วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากกระทู้นี้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22506&start=195


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ การกล่าวเช่นนั้น ไม่ถูกต้องครับ ในการปฏิบัติต้องแล้วแต่ใครถนัด

ปริยัติศาสนา หรือ คันถธุระ มีส่วนสำคัญมาก เปรียบเหมือนแผนที่ ที่ใช้ประกอบการเดินทาง

บางคนยังไม่รู้ตัวเอง เลยว่า มีจริตแบบไหน, สมถะ-วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร , จะปฏิบัติวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน แบบไหน ?

ได้แต่เชื่อตามกันมา ตามที่ตนเองถนัด บางสำนักก็ถนัดด้านการทำสมาธิ แต่ไม่เข้าใจเรื่องวิปัสสนา

ซึ่งผมก็เคยเป็นแบบนั้นเหมือนกัน ชมรมพุทธศาสน์ไปปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ไป เขาเรียกการนั่งสมาธิว่าเป็นวิปัสสนาก็เรียกตามเขาไป ( พาไปสวนโมกข์, วัดธรรมกาย ก็ตามเขาไป )




ข้อความอ้างอิงเป็นความบิดเบือนศาสนาพุทธของนักสัทธรรมปฏิรูปเฉลิมศักดิ์


จากหนังสือพุทธธรรมหน้853-854

จริย แปลว่าความประพฤติปกติ หมายถึงพื้นเพของจิต พื้นนิสัย ลักษณะความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่งตามสภาพจิตที่เป็นปกติของบุคคลนั้นๆ ตัวความประพฤติหรือลักษณะนิสัยนั้นเรียกว่า จริยา บุคลลที่มีลักษณะนิสัยและความประพฤติอย่างนั้นๆเรียกว่า จริต เช่นคนมีราคจริยา เรียกว่า ราคจริต เป็นต้น จริตประเภทใหญ่มี6คื่อ

1.ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางราคะ ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม ลัมุนละไม ควรใช้กรรมฐานคู่ปรับคือ อสุภะ(และกายคตาสติ)

2.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโทสะ ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิดรุนแรง กรรมฐานที่เหมาะคือ เมตตา (รวมไปถึงพรหมวิหารข้ออืนๆและกสิณโดยเฉพาะวรรณกสิณ)

3.โมหจริต ผู้มี"มหะเป็รความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนักไปทางโมหะ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่อนงง งมงาย ใครว่าอย่างไรก็คอยเห็นคล้อยตามไป พึงแก้ด้วยมีการเรียน ไถ่ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู(กรรมฐานที่เกื้อกูลคือ อานาปานสติ)

4.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีนิสัยมากด้วยศรัทธา ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจ เลื่อมใสโดยง่าย พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และศีลของตน(อนุสต 6 ข้อแรก ได้ทั้งหมด)

5.พุทธจริต หรือ ญาณจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา และมองไปตามความจริง พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดพิจารณา อุปสมานุสติ จตุธาตุวัฏฐาน อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)

6.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางชอบครุ่นคิดวกวน นึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ (หรือเพ่งกสิณเป็นต้น)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 พ.ค. 2010, 12:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 05:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนากรรมฐาน ที่เหมาะแก่จริต


มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.p ... &i=273&p=1

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อน และปัญญากล้า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า. สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน. สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้า.
เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.

------------------------------------------------------


อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔

viewtopic.php?f=2&t=29201

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะกัมมัฏฐาน(การทำสมาธิ ๔๐ กอง) ที่เหมาะแก่จริต

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ สมถะ - วิปัสสนา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/035.htm

ผู้เจริญภาวนา จะต้องเลือกกัมมัฏฐานให้ถูกแก่จริตของตน จึงจะเป็นที่สบาย รู้ง่าย ได้ผลเร็ว ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค แสดงไว้ว่า

เริ่มต้นก็กล่าวถึง เสนาสนะที่อยู่อาศัยในการเจริญกัมมัฏฐานของผู้ที่มีราคจริตว่า เตียงตั่งที่นั่งที่นอน ต้องไม่สวย ไม่น่าดู ไม่เป็นที่สบาย ให้รกรุงรังสักหน่อยก็ได้ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ควรใช้ของเก่า ๆ สีซีด ๆ มีขาดมีปะบ้างก็ยิ่งดี อาหารการกินก็จัดให้อย่างชนิดที่สีสรรไม่ชวนดู กลิ่นและรสก็เป็นอย่างที่ไม่นิยมยินดี สักแต่ว่าให้กินพอให้หนักท้องไปเท่านั้นเอง กัมมัฏฐานก็ต้องเป็นชนิดที่ไม่ให้เกิดความเพลิด เพลินยินดี ทั้งนี้เพราะเหตุว่าผู้ที่มีราคจริตย่อมชอบสิ่งที่สวยงามเป็นที่เจริญตาเจริญใจ เมื่อได้พบเห็นสิ่งที่สวยสิ่งที่งาม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดีเพลิดเพลินแล้ว ราคะย่อมไหลไปตามอารมณ์นั้น ๆ ได้โดยง่าย จึงต้องให้ได้เห็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม กามฉันทะจะได้ไม่เกิดมาทำให้เป็นเครื่องขัดขวางแก่การเจริญภาวนา

เสนาสนะของผู้เจริญกัมมัฏฐานที่มีโทสจริต ต้องเรียบร้อย สะอาด สวยงาม ประดับด้วยดอกไม้ของหอมด้วยก็ยิ่งดี ทุกสิ่งทุกอย่างต้องล้วนแล้วแต่สิ่งที่น่าดู น่าฟัง น่าสูดดม น่ารับประทาน น่าสัมผัสถูกต้อง จะได้ข่มไม่ให้โทสะเกิดขึ้นมาทำลายสมาธิเสีย

เสนาสนะของผู้ที่มีโมหจริต ควรให้เป็นสถานที่กว้างขวาง มีอากาศโปร่ง ได้รับแสงสว่างมาก ถ้าสถานที่แคบ อากาศทึบ แสงสว่างน้อย ก็จะทำให้ซึมเซา เหงาง่วง ไม่อยากพินิจพิจารณาอะไร ทำให้ขาดวิจารในการประหาณวิจิกิจฉา

เสนาสนะของผู้ที่มีวิตกจริต ไม่ต้องกว้างขวางใหญ่โต แม้จะกระเดียดไปข้างเล็กสักหน่อย ก็ไม่เป็นไร และให้เรียบๆ ไม่ต้องตกแต่งให้มีสิ่งที่ชวนชมชวนพิศ มิฉะนั้นวิตกจะพล่านหนักขึ้น เมื่อไม่พล่านไปอื่น ก็จะวิตกอยู่แต่ในอารมณ์กัมมัฏฐาน

เสนาสนะของผู้ที่มีสัทธาจริต ก็เพียงขนาดกลาง ไม่ต้องกว้างใหญ่นัก แต่ก็อย่าให้เล็กจนเกินไป ทุกอย่างให้เป็นแต่เพียงกลาง ๆ แม้จะไม่น่าดู แต่ก็อย่าให้ถึงกับน่าเกลียด แม้จะไม่น่าฟัง แต่ก็อย่าให้ถึงกับหยาบคายร้ายกาจจนฟังไม่ได้ แม้แต่จะไม่หอม แต่ก็อย่าให้ถึงกับเหม็น เหล่านี้เป็นต้น ก็จะไม่ทำให้ถึงกับฟุ้งซ่านหรือก่อให้เกิดความรำคาญ คงมีสุขสบายพอควรแก่การเจริญภาวนาไปได้

โดยเฉพาะผู้ที่มีพุทธิจริตหรือปัญญาจริตนั้น มิได้เป็นที่ติดใจหรือห่วงใยในเสนาสนะใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากป่าและโคนไม้ อันเป็นธรรมดาตามธรรมชาติ

ส่วนกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริตนั้น เป็นดังนี้

๑. อสุภะ ๑๐ และโกฏฐาส คืออาการ ๓๒ ที่เรียกว่า กายคตาสติ ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๑๑ นี้เหมาะสมแก่บุคคลผู้ที่มี ราคจริต

๒. วัณณกสิณ ๔ และ อัปปมัญญา ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๘ นี้ เหมาะสมแก่ผู้มี โทสจริต

๓. อานาปาณสติ ๑ ย่อมเหมาะสมแก่ผู้ที่มี โมหจริต และ วิตกจริต

๔. อนุสติ ๖ มี พุทธานุสติ เป็นต้นจนถึง เทวตานุสติ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี สัทธาจริต

๕. มรณานุสสติ ๑ อุปสมานุสสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ จตุธาตุ ววัตถาน ๑ รวมกัมมัฏฐาน ๔ นี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มี พุทธิจริต

๖. ส่วนกัมมัฏฐานที่เหลือทั้งหมด ได้แก่ ภูตกสิณ ๔ อากาสกสิณ ๑ อโลก กสิณ ๑ และอรูปกัมมัฏฐาน ๔ รวมกัมมัฏฐาน ๑๐ อย่างนี้ ย่อมเหมาะสมแก่บุคคลทั่วไป และแก่ทุกจริต

ในบรรดาสมถกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ นั้น เฉพาะกสิณ ๑๐ องค์กสิณ คือ ดวงกสิณสำหรับผู้ที่มีโมหจริต ต้องมีขนาดกว้างประมาณเท่าลานข้าว แต่สำหรับผู้ที่มีวิตกจริตมีขนาดเล็กเพียงเท่ากระด้งก็พอ

อนึ่ง ใน อภิธัมมาวตารอรรถกถา แสดงว่า

อสุภานิ ทสาหาร สญฺญา กายคตาสติ เทเวสุ นปวตฺตนฺติ ทฺวาทเสตานิ สพฺพทาฯ

กัมมัฏฐาน ๑๒ คือ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ กายคตาสติ ๑ ย่อมเจริญไม่ได้โดยประการใด ๆ ในเทวภูมิ ๖ ชั้น

หมายความว่า เทวดาทั้ง ๖ ชั้น เจริญกัมมัฏฐานได้เพียง ๒๘ เว้นอสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ ทั้งนี้เพราะ

เทวดาเป็นส่วนมาก เมื่อจุติแล้วไม่มีซากศพเหลืออยู่ ร่างกายสูญหายไปเหมือนหนึ่งดับไฟ

เทวดาที่ยังไม่จุติ ส่วนของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น ก็สวยสดงดงาม ไม่เป็นปฏิกูล

อาหารก็เป็นทิพย์ เป็นสุทธาโภชน์ บริโภคแล้วก็ไม่มีกาก

กัมมัฏฐาน ๒๘ ที่เทวดาพึงเจริญภาวนาได้นั้น คือ กสิณ ๑๐, อนุสสติ ๙ (เว้นกายคตาสติ), จตุธาตุววัตถานะ ๑, อัปปมัญญา ๔, และอรูปกัมมัฏฐาน ๔

ตานิ ทฺวาทสเจตานิ อานาปาณสฺสติ ปิจ เตรส จ ปเนตานิ พฺรหฺมโลเก นวิชฺชาเร ฯ

กัมมัฏฐาน ๑๓ คือ กัมมัฏฐาน ๑๒ ที่เจริญไม่ได้ในเทวภูมิ และอานาปาณสติ ๑ ย่อมไม่มีในรูปภูมิ

มีความหมายว่า ในรูปพรหม ๑๕ ชั้น (เว้นอสัญญสัตตา) เจริญกัมมัฏฐานได้เพียง ๒๗ เพราะอสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ และ อานาปาณสติ ๑ รวม ๑๓ อย่างนี้ ไม่มีในรูปพรหม ๑๕ ชั้นนั้น ด้วยเหตุว่าส่วนของร่างกายแห่งพรหมทั้งหลายนั้น ไม่เป็นปฏิกูล และเมื่อจุติแล้วก็ไม่มีซากศพเหลืออยู่เช่นเดียวกับเทวดา นอกจากนั้น พรหมก็มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องบริโภคข้าวปลาอาหาร และไม่มีลมหายใจด้วย

ฐเปตฺวา จตุรารุปฺเป นตฺถิ กิญฺจิ อรูปิสุ มนุสฺสโลเก สพฺพานิ ปวตฺตนฺติ น สํสโย ฯ

ในอรูปภูมินั้น นอกจากอรูปกัมมัฏฐาน ๔ แล้ว กัมมัฏฐานอื่น ๆ อย่างหนึ่งอย่างใด ย่อมไม่มีทั้งนั้น

ส่วนในมนุษย์ภูมิ ย่อมเจริญกัมมัฏฐาน ๔๐ ได้ โดยไม่ต้องสงสัยเลย


--------------------------------------------------------


21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ การกล่าวเช่นนั้น ไม่ถูกต้องครับ ในการปฏิบัติต้องแล้วแต่ใครถนัด

ปริยัติศาสนา หรือ คันถธุระ มีส่วนสำคัญมาก เปรียบเหมือนแผนที่ ที่ใช้ประกอบการเดินทาง

บางคนยังไม่รู้ตัวเอง เลยว่า มีจริตแบบไหน, สมถะ-วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร , จะปฏิบัติวิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน แบบไหน ?

ได้แต่เชื่อตามกันมา ตามที่ตนเองถนัด บางสำนักก็ถนัดด้านการทำสมาธิ แต่ไม่เข้าใจเรื่องวิปัสสนา

ซึ่งผมก็เคยเป็นแบบนั้นเหมือนกัน ชมรมพุทธศาสน์ไปปฏิบัติธรรมที่ไหนก็ไป เขาเรียกการนั่งสมาธิว่าเป็นวิปัสสนาก็เรียกตามเขาไป ( พาไปสวนโมกข์, วัดธรรมกาย ก็ตามเขาไป )


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ข้อความอ้างอิงเป็นความบิดเบือนศาสนาพุทธของนักสัทธรรมปฏิรูปเฉลิมศักดิ์


คุณ mes ครับ ศึกษา จริตทั้งในส่วนของการจเริญสติปัฏฐาน และ สมถะกรรมฐาน จากพระไตรปิฏก อรรถกถา ให้ดีก่อนครับ

รวมทั้ง สมถะกรรมฐาน และ สติปัฏฐาน (วิปัสสนากรรมฐาน) ต่างกันอย่างไร

อย่าพึ่งไปเชื่อ อัตตโนมติท่านพุทธทาส อาจารย์ของคุณเพียงส่วนเดียว

เช่นที่ท่านอ้างว่า แต่งหนังสือ อานาปานสติ

อานาปานสติภาวนา ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ
http://sites.google.com/site/smartdhamm ... uddhadhasa

แต่ขาดเนื้อหาในการ เจริญอานาปานสติให้ถึงฌานอย่างไร ? จะยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนาอย่างไร ?

การปฏิบัติ สมถะยานิกะ หรือ วิปัสสนายานิกะ เหมาะกับบุคคลจริตเช่นไร ?


วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา ( ศึกษาเทียบกับ อานาปานสติ ๑๖ ขั้น ของท่านพุทธทาส)
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075


อ้างคำพูด:
ข้อความอ้างอิงเป็นความบิดเบือนศาสนาพุทธของนักสัทธรรมปฏิรูปเฉลิมศักดิ์


คุณ mes ครับ คุณไม่คิดว่าอาจารย์พุทธทาสของคุณสอนแบบสัทธรรมปฏิรูป จนผู้ที่เชื่อตามท่านจำนวนมาก ที่มีทิฏฐิเปลี่ยนไป

คุณ mes ครับ ขอถามนะครับว่า คุณถึงนิพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ ตามท่านพุทธทาส หรือยังครับ ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คุณ mes ครับ คุณไม่คิดว่าอาจารย์พุทธทาสของคุณสอนแบบสัทธรรมปฏิรูป จนผู้ที่เชื่อตามท่านจำนวนมาก ที่มีทิฏฐิเปลี่ยนไป

คุณ mes ครับ ขอถามนะครับว่า คุณถึงนิพานที่นี้ เดี๋ยวนี้ ตามท่านพุทธทาส หรือยังครับ ?


ท่านผู้รักษาลานธรรมจักรกรุณาปิดกระทู้นี้ด้วย

เพราะchalermsakใช้เป็นที่โจมตีสำนักอาจารย์ทำให้เกิดความแตกแยก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร