วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 11:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




m209051.jpg
m209051.jpg [ 29.49 KiB | เปิดดู 3737 ครั้ง ]
ศีล มีเนื้อหาสาระครอบคลุมกินความกว้าง เพราะเป็นเบื้องต้นแห่งมรรค

สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ (ฝ่ายศีล) ลงไว้แล้วที่

viewtopic.php?f=2&t=27485


กระทู้นี้จะลง ศีลสำหรับประชาชน ต่อจากนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลสำหรับประชาชน


จากพุทธพจน์แสดงความหมายของสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาวายามะข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า

สาระสำคัญของศีลคืออะไร ศีลที่เป็นองค์มรรค หรือศีลที่จำเป็นจริงๆ สำหรับชีวิตที่ดีงามมีขอบเขตแค่ไหน

เพียงไร

นอกจากนั้น ทำให้เห็นได้ว่า มรรคมิใช่เป็นมรรคาที่มุ่งสำหรับภิกษุสงฆ์เท่านั้น มิฉะนั้นแล้ว คำจำกัดความ

ของศีลก็จะต้องหมายถึงศีล ๒๒๗ หรือปฏิโมกข์สังวรศีล เป็นต้น และทำให้เห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดง

สาระของศีลในแบบที่ยืดหยุ่นกินความกว้างคลุมศีลปลีกย่อยๆ ที่แยกกระจายออกไปได้ต่างๆ มากมายหลาย

แบบ ทำให้ไม่จำเป็นต้นทรงแจกระบุชื่อหมวดศีลปลีกย่อยเหล่านั้น เช่นไม่ต้องระบุศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐

เข้าไว้ด้วยเป็นต้น

ข้อพึงย้ำไว้ก่อน เพราะมักลืมกันบ่อยๆคือ ศีลมิใช่หมายเพียงความประพฤติดีงามสุจริตทางกายและวาจา

เท่านั้น

แต่หมายถึงอาชีวะสุจริตด้วย


สาระของศีลอยู่ที่เจตนา ได้แก่การไม่คิดล่วงละเมิด คำว่าละเมิดแง่หนึ่งคือ ละเมิดระเบียบ ละเมิดกฎเกณฑ์

บทบัญญัติ ละเมิดวินัยที่วางกันไว้


อีกแง่หนึ่ง คือ ละเมิดต่อผู้อื่น หมายถึงเจตนาที่จะเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง ศีลจึงหมายถึงการไม่เจตนาละเมิด

ระเบียบวินัย หรือการไม่เจตนาล่วงเกิดเบียดเบียนผู้อื่น

ถ้ามองแต่อาการหรือการกระทำ ศีลก็คือความไม่ละเมิดและการไม่เบียดเบียน


มองอีกด้านหนึ่ง ศีลอยู่ที่ความสำรวมระวัง กล่าวคือการสำรวมระวังคอยปิดกั้นหลีกเว้นไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้น

นั่นเองเป็นศีล และ ถ้ามองให้ลึกที่สุด สภาพจิตของผู้ไม่คิดจะละเมิด ไม่คิดจะเบียดเบียนใครนั่นแหละคือ

ตัวศีล *

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* ศีล ได้แก่ เจตนาเจตสิก ได้แก่สังวร ได้แก่อวีติกกมะ –ขุ.ปฏิ.31/89/64; อธิบายในวิสุทธิ.1/8

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 09:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีลนั้น อาจมองในแง่ ของระเบียบวินัยเพื่อสร้างสังคมที่เรียบร้อยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขเป็นสภาพเกื้อกูล

แก่การดำเนินชีวิตและปฏิบัติกิจของสมาชิกทั้งหลาย (ศีลระดับวินัย) ก็ได้

มองในแง่ของความประพฤติดีงามของบุคคล ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีงามกับผู้อื่น เป็นผลดีแก่ชีวิตของตัว

เขาเองและคนอื่นทั้งหลายก็ได้

มองในแง่เครื่องมือควบคุมความประพฤติทำให้กายวาจาเรียบร้อยงดงามอยู่ในระเบียบก็ได้

มองในแง่ เป็นข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมกายวาจาและอาชีวะให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเป็นพื้นฐานของการฝึกปรือ

คุณภาพจิตและการใช้สมรรถภาพของจิตอย่างได้ผล ในระดับสมาธิ ก็ได้

มองในแง่ เป็นสภาพปกติทางกายวาจาและอาชีวะของผู้ที่มีชีวิตดีงาม หรือคนที่ได้รับการฝึกอบรมดี

มีการศึกษาแท้จริง บรรลุภูมิธรรมอันสูงแล้วก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าโดยย่อที่สุด แบ่งศีลได้เป็น ๒ ระดับคือ


๑.ธรรมขั้นศีล หรือศีลในแง่ที่เป็นธรรม ได้แก่ หลักความประพฤติระดับกายวาจาและอาชีวะที่นำมาแนะนำ

สั่งสอน โดยถือเอาภาวะที่ควรจะมี ควรจะเป็นตามธรรมชาติเป็นหลัก และผู้ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืน ย่อมได้รับ

ผลดีหรือชั่ว โดยรับผิดชอบต่อกฎธรรมดาของธรรมชาติเองโดยตรง

อีกอย่างหนึ่ง การปฏิบัติตามธรรมขั้นศีลก็ดี ตามวินัยก็ดี ที่กลายมาเป็นความประพฤติประจำตัวของบุคคลแล้ว

๒.วินัยเป็นศีล หรือศีลในแง่ที่เป็นวินัย ได้แก่ กฎระเบียบข้อบังคับที่กำหนดวางกันขึ้นเป็นบัญญัติทางสังคม

เพื่อกำกับความประพฤติของบุคคล ตามความมุ่งหมายจำเพาะของหมู่ชนหรือชุมนั้น โดยมากมุ่งเพื่อสนับสนุน

การปฏิบัติตามธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และผู้ฝ่าฝืน (มักจะ) ต้องได้รับโทษตามความรับผิดชอบต่อชุมชนหรือ

สังคมนั้นอีกชั้นหนึ่ง ต่างหากจากผลทางจิตใจตามกฎธรรมชาติ

อีกอย่างหนึ่ง หมายถึง วิธีฝึกให้คนมีศีล


ธรรมมีทั้งที่เป็นศีล เป็นสมาธิ และเป็นปัญญา

แต่วินัย เป็นศีลอย่างเดียว

แต่ในเวลาเดียวกัน สมาธิ และปัญญา เป็นธรรมอย่างเดียว

ส่วนศีลเป็นธรรมก็มี เป็นวินัยก็มี

วิธีกำหนดคือ ธรรมเป็นเรื่องของธรรมชาติ

วินัยเป็นเรื่องของสังคมหรือเกิดจากฝีมือของมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้ จะสรุปหลักทั่วไปของศีลหรือศีลพื้นฐานไว้ แล้วนำพุทธพจน์และบาลีและภาษิตเกี่ยวกับศีล

สำหรับคนทั่วไปหรือประชาชน มาแสดงไว้พอเป็นแนวประกอบความเข้าใจในเรื่องศีล ให้เห็นความหมาย

ขอบเขต และเนื้อหาของศีลชัดเจนยิ่งขึ้น



ก. ศีลพื้นฐาน

ศีลพื้นฐาน คือศีลที่เป็นหลักกลาง ซึ่งเป็นความหมายของสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะที่เป็น

องค์ของมรรค ได้แก่ การพูด การกระทำ การประกอบอาชีวะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วยเจตนา

ซึ่งปราศจากความทุจริต หรือความคิดเบียดเบียน กินความคลุมถึงสุจริตที่เป็นคู่กันด้วย แสดงได้ดังนี้


๑. สัมมาวาจา เจรจาชอบ ได้แก่

๑) ละมุสาวาท เว้นการพูดเท็จ รวมถึงสัจวาจา พูดคำจริง

๒) ละปิสุณวาจา เว้นการพูดส่อเสียด รวมถึง สมัคคกรณีวาจา พูดคำสมานสามัคคี

๓) ละผรุสวาจา เว้นการพูดคำหยาบ รวมถึง สัณหวาจา พูดคำอ่อนหวานสภาพ

๔) ละสัมผัปปลาปะ เว้นการพูดเพ้อเจ้อ รวมถึง อัตถสัณหิตาวาจา พูดคำมีประโยชน์


๒.สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ ได้แก่

๑) ละปาณาติบาต เว้นการทำลายชีวิต รวมถึง การกระที่ช่วยเหลือเกื้อกูล

๒) ละอทินนาทาน เว้นการเอาของที่เขามิได้ให้ (คู่อยู่ที่สัมมาอาชีวะ หรือทาน)

๓) ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นความประพฤติผิดในกาม รวมถึง สทารสันโดษ


๓. อาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ ละมิจฉาชีพ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ รวมถึง ความขยันหมั่นเพียร

ในการประกอบอาชีพที่สุจริต เช่น ทำงานไม่ให้คั่งค้างอากูล (ไม่หมักหมม ไม่ผัดเพี้ยน ไม่จับจด ไม่ยุ่งเหยิง

สับสน) เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับคนทั่วไป ท่านยอมผ่อนเบา เอาสาระของศีลพื้นฐานนี้ มาแสดงเป็นข้อกำหนดอย่างต่ำที่สุด

ในทางความประพฤติของมนุษย์ เท่าที่จำเป็นพอที่จะให้สังคมมนุษย์ อยู่กันโดยปกติสุขและแต่ละคนมีชีวิต

ไม่เป็นโทษภัย เรียกข้อกำหนดนี้ว่า สิกขาบท (ข้อฝึกความประพฤติ) ๕ หรือทีต่อมานิยมเรียกกันเป็น

สามัญว่า ศีล ๕ ได้แก่


๑.เว้นจากปาณาติบาต คือ ไม่ทำลายชีวิต จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตที่ปราศจาก

การเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านชีวิตร่างกาย


๒. เว้นจากอทินนาทาน คือ ไม่เอาของทีเขามิได้ให้ หรือไม่ลักขโมย จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนิน

ชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์


๓.เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร คือ ไม่ประพฤติในกามทั้งหลาย จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือดำเนินชีวิต

ที่ปราศจากการเบียดเบียนผู้อื่นทางด้านคู่ครอง บุคคลที่รักหวงแหน ไม่ผิดประเพณีทางเพศ ไม่นอกใจคู่ครอง

ของตน


๔. เว้นจากมุสาวาท คือไม่พูดเท็จ จับเอาสาระว่า ความประพฤติหรือการดำเนินชีวิตที่ปราศจากการเบียดเบียน

ผู้อื่นด้วยวาจาเท็จ โกหกหลอกลวงตัดรอนประโยชน์หรือแกล้งทำลาย


๕. เว้นจากของเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ไม่เสพของมึนเมา จับเอาสาระว่า

ความประพฤติ หรือ การดำเนินชีวิตที่ปราศจากความประมาทพลั้งพลาดมัวเมาเนื่องจากการใช้สิ่งเสพติดที่ทำให้

เสียสติสัมปชัญญะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายและขอบเขตศีล ๕ และศีลจำพวกเดียวกันนั้น ที่จำกันมามักว่าตามที่อธิบายสืบๆกันมา

ในชั้นหลัง จึงขอนำพุทธพจน์มาเสนอให้พิจารณา



“คหบดีทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายสำหรับน้อมเข้ามาเทียบตัว...

1. อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเองอยากมีชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์

ถ้าใครจะปลงชีวิตเรา ผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะปลงชีวิตคนอื่นผู้อยากอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจ

แก่คนอื่นเหมือนกัน

สิ่งใด ตัวเราเองไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจ ถึงคนอื่นเขาก็ไม่ชื่นชอบ ไม่พอใจเหมือนกัน

สิ่งใด ตัวเราเองก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้ ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น

จากปาณาติบาตด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจาร ของอริยสาวก

นั้น ย่อมบริสุทธิ์ทั้งสามด้านอย่างนี้


2. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใคร จะถือเอาสิ่งของที่มิได้ให้ด้วยอาการขโมย

ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะถือเอาของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยอาการขโมย ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...


3. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใคร จะประพฤติผิดในภรรยาของเรา ก็จะไม่เป็นข้อ

ที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะประพฤติผิดในภรรยาของคนอื่น ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...


4. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็ถ้าใคร จะทำลายประโยชน์ของเรา ด้วยการกล่าวเท็จ

ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเรา จะทำลายประโยชน์ของคนอื่น ด้วยการกล่าวเท็จก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ ที่พอใจแก่คนอื่นเหมือนกัน..


5. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะยุยงเราให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด

ก็จะไม่เป็นข้อที่ ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเราจะยุยงคนอื่นให้แตกจากมิตร ด้วยคำส่อเสียด ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ ที่พอใจแก่คนอื่น เหมือนกัน...


6. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่

ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำหยาบ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบที่พอใจ แก่คนอื่นเหมือนกัน...


7. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็น

ข้อที่ชื่นชอบที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบไม่พอใจเหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเอง ก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่ ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น

จากการพูดเพ้อเจ้อด้วย ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น

ย่อมบริสุทธิ์ ทั้งสามด้านอย่างนี้"

(สํ.ม.19/1458-1465/442-6)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น หรือได้ยินบ้างไหมว่า บุรุษนี้ละปาณาติบาต

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว พระราชาทั้งหลายจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย

เพราะการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นเหตุ ?


“ไม่เคย พระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...

มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ ฆ่าหญิงหรือชายตาย พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัย เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็นหรือเคยได้ยิน

บ้างไหม ?


“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”


“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็นหรือได้ยินบ้างไหมว่า(บุรุษนี้ละอทินนาทาน

เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว...

จากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว...

จากมุสาวาทแล้ว...

จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานแล้ว)

พระราชาทั้งหลาย จับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ กระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจาก

อทินนาทาน...

จากกาเมสุมิจฉาจาร...

จากมุสาวาท...

จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเป็นเหตุ” ?


“ไม่เคย พระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้

ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน หรือจากป่า...

คนผู้นี้ ประพฤติละเมิดในสตรีหรือในบุตรีของผู้อื่น....

คนผู้นี้ ทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือ ลูกชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ...

คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วประพฤติละเมิดในสตรี หรือ ในบุตรีของผู้อื่น....

คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูก ชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ

พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำการตามปัจจัยเพราะอทินนาทาน...

กาเมสุมิจฉาจาร...

มุสาวาท...สุราเมรัยฯ เป็นเหตุ อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหม ?”

“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”


(องฺ.ปญฺจก.22/178/232)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาชญากรรมที่ร้ายแรงแทบทั้งหมดเป็นเรื่องของการละเมิดศีล 5 ในสังคมที่มากด้วยการสังหารผลาญชีวิต

การปองร้าย การทำร้ายกัน การลักขโมย ปล้น แย่งชิง การทำความผิดทางเพศ มีคดีฆาตกรรม โจรกรรม

การข่มขืน หลอกลวง การเสพของมึนเมาและสิ่งเสพติด ตลอดจนการก่อปัญหาและอุบัติเหตุต่างๆ เนื่องมา

จากของมึนเมาและสิ่งเสพติดเหล่านั้น ระบาดแพร่หลายทั่วไป ชีวิตและทรัพย์สินไม่ปลอดภัย จะอยู่ไหน

หรือไปที่ไหนก็ไม่มีความมั่นใจเต็มไปด้วยความห่วงใยวิตกกังวล จิตใจหวาดผวาบ่อย ๆ ผู้คนพบเห็นกันแทน

จะอบอุ่นใจ ก็หวาดระแวงกัน อยู่กันไม่เป็นปกติสุข สุขภาพจิตของประชาชน ย่อมเสื่อมโทรม ยากที่จะพัฒนา

คุณภาพและสมรรถภาพของจิต และสังคมเช่นนั้นก็ไม่เป็นสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งดีงาม

ที่สูงยิ่งขึ้นไป เพราะมีความเดือดร้อนระส่ำระสายยุ่งแต่การแก้ปัญหา และมีแต่กิจกรรมที่บ่อนทำลายให้สังคม

เสื่อมโทรมลงไปทุกที

การขาดศีล 5 จะเนื่องมาจากเหตุใดก็ตาม จึงย่อมเป็นมาตรฐานวัดความเสื่อมโทรมของสังคม


ส่วนสภาพพฤติกรรม และการดำเนินชีวิตที่ตรงข้ามจากนี้นั่นแหละคือการมีศีล 5 ดังนั้น ศีล 5 จึงเป็นเกณฑ์

มาตรฐานอย่างต่ำที่สุดของความประพฤติมนุษย์ สำหรับรักษาสภาพแวดล้อมทางสังคมให้อยู่ในภาวะเกื้อกูล

และเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตที่ดีงาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรรถกถาจารย์ ได้ประมวลหลักเกณฑ์บางอย่างไว้สำหรับกำหนดว่า การกระทำแค่ไหนเพียงใด

จึงจะชื่อว่าเป็นการละเมิดศีลแต่ละข้อๆ เป็นการให้ความสะดวกแก่ผู้รักษาศีล โดยจัดวางเป็นองค์ประกอบ

ของการละเมิด เรียกว่าสัมภาระ หรือ เรียกกันง่ายๆ ว่าองค์ บุคคลจะชื่อว่าละเมิดศีล (เรียกกันง่ายๆว่า

ศีลข้อนั้นจะขาด) ต่อเมื่อกระทำการครบองค์ทั้งหมด ของการละเมิด ดังนี้ *

ศีลข้อ 1 ปาณาติบาต มีองค์ 5 คือ

1. สัตว์มีชีวิต

2. รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต

3. จิต คิดจะฆ่า

4. มีความพยายาม

5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น


ศีลข้อ 2 อทินนาทาน มีองค์ 5 คือ

1. ของผู้อื่นหวงแหน

2. รู้อยู่ว่าเขาหวงแหน

3. จิตคิดจะลัก

4.มีความพยายาม

5.ลักของได้ด้วยความพยายามนั้น


ศีลข้อ 3 กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ 4 คือ

1. อคมนียวัตถุ ได้แก่ สตรี หรือ บุรุษที่ไม่ควรละเมิด

2.จิตคิดจะเสพ

3. มีความพยายามในการเสพ

4. ยังมรรค คือ อวัยวะสืบพันธุ์ให้ถึงกัน


ศีลข้อ 4 มุสาวาท มีองค์ 4 คือ

1.เรื่องไม่จริง

2. จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่คิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น

4. ผู้อื่นเข้าใจความที่พูดนั้น


ศีลข้อ 5 สุราเมรัย ฯ มีองค์ 4 คือ

1. สิ่งนั้นเป็นของเมา

2. จิตใคร่จะดื่ม

3. มีความพยายามเกิดจากจิตที่ใคร่จะดื่มนั้น

4. กลืนให้ล่วงลำคอลงไป


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


* สำหรับศีลข้อ ๕ ปัจจุบันมีสิ่งเสพติดที่เสพได้โดยวิธีการอย่างอื่นนอกจากดื่ม พึงจับเอาสาระมาเทียบเคียง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

สำหรับศีลข้อที่ 1 แม้ว่าการฆ่าสัตว์ ท่านจะมุ่งเอาสัตว์ที่เรียกว่ามนุษย์เป็นหลัก ดังพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงแล้ว

แต่สัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉาน ก็รักชีวิต รักสุขเกลียดทุกข์ เป็นเพื่อนร่วมโลก เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน

ไม่ควรเบียนเช่นเดียวกัน

ศีลข้อนี้ ท่านจึงให้แผ่คลุมไปถึงสัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานด้วย แต่ยอมรับว่าการฆ่าสัตว์จำพวกดิรัจฉาน

มีโทษน้อยกว่าการฆ่าสัตว์จำพวกมนุษย์ และพระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า

การฆ่าสัตว์ใดมีโทษน้อยหรือโทษมาก คือ


1. คุณ สัตว์มีคุณมาก ฆ่าก็มีโทษมาก สัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์

มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น

2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีคุณเหมือนกัน ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อย

3. ความพยายาม มีความพยายามมากในการฆ่ามีโทษมาก มีความพยายามน้อยมีโทษน้อย

4. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรงมีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อนมีโทษน้อย เช่น ฆ่าสัตว์ด้วยโทสะ

หรือจงใจเกลียดชัง มีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ด้วยป้องกันตัว เป็นต้น


แม้ในศีลข้ออื่นๆ ท่านก็กล่าวถึงการละเมิดที่มีโทษมากหรือโทษน้อยไว้แนวเดียวกัน เช่น อทินนาทาน

มีโทษมากหรือน้อยตามคุณค่าของสิ่งของ คุณความดีของเจ้าของ และความพยายามในการลัก

กาเมสุมิจฉาจารมีโทษมากหรือน้อยตามคุณค่าของคนที่ถูกละเมิด ความแรงของกิเลสและความเพียรพยายาม

มุสาวาทมีโทษมากหรือน้อย แล้วแต่ประโยชน์ที่จะตัดรอนเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็กน้อย และแล้วแต่ผู้พูด

เช่น คฤหัสถ์จะไม่ให้ของของตน พูดไปว่าไม่มี ก็ยังมีโทษน้อย ถ้าเป็นพยานเท็จมีโทษมาก

สำหรับบรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย จงใจบอกของที่ไม่เคยเห็นว่าเห็น มีโทษมาก

สำหรับการดื่มของเมา มีโทษมากน้อยตามอกุศลจิตหรือกิเลสในการที่จะดื่ม ตามปริมาณที่ดื่ม และตามผล

ที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิดพลาดชั่วร้าย

(วิภงฺค. อ. 497)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในยุคหลังต่อมา ปราชญ์ได้นำเอาธรรมบางข้อที่เข้าคู่กันกับสิกขาบทหรือศีล 5 นั้น มาจัดวางเป็นหมวดขึ้น

สำหรับแนะนำให้คฤหัสถ์ปฏิบัติคู่กันไปกับ เบญจศีล โดยเรียกชื่อว่า เบญจธรรม หรือเบญจกัลยาณธรรม

ข้อธรรมที่นำมาจัดนั้น ก็เดินตามแนวของหลักที่เรียกว่า กุศลกรรมบถนั่นเอง แต่ในการเลือกข้อธรรมมาจัดเข้า

มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแง่ของข้อธรรมที่มีความหมายกว้างแคบกว่ากัน หัวข้อของเบญจธรรม

นั้น เรียกตามลำดับให้เข้าคู่กับศีล 5 คือ


1. เมตตาและกรุณา

2. สัมมาอาชีวะ (บางท่านเลือกเอาทานเข้าด้วย)

3.กามสังวร คือ ความรู้จักยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ หรือเรื่องรักใคร่ไม่ให้ผิดศีลธรรม(บางท่านเลือก

เอาสทารสันโดษ คือ ความยินดีด้วยคู่ครองของของตน)

4. สัจจะ

5. สติสัมปชัญญะ (บางท่านเลือกเอาอัปปมาทคือความไม่ประมาท ซึ่งได้ความเกือบไม่ต่างกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับข้อสทารสันโดษ ที่เป็นข้อปฏิบัติตรงข้ามกับกาเมสุมิจฉาจาร มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวไว้

สทารสันโดษ แปลว่า ความพอใจด้วยภรรยาของตน ว่าโดยสาระก็คือความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน

แม้ว่ามองกว้างๆ หลักการจะเปิดให้เกี่ยวกับจำนวนของคู่ครอง มิได้กำหนดไว้ตายตัวว่าคนเดียวหรือกี่คน

สุดแต่ตกลงยินยอมกันโดยสอดคล้องกับประเพณีและบัญญัติของสังคม โดยถือสาระว่า ไม่ละเมิดต่อคู่ครอง

หรือของหวงห้ามที่เป็นสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดฝ่าฝืนความสมัครใจของคู่กรณีและไม่นอกใจคู่ครองของตน

เมื่อพร้อมใจกันและเป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ละเมิดและไม่เสียความซื่อสัตย์ต่อกันแล้ว ก็ไม่จัดเป็นเสีย

แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อว่าโดยนิยมท่านยกย่องการมีคู่ครองแบบผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งมีความรักใคร่ภักดีต่อกัน

มั่นคงยั่งยืน มีความมั่นคงภายในครอบครัว ลูกหลานมีความร่มเย็นเป็นสุขและอบอุ่นใจ

ดังชีวิตของคู่อริยสาวกนกุลบิดและนกุลมารดาที่เป็นแบบฉบับบันทึกไว้ในพระสูตรเป็นตัวอย่าง

สามีภรรยาคู่นี้ เป็นอริยบุคคลขั้นโสดาบันและเป็นเอตทัคคะในทางสนิทสนมคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า

ทั้งสองท่านมีความประสานสอดคล้องโดยความรักภักดี และความซื่อสัตย์ ซึ่งนำไปสู่ความกลมกลืนกันโดย

คุณธรรมจนปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า


สทารสันโดษนี้ ท่านจัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง แสดงว่าเป็นความประพฤติและการดำเนินชีวิตที่ได้รับยกย่อง

อย่างสูงในพระพุทธศาสนา ท่านว่าเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว ดังความว่า

“พวกเราไม่ประพฤตินอกใจภรรยา และภรรยาก็ไม่ประพฤตินอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์

ในหญิงอื่น นอกจากภรรยาของพวกเรา ฉะนั้น พวกเราจึงไม่มีใครตายตั้งแต่ยังหนุ่มสาว”


ภาษิตต่อไปนี้ถือได้ว่า เป็นบทสรุปศีล

"ผู้ใดสำรวมด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำความชั่วใดๆ ไม่พูดเหลาะแหละเพราะเห็นแก่ตน คนเช่นนั้น เรียกได้ว่า

ผู้มีศีล"

(ขุ.ชา.27/2466/540)

และพุทธพจน์ต่อไปนี้ ก็ถือได้ว่า เป็นสาระแห่งศีล

"จงสร้างความเกษมในปวงสัตว์"*

ม.มู.12/98/70

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

*อรรถกถาอธิบายว่า ความเกษม หมายถึง อภัย ความเกื้อกูล เมตตา และว่าข้อความนี้หมายถึงความบริสุทธิ์

ทางมโนทวาร

(ม.อ.1/247)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3jbq9.jpg
3jbq9.jpg [ 79.36 KiB | เปิดดู 3653 ครั้ง ]
ต่อที่

viewtopic.php?f=7&t=32492&p=210335#p210335

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร