วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 22:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ข้อสังเกตบางอย่างที่ควรทราบเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศีลในพระพุทธศาสนา กับศีลในศาสนา

เทวนิยม (รวมถึงเรื่องกรรม ความดี ความชั่ว)



1.ในพุทธธรรม ศีลเป็นหลักความประพฤติที่กำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ

ส่วนศีลในศาสนาเทวนิยม ศีลเป็นเทวโองการ ที่กำหนดขึ้นโดยเทวประสงค์


2. ในแง่ปฏิเสธ ศีลตามความหมายของพุทธธรรม เป็นหลักการฝึกอบรมตนในการงดเว้นจากความชั่ว

จึงเรียกศีลที่กำหนดเป็นข้อๆว่า สิกขาบท (ข้อฝึกหัด-rule of training)

ส่วนศีลในศาสนาเทวนิยมเป็นข้อห้าม หรือคำสั่งห้ามจากเบื้องบน (divine commandment)


3.แรงจูงใจ ที่ต้องการในทางการปฏิบัติตามศีลแบบพุทธธรรม ได้แก่ อาการวตีศรัทธา คือ ความมั่นใจ

(confidence) ในกฎแห่งกรรม โดยมีความเข้าใจพื้นฐานมองเห็นเหตุผลว่าพฤติกรรมและผลของมัน

จะต้องเป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย

ส่วนแรงจูงใจ ที่จะต้องการในการปฏิบัติตามศีลของศาสนาเทวนิยม ได้แก่ศรัทธาแบบภักดี (faith)

คือ เชื่อ ยอมรับ และทำตามสิ่งใดๆ ก็ตามที่กำหนดว่าเป็นเทวประสงค์ มอบความไว้วางใจให้โดยสิ้นเชิง

ไม่ต้องถามหาเหตุผล


4. ในพุทธธรรม การรักษาศีลตามความหมายที่ถูกต้อง ก็คือ การฝึกอบรมตนในทางความประพฤติ

เริ่มแต่เจตนาที่จะละเว้นความชั่วอย่างนั้นๆจนถึงประพฤติความดีงามต่างๆ ที่ตรงข้ามกับความชั่วนั้นๆ

ส่วนในศาสนาเทวนิยม การรักษาศีล ก็คือการเชื่อฟังและปฏิบัติตามเทวโองการโดยเคร่งครัด


5.ในพุทธธรรม การประพฤติปฏิบัติในขั้นศีล มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิ

กล่าวคือเป็นระบบการฝึกอบรมบุคคลให้มีความพร้อมและความสามารถที่จะใช้กำลังงานของจิตให้เป็นประโยชน์

อย่างมากที่สุด ในทางที่จะก่อให้เกิดปัญญาและนำไปสู่ความหลุดพ้น หรืออิสรภาพสมบูรณ์ในที่สุด

ส่วนการไปสวรรค์เป็นต้น เป็นเพียงผลพลอยได้ ของวิถีแห่งความประพฤติโดยทั่วไป

แต่ในศาสนาเทวนิยม การประพฤติศีลตามเทวโองการ เป็นเหตุให้ได้รับความโปรดปรานจากเบื้องบน

เป็นการประพฤติถูกต้องตามเทวประสงค์ และเป็นเหตุให้พระองค์ทรงประทานรางวัลด้วยการส่งไปเกิดในสวรรค์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


6.ในพุทธธรรม ผลดีหรือผลร้ายของการประพฤติหรือไม่ประพฤติศีล เป็นสิ่งที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ

คือ เป็นเรื่องการทำงานอย่างเที่ยงธรรมเป็นกลางของกฎแห่งธรรมชาติที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม

การให้ผลนี้ แสดงออกตั้งต้นแต่จิตใจ กว้างออกไปจนถึงบุคลิกภาพและวิถีชีวิตไปของบุคคลผู้นั้น

ไม่ว่าในชาตินี้หรือชาติหน้า


ส่วนในศาสนาเทวนิยม ผลดีผลร้ายของการประพฤติตามหรือการละเมิดศีล (เทวโองการ)เป็นเรื่องของ

การให้ผลตอบแทน (retribution) ผลดีคือการได้ไปเกิดในสวรรค์ เป็นรางวัล (reward)

ส่วนผลร้าย คือ ไปเกิดในนรกเป็นฝ่ายการลงโทษ (punishment) การจะได้ผลดีหรือผลร้ายนั้นย่อมสุด

แต่การพิพากษาหรือวินิจฉัยโทษ (judgment) ของเบื้องบน


7.ในแง่ความเข้าใจเกี่ยวกับความดีความชั่ว ทางฝ่ายพุทธธรรมสอนว่า ความดีเป็นคุณค่าที่รักษาและส่งเสริม

คุณภาพของจิต ทำให้จิตใจสะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ หรือยกระดับให้สูงขึ้น จึงเรียกว่าบุญ (good,

moral หรือ meritorious) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ชีวิตจิตใจ เป็นไปเพื่อความหลุด

พ้นหรืออิสรภาพทั้งทางจิตใจและทางปัญญา เป็นการกระทำที่ฉลาด ดำเนินตามวิถีแห่งปัญญาเอื้อแก่สุขภาพจิต

จึงเรียกว่า กุศล (skilful หรือ wholesome)

ส่วนความชั่ว เป็นสภาพที่ทำให้คุณภาพของจิตเสื่อมเสีย หรือทำให้ตกต่ำลง จึงเรียกว่า บาป (evil)

เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ชีวิตจิตใจ ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด

ไม่เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า อกุศล (unskillful หรือ unwholesome)


ส่วนในศาสนาเทวนิยม ความดีความชั่ว กำหนดด้วยศรัทธาแบบภักดี ต่อองค์เทวะเป็นมูลฐาน คือ ถือเอาการ

เชื่อฟังยอมรับและปฏิบัติตามเทวประสงค์และเทวบัญชาหรือไม่เป็นหลัก โดยเฉพาะ ความชั่ว หมายถึง

การผิดหรือล่วงละเมิดต่อองค์เทวะ (sin) ในรูปใดรูปหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๘.จากพื้นฐานที่แตกต่างกันนี้ ทำให้เกิดความแตกต่างกันต่อไปอีกอย่างน้อย ๒ ประการคือ

ก. ศีลในพุทธธรรม จึงต้องเป็นคำสอนที่ต่อเนื่องกันตามเหตุผลเป็นระบบจริยธรรม เพราะผู้ปฏิบัติจะประพฤติ

ได้ถูกต้องต่อเมื่อมีความเข้าใจในระบบและเหตุผลที่เกี่ยวข้องเป็นพื้นฐานอยู่ด้วย

ส่วนศีลหรือจริยธรรมทั่วไปในศาสนาเทวนิยม ย่อมเป็นประกาศเทวโองการ หรือคำแถลงเทวประสงค์

เป็นเรื่องๆข้อๆต่างๆกันไป แม้นำมารวบรวมไว้ก็ย่อมเรียกว่า ประมวล ไม่ใช่ระบบ เพราะผู้ปฏิบัติต้องการความ

เข้าใจ อย่างมากก็เฉพาะในความหมายของสิ่งที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในระบบและเหตุผลที่

เกี่ยวข้อง เพราะถือว่าระบบและหดตุผลต่างๆทั้งปวงอยู่ในพระปรีชาขององค์เทวะหมดสิ้นแล้ว อันผู้ปฏิบัติไม่พึง

สงสัย เพียงแต่เชื่อฟังมอบความไว้วางใจ และปฏิบัติตามเทวโองการเท่านั้นเป็นพอ


ข. ศีลหรือระบบจริยธรรมแบบพุทธ เป็นหลักกลางๆ และเป็นสากล กำหนดโดยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติ

(หมายถึงสารัตถะของศีลในฝ่ายธรรมอันเกี่ยวด้วยบุญบาป ไม่ใช่ในความหมายฝ่ายวินัย อันเกี่ยวด้วยการลง

โทษ) เช่น พิจารณาผลหรือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของจิต ผลต่อพฤติกรรม นิสัย และ

บุคลิกภาพ เป็นต้น จึงไม่อาจวางข้อจำกัดที่เป็นการแบ่งแยกเพื่อผลประโยชน์เฉพาะพวก เฉพาะกลุ่ม หรือเอา

ความพอใจของตนเป็นเครื่องวัดได้ เช่น ไม่จำกัดว่า คนศาสนานี้เท่านั้นมีกรุณาจึงเป็นคนดี คนศาสนาอื่นมี

กรุณาก็เป็นคนไม่ดี ฆ่าคนศาสนานี้เท่านั้นเป็นบาป ฆ่าคนศาสนาอื่นไม่บาป คนศาสนานี้เท่านั้นให้ทาน

ไปสวรรค์ได้ คนศาสนาอื่นประพฤติอย่างไร ไม่เชื่อฉันเสียอย่างเดียวตกนรกหมด ฆ่าสัตว์ (รวมทั้งที่ไม่เป็น

อาหาร) ไม่บาป เพราะสัตว์เป็นอาหารของคน (คนไม่เป็นอาหารของเสือและสิงโต เป็นต้น ?)

ดังนี้เป็นต้น * จะมีการแบ่งแยกได้ เช่นว่าบาปมากบาปน้อย เป็นต้น อย่างไร ก็เป็นไปโดยข้อเท็จ

จริงตามธรรมชาติ เช่น พิจารณาผลและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานของจิตเป็นต้น ดังกล่าวแล้ว


ส่วนในศาสนาเทวนิยม หลักเหล่านี้ย่อมกำหนดให้จำกัดหรือขยายอย่างไร ก็ได้ตามเทวประสงค์ ดุจเป็นวินัย

บัญญัติ หรือนิติบัญญัติ เพราะองค์เทวะทรงเป็นทั้งผู้ตรากฎหมายและผู้พิพากษาเอง


:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

* ท่าทีต่ออาหาร ที่เป็นไปอย่างถึงธรรมชาติแท้ๆคือ ยอมรับความจริงว่า เพราะยังเดินทางไม่ถึงจุดหมาย

เราจึงจำต้องทำสิ่งที่เราเองไม่ปรารถนา แต่ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น โดยให้นึกถึงอาหารที่กินนั้น เหมือนกับพ่อ

แม่จำใจกินเนื้อลูกของตนระหว่างเดินทางกันดาร

(ดู สํ.นิ.16/241/119)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๙. เนื่องจากศีลเป็นหลักกลางๆ กำหนดด้วยข้อเท็จจริงตามกฎธรรมชาติเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติตามแนวพุทธธรรม

จึงต้องเป็นผู้กล้ายอมรับและกล้าเผชิญหน้าความจริง ความดี ชั่ว ถูก ผิด มีอยู่เป็นข้อเท็จจริงอย่างไร

ก็ต้องกล้ายอมรับการที่ตนปฏิบัติดีไม่ดีตามข้อเท็จจริงนั้น มิใช่ถือว่าไม่ชั่ว เพราะตัวอยากทำสิ่งนั้น ข้อเท็จจริง

ตามธรรมชาติ มิได้ขึ้นต่อการวัดด้วยการอยากทำหรือไม่อยากทำของตน ถ้ามีอันถึงกับจะทำกรรมที่ให้ตกนรก

สักอย่างหนึ่ง การที่ยอมรับพูดกับตนเองว่า กรรมนั้นไม่ดี แต่ตนยอมเสียสละตกนรก ยังดีกว่าหลอกตัวเองว่า

กรรมนั้นไม่เป็นกรรมชั่ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00180.gif
00180.gif [ 97.18 KiB | เปิดดู 2309 ครั้ง ]
มีสิ่งที่อาจถือว่าเป็นข้อดี หรือ ได้เปรียบของศีลแบบเทวโองการ คือ


๑. ตัดการพิจารณาเรื่องถูกผิด จริงไม่จริง ออกเสีย กล่าวได้ว่า เมื่อเชื่อเสียแล้วศรัทธาล้วนแบบภักดี

ได้ผลในทางปฏิบัติที่รวดเร็วเร่งเร้าและรุนแรงกว่า แต่จะเกิดปัญหาขึ้นต่อไป โดยเฉพาะในยุคแห่งเหตุผลว่า

ทำอย่างไรจึงจะให้เชื่อได้ ปัญหาในระยะยาวเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ศรัทธา

เหมือนตน ปัญหาเรื่องความมั่นคงของศรัทธานั้น และการไม่มีโอกาสเข้าถึงอิสรภาพทางปัญญา (บางข้ออาจ

ไม่ต้องพิจารณา ถ้ามนุษย์ต้องการมีชีวิตอยู่เพียงเป็นสัตว์สังคมที่แยกกันอยู่เป็นกลุ่มๆ)


๒. สำหรับสามัญชนทั่วไป ย่อมเข้าถึงความหมายของศีลตามแบบศรัทธาล้วนได้ง่าย และศีลแบบนี้ก็ควบคุม

ความประพฤติของคนสามัญได้เป็นอย่างดี ดังนั้น แม้ในหมู่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อย ความเข้าใจในเรื่องศีล

เรื่องบาปจึงยังคงมีส่วนที่คล้ายกับศาสนาเทวนิยมแฝงอยู่ด้วย เช่น เห็นศีลเป็นข้อห้าม (แต่ลางเลือนว่าใคร

เป็นผู้ห้าม) เห็นผลของบุญบาปเป็นอย่างผลตอบแทน เป็นรางวัลหรือการลงโทษ
เป็นต้น แต่ปัญหาก็คง

เป็นอย่างเดียวกับข้อ ๑ คือทำอย่างไรจะให้เชื่อกันอยู่ได้ตลอดไป


๓. การบัญญัติกรรมไม่ดีบางอย่าง ที่เห็นว่ายังจำเป็นต้องทำเพื่อผลประโยชน์บางอย่างของตน ให้เป็นกรรม

ที่ไม่ผิดไปเสีย จัดเป็นวิธีจูงใจตัวเองได้อย่างหนึ่ง

พุทธธรรมยอมรับว่าวิธีจูงใจตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ได้ผลมากอย่างหนึ่ง เพราะเป็นเหตุปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เข้ามา

เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นในเรื่องนั้นๆ เช่น บัญญัติว่าฆ่าสัตว์ไม่บาป ก็ทำให้เบาใจและไม่รู้สึกสะกิดใจในการฆ่าสัตว์

แต่การจูงใจแบบนี้ทำให้เกิดผลร้ายในด้านอื่น และไม่เป็นวิถีทางแห่งปัญญา

พุทธธรรมนิยมให้เป็นอยู่ด้วยการรับรู้ความเป็นจริงจะแจ้งในทุกขั้นทุกตอน ให้รู้จักเลือกตัดสินด้วยตนเอง

พุทธธรรม สอนให้ใช้วิธีจูงใจตนเองบ้างเหมือนกัน แต่สอนโดยให้ผู้นั้นรู้เข้าใจในเรื่องที่จะใช้จูงใจนั้นตามข้อ

เท็จจริงแล้วให้นำไปใช้ด้วยตนเอง เรื่องที่ใช้จูงใจนั้นไม่มีแง่ที่เสียหาย และให้ใช้เฉพาะในกรณีที่ช่วยเป็น

พลังในการทำความดีอย่างอื่นให้ได้ผลยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 09:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูเกี่ยวกับศีลต่อก็ที่

viewtopic.php?f=7&t=32470&p=210128#p210128

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ก.พ. 2013, 18:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


.
.
.
beby beby beby


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร