมาธิและปัญญา มากขึ้น

ผมขออนุญาตสอบถามท่านอาจารย์ในเรื่องที่ผมคิดอยู่ในขณะนี้ เป็นความคิดที่ถูกตรงหรือไม่ครับ

1. ขณะนี้ผมพอจะมีความเข้าใจในการเจริฐสมถกรรมฐานอยู่บ้าง ว่าเป็นการกำหนดจิตให้สงบนิ่งอยู่กับอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ใช่ไหมครับ ผมได้ภาวนา พองหนอ-ยุบหนอ โดยกำหนดจิตอยู่ที่หน้าท้อง ซึ่งผมรู้สึกว่าจิตของผมสงบนิ่งกว่าเมื่อก่อนมาก บางครั้งจะรู้สึกว่าจิตว่าง จิตจะรู้สึกแต่คำที่ภาวนาและอาการพอง-ยุบของหน้าท้อง บางครั้งที่จิตเกิดความฟุ้งซ่าน ก็จะกำหนด คิดหนอ หรือ ฟุ้งหนอ จนจิตเลิกคิดเรื่องต่างๆ เหล่านั้น เมื่อมีอาการคันหรือปวดตามอวัยวะต่างๆ ก็จะกำหนดว่าคันหนอ หรือปวดหนอ จนกว่าอาการเหล่านั้นจะหายไปหรือทุเลาลง เมื่อผมรู้สึกว่าในขณะที่นั่งหลังของผมเริ่มจะโก่งงอหรือเริ่มที่จะก้มหน้า ผมจะกำหนดว่าหลังงอหนอ ก้มหน้าหนอ และพยายามจัดระเบียบร่างกายให้ตรงเหมือนเดิม จึงกลับมากำหนดจิตที่หน้าท้องอีกครั้ง โดยที่ไม่ได้ลืมตาจนกว่าจะครบกำหนดเวลาที่ผมตั้งนาฬิกาปลุกเอาไว้ ประมาณ 30-60 นาที ผมอยากทราบว่าสิ่งที่ผมปฏิบัติอยู่เป็นสมถกรรมฐานใช่ไหมครับ และผมปฏิบัติมาถูกทางหรือไม่ครับ

2. ผมทราบจากการบรรยายธรรมว่าสมถกรรมฐานเป็นพื้นฐานของวิปัสสนากรรมฐาน แต่จากการอ่านหนังสือและการฟังธรรมเกี่ยวกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานจากท่าน อาจารย์สนองและผู้รู้ท่านอื่นๆ ผมยังคงไม่มีปัญญาที่จะทำความเข้าใจได้ครับ ผมควรจะเจริญสมถกรรมฐานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงเวลาและมีวาสนาได้พบกับท่านอาจารย์ผู้สอนวิปัสสนากรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ เพราะว่าปัจจุบันนี้ผมทำงานอยู่ที่ประเทศมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา โดยมาทำงานเป็นเวลา 4 เดือน และกลับไปพักผ่อนที่เมืองไทยประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ ประมาณ 1 ปีกับอีก 4 เดือนมาแล้ว ยังไม่มีกำหนดเวลากลับไปทำงานที่เมืองไทยอย่างถาวร จึงไม่มีโอกาสได้ไปศึกษาการเจริญกรรมฐานจากท่านอาจารย์ต่างๆ โดยตรง ได้เพียงแต่ศึกษาจากการอ่านและการฟังที่ประเทศมาดากัสการ์เท่านั้นครับ ความคิดเช่นนี้เป็นความคิดที่ถูกตรงหรือไม่ครับ

ผมตั้งใจไว้ว่าเมื่อได้กลับไปทำงานอยู่ที่เมืองไทยอย่างถาวรแล้ว จะไปศึกษาการเจริญสติและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่พุทธอิสระ ที่วัดอ้อน้อย นครปฐมครับ ผมขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์สนองด้วยครับ

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงและอนุโมทนาบุญกับสิ่งต่างๆ ที่ท่านอาจารย์ สนอง วรอุไร ทำไว้ให้กับโลกด้วยครับ



คำตอบ

(๑). ที่ปฏิบัติอยู่เป็นสมถกรรมฐาน และปฏิบัติได้เกือบถูกทางแล้ว คือต้องนั่งตัวให้ตรง แล้วจะไม่ปวดหลัง เร่งความเพียรในการปฏิบัติให้มากขึ้น ใช้ขันติและสัจจะเป็นเครื่องสนับสนุน ไม่ควรใช้นาฬิกาปลุกให้เกิดเสียงดัง เพราะจะทำให้จิตไปพะวงอยู่กับเสียงของนาฬิกา แต่ควรใช้นาฬิกาปลุก เพื่อกำหนดเวลาเริ่มปฏิบัติและเวลาเลิกปฏิบัติ จะดีกว่าครับ

(๒). คนจำนวนมากที่มาเกิดอยู่ในครั้งพุทธกาล เป็นผู้พัฒนาจิตมายาวนานจากอดีตชาติ จึงมีจิตตั้งมั่นมากกว่าคนในยุคปัจจุบัน จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติสมถภาวนา เพียงแต่ใช้จิตที่ตั้งมั่น พิจารณาว่า “ สรรพสิ่งเกิดขึ้น ย่อมมีเหตุที่ทำให้เกิด เมื่อเหตุดับ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมดับไปด้วย ” เมื่อใช้จิตพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) แล้วเห็นว่า คำกล่าวข้างต้นเป็นจริงแท้ จิตย่อมปล่อยวางสรรพสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแท้จริง ดวงตาเห็นธรรมจึงเกิดขึ้นได้โดยวิธีนี้ ตรงกันข้าม คนที่มาเกิดอยู่ในยุคปัจจุบัน มิได้ฝึกจิตมามากพอ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติสมถกรรมฐาน เพื่อให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้ได้ก่อน แล้วจึงใช้จิตที่นิ่งเป็นอุปจารสมาธิไปพิจารณา กาย เวทนา จิต และธรรม จนเห็นว่าดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์ได้แล้ว การเข้าถึงดวงตาเห็นธรรม จึงจะเกิดขึ้นได้

หากผู้ถามปัญหามีโอกาสนำตัวเข้าฝึกปฏิบัติธรรม กับครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์เข้าถึงธรรมมาก่อนแล้ว โอกาสที่ผู้ถามปัญหาจะพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าฝึกด้วยตนเอง

อนึ่ง ผู้ถามปัญหาประสงค์จะไปฝึกปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่พุทธะอิสระนั้น ถูกต้องแล้ว เพียงแต่พัฒนาตัวเองให้มีพฤติกรรมถูกตรงตามธรรมวินัยได้เมื่อไรแล้ว การฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่พุทธอิสระ ย่อมนำพาชีวิตไปสู่ความสูงสุดในพุทธศาสนาได้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หนูมีคำถามที่สงสัย อยากเรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ

1. ในเรื่องของการทำบุญ บางที่บอกว่าควรทำเต็มที่ ทำตามศรัทธา แต่ถ้าทำน้อย ก็ได้บุญน้อย
เวลาที่มีงานพิธีของทางวัด ใครที่ทำบุญด้วยปัจจัยน้อย ไม่ถึงหลักแสน หรือมากกว่านั้น ก็จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ในการนั่งด้านหน้า หรือติดโบว์หรือได้มีโอกาสทำพิธี ตัวของหนูเองก็รู้สึกไม่ดีกับการกระทำแบบนี้ เพราะเหมือน เป็นการแบ่งชนชั้น และการที่เรารู้สึกต่อต้านกับทางวัด และว่ากล่าวบิดาซึ่งท่านเห็นดีเห็นงามในการทำบุญแบบนี้ ไม่ได้รู้สึกแบบหนู และพร้อมทำบุญด้วยปัจจัย(เงิน)อย่างเต็มที่ บางครั้งถึงหลักแสน ถือเป็นบาปหรือไม่ค่ะ และการทำบุญแบบนี้เป็นการทำบุญด้วยกิเลสรึป่าวคะ

2. หนูเคยทำบุญด้วยเงินจำนวนน้อยที่วัดนี้ แล้วบิดาว่ากล่าวหนูว่า เพราะทำแค่นี้ชีวิตถึงไม่ไปถึงไหน หนูอยากทราบว่า การที่หนูจะมีพฤติกรรมต่อต้าน ในสิ่งที่เราเห็นว่าไม่ถูกต้อง หนูจะบาปมั้ยคะ

3. แบบที่บิดาหนูเป็น ถือเป็นศรัทธา เป็นเส้นทางของท่านที่เราไม่ควรก้าวก่ายรึป่าวคะ

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงและอนุโมทนาบุญกับสิ่งต่างๆ ที่ท่านอาจารย์ สนอง วรอุไรได้ตอบคำถาม ให้หนูได้กระจ่างด้วยค่ะ

คำตอบ

(๑). ในครั้งพุทธกาล พระมหากัสสปะ เข้านิโรธสมาบัตินานเจ็ดวัน หลังจากออกนิโรธสมาบัติแล้ว ได้ครองจีวรอุ้มบาตรไปยืนอยู่หน้าบ้านของหญิงชรายากจน หญิงชรายากจนไม่มีอาหารใดๆพอจะนำมาใส่ลงในบาตรได้ จึงได้ใช้ภาชนะตักน้ำดองผักมาใส่ลงในบาตร แล้วพระมหากัสสปะ ลงนั่งฉันน้ำดองผักให้หญิงชรายากจนเห็น ทำให้เกิดปีติอย่างมาก เมื่อตายไปแล้ว นางได้ไปเกิดเป็นเทพนารีอยู่ในสวรรค์ชั้นนิมมานนรดี ดังนั้นผู้ถามปัญหาโปรดพิจารณาเอาเองว่า จำนวนมากหรือจำนวนน้อยของทานที่ให้ มีผลต่อานิสงส์ที่ผู้ให้ทานจะได้รับ มากน้อยเพียงใด การให้ทรัพย์เป็นทาน มีอานิสงส์เป็นบุญ แต่ความอยากได้ที่นั่งข้างหน้า ความอยากได้เข้าร่วมทำพิธี (ตัณหา) นั้นเป็นกิเลส มีอานิสงส์เป็นบาป ซึ่งพระพุทธโคดมมิได้แนะนำให้พุทธบริษัท ประพฤติเช่นนี้

(๒). พระพุทธะ รวมถึงผู้รู้ในพุทธศาสนา ไม่เข้าไปก้าวล่วงในชีวิตของผู้อื่น ฉะนั้นการไม่ประพฤติตามคำของบิดาที่จัดเป็นกิเลส จึงไม่ถือว่าเป็นบาป
(๓). พระพุทธโคดม สอนพุทธบริษัทให้ศรัทธา ด้วยการมีเหตุผลรองรับ และเหตุผลนั้นต้องมาจากความเห็นถูกตามธรรม ฉะนั้นผู้เป็นบิดาท่าน ศรัทธาแบบไหนก็เป็นเรื่องของบิดา เพราะบิดามีสิทธิ์ที่จะบริหารจัดการชีวิต ด้วยตัวของท่านเอง ผู้รู้ในพุทธศาสนาไม่เข้าไปก้าวล่วงในเรื่องของคนอื่น

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีความทุกข์เรื่องหนี้สินครับ
ไม่ทราบว่าจะวางหรือจะแก้ไขอย่างไร
อาจารย์โปรดเมตตาตอบคำถามของบัวที่อยู่ใต้น้ำด้วยเถิดครับ

หากคำถามที่ถามมาเป็นเรื่องไรสาระหรือ
รบกวนอาจารย์ก็ขอขมาอาจารย์ด้วยนะครับ



คำตอบ

พระพุทธะตรัสว่า ฆราวาสจะมีความสุขได้ ต้องประพฤติเหตุให้ถูกตรง ดังนี้

๑. สุขจากการมีทรัพย์

๒. สุขจากการใช้จ่ายทรัพย์

๓. สุขจากการไม่เป็นหนี้

๔. สุขจากการทำงานไม่มีโทษ

ฉะนั้นผู้ใดไม่ประพฤติตามคำชี้แนะของผู้รู้ทั่ว (สัพพัญญู) ย่อมประสบกับความทุกข์แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว หากผู้ถามปัญหาปรารถนาจะลดทุกข์ ต้องนำตัวไม่เป็นหนี้ ด้วยการบริโภคใช้สอยมักน้อย เท่าที่จำเป็นกับชีวิต บริโภคใช้สอยแต่สิ่งที่เป็นสาระ (ประโยชน์) และทำจิตเป็นสันโดษ ไม่นำชีวิตไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น จากนั้นหางานดี (ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม) ด้วยความขยันหมั่นเพียร และสุดท้ายประพฤติตนให้มีศีล ๕ คุมใจทุกขณะตื่น

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลากรวดน้ำ ท่องบทกรวดน้ำ อิมินาฯ เป็นภาษาบาลี แต่ไม่รู้ความหมายจะทำให้ท่านเหล่านั้นได้รับส่วนบุญที่แผ่ไปให้หรือไม่ครับ เปรียบเทียบกับการแผ่ส่วนบุญโดยการกล่าวถึงผู้ที่เราจะให้เป็นภาษาไทยที่เรา เข้าใจอย่างไหนจะดีกว่ากัน

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากครับ

คำตอบ

กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ สามารถพูดเป็นภาษาบาลีได้ แต่การกรวดน้ำแล้วกล่าวคำที่ผู้กรวดน้ำเข้าใจความหมาย ย่อมดีกว่า

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันได้มีความสนใจในเรื่องการปฏิบัติตน เพื่อให้พ้นทุกข์และมีความสุขในปัจจุบัน และวันหนึ่งดิฉันได้ฟังเสียงธรรมของหลวงปู่ชา ท่านกล่าวคำว่า "อินทรีย์มันยังอ่อนก็พยามปฏิบัติกันต่อไป" คำว่าอินทรีย์อ่อนนี้หมายถึงอะไรคะ หมายรวมถึงทั้งร่างกายและจิตใจ ของบุคคลนั้นทนต่อสิ่งเร้าต่าง ๆไม่ค่อยได้ต้องตกเป็นทาสมัน ดิฉันเข้าใจถูกหรือไม่ เปิดอ่านในหนังสือก็ไม่เข้าใจเพราะบางที่ก็กล่าวถึงอินทรีย์ 5 พละ 5 เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่คะ

ขอขอบพระคุณท่านล่วงหน้า ที่จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับผู้ที่เบาปัญญาในเรื่องนี้

คำตอบ

คำว่า “ อินทรีย์ ” หมายถึง สภาพเป็นใหญ่ในการทำหน้าที่ เช่น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ตาเป็นใหญ่ในการเห็น จมูกเป็นใหญ่ในการสัมผัสกลิ่น ฯลฯ ซึ่งตามที่กล่าวนี้หมายถึง อายตนะภายในหกอย่าง (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ)

อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน คำว่า “ พละ ” หมายถึง กำลังที่ทำให้ใจเกิดเป็นความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามจะครอบงำไม่ได้ เช่น ความไม่เชื่อ ความขี้เกียจ ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ไม่สามารถครอบงำ หรือเข้ามามีอำนาจเหนือใจของผู้มีศรัทธา มีวิริยา มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา (เห็นถูกตามธรรม) กล้าแข็งได้ ฉะนั้นที่หลวงปู่ชาพูดว่า อินทรีย์ยังอ่อน นั้นหมายถึง พละ ๕ อ่อนนั่นเอง

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2010, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมได้อ่านคำตอบชี้แนะของครูที่มีค่ามหาศาลต่อการปฏิบัติธรรมของผม ผมยังมีความสงสัยต่อไปว่า
1. " การย่างก้าวของเท้า หากผู้ถามปัญหาเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับการก้าวเดิน
หรือมีจิตจดจ่ออยู่กับอิริยาบถย่อยอื่นใด ถือได้ว่าเป็นการเจริญสติ"
ครูสนองหมายถึงหากผมจะเดินด้วยจังหวะปกติ แต่ใจผมจดจ่อกับบทสวดระหว่างเดิน
ผมก็สามารถเจริญสติทำสมาธิได้ใช่ไหมครับโดยที่ผมไม่ได้กำหนดอิริยาบถในการ เดินเลย
ถือเป็นการเจิรญสติหรือไม่ครับ ผมไม่เคยเดินจงกลมเป็นจริงเป็นจัง
ผมชอบเดินจังหวะปกติมากกว่า ผมเป็นคนชอบเดินมากๆ เดินได้นานๆ เดินวนไปมาในที่แคบๆได้
หรือแม้กระทั่งเดินวนเป็นวงกลมปิด ผมชอบเดินเมื่อผมจะใช้ความคิด ผมผิดปกติจากคนอื่นไหมครับ

2. เพราะหลังจากภาระการงานเสร็จสิ้นลง ผมจะใช้เวลาวิ่งมากแม้กระทั่งว่ายน้ำ ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะวิ่ง ผมวิ่งเป็น 10 กิโลเมตร ผมจึงสามารถท่องบทสวดฯ ได้หลายจบ
ผมเป็นคนชอบออกกำลังกาย โดยหากผมไม่โหลดไฟล์เสียงมาฟังในมือถือขณะออกกำลังกาย
ผมก็จะท่องบทสวดระหว่างกิจกรรมดังกล่าวด้วย เป็นการทำสมาธิอย่างหนึ่งได้ใช่ไหมครับ

3. ผมได้ฟังและอ่านเรื่องอานนท์ พุทธอนุชา มีตอนหนึ่งกล่าวว่า
พระพุทธะเจ้าตัดสินพระทัยว่าจะปรินิพพานที่ปาวาลเจดีย์ เมืองไพสาลี
กล่าวกับพระอานนท์ว่า "หากบุคคลใดได้เจริญอิทธิบาท 4 ประการ
และบุคคลนั้นมีความสามารถให้มีอายุยืนได้ถึง 1 กัปป์หรือมากกว่านั้น
ก็จะมีชีวิตยืนยาวได้สมปรารถนา" และมีอีกครั้งหนึ่งที่พระองค์ทรงอาพาธหนัก
หลังฉันอาหารที่นายจุนทะมาถวาย พระองค์ตรัสว่าได้ใช้อิทธิบาท 4 จึงสามารถ
ประทังอาการอาพาธได้ ผมอยากทราบว่า ความหมายเป็นเช่นไรครับ
ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้ครับ
หากใช้เป็นเรื่องการงานผมยังพอเข้าใจได้มากกว่าครับ
ทำไมพระพุทะเจ้าใช้อิทธิบาท 4 จึงมีผลต่อการกำหนดชีวิตยืนยาวและการอาพาธได้ครับ

4. ผมสงสัยคำ 2 คำ คือ กิเลสกับตัณหาครับ 2 คำนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไรครับ
เห็นคนชอบพูดติดกันว่ากิเลสตัณหา ในบทสวดพระธัมมจักร ผมท่องใจความแปลมาได้ว่า
ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แล้ว ทำไมพระพุทธะองค์ไม่กล่าวถึงกิเลสในสมุทัยครับ

ป.ล. ผมจะเจริญรอยตามครูสนองครับ ผมคิดเช่นครูสนองว่า
การเดินไม่กวาดตามองสิ่งภายนอกอื่นมากกว่าการเดินตามรอยทางเพื่อไปสู่จุด หมาย
เป็นการทำจิตใจให้มีสมาธิไม่ปรุงแต่ง ผมใช้วิธีนี้ เพื่อลดละการปรุงแต่งโดยตา
จนมีวันหนึ่งผมหยิบเหรียญ 10 บาทเพื่อไปจ่ายค่าว่ายน้ำ (ถัดจากวันที่ลืมของที่สระน้ำนะครับ)
แต่เพราะผมเตรียมแบกอาหารเม็ดสุนัขแมวไปเลี้ยงที่สระ
และกระติกน้ำพร้อมอุปกรณ์ว่ายน้ำออกจากรถ จนผมไม่ทราบว่า
ทำเหรียญตกตอนไหน ใจคิดว่าตกในรถ เลยไม่สนใจไปหยิบเหรียญใหม่มา
ผ่านไป 1 วัน 1 คืน เต็มๆ เป็นเพราะผมเดินก้มหน้ามองแต่พื้นนี่แหละครับ
ผมเจอเหรียญของผมตกที่ๆผมจอดรถไว้เมื่อวาน หลังจากว่ายน้ำเสร็จแล้ว
ผมแปลกใจและดีใจนึกขึ้นได้ว่าเป็นเหรียญเราแน่ๆ
ที่ทำตกไว้เมื่อเย็นวาน ทั้งๆที่ๆตรงนั้นทหารและคนทั่วไปเดินผ่านไปมากวัดไกว่
แต่เหรียญไม่หายไป ผมขนลุกนิดหนึ่งเมื่อนึกขึ้นได้
และนี่คืออานิสงส์ของการเดินก้มหน้ามองพื้นหรือไม่ครับ
ผมยังติดใจกับตัวเองไม่หายทำไมผมถึงต้องชอบเดินก้มหน้ามองพื้นหนอ

กราบขอบพระคุณคุณครูในความกรุณาธรรมทานเสมอมาต่อผมนะครับ


คำตอบ

(๑). ผู้ใดก้าวเดินตามปรกติ แล้วเอาจิตไปจดจ่ออยู่กับบทมนต์ที่สวด ถือว่าเป็นการเจริญสติได้ ผู้ถามปัญหาเป็นคนชอบเดิน เมื่อใดที่เดินแล้วทำให้จิตเป็นสมาธิ สามารถนำกำลังสมาธิไปใช้เป็นฐานให้เกิดปัญญา (ความคิด) ได้

คำว่า “ ผิดปรกติ ” หมายถึง ไม่เหมือนเดิม หรือไม่เหมือนที่เคยเป็น ถ้าผู้ถามปัญหาเป็นคนชอบเดินแล้วคิด ก็ไม่ถือว่าผิดปรกติ แต่หากนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ไม่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ถือว่าผิดปรกติไปจากคนอื่นได้

(๒). อิริยาบถใด เมื่อนำมาใช้บริกรรมแล้ว ทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ การนำเอาอิริยาบถนั้นมาใช้ฝึกสมาธิ ถือว่าไม่ผิด

(๓). พระพุทธโคดม เป็นผู้มีอินทรีย์พละกล้าแข็ง เมื่อนำเอาอิทธิบาท ๔ มาปฏิบัติด้วยใจที่เข้มแข็งแล้ว ย่อมสามารถทนต่อการอาพาธได้ แต่พระพุทธะรับปากกับมารว่าจะนิพพาน จึงต้องเสด็จดับขันธปรินิพพานไป เมื่อมีอายุขัยได้ ๘๐ ปี ทั้งๆที่สามารถตั้งปรารถนาให้มีอายุยืนยาวถึงหนึ่งกัปได้ ก็มิได้ทำเช่นนั้น ด้วยรักษาสัจจะยิ่งชีวิต

(๔). คำว่า “ กิเลส ” หมายถึง สิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ฯลฯ เมื่อเกิดขึ้นกับใจของผู้ใดแล้ว ย่อมทำให้ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง ซ้ำร้ายหากกิเลสทั้งสามตัวดังกล่าว เข้ามามีอำนาจเหนือใจ ตายแล้วจิตวิญญาณมีโอกาสถูกพลังของกิเลศทั้งสามนั้น ผลักดันให้ไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิได้

ส่วนคำว่า “ ตัณหา ” หมายถึง ความอยาก หรือความไม่อยาก เมื่อเกิดขึ้นกับใจของใครผู้ใดแล้ว ผู้นั้นย่อมมีจิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ปฏิบัติธรรมแล้วไม่สามารถเข้าถึงธรรมที่ปฏิบัติได้ ดังนั้นตัณหาจึงเป็นกิเลสชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน ปุถุชนนิยมพูดสองคำนี้ติดกันว่า กิเลสตัณหา ซึ่งหมายถึง ตัณหาเป็นกิเลสนั่นเอง

อนึ่ง พระพุทธะตรัสไว้ในเรื่องของปฏิจจสมุปปบาทว่า ทุกข์ทั้งหลายอันได้แก่ ทุกข์ประจำคือ บุคคลมีการเกิดเป็นทุกข์ มีการแก่เป็นทุกข์ มีการตายเป็นทุกข์ และได้ตรัสถึงทุกจร คือ ความโศก ความคร่ำครวญบ่นเพ้อ ความคับแค้นใจ ความสิ้นหวัง ฯลฯ เหล่านี้เป็นทุกข์จรที่เกิดขึ้นกับใจ โดยสรุปแล้วกล่าวได้ว่า บุคคลมีทุกข์ทางกายและมีทุกข์ทางใจ เกิดขึ้นด้วยมีความไม่รู้จริง (อวิชชา) เป็นต้นเหตุ ฉะนั้นผู้ถามปัญหา พึงนำเอาปฏิจจสมุปปบาท มาพิจารณาให้ถ่องแท้ แล้วจะทราบด้วยตัวเองว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงไม่กล่าวถึงกิเลสในสมุทัย

การพบเหรียญ ๑๐ บาท ที่ทำตกหล่นไว้ เป็นอานิสงส์ที่เกิดจากศีล ๕ โดยเฉพาะศีลข้อ ๒ ที่ผู้ถามปัญหายังรักษาไว้ได้ ร่วมกับอานิสงส์ที่เกิดจากจิตมีสติ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1521 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 92, 93, 94, 95, 96, 97, 98 ... 102  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร