วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม

ถ้ากลัวบาปสำนึกผิด

จงไปนำดอกไม้

ธูปเทียนแพมากราบขอขมาเวปนี้เสีย

ฐานเข้ามาก่อกวน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 19:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
คุณกบ เขียน
และก็อยากรู้อีกว่า..ที่ท่านเชื่อเรื่อง..นรกสวรรค์นี้นะ..ท่านไปเห็นมาแล้วรึ..จึงเชื่อ??

ไม่เคยเห็นแล้วเชื่อ...อย่างไรจึงจะเรียกว่าเชื่อแบบไม่งมงาย???


ในพระสูตร,อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ มีอธิบายไว้

อีกอย่าง เชื่อ พระพุทธองค์แล้ว อุ่นใจครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994



อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..ไม่ใช่..พระพุทธองค์..นะ

และ..ถ้ากบฯ..ยังไม่เชื่อ..อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..เลยซักนิด..ก็ยังมั่นใจว่า..ไม่ได้ไปปรามาท..พระรัตนไตร..แต่อย่างไร..ก็ยังไม่ได้ว่าของเขาไม่ดี..ไม่ถูกนี้..

และแม้แต่..เหลิมเลือกจะเชื่อ...พระพุทธเจ้าเลยนี้..พระพุทธองค์ก็ยังคงไม่สรรเสริญคุณว่าเป็นบัณฑิตหรอก..ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบ เขียน
และก็อยากรู้อีกว่า..ที่ท่านเชื่อเรื่อง..นรกสวรรค์นี้นะ..ท่านไปเห็นมาแล้วรึ..จึงเชื่อ??

ไม่เคยเห็นแล้วเชื่อ...อย่างไรจึงจะเรียกว่าเชื่อแบบไม่งมงาย???


อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน
ในพระสูตร,อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ มีอธิบายไว้

อีกอย่าง เชื่อ พระพุทธองค์แล้ว อุ่นใจครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16994

ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่
ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขา
เห็นได้ด้วยตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาตินี้ชาติหน้าในแง่จริย-
ธรรม ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า

เกสปุตตสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต
ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ใน
ปัจจุบันนี้แล้ว คือ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่า
เมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปได้ นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครอง
ตนอยู่ โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติ
ปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ
ใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่น
ใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มอง
เห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ


สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์
จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความ
ปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็น
ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อหรือเลื่อมใส
ต่อพระองค์ หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์


-------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณกบเขียน

อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..ไม่ใช่..พระพุทธองค์..นะ

และ..ถ้ากบฯ..ยังไม่เชื่อ..อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..เลยซักนิด..ก็ยังมั่นใจว่า..ไม่ได้ไปปรามาท..พระรัตนไตร..แต่อย่างไร..ก็ยังไม่ได้ว่าของเขาไม่ดี..ไม่ถูกนี้..


ประเด็นในเรื่อง นรก สวรรค์ พระพุทธองค์ตรัสไว้มากมายในพระไตรปิฏก ซึ่งใน อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับพระไตรปิฏก แต่อย่างใด

ซึ่ง ในบทท้ายของกาลามสูตร พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสแนะนำกาลามชน(ที่ยังไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา)ว่า ถ้าเชื่อแล้วมีแต่ความอุ่นใจ ถึงแม้จะไม่มีจริง

ส่วนคุณกบ คงยังไม่เคยเห็นภพภูมิต่าง ๆ แล้วคุณจะเชื่อว่า นรก สวรรค์ วิบากกรรม มีจริงหรือไม่ ?

อ้างคำพูด:
ไม่เคยเห็นแล้วเชื่อ...อย่างไรจึงจะเรียกว่าเชื่อแบบไม่งมงาย?


ความเชื่อที่ขาดปัญญาทางธรรม เรียกว่า งมงาย

ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม เรียกว่า ศรัทธา มี ๔ ประการ

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&

สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;

----------------------------------------------------------------------

คุณกบ ลองสำรวจความเชื่อของตนเองดูครับ ว่าใช่ ศรัทธา หรือไม่ ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ไม่เคยเห็นแล้วเชื่อ...อย่างไรจึงจะเรียกว่าเชื่อแบบไม่งมงาย?


ความเชื่อที่ขาดปัญญาทางธรรม เรียกว่า งมงาย

ความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญาทางธรรม เรียกว่า ศรัทธา มี ๔ ประการ

http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=9&


ที่คุณกบถามก็ตอบไม่ได้

ไม่เคยเห็นแล้วเชื่อ...อย่างไรจึงจะเรียกว่าเชื่อแบบไม่งมงาย?

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบเขียน

อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..ไม่ใช่..พระพุทธองค์..นะ

และ..ถ้ากบฯ..ยังไม่เชื่อ..อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..เลยซักนิด..ก็ยังมั่นใจว่า..ไม่ได้ไปปรามาท..พระรัตนไตร..แต่อย่างไร..ก็ยังไม่ได้ว่าของเขาไม่ดี..ไม่ถูกนี้..



กรณีธรรมกาย
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/

ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/tmk14.txt

เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น

1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)

นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)

เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)

1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า

" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)

" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)

พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า

"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)

---------------------------------------------------

คุณกบ ครับ อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นส่วนที่อธิบาย ขยาย ให้ผู้ศึกษา เข้าใจในพระไตรปิฏก มากขึ้น

ยิ่ง อัตตโนมติของอาจารย์ในยุคหลัง ๆ ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ไม่ควรนำมาตัดสิน อรรถกถา พระไตรปิฏก

เช่น กรณี ที่อ้างสืบต่อกันมา ว่าหลวงพ่อนั้น นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ ในแดนพระนิพพาน และพยายามสื่อว่า นิพพาน เป็นที่ไม่สูญ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ เมื่อดับขันธ์แล้ว จะอุบัติเป็นอมตะนิรันดร์กาล ในแดนพระนิพพาน แห่งนี้

ซึ่งทิฏฐิเหล่านี้ ดูแล้วก็ไม่ต่างจาก นิกายมหายาน ที่แตกออกไปจากนิกายเถรวาท แล้วก็ยึดถือ อัตตโนมติเป็นใหญ่ สุดท้ายก็เสื่อมถอยลงไปในที่สุด

เคยแนะนำคุณหลับอยู่ ว่าก็ไม่ควรเชื่อทันทีในเรื่องแดนพระนิพพาน ต้องอาศัยกาลามสูตร ให้มาก ๆ สำหรับสิ่งที่ได้รับรู้ จากการอ้างสืบต่อกันมาเช่นนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เก่งแต่แขวะชาวบ้านตามเวป

ถามอย่างตอบเลี่ยงไปอีกอย่าง

ปลิ้นปล้อน

อย่างนี้เรียกว่าโง่งมงาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบ ครับ อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นส่วนที่อธิบาย ขยาย ให้ผู้ศึกษา เข้าใจในพระไตรปิฏก มากขึ้น

ยิ่ง อัตตโนมติของอาจารย์ในยุคหลัง ๆ ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ไม่ควรนำมาตัดสิน อรรถกถา พระไตรปิฏก


อย่างอัตตโนมัติของแนบ

บุญมี หลวงพ่อเสือ

พอเชื่อได้ไหมครับ

ท่านเหลิมตาขาว

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบ ครับ อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นส่วนที่อธิบาย ขยาย ให้ผู้ศึกษา เข้าใจในพระไตรปิฏก มากขึ้น

ยิ่ง อัตตโนมติของอาจารย์ในยุคหลัง ๆ ต้องระมัดระวังให้มากขึ้น ไม่ควรนำมาตัดสิน อรรถกถา พระไตรปิฏก



อรรถกถารุ่นหลังที่น่าเชื่อถือมากที่สุดเป็นจริงมากที่สุด

ก็คือท่านพุทธทาส

คำสอนของท่านเป็นธรรมชาติ

ท่านสอนให้เข้าถึงธรรมชาติ

สอนให้เข้าถึงนิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้

โดยไม่ต้องรอชาติหน้า

อันนี้ผมเห็นตรงกันกับเหลิม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่น กรณี ที่อ้างสืบต่อกันมา ว่าหลวงพ่อนั้น นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ ในแดนพระนิพพาน และพยายามสื่อว่า นิพพาน เป็นที่ไม่สูญ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระอรหันต์ เมื่อดับขันธ์แล้ว จะอุบัติเป็นอมตะนิรันดร์กาล ในแดนพระนิพพาน แห่งนี้

ซึ่งทิฏฐิเหล่านี้ ดูแล้วก็ไม่ต่างจาก นิกายมหายาน ที่แตกออกไปจากนิกายเถรวาท แล้วก็ยึดถือ อัตตโนมติเป็นใหญ่ สุดท้ายก็เสื่อมถอยลงไปในที่สุด


ท่านพุทธทาสสอนว่า

แม้ในมหายานก็มีสัจจธรรมของมหายานไม่ควรมองข้าม

มหายานกับหินยานเข้ากันได้ มาจากต้นเดียวกัน ต่างกันคนะกิ่งคนละสาขา

พระอรหันต์ที่ดับขันธ์จะว่าสูญก็ไม่ใช่ จะว่ายังมีก็ไม่ใช่ ท่านพุทธทาสสอนถูกต้องแล้ว

แดนนิพพานหมายถึงสภาวะ

เช่น

โต๊ที่ประกอบด้วยพื้นโต๊ะ และขาทั้งสี่

เมื่อแยกแตกออก

ความเป็นโต๊ะหาย

ส่วนประกอบของโต๊ะยังคงอยู่

เมื่อหมดเชื้อที่จะประกอบเป็นตัวโต๊ะ

ชิ้นส่วนก็ยังอยู่ครบในสภาวะนั้น

จะเรียกว่าแดนนิพพานก็ได้

เหลิมต้องเปิดใจกว้างศึกษาธรรมท่านพุทธทาสมากๆจึงจะเข้าใจเข้าถึงธรรม

คือธรรมชาติ

ท่านพุทธทาสคืออาจารย์อันยิ่งใหญ่ที่ทั่วโลกยอมรับ

เหลิมเอาดอกไม้ธูปเทียนกราบขอขมาที่ล่วงเกินท่านเสีย

มิเช่นนั้นชีวิตจะตกต่ำเพราะล่วงเกินอริยะสงฆ์

แล้วหันมาศึกษาธรรมจากท่านพุทธทจะทำให้ทิฐิเหลิมเป็นสัมมาทิฐิ

ไม่ใช่มิจฉทิฐิเช่นปัจจุบัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 17 มิ.ย. 2010, 06:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบเขียน

อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..ไม่ใช่..พระพุทธองค์..นะ

และ..ถ้ากบฯ..ยังไม่เชื่อ..อรรถกถา, พระอภิธัมมัตถสังคหะ..เลยซักนิด..ก็ยังมั่นใจว่า..ไม่ได้ไปปรามาท..พระรัตนไตร..แต่อย่างไร..ก็ยังไม่ได้ว่าของเขาไม่ดี..ไม่ถูกนี้..

และแม้แต่..เหลิมเลือกจะเชื่อ...พระพุทธเจ้าเลยนี้..พระพุทธองค์ก็ยังคงไม่สรรเสริญคุณว่าเป็นบัณฑิตหรอก..ครับ


คุณกบครับ เคยอ่านเจอในหนังสือ พุทธธรรม ของท่านเจ้าคุณ ฯ ได้แสดงว่า พระพุทธเจ้าก็เปิดโอกาสให้ ผู้อื่นตรวจสอบพระองค์ได้ด้วย ไม่ใช่อาศัยเพียงความรักและศรัทธา ในพระองค์อย่างเดียว

และพระพุทธองค์ ยังชี้ให้เห็นโทษภัยของการยึดติดที่ตัวบุคคลด้วย

3- สร้างศรัทธาด้วยการใช้ปัญญาตรวจสอบ
http://larndham.org/index.php?showtopic ... r=1&st=10&

[color=#0000FF]สำหรับคนสามัญทั่วไป ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่สำคัญยิ่ง เป็น
อุปกรณ์ชักนำให้เดินหน้าต่อไป เมื่อใช้ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ทำให้
การก้าวหน้าไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงปรากฏว่า บาง
คราวผู้มีปัญญามากกว่า แต่ขาดความเชื่อมั่น กลับประสบความสำเร็จช้า
กว่าผู้มีปัญญาด้อยกว่าแต่มีศรัทธาแรงกล้า ในกรณีที่ศรัทธานั้นไปตรงกับ
สิ่งที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นการทุ่นแรงทุ่นเวลาไปในตัว ตรงกันข้าม ถ้าศรัทธา
เกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการทำให้เขว ยิ่งหลงชักช้าหนักขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ดี ศรัทธาในพุทธธรรม มีเหตุผลเป็นฐานรองรับ มีปัญญา
คอยควบคุม จึงยากที่จะผิด นอกจากพ้นวิสัยจริงๆ และก็สามารถแก้ไขให้
ถูกต้องได้ ไม่ดิ่งไปในทางที่ผิด เพราะคอยรับรู้เหตุผล ค้นคว้า ตรวจสอบ
และทดลองอยู่ตลอดเวลา
การขาดศรัทธา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้ชะงัก ไม่ก้าวหน้าต่อ
ไปในทิศทางที่ต้องการ ดังพุทธพจน์ว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยังสลัดทิ้งตอในใจ ๕ อย่างไม่ได้
ยังถอนสิ่งผูกรัดใจ ๕ อย่างไม่ได้ ข้อที่ว่าภิกษุนั้นจักถึงความเจริญงอก
งามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ตอในใจที่ภิกษุนั้นยังสลัดทิ้งไม่ได้ คือ :-
๑. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระ
ศาสดา...
๒. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในธรรม...
๓. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสงฆ์...
๔. ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสิกขา...
๕. ภิกษุโกรธเคือง น้อยใจ มีจิตใจกระทบกระทั่ง เกิดความกระด้าง
เหมือนเป็นตอเกิดขึ้นในเพื่อนพรหมจรรย์...


---------------------------------------

4- ศรัทธาแม้จะสำคัญ แต่จะติดตันถ้าอยู่แค่ศรัทธา

พึงสังเกตว่า แม้แต่ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้า ก็ไม่ได้ถูก
ถือว่าเป็นบาปหรือความชั่วเลย ถือว่าเป็นเพียงสิ่งที่จะต้องแก้ไขให้รู้แน่ชัด
ลงไปจนหมดสงสัย ด้วยวิธีการแห่งปัญญา และยังส่งเสริมให้ใช้ความคิด
สอบสวนพิจารณาตรวจสอบอีกด้วย เมื่อมีผู้ใดประกาศตัวเองแสดงความ
เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะประทานความเห็นชอบ จะ
ทรงสอบสวนก่อนว่า ศรัทธาปสาทะของเขามีเหตุผลเป็นมูลฐานหรือไม่
ฯลฯ
ความเลื่อมใสศรัทธาต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งนั้น ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือเป็น
อุปกรณ์สำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในเวลา
เดียวกัน ก็มีข้อเสีย เพราะมักจะกลายเป็นความติดในบุคคล และกลายเป็น
อุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป ข้อดีของศรัทธาปสาทะนั้น เช่น
อริยสาวกผู้ใด เลื่อมใสอย่างยิ่งแน่วแน่ถึงที่สุดในตถาคต อริยสาวก
นั้นจะไม่สงสัย หรือแคลงใจ ในตถาคต หรือ ศาสนา (คำสอน) ของ
ตถาคต แท้จริง สำหรับอริยสาวกผู้มีศรัทธา เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้ คือ
เขาจักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย (และ)
บำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายให้พร้อมบูรณ์ จักเป็นผู้มีเรี่ยวแรง บากบั่น
อย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ส่วนข้อเสียก็มี ดังพุทธพจน์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ข้อเสีย ๕ อย่างในความเลื่อมใสบุคคลมีดังนี้ คือ
๑. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้
สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยก
วัตรเสียแล้ว...
๒. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้
สงฆ์บังคับให้นั่ง ณ ท้ายสุดสงฆ์เสียแล้ว...
๓. ...บุคคลนั้น ออกเดินทางไปเสียที่อื่น...
๔. ...บุคคลนั้น ลาสิกขาเสีย...
๕. ...บุคคลนั้น ตายเสีย...
เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่นๆ เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่นๆ ก็ย่อมไม่ได้สดับ
สัทธรรม เมื่อไม่ได้สดับสัทธรรม ก็ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
เมื่อความเลื่อมใสศรัทธากลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความ
ลำเอียงจะมาปิดบังการใช้ปัญญาก็เกิดขึ้นอีก เช่น
ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ คือ ความรักเกิด
จากความรัก โทสะเกิดจากความรัก ความรักเกิดจากโทสะ โทสะเกิด
จากโทสะ
ฯลฯ โทสะเกิดจากความรักอย่างไร? บุคคลที่ตนปรารถนา รักใคร่
พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติต่อด้วยอาการที่ไม่ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่า
พอใจ เขาย่อมมีความคิดว่า บุคคลที่เราปรารถนา รักใคร่พอใจนี้ ถูกคน
อื่นประพฤติต่อด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ ดัง
นี้ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ฯลฯ
แม้แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์พระศาสดาเอง เมื่อกลายเป็นความ
รักในบุคคลไป ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหลุดพ้น หรืออิสรภาพทางปัญญา
ในขั้นสูงสุดได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ละเสีย แม้บางครั้งจะต้องใช้วิธี
ค่อนข้างรุนแรง ก็ทรงทำ เช่น ในกรณีของพระวักกลิ ซึ่งมีความเลื่อมใส
ศรัทธาในพระองค์อย่างแรงกล้า อยากจะติดตามพระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง
เพื่อได้อยู่ใกล้ชิด ได้เห็นพระองค์อยู่เสมอ ระยะสุดท้ายเมื่อพระวักกลิป่วย
หนักอยากเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่งคนไปกราบทูล พระองค์ก็เสด็จมา และมีพระ
ดำรัสเพื่อให้เกิดอิสรภาพทางปัญญาแก่พระวักกลิ[/color]

---------------------------------------------------

หลักธรรมนี้ ฝากไปถึง

คุณ mes ผู้รักและเชื่อถือ ในท่านพุทธทาส มาก ๆ จนใครมาตรวจสอบไม่ได้

คุณหลับอยู่ ผู้ที่เชื่อตาม อัตตโนมติ ที่ยึดถือนิมิตจากสมาธิ ว่าคือ นิพพาน เช่น มโนมยิทธิ + ธรรมกาย จนไม่ศึกษาจากอาจารย์สำนักอื่น ๆ หรือ พระอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านอื่น รักและเชื่อแต่ในสำนักของตนเท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลักธรรมนี้ ฝากไปถึง

คุณ mes ผู้รักและเชื่อถือ ในท่านพุทธทาส มาก ๆ จนใครมาตรวจสอบไม่ได้

คุณหลับอยู่ ผู้ที่เชื่อตาม อัตตโนมติ ที่ยึดถือนิมิตจากสมาธิ ว่าคือ นิพพาน เช่น มโนมยิทธิ + ธรรมกาย จนไม่ศึกษาจากอาจารย์สำนักอื่น ๆ หรือ พระอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านอื่น รักและเชื่อแต่ในสำนักของตนเท่านั้น


นี่เป็นโทษของการปริยัติโดยไม่มนสิการ

ท่าพุทธทาสสอนเรื่องการศึกษาต้องเริ่มจากธรรมชาติ

ธรรมะคือธรรมชาติ

และแน่นอนท่านพุทธทาสไม่ได้ปฏิเสธปาฏิหาริย์

แต่คำพูดของอริยะสงฆ์ต้องตีความหมายเพราะลึกซึ้ง

ยากต่อการที่คนที่ไม่เคยศึกษาธรรมจากท่านอย่างเหลิมจะเข้าใจได้

เหลิมจึงเกิดความว้าวุ่นใจ

เพราะไปยึดทิฐิที่ผิดๆมาจากวิปัสสนาจารย์ที่ใช้วิธีนึกคิดเห็นฌานเป็นการนั่งหลับตาเฉย

ซึ่งผิดบาปมาก

ไปยึดเอาพระอภิธรรมที่เป็นวิชาการล้วนมาจับเทียบเคียงกับการปฏิบัติ

ซึ่งผิดโดยสิ้นเชิง

เหลิมต้องลดทิฐิลดความหลงให,ในความงมงายต่ออัตตโนมัติของอาจารย์วิปัสนึกเสีย

ต้องใช้หลักศรัทธาที่พอสมควรไม่กลายเป็นเสน่หาตามหลักศรัทธาสี่

ที่สำคัญต้องศึกษาธรรมจากท่านพุทธทาส

ดวงตาเหลิมจึงจะเห็นธรรม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
มยิทธิ + ธรรมกาย จนไม่ศึกษาจากอาจารย์สำนักอื่น ๆ หรือ พระอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก ท่านอื่น รักและเชื่อแต่ในสำนักของตนเท่านั้น


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:


ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา







หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับสาวกบริวารจำนวนแสนเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา

จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่ แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยต่างกันนั้น พอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกจำนวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำนวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้นที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน



ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่พระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า



อ้างอิงคำพูด:
เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร



สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ ถ้าไม่รับยาคือธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุ ก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม


พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น


ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประเภทต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กัน โดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น


ที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?


พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล ที่พระตถาคตมาในร่างนี้ มาในร่างแห่งสมมุติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมุติต่างหาก






อ้างอิงคำพูด:
ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร?



อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า



ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมุติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมุติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมุติซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมุติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมุตินี้จึงเพื่อสมมุติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมุติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา



พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมุติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมุติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมุติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ ต้องอาศัยสมมุติเป็นหลักพิจารณา


ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมุติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้


เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมุติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยทางสมมุติเพื่อความเหมาะสมกัน


ถ้าเป็นวิมุตติล้วน ๆ เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมุติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่าวิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมุติทั่ว ๆ ไป ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมุติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติ ไม่แสดงอาการ


ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัย หรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน






อ้างอิงคำพูด:
ท่านกราบทูลว่า


ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมุติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมุติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมุติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย





อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า




การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น




บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้น แม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส ก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม เช่นเดียวกับพระสาวกทั้งหลาย อันเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสมากและน่ารักมากด้วย ซึ่งยังอยู่ในวัยเล็กมากก็มี อายุราว ๙ ขวบ ๑๐ ขวบ ๑๑
__________________



เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไอ้เหลิมเอ๋ยยยยยย 555555555555555555 s003


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร