วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=8



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




193.jpg
193.jpg [ 18.2 KiB | เปิดดู 7368 ครั้ง ]
ถ้ายอมรับความจริงได้
ไม่โกหกหลอกลวงตัวเอง
เมื่ออ่านข้อความนี้แล้ว
ก็จะรู้ชัดเจนตัวเองว่า
"เราคือใคร"
คนพาลหรือบัณฑิต
จะทยอยลงมาให้อ่านเรื่อยๆครับ

****************************
นิพพานสุขยิ่ง

ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
โทษเสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ทุกข์เสมอด้วยเบญจขันธ์ ไม่มี
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง
สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
บัณฑิตรู้ความจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๕ คาถาธรรมบท สุขวรรคที่๑๕ข้อ๒๕)
*********************************
โลภ- โกรธ- หลง

ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น
ทำจิตให้กำเริบ
เป็นภัยเกิดขึ้นภายใน
คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
ย่อมไม่รู้เนื้อหาสาระ
ย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง
ครอบงำผู้คนในขณะใด
ความมืดตื้อย่อมมีอยู่ในขณะนั้น
(พระไตรปิฏกเล่มที่๒๙ ตุวฏกสุตตนิเทศ ข้อ๗๒๘)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 01:37, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1191343605.jpg
1191343605.jpg [ 65.96 KiB | เปิดดู 7350 ครั้ง ]
บ่วงแห่งกาม

กามทั้งหลายไม่เที่ยง
เป็นของว่างเปล่า เลือนหายไปเป็นธรรมดา
ลักษณะของกามเป็นดังนี้
กามได้ทำความล่อลวง
เป็นที่บ่นคิดถึงของคนพาล(คนโง่ในธรรม)
กามทั้งที่มีในภพนี้ กามทั้งที่มีในภพหน้า
และกามสัญญา(ความทรงจำเรื่องกาม)
ทั้งที่มีในภพนี้ ทั้งที่มีในภพหน้า
กามทั้ง๒อย่างนี้ เป็นบ่วงแห่งมาร(กิเลส)
เป็นแดนแห่งมาร
ในกามนี้ย่อมมีอกุศลลามกเหล่านี้เกิดขึ้นที่ใจ
คืออภิชฌา(โลภเพ่งอยากได้ของเขาบ้าง)
พยาบาท(คิดแค้นในใจบ้าง)
สารัมภะ(ชิงดีชิงเด่นบ้าง)
กามนั่นเองย่อมเกิดเพื่ออันตราย
แก่อริยสาวกผู้ตามศึกษาอยู่ในธรมมวินัยนี้
(พระไตรปิฏกเล่ม๑๔ อาเนชสัปปายสูตร ข้อ๘๑)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 01:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1253801331nonpaisan.jpg
1253801331nonpaisan.jpg [ 163.77 KiB | เปิดดู 7343 ครั้ง ]
หลงหมกมุ่นอยู่ในกาม

กามทั้งหลายเป็นของสูญเปล่า
มีความน่ายินดีน้อย มีความคับแค้นมาก
กามนั้นเผ็ดร้อนเหมือนอสรพิษ
ทำให้คนพาลหลงหมกมุ่นอยู่
คนพาลจึงต้องมีทุกข์ เดือดร้อน
ยัดเยียดอยู่ในนรกตลอดกาลนาน
และเป็นเหตุทำให้คนพาลที่มีความรู้ชั่วๆ
ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ ทำความชั่วต่างๆ
ต้องเศร้าโศกในอบายทุกเมื่อ
ทำให้คนพาลมีปัญญาทราม ไร้ความคิด
ยินดีในทุกข์ และเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักอริยสัจ
ไม่รู้จักธรรมที่พระอริยเจ้าแสดงอยู่
(พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ สุเมธาเถรีคาถา ข้อ๔๗๔)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 01:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




BuddhaImage.jpg
BuddhaImage.jpg [ 134.36 KiB | เปิดดู 7318 ครั้ง ]
เห็นสกปรกเป็นสวยงาม

กายนี้ประกอบไปด้วยกระดูกและเอ็น
ฉาบด้วยหนังและเนื้อ ปกปิดด้วยผิว
เต็มไปด้วยใส้และอาหาร
มีก้อนตับ มูตร(น้ำปัสสาวะ)
หัวใจ ปอด ม้าม ไต
น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ น้ำข้น
ซึ่งปุถุชนคนพาลย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง
ว่าของสกปรกย่อมไหลออกมา
จากช่องทั้ง๙นี้ทุกเมื่อ
คือ ขี้ตาจากตา ขี้หูจากหู
และน้ำมูกจากจมูก
บ้างก็สำรอกน้ำดีและเสลดออกจากปาก
เหงื่อและหนองฝีออกจากกาย
อนึ่ง!อวัยะศรีษะนี้เป็นโพรง เต็มด้วยมันสมอง
แต่คนพาลถูกอวิชชา(ความหลงไม่รู้กิเลส)หุ้มห่อแล้ว
กลับสำคัญกายนี้เป็นของสวยงามไป
(พระไตรปิฏกเล่ม๒๕ วิชยสุตร ข้อ๓๑๒)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




17.jpg
17.jpg [ 67.09 KiB | เปิดดู 7306 ครั้ง ]
มีดโกนฉาบน้ำผึ้ง

ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนอง เลือด
และซากศพเป็นอันมาก
ภายในเต็มไปด้วยของสกปรกดุจถังขี้
แต่ภายนอกดุจนายช่างผู้ฉลาดทำไว้
ให้เป็นของเกลี้ยงเกลาวิจิตรงดงาม
ฉะนั้นคนพาล(โง่เขลา)จึงไม่รู้สึกว่า
ร่างกายนี้เป็นของเผ็ดร้อน เป็นทุกข์
แต่คิดว่ามีรสหวานเป็นที่ยินดี
แล้วเกี่ยวพันไว้ด้วยความรัก
ฉาบไล้ร่างกายด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ
ดุจมีดโกนฉาบน้ำผึ้ง ฉะนั้น

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๖ ปาราสริยเถรคาถา ข้อ๓๘๖)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




XOOM.jpg
XOOM.jpg [ 34.55 KiB | เปิดดู 7240 ครั้ง ]
ไม่รู้สึกตัว

วันคืนย่อมผ่านไป
ชีวิตย่อมดับไป
อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป
เหมือนน้ำในลำธารน้อยย่อมแห้งไป
เมื่อเป็นเช่นนั้น
คนพาลทำบาปอยู่ย่อมไม่รู้สึกตัว
ต่อมาภายหลัง
เขาจึงได้รับทุกข์อันเผ็ดร้อน
เพราะบาปกรรมนั้นมีผลเลวทราม

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๖ เหรัญญิกานิเถรคาถาข้อ ๒๗๐)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 17:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




re_exposure_of_resize_of__686.jpg
re_exposure_of_resize_of__686.jpg [ 26.97 KiB | เปิดดู 7235 ครั้ง ]
ยากจะเกิดมาเป็นมนุษย์

มีทุ่นเป็นบ่วงรูเดียวลอยอยู่ในมหาสมุทร
ทุ่นถูกลมพัดไปทิศนั้นทิศนี้ตลอดเวลา
เต่าตาบอดตัวหนึ่งอยู่ในมหาสมุทร
๑๐๐ปีจะโผล่ขึ้นผิวน้ำสักครั้ง
เต่าตาบอดเอาคอสวมเข้ารูทุ่นได้ ยังจะเร็วกว่า
ส่วนคนพาลผู้ไปสู่วินิบาต(ถูกทรมาน)คราวหนึ่ง
แล้วจะพึงได้เกิดเป็นมนุษย์ ยังจะยากกว่านั้น
เพราะตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม
ไม่มีความประพฤติสงบ
ไม่มีการทำกุศล ไม่มีการทำบุญ
มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ

(พระไตรปิฏกเล่ม ๑๔ พาลบัณฑิตสูตรข้อ ๔๘๑)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 17:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 01:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




001.jpg
001.jpg [ 10.31 KiB | เปิดดู 7180 ครั้ง ]
วัยชรา

บัดนี้ท่านเข้าสู่วัยชราแล้ว
เตรียมจะไปสำนักพญายม
ที่พักระหว่างทาง ท่านยังไม่มี
เสบียงเดินทาง ท่านก็ยังไม่มี
ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตนเองเถิด
จงเร่งพยายาม
จงเป็นบัณฑิต(ผู้ฉลาดในธรรม)
เป็นผู้กำจัดมลทินของตนแล้ว
ไม่มีกิเลสดุจเนิน
จะไม่เข้าถึงชาติ(ความเกิด)และชราอีก

(พระไตรปิฏกเล่ม ๒๔ คาถาธรรมบท มลวรรคที่๑๘ข้อ ๒๘)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 14 ส.ค. 2010, 01:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 01:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




002.jpg
002.jpg [ 8.46 KiB | เปิดดู 7183 ครั้ง ]
กามไม่มีอิ่ม

ความอิ่มในกามทั้งหลายย่อมไม่มี
แม้เพราะทรัพย์ตกลงมาดุจฝน
กามทั้งหลายมีความสุขนิดหน่อย
แต่เป็นทุกข์มากแท้
บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ยินดีในกามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นผู้ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๕ คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่๑๔ข้อ๒๔)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




003.jpg
003.jpg [ 5.84 KiB | เปิดดู 7172 ครั้ง ]
อย่าดูหมิ่นว่าเล็กน้อย

บุคคลผู้เป็นบัณฑิต
พิจารณาของ๔อย่างนี้แล้ว
เห็นว่าหากดูหมิ่นว่าเป็นของเล็กน้อย
จะเกิดภัยแก่ตน
จึงประพฤติต่อของเหล่านี้โดยถูกควรทีเดียว
ของ๔อย่างนี้คือ
๑.กษัตริย์ทรงพระยศ ไม่ควรดูมิ่นทรงพระเยาว์
๒.งูพิษ ไม่ควรดูหมิ่นว่า ตัวเล็ก
๓.ไฟลุกไม่ควรดูหมิ่น เชื้อน้อย
๔.ภิกษุทรงศีล ไม่ควรดูหมิ่น ยังหนุ่ม

(พระไตรปิฏกเล่ม๑๕ ทหรสูตร ข้อ ๓๒๕-๓๒๖)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 14 ส.ค. 2010, 13:33, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




100a.jpg
100a.jpg [ 11.39 KiB | เปิดดู 7116 ครั้ง ]
เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ

ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลก(สังคหวัตถุ๔)
เป็นเสมือนสลักรถที่กำลังแล่นไปอยู่ คือ
๑.ทาน การให้แบ่งปัน
๒.ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก
๓.อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
๔.สมานัตตตา ทำตนเสมอสมานเข้ากันได้
เพราะพิจารณาเห็นธรมมเหล่านี้โดยถูกต้อง
บัณฑิตทั้งหลายจึงถึงความเป็นใหญ่
เป็นผู้ที่ชนสรรเสริญทั่วหน้า

(พระไตรปิฏกเล่ม๑๑ สิงคาลกสูตร ข้อ๒๐๕)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




aaa.jpg
aaa.jpg [ 7.56 KiB | เปิดดู 7108 ครั้ง ]
เลิศแห่งกุศลธรรม

รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย
ที่สัญจรไปในแผ่นดิน
รอยเท้าทั้งหมดรวมลงในรอยเท้าช้าง
เพราะเป็นรอยใหญ่ บัณฑิตกล่าวว่า
รอยเท้าช้างเลิศกว่ารอยเท้าทั้งหมด
กุศลธรรมทั้งหลายก็ฉันเดียวกัน
มีความไม่ประมาทเป็นมูล(ที่ตั้ง)
รวมลงในความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า
ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรมทั้งหลาย

(พระไตรปิฏกเล่ม๑๙ ปทสูตร ข้อ๒๕๓)


แก้ไขล่าสุดโดย ชีวิตนี้น้อยนัก เมื่อ 16 ส.ค. 2010, 15:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0011.jpg
0011.jpg [ 11.05 KiB | เปิดดู 7108 ครั้ง ]
ทางแห่งความตาย

ความไม่ประมาทเป็นทางถึงอมตนิพพาน
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย
ผู้ประมาทแล้วย่อมเหมือนคนตายแล้ว
บัณฑิตทั้งหลายทราบเหตุในความต่างกัน
จิตจึงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท

พระไตรปิฎกเล่ม๒๕ คาถาธรรมบท อัปปมาวรรคที่๒ ข้อ๑๒)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 15:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




200a.jpg
200a.jpg [ 12.53 KiB | เปิดดู 7099 ครั้ง ]
ทุกข์ในขันธ์๕

เมื่อใด...บัณฑิตคนฉลาดในธรรม
กำหนดรู้ทุกข์ในขันธ์๕
(รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ)
ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า
ความแก่และความตายเป็นทุกข์
ย่อมมีสติเพ่งพินิจอยู่
เมื่อนั้น...บัณฑิตย่อมไม่ยินดีในขันธ์๕
ยิ่งไปกว่าความยินดีในวิปัสสนา
(ฝึกอบรมให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง)
และในมรรคผล

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๖ ภูตเถรคาถา ข้อ ๓๖๙)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:16
โพสต์: 279

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




aaa101.jpg
aaa101.jpg [ 12.76 KiB | เปิดดู 7097 ครั้ง ]
ปราถนาความสุข

บัณฑิตปราถนาความสุขว่า
๑.ความสรรเสริญจงมาถึงเรา
๒.โภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา
๓.ตายไปให้เข้าถึงสุขติโลกสวรรค์
หากบัณฑิตปราถนาความสุขดังนี้
พึงรักษาศีล

(พระไตรปิฏกเล่ม๒๔ สุขขสูตรข้อ ๒๕๔)
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron