วันเวลาปัจจุบัน 30 มี.ค. 2024, 12:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากกระทู้

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=22506&start=195

อ้างคำพูด:
28195.การยกหลักฐานอ้างพระไตรปิฎก ถ้าไม่ดูอรรถกถา มีโอกาสผิดพลาด
viewtopic.php?f=2&t=28195

เช่นกันครับ คุณ mes กรณีที่ท่านพุทธทาสกล่าวหา อรรถกถาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์(วิสุทธิมรรค) พระอนุรุทธาจารย์(อภิธัมมัตถสังคหะ) ว่า นำคติของศาสนาพราหมณ์ มาปลอมปนพระสัทธรรม จนพระพุทธศาสนาล่มสลายไปจากอินเดีย พระมหาเถระเหล่านั้น ก็หาได้ขุ่นข้องใจไม่

แต่ พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังอย่างพวกผม ได้ศึกษาผลงานของท่านเหล่านั้น ประกอบพระไตรปิฏก ทำให้ได้เข้าใจในพระพุทธพจน์มากขึ้น


เฉลิมศักดิ์ยกเอาอรรถกถาจารย์ขึ้นมาบิดเบือนพระธรรม

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใช้อรรถกถาจารย์เป็นผู้ตัดสินในปัญหาธรรมะที่เกิดขึ้นได้

มีแต่เฉลิมศักดิ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีอรรถกถาจารย์

เป็นการกระทำสัทธรรมปฏิรูป เป็นอัตตโนมัติของเฉลิมศักดิ์เอง

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า


Quote Tipitaka:
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

เรื่องมหาปเทส ๔ อย่าง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงโภคนครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อานันทเจดีย์ใน
โภคนครนั้น. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงตั้งใจ
ฟังให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่
คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลง
ในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า
นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
แน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร


และเรื่องกาลามสูตร

Quote Tipitaka:
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก
ได้กล่าวถึงกาลามสูตร ว่าคือ สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล

ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ
- ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร


สงสัยในข้อที่ว่า อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
ซึ่งดูเหมือนขัดแย้งกับการใช้ปัญญาพิจารณา

แต่เมื่อได้วิเคราะห์ให้ดี นั่นคืออย่าเพิ่งเชื่อตามแนวเหตุผลของเรา
โดยที่ยังไม่ใช้ปัญญาพิจารณา (สติปัฏฐาน) ก่อนหรือไม่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักธรรมานุธรรมปฏิบัติ

หลักย่อยต้องคล้อยตามหลักใหญ่

พระไตรปิฎกต้องเป็นหลักใหญ่

อรรถกถาเป็นหลักย่อย

ที่เฉลิมศักดิ์กล่าวมาจึงเป็นการ

รู้เท่าไม่ถึงการณ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงพระไตรปิฎก:
จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก
ได้กล่าวถึงกาลามสูตร ว่าคือ สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตอังคุตตรนิกาย
พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล
ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล

ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อ
- ด้วยการฟังตามกันมา
- ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
- ด้วยการเล่าลือ
- ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- ด้วยตรรก
- ด้วยการอนุมาน
- ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
- เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
- เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
- เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล
มีโทษไม่มีโทษเป็นต้น แล้ว จึงควรละ หรือถือปฏิบัติตามนั้น
เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร


สงสัยในข้อที่ว่า อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
ซึ่งดูเหมือนขัดแย้งกับการใช้ปัญญาพิจารณา

แต่เมื่อได้วิเคราะห์ให้ดี นั่นคืออย่าเพิ่งเชื่อตามแนวเหตุผลของเรา
โดยที่ยังไม่ใช้ปัญญาพิจารณา (สติปัฏฐาน) ก่อนหรือไม่
อิอิ

มีคนมาลบความเห็น เรื่องกาลามาสูตร ต้องเป็นพวกสาวกกาลามาสูตรแน่นอน
อิอิ

กาลามาสุตร สอนให้แก่ชาวกาลามะ

โดยยกกาลามาสุตร

แต่พอยกจบปุ๊ป

ชาวกาลามาชน กลับทิ้งกาลามาสูตร ที่ตรัสว่า อย่าเชื่อๆๆๆๆ

แต่กลับมาเชื่อ พระพุทธเจ้าทันที

มาถวายตัวเป็นอุบาสก อุบาสิกา ทันที่

อิอิ

แล้วพวกที่ยึด กาลามาสูตร มีปัญญา ขนาดไหนน๊อ
จึงต้องทำเอง พิสูจน์เอง ด้วยอัตตาตนเอง

อิอิ


แก้ไขล่าสุดโดย enlighted เมื่อ 15 พ.ค. 2010, 11:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 04:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่นต้องรู้ความหมายของ อรรถกถาก่อนว่าแปลว่าอะไร

๖๐๐ ปีให้หลังจากสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่๑ การเข้าใจในพระไตรปิฏกเป็นไปได้ยากขึ้นมีภิกษุ ภิกษุณีไม่เข้าใจความหมายในพระไตรปิฏก พระธรรมะปาละ กับ พระพุทธโฆษะ จึงได้ทำ อรรถกถามาขยายพระไตรปิฏกอีกทีเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
หลังจากนั้น จึงมีพระรุ่นหลังมาอีกขยายความของ อรรถกถา ออกมาอีกเรียกว่า ฏีกา แล้วมีพระรุ่นหลังมาอีกที่นำเอาฏีกามาขยายความ เรียกว่า อนุฏีกา

ซึ่งพระที่นำมาแปลขยายความล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น แต่สมัยนี้ควรคิดตรึกตรองเวลาอ่านหนังสือธรรมะหรือฟังใครบอกมาให้ดีก่อนจะด่วนสรุปว่าเป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนมา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร