วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศาสนพิธี เรื่อง : ทานพิธี ๑



ปาฏิปุคคลิกทาน ได้แก่ ทานที่ถวายจำเพาะเจาะจงบุคคล คือถวายเฉพาะตัว เช่นต้องการจะ
ถวายแก่ภิกษุรูปใดก็นิมนต์จำเพาะองค์นั้น

สังฆทานทาน ได้แก่ทานที่ถวายแก่สงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แล้วแต่
ทางวัด คือเจ้าอาวาสหรือพระภัตตุเทสก์จะจัดส่งไปให้ การนิมนต์พระก็ดี การเผดียงสงฆ์ก็ดี
จึงควรจัดให้เป็นไปตามชนิดของทาน คือ ถ้าจะถวายเป็นปาฏิปุคคลิกทาน เจ้าภาพต้องไปนิมนต์
พระเฉพาะด้วยตนเอง ถ้าจะถวายเป็นสังฆทาน เจ้าภาพจะไปเองหรือส่งคนผู้ที่เชื่อถือไปเผดียง
ต่อเจ้าอาวาสหรือภิกษุภัตตุทเทสก์ หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในวัดนั้นก็ได้ โดยกำหนดวันเวลา
และสถานที่ จำนวนพระภิกษุที่ต้องการให้ท่านทราบรายละเอียด ตามนัยที่กล่าวแล้วในบุญพิธี
พิธีถวายเป็นไปในลักษณะเดียวกันต่างแต่ว่า เจตนาในทาน ๒ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัส
สรรเสริญ "สังฆทาน" ว่าเป็นเลิศ

๑. การถวายสังฆทาน เท่าที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ จัดถวายที่บ้านก็มี, ถวายที่วัดก็มีการ
ตกแต่งสถานที่ก็เป็นธุระหน้าที่ ของทายกทายิกาทั้งนั้น ถ้าจัดถวายที่วัด ทางวัดจัดการสง-
เคราะห์ตามสมควร ข้อสำคัญเจ้าภาพต้องทำเจตนาให้บริสุทธิ์ คือเมื่อเผดียงสงฆ์ต่อเจ้าอาวาส
หรือภิกษุภัตตุทเทสก์ หรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าขอเผดียงสงฆ์จากวัดนี้ เพื่อรับสังฆ
ทาน ในวันนั้น เวลา สถานที่นั้น จำนวนภิกษุเท่านั้นรูป" ตามที่ต้องการแล้ว อย่าคำนึงถึงว่าเรา
จะได้พระรูปใดก็สุดแล้วแต่ทางวัดจะจัดส่งไปให้ ทุกวันนี้บ้านเมืองเจริญด้วยยวดยานพาหนะ
หรือท่านเรียกว่า วันนั้นเวลาเท่านั้นๆ เจ้าภาพจะจัดรถมารับที่วัด แม้ว่าภิกษุรูปนั้นจะไม่ชอบพอ
กับตนมาก่อน ก็ไม่ควรแสดงความรังเกียจ โดยที่สุดแม้จะได้เพียงสามเณรไปรับสังฆทานก็
ควรยินดี เพื่อให้ทานนั้นเป็นของบริสุทธิ์เป็น "สังฆทาน" เพราะว่า พวกภิกษุหรือสามเณร ก็ชื่อ
ว่ามาในนามของสงฆ์ เจ้าภาพพึงทำเจตนาให้มุ่งตรงต่อสงฆ์ว่า ไม่ใช่ถวายแก่ "บุคคล" ในการ
ถวายสังฆทานนี้ ไม่จำกัดจำนวนพระสงฆ์ จะนิมนต์เพียง ๔-๕-๖ รูปก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แล้ว
แต่กำลังศรัทธาของเจ้าภาพ

๒. พิธีถวาย เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่เรียบร้อยแล้ว ได้เวลาเจ้าภาพพึงนำสิ่งของ คืออาหาร
คาวหวานหรือสิ่งของอย่างอื่นที่ได้จัดเตรียมไว้รวมทั้งดอกไม้ ธูป เทียนด้วย บางแห่งจัดเป็น
สำรับคาวหวาน บางแห่งจัดเป็นปิ่นโต บางแห่งจัดใส่กระทงรวมในถัง หรือกาละมังก็มี โดย
เฉพาะมักจะลืมเสียเป็นส่วนมาก คือน้ำ ควรใส่แก้วหรือขวดตั้งไว้ตรงหน้าพระน้ำด้วย จัดเรียง
ไว้เป็นชุดๆ ตามจำนวนพระสงฆ์ที่มาสู่สถานที่ที่จัดไว้ สิ่งของทั้งหมดเมื่อพร้อมแล้ว เจ้าภาพ
จัดการจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัยกราบลง ๓ ครั้ง อาราธนาศีล พระให้ศีล เจ้าภาพรับศีล
ถ้ามีการฉันด้วยโดยมากเมื่อรับศีล แล้วพระสงฆ์สวดถวายพรพระก่อนฉัน ถ้าไม่มีการฉันเมื่อ
รับศีล จบแล้วให้เจ้าภาพกราบลง ๓ ครั้ง ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำถวายสังฆทานต่อไป

๓. คำถวายสังฆทานว่าดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะ
ยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุ สังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารนิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัต
ตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหารกับของที่เป็น
บริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารกับของ ที่เป็นบริวารทั้ง
หลาย เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ

๔. คำถวายสังฆทานดังกล่าวนี้ ถ้าว่าจบเดียวต้องว่าคำแปลด้วย ถ้า ๓ ครั้ง โดยใช้คำว่า ทุติ,
ตะติ, นำหน้า ครั้งที่ ๒-๓ ไม่ต้องว่าคำแปลนี้ ก็เพื่อให้พระสงฆ์ได้ทราบว่าเจ้าภาพว่าจบเดียว
หรือ ๓ จบ จะได้ประนมมือและรับว่า "สาธุ" ได้ถูกต้อง ในขณะผู้กล่าวคำถวายว่า ตะติ, หรือ
ว่าคำแปลนั้น พระสงฆ์ทุกรูปจะประนมมือ เมื่อผู้ว่าคำถวายจบ พระสงฆ์รับว่า "สาธุ"

๕. เมื่อถวายเสร็จแล้ว พระภิกษุสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพก็เตรียมกรวดน้ำต่อไป การถวายสังฆ-
ทานดังกล่าวมานี้ เป็นการถวายประเภทสามัญ คือถวายเพื่อความสุข ความเจริญของตน ถวาย
เพื่อกุศลให้บุพการีคุณ อันมีบิดา มารดา ครูอาจารย์ ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายทานอย่างอื่นมี
สลากภัตต์เป็นต้น ต้องเปลี่ยนคำถวายดังต่อไปนี้

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทานพิธี ๒



๖. คำถวายสังฆทานประเภทมะตะกะภัตต์อุทิศให้ผู้ตาย ว่าดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต มะตะกะ
ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะ
ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ญาตะกานัง กาละ
กะตานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายซึ่ง มะตะกะภัตตาหาร กับทั้ง
ของบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย
แก่ญาติทั้งหลาย มีบิดา - มารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เหล่านั้นเป็นต้น ผู้ทำกาละล่วงไป
แล้วสิ้นกาลนานเทอญฯ

๗. สลากภัตต์ การมีพิธีต่างๆ กันตามท้องที่นั้นๆ บางแห่งก็ต่างคนต่างถวายผลไม้ และภัตตา-
หารนั้นๆ บางแห่งก็ต่างคนก็ถวายผลไม้และภัตตาหารรวมกันแล้ว มีผู้นำกล่าวคำถวายว่าพร้อม
กัน แบ่งถวายอาหารโดยส่วนเฉลี่ยสงฆ์เท่าๆ กัน พระที่ฉันรวมกัน แต่บางแห่งต่างคนต่างจัด
สำรับคาวหวานและผลไม้ ต่างแยกกันถวายเฉพาะของตน ถ้าจับฉลากได้เลขที่เท่าไหร่ ก็จัด ณ
สถานที่นั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ๆ ปักสลากไว้ ถ้าพระน้อย เจ้าภาพมาก ก็รวมกันหลายคนต่อ ๑ สลาก
ฝ่ายพระเณร ก็จับสลากด้วยเหมือนกัน ใครจับสลากได้เลขที่เท่าไหร่ ก็ไปนั่งประจำที่นั่นตาม
หมายเลขของตน เมื่อพร้อมแล้วก็กล่าวคำถวายพร้อมกันก็มี แยกกันกล่าวคำถวายเฉพาะของ
คณะตนก็มี แต่โดยมากรวมถวายพร้อมกัน พระสงฆ์ท่านก็อนุโมทนาพร้อมกัน ถ้าแยกกันถวาย
ท่านก็จะแยกกันอนุโมทนาเช่นเดียวกัน ตามพิธีนี้แม้จะยุ่งยากอยู่บ้าง แต่ก็ตรงตามความหมาย
คำว่าสลากภัตต์และเป็นการสนุกสนานของคณะเจ้าภาพด้วย เพราะเป็นการประกวดประขันกัน
ในตัวและเชื่อว่าเป็นสังฆทานโดยแท้ เพราะเจ้าภาพก็ไม่รู้จักพระเณร พระเณรก็ไม่รู้จักเจ้าภาพ
มาก่อน รู้กันก็ต่อเมื่อพระมานั่งตรงสลากของตน ใครชอบพิธีไหนก็เลือกทำพิธีนั้น

การถวายสลากภัตต์นี้ โดยมากแล้วจะทำการจัดที่วัดเพราะจำเป็นต้องใช้บริเวณกว้างๆ พระไป
นั่งฉันตามโคนต้นไม้ ข้างศาลาบ้าง บางรายเจ้าภาพจัดทำปะรำพิธีชั่วคราวขึ้น หรือใช้เต๊นท์ร่ม
กางกั้น ที่รู้สึกสนุกตอนพระและเณรเที่ยวเดินหาสลากของท่านตามหมายเลขไม่ค่อยพบได้ ง่าย
นัก เพราะเจ้าภาพซิกแซกนิดหน่อย

คำถวายสลากภัตต์ถวายรวมกัน ว่าดังนี้
เอตานิ มะยัง ภันเต สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุกัฎฐาเน ฐะปิตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณ
ชะยามะ สาธุโน ภันเต ภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหา
กัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งสลากภัตต์กับภัตตาหารและของ
บริวารเหล่านี้ อันตั้งไว้แล้วในที่โน้น แต่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ซึ่งสลากภัตต์
กับทั้งของบริวารเหล่านั้น ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้ง
หลาย สิ้นกาลนานเทอญ

ถ้าแยกกันถวาย คำว่า เอตานิ เปลี่ยนเป็น อิมานิ และคำว่า อะสุกัฏฐาเน เปลี่ยนเป็น อิธะ ฐาเน
นอกนั้นคงเดิม

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำบุญใส่บาตร



การทำบุญใส่บาตร จัดเป็นการทำบุญ ข้อทานมัยชาวพุทธควรทำบุญใส่บาตรเป็นประจำ
ทุกวันเพื่อเป็นการสร้างบุญวาสนาบารมี อันจะเป็นปุพเพกตปุญญตาสำหรับตนต่อไปในอนาคต
โดยตรง และเพื่อเป็นการสืบพระพุทธศาสนาโดยอ้อมกล่าวคือ พุทธศาสนามีอายุ ๒,๕๐๐
กว่าปีได้ เพราะพุทธบริษัททั้ง ๔ (พระภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) พระสงฆ์สาวกเป็นผู้จำ
และถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสืบต่อๆ กันมาจนทุกวันนี้ พระสงฆ์ยังชีพอยู่
ได้ด้วย ปัจจัย ๔ ที่ชาวพุทธจัดถวายให้ พระสงฆ์จึงมีชีวิตจดจำและถ่ายทอดหลักธรรมไว้
สร้างสันติสุขแก่มวลมนุษย์ได้

การทำทานย่อมประกอบด้วยผู้ให้ ผู้รับและสิ่งของ องค์ประกอบ ๓ ประการนี้ต้องบริสุทธิ์
จึงจะได้บุญมาก

๑. ผู้ให้หรือทายก ต้องมีใจบริสุทธิ์ คือ
• ก่อนให้ดีใจ - มีความตั้งใจทำบุญ
• กำลังให้จิตแจ่มใส - มัความตั้งใจขณะทำบุญ
• ให้แล้ว - เบิกบานใจ

๒. ผู้รับหรือปฏิคาหก ในที่นี้ คือพระภิกษุสามเณรต้องเป็นผู้บริสุทธิ์คือเป็นผู้กำลังปฎิบัติเพื่อ
บรรเทาราคะ โทสะ โมหะ หรือผู้ไม่มีราคะ, โทสะ , โมหะ

๓. สิ่งของ ต้องเป็นสิ่งของที่บริสุทธิ์ คือ
• สิ่งของนั้นถูกซื้อมาด้วยเงินบริสุทธิ์ ไม่ใช่เป็นเงินที่ได้มาจากการลักโขมย ฉ้อโกง
เล่นการพนัน เป็นต้น
• สิ่งของนั้นหามาได้ด้วยการไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เช่น ฆ่าสัตว์เพื่อทำบุญ บีบบังคับให้ผู้อื่น
หาสิ่งของนั้นมา เป็นต้น
• สิ่งของนั้นสมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่ผู้รับ และมีปริมาณพอเท่านั้น

คำอธิษฐานก่อนใส่บาตร

ก่อนใส่บาตร ควรตั้งจิตอธิษฐานก่อน โดยนั่งกระหย่ง ยกขันข้าวด้วยมือทั้งสองเสมอหน้าผาก
แล้วกล่าวคำอธิษฐานต่อไปนี้กี่บทก็ได้

"สุทินนัง วาตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ"
คำแปล "ทานของข้าพเจ้าให้ดีแล้ว ขอจงเป็นเครื่อง นำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลส"

"นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เมสะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุ
สัพพะทา"
คำแปล "สรณะอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วย
การกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้า ในการทุกเมื่อเทอญ"

หรือจะอธิษฐานสิ่งอื่นใดตามใจปรารถนาก็ได้ จากนั้นลุกขึ้นยืนตั้งใจตักข้าวและกับและดอกไม้
ธูปเทียน ด้วยความระมัดระวังและด้วยจิตผ่องใส

การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
การกรวดน้ำ จะกรวดน้ำ ณ ที่ที่ตักบาตรหรือที่บ้านก็ได้ ขณะกรวดน้ำให้กล่าวคำกรวดน้ำอย่าง
ย่อ ดังนี้

"อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย"
คำแปล "ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า
จงมีความสุข"

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการทำบุญ

คำว่า "บุญ" แปลว่า ความสุข ความดี ความสะอาด ความผ่องแผ้วแห่งจิต
คำว่า "การทำบุญ" หมายถึง การทำกิจใดๆ เพื่อให้ได้บุญ คือ เพื่อให้ได้ความสุขกายสบายใจ
กิจที่ทำนั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น โดยถูกทำนองคลองธรรม สำหรับคำว่า "การ
บำเพ็ญบุญ" มีความหมายเช่นเดียวกับ "การทำบุญ"

วิธีการทำบุญ เพื่อจะให้ได้บุญนั้น มีอยู่ ๓ วิธี โดยจำแนกตามจิต รวมเรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ
๓ อย่าง" คือ

๑. ทานมัย วิธีการทำบุญด้วยการบริจาคทาน เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับสิ่งของที่จะทำทาน
มีหน้าที่กำจัดกิเลสอย่างหยาบคือความโลภได้ ผู้ที่ได้บุญจากทานมัยย่อมเป็นคนกว้างขวาง เป็น
ที่รักและเคารพของปวงชน สมานไมตรีกันไว้ได้ทุกชั้น ทั้งยึดถือประโยชน์ของคนที่มีทรัพย์ได้
ด้วย เราจำแนกทานออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑.๑ อามิสทาน เป็นการสละทรัพย์ของตนแก่คนทั้งหลาย ด้วยอัธยาศัยเมตตาเผื่อแผ่ เช่น ถวาย
ทานแด่พระภิกษุสามเณร คนชรา ขอทาน ผู้ตกยาก เป็นต้น

๑.๒ ธรรมทาน เป็นการแนะนำสั่งสอนชี้แจงให้ผู้อื่นรู้จักบาปบุญคุณโทษ ให้วิชาความรู้ ดัง
พุทธภาษิตที่ว่า "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ" แปลว่า การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้
ทั้งปวง

๒. สีลมัย วิธีการทำบุญด้วยการรักษาศีล เป็นเรื่องของจิตเกี่ยวเนื่องกับกายวาจา สีลมัยมีหน้าที่
กำจัดกิเลสอย่างกลาง คือความโกรธได้ ผู้ที่ได้บุญจากสีลมัยย่อมเป็นที่รักและเคารพของชนทั้ง
หลาย หมดความรังเกียจซึ่งกันและกัน ทั้งทำให้เป็นคนองอาจด้วย สีลมัยจำแนกเป็น

๒.๑ ศีล ๕ สำหรับสามัญชนทั่วไป
๒.๒ ศีล ๘ หรือ อุโบสถศีล สำหรับอุบาสกอุบาสิกา
๒.๓ ศีล ๑๐ สำหรับสามเณร
๒.๔ ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ

ปกติคนที่ถูกโทสะครอบงำจิตย่อมจะเดือดร้อนใจ มักจะเสียความประพฤติทางกาย และ
วาจา จำต้องรักษาศีลควบคุมกายวาจาให้สงบ ตลอดจนคลุมจิตใจให้เป็นปกติหายโทสะ จิตจึง
จะเป็นบุญ

๓. ภาวนามัย วีธีการทำบุญด้วยการภาวนา เป็นเรื่องของจิตอย่างเดียว ผู้ที่ได้บุญจากการ
ภาวนามัย ย่อมเป็นคนหนักแน่นมั่นคง แม้กระทบกระทั่งอารมณ์ใดๆ ย่อมจะไม่หวั่นไหวไปตาม
อารมณ์นั้นๆ การภาวนา เป็นการอบรมจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดีและให้ฉลาด สำหรับคนทั่ว
ไป ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียน หมั่นฟัง หมั่นคิด หมั่นท่องบ่นหลักวิชาการต่างๆ หมั่นสนทนากับ
ท่านผู้รู้จนเกิดความฉลาด การภาวนาที่ละเอียดมากขึ้น ได้แก่

๓.๑ สมถภาวนา (สมถกัมมัฏฐาน) คือการทำจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียว ด้วยการสำรวม ความ
ระวัง และตั้งใจ

๓.๒ วิปัสสนาภาวนา (วิปัสสนากัมมัฏฐาน) คือใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นแจ้งในสังขารธรรม
ทั้งปวง ด้วยความฝึกฝน ความทรมาน ความดัดสันดานและด้วยความข่มใจ

ภาวนามัยเป็นข้อสำคัญที่สุดในบุญกิริยาทั้งหลาย เพราะยึดบุญกิริยานั้นๆ ให้คงอยู่ได้ด้วย
แกนเหล็กที่ตั้งอยู่ ณ ภายในทำของที่หุ้มอยู่ ณ ภายนอกให้มั่นคงฉะนั้น อันความงามความดีที่
จะเป็นผล ซึ่งบุคคลที่ประพฤติให้ปรากฏออกภายนอกด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ต้องมีภาวนา
เป็นสารอยู่ภายใน ย่อมเป็นไปดังสุคนธชาติ เป็นต้นว่า เนื้อไม้ที่อบไว้เป็นอันดี เพราะเหตุนั้น
กุศลราศีที่บุคคลทำให้มีขึ้นโดยสนิทใจ ได้ชื่อว่าภาวนาเพราะใจความว่าเป็นเครื่องอบรมกุศล
ให้มีขึ้นในสันดาน

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




16433.jpg
16433.jpg [ 14.83 KiB | เปิดดู 4617 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับท่านธรรมบุตร

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

รูปภาพ


:b8: อนุโมทนา..สาธุ..เช่นกันครับ..ท่านวรานนท์ :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมบุตร เมื่อ 24 พ.ค. 2010, 18:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


cheesy :b8: ขออนุโมทนาสาธุการกับทุกท่านด้วยค่ะ :b20: Kiss

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: อนุโมทนา..สาธุ..เช่นกันครับ..ท่านสาวิกาน้อย :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร